Smart Farmer บทเรียนจาก "นกกระติ๊กขี้หมู" - ครูเต้ย โกเมน อ้อชัยภูมิ (TEP Forum 2024)

  Рет қаралды 66

Roong Aroon Channel

Roong Aroon Channel

Күн бұрын

“ครูเต้ย” โกเมน อ้อชัยภูมิ
ตัวแทนคุณครูประถมโรงเรียนรุ่งอรุณ
ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน “Smart Farmer” ปลูกข้าวเป็น ปลูกข้าวอย่างฉลาด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยนำตัวอย่างจากสถานการณ์ปัญหาเรื่อง “นกกระติ๊ดขี้หมู” ที่เข้ามากินเมล็ดข้าวในนาของเด็ก ๆ มาเป็นประเด็นในการเรียนรู้ร่วมกันในงาน TEP Forum 2024
“การเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนกลไกลสนับสนุนโรงเรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ”
เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2567 ณ ทรูดิจิตอล ปาร์ค
.
ครูเต้ยเล่าว่าในภาคเรียนที่ 2 ช่วงเวลาที่ข้าวในนากำลังเจริญเติบโต เด็ก ๆ ก็ได้เผชิญกับปัญหาใหญ่ที่มีนกเข้ามากินข้าวทำให้ข้าวในนาที่เด็ก ๆ ปลูกไว้ได้รับความเสียหาย จากสถานการณ์ปัญหาที่พบนำมาสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเด็ก ๆ ต่างก็เสนอไอเดียของตัวเอง จากการค้นคว้าข้อมูล หลายเสียงในห้องเรียนบอกว่า ให้ใช้วิธีกางตาข่ายคลุมแปลงนา เพราะเห็นรุ่นพี่หลาย ๆ ปี ทำวิธีนี้แล้วได้ผล
“ตาข่ายราคา 20,000 บาท ราคาของมันแพงมากเกินไปที่เราจะซื้อได้” กลอุบายที่ครูเต้ยนำมาเป็นโจทย์ปัญหาให้กับเด็ก ๆ ในขั้นต่อไป ทำยังไงดีถ้าเราไม่มีเงินเพียงพอในการซื้อ ?
.
จากโจทย์นี้สร้างความฮือฮาในชั้นเรียนได้เป็นอย่างมาก นักเรียนต่างก็ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับข้าวในนา ต่างก็ช่วยกันคิดวิธีการต่าง ๆ อย่างเร่งด่วนเพื่อมารับมือกับเจ้านกกระติ๊ดนี้ให้ทันท่วงที มีทั้งได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนี้เป็นความรู้มือหนึ่งที่เกิดจากตัวของผู้เรียนเอง เด็ก ๆ ร่วมคิดค้นวิธีมากมายมีทั้งใช้วิธีภูมิปัญญาดั้งเดิม รวมถึงมีการสร้างสิ่งประดิษฐ์โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหา บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ทดลองแล้วทดลองอีกจนพวกเราได้เผชิญกับความจริงที่ว่า “นกกรุงเทพฯ ไม่กลัวอะไรเลย”
.
กระบวนการระหว่างทางนี้เองที่ครูเต้ยมองว่ามีความสำคัญ จะเห็นได้ว่าเมื่อเด็กได้รับโจทย์ที่ท้าทายมากพอ จะทำให้การเรียนรู้ของเขากว้างขวางและหลากหลาย ไอเดียของเขาในเรื่องต่าง ๆ จะพุ่งกระฉูด ครูเพียงทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ คอยจุดชนวน และตั้งคำถามพาให้เด็กได้ขบคิด และใช้ศักยภาพในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
.
การเรียนรู้ในครั้งนี้ Visible Learning ของครูนั้นสำคัญ เมื่อครูมองเห็นโอกาสในการเรียนรู้ของตัวผู้เรียน และนำสิ่งที่ผู้เรียนสนใจมาเป็นหนึ่งในการเรียนรู้ การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นจะกว้างมากและลึกมาก บางครั้งครูต้องตั้งคำถามกับตัวเองถึงเรื่องที่สอนว่า สามารถนำไปใช้ได้จริงหรือเปล่า? หรือครูว่าไปตามที่เขาว่ามา เพราะจะเห็นว่ามีการหาวิธีการมากมายในการจัดการปัญหาเรื่องนก ซึ่งความรู้ที่หามา กลับใช้งานไม่ได้ ทำให้การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นนี้จะติดตัวผู้เรียนมากกว่าการส่งต่อข้อมูลที่ไม่ได้นำไปใช้งาน
.
TEP Forum 2024
“การเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนกลไกลสนับสนุนโรงเรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ”

Пікірлер
didn't manage to catch the ball #tiktok
00:19
Анастасия Тарасова
Рет қаралды 35 МЛН
小蚂蚁会选到什么呢!#火影忍者 #佐助 #家庭
00:47
火影忍者一家
Рет қаралды 123 МЛН
Миллионер | 2 - серия
16:04
Million Show
Рет қаралды 1,7 МЛН
SISTER EXPOSED MY MAGIC @Whoispelagheya
00:45
MasomkaMagic
Рет қаралды 16 МЛН
เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)
3:00
กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน
Рет қаралды 27 М.
KU คุ่ชุมชน 2021 : EP.9 "การปลูกเมล่อนระบบเปิด"
24:40
ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ NAETC
Рет қаралды 18 М.
กรมพัฒนาที่ดิน - การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกในการทำเกษตรผสมผสาน
5:16
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Рет қаралды 10 М.
didn't manage to catch the ball #tiktok
00:19
Анастасия Тарасова
Рет қаралды 35 МЛН