ธาตุอาหาร ที่ทำให้ “ทุเรียน” ใบใหญ่ | ระยะใบ กับเทคนิคทำให้ใบทุเรียนใบใหญ่ เขียวเข้ม | คลอโรฟิลล์

  Рет қаралды 42,017

ฅนเกษตร

ฅนเกษตร

Күн бұрын

5 ระยะใบ และ โครงสร้างของคลอโรฟิลล์ กับเทคนิคทำให้ใบทุเรียนใบใหญ่ใบหนาเขียวเข้ม
ก่อนอื่นแล้วนะครับเรามาทำความเข้าใจในเรื่องของระยะการเจริญเติบโตของใบหรือว่ารอบใบ...ดูระยะใบของทุเรียนจะแบ่งเป็น 6 ระยะนะครับ
ระยะที่ 1 จะเป็นระยะเริ่มแทงยอด..ซึ่งหลังจากที่เราใส่ปุ๋ยสะสมอาหารก็จะมีการแทงยอดใหม่ออกมาเป็นระยะที่ 1 นะครับ
ระยะที่ 2 ระยะหางปลา (อายุ 14 วัน หลังระยะแรก) หรือบางพื้นที่จะเรียกว่าใบดาบ...ซึ่งลักษณะก็จะมีลักษณะคล้ายกับหางปลา หรือมีรูปร่างเหมือนกับดาบนะครับ
ระยะที่ 3 ระยะใบอ่อน ในระยะนี้ใบจะเริ่มคลี่ออกมาเป็นสีเขียวอ่อน
ระยะที่ 4 จะเป็นระยะใบเพสลาด ซึ่งในใบระยะนี้จะกางเต็มที่...มีการเจริญเติบโตทั้งความยาว ความกว้าง เป็นใบเต็มใบแล้ว แต่สียังเป็นสีเขียวอ่อน เพราะเป็นช่วงใบที่เริ่มมีการสะสมอาหารได้แล้ว..แต่ยังไม่มีการสะสมอาหารอย่างเต็มที่
ในระยะที่ 5 เป็นระยะสะสมอาหารเต็มที่...และมีพลังงานสูงที่สุด...ซึ่งในระยะนี้ล่ะครับคือประเด็นที่เราจะมาทำให้ใบหลังจากระยะใบเพสลาด...ให้เป็นใบเขียวเข้ม ใบใหญ่ ใบหนา ใบมัน...เพื่อสะสมอาหารได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อการเตรียมพร้อมในรอบใบต่อไป...หรือว่าเตรียมพร้อมในการออกดอกออกผลผลิต...
จากนั้นก็จะเข้าสู่ระยะที่ 6 คือระยะใบแก่...เมื่อทุเรียนเข้าสู่ระยะสะสมอาหารได้เต็มที่ก็จะเข้าสู่ระยะใบแก่ซึ่งลักษณะใบจะเป็นใบสุดท้ายมีสีเหลือง แล้วก็จะหลุดร่วงโดยธรรมชาติ ..
จากระยะใบหรือรอบใบนะครับมันก็เหมือนคนนั่นแหละตั้งแต่เด็กจนถึงแก่ก็จะหลุดร่วงแล้วก็ตายไปตามวัฏจักร
ใน 1 รอบใบทั้งแต่ระยะที่ 1 แตกยอด - ระยะที่ 5 ใบแก่ จะใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน และใน 1 ปีจะออกใบถึง 5 ชุดใบ คือทุเรียนจะออกใบใหม่ทุกๆ 2 เดือนนั้นเอง...ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพดินสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆ
ทีนี้เราก็จะมาพูดถึงเทคนิคการทำใบให้เขียว ใบใหญ่ใบหนาใบมัน...ซึ่งการทำใบให้เขียวใบแก่ใบหนากัน...ซึ่งในส่วนที่มีสีเขียว หรือสารสีเขียวที่อยู่ในใบพืช เราจะเรียกว่าคลอโรฟิลล์
โครงสร้างทางเคมีของคลอโรฟิลล์ จะมีแมกนีเซียมเป็นแกนกลาง..และมีไนโตรเจนเกาะอยู่รอบๆ...ถ้าธาตุอาหารไม่มีแมกนีเซียม..ไนโตรเจนก็ไม่สามารถที่จะเกาะได้...กังนั้นโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ก็ไม่เกิด...ใบพืช...ก็ไม่มีสีเขียว...
ดังนั้นธาตุอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างกระบวนการสังเคราะห์แสง...สร้างสารคลอโรฟิลล์หรือความเป็นสีเขียวให้กับพืช..นั่นก็คือแมกนีเซียมนั่นเอง...เพราะฉะนั้นถ้าเราใส่ธาตุแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช...ไนโตรเจนจะมีที่ยึดเกาะ..ก็จะสร้างคลอโรฟิลล์ และเสริมสร้างในส่วนสีเขียวของพืชขึ้นมา...ทำให้พืชสะสมอาหารได้เพียงพอ..ใบก็เขียวเข้า ใบใหญ่ ใบสมบูรณ์
เมื่อรู้โครงสร้างของคลอโรฟิลล์แล้ว...เราจึงสามารถให้แมกนีเซียมได้เพียงพอ...เพื่อจะเป็นกระบวนการในการสร้างโครงสร้างของคลอโรฟิลล์...ซึ่งจะส่งผลให้ใบทุเรียน ใบใหญ่ ใบหนาเขียวเข้มได้
++++++++++++++++++++++++
facebook : / konkaset89

Пікірлер: 24
@user-fu2jo8mc1p
@user-fu2jo8mc1p Жыл бұрын
ก็เข้าใจต้นไม้มากขึ้น
@user-mr4qi8rc9e
@user-mr4qi8rc9e Жыл бұрын
รับชมด้วยครับ
@user-yv7pw4qf4j
@user-yv7pw4qf4j Жыл бұрын
ชัดเจนเลยคับ
@user-fu2jo8mc1p
@user-fu2jo8mc1p Жыл бұрын
สุดยอดครับที่มาให้คาวมรู้เรื่องของธุเรียน
@user-mx1ed6wr6x
@user-mx1ed6wr6x 2 ай бұрын
ช่วงแล้งที่ผ่านมา ต้นโทรมมาก บางต้นแห้งตาย ยอดแห้ง ใบล่วงหมดต้น แต่มีใบแตกใหม่ออกมา กำลังมีสีอ่อน ใส่ปุ๋ยอะไร ดี
@user-hl3im4ob4w
@user-hl3im4ob4w 2 ай бұрын
6-3-3
@pochanel7482
@pochanel7482 Жыл бұрын
Fc​ สปป​ ลาวครับ
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร Жыл бұрын
ขอบคุณมากๆครับ
@user-df3jl5ry6v
@user-df3jl5ry6v 5 ай бұрын
ถามแบบไม่รู้​แมกนีเซียม​นี่ได้จากปุ๋ย​สูตร​หรือมีเฉพาะ​ของเขาเองครับหาได้จากไหนครับ
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร 5 ай бұрын
ธาตุอาหารของพืชจะอยู่ในดิน ซึ่งพืชสามารถดูดเมื่อใช้ได้จากทางระบบราก แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีการปลูกพืชอย่างกว้างขวาง และปลูกซ้ำ วนไปทุกปีทุกปี ก็ทำให้ธาตุอาหารที่มีดินลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงจำเป็นจะต้องมีการให้ธาตุอาหารแก่พืชในรูปแบบปุ๋ยเคมี เช่นที่เราเห็นเป็นปุ๋ยกระสอบ ที่มีสูตรตัวเลข 3 ตัว ก็จะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และแมกนีเซียม ก็เป็นหนึ่งในธาตุอาหารที่สำคัญของพืช จัดอยู่ในกลุ่มของธาตุรอง ร่วมกับ แคลเซียมและก็กำมะถัน คือพืชต้องการรองลงมาจากธาตุหลักก็คือ ไนโตรเจนฟอสฟอรัสแล้วก็โพแทสเซียมดังที่ได้กล่าวมา.. และนอกจากธาตุกรองก็ยังมีจุลธาตุ อีก 7 ธาตุ เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดีนัม ทองแดง สังกะสี และคลอรีน ธาตุอาหารรองและจุลธาตุเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของธาตุอาหารที่ฉีดพ่นทางใบครับ
@user-df3jl5ry6v
@user-df3jl5ry6v 5 ай бұрын
@@ฅนเกษตร ขอบคุณ​มาก​ครับ​🙏🙏🙏👍👍👍
@kunakrontiabmak8166
@kunakrontiabmak8166 Жыл бұрын
ควรพ่นแม็กนีเซียมระยะไหนของใบครับ
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร Жыл бұрын
ระบะใบเพลสลาดฉีดได้เลยครับ
@user-rb8oh5io6r
@user-rb8oh5io6r 3 ай бұрын
ปริมาณที่เหมาะสมกับทุเรียนอยู่ที่กี่%
@blackwatercanal5059
@blackwatercanal5059 Жыл бұрын
ปุ๋ยสะสมอาหาร คือปุ๋ยสูตรอะไรครับ
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร Жыл бұрын
หมายถึงช่วงทำดอกใช้ไหมครับ -กรณีทำดอกปุ๋ยสะสมอาหารจะเป็นสูตรหน้าต่ำกลางท้ายสูง เช่น 8-24-24 หรือปุ๋ยเกร็ดสูตร 10-52-17 หรือ 0-42-56 ครับ
@user-qd1rb4nw8g
@user-qd1rb4nw8g 3 ай бұрын
​@Kon-Kaset ถ้าสะสมอาหารช่วงฟื้นต้นล่ะครับ
@user-we6ff8ce1d
@user-we6ff8ce1d 11 ай бұрын
สายมาก
@pjservice5850
@pjservice5850 4 ай бұрын
ถ้างั้นเราหว่านmgอีกสัก10วันค่อยหว่านไนโตรเจนดีปะครับ
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร 4 ай бұрын
มันต้องดูด้วยครับว่า พืชอยู่ในระยะไหน เช่น..ถ้าช่วงพืชกำลังจะออกดอกก็ไม่ต้องการไนโตรเจนมากครับ
@user-fz4pi7sg1y
@user-fz4pi7sg1y 9 ай бұрын
เวลาฉีดบำรุงใบทุกครั้งจำเป็นต้องใช้แมกนิเซียมมั้ยคัล
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร 9 ай бұрын
จำเป็นครับ...ช่วงที่เปลี่ยนถ่ายจากใบเพสลาดเข้าสู่ระยะใบแก่ หรือใบเข้าสีจำเป็นจะต้องใช้แมกนีเซียมครับ
@user-om6fy4lu4q
@user-om6fy4lu4q Жыл бұрын
แมกนีเซียมจากธรรมชาติได้จากอะไรบ้างครับ
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร Жыл бұрын
ธาตุอาหารพืชทั้งธาตุหลักธาตุรอง ธาตุเสริมแหล่งที่มาส่วนใหญ่ก็มาจากดินครับ... สำหรับธาตุแมกนีเซียมนั้น จะพบน้อยลงในดินทรายจัด ดินกรด ดินมีโพแทสเซียมสูง ดินรับการใช้โพแทสเซียมสูงครับ
Real Or Cake For $10,000
00:37
MrBeast
Рет қаралды 59 МЛН
He bought this so I can drive too🥹😭 #tiktok #elsarca
00:22
Elsa Arca
Рет қаралды 44 МЛН
2 สิ่งสำคัญ​ ช่วยให้ต้นทุเรียนโตเร็วคูณ​ 2
11:19
ทุเรียนมือใหม่​ Kru​Bird​ Channel​
Рет қаралды 65 М.
Real Or Cake For $10,000
00:37
MrBeast
Рет қаралды 59 МЛН