ไปดูท้าวทองกีบม้าทำขนม • หมู่บ้านญี่ปุ่น อยุธยา • พระนครศรีอยุธยา

  Рет қаралды 177

SuCha

SuCha

Күн бұрын

หมู่บ้านญี่ปุ่น - Japanese Village ต.เกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
• อยุธยาไม่ได้มีดีแค่วัด คลิปนี้เราจะพาทุกท่านไปเดินเล่นชมหมู่บ้านญี่ปุ่น ในจ.พระนครศรีอยุธยา ที่ซึ่งก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1300 มาแล้ว
• บรรยากาศภายหมู่บ้านญีปุ่นนี้ร่มรื่นมาก เพราะติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และมีต้นไม้อยู่ทั่วบริเวณเลยค่ะ หมู่บ้านญี่ปุ่นเปิดทุกวันโดยวันจันทร์-ศุกร์ จะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 9.30 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะเปิดเวลา 8.30 น. และจะปิดในเวลาเดียวกันคือ 18.00 น. ราคาเข้าชมคือ ผู้ใหญ่ 50 และเด็ก 20 บาทค่ะ
• เราจะพาทุกท่านเดินชมทั่วบริเวณพร้อมกับรับฟังประวัติหมู่บ้านญี่ปุ่นแห่งนี้ไปด้วยกันเลยนะคะ หมู่บ้านญี่ปุ่นอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เดิมทีที่นี่เป็นเพียงชุมชนเล็ก ๆ ของพ่อค้าเรือสำเภาชาวญี่ปุ่นเท่านั้นค่ะ
มีการสันนิษฐานภายในหมู่บ้านน่าจะมีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
1. “กลุ่มพ่อค้า” ที่เข้ามาทำมาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา
2. “กลุ่มโรนิน” ที่เข้ามาเป็นทหารอาสาในกรุงศรีอยุธยา และ
3. “กลุ่มชาวญี่ปุ่น” ที่นับถือศาสนาคริสต์ ที่ต้องเดินทางออกจากญี่ปุ่น เพื่อเสรีภาพในการนับถือศาสนาในยุคสมัยนั้น
• ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชนนี้ มีอยู่ประมาณ 1,000 -1,500 คน ไม่รวมทาสและแรงงานผูกมัดที่เป็นชาวพื้นเมือง ในหนังสือญี่ปุ่น ชามุ-โคกุฟูโดกุงกิ (暹羅国風土軍記) ประมาณการว่ามีผู้มีเชื้อชาติญี่ปุ่นถึง 8,000 คน ในศักราชคังเอ นั่นคือ ค.ศ. 1624-1644
• อดีตหมู่บ้านญี่ปุ่นแห่งนี้มีผู้นำและหัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุ่นคือ คุณยามาดะ นางามาซะ ( Yamada Nagamasa ) ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม จนได้จัดตั้งกองทหารอาสาญี่ปุ่น และมีบทบาทในการช่วยปราบปรามกบฎ ตลอดจนเชื่อมสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่น จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเสนาภิมุข ซึ่งท่านได้รับการยกย่องในความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ผู้เป็นเจ้านาย แต่ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ได้พยายามตัดอิทธิพลญี่ปุ่นด้วยการเปลี่ยนเส้นทางการค้า ยามาดะ นางามาซะ ผู้นำหมู่บ้านญี่ปุ่นในขณะนั้นและผู้ต่อต้านการครองราชย์ของปราสาททอง ถูกเนรเทศไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา สิริอายุ 40 ปี
• ไฮไลท์อีกที่ที่จะพลาดไม่ได้เลยคือ ไปชมหุ่นขี้ผึ้งของ มารีอา กียูมาร์ ดึ ปีญา ลูกครึ่งเชื้อสายญี่ปี่น-โปรตุเกส ที่มีชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ตำแหน่งท้าวทองกีบม้า สตรีท่านนี้ได้ประดิษฐ์ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน, หม้อแกง, ขนมไข่เต่า, ขนมสำปันนี โดยเป็นผู้ที่นำไข่เข้ามาเป็นส่วนประกอบหลัก และมีการใช้น้ำตาลทรายมาเป็นส่วนประกอบในการทำขนมไทย ซึ่งนอกเหนือไปจากแป้งและน้ำตาลมะพร้าวที่มีอยู่แต่เดิม ถือว่าเป็นจุดพลิกเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งสำคัญของขนมไทย จนได้สมญาว่าเป็น “ราชินีแห่งขนมไทย”
• หมู่บ้านญี่ปุ่น ได้รับการปรับปรุงครั้งแรก ในปี พ.ศ.2529 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน หรือประมาณ 170 ล้านบาทไทยในขณะนั้น เนื่องในโอกาสที่ในหลวงทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ในปีพ.ศ.2530 และเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น หลังจากนั้นที่นี่ก็ได้รับการปรับปรุงต่อยอดอีกเรื่อย ๆ เพื่อเป็นสถาบันวิจัย และพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับราชอาณาจักรอยุธยาโดยรวมด้วย
• ปัจจุบันหมู่บ้านญี่ปุ่นได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดตั้งขึ้นโดยสมาคมไทย - ญี่ปุ่น ร่วมมือกับนักวิชาการไทยและนักวิชาการญี่ปุ่น เพื่อรำลึกถึงชาวญี่ปุ่นผู้มีบทบาทสำคัญและมีความจงรักภักดีต่อราชสำนักสมัยกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งเพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งหมู่บ้านญี่ปุ่นเดิมอีกด้วยค่ะ
#เที่ยวอยุธยา #หมู่บ้านญี่ปุ่น #พระนครศรีอยุธยา

Пікірлер
Ancient sites outside the textbooks of Ayutthaya | VLOG
36:47
Go Went Go
Рет қаралды 457 М.
Самое неинтересное видео
00:32
Miracle
Рет қаралды 1,2 МЛН
Alat yang Membersihkan Kaki dalam Hitungan Detik 🦶🫧
00:24
Poly Holy Yow Indonesia
Рет қаралды 11 МЛН
SCHOOLBOY. Мама флексит 🫣👩🏻
00:41
⚡️КАН АНДРЕЙ⚡️
Рет қаралды 6 МЛН
เที่ยว อยุธยา 1 วัน ไปไหนได้บ้าง ‼️
53:36
Mintra Story บ้านนี้ ชอบเที่ยว
Рет қаралды 7 М.
Самое неинтересное видео
00:32
Miracle
Рет қаралды 1,2 МЛН