Рет қаралды 104,396
การแสดงชุดที่ 26 ฟ้อนหมากกั๊บแก๊บ
ประวัติการแสดง
หมากกั๊บแก๊บ เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท
คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไม้ผิวเรียบยาวประมาณ 4-6 นิ้ว 2. กั๊บแก้บไม้ยาว เป็นไม้ผิวเรียบมีการหยักร่องฟันปลา เพื่อขูดกันให้ เกิดเสียง การเล่นหมากกั๊บแก๊บนั้น สามารถเล่นได้ทุกโอกาสที่มีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน และผู้เล่นส่วนใหญ่มักจะแต่งกายเหมือนชาวอีสานโบราณ คือนุ่งผ้าเตี่ยวมีการสักลวดลายบนร่างกาย ในการแสดงความเป็นชายมีความเชื่อเกี่ยวกับการอยู่ยงคงกระพัน การเล่นหมากกั๊บแก๊บ เป็นการเล่นที่ไม่มีรูปแบบตายตัว สุดแท้แต่ใครมีความสามารถในการแสดงออกถึงลีลาท่าทางที่โลดโผนให้เป็นที่ประทับใจของหญิงสาวหรือชาวบ้าน ในอีสานของความสนุกสนานความองค์อาจขี้เล่น ของชาวบ้านในชุมชุน หากเล่นกันเป็นคู่มีฝ่ายรุกฝ่ายรับ แล้วเปลี่ยนลีลาสลับกันก็ขึ้นอยู่กับโอกาสและปฏิภาณของผู้เล่น
อาจารย์ผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำ
อาจารย์ชุมเดช เดชภิมล
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์นฤทร์บดินทร์ สาลีพันธ์
แสดงโดย
นายเดชาวัต คุณแก้ว
นายนายสุทธิวัฒน์ พุทธขันธ์