Рет қаралды 8,398
เรื่องราวของม้าเต๊กเลา ม้าของเล่าปี่ ที่ถือว่าเป็นมาอาถรรพ์ ม้าที่มีลักษณะร้าย ม้าอัปมงคล เดิมทีม้าเต๊กเลาเป็นของเตียวบู หลังจากที่ถูกจูล่งสังหารก็ได้กลายมาเป็นม้าของเล่าปี่ เล่าปี่ยกให้เล่าเปียว แต่เก็งฮวดที่ปรึกษาบอกว่าเป็นมาอัปมงคล เล่าเปี่ยวจึงคืนให้เล่าปี่ ต่อมาอีเจี้ยได้ตักเตือนเรื่องม้าเต๊กเลาให้เล่าปีทราบ แต่เล่าปี่ไม่สนใจและขี่ต่อไป จากนั้นเล่าปี่ได้มาพบชีซี ชีซีก็บอกว่าม้าตัวนี้เป็นม้าอัปมงคล ไม่ควรขี่ แต่เล่าปี่ยังดื้อดึงขี่ต่อไป จนเมื่อศึกตีเมืองเสฉวน ม้าของบังทองสะดุดก้อนหิน เล่าปี่จึงให้บังทองยืมม้าเต๊กเลาไปขี่ ส่งผลให้บังทองตายในการศึก
แหล่งที่มา/แหล่งสืบค้น
1.สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)
2.สามก๊ก ฉบับวณิพก
3.สามก๊ก ฉบับคนขายชาติ
4.ซีรีส์สามก๊ก ปี 1994
5.ซีรีส์สามก๊ก ปี 2010
สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ. 220-280) ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น มีที่มาจากสามก๊กจี่ จดหมายเหตุประวัติศาสตร์ที่ตันซิ่วเป็นผู้บันทึกในสมัยราชวงศ์จิ้น แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 เรื่อง คือ จดหมายเหตุก๊กวุ่ย (วุ่ยก๊ก) จดหมายเหตุก๊กจ๊ก (ก๊กถ๊ก) จดหมายเหตุก๊กง่อ (ง่อก๊ก) ใช้เวลารวบรวมนานกว่า 30 ปี จนได้จดหมายเหตุสามก๊กที่มีความยาวถึง 65 เล่มสมุด ต่อมาสมัยราชวงศ์เหม็ง (หมิง) นักปราชญ์จีนหลอกว้านจง ได้นำเอาจดหมายเหตุของตันซิ่วมาแต่งเป็นนิยายให้มีความสนุกสนานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองเรียกว่า สามก๊กจี่ทงซกเอี้ยนหงี ที่มีความหมายว่า จดหมายเหตุสามก๊กสำหรับสามัญชน
การแปลสามก๊กในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชดำรัสให้แปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทย 2 เรื่องคือไซฮั่น แปลโดย กรมพระราชวังหลัง และสามก๊ก ที่แปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) มีความยาว 95 เล่มสมุดไทย