#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง

  Рет қаралды 429

Pidthong

Pidthong

Жыл бұрын

กาแฟจาก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน เป็นกาแฟคุณภาพดีมาก แต่ชาวบ้านไม่ได้กินกาแฟของตัวเอง เราอยากให้ชาวบ้านได้กินกาแฟของเขา
ในฐานะครู จึงพยายามศึกษาเพื่อนำความรู้มาถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน จากไร่ข้าวโพด ทุกวันนี้เปลี่ยนเป็นดอยกาแฟ เกิดการรวมกลุ่มมีแบรนด์ของตัวเอง เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้
จากพื้นที่ที่เคยเป็นภูเขาหัวโล้น เพราะการเผาป่าเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่นับตั้งแต่ปี 2552 ที่ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เข้ามาพัฒนาพื้นที่ด้านแหล่งน้ำ ดิน และส่งเสริมอาชีพเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และในปี 2556 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชุมชนฟื้นฟูป่าและบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างสมดุล โดยดำเนินงานโครงการปลูกป่าฯ และส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ ที่ บ้านเปียงซ้อ ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ชาวบ้านเปียงซ้อเริ่มเปลี่ยนจากปลูกข้าวโพดมาปลูกกาแฟกันมากขึ้น
“กาแฟ อ.เฉลิมพระเกียรติ เป็นกาแฟคุณภาพ และมีหลากหลายสายพันธุ์” ครูดี้-นพดล แสนอินต๊ะ รองผู้อำนวยการ กศน. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยเต๋ย ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน “ครู กศน.” ผู้คลุกคลีอยู่ในพื้นที่และเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยภารกิจหลักของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” คือ การสอนการสร้างงาน สร้างอาชีพ “ครูดี้” จึงมีแนวคิดที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องกาแฟให้กับชาวบ้าน เริ่มตั้งแต่สอนเพาะ สอนปลูก เก็บผลผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการผลิต โดยขอความรู้จากทางมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ
“ครูดี้” บอกว่า นอกจากกาแฟของ อ.เฉลิมพระเกียรติ จะเป็นกาแฟที่มีคุณภาพมาก สถานที่ท่องเที่ยวของ อ.เฉลิมพระเกียรติ เริ่มได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว นี่คือโอกาสที่ดีของชาวบ้านที่จะพัฒนาผลผลิต เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและเติบโตไปพร้อมกัน
และสิ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่ม และสร้างแบรนด์ “กาแฟภูแว” คือ กาแฟคุณภาพที่มาจากความคิดและความพยายามของ “ครูดี้-ครูกาแฟแห่งบ้านเปียงซ้อ” ที่พยายามสร้างให้กาแฟจาก อ.เฉลิมพระเกียรติ มีตัวตน และสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟใน ต.ขุนน่าน
ทุกวันนี้ วิถีชีวิตของชาวบ้าน ต.ขุนน่าน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมาก เปลี่ยนจากไร่ข้าวโพดเป็นไร่กาแฟ ไร่มันสำปะหลังเป็นไร่กาแฟ ชาวบ้านสามารถสร้างแบรนด์ สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาจากผลผลิตของตัวเอง
“ภารกิจของครู กศน. คือ การสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับคนในชุมชน เมื่อเห็นชาวบ้านเข้มแข็ง เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง รวมกลุ่มให้เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ นี่คือ สิ่งที่ภูมิใจมากครับ”

Пікірлер
Вечный ДВИГАТЕЛЬ!⚙️ #shorts
00:27
Гараж 54
Рет қаралды 12 МЛН
OMG🤪 #tiktok #shorts #potapova_blog
00:50
Potapova_blog
Рет қаралды 17 МЛН
ตะลุยร้านลาบยโส กินลาบ กินต้ม EP1.
21:34
อีสาน บ้านข่อยเอง
Рет қаралды 9 М.
Вечный ДВИГАТЕЛЬ!⚙️ #shorts
00:27
Гараж 54
Рет қаралды 12 МЛН