Рет қаралды 16,015
ต้นวงศ์มหิธรปุระ ณ เมืองพิมาย “Golden Boy” อาณาจักรขอมโบราณ
ปริศนา “ประติมากรรมสตรี ” พนมมือไหว้ใคร เกี่ยวข้องกับ “Golden Boy” หรือไม่!?
.“ประติมากรรมสตรี” ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญที่ไทยกำลังจะได้คืนจาก #พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิทัน หรือ The MET สหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นการส่งคืนพร้อมประติมากรรมสำริด #goldenboy แต่ในขณะที่ชิ้นหลังได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในเชิงการศึกษาค้นคว้ามากมาย (ส่วนหนึ่งเพราะความงดงามของตัวประติมากรรม) ประติมากรรมสตรีกลับเป็นที่รู้จักและมีข้อมูลน้อยมาก
.ถึงอย่างนั้น ประติมากรรมสตรี ก็ถือว่าเป็นมรดกไทยชิ้นสำคัญที่มีความงดงาม โดดเด่น และน่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเป็นรูปสตรีนั่งพนมมือเหนือศีรษะ ประมาณอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ 900-1,000 ปีมาแล้ว
.“ศิลปวัฒนธรรม” ได้สอบถามไปยัง ดร. ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระด้านโบราณคดี และคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เกี่ยวกับ ประติมากรรมสตรี ชิ้นนี้ ทำให้ทราบว่า ไม่แปลกที่ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุนี้จะมีน้อย เพราะข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องยังเป็นปริศนาเสียเป็นส่วนใหญ่จริง ๆ
.ดร. ทนงศักดิ์ ให้ข้อมูลว่า ประติมากรรมสตรีปรากฏครั้งแรกอยู่ในหนังสือของ ดักลาส แลตช์ฟอร์ด (Douglas A.J. Latchford) นักสะสมและผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณวัตถุขอม โดยให้รายละเอียดในหนังสือเพียงว่า เป็นโบราณวัตถุจากจังหวัดบุรีรัมย์เท่านั้น ไม่มีข้อมูลว่า ถูกค้นพบหรือนำออกมาจากปราสาทหลังใด ส่วนประวัติการได้มาและข้อมูลการซื้อ-ขาย ต้องรอตรวจสอบจากเอกสารที่ส่งมาพร้อมประติมากรรม
ใครคือ “Golden Boy” ? รู้จักพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ต้นวงศ์มหิธรปุระแห่งพิมาย
ข่าวการคืนประติมากรรมสำริด “Golden Boy” รูป “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Metropolitan ประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังจะส่งคืนแก่ไทย ถือเป็นข่าวใหญ่ส่งท้ายปีในแวดวงประวัติศาสตร์และโบราณคดีก็ว่าได้
สำหรับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 หรือบุคคลในประติมากรรมสำริดปิดทองทั้งองค์ จนได้รับการขนานนามว่า Golden Boy นั้น ถือเป็นปฐมกษัตริย์ของ ราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้ปกครองอาณาจักรขอมโบราณ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 โดยมีพื้นเพอยู่ที่แถบต้นแม่น้ำมูล
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เถลิงราชย์ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร แต่วงศ์มหิธรปุระไม่ใช่เครือญาติของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 เข้าใจว่า พระองค์เป็นขุนนางท้องถิ่นที่ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมโบราณที่เมืองมหินธรปุระ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่าคือ เมืองพิมาย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
“ขอมได้เข้ามามีอิทธิพลในทางวัฒนธรรมและการเมืองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำมูลนั้นได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอมอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะบรรดาปราสาทสำคัญ ๆ ในย่านนี้ปรากฏมีศิลาจารึกซึ่งระบุพระนามพระมหากษัตริย์ขอมเป็นผู้สร้าง หรือไม่ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
อันที่จริงดินแดนลุ่มน้ำมูลมีความสัมพันธ์ทั้งในทางการเมืองและวัฒนธรรมกับขอมมาช้านานแล้ว ดังที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้ในวารสารฉบับที่แล้วว่า ‘ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของเจ้าชายจิตรเสน ผู้ต่อมาได้ครองราชย์ในแคว้นเจนละในพระนามมเหนทรวรมัน’ ในสมัยหลังลงมา ความสัมพันธ์กับขอมที่ขอมก็ยังคงมีอยู่ เพราะปรากฏพบศาสนสถานแบบขอมในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 หลายแห่ง…
อันพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นี้ บรรดานักปราชญ์ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ถือเป็นกษัตริย์สำคัญองค์หนึ่งของขอมซึ่งมีเดชานุภาพมาก ได้ทรงขยายอาณาเขตของขอมออกไปอย่างกว้างขวาง พบศิลาจารึกของพระองค์ในที่ต่าง ๆ ที่ไกลไปจากขอม เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 19 ที่พบที่ลพบุรี แต่ว่าในขณะเดียวกันบรรดานักปราชญ์เหล่านั้นก็มีความเห็นว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นกษัตริย์ผู้มาจากดินแดนอื่น
โดยเฉพาะศาสตราจารย์เซเดส์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจารึกขอมก็มีความเชื่อในระแรก ๆ ว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นเจ้านายจากแคว้นนครศรีธรรมราชไปครองราชย์ที่ขอม อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของข้าพเจ้ายุติลงที่ว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นเจ้านายจากแคว้นอื่น ซึ่งอาจจะเป็นแว่นแคว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนี้ ที่ได้ไปครองราชย์ยังเมืองพระนคร อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ทางเครือญาติซึ่งเกิดจากการแต่งงานกันระหว่างกษัตริย์ของทั้งสองแคว้น
และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 คงทรงดองในทางเครือญาติกับกษัตริย์ในแคว้นต่าง ๆ เช่นในลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย จึงได้มีศิลาจารึกกล่าวพระนามในถิ่นต่าง ๆ …”
อาจารย์ศรีศักร ยังกล่าวด้วยว่า แม้หลักฐานทางศิลาจารึกและโบราณสถานแสดงให้เห็นว่า ภาคอีสานตอนใต้แถบลุ่มน้ำมูลมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมกับขอม แต่บ้านเมืองมีอิสระในตนเองสูง
เพราะศิลาจารึกหลักที่ 120 ที่ปราสาทพนมรุ้ง กล่าวถึงพระราชานามว่า “พระเจ้าหิรัณยวรมัน” และ “พระนางหิรัณยลักษมี” ซึ่งเป็นพระราชบิดาและพระราชมารดาของ “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” และ “พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1” กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ราชนัดดานาม “พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์” ยังสมรสกับราชธิดาของทั้ง 2 พระองค์ข้างต้น และมีพระราชโอรสคือ “พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2” ผู้สร้าง นครวัด นั่นเอง
จะเห็นว่าทั้ง พระเจ้าหิรัณยวรมัน และ พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ ล้วนเป็นกษัตริย์แห่ง “มูลเทศะ” ที่ถูกระบุพระนามไว้ในปราสาทพนมรุ้ง แม้ไม่ได้เป็นกษัตริย์แคว้นขอมฝั่งขอมต่ำ แต่เพราะความเป็น “เครือญาติ” พระราชโอรสและพระราชนัดดา ได้แก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6, พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 จึงมีโอกาสได้ไปครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเมือง “พระนคร” ในขอม
#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ