Рет қаралды 774
สิ่งที่น่าสนใจคือ แต่ละวารสารในไทยมีแนวทางที่แตกต่างกันไป บางวารสารเช่น วารสารศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อนุญาตให้ใช้ AI ในการออกแบบระเบียบวิธีวิจัย แต่ก็ยังมีความเข้มงวดในเรื่องของการไม่อนุญาตให้ AI สร้างเนื้อหาหรือเป็นผู้เขียนหลัก
ส่วนวารสารอื่นๆ เช่น วารสารของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กำหนดให้ใช้ AI ได้ในบางส่วนเท่านั้น
เช่น การช่วยในเรื่องการตรวจสอบไวยากรณ์ แต่ไม่เกิน 30% ของเนื้อหาทั้งหมด
สรุปกฎเกณฑ์ในการใช้ AI ณ ปัจจุบัน
เราใช้ AI ได้ (ภายใต้เงื่อนไขของแต่ละวารสาร)
ใช้ได้ในงานพื้นฐานอย่างการอ่าน ปรับคำ แปลภาษา
หากใช้ AI ต้องระบุไว้ในระเบียบวิธีวิจัย บอกให้ชัดเจนว่าใช้ AI ตัวใด ในเรื่องอะไร
ห้ามใช้ AI เป็นผู้เขียนร่วม
ผู้เขียนต้องรับผิดชอบความถูกต้องของข้อมูล
ดังนั้นในตอนนี้หากจะใช้ AI ก็ควรที่จะทำตามคำแนะนำ เพื่อปกป้องตัวคุณเอง
เขียนอธิบายให้ชัดเจนว่าใช้ AI ตัวใด ทำอะไรบ้าง
ศึกษาแนวปฏิบัติของแต่ละวารสาร
มีความรับผิดชอบในการใช้ AI ตลอดกระบวนการ
คำถามที่ผมอยากฝากไว้กับทุกคนคือ ในฐานะที่เราเป็นนักวิจัยหรือผู้ทำงานวิชาการ
เราพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับแนวทางใหม่ๆ เหล่านี้แล้วหรือยัง?
และคุณเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้ AI ในการช่วยเหลืองานวิจัยของคุณ?
สนใจเรียน Ai เพื่อช่วยเขียนตำราวิชาการ สามารถติดต่อได้ที่
Facebook : 7D Academy
Line : @7d.hub (มี@)
Tiktok @7dacademy หรือ 7D hub