Рет қаралды 38
อภิญเญยยธรรม คืออะไร ? ต่างจากทุกขอริยสัจอย่างไร ?
ตอบ : อภิญเญยยธรรมคือธรรมที่พึงรู้ยิ่งด้วยการกำหนดลักษณะ ดังความในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาวิภังคปกรณ์ว่า
สลกฺขณปริคฺคาหิกาย อภิญฺญาย วเสน อภิญฺเญยฺยตา เวทิตพฺพา.๑-(๑- อภิ.อฏฺ. ๒/๑๐๓๐/๕๖๙.)
บัณฑิตพึงทราบความเป็นสภาวธรรมี่ควรรู้ยิ่งด้วยอำนาจปัญญารู้ยิ่งที่กำหนดสภาวธรรมพร้อมทั้งลักษณะ
‘รุปฺปนลกฺขณํ รูปํ, ผุสนลกฺขโณ ผสฺโสติอาทินา สามญฺญวิเสสลกฺขณปริคฺคาหิกา สลกฺขณปริคฺคาหิกา.๒-(๒. มูลฏี. ๒/๑๐๓๐/๒๕๔)
การกำหนดสภาวธรรมโดยสามัญญลักษณะและวิเสสลักษณะโดยนัยเป็นต้นว่า รูปมีลักษณะย่อยยับ(สามัญญลักษณะ), ผัสสะมีลักษณะกระทบ(วิเสสลักษณะ) ชื่อว่า สลกฺขณปริคฺคาหิกา (กำหนดสภาวธรรมพร้อมทั้งลักษณะ)
‘รุปฺปนลกฺขณํ รูปํ, อนุภวนลกฺขณา เวทนาติอาทินา สามญฺญลกฺขณปริคฺคาหิกา. ‘ผุสนลกฺขโณ ผสฺโส, สาตลกฺขณํ สุขนฺติอาทินาวิเสสลกฺขณปริคฺคาหิกา.๑-(๑- อนุฏี. ๒/๑๐๓๐/๒๔๔.)
การกำหนดสภาวธรรมโดยสามัญญลักษณะโดยนัยเป็นต้นว่า รูปมีลักษณะย่อยยับ, เวทนามีลักษณะเสวย(อารมณ์), การกำหนดสภาวธรรมโดยวิเสสลักษณะโดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะมีลักษณะกระทบ, สุขมีลักษณะยินดี
และอภิญเญยยธรรมนั้น ต่างจากทุกขอริยสัจตรงที่อภิญเญยยธรรมนั้น ว่าโดยสภาวะได้แก่ปรมัตถธรรมทั้ง ๔,แต่ทุกขอริยสัจนั้นว่า
โดยสภาวะแล้วได้แก่ปรมัตถธรรมบางส่วนเท่านั้น คือ โลกียจิต ๘๑, เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ)และรูป ๒๘
(ดูอภิ.วิ. ๓๕/๑๐๓๐-๑๐๓๑/๕๑๙-๕๒๑)