ทนาย EP 7 💥💥15 สิ่งควรระวังเมื่อจะฟ้องคดีเช็ค: เมื่อเช็คเด้งควรฟ้องคดียังไง💥💥

  Рет қаралды 12,704

สรุปหลักกม-ติวกม-ติววิแพ่ง

สรุปหลักกม-ติวกม-ติววิแพ่ง

Күн бұрын

💥💥15 สิ่งควรระวังเมื่อจะฟ้องคดีเช็ค: เมื่อเช็คเด้งควรฟ้องคดียังไง💥💥
🔥1. ฟ้องคดีอาญา (ตามพรบ.ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534) คดีอาญาอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี (เป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง)
🔥2. ม.4 "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
(2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
(3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ"
🔥3. ม.5 "ความผิดตามมาตรา 4 เป็นความผิดอันยอมความได้"
🔥4. เมื่อผู้มีสิทธิรับเงินตามเช็ค (ผู้ทรงเช็ค) ทราบว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค (ทำให้กลายเป็นผู้เสียหาย ปวิอ.ม.2(4) ตามพรบ.ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ตามระเบียบ ภายใน 3 เดือนหรือฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องการปฏิเสธการจ่ายเงิน และรู้ตัวผู้ทำผิดมิฉะนั้นคดีอาญาขาดอายุความ ปอ.ม.96
🔥5. กรณีที่ร้องทุกข์ใน 3 เดือน สามารถฟ้องคดีภายในอายุความได้ ซึ่งคดีอาญาความรับผิดจากการใช้เช็ต มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จะมีอายุความฟ้องคดีอาญา 5 ปี ตามปอ.ม.95(4)
🔥6. แต่หากมิได้มีการร้องทุกข์ไว้ในกำหนดเวลา 3 เดือน ผู้เสียหายจะต้องฟ้องคดีอาญาภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องการปฏิเสธการจ่ายเงิน และรู้ตัวผู้ทำผิดมิฉะนั้นคดีอาญาขาดอายุความ ปอ.ม.96
🔥7. โดยผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ ปวิอ.ม.3(1) โดยมีเจตนานำผู้ทำผิดมาลงโทษ จึงจะถือเป็นการร้องทุกข์ตามระเบียบ ปวิอ.ม.2(7) อันจะทำให้พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน ปวิอ.ม.121 ว.2 และต้องร้องทุกข์ในท้องที่ความผิดเกิด อ้าง เชื่อว่าเกิดตาม ปวิอ.ม.18, ม.19
🔥8. ม.7 "ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงเช็คหรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือบอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น หรือหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา"
🔥9. ระวังสิทธินำคดีอายามาฟ้องระงับเพราะ ถอนคำร้องทุกข์ (ถอนการแจ้งความ) หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ปวิอ.ม.39 และระวังการแปลงหนี้ใหม่ ปพพ.ม.349 อาจทำให้ไม่อาจมาฟ้องพรบ.เช็คได้อีก
🔥10. ฟ้องคดีแพ่งตามมูลหนี้เดิม (มูลหนี้ที่เป็นเหตุในการออกเช็ค ดูเรื่องความสมบูรณ์ของหนี้ ไม่เป็นโมฆะ วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้เดิม ไม่ขัดต่อกม. ไม่ขัดความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี)
🔥11. หากมูลหนี้เดิมเป็นโมฆะ หรือโมฆียะที่ถูกบอกล้างแล้ว แม้ต่อมาเช็คนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็ไม่อาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้รับผิดพรบ.เช็คได้ เพราะไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับตามกม.ได้ ตามพรบ.เช็ค ม.4
🔥12. ฟ้องคดีแพ่งตาม กม.แพ่ง ลักษณะตั๋วเงิน ปพพ.ม.988 เช็คที่มีเนื้อความสาระสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์เป็นเช็ค จึงจะฟ้องให้รับผิดได้ หากเช็คไม่สมบูรณ์ เนื้อหาไม่ครบถ้วนจะไม่สามารถฟ้องให้รับผิดตามพรบ.ฌช็คได้
🔥13. เปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียการฟ้องตามพรบ.เช็ค มูลหนี้เดิม และกม.ตั๋วเงิน โดยเฉพาะเรื่องอายุความ และประเภทคดี
🔥14. ฟ้องตามมูลหนี้เดิม/กม.ตั๋วเงิน (เช็ค) ถ้าทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท เป็นคดีมโนสาเร่ ค่าขึ้นศาล 1,000 บาท (คดีอยู่ในออำนาจศาลแขวง)
🔥15. ฟ้องตามมูลหนี้เดิม/กม.ตั๋วเงิน (เช็ค) หากเกิน 300,000 บาท เป็นคดีแพ่งประเภทไม่มีข้อยุ่งยาก ทุนทรัพย์ร้อยละ 2 ของจำนวนเงินตามเช็ค (อยู่ในอำนาจศาลจังหวัด)

Пікірлер: 55
@peepee768
@peepee768 Жыл бұрын
ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์ ผมฟังเข้าใจมาก เลยครับ ผมจะสอบตั๋วปฎิบัติ60 ได้ความรู้มากๆ ครับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan Жыл бұрын
ยินดีครับ ขอให้สอบผ่านนะครับ
@thelegendart8129
@thelegendart8129 3 жыл бұрын
เอาความรู้ไปช่วยคน เป็นความคิดที่ดีมากๆครับอาจารย์
@chiffoncoco
@chiffoncoco 3 жыл бұрын
พึ่งได้มาดู ขอบคุณมากๆเลยค่ะ เป็นประโยชน์กับสถานการณ์ที่เจอตอนนี้เลยค่ะ 👍😌🙏
@namnakarbtammasatit8385
@namnakarbtammasatit8385 2 жыл бұрын
ดีมากๆๆสอนเข้าใจได้ดี และ เพิ่มความรู้เดิมที่มีอยู่ ได้กระจ่างมากขึ้นครับ...ชื่นชมครับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@อุดมศักดิ์ทองรอด-น1ง
@อุดมศักดิ์ทองรอด-น1ง 2 жыл бұрын
ดีครับช่วยคนช่วยสังคม
@phalineewong2300
@phalineewong2300 Жыл бұрын
ขอบคุณ อาจารย์มากค่ะ พึ่งเข้ามาฟัง เสียดายมาเจอช้าไป
@ninety9663
@ninety9663 3 жыл бұрын
เยี่ยมเลยครับอาจารย์ 👍🏼👍🏼👍🏼
@peachatime
@peachatime 3 жыл бұрын
เพิ่งได้ดูช่องนี้ ชอบให้สอนแบบนี้มากค่ะ โยงให้เห็นหมดเลย ขอบคุณมากค่ะ
@armshare3274
@armshare3274 3 жыл бұрын
ขอบคุณท่านทนายมากครับ ได้วิธีปฏิบัติที่เป็นประโยชน์มากๆเลยครับ
@auyaratwakui28
@auyaratwakui28 2 жыл бұрын
กราบ ขอบพระคุณ อาจารย์ สิริศักดิ์ ได้ความรู้ มากมาย ค่ะ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 2 жыл бұрын
ยินดีครับ
@Drifttaro
@Drifttaro Жыл бұрын
อาจารย์สอนดีมาครับ ขอบคุณมากครับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan Жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@salisaa.4946
@salisaa.4946 3 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะ 🙏🏽 กำลังมีปัญหาเรื่องเช็คพอดีเลยค่ะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 3 жыл бұрын
ยินดีครับ
@วิชาญรอบคอบ-ด7ป
@วิชาญรอบคอบ-ด7ป Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan Жыл бұрын
ยินดีครับ
@jsrk2821
@jsrk2821 3 жыл бұрын
มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ
@pitsanupontawee
@pitsanupontawee 3 жыл бұрын
ขอบคุณมากคับมีประโยชน์มาก อยากรู้ว่าส่วนใหญ่ศาลสั่งจำคุกพวกคดีเช็คจริงๆมั้ยคับ ถ้ามีเจตนตาไม่ชำระหนี้
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 3 жыл бұрын
ปกติ คู่ความมักจะไกล่เกลี่ยกันโดย ขอผ่อนชำระหนี้ แล้วถอนฟ้้อง แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ จนศาลพิพากษาว่าทำผิด แต่หากทำผิดครั้งแรก และไม่เคยทำผิดมาก่อน ก็มีแนวโน้มจะรอลงอาญา แต่ถ้าทำผิดซ้ำหลายครั้ง มีหลายคดี ก็อาจไม่ได้รับการรอลงอาญาครับ
@pitsanupontawee
@pitsanupontawee 3 жыл бұрын
@@sirisakjungthawan ส่วนคดีถ้าผู้ต้องหาไม่มีเงินชดใช้ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ทรัพย์ก็เป็นของลูกภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียน จะทำยังไงคับ คนชั่วไม่ลอยนวลหรอคับ
@tekhotmail
@tekhotmail 3 жыл бұрын
คงต้องลองคุยกันก่อนครับ
@tanapoltanapol7523
@tanapoltanapol7523 Жыл бұрын
ขอบคุณครับ 😊
@user-dq8gq9th4b
@user-dq8gq9th4b 10 ай бұрын
อัพเดต พรบใหม่ให้ทีค่ะอาจารย์
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 9 ай бұрын
ข้อมูลยังใช้ได้อยู่ครับ เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขกม.นะครับ (มีแต่ข่าวว่าจะแก้ไข แต่ยังไม่ได้แก้ไขกม.ครับ)
@pramethgradea3229
@pramethgradea3229 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@teerananmarlaiwong3151
@teerananmarlaiwong3151 2 жыл бұрын
ฟ้องอาญาเช้ค ศาลออกหมายจับแล้ว ผู้สั่งจ่ายหนี ต้องทำยังไงต่อดีคับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 2 жыл бұрын
รอ ตำรวจจับผู้ต้องสงสัยครับ ถ้าเราสืบทราบว่า เขาอยู่ที่ไหน แจ้งตำรวจให้ไปจับได้นะครับ
@ken56100
@ken56100 3 ай бұрын
ขอบคุณครับอาจารย์เป็นประโยชน์มากๆครับ
@user-mh8df1it1h
@user-mh8df1it1h 3 жыл бұрын
แจ้งความ สน ท้องที่ ที่เราเอาเช็คไปขึ้น หรือ แจ้งสน ท้องที่ ที่ต้นขั้วเช็คคะ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 3 жыл бұрын
สน.ที่ธนาคารเจ้าของเช็ค (ต้นขั้วเช็ค) ได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน
@patttrai3521
@patttrai3521 3 жыл бұрын
ดีมากค่ะ
@siriwanbangthamai6273
@siriwanbangthamai6273 3 жыл бұрын
การไปแจ้งความกรณีเช็คเด้ง. จะต้องไปแจ้งความที่ สน.ไหนคะ. สน.ของแบงค์เจ้าของเช็ค. หรือ. สน.ไหนก็ได้คะ. ภายใน 3 เดือนตั้งแต่ถูกปฎิเสธการจ่ายเงิน
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 3 жыл бұрын
แจ้งที่สน.ที่ธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายครับ
@Horrendude
@Horrendude 3 жыл бұрын
นาทีที่46.50 แปลงหนี้ก่อนเชคเด้ง และแปลงหนี้หลังเชคเด้ง หมายความว่าอย่างไรครับ รบกวนขอขยายความด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 3 жыл бұрын
ถ้าแปลงหนี้ใหม่ก่อนเช็คเด้ง จะมีผลว่าไม่มีมูลหนี้ที่ออกเช็คอยู่แล้ว แม้เช็คเด้งก็ไม่ผิด พรบ.ความผิดจากการใช้เช็ค ม.4 แต่ถ้าเช็คเด้งแล้ว ต่อมามีการแปลงหนี้ใหม่หลังเช็คเด้ง จะมีผลว่าหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพัน จึงไม่ต้องรับผิด พรบ.ความผิดจากการใช้เช็ค ม.7 ครับ
@Horrendude
@Horrendude 3 жыл бұрын
ขอบพระคุณ​ครับ​
@gotoo_seahub8824
@gotoo_seahub8824 5 ай бұрын
ค่าเช่าฟ้องได้มั้ยครับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 5 ай бұрын
ฟ้องได้ครับ แต่จะคุ่มกับค่าทนายมั้ย ต้องพิจารณาอีกทีครับ
@pramethgradea3229
@pramethgradea3229 2 жыл бұрын
4
@pasutawongpracha8758
@pasutawongpracha8758 3 жыл бұрын
2
@watcharapongthanomsat9154
@watcharapongthanomsat9154 3 жыл бұрын
ถ้าไม่มีสัญญาการยืมเงิน สามารถฟ้องได้ไหมครับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 3 жыл бұрын
๑.ถ้ากู้เกิน ๒,๐๐๐ บาท แต่ไม่มีหลักฐาน คงต้องรอให้มีการทำหลักฐานการกู้ ก่อนจึงจะฟ้องได้ ๒.ถ้ามีหลักฐาน ทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็ใช้ได้ ๓. หากเป็นคดีผู้บริโภค ที่ผู้บริโภคฟ้อง แม้ไม่มีหลักฐายน ก็ฟ้องได้นะครับ
@pailyrinlyrin7395
@pailyrinlyrin7395 3 жыл бұрын
3
@oppooppo-br4ec
@oppooppo-br4ec 2 жыл бұрын
ขอเบอร์ด้วยค่ะ เข้าใจที่อธิบายแต่ไม่ตรงประเด็นที่เกิดกับตัวเองค่ะ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 2 жыл бұрын
ประเด็นยังไง คอมเม้นไว้ได้เลยครับ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 2 жыл бұрын
@Thadsalak Artonsri ตามที่เล่ามา น่าจะเข้าข่าย เป็นความผิด ตามพรบ.ความผิดอันเกิดเกี่ยวกับการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เข้าใจว่าเป็น มาตรา 4(5) นะครับ ซึ่งต้องแจ้งความต่อ พนักงานสอบสวน ภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องว่าเช็คเด้ง ส่วนจะฟ้องได้เงินเต็มจำนวนรึป่าวอันนี้คงต้องไปพิสูจน์กันอีกทีว่า มีส่วนของหนี้หรือดอกเบี้ยเรียกได้ตาม กม.รึป่าว และเข้าใจว่าฟ้องเป้นคดีแพ่ง เรียกเงินตามเช็คได้ด้วยครับ
@supattrathongsai3757
@supattrathongsai3757 4 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@user-sw3nq3yy6o
@user-sw3nq3yy6o 2 жыл бұрын
คดีเช็คนี่มีผลทางคดีนานเท่าไหร่ค่ะ
@sirisakjungthawan
@sirisakjungthawan 2 жыл бұрын
เป็นคดีแพ่งหรืออาญาครับ อายุความไม่เท่ากัน แล้วจะฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็ค หรือฟ้องใครครับ
@pramethgradea3229
@pramethgradea3229 2 жыл бұрын
2
@patttrai3521
@patttrai3521 3 жыл бұрын
4
这三姐弟太会藏了!#小丑#天使#路飞#家庭#搞笑
00:24
家庭搞笑日记
Рет қаралды 123 МЛН
ทนาย EP 1 การเขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถาม
45:04
สรุปหลักกม-ติวกม-ติววิแพ่ง
Рет қаралды 13 М.
ออกเช็คอย่างไร ไม่ให้ติดคุก!!
6:52
อานนท์ เชื้อสัตตบงกช
Рет қаралды 10 М.
这三姐弟太会藏了!#小丑#天使#路飞#家庭#搞笑
00:24
家庭搞笑日记
Рет қаралды 123 МЛН