Doctor Talk - ผ่าตัดกระเพาะอาหาร น้ำหนักลด โรคร่วมก็ลดด้วย | รพ. นครธน

  Рет қаралды 102

Nakornthon

Nakornthon

Күн бұрын

🤔 ทำไมต้องผ่าตัดกระเพาะอาหาร? (00:25 - 01:09)
ปัจจุบันเป็นการมุ่งเน้นเพื่อการลดน้ำหนัก โดยหลักการในการผ่าตัดจะเป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน หรือตัดออกเป็นส่วนใหญ่
1. เพื่อลดปริมาณการกินอาหารของคนไข้
2. เพื่อเป็นการปรับฮอร์โมนในร่างกาย
นอกจากจะทำให้เรารับประทานอาหารได้น้อยลงแล้ว ยังสามารถปรับฮอร์โมนให้มันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ คือจะช่วยให้คนไข้หิวน้อยลง อิ่มเร็วขึ้น แล้วก็ส่งผลให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
👍 รักษาโรคอ้วนด้วยการผ่าตัดกระเพาะอาหาร (01:12 - 02:47)
โรคอ้วน ที่ถือว่าเป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
ข้อบ่งชี้ คือ ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI ซึ่งตัวเลขถ้ายังสุขภาพดี น้ำหนักไม่เกิน ก็จะอยู่ที่ไม่เกิน 25 ซึ่งกลุ่มที่พิจารณาผ่าตัดกระเพาะอาหารจะมีอยู่ 3 ข้อหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
1. ดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 37.5 โดยไม่จำเป็นต้องมีโรคประจำตัวใด ๆ ร่วม จะถือว่าเป็นภาวะอ้วนคุกคาม
2. ดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 32.5 แต่ยังไม่ถึง 37.5 และมีโรคร่วมต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับโรคอ้วน
3. กลุ่มที่น้ำหนักไม่เยอะมาก อาจมีดัชนีมวลกายมากกว่า 27.5 หรือมากกว่า 30 และต้องมีโรคประจำตัวรุนแรง ที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยา เช่น เป็นโรคเบาหวานรุนแรงหรือเป็นโรคหัวใจรุนแรง ที่ไม่สามารถควบคุมการรักษาด้วยยาอย่างเดียวได้ จำเป็นต้องทำการลดน้ำหนัก
🧐 ผ่าตัดกระเพาะอาหารด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้อง (02:49 - 03:30)
เทคนิคปัจจุบัน เราจะใช้การผ่าตัดผ่านกล้องทั้งหมดนะครับ ไม่ใช่การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เป็นแผลใหญ่ๆ อย่างที่เข้าใจกัน ผลของการผ่าตัดแบบนี้คือ แผลผ่าตัดจะค่อนข้างเล็ก แผลที่ใหญ่ที่สุดของการผ่าตัดกระเพาะอาหารจะขนาดประมาณ 2 ซม. คือเป็นขนาดที่เราใช้เพื่อนำกระเพาะอาหารที่ผ่าตัดแล้วออกมา ข้อดีของการผ่าตัดแบบส่องกล้อง คือหลังผ่าตัดเราจะเจ็บแผลน้อย เราจะฟื้นตัวได้รวดเร็วนะครับ สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้อย่างดี และโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหายใจ หรือภาวะแทรกซ้อนของแผลผ่าตัด ก็จะน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดค่อนข้างเยอะครับ
🥗 การปรับพฤติกรรม หลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร (03:34 - 04:59)
1. เรื่องการรับประทานอาหาร หลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร คนไข้จะรับประทานอาหารได้น้อยลงแน่นอน 3 - 4 คำก็จะเริ่มอิ่มแล้วใน 1 มื้อ อาจจะต้องรับประทานอาหารมากกว่า 3 มื้อต่อวัน
2. เลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง อย่างน้อยช่วง 1 - 3 เดือนแรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานแค่โปรตีน หรือเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ เต้าหู้ หรือว่านมต่าง ๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ การลดน้ำหนักก็จะได้ผลดีขึ้น เพราะว่าถ้ามวลกล้ามเนื้ออยู่เยอะ การเผาผลาญสารอาหารมันก็จะได้เยอะ น้ำหนักที่ลด ก็จะลดได้ดีขึ้น
3. ต้องออกกำลังกายตามสมควร อย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 - 5 วันต่อสัปดาห์
ถ้าปฏิบัติตัวได้ตามนี้ หลังการผ่าตัดก็มักจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แล้วก็จะลดน้ำหนักได้ตามที่ต้องการได้
📌 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์หัวใจ ชั้น 1
📞 Tel : 02 450 9999 ต่อ 1074 - 1075
💬 Inbox Facebook : bit.ly/36vo6hS
📱 Line : goo.gl/rbuBMq
🌎 Website : www.nakornthon.com
#Nakornthon #โรงพยาบาลนครธน #โรงพยาบาลนครธนอยู่เคียงข้างทุกช่วงเวลาของชีวิต #NakornthonAlwaysBeByYourSide #ศูนย์หัวใจ #โรคอ้วน #ผ่าตัดกระเพาะอาหาร #หลอดเลือดหัวใจตีบ #เบาหวาน #โรคหัวใจ

Пікірлер
小丑妹妹插队被妈妈教训!#小丑#路飞#家庭#搞笑
00:12
家庭搞笑日记
Рет қаралды 29 МЛН
Je peux le faire
00:13
Daniil le Russe
Рет қаралды 14 МЛН
รักษาแผลในกระเพาะ ลำไส้-หมอนัท FB Live
40:28
NosickHandup ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น
Рет қаралды 1,2 МЛН
รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เรื้อรัง - หมอนัท
1:05:48
NosickHandup ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น
Рет қаралды 874 М.
小丑妹妹插队被妈妈教训!#小丑#路飞#家庭#搞笑
00:12
家庭搞笑日记
Рет қаралды 29 МЛН