Рет қаралды 43,088
พาหิยสูตร ว่าด้วยพระพาหิยเถระ
เสียงอ่าน พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเล่ม ๒๕ หน้า ๑๘๓ ข้อ ๑๐
เชิงอรรถ :
-- ที่ชื่อว่า พาหิยะ เพราะเกิดในแคว้นพาหิยะ ที่ชื่อว่า ทารุจีริยะ เพราะเป็นผู้นุ่งผ้าเปลือกไม้ พาหิยะทารุจีริยะนี้เคยตั้งความปรารถนาว่าขอให้ตรัสรู้เร็วพลัน ในศาสนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า (ขุ.อุ.อ.
๑๐/๘๑-๘๒)
-- หลีกเร้นอยู่ หมายถึงการอยู่ผู้เดียว การอยู่โดยเพ่งพินิจธรรม หรืออยู่ด้วยผลสมาบัติ อีกนัยหนึ่ง หมายถึงการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เข้าผลสมาบัติในเวลาเช้า (วิ.อ. ๑/๒๒/๒๐๔, สํ.สฬา.อ. ๓/๘๗/๒๐,
องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๗/๑๐๖-๑๐๗) แต่ในที่นี้เป็นเพียงกิริยาเลียนแบบด้วยประสงค์จะให้เขายกย่องว่าเป็นพระอรหันต์ (ขุ.อุ.อ. ๑๐/๘๔)
--ที่ทรงพระนามว่า “นาคะ” เพราะเหตุ ๔ ประการ คือ (๑) เพราะไม่ถึงอคติ ๔ มีฉันทาคติ เป็นต้น (๒) เพราะไม่ทรงกลับไปหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว (๓) เพราะไม่ทำความชั่วอะไร ๆ (๔) เพราะไม่ไปเกิดในภพใหม่ (ขุ.อุ.อ. ๑๐/๙๑)
--อารมณ์ที่ได้รับรู้ แปลจากคำว่า มุตะ หมายถึงอารมณ์ ๓ คือ คันธารมณ์(กลิ่น) รสารมณ์(รส)โผฏฐัพพารมณ์(การสัมผัส) (อภิ.สงฺ.อ. ๙๖๖/๓๙๖)
--คำว่า “เมื่อใดเธอเมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ฯลฯ เมื่อนั้น เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น” นี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภูมิแห่งพระขีณาสพ มีความหมายดังนี้ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ฯลฯ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ก็สักแต่ว่ารู้แจ้งแล้ว ก็จักไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เมื่อไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ก็จักไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจตัณหาว่า “นั่นของเรา” ไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจมานะว่า ‘เราเป็นนั่น’ และไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา”
อีกนัยหนึ่ง คำว่า “เธอก็จะไม่มี” เป็นคำแสดงมรรค คำว่า “เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น” เป็นคำแสดงผล
--พุทธอุทานนี้ พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงทราบว่า พระพาหิยะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ และทรงทราบว่าคติของพระขีณาสพอันปุถุชนรู้ได้ยาก จึงทรงเปล่งแสดงอานุภาพแห่งการปรินิพพาน (ขุ.อุ.อ.๑๐/๑๐๒)