ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงระหว่างประเทศ หรืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the rights of the child -CRC) ทำให้รัฐไทยต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ และในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ของไทยก็เขียนไว้ว่า บุคคลมีสิทธิ์และโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ดังนั้นเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยจึงมีสิทธิ์ที่จะเรียนหนังสือในไทยเหมือนคนไทยทุกประการ รัฐบาลไทยจ่ายค่าชุดนักเรียน ค่าอาหารกลางวัน ค่านม ค่าสมุดหนังสือเรียน ให้เหมือนกับเด็กไทย
ทำให้คิดว่าคนไทยที่ลำบากยากจนไม่เหลือจะให้เลี้ยงแล้วหรือ ถึงกับต้องเอาภาษีของคนไทยไปดูแลคนต่างด้าว ที่ไทยรับอาสาดูแลด้วยมนุษยธรรมแต่กลับโดนแว้งกัดอยู่ตลอดเวลาถึงขั้นอยากขโมยรากฐานวัฒนธรรมของชาติไทย แล้วแต่ละปีไทยได้รับเงินช่วยเหลือท่าไหร่จากองค์กร the United Nationsในอนุสัญญานี้ และโรงเรียนควรสอนประวัติศาสตร์ไทยให้กับเด็กต่างด้าวที่เข้ามาเรียนด้วย เผื่อไว้จะได้ไม่โง่โดนล้างสมองเหมือนการศึกษาอย่างประเทศคอมมิวนิสต์ลาวและเขมร
คัดหัวข้อหลัก ๆ มาให้อ่าน เพื่อที่ เวลาทำคลิบคนอื่น จะได้หาข้อมูล มาประกอบการ ให้ความรู้ จะได้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้เข้ามาฟัง ไม่ใช่ พูดไปตามความคิดตัวเอง มันดู ไม่สมกับ คนที่มีการศึกษา พันธกรณีระหว่างประเทศ พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนคืออะไร สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผูกพันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลัก จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women - CEDAW) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) สาระสำคัญ อนุสัญญาว่าด้วยเด็กประกอบด้วยบทบัญญัติ 54 ข้อ ได้แก่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของเด็กโดยตรง ซึ่งเน้นหลักพื้นฐาน 4 ประการ และแนวทางในการตีความอนุสัญญาทั้งฉบับ ได้แก่ การห้ามเลือกปฏิบัติต่อเด็กและการให้ความสำคัญแก่เด็กทุกคนเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของเด็ก ในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ชาติพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิด หรือสถานะอื่นๆ ของเด็ก หรือบิดามารดา หรือผู้ปกครองทางกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน การกระทำหรือการดำเนินการทั้งหลายต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก สิทธิในการมีชีวิต การอยู่รอด และการพัฒนาทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของเด็ก และการให้ความสำคัญกับความคิดเหล่านั้น ถ้าอยากรู้มากกว่านั้นไปค้นหาเอาเอง