Рет қаралды 979
ด้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของการทำปิ่นของชาวแม่แจ่ม และ
วิถีชีวิตของชาวแม่แจ่ม เป็นการนำวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวแม่แจ่มเข้ามา
โดยใช้ศิลปะทางการแสดง ประกอบด้วยลีลา ท่าทาง แสดงออกด้วยการถ่ายทอดผ่าน
กระบวนท่ารำ จากวิถีชีวิตของชาวแม่แจ่มผ่านกระบวนท่าทางการตอกปิ่น
และความสนุกสนานรื่นเริง ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ งดงาม จึงถือเป็นการแสดง
สร้างสรรค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สืบสาน วัฒนธรรมวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่ของชาวแม่แจ่ม และเผยแพร่งานสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์
จึงออกมาเป็นการแสดง ชุด ฟ้อนปิ่นคำ การแสดงแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ ๑ โชว์สวย
สื่อถึงความงดงามของปิ่นแม่แจ่ม ที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น
ที่เชื่อมโยงเข้ากับคติความเชื่อเรื่องการบูชาขวัญหัวของชาวล้านนา
ช่วงที่ ๒ รวยศิลป์
สื่อถึงกรรมวิธีกระบวนการการตอกปิ่นแม่แจ่ม ลวดลายดอกพิกุล
ซึ่งเป็นที่นิยมในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง
นิยมนำมาเป็นเครื่องประดับศีรษะที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว
ช่วงที่ ๓ ปิ่นแม่แจ่ม
กล่าวถึง ปิ่นแม่แจ่มลวดลายดอกพิกุล สื่อถึงการชื่นชมยินดี
ในผลิตภัณฑ์ปิ่น และปิ่นมีหน้าที่ใช้เป็นสื่อแทนใจ
ระหว่างคู่รักหนุ่มสาวชาวล้านนา
ที่ปรึกษาด้านงานวิจัยสร้างสรรค์
ดร. กษมา ประสงค์เจริญ
ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร. อุดม ชัยทอง
ที่ปรึกษาด้านการสร้างสรรค์งานวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ ดร. วรพัฒน์ ประชาศิลป์ชัย
ที่ปรึกษาด้านการสร้างสรรค์งานวิจัย