หลักฐานแย้ง พระรัตนธาตุสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาจอยู่ที่วัดช้างล้อม

  Рет қаралды 55,005

เสียงสะท้อนอดีต

เสียงสะท้อนอดีต

Күн бұрын

"1207 ศก ปีกุน ให้ขุดพระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำบำเรอบูชาแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึงเอาฝังในกลางใจเมืองศรีสัชนาลัย ก่อเจดีย์เหนือหกข้าวจึ่งแล้ว" (จารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4)
ก่อนปี พ.ศ.2528 ผู้คนเชื่อว่า ที่เจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย เป็นที่ประดิษฐานพระศรีรัตนธาตุ ตามที่ปรากฏในจารึกหลักที่ 1 สมัยพ่อขุนรามฯ แต่หลังปี พ.ศ.2528 ภายหลังจากที่กรมศิลป์ฯได้ขุดค้น และพบว่าเจดีย์ฯ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญาลิไท หลายคนก็เปลี่ยนความเห็นเป็นว่า ถ้าเจดีย์องค์นี้ไม่เก่าถึงสมัยพ่อขุนรามฯ พระศรีรัตนธาตุตามที่ปรากฏในจารึกหลักที่ 1 ก็คงไม่ได้อยู่ที่นี่ คงอยู่ที่วัดอื่น
ความเชื่อนี้ถูกส่งต่อ และกลายเป็นข้อมูลท่องเที่ยวศรีสัชนาลัยจนถึงปัจจุบัน
ที่จริงรายงานที่ขุดค้นเมื่่อปี 2528 พบอะไรมากกว่านั้น มีการพบโครงกระดูก และเสาอาคารที่ตอกทับโครงกระดูก พบหลุมเสาอาคารปรากฏจำนวนมาก เชื่อว่าเป็นอาคารที่ใช้งานสาธารณะ (เป็นวัด?) เกิดขึ้นในช่วงพ่อขุนรามคำแหง อาคารนี้มีมาก่อนการสร้างเจดีย์
จึงเป็นการด่วนสรุปเกินไปที่จะบอกว่า พระศรีรัตนธาตุตามที่ปรากฏในจารึกหลักที่ 1 ไม่ได้อยู่ที่นี่ แม้เจดีย์ช้างล้อมถูกสร้างในสมัยพญาลิไท แต่เราพบร่องรอยของเสาอาคารที่สร้างก่อนหน้านั้น เรายังไม่ทราบว่าเป็นอาคารอะไร แต่อาคารนี้ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งของวัดในสมัยพ่อขุนรามฯ ได้เช่นกัน
รายงานการขุดค้นวัดช้างล้อม กองโบราณคดี ปี 2528
www.tci-thaijo...
ขอบคุณ
อ.ฉัตตริน เพียรธรรม
กองโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
ภาพประกอบ
อ.ฉัตตริน เพียรธรรม
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร
ผู้จัดการออนไลน์
วิกีพีเดีย

Пікірлер: 144
@นําพลปู่นุช
@นําพลปู่นุช 2 жыл бұрын
น้ำเสียง อ.ฟังสบายง่าย เข้าใจ♥️☕🙏
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณนำพล
@สุนทรจันทรแย้ม-ต8ท
@สุนทรจันทรแย้ม-ต8ท 2 жыл бұрын
ติดตามค่ะ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับคุณสุนทร
@NICK-qc2bv
@NICK-qc2bv 2 жыл бұрын
ช่องคุณภาพ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณ Nick
@ทวีสุมนทา-ฃ8ห
@ทวีสุมนทา-ฃ8ห 8 ай бұрын
❤❤❤
@taspien
@taspien 8 ай бұрын
ครับ
@นําพลปู่นุช
@นําพลปู่นุช 2 жыл бұрын
อ.ท่านให้ความรู้ทุกๆท่าน ส.ภาพแข็งแรงครับ🙏♥️☕
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@thitiset
@thitiset 2 жыл бұрын
เยี่ยมครับ ช่วยกันสักวันต้องกระจ่าง
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับ
@anuunakruura9518
@anuunakruura9518 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับคุณ Anuuna Kruura
@stitnasingthong1333
@stitnasingthong1333 2 жыл бұрын
ที่มาน่าจะมาจาก หลักจารึกพ่อขุนรามด้านที่4 สร้างเจดีย์5ปี สร้างกำแพงหินรอบเจดีย์3ปี ก็หากำแพงหิน สิครับ แล้วคำว่ากลางเมือง ต้องวิเคราะห์จากสิ่งปลุกยุคพ่อขุนราม นะครับ เช่น ถ้าเราจะมองว่าจุดศุนยกลางของกรุงเทพปัจจุบันอาจจะอยู่ อนุสาวรียชัยฯ แต่ถ้าย้อนกลับไป100ปี เราจะกำหนดแบบนั้นไม่ได้ เพราะสภาพบ้านเมืองมันขยายตัวไปมาก จุดศุนยกลางก้ต้องเปลี่ยนไป เช่นกันยุคพ่อขุนรามศุนยกลางอาจจะอยุ่ตรงนี้ แต่พอเวลาผ่านมาหลายร้อยปี จนถึงปัจจุบัน เราจะใช้ผังเมืองปัจจุบันแล้วกำหนดศุนยกลางเมืองศรีสัชนาลัย ไม่ได้ เราต้องจินตนาการ ว่าบ้านเมืองยุคพ่อขุนราม มีกี่หลังกี่วัด มีพื้นที่เท่าไหร่ ถึงจะรุ่จุดศุนยกลาง แล้วค่อยค้นหา ครับ ถ้าวัดช้างล้อม เป้นยุคพญาลิไท ก้ต้องตัดออก แล้วคิดว่าเป้นพื้นที่โล่งๆ ก่อน ไม่มีสิ่งปลุกสร้างก่อน ครับ หรือ เช่นหมุ่บ้านนี้ เมื่อ100ปีก่อน บันทึกระบุไว้ มีต้นโพธิศักดิสิทธิ์ ยุห่างไปทางทิศเหนือของหมุ่บ้าน500เมตร กาลเวลาต่อมาต้นโพธิได้โค่นล้มตายลง แล้วผ่านมาร้อยปี สภาพหมุ่บ้านเปลี่ยนไป มีผุ้คนย้ายมาอาศัยเพิ่มขึ้น หมุ่บ้านขยายตัวไปทุกทิศทุกทาง ต่อมามีคนไปเจอจารึกต้นโพธิ อยากค้นหา ถ้าจะกำหนดจุดต้นโพ โดยอาศัยสภาพและขนาดบ้านเมืองในยุคปัจจุบัน หายังงัยก็หาไม่เจอครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณ Sitti 1. เห็นด้วยในหลักการครับ 2. ถ้าดูจากกำแพงหิน จุดศูนย์กลางคือวัดช้างล้อมแห่งนี้ครับ แต่ยังไม่มีการยืนยันอายุกำแพงหิน หลายคนเชื่อว่า อายุกำแพงหิน ทั้งกำแพงที่ก่อรอบวัดและรอบเมือง ไม่เก่าถึงสมัยพ่อขุนรามฯ 3. ส่วนใต้เจดีย์ช้างล้อมฯ พบว่ามีสิ่งก่อสร้างอยู่ โดยปรากฏแนวเสาอาคาร ยังไม่ทราบว่าเป็นสิ่งก่อสร้างอะไร ทั้งนี้ กรมศิลปากรเพิ่งขุดเปิดเจดีย์ไปเพียง 10 ตร.ม. จากทั้งหมด 400 ตร.น.
@stitnasingthong1333
@stitnasingthong1333 2 жыл бұрын
จะตรงคติโบราณมั้ยครับ เสาบ้านกลางเมือง จะฆ่าคนฝังพร้อมหลักเมือง ครับ
@stitnasingthong1333
@stitnasingthong1333 2 жыл бұрын
ถ้า อีก3ทิศที่เหลือ เจอศพอีก3ศพ ผมว่าก็ใช่เลย วัดนี้ล่ะ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ผมกำลังหาข้อมูลเรื่องฝังคนตอนตอกเสาอยู่ อย่างไรก็ดี สำหรับการขุดตรวจที่เจดีย์วัดช้างล้อมแห่งนี้ พบว่าอยู่คนละยุค 1. โครงกระดูกอยู่ในชั้นดิน พศว.17-18 2. การตอกเสาเพื่อสร้างอาคารนั้น กระทำอยู่ในชั้นดิน พศว.19 แต่ความที่ตอกเสาลึก เสาจึงกดลงไปถึงชั้นดิน พศว.17-18 3. มีร่องรอยการตอกเสา 7 เสา แต่โดนโครงกระดูกเพียง 1 เสา โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า ผู้สร้างอาคารคงพยายามหลบหลีกแล้ว แต่ด้วยเพราะอาคาร 1 หลัง มีเสาจำนวนมาก จึงหลบไม่พ้นและโดน 1 ต้น
@j.r.836
@j.r.836 2 жыл бұрын
ชอบตรรกะ​ และการตีความของอาจารย์​มากๆครับ​ ผมจะขอนำไปใช้บรรยาย​ให้นักท่องเที่ยวฟังนะครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ยินดีมากครับคุณ J R
@nanthikotubya4813
@nanthikotubya4813 2 жыл бұрын
@@taspien 0p,₩₩
@ไปรวยยย
@ไปรวยยย 2 жыл бұрын
ชอบมากครับ สนุก มีสาระความรู้และชวนให้คิดต่อครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับ
@เกษมประภาพกุล
@เกษมประภาพกุล 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับอาจารย์
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับคุณเกษม
@pipitphubet8842
@pipitphubet8842 2 жыл бұрын
ชอบฟังอาจารย์อธิบายครับ มีหลักฐานอ้างอิงน่าเชื่อถือมากครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณอินเล
@sunving
@sunving 2 жыл бұрын
Thank you professor ,
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
You are well come krab
@ธานินฉิมสุข
@ธานินฉิมสุข 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่ให้ความรู้
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ยินดีครับคุณธานิน
@reno2f527
@reno2f527 2 жыл бұрын
สวัสดีครับอาจารย์ ติดตามตลอดครับ ขอบคุณอาจารย์มากครับผม
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ยินดีครับคุณ Reno
@chanchirahutawatthana2538
@chanchirahutawatthana2538 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ ชอบรายการนี้มากค่ะ ขอให้มีผู้ติดตามเยอะๆค่ะ และขอให้มีผู้สนับสนุนรายการนี้มากๆค่ะ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณจันจิรา
@kapanoloralbid1281
@kapanoloralbid1281 2 жыл бұрын
ชอบช่องประวัติศาสตร์ช่องนี้มากครับ มีการใช้หลักฐานและข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์ ได้ประโยชน์มากๆครับ ติดตามตลอด
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณ Kapanol
@boonnomhoonsom500
@boonnomhoonsom500 8 ай бұрын
คำว่า"หกข้าว" หมายถึงอะไร ถ้าหมายถึงหกปี คงเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่
@taspien
@taspien 8 ай бұрын
สวัสดีครับ 1. หมายถึงหกปี 2. สมัยพ่อขุนราม สิ่งก่อสร้างมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่งานละเอียด โดยเฉพาะลายปูนปั้น 3. ตัวอย่างสำคัญคือ เจดีย์พระล้อม วัดพระพายหลวง
@พูนทรัพย์ขันนอก
@พูนทรัพย์ขันนอก Жыл бұрын
ใครเป็นสถาปนิกตรับ แบบยุคนั้นเขาเขียนกันอย่างไรถึงสร้างได้ขนาดนี้ มีแบบร่างยุคเก่าก่อนพอที่จะนำเสนอว่าคนรุ่นก่อนเขาทำอย่างไรไหมครับ
@taspien
@taspien Жыл бұрын
ไม่มีเลยครับคุณพูนทรัพย์ ส่วนมาก สร้างตามขนบช่างที่จดจำกันต่อๆ มา ไม่มีแบบร่าง
@พูนทรัพย์ขันนอก
@พูนทรัพย์ขันนอก Жыл бұрын
@@taspien ขอบคุณครับ
@เทอดจิตต์วงษ์ขุนเณร
@เทอดจิตต์วงษ์ขุนเณร 2 жыл бұрын
❤️❤️❤️❤️❤️ขอบคุณครับ อาจารย์
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับคุณเทอดจิตต์
@candylucky15
@candylucky15 2 жыл бұрын
ข้อสันนิษฐานของอาจารย์น่าสนใจมากค่ะ ฟังแล้วทำให้นึกถึงพระปฐมเจดีย์ที่มีการสร้างครอบซ้ำหลายครั้งจนสูงใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งเดิมก็เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่แล้ว ขอบคุณแง่คิดดีๆ ค่ะ 🙏
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับคุณแคนดี้
@travelstory001
@travelstory001 2 жыл бұрын
แล้วพระธาตุตอนนี้อยู่ที่ไหนครับ อ.
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ยังไม่พบครับคุณธนากร เราจึงมีความเห็นแตกต่างกันไป
@suwantan
@suwantan 2 жыл бұрын
วนเรื่อง เป็นวงกลมเลย
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับ
@สถิตย์นาสิงห์ทอง
@สถิตย์นาสิงห์ทอง 2 жыл бұрын
อยากให้อาจารย์ มาทำเกี่ยวกับนครจำปาศรี อ.นาดูน จ.มหาสารคาม หน่อยครับ แหล่งค้นพบพระพิมพ์ หลายๆหมื่นองค์ รวมทั้งพบ พระสารีริกธาตุ จนเป้นที่มาของพระธาตุนาดูน อันโด่งดัง ลองพิมพคำว่า พระนาดูน ดูนะครับ ประวัติการค้นพบกรุพระ ก็น่าตื่นเต้น ใกล้ๆก็มีกู่สันติรัตน์ ด้วย
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณสถิตย์ ผมจะลองดูข้อมูลเบื้องต้นก่อนครับ
@ภัสราภรณ์อันถาธารณ์
@ภัสราภรณ์อันถาธารณ์ 2 жыл бұрын
แต่ละยุค แต่ละสมัย ผ่านกาลเวลามานานมาก กว่าจะหาคำตอบได้ก็ไม่ง่ายด้วยเช่นกัน การเทียบเคียงของอาจารย์ ทำให้อยากติดตามต่อไปเรื่อยๆ ขอบคุณค่ะ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณภัสราภรณ์
@สถิตย์นาสิงห์ทอง
@สถิตย์นาสิงห์ทอง 2 жыл бұрын
อาจารยครับ อยากให้ทำเกี่ยวกับที่บรรจุกระดูก พระนเรศวร หน่อยครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณสถิตย์ ผมเชื่อว่า เป็นไปได้ทั้งสองแห่ง เพราะมีรูปแบบศิลปกรรมสอดคล้องกันทั้งสองแห่ง
@neeranuchsangkapichai5149
@neeranuchsangkapichai5149 2 жыл бұрын
เป็นอีกเมืองที่อยากไปชม ขอบคุณอาจารย์ที่นำเสนอและให้ความรู้
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับพี่
@flmax2202
@flmax2202 2 жыл бұрын
วัดอะไรเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสุโขทัยครับอาจารย์ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
เอาเฉพาะโบราณสถานนะครับ ถ้านับหลักฐานใต้ดิน คือ โบราณสถานวัดชมชื่น มีหลุมขุดใหญ่มาก พบว่าเก่าถึงต้นประวัติศาสตร์ พบร่องรอยก่ออิฐเป็นแนว คล้ายฐานรากสิ่งก่อสร้าง อาจเก่าสมัยทวารวดี พศว.15-16 ถ้านับเฉพาะหลักฐานบนดิน คือ ปราสาทปู่จา
@siwapornsukantamanl9881
@siwapornsukantamanl9881 2 жыл бұрын
ดีใจจัง เจอช่องของอาจารย์ ชอบเรื่องที่อาจารย๋วิเคราะห์มากค่ะ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณ Siwaporn
@ผืนดินของพ่อ
@ผืนดินของพ่อ 2 жыл бұрын
อาจารย์ครับ เวลาที่มีการขุดค้นพบหลักฐานใหม่ๆ ได้รับข้อมูลใหม่ๆแล้ว ข้อมูลในสถานศึกษาจะมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงตามไหมครับ เช่น ถ้าถามว่าแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในไทยคือที่ใด ทุกคนก็จะตอบว่า บ้านเชียง ทั้งๆที่เราก็ขุดเจอที่โนนคำแล้วว่าเก่าแก่กว่า
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณผืนดอนฯ อาจไม่ได้แก้ครับ ถ้าคณะกรรมการจัดทำเนื้อหาแบบเรียนไม่ได้ประสานงานกับทางกรมศิลป์
@ผืนดินของพ่อ
@ผืนดินของพ่อ 2 жыл бұрын
@@taspien ขอบคุณครับอาจารย์ กระทรวงศึกษาธิการน่าจะปรับหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดนะครับ
@xyty1953
@xyty1953 2 жыл бұрын
อาจารย์เสาไปทับโครงกระดูกหลุมฝังศพเดิมหรือ เอาคนไปฝังอาถรรพ์อะ แต่หนูคิดว่าน่าจะมีการฝังคนไปมากกว่า เพราะช่วงต้นสุโขทัย คติขอม ก็มีเยอะอยู่
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณ xy ty ผมก็นึกประเด็นเรื่องอาถรรพ์อยู่เหมือนกัน เคยได้ยินมาเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ดี 1. เนื่องจากการก่อสร้างอาคารสมัยโบราณจะมีเสาเยอะ ต้องขุดหลายหลุม 2. โครงกระดูกโบราณในละแวกนี้ คงมีอยู่ไม่น้อย อาจเป็นสุสานหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ 3. ผมจึงมองเบื้องต้นว่า ผู้สร้างอาคารฯ คงตอกเสาโดยพยายามหลบหลีกแล้ว แต่หลบไม่พ้นครับ
@xyty1953
@xyty1953 2 жыл бұрын
@@taspien แล้วในหลุมนั้นมีลักษณะฝังข้าวของเครื่องใช้ ไปด้วย หรือเปล่า แนะนำให้ใช้นิติวิทยาศาสตร์ตรวจ การเสียชีวิตของโครงกระดูกที่พบ ในหลุมดีกว่า
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
มีครับ มีภาชนะคณฑี 2 ใบ วางอยู่เหนือศรีษะ
@xyty1953
@xyty1953 2 жыл бұрын
@@taspien แล้วมีผลตรวจว่าโครงกระดูกนี้เสียชีวิตจากเสา หรือ เสียชีวิตอย่างอื่นแล้วมาฝัง
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
เสียชีวิตแล้วมาฝังครับ ชั้นดินพบโครงกระดูก อยู่ลึกกว่า ประมาณ พศว.17-18 ชั้นดินพบหลุมเสา อยู่ตื้นกว่า ประมาณ พศว.19
@googleok1084
@googleok1084 2 жыл бұрын
เป็นไปได้ไหมคับว่าก่อนการสร้างเจดีย์จะมีการฝังคนลงก่อนเพื่อเป็นการเฝ้าพระเจดีย์ เหมือนการสร้างปราสาทหินบันทายเสรีที่เขมรที่มีการเซ่นสังเวยชีวิตมนุษย์ก่อนสร้างปราสาท
@pongthorn123
@pongthorn123 2 жыл бұрын
หากการก่อสร้างคนละยุค ผมว่าน่าจะสร้างคร่อมพื้นที่ศักสิทธิ์เดิมของบรรพชนครับ การที่ปักเสาไปโดนน่าจะบังเอิญ มากกว่าครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณ Google ok ประเด็นนี้น่าสนใจและผมก็นึกอยู่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม 1. ชั้นหลุมศพอยู่ในช่วง พศว.18 และมีเครื่องถ้วยเบาบาง 2. ชั้นก่อสร้างเสาอาคาร อยู่สูงกว่า และมีเครื่องถ้วยหนาแน่น สันนิษฐานว่าเป็นช่วง พศว.19 ในรายงานเขียนว่า "ประมาณช่วงพ่อขุนรามคำแหง" ครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ผมก็คิดอย่างนั้นครับ คิดว่าผู้สร้างไม่ตั้งใจ ผู้สร้างอาคารก็คงพยายามเลี่ยงแล้ว (?) แต่เนื่องจากอาคารโบราณมีเสาเยอะ และพื้นที่นี้ก็มีศพโบราณฝังอยู่พอสมควร จึงเลี่ยงไม่พ้น
@chaturongphuto6518
@chaturongphuto6518 2 жыл бұрын
ก่อเจดีย์6ปีเสร็จแล้วจีง ก่อกำแพงอีก 3ปี ผมคิดว่า เป็นเจดีย์เก่าที่ถูกสร้างสมัยสถาปนาเมืองศรีสัชนาลัย ผู้สร้างน่าจะเป็นช่วงสมัยพระยาศรีนาวนำถุม ทีถูกตั้งใจสร้างเป็นพระธาตุกลางเมือง แล้วพ่อขุนรามคำแหง ให้ขุดพระธาตุออกมาบูรณก่อเจดีย์ใหม่ สิ่งหนึ่งที่ระบุตำแหน่งของเจดีย์นี้ได้คือ กำแพงล้อมพระธาตุ โดยผมแบ่งพัฒนาการกำแพงเป็น 3ระยะ กำแพงที่ใช้รอบพระธาตุสมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นระยะที่ 2 กำแพงเป็นลักษณะแท่งเสาศิลาแลงปักตั้งเรียงกัน ด้านบนมีศิลาแลงวางนอนทับบนแล้วทาปูนทับ ตอนทีพระยาลิไท มาบูรณะเจดีย์ใหม่ท่านบูรณะแค่เปลียนรูปทรงเจดีย์ดีใหม่ แต่ตัวกำแพงไม่ได้รื้อออก อาจจะแค่โบกปูนทับ พอไปสำรวจดู วัดที่เป็นไปได้คือ วัดเจดีย์7แถวศรีสัชนาลัย ที่ยังคงเหลือกำแพงชั้นนอกตั้งเป็นแนวอยู่ชัดเจนครับ ส่วนวัดช้างล้อม ที่เป็นกำแพงชั้นใน มีการนำศิลาแลงก้อนเล็กมาเรียงเป็นแท่งเสา พยายามจะเลียนแบบยุคแรกแต่ด้วยเทคนิคการสร้างเป็นระยะที่ 3 ผมคิดว่านะครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณ Chaturong การแบ่งกำแพงออกเป็น 2-3 ระยะ เป็นมุมมองที่น่าสนใจครับ ผมจะลองตรวจสอบดู
@KennyJeab
@KennyJeab 2 жыл бұрын
สายงานประวัติศาสตร์สนุกจัง อ่านเยอะ วิเคราะห์เยอะ สังเคราะห์มาก และ เหนื่อยในการเรียบเรียง จัดลำดับ ผมสายวิทย์ ขอฟังเพลิน ๆ ด้วยความรักในความเป็นไทย ไปก่อนนะคับ....ผมมีคำถามเชิงวิจัย ว่าเราจะรู้ไปทำไมว่าเจดีย์ใด ๆ สร้างในสมัยใด เพื่อ ?
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณ Kenny เป็นประโยชน์ทางใจครับ มนุษย์มักสงสัยในที่มาของตน
@ดร.เอนไซม์อุ่นประเสริฐ
@ดร.เอนไซม์อุ่นประเสริฐ 2 жыл бұрын
ได้มีการพิสูจน์ในเชิงประจักษ์ หลัก1นั้น เป็นราชนิพนธ์ของ ร.4 เพื่อต่อสู้กับมหาอำนาจว่า ชาติสยามมีรากอารยธรรม ดังที่ เซอรจอนเบาริง เขียนจดหมายถึงพระราชินึอังกฤษเมื่อได้รู้เรื่องหลักศิลาจารึกหลักนี้จากพระจอมเกล้าฯ เซอร์จอห์นเขียนว่าSiam is sivilization no need to make her for a colony.
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ผมไม่ชำนาญเรื่องจารึก แต่ได้ฟังจากทั้งสองฝ่าย ยังรู้สึกว่า ไม่น่าทำขึ้นสมัย ร.4 ครับ
@janedonner1031
@janedonner1031 8 ай бұрын
@@taspienผมเชื่ออย่างไม่มีข้อกังขา ว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย อย่างแน่นอนครับ
@บังขายโรตีกับสามล้อคู่ใจ
@บังขายโรตีกับสามล้อคู่ใจ 2 жыл бұрын
กระดูกน่าจะเป็นของพวกขอมและการเกิดเมืองยังเกี่ยวข่องกับฦๅษีสัชนาลัยเพราะ เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองลูกหลวงเเละเป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์มาก่อน และยุคก่อนสุโขทัยเป็นยุคขอมศูนย์กลางอยู่ที่ละโว้ ขอมแบ่งออกเป็นเป็นขอมนครวัดกับขอมละโว้ พระร่วงยึดละโว้และตีขอมกลับไปอยู่นครวัดและเป็นยุคที่ขอมกำลังเสื่อมอำนาจ เพราะโดนโยนกเชียงแสนตี และเกิดกบฏขึ้นที่ละโว้และพระร่วงก็เอาเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลางเพราะทำเลดี เหมาะสำหรับการเพาะปลูก เพราะไกล้แม่น้ำยม และเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองลูกหลวง หมดยุคของขอมละโว้ ผิดถูกไม่รู้นะครับแต่ผมตีความเอาครับและอ่านและลองลำดับเหตุการณ์
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณบังฯ ได้อ่านแล้ว กำลังนึกตาม ขอบคุณมากครับ
@pisutweerakitikul2978
@pisutweerakitikul2978 2 жыл бұрын
👍 Like
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณpisut
@ayattin533
@ayattin533 2 жыл бұрын
วัดช้างล้อมน่าจะมีการสร้างครอบจริงครับ เพื่อบอกถึงการเปลี่ยนแปลงรัชกาลและให้เกียรติบรรพบุรุษ วัดในโซนนั้นที่อายุรุ่นพ่อขุนรามฯ แทบไม่มีแล้ว ส่วนใหญ่ก็รุ่นพญาลิไทและหลังจากนั้นมา (เชียงชื่น)​ ขอบคุณที่นำหัวข้อนี้มานำเสนอครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณ Ayattin
@wichitdarabot9341
@wichitdarabot9341 2 жыл бұрын
เป็นหลักฐานที่หนักแน่นเพราะตรงนั้นเป็นศูนย์กลางเมืองพอดีสิ่งศักดิ์สิทธิที่เคารพกราบไหว้ก็ต้องอยู่ที่ตรงนี้ครับ...แต่การสร้างครอบทับนั้นเป็นสายของพ่อขุนรามคำแหงหรือไม่น่าสงสัยนะครับ..
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับ
@by.5823
@by.5823 2 жыл бұрын
อยากให้อาจารย์ทำประวัติพระทองคำที่วัดไตรมิตรครับ​ ว่ามาจากสมัยไหนครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับ เสียดายไม่ทราบที่มาที่ชัดเจน โดยลักษณะพุทธศิลป์ ถือเป็นพระพุทธรูปหมวดใหญ่ที่นิยมสร้างในช่วงพระมหาธรรมราชาที่ 1-4 เบื้องต้นคิดว่าอยู่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ครับ
@aswinmode
@aswinmode 2 жыл бұрын
สยามไม่ใช่ไทยแลนด์
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับ
@gilgamezmanoo2528
@gilgamezmanoo2528 2 жыл бұрын
ครับอาจารย์ ผมฟังแล้วก็เห็นด้วย แต่เพราะหลายๆครั้ง คนเราชอบคิดอยู่ในกรอบ แค่ 0 กับ 1,ขาว กับ ดำ หรือ ถ้าเจอตรงนี้ก่อนแล้วไปเจอที่อื่นภายหลัง ก็จะบอกว่าที่เจอภายหลังได้รับเอามาจากที่เจอที่แรก แบบนี้เป็นต้น
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ใช่เลยครับคุณ bannapob 555 คิดแบบ ขาว ดำ ศูนย์ หนึ่ง
@freever5286
@freever5286 2 жыл бұрын
ผมคิดตามอาจารย์​ด้วยว่า หลุมเสานั้นคงเป็นส่วนนึงของสิ่งก่อสร้างเก่าก่อนมีเจดีย์​ช้างล้อมครับ​ คงเป็นร่องรอยเสาไม้ที่ถูกถอนออกแล้วสร้างเจดีย์​ช้างล้อม​ น่าจะเป็นระเบียงคตเสาไม้ล้อมเจดีย์​ได้ไหมครับ​ ส่วนกระดูกนััน​ เป็นกระดูกเก่ายุคไหน​ อาจารย์​พอทราบไหมครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับ เป็นเสาระเบียงคตได้หรือไม่? เดี๋ยวผมลองไปตรวจดูในมุมนี้อีกที 1. โครงกระดูกอยู่ในชั้นดินที่ยังมีเครื่องถ้วยเบาบาง มีผู้คนอยู่อาศัยไม่หนาแน่น มีการนำผงถ่านไปหาค่าอายุ แต่ค่ายังไม่นิ่ง อย่างไรก็ดี สันนิษฐานเบื้องต้นว่า ประมาณ พศว.18 2. การก่อสร้างอาคารและตอกเสา อยู่ในชั้นดินที่มีเครื่องถ้วยกระจายหนาแน่น และหนาแน่นขึ้นอย่างรวดเร็ว รายงานฯให้ข้อสันนิษฐานว่า "เป็นช่วง พศว.19 ประมาณช่วงพ่อขุนรามคำแหง"
@freever5286
@freever5286 2 жыл бұрын
@@taspien ขอบคุณ​อาจารย์​มากๆครับ
@narinthongseubsai7263
@narinthongseubsai7263 2 жыл бұрын
ฟังถึงตอนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เห็นนักวิชาการบางสายว่า ร.4 ทำขึ้นนี่ครับ อาจารย์
@narinthongseubsai7263
@narinthongseubsai7263 2 жыл бұрын
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีตัวตนจริงหรือเปล่าไม่ชัดเจนด้วย นะครับ น่าจะเป็น ร.4 กับ ร.6 เสกขึ้นมาจากกองอิฐกองแลง
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับคุณ narin อาจารย์ท่านเห็นอย่างนั้น แต่โดยส่วนตัว ผมว่าไม่น่าเป็นจารึกปลอมครับ
@narinthongseubsai7263
@narinthongseubsai7263 2 жыл бұрын
แล้วผมสงสัยว่าเครื่องถ้วยหยวน หมิง ที่เอามาเดตติ้งด้วย สมัยนั้นคงจะกินข้าวเสร็จ แล้วทุบทิ้งโยนลงหลุมหรือเปล่า หรือตั้งวงก๊งสุรากันรายวัน ถ้วยชามแตกเกลือ่นวงเลยมั้งครับอาจารย์
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
เรื่องเศษภาชนะที่พบ ผมไม่ทราบเลยว่ามีที่มาอย่างไร ใครพอทราบก็แลกเปลี่ยนได้ครับ
@forces336
@forces336 2 жыл бұрын
มีการศึกษาDNA ของโครงกระดูกที่พบหรือไม่ ทำไมถึงยังมีโครงกระดูกในเมื่อชาวพุทธและฮินดูนั้นเผาศพ ไม่ฝัง ดังนั้นเจ้าของกระดูกนี้เป็นใคร และอาจจะเก่ากว่าสมัยคนชาวเมืองเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณชูเกียรติ เป็นไปได้ครับ อาจเก่าถึงช่วงที่ยังไม่ได้นับถือพุทธ
@tanapuntamoar458
@tanapuntamoar458 2 жыл бұрын
มันมีแรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่นะคับ การสร้างสิ่งก่อสร้างทางศาสนา ไม่น่าจะเอา คนลงไปในหลุมเสา นะคับ ไม่มีใครทำแน่นอน คงจะเป็นอะไรที่ไม่ใช่วัดมาก่อนแน่นอน
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณ Tana 1.ชั้นโครงกระดูก มีเครื่องถ้วยเบาบาง อยู่ช่วง พศว.17-18 บ้างเชื่อว่าเป็นพื้นที่สุสานครับ 2. ชั้นอาคาร+เสา มีเครื่องถ้วยหนาแน่น อยู่ข้วง พศว.19 ผมสงสัยว่าเป็นวัดยุคแรก เสาอื่นๆ ไม่โดนโครงกระดูก มีเฉพาะเสานี้ที่โดน ผมเชื่อว่า ผู้สร้างคงพยายามหลบหลีกเต็มที่แล้ว แต่หลบไม่พ้น เพราะอาคาร 1 หลังมีเสาเยอะครับ
@pongthorn123
@pongthorn123 2 жыл бұрын
เห็นด้วยกับความเห็นอาจารย์ การสร้างครอบเป็นเรื่องปรกติของสมัยก่อน เมื่อบ้านเมืองผู้นำมีอำนาจและทรัพย์สินมากขึ้น การเฉลิมพระเกียรติ กษัตร์ย องค์ก่อนคือเข้าไปทำให้สิ่งก่อสร้างดูน่าเลื่อมใส ศรัทธา มากขึ้น และ อาจเป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน ผมเห็นโครงกระดูกการฝังแบบคนมีชนชั้น เลยคิดต่อ ชุมชนโบราณสุสานผู้นำอยู่ตรงกลางเพื่อให้เป็นผีบรรพบุรุษ ใจกลางเมืองมักถูกเชื่อว่าเป็นที่ศักสิทธิ์ ผมคิดต่อไปถึง คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เล่าว่า วัดใหญ่ๆ สำคัญ ทำเลที่ตั้งต้องมีอะไร พอเห็นเสาปักโดนร่างกระดูก แสดงว่าตำแหน่งนี้เป็นกลางชุมชนโบราณ น่าจะมีความศักสิทธิ์ อาจจะมี หินตั้ง หรือ เสา หรือ หลัก หรือ ศาลผีบรรพบุรุษกลางชุมชน ภาษาบ้านๆ คือ เฮี้ยน ต่อมาเมื่อพุทธ เข้า่มาจึงครอบ ความศักสิทธิ์แบบผี ด้วยสิ่งก่อสร้างแบบพุทธ เมืองที่มีชุมชนต่อเนื่องจากยุคหิน (เพราะอยู่ในทำเลที่ดี) ไม่เคยอพยพที้งจากภัยธรรมชาติแล้วถูกทิ้งร้าง โบราณสถานกลางเมืองอาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบ แต่ จุดกำเนิดความศักสิทธิ์ น่าจะมาจากความเชื่อและสมมุติฐานไม่ต่างกันมาก
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณ pongthorn
@บังขายโรตีกับสามล้อคู่ใจ
@บังขายโรตีกับสามล้อคู่ใจ 2 жыл бұрын
และอีกอย่างครับผมมีความรู้สึกได้ว่า บริเวณนี้มีความน่ากลัวกว่าสุโขทัยอีกเพราะสถานที่มันบอกไม่ถูกท่ามาเดินตอน6โมงถึงตี2คงหลอนน่าดูคือขนาดน่าร้อนยังหนาวและยังมีไรที่ยังหาคำตอบไม่ได้อีกมากมาย
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับ
@บัวขวัญแสนงาม
@บัวขวัญแสนงาม 2 жыл бұрын
โครงกระดูก​เป็นของใครครับทำไม​ถึงตอกลงบนกระดูกด้วยครับ​และคือเป็นวังของพระยาลิไทใช่เปล่า​ครับ​ผมสงสัย​งงๆครับพระธาตุ​คืออะไร​ครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับ คุณบัวม่วง 1. ผมก็ไม่ทราบว่าเป็นโครงกระดูกของใคร 2. ที่นี่อาจเคยเป็นสุสานเก่า ต่อมามีการสร้างอาคารทับ ต่อมามีการสร้างเจดีย์ช้างล้อมทับอีกที 3. ภายในห้องกรุใต้เจดีย์ฯ น่าจะเคยประดิษฐานพระบรมธาตุ (พระบรมธาตุคืออัฐิของพระพุทธเจ้า) 4. เสาที่ตอกทับนี้ เป็นเสาต้นหนึ่งของอาคาร อาคารนี้มีเสาเยอะ โดยส่วนตัวคิดว่าผู้สร้างอาคารคงไม่ตั้งใจตอกทับโครงกระดูก น่าจะพยายามเลี่ยงแล้วแต่ไม่พ้น เพราะว่าเสาอื่นๆ ก็ไม่โดนโครงกระดูก 5. รายงานฯ ตีความว่า พื้นที่นี้ถูกใช้งานแบบสาธารณะ เพราะมีเครื่องถ้วยกระจายอยู่หนาแน่นและหลากหลาย ไม่น่าเป็นตำหนักส่วนบุคคลและไม่น่าเป็นวังของพญาลิไท
@บัวขวัญแสนงาม
@บัวขวัญแสนงาม 2 жыл бұрын
@@taspien ขอบคุณ​ครับ​
@ดร.เอนไซม์อุ่นประเสริฐ
@ดร.เอนไซม์อุ่นประเสริฐ 2 жыл бұрын
ศึกษาให้ดีนะครับ มีแต่รามราช ตามศิลาจารึกหลัก2 รามคำแหงจริงๆ ไม่มี?
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับ ดร. ผมได้ฟังเหตุผลจากทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ดูมีเหตุผลทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม ผมยังให้น้ำหนักไปในทางที่ไม่ได้ทำขึ้นในสมัย ร.4ื ครับ
@kongpantakran
@kongpantakran 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับอาจารย์รายการดีมีประโยชน์ครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณก้อง
@จิราวรรณชาวนา-ศ5ท
@จิราวรรณชาวนา-ศ5ท 2 жыл бұрын
ข้อสังเกตุของอาจารย์ควรจะเป็นไปได้นะคะเพราะถ้าอาคารเก่าที่มีอยู่ก่อนเจดีย์ช้างล้อมนี้อาจจะมีพระธาตุองค์เล็กอยู่มาก่อนและถูกสร้างเจดีย์ใหญ่ทับก็เป็นได้ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อสังเกตุใหม่นะคะ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณจิราวรรณ
@siwapornsukantamanl9881
@siwapornsukantamanl9881 2 жыл бұрын
ไปชมสุโขทัยและศรีสัชนาลัยกี่ครั้งๆไม่เคยเบื่อเลยค่ะ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ครับ
@thanataraartofficial383
@thanataraartofficial383 2 жыл бұрын
อยากให้ทำเรื่องประวัติพระแสงขันธ์ชัยศรีของพระเจ้าขัยวรมันที่7
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณ Thanatara art official ผมไม่มีข้อมูลครับ เบื้องต้น ผมก็ทราบจาก อ.กังวล ว่า มีพระขรรค์ฯ อ่ย่างน้อย 3 ระดับ 1.กษัตริย์ 2.แคว้นใหญ่ 3.เมืองเล็ก ถ้าหากมีข้อมูล ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ
@somkidruangrua7146
@somkidruangrua7146 2 жыл бұрын
การศึกษายุดใหม่ต้องให้นักศึกษารู้จักการสังเกตวิเคราะห์ใด้ด้วยเหตุผล
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ใช่ครับคุณสมคิด
@คมกฤษณ์-ย5ฦ
@คมกฤษณ์-ย5ฦ 2 жыл бұрын
อาจารย์ครับที่ว่าทับไปบนโครงกระดูกคือหลุมเสาทับโครงกระดูกในชั้นดินเดียวกันหรือว่าทับไปบนโครงกระดูกแต่ว่าคนละชั้นดิน
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
คนละชั้นดินครับ 1. ฝังโครงกระดูก ก่อน พศว.18 2. สร้างอาคารมีเสา ตอกเสา พศว.19 3. ก่อเจดีย์ พศว.19-20
@คมกฤษณ์-ย5ฦ
@คมกฤษณ์-ย5ฦ 2 жыл бұрын
อาจารย์ครับแล้วจากข้อความที่ถอดมาจากหลักศิลาจารึกที่บันทึกว่าเป็นอู่ครูรูปมาจากนครศรีธรรมราชในพื้นที่หรือว่ามาจากประเทศอินเดียหรือว่ามาจากเส้นทางทางการค้าครับ
@taspien
@taspien 2 жыл бұрын
ทุกวันนี้ยังไม่ทราบครับ ปู่ครู หมายถึงใครแน่
@uncleouam9575
@uncleouam9575 8 ай бұрын
โครงกระดูกมนุษย์ที่โคนเสาอาจเป็นความเชื่อสมัยนั้นที่จะให้อาคารมีความมั่นคงตั้งอยู่ยาวนานหรือไม่
@taspien
@taspien 8 ай бұрын
ไม่แน่ใจครับ
How to treat Acne💉
00:31
ISSEI / いっせい
Рет қаралды 13 МЛН
To Brawl AND BEYOND!
00:51
Brawl Stars
Рет қаралды 16 МЛН
Sigma Kid Mistake #funny #sigma
00:17
CRAZY GREAPA
Рет қаралды 27 МЛН
จารึก k1198 ช่วยไขปริศนาพระนางจามเทวี
10:09
เสียงสะท้อนอดีต
Рет қаралды 49 М.
How to treat Acne💉
00:31
ISSEI / いっせい
Рет қаралды 13 МЛН