ฎีกา InTrend EP.26 ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นที่ลูกหนี้ถูกฟ้องเมื่อเกิน 10 ปีได้หรือไม่

  Рет қаралды 6,733

COJ CHANNEL

COJ CHANNEL

Күн бұрын

ฎีกา InTrend ep.26 ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นที่ลูกหนี้ถูกฟ้องเมื่อเกิน 10 ปีได้หรือไม่
The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ เจริญยศ
Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
การฟ้องร้องลูกหนี้ให้ต้องรับผิดชดใช้หนี้ที่คั่งค้างอยู่เป็นขั้นตอนการบังคับตามสิทธิที่สำคัญ แต่การที่จะให้ได้เงินลูกหนี้มาชำระหนี้จริง ๆ อาจไม่ได้ยุติเพียงได้ผลของคดี แต่อาจต้องดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ไปขายทอดตลาดเพื่อให้ได้เงินมาชำระหนี้ บางครั้งหากทรัพย์ของลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้อื่นยึดไปก็จะต้องไปดำเนินการขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าวด้วย ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จึงจะเป็นเรื่องของการไปขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวว่าจะต้องทำภายในกำหนดเวลาเท่าใดจึงจะทำให้ไม่เสียสิทธิตามกฎหมายไป
“กิ่ง” กู้ยืมเงินจาก “เก๋” จำนวน 500,000 บาท แล้วไม่ชำระหนี้ตามกำหนดจนทำให้เก๋ต้องฟ้องเป็นคดี ศาลมีคำพิพากษาให้กิ่งต้องชำระเงินที่ค้างชำระให้แก่เก๋เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 ต่อมากิ่งถูก “มานพ” ฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งให้ชำระหนี้เงินกู้จำนวน 400,000 บาท ศาลมีคำพิพากษาให้กิ่งต้องชำระเงินที่ค้างให้แก่มานพเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548
มานพพยายามสืบหาทรัพย์สินของกิ่งว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้างจะได้ยึดเพื่อมาขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษา สุดท้ายหลังจากค้นหาเป็นเวลานานจึงพบว่ากิ่งมีห้องชุดแห่งหนึ่ง มานพจึงได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดไว้เพื่อจะขายทอดตลาดต่อไป
เก๋ทราบเรื่องเข้าว่ากิ่งมีห้องชุดดังกล่าวที่ถูกมานพนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไป เก๋จึงไปยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่มานพเป็นโจทก์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 เพื่อจะขอเฉลี่ยส่วนแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดนั้นมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่เก๋เป็นโจทก์ด้วย มานพจึงคัดค้านว่าเก๋ยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะบังคับคดีได้แล้ว
กรณีนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งในที่นี้คือ “เก๋” พยายามที่จะบังคับตามสิทธิของตนเอง เพียงแต่ตอนที่เก๋พบว่ากิ่งมีห้องชุดอยู่นั้น ห้องชุดดังกล่าวถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกรายหนึ่งคือ “มานพ” ยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดก่อนแล้ว เก๋จึงไม่สามารถนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดห้องชุดดังกล่าวซ้ำอีกได้ สิ่งที่เก๋ทำได้จึงเป็นการที่ต้องเข้าไป “ขอเฉลี่ยทรัพย์” เพื่อขอแบ่งส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดดังกล่าวมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่ตนเองมีอยู่ การขอเฉลี่ยทรัพย์จึงเป็นวิธีการบังคับคดีวิธีการหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นวิธีการบังคับคดีด้วยวิธีการหนึ่ง การดำเนินการบังคับคดีจึงต้องกระทำภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดด้วย โดยตามกฎหมาย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องบังคับคดีของตนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา
วันที่จะเริ่มต้นนับระยะเวลาดังกล่าวคือวันที่ศาลมีคำพิพากษาที่เป็น “ชั้นที่สุด” ซึ่งแล้วแต่กรณีว่าคดีนั้นคดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาก็ให้เริ่มนับจากวันที่มีคำพิพากษาที่เป็นชั้นที่สุดที่คดีไปยุติในชั้นนั้น
กรณีในเรื่องนี้หากสังเกตวันเวลาจะพบว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 27 เมษายน 2548 และคดีถึงที่สุดในชั้นนี้ โดยไม่มีการอุทธรณ์ต่อมา ระยะเวลาที่เก๋จะต้องบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ตนเป็นเจ้าหนี้จึงนับตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบ 10 ปีในวันที่ 27 เมษายน 2558
แต่ปรากฏจากข้อเท็จจริงว่าเก๋ไปยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ภายหลังครบกำหนดดังกล่าวไป 30 วัน จึงเท่ากับว่าเก๋ไปขอให้ดำเนินการบังคับคดีกับห้องชุดดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด เก๋จึงไม่มีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดนี้ได้
การที่เก๋ไปร้องขอเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวน่าจะเกิดจากการเข้าใจและนับระยะเวลาผิด เพราะอาจเข้าใจไปว่านับตั้งแต่วันที่ “คดีถึงที่สุด” ซึ่งจะได้แก่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่คำพิพากษาคดีนั้นอาจอุทธรณ์ต่อศาลชั้นอุทธรณ์ได้ ในคดีนี้วันที่พ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์จึงได้แก่วันที่ 27 พฤษภาคม 2548เก๋จึงเข้าใจว่าเมื่อคดีถึงที่สุดในวันดังกล่าว ระยะเวลา 10 ปี จึงนับตั้งแต่วันนั้นซึ่งไม่ถูกต้อง แต่ก็น่าสังเกตเช่นกันว่ากรณีนี้ไปยื่นคำขอเอาในวันสุดท้ายของระยะเวลาที่ตนเองเข้าใจผิดไปด้วย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นมีเวลาอยู่ถึง 10 ปีที่จะทำอะไรได้มาก
การที่ชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว สิทธิที่จะบังคับตามสิทธิของตนเองมีระยะเวลาของกฎหมายที่จำกัดไว้ด้วย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงควรต้องระมัดระวังในการรักษาสิทธิของตนด้วยไม่ให้ดำเนินการขอให้บังคับคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาในชั้นที่เป็นที่สุด
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2561)

Пікірлер: 5
@mjpchannel3617
@mjpchannel3617 9 ай бұрын
ขอบคุณครับ ว่าแต่คู่ความต้องอุทธรณ์ภายใน30วันหรือ1เดือน
@siranya9459
@siranya9459 3 жыл бұрын
กฎหมายเป็นเรื่องละเอียด ฟังแล้วได้ความรู้สำหรับประชาชนดีมาก ขอบคุณค่ะ
@pookiegoody
@pookiegoody Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@user-pv1bj6gj9n
@user-pv1bj6gj9n 3 жыл бұрын
เป้นความรู้ดีมากๆๆคะท่านติดตามตลอดคะท่าน..พอย้ายออกมาคถท่านๆๆที่ อธช.คะ
@peeraphondaungmanee2013
@peeraphondaungmanee2013 3 жыл бұрын
คุณเก๊ไป+ ระยะเวลาอุทธรณ์อีก 30 วันจบเลย
SCHOOLBOY. Мама флексит 🫣👩🏻
00:41
⚡️КАН АНДРЕЙ⚡️
Рет қаралды 6 МЛН
Nurse's Mission: Bringing Joy to Young Lives #shorts
00:17
Fabiosa Stories
Рет қаралды 19 МЛН
EP.11 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแพ่ง | Podcast #กฎหมาย
11:48
สำนักงานกิจการยุติธรรม
Рет қаралды 24 М.
EP.104 ขอกันส่วนและร้องขัดทรัพย์ ต้องขอภายในกำหนดเวลาใด !?
7:36
สถาบันติวกฎหมาย Ohm's Law โอห์ม ลอว์
Рет қаралды 10 М.
SCHOOLBOY. Мама флексит 🫣👩🏻
00:41
⚡️КАН АНДРЕЙ⚡️
Рет қаралды 6 МЛН