Рет қаралды 126,208
📌ลิงค์สั่งซื้อ Mppt PowMr 60A
Website 👉 powmr.com/prod...
LAZADA 👉 s.lazada.co.th...
Shopee 👉 shope.ee/1fosn...
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมารีวิว สาธิตวิธีการใช้ MPPT Charge Controller 60A ของทางค่าย PowMr เบื้องต้นคร่าวๆนะครับ
ก็ถือว่าตัวนี้ เป็นตัว ยอดฮิต ตัวหนึ่ง ในไซส์ขนาด 60A เพราะว่า ให้ประสิทธิภาพกระแส ที่คุ้มค่าคุ้มราคา
สำหรับ Controler ตัวนี้ ส่วนใหญ่ เขานำไปใช้ ในระบบ Off Gird นั้นแหละ ครับ ก็คือเขาจะไม่ยุ่งกับไฟบ้าน
โดยเขาก็เอาตัว Controller ตัวนี่ มาคั้นกลาง ระหว่าง แผงโซล่าเซลล์ กับ แบตเตอร์รี่ ที่ใช้ในการกักเก็บพลังงาน
เพราะฉะนั้น สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เป็นตัวควบคุมการชาร์จ นั้นเอง
ซึ่ง Controller ตัวนี้ สรรพคุณของมันก็คือ
1. รองรับแรงดันแบตเตอร์รี่ได้ 4 ระบบ นั้นก็คือ
ระบบ 12V , 24V , 36V , 48V
ซึ่งพื้นฐานทุกระบบ กระแสต้องไม่เกิน 60A นะครับ
เพราะฉะนั้น ถ้าใช้ ในระบบ 12V กระแสชาร์จที่ 60A วัตต์ของแผง รวมกันยังไงๆ จะต้อง ไม่เกิน 720W ครับ
ถ้าในระบบ 24V กระแสชาร์จ 60A วัตต์ของแผง จะต้อง ไม่เกิน 1,440W
ถ้าในระบบ 36V กระแสชาร์จ 60A วัตต์ของแผง จะต้อง ไม่เกิน 2,160W
และ ถ้าในระบบ 48V กระแสชาร์จ 60A วัตต์ของแผง จะต้อง ไม่เกิน 2,880W ครับ
แต่ถ้าป้อนวัตต์เกินมากกว่านี้ แอมป์มันจะล้นครับ และเครื่องก็จะติด Protect ลำบากกันอีก
เพื่อนๆก็จะเห็นว่า ที่ระบบแรงดัน 48V เราก็จะได้กำลังวัตต์ มากสุด
และเราก็จะได้รับ พลังงานในการเก็บไฟเยอะสุด ครับ
2. รองรับ แรงดัน จากแผงโซล่าเซลล์มากสุด
ในระบบ 36V และ 48V ที่ 160V Dc
โดยให้เราอ้างอิงที่ แรงดัน Voc ของแผงโซล่าเซลล์ทั้งหมดที่ อนุกรมกัน
ถ้าแรงดันมากกว่า 160V เครื่องจะติด แต่ไม่ทำงาน
และถ้าแรงดิน เกิน 190V เครื่องอาจะสุ่มเสี่ยง ต่อการ ช๊อตไฟสูง และ เครื่องจะพังถาวรได้ ครับ
ส่วน อุปกรณ์ ที่เขาให้มาก็จะ แถม คู่มือ แล้วก็ น๊อตยึดแท่น มาให้
เริ่มต้นใช้งาน กันครับ
เขาบอก ให้ต่อแบตเตอร์รี่ ก่อน ต่อแผงโซล่าเซลล์ ทุกครั้ง
ผมก็จะต่อ แบต+ กับ แบต -
เป็น แบตตะกั่วกรด 12V ตัวนี้ครับ
ในคู่มือเข้าบอกว่า การใช้งานจริง ควรที่จะติดตั้งฟิวส์ตัวหนึ่ง ระหว่างแบต กับ คอนโทรลเลอร์ เพื่อป้องกันการลัดวงจร
และควร ติดตั้งเบรกเกอร์ คั้น
ระหว่าง แบต และ แผง แบบนี้ ด้วยครับ
ตอนนี้ มันจะเปิดเครื่องเอง และ มันจะตรวจสอบ แรงดัน เป็นแบบ Auto sWitch ให้อัตโนมัติครับ
หมายความว่า
ถ้าเราต่อแบตเตอร์รี่ 24V , 36V , 48V เข้าไป
Controller ก็รู้ แรงดัน อัตโนมัติ ว่าเราใช้ระบบไดอยู่
ตอนนี้หน้าจอเขาแสดงผล LCD Display ออกมา
อินเทอร์เฟซหลัก แสดงค่า การใช้งานทั่วไปอยู่ 4 โหมด
โหมดแรก ซ้ายมือ จะแสดงแรงดันไฟ PV ที่มาจากแผง สังเกตุว่าตอนนี้มัน เป็น 0V และ ขวามือ ก็เป็น 0W
เพราะว่า ผมไม่ได้เสียบแผงโซล่าเซลล์ ครับ
ถ้าเรากด ปุ่มลูกศรชึ้ขึ้น 1 ที มันก็ จะแสดงผล เป็นโหมดที่ 2
โหมดที่ 2
ซ้ายมือเป็น แรงดัน ของแบตเตอร์รี่ และ ขวามือ เป็น กระแสที่ชาร์จ เข้าไป
ผมไม่ได้เสียบแผง มันก็จะแสดงเฉพาะ แรงดันของแบตออกมาเท่านั้นครับ
โหมดที่ 3 ซ้ายมือ เป็น Working mode ขวามือเป็น อุณหภูมิ
Working Mode มีอยู่ 4 สถานะ
สถานะที่ 1 คือ 3.0 3.0 ก็คือ ไม่มีการชาร์จเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นให้ตรวจสอบว่าเรายัง ไม่ได้เสียบแผง อยู่หรือเปล่า หรือ อยู่ในสถานะตอนกลางคืน
สถานะที่ 2 คือ 4.0 4.0 ก็คือ MPPT กำลังทำงาน ในโหมด ชาร์จปกติอยู่ ครับ
สถานะที่ 3 คือ 7.0 7.0 ก็คือ Absorption mode ความหมายของผม ก็คือ สถานะนี้ มันเป็นการควบคุมกระแส และแรงดัน ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และ ปลอดภัยสูงสุด ก่อนที่แบตจะเต็ม ครับ
เพราะฉะนั้นปล่อยมันทำงาน ไม่ต้องไปยุ่งกับมันครับ
ส่วน สถานะที่ 4 คือ 8.0 Floating Mode ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ โหมดนี้ก็คือ เป็นโหมดที่แบตเต็มแล้ว แต่มันจะ รักษาค่าแรงดัน ของแบตเตอรี่ ให้อยู่ใน สถานะพร้อมใช้งานตลอดเวลา ครับ
และโหมดที่ 4 โหมดสุดท้ายจะเป็น โหมด Protection ก็จะมีเครื่องหมาย เตือนระวัง ขึ้นมา แบบนี้
ถ้ามันไม่ขึ้น สถานะอะไร ก็ถือว่าดีที่สุด แล้วครับ
แต่ถ้ามันขึ้น สถานะ ก็ให้ไปดูที่ รหัส CODE อีกทีหนึ่ง นะครับว่ามันหมายความว่าอะไร
อย่างตอนนี้ของผมขึ้น Code 18
Code 18 ก็คือแรงดัน Input จากแผงมันต่ำเกินไป ก็ให้เพื่อนๆเพิ่มแรงดันขึ้นมาอีกนิดหนึ่งครับ อนุกรมเพิ่มดูอีกสักแผง
ถ้า Code 60 หมายความว่า อุณหภูมิสูงเกินไป มันจะอยู่ในโหมดป้องกัน โดยพัดลม จะทำงานอัตโนมัติ
code 63 หมายความว่า แรงดันแบตเตอร์รี่ ของเราสูงเกินไป รอการ recovery หรือจะ คายออกเองก็แล้วแต่
code 65 หมายความว่า แรงดันแบตต่ำเกินไป รอการ recovery เช่นกัน หรือจะเพิ่มไฟเองจากภายนอก ก็แล้วแต่
code 71 หมายความว่า แรงดัน PV input สูง ให้ลดแรงดันจากแผงลง
และ Code 73 หมายความว่า กระแสไฟเกิน จะต้อง ลดกำลังวัตต์ จากแผงลงครับ
ต่อไป จะเป็นการเซตค่า ในระบบ กันบ้างนะครับ
โดยให้เพื่อนๆ กดที่ปุ่มโปรแกรม 1 ครั้ง
และให้สังเกตุ เมนูฝั่งซ้ายมือ จะแสดง Code ออกมา จะมีอยู่ด้วยกัน 5 โค๊ด
โค้ดที่ 1 d00 จะเป็น ตัวตั้งเวลา Output
โค้ดที่ 2 d01 จะเป็นการเชต ค่าแรงดัน Floating การชาร์จ ของแบตน้ำ
โค้ดที่ 3 d02 จะเป็นการเชต แรงดัน สูงสุดในการชาร์จ
โค้ดที่ 4 d03 จะเป็นแรงดัน ต่ำตัดของ Output
โค้ดที่ 5 d04 จะเป็นการเลือกชาร์จ แบตน้ำ หรือ แบตลิเธี่ยม
ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ