transistor(EP.2) สำคัญมาก...!! สูตร..วิธีคำนวณ หากระแสไบอัส "ของทรานซิสเตอร์" ในวงจรจริง..!!

  Рет қаралды 104,979

Zim Zim DIY

Zim Zim DIY

Күн бұрын

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมาสาธิต วิธีต่อการใช้งานทรานซิสเตอร์ในวงจรจริง พร้อมกับคำนวณ กระแสที่ไหลในวงจร แบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆได้ดูครับ
ซึ่งก่อนที่เรา จะเลือกใช้ทรานซิสเตอร์ เราจะต้องรู้ขอบเขตงาน ของเราซะก่อน ว่าโหลด ต้องการใช้กระแสเท่าไหร่
อย่างโหลดตัวนี้ของ ของผมก็คือ หลอด LED สีแดง 1 ตัว
สรรพคุณของมัน ก็คือ มันจะกินแรงดันตีว่าประมาณ 2V และกินกระแส อยู่ที่ประมาณ 10mA
เพราะฉะนั้น ผมจะใช้ ทรานซิสเตอร์ ตัวเล็กๆ กระแสสักไม่เกิน 1A ก็เพียงพอแล้วละครับ
ผมจะใช้เป็นชนิด NPN
สำหรับสัญลักษณ์ของ ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN จะมีลักษณะเป็นวงกลมมี 3 ขา และก็มีหัวลูกศร ชี้ออกมาแบบนี้
ขากลาง ก็จะเป็นขา B ขาบนก็จะเป็นขา C ขาล่างก็จะเป็นขา E
ถ้าให้มองภาพ ทิศทางการไหลของกระแส กระแสก็จะไหลอยู่ 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ไหลจาก บนลงล่าง นั้นก็คือ ขา C ไปหาขา E
และส่วนที่ 2 ไหลจาก กลาง ลงล่าง นั้นก็คือ จากขา B ไปหาขา E
เราจะเรียก กระแสที่ไหลผ่านขา C พวกนี้ ว่ากระแส IC
และเราจะเรียก กระแสที่ไหลผ่านขา B เรียกว่ากระแส IB
และแน่นอนครับว่า กระแสที่ไหลผ่านรวมกันที่ขา E จะเรียกมันว่ากระแส IE
มาดู ทรานซิสเตอร์ตัวจริง ที่ผมใช้กันบ้างครับ จะเป็นเบอร์ C945 ที่ผมใช้ทรานซิสเตอร์ตัวนี้ก็เพราะว่า มันเป็นเบอร์ ที่ผมมีอยู่แล้ว
ถ้าเพื่อนๆจะใช้เบอร์อื่นๆก็ได้เเช่น กันนะครับ ขอให้เป็นชนิด NPN ก็พอ
เมื่อเอา เบอร์ไปค้น Datasheet ก็จะพบว่า เมื่อเรา หันด้านเรียบของทรานซิสเตอร์ เข้าหาตัว หรือว่า หัน พื้นที่ที่เป็ยหน้าตัด เข้ามา
ขาที่ 1 จะเป็น ขา Emiter ขาที่2 จะเป็นขา Collector และขาที่ 3 จะเป็นขา Base
กระแส IC สูงสุดที่ไหลผ่านได้ เขาบอกว่าอยู่ที่ 150mA ก็เท่ากับว่า สามารถจ่ายกระแสให้กับหลอด LED สีแดงนี้ ได้พร้อมกันสูงสุดถึง 15 หลอด ในเวลาเดียวกัน
ในวงจรนี้ เราใช้ LED เพียงแค่หลอดเดียว ก็เท่ากับว่า ทรานซิสเตอร์ ของเรา มันทำงานได้ อย่าง สบายๆ ไม่ได้โหลดหนัก
ตอนนี้ในวงจร เรามี โหลดที่เป็น LED 1 ตัว และมี ทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN อีก 1 ตัว
สิ่งที่เราต้องการเพิ่มเติม นั้นก็คือแหล่งจ่าย เพราะฉะนั้นผมจะเพิ่มแหล่งจ่ายเข้าไปตรงนี้ ผมจะใช้เป็น แบตเตอร์ขนาด 9V
เราจะต่อขั้วบวกของแหล่งจ่ายไปหาขั้วบวกของ LED
ขั้วลบของ LED ต่อเข้าขา C ของทรานซิสเตอร์
และอีกฝั่งหนึ่ง ต่อขั้วลบของแหล่งจ่าย เข้า ขา E ของ ทรานซิสเตอร์ ปกติแล้วในส่วนี้ มันก็จะต่อเป็นกราวด์ของวงจรไปในตัว เพราะฉะนั้นเราจะใส่สัญญลักษณ์กราวด์ ลงไปด้วย
นี่ครับ ในวงจรจริง ผมก็จะต่อตาม ขาที่ระบุไว้ เหมือนในกราฟ เป๊ะเลยครับ
แต่ตอนนี้ หลอดไฟมันยังไม่สว่าง ส่องออกมา นะครับ
เพราะว่ากระแสยังไหลไม่ครบวงจร
กระแส มันจะไหลมาจากขั้วบวกของ แหล่งจ่าย ไหลผ่านมาหาหลอด LED แต่มันจะ ค้าง ที่ขา C
เพราะว่าอะไร เพราะว่าเราไม่ได้ไบอัส กระแสที่ขา B นั้นเอง
สำหรับการไบอัส ก็มีอยู่ด้วยกัน หลายวิธี ด้วยกัน
ทั้งแบบ
Fix bias , Self bias , voltage divider
สำหรับวงจรนี้ผมจะขอเลือกใช้เป็นแบบ
ทั้ง Fix bias
และเพื่อความง่าย ผมจะใช้กระแสจากแหล่งจ่ายเดียวกัน
ซึ่งมันต้องการเป็นไฟบวก ไฟบวกเราก็สามารถ ต่อตรง ตรงนี้ได้เลย แต่มันจะต้องผ่าน ตัวต้านทาน ดรอปกระแส สัก 1 ตัว
เพื่อไม่ให้ทรานซิสเตอร์พัง
และการดรอปกระแส ก่อนเข้าขา B
ก็เป็น 1 ใน หลักกการทำงานของ ทรานซิสเตอร์ นั้นก็คือ จะใช้กระแส น้อย ๆ ควบคุมกระแสในปริมาณมาก
แล้วเราจะทราบค่าตัวต้านทาน RB ได้อย่างไร ที่จริงมันมีสูตรของมันอยู่ครับ
นั้นก็คือ Rb = VRB / IB
แต่เราต้องรู้ค่า ตัวแปรให้ครบซะก่อน
ตอนนี้สิ่งที่เรารู้ก็คือ 1.แรงดันของแหล่งจ่าย VCC = 9V
2.กระแสที่โหลดต้องการ หรือ กระแส IC = 10mA
และสิ่งที่เราจะต้องรู้อีกก็คือ Gain การขยายของ ทรานซิสเตอร์
หรืออีกเรียกว่า ค่าเบต้า ใน datasheet จะเขียนว่า Hfe
นี่ครับ จะอยู่ระหว่าง 70 - 700 ในเงื่อนไขนี้
แต่ถ้าเอาชัวร์
ก็จับมันวัดกับมัลติมิเตอร์ ที่มันมีโหมด วัด เกนการขยายของ ทรานซิสเตอรไปเลยดีกว่าครับ
โดยแค่ เสียบขาให้ถูกต้อง ตรงช่อง และก็ให้ ถูกชนิด
มันก็จะขึ้น อัตราการขยายขึ้นมา นี้ครับ ตัวนี้ เกนการขยาย ประมาณ 320 แต่มันไม่มีหน่วยเรียกนะครับ ถ้าเราจะเรียกแบบบ้านๆทั่วไป ก็คือ มันขยายได้ 320เท่า
ทีนี้เราก็สามารถ หาค่า IB ได้แล้วละครับ
โดยสูตรของมันก็คือ IB = IC / Hfe
เมื่อ IC เท่ากับ 10ma
Hfe = 320 หารกันก็จะเท่ากับ 0.03 mA หรือ 30uA
(10mA / 320 = 0.03mA หรือ 30 uA)
พอเรารู้ กระแส IB แล้ว เราก็เอามาแทนค่า
Rb = VRB / 30uA
แล้ว
VRB เราจะทราบค่าได้อย่างไร VRB มันมีสูตรย่อยลงไปอีก ก็คือ VRB = Vin - VBE Vin ของเราจะใช้เป็นแรงดันเดียวกับ VCC นั้นก็คือคือ 9V
ส่วน VBE ก็คือ แรงดันตกคร่อม ระหว่างขา B และขา E ขณะที่ทรานซิสเตอร์ทำงาน
ซึ่งมันมีแรงดันตกคร่อมประมาณ 0.7V เราก็ต้องนำมันมาคำนวณด้วย
ก็จะเท่ากับ 9V - 0.7V = ก็จะเหลือ 8.3V
เราก็นำมาแทนค่า
เมื่อนำค่าทั้งสองมาหารกัน
(VRB / IB ก็จะเท่ากับ 8.3 / 30uA)
ก็จะได้ค่า Rb = 276,000 ohm
หรือ 276kohm
เพราะฉะนั้น ตัวต้านทาน RB ตรง นี้ ถ้าเราดรอปกระแสด้วย R = 276 Kohm
ก็จะมีกระแสไหล IB ไหลเข้าตรงนี้ 30uA
และก็จะมีกระแสส่วนใหญ่ ไหลผ่าน หลอด LED ไปหา IC ประมาณ 10mA
สำหรับในวงจรจริง R 276K
ผมไม่มีนะครับ ก็เลยจะใช้เป็น R300K แทน
นี่ครับ ผมวัดค่าความต้านทานได้ค่าอยู่ที่ 300K เป๊ะเลยครับ
ซึ่งเมื่อเอา R มาต่อ หลอดไฟก็จะ สว่างขึ้น
ถ้าเรามาวัดกระแส กระแสที่ไหล ก็จะไม่ถึง 10mA จะได้ราวๆนี้
ก็ถือว่าทรานซิสเตอร์ตัวนี้ทำงานได้อย่าง สมบูรณ์แบบแล้วละครับ
สำหรับคลิปนี้ ผมก็ขออธิบาย ไว้เท่านี้ก่อน
ขอบคุณเพื่อนทุกท่านนที่ติดตามรับชมครับ

Пікірлер: 109
@bozzalnw5357
@bozzalnw5357 2 жыл бұрын
อธิบายดีมากครับ ถ้าสอนแบบยั่งยืนคนเอาไปต่อ ยอดความรู้ได้ ผมอยากให้สอนแบบวน KVL loop เพื่อพิสูจน์สูตรให้ผู้ชมได้เข้าใจที่มาของสูตร ผมว่าจะดีมากๆครับ สมัยผมเรียนผมไม่ได้ใช้วิธีจำสูตรพวกนี้เลย เพราะมันเรียนหลายวิธีการไบอัสทรานซิสเตอร์ สูตรมันจะเยอะมากๆ มันจะจำสูตรไม่ไหว ผมใช้วิธีวน KVL แล้วมันจะได้สูตรเฉพาะตัวของการต่อทรานซิสเตอร์แบบต่างๆออกมาทันที เพราะบางทีเราเจอวงจรที่ยากกว่านี้ สูตรจำๆพวกนี้จะอะแดปใช้งานไม่ได้ นี่คือปัญหาที่เด็กไทยต่อยอดความรู้ไม่ได้ เพราะใช้แต่วิธีจำอย่างเดียวไม่ได้เข้าใจที่มา ทำให้คิดต่อยอดไม่ได้ เช่นว่า การเข้าใจว่าทำไม VRB ต้องเอา Vin - VBE ถ้าวน KVL loop มันจะเห็นภาพทันที จากกฏ KVL แรงดันในลูป = 0 -Vin + VRB + 0.7 = 0 VRB = Vin - 0.7 หรือที่มาของเลข 0.7 ทำไมต้องเป็น 0.7 ทำไมไม่เป็น 0.3 หรือเลขอื่นๆเพราะจริงๆเลข 0.7 เป็นแรงดัน forward ของสารกึ่งตัวนำ PN junction โดยทั่วไปจะประมาณ 0.7 โวลท์ ที่เกิดจากการโดป โบร่อนกับฟอสฟอรัส ในสารกึ่งตัวนำซิลิคอน ในกระบวนการผลิตทรานซิสเตอร์ ซึ่งศักย์สนามไฟฟ้าทางเคมีจากการ โดปดังกล่าวทำให้เกิด ศักย์ไฟฟ้าเคมี โดยทั่วไปที่ 0.7 โวลท์ นี่คือที่มาของเลข 0.7
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ คุณ Bozza Lnw ถือว่าเป็น อ.เทพ อีกท่านหนึ่งที่ความรู้แบบแน่นๆ KVL ก็น่าสนไม่น้อย ถ้าหากคลิปนี้ได้รับความสนใจ คงจะได้จัดทำอย่างแน่นอนครับ
@ชื่อจริงเล่นๆชื่อเล่นจริงๆ
@ชื่อจริงเล่นๆชื่อเล่นจริงๆ 2 жыл бұрын
เขาทำอะไรเขาไม่ต้องขอความคิดเห็นหรือต้องขออนุญาตคุณหรอกคุณไม่ใช่เจ้าของคุณแค่ชายผู้หึงหวงอิเล็กทรอนิกส์
@SpeeddomeND
@SpeeddomeND 2 жыл бұрын
น่าสนใจมากครับ ยิ่งถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพกันง่ายๆยิ่งน่าสนใจครับ เป็นความท้าทายของผู้นำเสนอเลยครับ ว่าจะทำไงให้คนอื่นเขาเข้าใจ
@neteza4117
@neteza4117 2 жыл бұрын
0
@LittelKpp
@LittelKpp 3 ай бұрын
ความรู้คือพืันฐานของความสำเร็จ..ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่ทำให้
@bigzakidsbangkae2827
@bigzakidsbangkae2827 2 жыл бұрын
ผมเป็นคนชมคิปยูตูปยากมาก ๆ เจอคิปพี่อธิบายดีมาก ๆ เข้าใจง่ายไม่มีกั๊ก อธิบายได้ดีไม่วนไปวนมาซ้ำ ๆ ซึ่งบางคืปคนอื่นส่วนใหญ่ไม่ได้เรียงคำพูดมาพูดซ้ำวนไปวนมาทำให้งง ขอบคุณคิปดี ๆ แบบนี้และไม่เคยติดตามใครตั้งแต่เรียนจบมาเป็น 10 ๆ ปี สุดยอดคัฟพี่เป็นกำลังใจให้ผลิตคิปดี ๆ แบบนี้ออกมานะคัฟ กดติดตามกดทุกอย่างให้เรยย
@prasitbah6487
@prasitbah6487 2 жыл бұрын
เรียนเป็นปีๆไม่เข้าใจเลย ดูคลิปแป๊บเดียวเข้าใจเลยครับ คุณเก่งมาก
@pompomkung4389
@pompomkung4389 2 жыл бұрын
การได้ความรู้มาแล้วมีวิธีการที่จะถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายนั้นมันเป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสุง คุณซิมถือเป็นบุคคลหนึ่งที่มีวิธีถ่ายทอดหรืออธิบายความรู้ที่ต้องการสื่อได้ดีกว่าคนหลายคน เพราะวิชาไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกนั้น มันไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ต้องเอาเครื่องไม้เครื่องมือไปทดสอบมันจึงเห็นความปรากฎการณ์ ไม่เหมือนเครื่องกลที่สามารถเห็นได้ว่ามีชิ้นส่วนกลไกเคลื่อนไหวอยู่อย่างไร
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากๆครับ
@TomHack555
@TomHack555 2 жыл бұрын
สุดยอดครับ ผมจบสายนี้มา ยังไม่เข้าใจอะไรเลย พอคุณทำคลิปอธิบายเข้าใจมากขึ้น ขอบคุณครับ
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ
@apathumyala1094
@apathumyala1094 2 жыл бұрын
อาจารย์สอนเก่งมากครับ ถ้าครูท่ัวประเทศไทยสอนเก่งได้แบบนี้ประเทศเจริญแน่ครับ
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ
@soupeggs7173
@soupeggs7173 Жыл бұрын
อธิบายดีมากครับ ผมสงสัยนิดนึงครับ led มันรับได้ได้แค่ v=2 แต่ที่จ่ายให้มันตั้ง 9 v ทำไม led ไม่เป็นอะไรหรอครับ
@chonnatanpgrow6534
@chonnatanpgrow6534 Жыл бұрын
ทรานซิสเตอรทำหน้าที่เป็นrลดแรงดัน และกระแสเรียบร้อยแล้ว
@parchyasukpool9851
@parchyasukpool9851 2 жыл бұрын
เยี่ยมอีก นึงความเข้าใจ..ขอบคุณครับ. ทำไง..เป็นโปรแกรมได้..เครื่องคำนวณ คาลิโอ..เยอะแยะ..แค่แทนค่า/ใช่ ให้ได้.. ค่าอาร์..สมัยนี้...หาค่า hfe...ง่ายมาก..กว่าเก่าก่อนมากมาย..แค่เสียบขานิ...
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ
@makmakzaaa975
@makmakzaaa975 2 жыл бұрын
จากที่ผมเรียนมา ผมพยายามจินตนาการเหมือนไดโอดคล้ายกับทรานซิสเตอร์NPNเเต่ต่างกันเล็กน้อย คือถ้าราจะกำหนดให้มันทำงานเป็นวงจรขยาย เราต้องการให้ Vb>Ve ที่จุดไบอัส เเละก็ Vc>Vb จะได้ว่า Vc>Vb>Ve เมื่อวงจรทำงานอิเล็กตรอนจะไหลผ่านขาE เข้าขาBเนื่องจากจุดไบอัสเปิดเนื่องเเรงดัน Vbeมากว่าเท่ากับเเรงดันไบอัส "ทำเเรงดันบวกขาBผลัก เเละ ประจุลบขาEดูด" ให้โฮลในสารPติดกับเขตปลอดพาหะ ทำให้อิเล็กตรอนในสารNเเละสายไฟเคลื่อนตัวไหลผ่านโฮลมาที่ขาB เเต่เนื่องจากเเรงดัน+ที่ขาCดึงอิเล็กตรอนที่ผ่านจากขาEไปขาB ส่วนใหญ๋มาที่ขาC เพราะ Vc>Vb>Ve ส่งผลทำให้ Ic>Ib จากนั้นอิเล็กตรอนขาCเเละขาBจะเข้าไปที่ขาE เป็นวงจรปิดวนลูปไป ส่วนชนิดPNPจะตรงข้ามกันกับNPN ส่วนตอนเราคำนวณมันจะตรงข้ามกันเพราะกระเเสที่เรากำหนดให้มันไหลจากบวกไปลบตรงข้ามกับอิเล็กตรอน ผมเข้าใจถูกไหมครับเพราะตอนเรียนผมเรียนเรื่องนี้ไม่ค่อยรู้เรื่องเลย สูตรมันเยอะมันเเก้เเล้วมันวนๆมาจุดเดิม เเละอาจารย์ก็ไปไวมาก หาข้อมูลเองเเล้วเข้าใจเเบบนี้เลยอยากเช็คความเข้าใจตัวเอง ผิดถูกยังไงบอกผมหน่อยได้ไหมครับจะไปศึกษาเพิ่มเติม
@yutkijsamnong3202
@yutkijsamnong3202 2 жыл бұрын
แนะนำให้ใช้วงจรที่ 2 หรือ 3 นะครับวงจรแรกเมื่อ TR ร้อนค่า hfe จะเพิ่มทำให้ Ic ไหลเพิ่มความร้อนเพิ่ม hfe เพิ่มตามจนเกิด thermal runaway ครูสอนไว้ตั้งแต่วิชา อีเล็คหรอนิคส์ตัวแรกๆ ใช้งานจริงต้องทำการ swamping ไม่ให้ความร้อนมีผลต่อการทำงาน self bias แบบวงจร 1 ทำทดลองได้
@kruphetit3200
@kruphetit3200 Жыл бұрын
เขาใจสุด ขอบคุณครับ อยากให้แนะนำการนำไปประยุกต์ใช้ในการขับ Relay 5V ด้วยครับ ขอบคุณครับ
@jakrapongsungklang1472
@jakrapongsungklang1472 4 ай бұрын
ขอบคุณมากครับ ไม่รู้จะหาคำบรรยายไหนแทนคำว่าขอบคุณ เยี่ยมมาก
@anuwat_sa
@anuwat_sa 2 жыл бұрын
ชัดเจน เข้าใจง่าย สุดยอดครับอาจารย์
@Panuwat.N
@Panuwat.N 2 жыл бұрын
เหมือนได้กลับไปเรียนอีกครั้งเลยครับ สอนเข้าใจง่ายมากครับ
@chaibureepinyo1712
@chaibureepinyo1712 2 жыл бұрын
อธิบายดีมากครับ ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป
@jadsarinkkt5078
@jadsarinkkt5078 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับอธิบายเข้าใจมาก มีกำลังใจในการเรียนต่อละครับ
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
เป็นกำลังใจ้ให้สู้ๆครับ
@magichannel
@magichannel 2 жыл бұрын
อธิบายได้ดีมากๆ ครับ
@tartoruhahomo
@tartoruhahomo 11 ай бұрын
อธิบายได้เข้าใจดีมากกกกกกก สุดยอดครับ 😊😊😊😊😊
@uthaikhanthasuksa2291
@uthaikhanthasuksa2291 Жыл бұрын
นีเลยครับ อธิบายแบบง่ายๆ เข้าใจได้ง่ายง่าย ได้ความรู้มากมาย ตั้งแต่เริ่มเลย ขอบคุณที่มีคลิปดี ดี มีประโยชน์ครับ ขอให้ท่านได้ให้ความรู้กับคนมีสนใจอยากเรียนรุ็กับเรื่องนี้ เป็นกำลังใจ และ ติดตามท่าน ครับผม
@Peachii__fuki
@Peachii__fuki Жыл бұрын
เรียนในคาบแทบไม่ทราบอะไรเลย พอมาดูคลิปนี้เหมือนบรรลุโสดาบันด้าน transistor เลยครับ ขอบคุณมากครับ คลิปนี้มีประโยชน์มากๆ
@theerapoll.5340
@theerapoll.5340 2 жыл бұрын
เข้าใจง่ายดีครับ
@jaransukngam2682
@jaransukngam2682 2 жыл бұрын
เพิ่มเติม..แรงดัน Vbe เป็นค่ามาตรฐานที่ตกค่อมสารกึ่งตัวนำเมื่อถูกไบอัสตรง(กระแสไหลไปตามทิศทางที่ถูกต้อง)ซึ่งมีค่าประมาณ 0.7 โวลท์และเท่ากันกับแรงดันตกคร่อมของไดโอด(ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำเช่นกัน)...
@easyguitar422
@easyguitar422 2 жыл бұрын
ขอบคุณเมนต์นี้เลยครับ กำลังจะเมนต์ถาม
@yoosee1534
@yoosee1534 11 ай бұрын
เช่นกันคราฟฟ😅😅😅😅
@RatchanonTH
@RatchanonTH 2 жыл бұрын
สอนเรื่อง วงจรบาลานซ์แบตเตอรี่หน่อยครับ
@วีระวงค์สงฆ์
@วีระวงค์สงฆ์ Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับได้ความรู้จริง
@ธิติวุฒิชุ่มใจ
@ธิติวุฒิชุ่มใจ 2 жыл бұрын
ผมเรียนอิเล็ก 5ปีครับ ไม่เคยเข้าใจเลย สงสัยมาตลอดว่าวงจรแบบนี้คืออะไร ไบอัสคืออะไร เจอคลิปนี้เข้าไป8นาที กระจ่างเลย
@ThePuuc2
@ThePuuc2 2 жыл бұрын
อันนี้เราสามารถใช้เป็นวงจรจำกัดกระแสเพื่อขับหลอด led ได้ไหมครับ ชอบวิธีการอธิบายมากครับ ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้
@korn4169
@korn4169 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@PampostReturning
@PampostReturning 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับผม.
@sakchaithepsai8871
@sakchaithepsai8871 6 ай бұрын
มาทบทวน..ตอนเรียนปวส.อีเล็ค
@somsakulv
@somsakulv 2 жыл бұрын
สุดยอดมากๆ
@mrsombatsombat3521
@mrsombatsombat3521 2 жыл бұрын
ขอบคุณ​มาก​ครับ​อาจารย์​
@สํารวยแสนหอม-ค8ฑ
@สํารวยแสนหอม-ค8ฑ 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ
@ปรีชาวิดประโคน-ท4ถ
@ปรีชาวิดประโคน-ท4ถ Жыл бұрын
ขอบคุณครับครู
@ChayX99
@ChayX99 2 жыл бұрын
ผมดูแล้วพอเช้าใจเกือบหมดครับ แต่มาติดตรงVBEว่าหาจากไหนถึงได้0.7v ผมเลยไปเปิดดาต้าของเบอร์ในคลิปดูมันกำหนกค่าสูงสุดที่ 1v เลยเข้าใจเอาว่า 0.7v มาจากการกำหนดของเราเองโดยไม่ไห้เกินค่าสูงสุดที่1v ใช่ไหมครับ
@WinaiKoonthai
@WinaiKoonthai 2 жыл бұрын
ค่า 0.7 มาจากแรงดันของสารกึ่งตัวนำ ในทรานซิสเตอร์แบบไบโพล่าจะมีค่านี้มาทุกตัว แต่จะมากกว่านี้หรือจะน้อยกว่านี้ก็ต้องเปิดดาต้าชีทดู แล้วแต่เบอร์รุ่นครับ
@pompomkung4389
@pompomkung4389 2 жыл бұрын
คหสต ..มันเป็นค่ากลางๆของสารกึ่งตัวนำที่ถูกโดป แต่ก็อาจคลาดเคลื่อนได้ เหมือนอย่างค่าอัคราการขยาย trลอตเดียวกันอัตราขยายยังไม่เท่ากันเลยสักตัวเลย
@nattawatpubpimsai1992
@nattawatpubpimsai1992 2 жыл бұрын
ค่า 0.707 มันก็คือค่าเดียวกันกับ ไดโอดชนิดสาร Si โดยหลักการภายใน Tr ก็มีสาร Sami con กำหนดคล้าย ไดโอดครับ
@nattawatpubpimsai1992
@nattawatpubpimsai1992 2 жыл бұрын
เพิ่มเติมคือแล้วแต่ Tr ว่าจะใช้ Si=0.7 หรือ Ge=0.3 ครับ
@nattawatpubpimsai1992
@nattawatpubpimsai1992 2 жыл бұрын
@pps.sks88 ที่ผมพูดหมายถึงแรงดันตกคร่อมนี่แหละครับ
@สุริโยภูธรอีสานอินดี้
@สุริโยภูธรอีสานอินดี้ Жыл бұрын
ช่องนี้ดีมากเลยครับให้ความรู้ดีละเอียดดีครับผมชอบมากเลยครับกดติดตามครับผม
@irrigationcontrol916
@irrigationcontrol916 2 жыл бұрын
เยี่ยมครับ
@jackchank69
@jackchank69 2 жыл бұрын
ผมจบอิเล็ก 48 มาพื้นความทรงจำครับ อ.
@kriangkraipuntachai490
@kriangkraipuntachai490 8 ай бұрын
พออนุเคราะห์​วงจรควบคุม​Triacได้มั้ยครับผม
@นายธนดลสุวรรณพรม
@นายธนดลสุวรรณพรม 10 ай бұрын
อาจารย์ครับถ้าทำงานกระเเส ขั่วลบขาEจะไหลไปขั่วแบต ไหลไปหาขาC ก็จะมี บวกลบ จึงทำให้Ledติด เหมือนกับ เหนี่ยวนำ ใช้ไหมครับ สงสัย มือใหม่หัดเร่น
@LittelKpp
@LittelKpp 3 ай бұрын
แผ่งที่ใช้ทดลอง.เค้าเรียกว่าอะไร.สั่งได้จากไหนครับ
@sonklang2926
@sonklang2926 2 жыл бұрын
คือผมเรียนช่างอิเล็กแต่ยังคิดโปรเจคไม่ออกเลยครับ ตอนนี้ฝึกงานอยู่ ช่วยแนะนำหน่อยครับว่าทำอะไรดี🙏
@moscoolman4719
@moscoolman4719 2 жыл бұрын
LED แบบที่ใช้แรงดันตกคร่อมมันไม่เกิน 1.7V ถ้าเป้นแบบวงจรมันจะตกคร่อม 9V เลยทีเดียว ต้องมี R ช่วยดรอปแรงดันที่ขา C วงจรถึงจะสมบูรณ์ครับ ไฟส้มเชียวในคลิป >
@wanlopsinthupakom229
@wanlopsinthupakom229 4 ай бұрын
ขออนุญาตแก้ให้นิดนึงนะครับ ปกติ led ไม่สามารถทนแรงดันได้ขนาดนั้น และจะระเบิดนะครับ. ซึ่งขออธิบายเพิ่มเติมว่าแรงดันตกคร่อมตามที่อาจารย์แกอธิบาย จะอยู่ที่ led ประมาณ 2 v และตกคร่อมที่ transistor ขา ce ที่ประมาณ 8 v ครับ
@dhammachard7629
@dhammachard7629 2 жыл бұрын
สุดยอด
@สุระสิทธ์มีชัย
@สุระสิทธ์มีชัย 2 жыл бұрын
อยากให้อธิบายวงจร แอมป์จิ๋วรุ่นxh-m510 ใช้ชิปtda7498e ทำไมสเป็กบอกได้100*100วัตต์ ทำไมมันได้น้อยจัง และเมื่อเปิดเเรงๆมันจะตัด4โอม8โอมตัดเมื่อเปิดแรงๆ เเละต้องโมยังไงให้วัตต์เต็มเท่าไอซีชิปที่เขาระบุไว้ว่า160*160วัตต์
@aram68-wh7uw
@aram68-wh7uw Жыл бұрын
สมัครเรียน.สมัครเป็น FC. ครับ
@aumbamboo
@aumbamboo 2 жыл бұрын
ผมคำนวนได้. เพราะจบอิเล็กทรอนิกส์ มาเลยง่ายหน่อยครับ.
@390Vision
@390Vision 7 ай бұрын
ทำไมไม่ต่อ R ให้กับ LED เหทือนปกติทั่วไปครับ
@patipanpaanan5594
@patipanpaanan5594 Жыл бұрын
ใช้กับวงจรขยายเสียง ใช้สูตรนี้ได้ไหมคับ
@sammuelrattanaprathum7071
@sammuelrattanaprathum7071 4 ай бұрын
ดูช่องถ่ายทอดความรู้ด้านอีเลคโทรนิคส์หลายช่อง ดูช่องนี้อธิบายได้ละเอียดและเข้าใจง่ายดีมาก👍
@sirimaya4414
@sirimaya4414 2 жыл бұрын
แอดสอนทำกล้อง cctv จากมือถือเก่าหน่อยครับ
@dachawit
@dachawit 9 ай бұрын
สายจั้ม ที่ขางในเป็นลวดเส้นเดียว เรียกว่าอะไรหรอครับ ผมจะซื้อใช้มั่งครับ
@SamIndy2011
@SamIndy2011 4 ай бұрын
เอาสายแลนมาตัดใช้สายย่อยข้างในได้ครับ
@sawaitaikratok6640
@sawaitaikratok6640 2 жыл бұрын
คำถามนะครับ เราต่อ ทรานซิสเตอร์ในกรณีนี้ เพื่ออะไร ทำไมไม่ต่อสวิทซ์หรือรีเลย์ธรรมดา
@plp1136
@plp1136 2 жыл бұрын
เพื่อให้ทรานซิสเตอร์ผลิดความถี่ให้วงจรด้วยครับ
@bozzalnw5357
@bozzalnw5357 2 жыл бұрын
ทรานซิสเตอร์ทำงาน เปิด-ปิด ที่ความเร็วระดับไมโครวินาที 10^-6 ส่วนรีเลย์ทำงานแค่ระดับมิลลิวินาที 10^-3 แต่การใช้งานในวงจรสวิตชิ่งพาวเวอร์ซับพลายหรือวงจรขยาย ความถี่ทำงานวิ่งกันระดับ 10kHz-500kHz หรือภาษาชาวบ้านคือ ต้อง เปิด-ปิด 1 หมื่น - 5 แสนครั้งต่อวินาที ลองคิดดูว่ารีเลย์มันจะทำงานทันไหม และแถมรีเลย์ยังเป็นกลไกแมกคานิค สลับหน้าสัมผัส ป๊อก แป๊ก ๆ 1 แสนครั้งต่อวินาที พัง อย่างเขียด เสียงดัง นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ทรานซิสเตอร์ แต่ในคลิปนี้จุดประสงค์เขาคือสาธิตการสอนใช้งานให้คำนวณเข้าใจเบสิคง่ายๆเท่านั้นเอง ส่วนในการใช้จริงถ้าแค่แบบในคลิปเปิดปิด LED แค่นี้คงไม่มีใครใช้ทรานซิสเตอร์ เข้าใจนะครับ แต่ถ้าเป็นงานอื่นๆเช่นพวกสวิตชิ่งพาวเวอร์ซับพลาย แอมป์ขยาย ยังไงก็หนีไม่พ้นการใช้งานทรานซิสเตอร์ ส่วนสวิตช์มือคงไม่ต้องสงสัยไม่มีใครเป็นทานอสใช้มือ เปิด-ปิด สวิตซ์ 5 แสนครั้งต่อวินาทีได้อยู่แล้ว ส่วนสมัยนี้มันมีอื่นๆเพียบ นอกจากทรานซิสเตอร์ เช่น มอสเฟต (ทำงานเร็วกว่าทรานซิสเตอร์อีก)ระดับเมกะเฮิรตซ์ MHz
@ชุติกาญจน์สุวรรณพรม
@ชุติกาญจน์สุวรรณพรม 2 жыл бұрын
ถ้าต่อทรานซิสเตอรล่ะครับ
@at190.corona2
@at190.corona2 2 жыл бұрын
แล้วมอสเฟตล่ะคับหายังไงคับ
@suppeak3510
@suppeak3510 Жыл бұрын
กราบบบ
@018429386
@018429386 2 жыл бұрын
ช่วยต่อ สาธิต อธิบาย กฎ เคอร์ชอฟ ให้เห็นในวงจรเห็นภาพจริงหนอยครับ
@พรี่เชใจนักเลง
@พรี่เชใจนักเลง 2 жыл бұрын
ถ้าเราใส่เป็น Variable Resistor ใส่ตรง RB หลอด LED จะสว่างตามค่าที่เร่ปรับด้วยใช่ไหมครับ
@SamIndy2011
@SamIndy2011 4 ай бұрын
จะสว่างตามที่ปรับครับแต่ต้องต่ออนุกรมกับ R ค่าคงที่ด้วยเพื่อไม่ให้กระแสขา Base เกิน
@nattapolpunpaen2539
@nattapolpunpaen2539 Жыл бұрын
งงเหมือนเดิมเลยครับ😅
@trairongrungrakkitjapron8285
@trairongrungrakkitjapron8285 9 ай бұрын
VBE = 0.7V หาจากไหนครับ
@SamIndy2011
@SamIndy2011 4 ай бұрын
เป็นค่าแรงดันอิ่มตัวของรอยต่อPN สารเซมิคอนดัคเตอร์แบบซิลิคอน ถ้าสารซิมิคอนคัดเตอร์แบบเยอรมันเนี่ยม จะเป็น 0.2
@kimyongchainon8976
@kimyongchainon8976 2 жыл бұрын
0.7มายังไงคับ
@นายธนดลสุวรรณพรม
@นายธนดลสุวรรณพรม 2 жыл бұрын
พี่Sim Sim ถ้าต่อ2ตัวล่ะ
@กิตติพันธ์ปลั่งกลาง-ฉ5จ
@กิตติพันธ์ปลั่งกลาง-ฉ5จ 2 жыл бұрын
มาช้าอะ ลองจิ้มขานั้นมาขานี้ อ่าว ไหม้555555
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
ถือว่าเป็นประสบการณ์ครับ ฮ่าๆ
@นาคีนีบัวสาย
@นาคีนีบัวสาย 2 жыл бұрын
อย่าลืมคำนวณค่ากำลังไฟฟ้าด้วยเด้อ ตัวต้านทานผมไหม้เลย ศึกษาดีๆ
@intelonsleya
@intelonsleya 8 ай бұрын
นาที ที่ 7:18 8.3v/30mA =276,000 โอม ทำไมผมคำนวณได้ 8.3/0.03 =276.666 คิดยังไง ให้ได้ 276,000
@ปังปอนด์เบรคเกอร์ซิ่ง-ป7ง
@ปังปอนด์เบรคเกอร์ซิ่ง-ป7ง 2 жыл бұрын
ของผมเอาหลอด LED ขนาด 2 โวลท์ ไปต่อกับถ่านนาฬิกา 1.5 โวลท์ 2 ก้อน เป็น 3 โวลท์ ทำไมหลอดมันขาดอ่ะครับผม ทั้งๆที่แรงดันไฟมันต่ำครับผม
@cn_edit8670
@cn_edit8670 2 жыл бұрын
ขอตอบแทนนะครับ พี่ใช้แบตเตอรี่aไหนครับ ถ้ากระแสสูงเกินไปหลอดก็ขาดได้ครับ
@ปังปอนด์เบรคเกอร์ซิ่ง-ป7ง
@ปังปอนด์เบรคเกอร์ซิ่ง-ป7ง 2 жыл бұрын
@@cn_edit8670 เป็นถ่านทั่วไปเลยครับผม ถ่านนาฬิกาครับผม
@somebodyinnobody
@somebodyinnobody 2 жыл бұрын
แรงดันเกินกับกระแสเกินครับ เลยขาด ต้องใส่ R อนุกรมไว้สักหน่อยก่อนเข้าหลอด
@ปังปอนด์เบรคเกอร์ซิ่ง-ป7ง
@ปังปอนด์เบรคเกอร์ซิ่ง-ป7ง 2 жыл бұрын
@@somebodyinnobody ขอบคุณครับพี่ ว่าแต่ใช้ตัว ต้านทานกี่โอห์มครับพี่
@SamIndy2011
@SamIndy2011 4 ай бұрын
​@@ปังปอนด์เบรคเกอร์ซิ่ง-ป7ง(แรงดันถ่าน -- แรงดันตกคร่อม LED) / กระแสไฟตามกำหนดของ LED ถ้า LED ที่ใช้แสดงสถานะทั่วไป ก็ 20 mA ก็จะได้ (1โวลท์/ 20)×1000= 50 โอมห์
@wiratumpo6833
@wiratumpo6833 Жыл бұрын
+10
@wongnarut
@wongnarut 2 жыл бұрын
อธิบายได้ดีมากๆครับ
@nattawatpubpimsai1992
@nattawatpubpimsai1992 2 жыл бұрын
ขอดูการไบอัสกลับและไบอัสสเตบิไลซ์ด้วยนะครับ
@เกษมสูรย์ราช
@เกษมสูรย์ราช 2 жыл бұрын
เยี่ยมครับ
@doodopop6809
@doodopop6809 8 ай бұрын
ปรึกษาหน่อยได้ไหมครับคือหาตัวนี้แทนให้หน่อยครับ
@yk-ji2qf
@yk-ji2qf 2 жыл бұрын
เรียนมาหลายปีมาเห็นคลิปนี้มาย้อนถามตัวเองเมื่อก่อนทำไมเราไม่เข้าใจว่ะ
@matenajace
@matenajace 2 жыл бұрын
ตอนที่เรียนช่างอาจารย์ทำไมไม่สอนแบบนี้น้อ
@oygamse543
@oygamse543 2 жыл бұрын
สอนต่อกับโซล่าเซลล์แบบเปิดปิดไฟกลางคืนหน่อยครับ
@Frank-kg1gg
@Frank-kg1gg 2 жыл бұрын
อยากให้ทำวิธีคำนวณมอสเฟตด้วยครับอาจารย์
@แอดวานซ์แอร์เซอร์วิส
@แอดวานซ์แอร์เซอร์วิส 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับคลิปดีๆมีคุณภาพครีบ👍👍
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับ
SHAPALAQ 6 серия / 3 часть #aminkavitaminka #aminak #aminokka #расулшоу
00:59
Аминка Витаминка
Рет қаралды 2,4 МЛН
哈哈大家为了进去也是想尽办法!#火影忍者 #佐助 #家庭
00:33
Win This Dodgeball Game or DIE…
00:36
Alan Chikin Chow
Рет қаралды 42 МЛН
ทรานซิสเตอร์
11:27
พี่นะโม พี่น้ำปิง
Рет қаралды 5 М.
PNP Transistor Learn+Practice #Transistor EP.7
49:50
CoreComCenter
Рет қаралды 17 М.
SHAPALAQ 6 серия / 3 часть #aminkavitaminka #aminak #aminokka #расулшоу
00:59
Аминка Витаминка
Рет қаралды 2,4 МЛН