Рет қаралды 1,980,442
บทสวด 7 ตำนาน ป้องกันอันตรายทั้งปวง ดวงตก เคราะห์ร้าย ปองร้าย อุบัติเหตุ ฯลฯ
โดยทั่วไปพุทธศาสนิกชน มักทำบุญโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดสาธยาย บทพระพุทธมนต์ในพิธีมงคล หรือพิธีที่จัดขึ้นเพื่อความสุขความเจริญ เป็นสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิตในวาระต่างๆ ซึ่งมักจะเรียกรวมกันว่าว่า พิธีเจริญพระพุทธมนต์
คำว่า "พระพุทธมนต์" หมายถึง พระพุทธพจน์ อันเป็นพระธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏในพระไตรปิฏกบ้าง เป็นคำที่แต่งขึ้นมาภายหลังบ้าง โดยถือกันว่าพระพุทธมนต์เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ สามารถปัดป้องอันตรายต่างๆได้ จึงเรียกอีกอย่างว่า "พระปริตร" คำว่า"ปริตร" มีความหมายว่า คุ้มครองรักษา หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน ซึ่งบทพระพุทธมนต์ที่นิยมว่าศักดิ์สิทธิ์เท่าที่ปรากฏรวบรวมไว้มี 7 บท จึงเรียกว่า เจ็ดตำนาน (ตามปกติ คำว่าตำนาน จะหมายถึงเรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบๆ มา แต่ในที่นี้เป็นการเรียกพระปริตรบทๆ หนึ่งว่า ตำนาน ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะแผลงมาจากคำว่า ตาณ ในภาษาบาลีที่แปลว่า ต้านทานหรือป้องกันเช่นเดียวกับคำว่า ปริตร หรืออาจจะหมายถึงตำนานอันเป็นที่มาของแต่ละพระสูตรก็เป็นได้)
เจ็ดตำนานหรือพระปริตร ซึ่งหมายถึง มนต์อันเป็นเครื่องป้องกันภยันตรายต่างๆมีอยู่ด้วยกัน 7 พระสูตรคือ
1. มงคลสูตร ว่าด้วยเหตุที่จะทำให้เกิดสิริมงคล
2. รัตนสูตร ว่าด้วยรัตนทั้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป
3. กรณีย เมตตสูตร ว่าด้วยการเจริญเมตตา ไปไหนมาไหนให้คน เทวดารักใคร่เมตตา
4. ขันธปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์สำหรับป้องกันสัตว์ร้ายพวกอสรพิษ
5. ธชัคคสูตร ว่าด้วยการเคารพธงและการรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยทำให้หายหวาดกลัว
6. อาฏานาฏิยปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง
7. อังคุลิมาลปริตร ว่าด้วยมนต์ขององคุลีมาล ใช้ในงานมงคลหรือทำให้คลอดลูกง่าย
โดยในลำดับการสวด 7 ตำนานมีดังนี้
ชุมนุมเทวดา
ปุพพะภาคะนะมะการ
นะมะการะสิทธิคาถา (ถ้าจะใช้บทนี้ ก็ไม่ต้องสวดบท สัมพุทเธ ฯ)
สัมพุทเธ (ถ้าไม่สวด สัมพุทเธ จะสวด นะมะการะสิทธิคาถา แทนก็ได้)
นะโมการะอัฏฐะกะ
มังคะละสุตตัง
ระตะนะสุตตัง
กะระณียะเมตตะสุตตัง
ขันธะปริตตะคาถา
โมระปะริตตัง
อาฏานาฏิยะปะริตตัง
อังคุลิมาละปะริตตัง
โพชฌังคะปะริตตัง