No video

สัญญาปางหลวง (Panglong Agreement)

  Рет қаралды 146

Sanit channels

Sanit channels

Күн бұрын

สัญญาปางหลวง (Panglong Agreement)
สัญญาปางโหลงก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดความยุ่งยาก สืบต่อเนื่องมา สัญญานี้เกิดขึ้นที่เมืองปางหลวง ที่คนไทใหญ่ออกเสียง หลวงเป็นโหลง สัญญาปางหลวง (Panglong Agreement) เป็นความตกลงระหว่างพม่า ไทใหญ่ ฉิ่น และกะฉิ่น สืบเนื่องจากการประชุมปางหลวง
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อจัดตั้งสหภาพพม่าภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ แต่ความตกลงนี้ไม่บรรลุผลเพราะพม่าไม่ปฏิบัติตาม รัฐฉาน ไทยเคยปกครองระยะหนึ่ง ไทยเรียกว่า สหรัฐไทยเดิม จนถึงกับมีนิยายเรื่อง เจ้าหญิงแสนหวี ที่เราเคยได้ยิน ไว้มีโอกาสจะเล่าเรื่อง เจ้าหญิงแสนหวี ให้ฟังอย่างละเอียด อยากจะให้ฟังเพลงประกอบบทละครเรื่อง "เจ้าหญิงแสนหวี" พ.ศ. 2481 สักเล็กน้อย บางท่านอาจจะเคยได้ยินครับ
ขอบคุณช่องยูทูป Sattahip Today มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
ความรักอันใด แม้รักเท่าไหน ยังไม่ยั่งยืน
เช่นรักคู่รัก แม้รักดั่งกลืน ยังอาจขมขื่น ขึ้นได้ภายหลัง
แต่ความรักชาติ รักแสนพิศวาท รักสุดกำลัง
ก่อเกิดมานะ ยอมสละชีวัง รักจนกระทั่ง หมดเลือดเนื้อเรา
ชีวิตร่างกาย เราไม่เสียดาย ตายแล้วก็เผา
ทุกสิ่งยอมคลาด เว้นแต่ชาติของเรา ไม่ให้ใครเข้า เหยียบย่ำทำลาย
การประชุมปางหลวงครั้งที่ 1 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรยึดรัฐฉาน คืนจากไทยแล้ว ได้มีการประชุมเรียกว่าการประชุมปางหลวง จัดขึ้นที่เมืองปางหลวงในรัฐฉานเมื่อวันที่ 20-28 มีนาคม พ.ศ. 2489 การประชุมครั้งนี้ฝ่ายอังกฤษส่งนายสตีเวนสัน เข้าร่วม ตัวแทนฝ่ายพม่าได้แก่ อู้นุ อู บาเกียน มาน บาขิ่น อูซอว์ การประชุมครั้งนี้พม่าเรียกร้องให้รัฐฉานรวมกับพม่าเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ
การประชุมปางหลวงครั้งที่ 2 หลังจากการประชุมปางหลวงครั้งแรก พม่าได้ทำความตกลงอองซาน-แอตลีกับอังกฤษเพื่อรวมอาณานิคมของอังกฤษทั้งหมดเข้ากับสหภาพพม่า ฝ่ายรัฐฉานจึงจัดการประชุมปางหลวงระหว่าง 3-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เพื่อปฏิเสธการเข้ารวมตัวกับพม่า ตัวแทนฝ่ายกะฉิ่นเข้าร่วมประชุมกับไทใหญ่เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ และตัวแทนจากรัฐชีนเข้าร่วมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ และตกลงจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา เพื่อต่อรองกับฝ่ายพม่า
ตัวแทนฝ่ายพม่านำโดย อองซาน พร้อมกับตัวแทนฝ่ายรัฐบาลอังกฤษเข้าร่วมประชุมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ เพื่อเจรจากับตัวแทนสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขาจนเป็นที่มาของการลงนามในสนธิสัญญาปางหลวงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
สาระสำคัญของความตกลง
1. ตัวแทนของชาวเขา จะได้รับการแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาข้าหลวงเกี่ยวกับพื้นที่ของรัฐชายแดน
2. สมาชิกสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา ต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมการบริหารเฉพาะด้าน ที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและกิจการต่างประเทศ
3. ที่ปรึกษาข้าหลวงและผู้ช่วยที่ปรึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดินแดนของตนเอง
4. กำหนดรายละเอียดในการตั้งรัฐกะฉิ่น
5. ประชากรในรัฐชายแดนมีสิทธิเท่ากับประชากรในประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ
6. การดำเนินงานตามสนธิสัญญาต้องไม่ละเมิดสิทธิทางการคลังของรัฐฉาน รัฐชีน และรัฐกะฉิ่น
การร่างรัฐธรรมนูญและสิทธิถอนตัว
สภาร่างรัฐธรรมนูญเริ่มประชุมที่ย่างกุ้งระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน - 24 กันยายน พ.ศ. 2490 ตัวแทนจากรัฐต่าง ๆ แสดงความต้องการให้จัดตั้งสหพันธรัฐอย่างแท้จริง แต่ระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีมือปืนบุกเข้ามายิงอองซานและที่ปรึกษาคนอื่นเสียชีวิต เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญเปลี่ยนทิศทางไป เมื่ออองซานเสียชีวิต อู้นุขึ้นมาเป็นผู้นำแทน สิทธิในการถอนตัวได้ถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญตามสนธิสัญญาเพื่อลดแรงกดดันจากกลุ่มรัฐชายแดน โดยระบุเงื่อนไขดังนี้
1. ต้องผ่านไป 10 ปีจึงถอนตัวได้
2. ต้องได้เสียง 2 ใน 3 ของสภาแห่งรัฐ
3. ผู้นำของรัฐต้องแจ้งให้ผู้นำของสหภาพทราบเพื่อดำเนินการลงประชามติ
ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญมีเพียงรัฐฉานกับรัฐกะยาเท่านั้นที่มีสิทธิถอนตัว รัฐกะฉิ่นกับรัฐกะเหรี่ยงปฏิเสธการเข้าร่วมแต่แรก ส่วนรัฐชีนถูกกำหนดให้เป็นเขตปกครองพิเศษจึงไม่มีสถานะเป็นรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้
ก่อนที่รัฐฉานจะใช้สิทธิถอนตัวตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2501 ฝ่ายพม่าส่งกำลังทหารเข้ามาแทรกซึมเพื่อให้เกิดความแตกแยกในรัฐฉาน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ฝ่ายรัฐฉานพยายามเรียกร้องสิทธิให้เท่าเทียมกับพม่าในสหภาพและเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่นายพลเนวี่นก่อรัฐประหารขึ้นเสียก่อนเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2508 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ จับผู้นำชนกลุ่มน้อยเข้าที่คุมขัง สิทธิในการถอนตัวจึงถูกระงับไปโดยปริยาย...........

Пікірлер
'จักรภพ - ช่อ' วิเคราะห์บทบาททางการเมือง 'ทักษิณ ชินวัตร'
21:32
สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
Рет қаралды 29 М.
SPILLED CHOCKY MILK PRANK ON BROTHER 😂 #shorts
00:12
Savage Vlogs
Рет қаралды 47 МЛН