การเดินทางของนักโบราณคดีสู่สยาม 2472

  Рет қаралды 7,150

Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์)

Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์)

4 ай бұрын

บันทึกการเดินทางสำรวจทางโบราณคดีในราชอาณาจักรสยามของ Jean-Yves Claeys นักโบราณคดีและสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ราวปลายเดือนตุลาคม ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2472 โดยการเดินทางครั้งนี้ ได้มี George Cœdès เป็นผู้ประสานงานกับรัฐบาลสยาม และ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพช่วยอำนวยและจัดการเดินทาง จากภาพที่ปรากฎในการเดินทางทำให้ได้ทราบว่า Claeys ซึ่งเป็นผู้มีความสนใจเรื่องการถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นได้บันทึกภาพยนตร์ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ และน่าจะมีเจตนาทำเป็นภาพยนตร์ส่วนตัวบันทึกการเดินทางมากกว่าจะต้องการให้เป็นหลักฐานอย่างเป็นทางการของการสำรวจ ซึ่งสอดคล้องกันกับคำบรรยายแบบลำลองที่ Claeys ได้จัดทำไว้ประกอบภาพยนตร์เป็นช่วงๆ นอกจากนี้ในส่วนท้ายจะเป็นเศษของภาพยนตร์ที่น่าจะบันทึกในเวียดนามก่อนการเดินทางเข้ามาสำรวจในสยาม เนื่องจาก Jean-Yves Claeys มีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่กับสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ ประเทศเวียดนาม
ภาพยนตร์เรื่อง การเดินทางของนักโบราณคดีสู่สยาม 2472 นี้ หอภาพยนตร์ได้รับมอบเป็นม้วน VHS มาจาก Henri Claeys บุตรชายของ Jean-Yves Claeys ราวปี 2540 โดยเป็นการแปลงสัญญาณมาจากฟิล์มภาพยนตร์ขนาด 9.5 มม.และน่าจะถูกจัดทำโดยบริษัทในอังกฤษชื่อ filmtek รวมความยาวทั้งสิ้น 63.54 นาที
ขอบคุณ คุณสุรกานต์ โตสมบุญ สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ กรุงเทพฯ และดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ที่สนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติม

Пікірлер: 19
@FilmArchiveThailand
@FilmArchiveThailand 4 ай бұрын
จากข้อมูลของสำนักฝรั่งเศสฯ ในช่วงปี 2472 นั้น เป็นช่วงปีที่ศาสตราจารย์ George Cœdès ยังรับราชการกับกรุงสยาม (เป็นภัณฑารักษ์ของหอสมุดวชิรญาณ และต่อมาเป็นผู้อำนวยการสำนักราชบัณฑิต) เป็นปีสุดท้ายก่อนจะเดินทางไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักฝรั่งเศสฯ ณ เมืองฮานอย จากบันทึกจดหมายเหตุ (Chronique) ของสำนักฝรั่งเศสฯ ตีพิมพ์ใน Bulletin de l’École française d’Extrême-Orient ปี ค.ศ. 1929 รายละเอียดระบุว่าแม้ Cœdès จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักฯ แล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน และได้เดินทางไปยังเวียดนามในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1929 แล้วนั้น สำนักฯ ได้รับมอบหมายให้ทำโครงการสำรวจศึกษาในราชอาณาจักรสยามลงวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ทำให้ Cœdès เดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ อีกครั้งเพื่อเตรียมการให้กับการลงพื้นที่สำรวจ โดยมี Jean Yves CLAEYS เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการลงพื้นที่สำรวจศึกษาหลัก ตามข้อมูลจดหมายเหตุดังกล่าวนี้ Cœdès ซึ่งรับราชการในกรุงสยามมาแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 ตามคำเชิญของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการประสานงาน (สั่งการ) ให้หน่วยราชการท้องถิ่นดูแลการลงพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะกับกองงานโบราณคดีสยาม ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ภายใต้กำกับของสำนักราชบัณฑิตยสภา และหน่วยราชการท้องถิ่นต่าง ๆ โดยช่วงต้นของภาพยนตร์ปรากฎอักษรข้อความบรรยาย ในภาษาฝรั่งเศส สามารถแปลความได้ว่า [รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 1929, ภาพยนตร์ซึ่งถ่ายขึ้นวันต่อวันในสภาพการถ่ายทำที่ไม่เอื้ออำนวยเป็นอย่างยิ่งนี้ไม่อาจอ้างสถานะงานสารคดีว่าด้วยกรุงสยามที่สมบูรณ์ได้ เราทำได้เพียงแค่นำเสนอภาพบันทึก “ความทรงจำของการเดินทาง” ให้กับผู้สนใจใคร่รู้ อนึ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ต้อนรับเราด้วยมิตรไมตรีคือจิตวิญญาณของการสำรวจครั้งดังกล่าว]
@FilmArchiveThailand
@FilmArchiveThailand 4 ай бұрын
ต่อจากนั้น ในภาพยนตร์จะปรากฎ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ Cœdès และบุคคลอื่นๆในบริเวณของ พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล (ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ต่อจากนั้นจึงเป็นอักษรคำบรรยาย แปลความหมายได้ว่า [George Cœdès ในฐานะข้าราชการชาวสยาม คือผู้ที่ช่วยอำนวยและจัดการเดินทางครั้งนี้ให้กับเรา เราถือเป็นหนี้บุญคุณกับท่านเป็นที่สุด...] และภาพ Jean-Yves Claeys ในชุดทักซิโด้ ร่วมกับ ศาสตราจารย์ George Cœdès ขณะกำลังสนทนาและสูบยาเส้นร่วมกันในบรรยากาศที่น่าจะเป็นยามเช้าวันหนึ่ง ภาพยนตร์ช่วงต่อมาปรากฎอักษรคำบรรยาย ตอนแรก “เมืองหลวง” กรุงเทพ ภาพของแม่น้ำเจ้าพระยา ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และสนามหลวงซึ่งสิ่งก่อสร้างของพระเมรุมีสภาพไม่สมบูรณ์ (สันนิษฐานว่าคือ พระเมรุ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หลังใช้ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ในเดือนพฤษภาคม 2472) ต่อจากนั้นจึงเป็น วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร และภาพมุมกว้างของเมืองซึ่งถ่ายจากจากด้านบนของพระปรางค์วัดอรุณฯ ต่อมาจึงเป็นช่วงของการเดินทางไปยังอยุธยา เริ่มจากทิวทัศน์สองข้างทางถ่ายจากบนรถไฟ ต่อด้วยการเดินทางทางเรือ เห็นบรรยากาศบ้านเรือน และการซื้อขายสินค้าจำนวนมาก จากนั้นคณะเดินทางได้ไปเยือน โบราณสถานในอยุธยา เช่น วัดพระศรีสรรเพชญ์ วิหารพระมงคลบพิตร วัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งมีปรางค์ประธานองค์ใหญ่มองเห็นได้ชัดเจนจากริมฝั่งแม่น้ำ จากนั้นจึงมีข้อความแจ้งถึงการจบลงของเนื้อหาช่วงแรก ตราสัญลักษณ์ และอักษรย่อ J.Y.C. ของ Jean-Yves Claeys บันทึกเหตุการณ์ช่วงต่อไป เป็นการบันทึกขณะที่คณะเริ่มเดินทางสำรวจ ซึ่ง Cœdès ไม่ได้ร่วมเดินทางไปด้วย โดยเริ่มจากภาพถ่ายจากบนรถไฟขณะขบวนรถเคลื่อนผ่านสถานี หนองไม้เหลือง จังหวัดเพชรบุรี มีภาพของแผนที่ปรากฎแจ้งจุดหมายการเดินทางว่าเป็นจังหวัด นครศรีธรรมราช ที่เมืองนครศรีธรรมราช คณะสำรวจได้เดินทางไปยัง พระบรมธาตุเจดีย์ จากนั้นจึงเดินทางด้วยรถไฟย้อนกลับมาที่ไชยา โดยสารช้างและรถยนต์ ผ่านเส้นทางกันดาร ไปที่ซากโบราณสถานอันรกเรื้อที่เขาน้ำร้อน ภาพของสมาชิกคณะสำรวจที่ยืนอยู่หน้าโบราณสถานวัดแก้วที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ใบหญ้าแสดงให้เห็นขนาดอันใหญ่โตของตัวเจดีย์ทรงปราสาท ภาพที่ได้ถูกบันทึกในช่วงนี้นอกจากบันทึกภาพโบราณสถานแล้ว ยังได้บันทึกสมาชิกของคณะสำรวจระหว่างการเดินทางอันทรหดเช่น หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นภัณฑารักษ์ของกองงานพิพิธภัณฑ์หลวง) และผู้คนในท้องถิ่น รวมถึงพระสงฆ์ที่วัดป่าลิไลยก์ ไว้ด้วย จากนั้นคณะสำรวจจึงเดินทางต่อไปที่เพชรบุรี แวะชมเขาวัง และออกเดินทางต่อไปที่ราชบุรี แวะชมวัดมหาธาตุวรวิหาร บรรยากาศตลาดริมน้ำที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน และกลับเข้ากรุงเทพ จากนั้นจึงเริ่มเดินทางอีกครั้ง โดยการเดินทางช่วงนี้มีเอกสารบันทึกเป็นจดหมายรายงานวันเดินทางของ Cœdès แจ้ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าเริ่มขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม คณะสำรวจโดยนาย Jean-Yves Claeys เดินทางไปยังจังหวัด ลพบุรี และได้เข้าพื้นที่โบราณสถานบริเวณพระปรางค์สามยอด และมุ่งสู่พิษณุโลกเป็นจังหวัดต่อไป ที่พิษณุโลกนี้ คณะสำรวจได้ลงเรือล่องแม่น้ำน่านซึ่งสองฝั่งเต็มไปด้วยเรือแพไปที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดใหญ่ และชมละครรำชาตรีที่มีชื่อเสียง จากนั้นไปสักการะพระพุทธชินราชซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตก และเดินทางต่อไปที่แหล่งโบราณสถาน สวรรคโลก ศรีสัชนาลัย บันทึกภาพบริเวณพระปรางค์ใหญ่ และพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง จากนั้นจึงเดินทางต่อไปที่แหล่งโบราณสถาน ซึ่งปัจจุบันคือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย บันทึกภาพบริเวณวัดตะพานหิน ซึ่งมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สูงกว่า 12 เมตร จากนั้นคณะสำรวจจึงได้เดินทางต่อไปด้วยรถไฟ ภาพยนตร์ได้บันทึกทิวทัศน์อันสวยงามด้วยธรรมชาติของทางรถไฟบนไหล่เขาเลาะแม่น้ำยม บริเวณแก่งหลวง จังหวัดแพร่
@FilmArchiveThailand
@FilmArchiveThailand 4 ай бұрын
ระหว่างทางคณะเดินทางได้แวะเยี่ยมชมอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่มีช้างเป็นแรงงานสำคัญ (จากลักษณะของตัวอักษรบรรยายเรื่อง สันนิษฐานว่ายั่วล้อกับ Chang: A Drama of the Wilderness ซึ่งออกฉายไปทั่วโลกก่อนช่วงเวลาของการสำรวจราว 2 ปี ) จากนั้นจึงเป็นการไปเยือนเชียงแสน ซึ่งเป็นจุดผ่านทางของขบวนเดินทางจากทั้งจีน พม่า และลาว คณะสำรวจโดย Claeys ได้บันทึกภาพของแม่น้ำโขงในช่วงที่เริ่มเข้าสู่ช่วงแล้ง ปรากฎดอนทรายในแม่น้ำ ในบริเวณซึ่งน่าจะเป็นสามเหลี่ยมทองคำ จากนั้นย้อนกลับมาที่ลำปาง ซึ่ง Cœdès กลับเข้ามาร่วมคณะสำรวจ และเดินทางต่อไปสู่เชียงใหม่ บันทึกภาพของบ้านเมือง ตลาดเช้า บ้านหลวงอนุสารสุนทร (เดิม)ซึ่งอยู่แถวริมปิง สะพานนวรัฐ เจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช ในวัดเจ็ดยอด ที่วัดเจ็ดยอดนี้จะได้เห็น Claeys ตั้งกล้องบันทึกภาพตนเองขณะจดบันทึกอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาจึงเป็นภาพของวัดพระสิงห์ ทั้งในส่วนของหอไตร และวิหารหลวง แล้วจึงเป็นภาพของพระศีลา และพระแก้วขาว วัดเชียงหมั้น กับพระสงฆ์รูปหนึ่ง ซึ่งสันนิษฐานว่าคือ ครูบาเจ้าศรีวิชัย (อาจถือว่าเป็นภาพเคลื่อนไหวเดียวของครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ได้ค้นพบในปัจจุบัน) ช่วงต่อมา Claeys ได้บันทึกช่างฝีมือขณะกำลังประดิษฐ์เครื่องเขิน งานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นของชาวล้านนา สถานที่ต่อมา ซึ่ง Claeys ได้เดินทางไปสำรวจคือ เจดีย์วัดกู่กุด หรือวัดจามเทวี และได้ไปบันทึกภาพของโรงทอผ้าไหมยกดอก ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง ฝั่งตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จากนั้นจึงเป็นภาพของพระธาตุหริภุญชัย การบันทึกภาพในช่วงท้ายของการเดินทางนี้ Claeys ได้สนใจบันทึกภาพของผู้คนที่ได้พบในการเดินทางมากขึ้น เช่น หญิงสาวหลายคนกำลังทอผ้า และครอบครัวชาวบ้านที่วัดกู่กุด รวมถึงบรรดาเด็กหญิงเด็กชายซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสมาชิกครอบครัวของช่างฝีมือเครื่องเขิน ในเชียงใหม่ไว้ด้วย Claeys จบภาพสุดท้ายของการบันทึกการเดินทางสำรวจในราชอาณาจักรสยามที่แม่น้ำโขง รวมความยาวในส่วนนี้ ประมาณ 40 นาที ครอบคลุมการเดินทางไปที่แหล่งโบราณคดีหลายแห่ง หลายจังหวัด ตั้งแต่ พระนครศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี พิษณุโลก สุโขทัย ลำปาง เชียงใหม่ ลำพูน ในการนี้ Claeys ยังได้จัดทำเอกสาร L’archéologie du Siam (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม) ซึ่งในเวลาต่อมาถือเป็นเอกสารสำคัญหนึ่งในด้านการศึกษาโบราณคดีของสยาม หลังจากภาพยนตร์ที่บันทึกการเดินทางสำรวจแหล่งโบราณคดีในสยามจบลง ส่วนที่ต่อท้ายอยู่คือเศษของภาพยนตร์หลากหลายเหตุการณ์ ประกอบด้วย ภาพยนตร์ที่ Claeys ถ่ายบันทึกภาพแหล่งโบราณคดี Dong Son ริมแม่น้ำ Ma ในจังหวัด Thanh Hoa ในเวียดนาม ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่มีการทำโลหะสำริดโดยมีผู้แทนของฝรั่งเศสไปดำเนินการ คือ Louis Pajot ต่อยอดจากการเริ่มค้นพบของชาวประมงท้องถิ่น,ภาพของสะพาน Thanh Hoa (เดิม)ซึ่งเป็นสะพานเหล็กขนาดใหญ่ สร้างโดยฝรั่งเศส และเริ่มเปิดใช้งานปี 2447 (ก่อนจะถูกทำลายในช่วงสงครามอินโดจีน และสร้างขึ้นใหม่มาจนถึงปัจจุบัน) จากนั้นจึงเป็นภาพบันทึกร่วมกับ Cœdès ที่ Battambang หรือ พระตะบอง, ภาพของจุดข้ามแดน อรัญประเทศ, ภูมิทัศน์สองข้างทาง ถนน บ้านเรือนที่ไม่สามารถระบุสถานที่ได้ และช่วงท้ายสุดของภาพยนตร์มีลักษณะเป็น เศษฟิล์ม ปรากฎภาพ ชายฝั่ง ท่าเรือ เรือเดินสมุทร CLAUDE CHAPPE ออกจากท่าที่ Hai Phong เพื่อไป Da Nang และภาพเรือจะเข้าเทียบท่าที่กรุงเทพ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถระบุช่วงเวลา และลำดับของเหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน
@kklukmae2926
@kklukmae2926 4 ай бұрын
น่าเสียดายนะคะ ภาพไม่ค่อยชัด และ ไม่มีเสียงด้วย สมัยนั้นคงยังบันทึกเสียงไม่ได้ แต่ยังมีข้อมูลให้เราได้รู้ ได้เห็น มาจนถึงยุคนี้ก็ดีมากแล้วค่ะ
@SakSrichai
@SakSrichai Ай бұрын
เห็นวัดมงคลบพิตรก่อนบูรณะ วัดไชยวัฒนาราม และวัดราชบูรณะ ยังไม่โดนขุดเป็นป่าอยู่เลย
@baba-pf2ue
@baba-pf2ue 3 ай бұрын
บุญตาจริงๆที่ได้เห็นขอบคุณครับ❤
@parinthron_9870
@parinthron_9870 3 ай бұрын
ขอบคุณมากครับ ลงปีเก่าๆก่อน 2475 เยอะๆได้ยิ่งดีน่ะครับ ขอบคุณ 😊
@attapon1758
@attapon1758 3 ай бұрын
ขอบคุณครับสมัยรัชกาลที่7
@worapop2526
@worapop2526 4 ай бұрын
แม่นำ้สะอาด บ้่านเรือนสวยงามมากครับ
@userhdbfdfjkhfdhf
@userhdbfdfjkhfdhf 4 ай бұрын
👍👍👍👍👍
@PM18Alumni
@PM18Alumni 4 ай бұрын
😮😮😮😮😮😮
@wirat9498
@wirat9498 4 ай бұрын
เก่ามาก
@steamtechnicolor461
@steamtechnicolor461 3 ай бұрын
ไม่พบเบาะแสหนังเรื่องนางสาวสุวรรณบ้างเลยเหรอครับ
@_ttntp_0428
@_ttntp_0428 18 күн бұрын
หนังเรื่องเเรกในไืทยก็จริง เเต่ทีมคนสร้างเป็นฝรั่งหมด ถ้าจะนับเรื่องเเรกจริงๆที่สร้างโดยชุดทีมคนไทยเองหมดคือเรื่อง โชคสองชั้น ปี 2470 (1927)
@user-vb7pz8yi8m
@user-vb7pz8yi8m 4 ай бұрын
ท้ายม้วนน่าจะเป็นกัมพูชา
I am from Siam 1930
26:39
Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์)
Рет қаралды 453 М.
She ruined my dominos! 😭 Cool train tool helps me #gadget
00:40
Go Gizmo!
Рет қаралды 59 МЛН
Super gymnastics 😍🫣
00:15
Lexa_Merin
Рет қаралды 107 МЛН
WHO DO I LOVE MOST?
00:22
dednahype
Рет қаралды 75 МЛН
EP.91 The Sixth Sense Talks : เด็กตาทิพย์
44:01
อ้าปากค้าง สตูดิโอ
Рет қаралды 838 М.
สวรรค์มืด (2501) Dark Heaven (1958)
1:38:42
Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์)
Рет қаралды 1,1 МЛН
Big story | เขาว่าผมบ้าเรื่องเจ้าตาก UNCUT
2:24:29
หนุ่มคงกระพัน official
Рет қаралды 1,1 МЛН
EP.22 เพชรในกรุงศรีอยุธยา(ป้อมปืน)
19:24
ตุ๊ก บางปะอิน Channel
Рет қаралды 13 М.
Song Of Siam, 1948
10:00
travelfilmarchive
Рет қаралды 140 М.
What did zookeeper do to Catnap and dogday??? Dogday rescue (4)
0:15