ส้มตำ อาหารรสแซบจานนี้ มีที่มาจากไหนกันแน่ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.47

  Рет қаралды 931,895

ประวัติศาสตร์ นอกตํารา

ประวัติศาสตร์ นอกตํารา

3 жыл бұрын

ส้มตำเป็นอาหารที่คนไทยคุ้นเคยมานาน หลายคนจึงเข้าใจว่า ส้มตำคืออาหารไทยแท้ ๆ แต่ทว่าส่วนประกอบหลักของส้มตำ กลับไม่ใช่พืชพื้นถิ่นของประเทศไทย หรือแม้กระทั่งประเทศใด ๆ ในอุษาคเนย์
#ส้มตำไทยปูปลาร้า #ปลาแดก #มะละกอ #ตำหมากหุ่ง #ประวัติศาสตร์นอกตำรา
ติดต่อรายการ email: untoldhistory.officail@gmail.com

Пікірлер: 3 100
@2532mega
@2532mega Жыл бұрын
บ้านผม ไทยอิสาน เรียก ตำบักหุ่งครับ เป็นเมนูหลัก ที่ต้องมีในสำหรับ กินเป็นปกติประจำ ส่วนใหญ่จะกินในมื้อเที่ยง
@jeepwinly2851
@jeepwinly2851 Жыл бұрын
ถูกต้องแล้วครับแอด ยุค 35 ก่อนปีก่อน ไปลาว จะไปกินตำลาว ไม่มีตำลาวในประเทศลาว สรุป ตามที่แอดว่า เกิดที่กรุงเทพฯ ครกบ้านผมซื้อมาจากกรุงเทพ อายุ ครก 50+ ปีแล้ว ครับ ยุคนั้นคนอีสานเข้าไปทำงานกรุงเทพฯ ยืนยันยุคนั้นลาวแตก แถว หนองคายเต็มไปด้วยคนลาวอพยพ เกิดมาก็เห็น ตำไทย ตำลาว แล้ว ตำหลวงพระบาง ตำเวียงจันทน์ เพิ่งได้ยิน ตอนหลัง ๆ ครับ
@chanthasendarath1906
@chanthasendarath1906 Ай бұрын
เมื่อก่อนเขาไม่ได้เรียกตำลาวตำไทยหรอกเพิ่งจะมาเรียกตอนที่โลกศรีวิไลขึ้นมา เพราะไทยเอามาดัดแปลงให้เป็นใส่กุ้งแห้งน้ำตาลเยอะๆเพื่อนง่ายกับการเรียกก็เลยมีชื่อตำไทยตำลาวเมื่อก่อนเขาเรียกตำบักหุ่ง คนกรุงเทพจะดูถูกมากถ้าใครกินตำมะละกอ
@ems720
@ems720 Ай бұрын
35 ปีก่อนคนลาว อพยพ เข้าไทย และ ไปประเทศต่างๆ เยอะ ครับ มันเลยไม่ค่อยมี
@dj.djames1830
@dj.djames1830 10 күн бұрын
ทั้งพริก ทั้งมะละกอ มะเขือเทศ ได้จากอเมริกาใต้ น้ำปลาก็ได้จากพ่อค้าชาวโอกินาว่า ทั้งหมดเรียกว่าเข้ามาทางท่าเรือทั้งนั้นเลย ลาวไม่ติดทะเลแล้วจะมีส้มตำเกิดก่อนไทยได้ไง😅
@sboonthae
@sboonthae Жыл бұрын
มาจากลาวกวาดต้อนไม่น่าจะใช่มาจากอีสานก็ไม่น่าจะใช่อีกเพราะมะละกอเป็นพืชจากอเมริกาใต้คงมาจากชาวโปรตุเกสซึ่งปกครองอเมริกาใต้ในช่วงนั้น ผมคิดว่าเป็นการประสมกระสานจากปลาร้าที่เป็นอาหารพื้นเมืองที่มีวางขายตามตลาดในสมัยกรุงศรีอยุธยามีข้อมูลอ้างอิงจากคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่ามีปลาร้าวางขายในกรุงศรีอยุธยาเเล้ว อีกทั้งยังมีคำให้การของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมากรุงศรีอยุธยาเเล้วกลับไปฝรั่งเศสพร้อมกับไหปลาร้าที่ได้รับมอบมาจากกรุงศรีอยุธยาว่ามีกลิ่นเเรงไม่ค่อยน่าทานนัก ส่วนมะละกอคงมาจากชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับไทยคงนำเมล็ดมาเพาะปลูกเเล้วเกิดการประสมปนเปกันไป กับปลาร้าที่หาทานได้ง่ายในกรุงศรีอยุธยาอยู่เเล้ว ส่วนตัวส้มตำเกิดขึ้นที่ไทยนี่เเหละครับไม่ใช่ลาวกวาดต้อนหรืออะไรเพราะลาวไม่มีทางออกทะเลไม่สามารถติดต่อกับโปรตุเกสได้ในช่วงนั้น ส้มตำน่าจะเกิดที่ภาคกลางในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทน์เเล้วเเพร่กระจายไปตามภูมิภาคต่างๆของไทยโดยเฉพาะอีสานเเละข้ามไปนิยมในประเทศลาวหรือล้านช้าง ส่วนเหตุผลว่าทำไมคนอีสานถึงนิยมทานส้มตำมากกว่าผมคิดว่าภาคกลางน่าจะได้อิทธิพลจากคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ไทยมากในช่วงกรุงศรีอยุธยาเเละกรุงรัตนโกสินทน์ทำให้ภาคกลางได้รับบทบาทเเละรูปแบบอาหารการกินในเเนว ผัดๆ ซึ่งกลายเป็นอาหารไทยไปในที่สุดอีกทั้งภาคกลางมีอาหารการกินหลากหลายเพราะเป็นภูมิศาสตร์ใกล้เมืองหลวงจึงมีผู้คนหลากเชื้อชาติ อาหารการกินก็หลากหลายมากกว่า เเตกต่างกับส้มตำซึ่งหลังจากเเพร่กระจายจากภาคกลางไปสู่ภาคอีสานเเล้วกลับได้รับความนิยมเนื่องจากราคาถูก ประหยัด หากินง่ายสอดคล้องกับฐานะความเป็นอยู่ของคนอีสานที่ไม่เน้นหวือหวา เน้นประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย เเต่สรุปส้มตำเกิดจากภาคกลางครับเเล้วเเพร่กระจายไปทุกภูมิถาคของไทย
@radhanasiri
@radhanasiri Жыл бұрын
Paul Boonthae การสรุปว่าส้มตำเกิดจากภาคกลางแล้วเเพร่กระจายไปทุกภูมิภาคของไทย ขัดแย้งกับเมนูมะละกอในท้องถิ่นหลายอย่าง และหลายท้องที่ด้วยครับ ผมคิดว่าอาจแบ่งช่วงได้ครับ 1 ยุคแรกๆ คนไทยมีวัฒนธรรมตำและยำผักผลไม้อยู่แล้วสารพัดแบบและเป็นวัฒนธรรมร่วมกันของภูมิภาคนี้ด้วย คือ ไทย พม่า ลาว มอน เขมร มลายู มีกันหมด แต่ไทยลาวกระจายตัวในแถบนี้มากก็จะเด่นหน่อย 2 ต่อมามีมะละกอ เข้ามาจากฝรั่ง ก็ต้องขึ้นที่เมืองชายผังก่อน โดยเฉพาะจุดที่ฝรั่งค้าขายหรือมีอำนาจ ดังนั้นไม่ว่า พม่า แถวทวาย ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระนอง ภูเก็ต ลงไปถึง แหลมมะละกา ย้อนมาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จนถึงอยุธยา หรือแม้แต่ฝั่งกัมพูชา ย่อมมีโอกาสได้มะละกอเข้ามาก่อน * ถ้าเป็นภาคอิสานหรือลาวที่ไม่มีเมืองท่าก็อาจเข้าไปจากภาคกลางหรือต้องเข้าทางเวียดนาม ตอนเหนือของเวียดนามมีคนตระกูลไทยลาวอยู่อาศัยเยอะ (ยุคก่อนไม่แบ่งตามประเทศคนอิสานก็เรียกตัวเองว่าลาว) แต่มีโอกาสน้อยเพราะเป็นเส้นทางป่าเขา มีการค้าขายแลกเปลี่ยนไม่มาก 3 มีส้มตำท้องถิ่นมาก่อนส้มตำแบบใหม่ครับ 3.1 พม่า ทวายอะไรต่างๆ ก็มีส้มตำแบบท้องถิ่นครับ พม่าตอนล่างจุดที่ติดชายแดนก็มีประชากรเป็นคนเชื้อชาติไทยอยู่มาก มีส้มตำแบบของเขาครับ 3.2 ระนองก็มีส้มตำ จนลงมาถึง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฏร์ ก็มีส้มตำ * ทำแบบ ลอกอยอก เป็นส้มตำใส่กะปิ กินกับ ใบมะยม ใบชะพลู ในทองหลาง วิธีทำเน้นคลุกบีบกับมะนาวให้เส้นมะละกออ่อน รสเผ็ดร้อนเปรี้ยวเค็ม มีหวานมันจากวัตถุดิบเพิ่มกุ้งเสียบ ปลาฉิ้งฉั้งนิดหน่อย * ไม่เน้นใส่น้ำตาลหวานตำผสมเอากรอบๆแบบยุคนี้ เพราะยุคก่อนอาหารกลุ่ม คาวในภาคใต้ไม่นิยมน้ำตาล (สมัยก่อนเรียกน้ำผึ้งนำหน้าเครื่องปรุงรสหวาน น้ำผึ้งรวง น้ำผึ้งโหนด น้ำผึ้งพร้าว การเรียกน้ำตาลนำหน้าเรียกตามหลักสูตรหนังสือและสื่อต่างๆที่เข้ามาทีหลัง) แกงส้มอะไรต่างๆ ถ้าใส่น้ำผึ้งลงไปโดนตีมือ * นิยมทำ ลอกอยอก ให้คนสร่างไข้กินเป็นคล้ายๆยา มีรสร้อนแรงกระตุ้นประสาทสัมผัส แต่ยามว่างก็กินกันทั้งบ้านนั่นหละ ฝั่งสุราษฏร์มีการหุงข้าวมันใส่กะทิกินด้วยแต่ไม่แน่ใจว่าจัดเข้าคู่กับส้มตำแบบส้มตำในภาคกลางด้วยหรือไม่ * นอกจากนี้ภาคใต้ยังมีการใช้เส้นมะละกอทำอาจาดหรือดองกินกับขนมจีน อันนี้อาจแปลกสำหรับภาคอื่นที่เน้นอาจาดแตงกวา 3.3 ภาคกลางมีส้มตำแบบ กินคู่กับข้าวมัน(ใส่กะทิ) ภาคอิสานก็มีตำมะละกอกับมะกอกมาก่อน ไม่ใช่ตำไทยแบบใหม่ 4 ตอนผมเด็กๆภาคใต้ไม่มีส้มตำแบบใหม่ การทอดไก่ปลาอะไรต่างๆไม่มีแบบชิ้นใหญ่ชุบแป้ง มีแต่พวกเรียกว่าเบือก็ใช้กับผัก แต่มีการทำทอดมัน ลูกชิ้นอะไรต่างๆอยู่นะ ไก่ทอด ส้มตำแบบใหม่ที่เน้นใส่น้ำตาล เพิ่งเข้ามาราว 40 ปี มาพร้อมๆกับยุคที่ ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ ก๋วยเตี๋ยวอะไรต่างๆเริ่มแพร่หลายถึงชนบทมากขึ้น * ดังนั้น ส้มตำยุคก่อนมีอยู่ทั่วไปครับ พม่าทวายอะไรก็มี และไม่มีภาคไหนสามารถเคลมเอาได้ว่าเป็นต้นตำหรับนะครับ แต่ภาคที่ติดชายฝั่งค้าขายกับฝรั่งโดยตรงจะมีโอกาสเยอะกว่าภาคเหนือภาคอิสาน * ส่วนส้มตำยุคใหม่ ตำไทย เกิดในประเทศไทยแน่นอน แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดที่ภาคกลางหรือภาคอิสาน ดังนั้นไม่ต้องแย่งกันหรอก และภาคอื่นแม้แต่พม่าก็มีส้มตำแบบของเขาเองอยู่ก่อนด้วยนะ
@dj.djames1830
@dj.djames1830 10 күн бұрын
ทั้งพริก ทั้งมะละกอ มะเขือเทศ ได้จากอเมริกาใต้ น้ำปลาก็ได้จากพ่อค้าชาวโอกินาว่า ทั้งหมดเรียกว่าเข้ามาทางท่าเรือทั้งนั้นเลย55555
@user-nh4vx1bb1x
@user-nh4vx1bb1x 3 жыл бұрын
ผมคนอีสานอายุ 64 ปี ตั้งแต่จำความได้(3-4 ขวบ) แม่พากินแล้วและก็กินมาตลอด คนอีสานตำส้ม,ตำบักหุ่ง ผมเชื่อว่าแรกเริ่มต้องเกิดขึ้นที่อีสาน,ลาว แน่นอน.
@user-tq3fw2yq2r
@user-tq3fw2yq2r 3 жыл бұрын
คนไทอิสาน หรือคนลาวสองฝั่งของกินตำแตง ตำถั่วเป็นเมนูอาหารประจำถิ่นอยู่แล้ว และกินตำผลไม้ตามฤดูกาลเรียกว่า ตำส่ม คนวัยหนุ่ม วัยสาวจะนิยมตำกินเล่นตอนเที่ยง หรือกินเรียกน้ำย่อยก่อนพักกินข้าวสวย หรือกินข้าวบ่าย(14.30-15.00) จะนิยมกินตำส่มเช่น ตำส่มบักขาม ตำส่มบักยม ตำส่มบักม่วง ตำส่มบักทัน ตำส่มบักก้วย ตำส่มบักแงว ตำส่มบักหวาย ตำส่มบักยอ ตำข่า ตำส่มบักเม่า ตำส่มบักค้อ ตำส่มบักแฟน ตำส่มบักเดื่อ ตำส่มบักเค็ง ตำส่มบักเล็บแมว ตำส่มบักโกดิบ ตำส่มบักหัวลิง และตำส่มบักฮุง... สันนิษฐานว่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ เจ้าเมือง หรือผู้สำเร็จราชการจากกรุงเทพฯ ได้นำเมล็ดมะละกอจากกรุงเทพฯขึ้นมาปลูกตามหัวเมืองอิสาน เพื่อกินผลสุกเท่านั้น... สันนิษฐานว่า คงจะเป็นผลไม้หวงห้ามไว้ให้สำหรับเจ้าเมือง หรือผู้ปกครองเมืองกินเท่านั้น... ประชาชนคนอิสานทั่วไปห้ามกินมะละกอสุกเด็ดขาด... สันนิษฐานว่า ต่อมามีนก หนู กระรอก บ่าง ลิงกินผลมะละกอสุกแล้วขี้ลงพื้นดิน มะละกอจึงเกิดแพร่หลายตามเรือกสวน หัวไร่ปลายนา และในป่าเขาทั่วไป... มะละกอดิบมีรสจืด คนอิสานจึงนำเอาผลดิบมาฝานเปลือกออก สับเป็นเส้นตำคลุกใส่เครื่อง แจ่ว จนกลายเป็นเมนูตำบักฮุงในที่สุด... สันนิษฐานว่า คนอิสานเรียก มะละกอ เป็น หมากฮุง หรือบักฮุง น่าจะเพราะมะละกอสุกมีกลิ่นเน่าเปรี้ยว หรือเพราะไม่อยากเรียกตามแบบ พวกไทยบางกอก หรือเพราะเหตุผลอื่นๆ(เดาล้วนๆเด้อ).....? จะสังเกตุว่าคนอิสานทั่วไป ไม่นิยมกินมะละกอสุก เพราะไม่ชอบกลิ่นมัน หรือเพราะไม่ชอบรสหวาน(มั้ง)... คนอิสานจะปลูกมะละกอ หรือบักฮุงไว้ตามสวนนา สวนบ้านต้นหรือสองต้น จะล้อมรั้วไว้อย่างแน่นหนา คนอิสานจะหวงบักฮุงมาก ใครจะขโมยอะไรในสวนคนอิสานจะไม่ถือสาหาความกันเท่าไหร่ ถือว่าแบ่งปันกันกิน แต่ถ้าใครบังอาจมาขโมย มาลักบักฮุง นี่เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องโตได้ขึ้นบ้านผู้ใหญ่บ้าน หรือบ้านพ่อกำนันกันเลยทีเดียว.... มะละกอ บักฮุง ออกผลตลอดปี ผลใหญ่ คนอิสานจึงนิยมนำผลดิบมาตำกินเป็นอาหารแทนตำแตง หรือตำถั่วฝักยาว... จิงๆแล้วตำบักฮุง ไม่ใช่เมนูอาหารหลักของชาวอิสานเลย จะนิยมตำบังฮุงกินเวลาออกไปทำงานตามท้องไร่ ท้องนา หรือตำเลี้ยงแขกดำนา เกี้ยวข้าว หรืองานบุญ งานคนเป็น งานคนตาย เลี้ยงคนจำนวนเยอะๆ.. เฒ่าคนแก่ชาวอิสานจะเรียกว่า ตำแจ่วบักฮุง.. คุณยายผมอายุ 70-80 แกสั่งห้ามลูกหลานตำบักฮุงกินตอนข้าวงาย(ข้าวเช้า 8-9 โมงเช้า) ถ้าใครตำบักฮุงจะต้องแยกวงไปนั่งกินต่างหาก พวกเด็กๆชอบกันมากๆๆๆ🤣🤣 คุณยายแกจะบ่นประจำว่ามีแนวอยาก แนวกิน มีปู ปลา กบ เขียด แนวกินอย่างอื่นบ่ออึด บ่ออยาก พวกสูพากันมากินตำบักฮุงนิบ้อ ฮืย..สูมันพวกขี้ค้านหากิน จังแมนสูบ่ออายไทบ้าน ไทเมืองเพิ่นตี้ พ่ะน่ะ..🤣🤣
@tiankeo9472
@tiankeo9472 3 жыл бұрын
สมัยกอ่นกินข้าวกับตำบักฮุ่งแบบง่ายๆเพราะมันเป็นฤดูทำนา
@sunsineywicha3500
@sunsineywicha3500 3 жыл бұрын
ดิฉันมีพื้นเพมาจากภาคเหนือ(เหนือสุดแดนสยาม) คิดว่าวัฒนธรรมการกินตำส้มทั้งหลายน่าจะเป็นวัฒนธรรมธรรมร่วมของอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง ที่มีมาตั้งแต่โบราณนะคะ ตั้งแต่สมัยเป็นเด็กน้อย(ปัจจุบันย่าง40)ก็เห็นคนรุ่นพ่อ-แม่จนถึงรุ่นพ่ออุ้ยแม่อุ้ยตำส้มกินกันเป็นอาหารกลางวันกันไล่มาตั้งแต่ ส้มมะขาม ส้มมะก้วยเต้ด ส้มโอ ส้มมะแตง ที่สำคัญใส่น้ำปู๋ด้วย ทั้งนี้คำว่าส้มภาษาเหนือหมายถึงเปรี้ยว คือกันกับ ส้มในภาษาอิสาน ค่ะ
@chai5432
@chai5432 3 жыл бұрын
สันนิษฐาน(เดาเอาทั้งนั้น)5555 พริกเกิดขึ้นครั้งแรกในแอฟริกาเเล้วค่อยกระจายไปทั่วโลก (มันใช่รึ) แล้วคนคู่แรกเกิดขึ้นที่ไหนแล้วกระจายไปทั่วโลกใช่ไหม ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือเลย
@srichaith.5766
@srichaith.5766 3 жыл бұрын
หมากหุ่งหรือหมากรุ่งในคำไทยครับ​ น่าจะ​เรียกตามสีของผลที่สุก​
@user-tq3fw2yq2r
@user-tq3fw2yq2r 3 жыл бұрын
@@chai5432 ผมเข้ามาแสดงความเห็นเรื่องส้มตำครับ ผมไม่ได้อยากรู้ว่ามนุษย์คู่แรกแพร่ขยายพันธุ์อย่างไร
@punmatsapong4696
@punmatsapong4696 3 жыл бұрын
เขมรรับส้มตำไปจากไทยเหมือนกัน เพราะสมัยเขมรแตกยังไม่มีส้มตำกินกันเลย แม่ค้าที่พนมเปญเคยมาทำงานที่ไทย แล้วซื้อสูตรจากแม่ค้าปากซอย บ้านที่ตัวเองทำงาน นำกลับไปเผยแพร่ในพนมเปญ เพราะราว10ปีก่อนหาคนตำส้มตำแถบชายแดนไม่เคยอร่อย เพราะเขาเพิ่งหัดตำ ปัจจุบันรู้จักใช้น้ำปลาร้าไทยสำเร็จรูปกันแล้ว เพิ่งไปกินมา
@user-cq8kf8rf3l
@user-cq8kf8rf3l 3 жыл бұрын
ของลาว หมด อย่าเครม
@Marisakim9814
@Marisakim9814 3 жыл бұрын
แล้วเขมรจะเอาส้มตำขึ้นมรดกโลกอีกมั้ย5555555
@satokun6723
@satokun6723 3 жыл бұрын
@@user-cq8kf8rf3l ลาวมีมะละกอยุคสมัยไหน อาณาเขตก็ไม่ติดทะเล แล้วจะติดต่อทำการค้ากับต่างชาติได้อย่างไร ในเมื่อมะละกอมาจากอเมริกาใต้
@satokun6723
@satokun6723 3 жыл бұрын
@@user-cq8kf8rf3l ชนชาติลาวในไทยในอดีตน่ะใช่ เเต่ชนชาติลาวที่ประเทศลาวปัจจุบันน่ะไม่ใช่
@takedazu
@takedazu 3 жыл бұрын
เห็นด้วยครับ เมื่อเกือบ 20 ปีก่อนผมไปเที่ยวเสียมเรียบ ไม่เห็นมีส้มตำขาย แต่ไปครั้งล่าสุดเมื่อสามปีก่อน มีส้มตำไทยขายแทบทุกร้านแต่เค้าก็ใช้ชื่อ som tam ตามแบบไทยนะครับ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีเมนูผัดกะเพรา ซึ่งก็ใช้ชื่อ pad kaprao ด้วยครับ
@user-mm7yw4qm6d
@user-mm7yw4qm6d 2 жыл бұрын
ชอบสารคดีนี้มากเลยดูเกือบหมดทุกตอน ให้ความรุ้เยอะมากคนรุ่นหลังจะได้รุ้ประวัติความเป็นมาด้วย ขอบคุณคนจัดทำรายการทุกคนนะคะ
@nareeratwu3710
@nareeratwu3710 3 жыл бұрын
ส้มตำคืออาหารยอดฮิต เรานี่อยู่ไหนก้ขาดพริกกับปลาร้าไม่ได้ ตอนนี้อยู่ ยุโรป ก้กินได้ทุกวัน ตำมะละกอ ตำแตง ตำถั่ว ตำหัวผักกาด ตำแครอท แซ่บๆๆ
@loveshare8010
@loveshare8010 3 жыл бұрын
ถ้าจะบอกว่า ส้มตำ กำเนิดมาจากไหน เดิมชื่ออะไร คงจะถกกันไม่จบง่ายๆ แต่ถ้าจะถามว่า ส้มตำ โด่งดังขึ้นมาได้อย่างไร ใครเผยแพร่ อันนี้ตอบได้เลยว่า มาจากคนอีสานที่พูดลาว เพราะประมาณ40-50ปีมาแล้ว ที่คนอีสานหลั่งไหลเข้าไปทำงานในกรุงเทพ และอาชีพหนึ่งที่ทำกันเยอะ คือ เปิดร้านข้างทางขายลาบ ส้มตำ ไก่ย่าง มีแทบจะทุกถนน ทุกซอย ถ้าจะไปตามหาร้านส้มตำของคนกรุงเทพโดยกำเนิด คนใต้ คนภาคกลาง น่าจะไม่มีเลยในสมัยนั้น ร้านคนเหนือมีอยู่บ้าง ดังนั้นจึงสรุปได้ง่ายว่า คนอีสานเป็นผู้เผยแพร่การกินส้มตำไปสู่กรุงเทพ
@loveshare8010
@loveshare8010 3 жыл бұрын
มะละกอ คนอีสานเรียกว่า หมากหุ่ง หรือ บักหุ่ง เมื่อนำมาทำอาหารเมนูนี้จึงเรียกว่า ตำหมากหุ่ง และในขณะเดียวกัน เมื่อมันมีรสเปรี้ยว คนอีสานเรียกว่า รสส้ม จึงเรียกว่า ตำส้ม ด้วย แต่ในเวลาพูดกันจริงๆ จะพูดสลับกันไปมา ทั้ง ตำส้ม และส้มตำ เหมือนกันกับ เรียก ไข่เจียว ว่า ไข่ทอด และทอดไข่ โดยไม่สนใจว่า คำไหนคือ นาม คำไหน คือ กริยา เมื่อเปิดร้าน ก็ขึ้นป้ายว่า ส้มตำ บ้าง ตำส้มบ้าง แต่เวลาผ่านมาหลายสืบปี คนมีความรู้มากขึ้น จึงใช้เปลี่ยนมาใช้คำว่า ส้มตำ กันทั้งหมด ขณะเดียวกัน คำว่า ตำหมากหุ่ง ซึ่งเป็นคำดั้งเดิมของอีสาน กลับถูกใช้ลดลงเรื่อยๆ คาดว่า อนาคต คำว่า ตำหมากหุ่ง อาจจะสูญไปจากภาคอีสาน เหมือนอีกหลายๆคำ ที่สูญหายไปแล้ว เช่น บ่วง โอ เพราะคนรุ่นใหม่ใช้คำไทยกลางมาพูดแทน
@loveshare8010
@loveshare8010 3 жыл бұрын
@@user-er8ou2bu1s ใช่ครับ จะทำไงดี กลัวมันสูญหาย ภาษามันบอกรากเหง้า ประวัติศาสตร์ของเชื้อชาติ บางทีอาจจะต้องตั้งกลุ่มอนุรักษ์ภาษาอีสาน ใครเห็นด้วยมาทางนี้ครับ ช่วยกดไลค์รัวๆ
@nsasoneG
@nsasoneG 3 жыл бұрын
ส้มตำ(มะละกอ)เกิดที่ภาคกลางของไทย จากกลุ่มคนที่อยู่ที่นี้ ซึ่งคือคนลาวที่อยู่ไทย (ปัจจุบันเป็นคนไทยหมดแล้ว) สรุปเกิดที่ไทยนี่แหละ เหมือนๆกับผัดไทย เทคนิควิธีการแบบจีน แต่ก็ไม่ใช่อาหารจีนและกำเนิดที่จีน ส้มตำก็เช่นกัน เทคนิควิธีการแบบลาว แต่ไม่ใช่อาหารของประเทศลาวที่กำเนิดที่ลาว เช่นเดียวกับมัสมันญีปุ่น มัสมันต้นกำเนิดคืออินเดีย แต่มันพัฒนาแยกสายไปและไม่ใช่อินเดีย มันคือมัสมันญี่ปุน
@radhanasiri
@radhanasiri 2 жыл бұрын
ส้มตำแบบมะลอกอมีในภาคใต้มานานแล้วครับ มีตั้งแต่ส้มตำอิสานยังไม่เข้ามา ส้มตำอิสานเพิ่งเข้ามาราวๆสี่ห้าสิบปีนะ มันเข้ามาพร้อมๆ ทีวีวิทยุหนังสือพิมพ์ ไก่ชุบแป้งทอดอะไรนี่หละ คนเฒ่าคนแก่ทำแบบโบราณเป็นครับ เรียกว่าลอกอยอก ใช้มะละกอขูด ตำใส่ปลาย่างปลาแห้งกุ้งแห้ง ดีปลีหรือพริกไทย น้ำมะขามหรือมะนาว กะปิ น้ำตาลปีป น้ำปลา หยิบทำให้เป็นคำๆด้วย ใบมะยม ใบชะพลู ใบทองหลางแล้วกิน หลักๆมีประมาณนี้ ความแตกต่างที่ชัดเจนมากๆคือ ใส่ กะปิ พริกไทย และกินกับใบไม้ครับ แต่จะเพิ่มถั่วลิลง ถั่วฝักยาวหั่นซอย อะไรต่างๆก็ปรุงกันไปครับ
@phongsira5478
@phongsira5478 2 жыл бұрын
ภาษาอีสานบ่หายดอกครับยังมีคำว่าลาวอยุ่นำการพัฒนาไปเลื่อยๆอันนี่ก้อไม่ว่ากัน😍😍อดีตมันเปลี่ยนอนาคตบ่ได้ครับ
@niticha169
@niticha169 3 жыл бұрын
สมัยเด็กๆผมเรียกส้มตำว่าตำส้ม ทุกวันนี้แม่ยังเรียกตำส้มอยู่เลย คนอยุธยาครับแม่เป็นคนอู่ทอง สุพรรณบุรี
@palmkaewnanchai1629
@palmkaewnanchai1629 3 жыл бұрын
ที่จังหวัดลำปางก้อเรียกตำส้มเหมือนกันค่ะ
@pinyavlc1710
@pinyavlc1710 3 жыл бұрын
ที่บ้านก็เรียกตำส้มเหมือนกันจ้า อยุธยามีศัพท์เฉพาะหลายคำที่คนต่างถิ่นไม่เข้าใจ 55555
@user-oy9be6hd5u
@user-oy9be6hd5u 3 жыл бұрын
คนเหนือก็เรียกตำส้มทั้งนั้นไมมีใครเรียกส้มตำ
@user-rs7cg1hb6b
@user-rs7cg1hb6b 3 жыл бұрын
ฉะเชิงเทราก็เคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่เรียกตำส้มเหมือนกัน
@user-jy4xg4iv2k
@user-jy4xg4iv2k 3 жыл бұрын
เชียงใหม่ก็เรียกตำส้มคับ
@catastrophe8503
@catastrophe8503 3 жыл бұрын
บ้านผม เรียก3อย่าง ตำส่ม ตำบักกอ ตำบักฮุง เเต่ส่วนใหญ่เรียกตำส่ม หรือตำส้ม เเต่ตำอะไรก็ช่าง ขาดผงนัวไม่ได้นะครับ
@futuretech4641
@futuretech4641 3 жыл бұрын
เป็นอาหารไทยอีสานแท้ครับ เรียกตำหมากหุ่งเห็นมาตั้งแต่เกิด มีอยู่ในภาคอีสานยังไม่แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ไม่ใช่อาหารหลัก ไม่นิยมอย่างทุกวันนี้ ส่วนมากจะตำกินกันตอนกลางวันเผ็ดๆ กินเล่นๆเป็นกลุ่ม กินแก้ง่วงให้หูตาสว่าง ไม่มีร้านขาย นอกจากนี้ยังมีตำพืชผลไม้อื่นๆอีกเยอะแยะ 50ปีที่แล้วจึงเริ่มแพร่กระจายเป็นที่นิยม ความเห็นจากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ
@radhanasiri
@radhanasiri 2 жыл бұрын
ส้มตำแบบมะลอกอมีในภาคใต้มานานแล้วครับ มีตั้งแต่ส้มตำอิสานยังไม่เข้ามา ส้มตำอิสานเพิ่งเข้ามาราวๆสี่ห้าสิบปีนะ มันเข้ามาพร้อมๆ ทีวีวิทยุหนังสือพิมพ์ ไก่ชุบแป้งทอดอะไรนี่หละ คนเฒ่าคนแก่ทำแบบโบราณเป็นครับ เรียกว่าลอกอยอก ใช้มะละกอขูด ตำใส่ปลาย่างปลาแห้งกุ้งแห้ง ดีปลีหรือพริกไทย น้ำมะขามหรือมะนาว กะปิ น้ำตาลปีป น้ำปลา หยิบทำให้เป็นคำๆด้วย ใบมะยม ใบชะพลู ใบทองหลางแล้วกิน หลักๆมีประมาณนี้ ความแตกต่างที่ชัดเจนมากๆคือ ใส่ กะปิ พริกไทย และกินกับใบไม้ครับ แต่จะเพิ่มถั่วลิลง ถั่วฝักยาวหั่นซอย อะไรต่างๆก็ปรุงกันไปครับ
@user-rb9ou4md2d
@user-rb9ou4md2d 3 жыл бұрын
ส้มตำกับตำส้มคืออันเดียวกัน แค่สลับคำหน้าหลังตามภาษาแต่ละถิ่น ส้มคือรสเปรี้ยว อีสานกินผลไม้เปรี้ยวเรียกกินส้ม ต้องจินตนาการถึงเมืองท่านานาชาติรับผักผลไม้แปลกๆขึ้นบกสมัยโน้นว่ามีที่ไหนบ้าง อยุธยา มะละกอส้มตำแพร่ไปอาณาจักรอื่นๆผ่านพ่อค้าวาณิช และเจ้านายที่เคยเข้ามาอยู่ในราชสำนักอยุธยาและกรุงเทพ ขึ้นไปภาคเหนือเรียก บะก้วยเต้ด หมากกล้วยเทศ เพราะตอนยังเล็กดิบมองเหมือนกล้วย คนไทยจะเติมคำว่าเทศต่อหลังสิ่งของเข้ามาภายหลัง เพื่อแยกกับของเก่าเช่น มะเขือเทศ มันเทศ หมายถึงเป็นของนอก ฝรั่งเข้ามาอยุธยาบันทึกว่ามีเมนูคล้ายส้มตำ ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์มีเมนูข้าวมันส้มตำ ทำเลี้ยงแขกเลี้ยงพระเวลามางาน หลังๆซาความนิยมลงไป หากินยาก ในหนังสือเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก(ประมาณร.5-ร.6)บอกว่าที่บ้านในกรุงเทพคนแก่ชอบกินตำลูกยอใส่ปลาร้า ในหนังสือเด็กบ้านสวน(ประมาณร.6)บอกว่าคนงานในสวนผลไม้ฝั่งธนบุรีทำส้มตำอีสานกินกัน สรุป ส้มตำมีกำเนิดที่เมืองท่า ส้มตำมีสองชนิด คือส้มตำไทยภาคกลาง และส้มตำลาวอีสานกินกับไก่ย่าง มาตามแรงงานอพยพ ถ้ายุคโน้นตำไทยใส่ปลาร้าก็อย่าได้แปลกใจ เพราะภาคกลางหลายจังหวัดกินปลาร้ามานานแล้ว คุณชายคึกฤทธิ์ยังมีเมนูข้าวต้มปลาร้า ส้มตำข้ามไปลาวจากอีสาน หรือผ่านพ่อค้าเจ้านายตามที่เล่าข้างบน เหมือนหลายเมนูจากไทยที่ไปประเทศเพื่อนบ้านตอนนี้ เหตุผลง่ายๆ ลาวไม่ติดทะเลเอามะละกอมาจากไหน เครื่องปรุงล้วนนำเข้าจากฝั่งไทย
@sunduncan1151
@sunduncan1151 3 жыл бұрын
ผมคนสุโขทัย เปรี้ยวก็พูดว่า “ส้ม” เหมือนกันครับ ในจารึกมีคำว่า “หมากส้มหมากหวาน” หมายถึง ผลไม้เปรี้ยวและผลไม้หวาน ปัจจุบันคนภาคเหนือตอนบน-ตอนล่างและภาคกลางส่วนใหญ่ยังใช้ “ส้ม” เป็นคำวิเศษณ์หมายถึงเปรี้ยว ถ้าเป็นคำนามจะเติม “มะ” เป็น “มะส้ม” เคยทราบมาว่าคนใต้ก็พูดว่า “ส้ม” หมายถึงเปรี้ยวเหมือนกัน เพราะภาษาปักษ์ใต้กับภาษาเจ๊ะเหเป็นภาษาถิ่นที่วิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัย สรุปคือน่าจะมีแค่คนกรุงเทพและบางจังหวัดที่ใช้คำว่า “เปรี้ยว” ส่วนชื่อเรียกสีมีทีหลังเรียกตามผลไม้เปรี้ยวที่มาจากจีน สมัยก่อนใช้คำว่า “แสด” เป็นชื่อสีแต่จะเข้มกว่า คนไทยโบราณไม่ได้กินรสเผ็ด คำว่า “พริก” มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า Paprika (ปาปริกา) Pepper (เปปเปอร์) คนเขมรเรียก ម្រេច (มเร็จ) คนมอญเรียก မေရက္ (เมียะร็อด) “มะละกอ” ก็ไม่ใช่พืชพื้นถิ่น แต่ละภาคจึงเรียกไม่เหมือนกัน เพราะภาษาไทดั้งเดิมไม่มีคำเรียกมะละกอ ภาคกลางเรียก “มะละกอ” มาจาก “หมากหลากกอ” บ้างก็ว่ามาจากภาษามลายู melaka (มือละกอ) ที่มาของชื่อแคว้นมะละกา คนเหนือเรียก “บ่าก้วยเต้ด” (หมากกล้วยเทศ) เพราะเห็นเป็นกอคล้ายกล้วย คำว่า “เทศ” ก็บ่งชี้ว่ามาจากต่างประเทศ เหมือนคำว่า “มะเขือเทศ” “มันเทศ” ส่วนคนลาว (รวมคนอีสาน) เรียก “หมากหุ่ง” (หมากรุ่ง) เดิมเป็นชื่อพืชอีกตระกูลก็คือละหุ่ง ซึ่งคนลาวมักนำมาให้แสงสว่างจึงเรียก “หมากรุ่ง” (หมากฮุ่ง) ต่อมาพอมะละกอแพร่เข้ามาคนลาวก็พลอยเรียกพืชตระกูลมะละกอที่ไม่ใช่พืชพื้นถิ่นว่า “หมากหุ่ง” ด้วย คนเขมรก็เรียก ផ្លែ​ល្ហុង (แพฺล-ละฮุง) แต่ที่น่าสนใจคือคนพม่าเรียกว่า သေဘၤာ (ติม-บอ) มาจาก “สำเภา” เพราะมีรูปร่างคล้ายเรือสำเภา “มะม่วง” ก็ไม่ใช่พืชพื้นถิ่น แต่คนไทยน่าจะปลูกตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว อย่างน้อยก็สมัยสุโขทัย เพราะปรากฎในจารึกสุโขทัยว่า “หมากม่วง” โดยน่าจะแพร่พันธุ์มาจากอินเดียหรือคาบสมุทรมลายู ถิ่นกำเนิดคืออินเดียใต้ คำว่า “ม่วง” ก็รากศัพท์เดียวกับคำว่า mango มาจากภาษามาลายาลัม മാങ്ങ (māngga) ส่วนคนเขมรเรียกมะม่วงว่า ស្វាយ (สวาย) คนเวียดนามเรียก xoài (สว่าย) ส่วนคนมอญเรียก ၾကဳက္ (เกริ๊ก) คนพม่าเรียกว่า သရက္ (ตะเย็ก) ซึ่งน่าจะมาจากภาษามอญ (คนพม่าออกเสียง ร เป็น ย) คนไทยโบราณไม่ใช้น้ำมันทำอาหาร ไม่มีอาหารทอดหรือผัด ไม่กินหมู พวกนี้มาจากคนจีนทีหลัง คนไทยโบราณเน้นกินผักกับปลา ซึ่งถือว่าคลีนมาก คนไทยสมัยก่อนจึงไม่ค่อยอ้วน คล้ายอาหารเวียดนามที่เน้นผัก (สังเกตว่าสาวเวียดนามจะเบิ้มคือลือทุกคน 555) แต่คนเวียดนามทุกวันนี้กินเค็มมาก ไม่เฮลตี้แบบเมื่อก่อนแล้ว
@radhanasiri
@radhanasiri 2 жыл бұрын
คนไทยโบราณไม่ได้กินรสเผ็ด *อันนี้ก็ไม่จริงครับ แต่เผ็ดของเราเป็นเผ็ดร้อน ไม่ใช่เผ็ดปากปลิ้นแบบพริกขี้หนู มีดีปลีเชือก ดีปลีต้น ให้รสเผ็ดร้อนครับ ทั้งภาษาทุกภาคเรียกตรงกันหมด ตอนหลังมีพริกไทย(คนใต้เรียกพริกเฉยๆ) และคนใต้เรียก พริกขี้หนูชี้ฟ้าอะไรต่างๆว่า ดีปลีด้วยครับ บางพื้นที่เรียกลูกเผ็ด คนไทยโบราณไม่ใช้น้ำมันทำอาหาร อันนี้ก็ไม่จริงครับ มีนำ้มันมะพร้าว ไขมันวัวควายเลียงผาอะไรต่างๆทั้งเป็นยาและทำอาหารครับ ส่วนเมนูลงกะทะมักเป็นเมนูคั่ว และลวกสองแบบคือ ลวกน้ำ และลวกด้วยกะทิต้ม ครับอันนี้คือแบบพื้นบ้านเลยนะครับ มีหลายเมนูที่เริ่มหายไปแล้ว เช่น ข้าวคั่วครับ เป็นข้าวใหม่หุงกินตอนเย็น กินเหลือ ก็กระจายใว้ห่างๆให้แห้งแข็งแยกเม็ด ก็คั่วไฟอ่อนแบบแห้งๆจนผิวนอกสุกนิดๆปะทุแบบข้าวพอง กรอบๆ แล้วก็ใส่เครื่องปรุงสดแห้ง หยอดน้ำมันมะพร้าวให้หอมนั่นนี่ กินกับน้ำปลานิึ่งปรุงรสครับ
@theresaundthapita4225
@theresaundthapita4225 3 жыл бұрын
อยู่เยอรมัน​ค่ะ​ ส้มตำ papaya salat ขายดีมากๆค่ะ😊
@iwillmissyouforever7916
@iwillmissyouforever7916 Жыл бұрын
ชอบช่องนี้จริงๆ ได้ความรู้ ดูเพลิน
@thanyathanyarat9936
@thanyathanyarat9936 3 жыл бұрын
เกิดมาก็มีเลยค่ะ ส้มตำ ที่อุดรฯ เมื่อก่อน มีประกวดแชมป์ส้มตำทุกปีค่ะ ต๋อมแชมป์ส้มตำ น่าจะเป็นรุ่นแรก ๆ ของแชมป์ส้มตำที่อุดร พี่แกเป็นทอม เมื่อก่อนร้านพี่แกอยู่ซอยข้างชลประทาน ตอนนี้ย้ายมาอยู่ทางเข้าวัดโพธิวราราม ร้านอยู่ทางซ้ายมือค่ะ มีอาหารอิสาณอื่น ๆ ขายด้วย พี่แกขายเฟรนด์ไชน์ด้วยรึเปล่า แต่ไม่แน่ใจค่ะ อายุแกน่าจะ 50 กว่าค่ะ แกเป็นแชมป์มานานล่ะค่ะ ร้านแกทั้งที่เก่า ใหม่น่าจะ ร่วม 30 ปีแล้วค่ะ อุดรธานี น่าจะเป็นต้นกำเนิด ตั้งแต่สมัยสงครามอินโดจีน ตั้งแต่มีคอบบรา อยู่หน้าค่ายรามสูร โนนสูง อุดรธานีแล้วค่ะ คหสต..จ้าาา
@user-hh4yl4ny1z
@user-hh4yl4ny1z 3 жыл бұрын
ใครถามคับ
@user-np7gr5ub4b
@user-np7gr5ub4b 7 ай бұрын
ปู่ย่าตายายบอกว่าเกิดมาก็ตำกินเป็นแล้วครับ55555 เขาก็ไม่รู้หรอกใครเป็นต้นกำเนิด แต่ว่าคนอีสานชอบกินและชอบทำขาย ไปอยู่ที่ไหนก็เจอร้านส้มตำโดยเฉพาะกรุงเทพมีแต่คนอีสานเปิดร้านส้มตำ
@pipathloveda8895
@pipathloveda8895 3 жыл бұрын
ส้มตำมาจากคนลาวกับคนแถบอิสานนี่แหละ แต่ก่อนไม่ค่อยนิยอมกินกัน เลยไม่ค่อยมีใครสนใจเพราะคนส่วนมากไม่ชอบปลาร้า คนอิสานส่วนมากเข้ามาทำงานในเมืองเยอะเขาจะชอบทำอาหารกินเอง จากทำกินเองก็ทำขาย เมื่อเวลาผ่านไปคนเริ่มรู้จักเยอะเริ่มคุ้นชินในรสชาติจากที่หลายคนเคยรังเกลียดปลาร้า กลายเป็นเริ่มชอบพอมีคนชอบเยอะก็เริ่มแย่งกันว่าคนนั้นคนนี้ทำก่อนทั้งที่แต่ก่อนพูดถึงปลาร้าพากันยี๋ พออาหารที่ทำได้รับความนิยมก็แย่งกันเป็นเจ้าของผลงาน ปลาร้านี่เป็นส่วนประกอบหลักของคนอิสานกับลาวเพราะงั้นส้มตำก็มาจากถิ่นนี้แหละ แยกแยะระหว่างถิ่นกำเนิดมะระกอกับถิ่นกำเนิดส้มตำด้วยนะต่อให้มะระกอนำเข้าจากขั้วโลกใต้ยังไงเมนูส้มตำก็เกิดอยู่ถิ่นอิสานกับลาวเป็นถิ่นแรกมันไม่ได้เกี่ยวกับว่ามะระกอเกิดที่ไหนแล้วส้มตำต้องเป็นเมนูที่ถิ่นนั้น ยกตัวอย่างเช่นเนื้อวากิวนำเข้าจากญี่ปุ่นคนไทยเอามาลาบ เมนูลาบก็ต้องเกิดที่ไทยเป็นเจ้าแรกหาใช่จุดกำเนิดวากิวที่อยู่ญี่ปุ่น
@mhappy5084
@mhappy5084 3 жыл бұрын
มะละกอ ไม่ใช่ผลไม้ท้องถิ่นของไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาจากโปรตุเกส (ชุมชนโปรตุเกสในไทย) เอามาปลูกที่ไทย ผมเพิ่งไปชุมชนกุฎีจีนมา อีกอย่างโปรตุเกตุก็ไม่ได้ไปถึงลาวด้วยเพราะเขามาทางทะเล แถบนี้เขามา ไทย มะละกา อินโด มาเก๊า พม่า โปรตุเกสไม่ได้ไปลาว หรือเขมรนะ ลาวจะมีส้มตำได้ยังไง
@117259221
@117259221 3 жыл бұрын
ส้มตำเป็นอาหารประยุกต์เกิดที่ภาคอีสานไม่กี่สิบปีเกือบร้อยปีนี่เอง ส่วนวัตถุดิบได้หมด คนภาคอีสาน ตำพืชทุกอย่างที่ขวางหน้า เช่น ปี, มะยม, มะม่วง, มะขาม, หวาย, กล้วย, ฯลฯ ทำไมถึงบอกว่าเป็นอาหารที่เกิดที่ภาคอีสาน เพราะ "ปลาร้า" เป็นตัวนำ ไอ้พวกต้นกำเนิดพืชอะไรนั่น ก็เรื่องของมัน ที่นิยมในมะละกอ เพราะมะละกอเป็นสิ่งที่ปลูกและหาได้ง่ายที่สุด ก็เท่านั้นเอง คนกรุงเทพสมัยก่อน "ยี้และเหยียดคนอีสานที่กินปลาร้ากินส้มตำ" แถบลาวก็กินปลาร้าเป็นทุนเดิมเพราะรากเหง้าเดียวกันกับคนอีสาน แต่ก็ยังไม่ได้อะไรมากมากกับส้มตำมะละกอ เพราะวัตถุดิบยังไม่เข้าถึง(ผงชูรส, น้ำปลา) แต่ทางภาคอีสานนี่ มีผงชูรส มะละกอ วัตถุดิบครบครัน กินส้มตำกันทุกวัน ทุกบ้าน ส้มตำพึ่งจะขยายไปยัง ภาคกลางภาคอื่นๆ รวมทั้งลาว ราวๆเกือบร้อยปีนี่หล่ะ เมื่อร้อยปีก่อน คนภาคกลางหรือเจ้าคนนายคนมีโอกาสได้เขียนหนังสือเขียนประวัติศาสตร์ต่างๆ ตามที่ตัวเองต้องการเขียนและบันทึกได้ ภาคอีสานเป็นภาคที่แห้งแล้งและจนที่สุด "ข้าวเหนียวเพียวๆกับส้มต้ำปลาร้า" แค่นี้ก็อยู่กันได้ คนภาคกลางเห็นคนอีสานมาทำงานที่กรุงเทพฯ กินส้มตำปลาร้าทุกวัน เหยียด ขณะที่คนกรุงเทพจะกินพวกแกงเป็นหลัก สมัยก่อนถึงขั้นแบ่งแยกชนชั้นการกินกันเลยแหละ
@pipathloveda8895
@pipathloveda8895 3 жыл бұрын
@@mhappy5084 พูดเรื่องต้นตำหรับส้มตำส่วนมะละกอจะเกิดที่ไหนช่างมันลาวกับอีสานเป็นคนคิดส้มตำก่อนเพื่อนต่อให้มะละกอเกิดที่ทะเลทรายก็ตามไม่เกี่ยวว่ามะละกอจะเกิดที่ไหน ที่แน่แน่ส้มตำของจริงมีส่วนประกอบของปลาร้า แยกแยะระหว่างต้นกำเนิดมะละกอกับต้นกำเนิดส้มตำนะครับ
@pipathloveda8895
@pipathloveda8895 3 жыл бұрын
@@117259221 ถูกต้องที่สุดครับควรแยกแยะต้นกำเนิดมะละกอกับต้นกำเนิดส้มตำ
@kanchitboonwhan2663
@kanchitboonwhan2663 3 жыл бұрын
@@117259221 เมื่อปี.พศ2520กว่าๆ.ที่กรุงเทพส้มตำลาวอิสานยังไม่ได้แพร่หลายเท่าไหร่.ที่แพร่หลายจริงๆประมาณปี2530.ปีนั้นภาครัฐส่งเสริมการประกวดประชันขันแข่งกัน.ทั้งส้มตำลีลาฯลฯ.หลังจากนั้นมาส้มตำปลาร้าเลยได้รับการยอมรับ
@user-yb3km9vc8c
@user-yb3km9vc8c 3 жыл бұрын
อิสานและประเทศลาวเรียกมะละกอว่าบักหุ่ง​ ส่วนอิสานใต้และกัมพูชาเรียกว่า​ ละฮง​ เรียกคล้ายๆกัน​ อาจจะมีมานานแต่สมัยโบราณ​ เพียงแต่เรียกชื่อไม่เหมือนกัน​ เช่นบักสีดา=ฝรั่ง​ บักเขียบ=น้อยหน่า​ บักนัด=สับปะรด​ เป็นต้น
@SP-zn5bg
@SP-zn5bg 2 жыл бұрын
เห็นหน้าปกก็รู้เลยว่าเป็นช่องของ"ประวัติศาสตร์นอกตำรา Untold History" ชอบทุกEP.ครับ
@my-de5kj
@my-de5kj 3 жыл бұрын
คำว่า ส้ม เป็นคำโบราณในสมัยก่อนใช้เรียกผลไม้ทั่วไปที่มีรสเปรี้ยว ไม่ได้เรียกเป็นคำเฉพาะเหมือนในปัจจุบัน เพราะในพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้บางส่วนปัจจุบันก็ยังใช้คำว่าส้มใช้เรียกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอื่นๆ ดังนั้นเป็นไปได้ว่าส้มตำในสมัยก่อนจะไม่ได้มีมะละกอเป็นส่วนประกอบตั้งแต่แรก เพราะมะละกอไม่ใช่ผลไม้พื้นถิ่นในแถบสุวรรณภูมิ
@thechallengers1383
@thechallengers1383 3 жыл бұрын
ใช่แล้วคับผมคนสงขลาอะไรเปรี้ยวๆขึ้นต้นด้วยคำว่าส้มหมด
@molihua6131
@molihua6131 3 жыл бұрын
ถูกจร้า... คิดว่าสิ่งแรกน่าจะมาจากมะม่วงก่อนจะลามไปผลไม้อย่างอื่นพืชตะกูลมะ
@pd0016
@pd0016 3 жыл бұрын
คำว่าส้มน่าจะเป็นคำไทแท้ๆ แต่คำว่าเปรี้ยว น่าจะมาจากขอมหรือเขมรนะ
@user-er8ou2bu1s
@user-er8ou2bu1s 3 жыл бұрын
ส้มตำมาแต่ไหนไม่รู้จักแต่ตำบักหุ่งมาจากประเทศลาวเพราะคำว่ามะละกอก็คือบักหู่งในภาษาลาว
@user-hv6eq7gy3t
@user-hv6eq7gy3t 3 жыл бұрын
แถวบ้านเรียก ตำส้ม
@niloan_7232
@niloan_7232 3 жыл бұрын
ชื่นชมช่องนี้นะคะ หาข้อมูลมาแน่นมาก ๆ (ตำส้ม/ตำบักส้มของอีสานคือการเรียกรวมตำทุกอย่างจริง ๆ เช่น ตำมะยม ตำมะเขือ ตำแตง ตำถั่ว รวมถึงตำผลไม้อะไรก็ตามที่เปรี้ยวๆ และใส่ปลาร้า)
@Kawintramaes
@Kawintramaes 3 жыл бұрын
ตำบักหุ่ง ตำบักถั่ว ตำมะยม​ ตำกล้วย​ ตำสายบัว​ ตำบักขามน้อย​ ตำต้นข่า​ ตำหมากงิ้วฯลฯ​ ตอนเป็นเด็กบ้านนอกผ่านการกินมาหมด​ บอกเลยอร่อยมากก
@user-ex1mn7ib3c
@user-ex1mn7ib3c 3 жыл бұрын
ต้องขอชื่นชมทางช่อง ทั้งเนื้อหาสาระ บทบรรยายและวีดีทัศน์ประกอบ ทุกอย่างกลมกล่อมมากครับ
@kalahanrc7
@kalahanrc7 3 жыл бұрын
ช่องนี้คือรายการภาคต่อของกระจกหกด้านรึปล่าวครับ 55555 เยี่ยมครับ ชอบๆ
@iilliimomoiillii
@iilliimomoiillii 2 жыл бұрын
คนจะเข้าใจผิดเรื่องอาหารอีสานไม่แปลก เพราะคนรุ่นใหม่จะจำเมนูอาหารจากร้านอาหารอีสาน แล้วคิดว่าเป็นอาหารอีสาน แต่จริงๆแล้ว ส้มตำ น้ำตกมาจากกลาง เป็นอาหารที่นิยมในวังมาก่อน ส่วนลาบ มาจากทางเหนือ แต่ทั้งสามเมนูนี้คนอีสานนิยมกินกันมากเพราะทำง่าย อร่อยรสจัด จนทำให้คนรุ่นไหม่ส่วนมากคิดว่าสามเมนูนี้คืออาหารอีสานไปแล้ว แต่ส้มตำแรกๆจะไม่มีปลาร้า จะใส่ถั่วป่น และออกหวานมันเปรี้ยวมากกว่า กินกับน้ำตกที่มีรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด เข้ากันมาก ต่อมาคนอีสานนิยมไปใส่ปลาร้า เลยได้รสชาติไหม่ที่อร่อยกว่าเดิม และนิยมอย่างแพร่หลาย ภาคอีสานสมัยก่อนแห้งแล้งหนักมาก แทบจะเป็นทะเลทราย อาหารการกินหายากมาก แทบจะไม่มีคนอยู่ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปหาอาหารการกินจากถิ่นอื่น และเดินทางด้วยเรือผ่านแม่น้ำโขง ส่วนมากจะขึ้นเหนือ อาหารอีสานเลยเหมือนอาหารเหนือเป็นส่วนมากที่ดัดแปลงให้ถูกปากคนอีสานให้มากกว่าเดิม และนำมาเป็นอาหารของท้องถิ่นตัวเอง จนเป็นอาหารอีสานทุกวันนี้
@user-sg6ud5ce5
@user-sg6ud5ce5 Жыл бұрын
มั่วไหนล่ะหลักฐานที่ว่าส้มตำน้ำตกมาจากภาคกลางและไหนล่ะหลักฐานลาบมาจากภาคเหนือคนที่เข้าใจผิดน่าจะเป็นคุณมากกว่า
@iilliimomoiillii
@iilliimomoiillii Жыл бұрын
@@user-sg6ud5ce5 แล้วไหนหลักฐานว่าส้มตำน้ำตกหรือลาบมาจากอีสาน แต่มะละกอ อีสานสมัยก่อนที่แล้งมากๆยังปลูกไม่ได้เลย วัตถุดิบแต่ละอย่างแทบหาไม่ได้ในอีสานสมัยก่อนเลยซักอย่าง มีแต่พืชน้ำเยอะทั้งนั้น อีสานพึ่งมาเจริญตอนที่ ร.9 เข้าไปทำเขื่อนและกลับหน้าดินเพื่อให้ปลูกพีชได้เมื่อไม่กี่สิบปีทีแล้วเอง น่าจะช่วง 30 ไม่เกิน 50 ปีที่แล้วมั้ง แต่อาหารพวกนี้โดยเฉพาะส้มตำถูกทำให้แพร่หลายจากคนอีสานเรื่องนี้ไม่เถียง เพราะคนอีสานชอบสามเมนูนี้มาก เดินทางไปไหนก็นำไปทำ เพราะทำง่าย อร่อย เลยแพร่ไปทั่ว จนกลายเป็นอาหารประจำของคนอีสาน
@raksit.ng.
@raksit.ng. Жыл бұрын
ไม่เข้าใจกลับตรรกะของคุณจริง ภาคอิสานมีกี่จังหวัด คุณคิดว่ามันจะแล้งหมดเลยหรอ ถ้ามันมาจากภาคกลาง (ปลูกได้เยอะไม่เถียง )จริงๆทำไมแรกๆคนไทยภาคกลางไม่กินปลาร้าละ บอกเหม็นกันไม่ใช่หรอ บอกพวกลาวกินปลาร้า(เหยียดกันมากสมัยนั้น)พอกินเป็นเท่านั้นแหละ อร่อยอย่างนั้นอย่างนี้ มันต้องมีที่มาที่ไปสิ เขากินมาแต่สมัยไหนแล้ว ชื่อก้อบอกอยู่แล้วส้มตำ แค่ซอยๆแล้วม้วนเป็นก้อนใส่จาน ที่ในวังกินกันนะมันจะเป็นส้มตำได้ไง ชื่อก้อบอกอยู่แล้วว่าตำ นี่ไม่ได้จะบอกว่ามันมาจากไหนหรอกนะแต่พอจะจำได้ว่าคนภาคนี้ต่ำค่าคนภาคอื่น
@kissyou-1004
@kissyou-1004 10 ай бұрын
​@@raksit.ng. มะละกอ อีสานเอามาจากภาคกลาง ก็ควรยอมรับความจริง ไม่ต้องไปโต้เถียงเขากูอายแทนวะ วัตถุดิบตำหมากหุ่งก็เอามาจากภาคกลางนั้นและ มึงไม่ต้องไปเถียงเขา กูคนอีสานรู้ดีว่าอาหารอีสานเป็นยังไง เอาวัดถุดิบมาจากไหน เรารับมาก็ควรยอมรับแต่เอามาดัดแปลงเป็นสูตรอีสานก็ว่ากันไป ถ้าคนภาคกลางไม่มีการนำเข้าวัตถุดิบพืชผลจากต่างประเทศมาปลูก คนอีสานจะมีเมนู ตำหมากหุ่ง ลาบ ก้อย เกิดขึ้นหรอ อาหารอีสานแท้ๆ คืออาหารป่า เช่นแกงหน่อไม้ แกงกบ แกงเขียด หมกปลาซิว หาได้ตามท้องถุงนา (ใส่ปลาแดก) นี้และคืออาหารอีสานแท้ๆ กูกินอาหารอีสานมาตั้งแต่เล็กรู้เีว่าอาหารอีสานแท้เป็นยังไง สิ่งไหนที่อีสานรับมาก็ควรยอมรับไม่ใช่ทำสันดานต่ำเหมือนพวกลาวเขมรมันทำ 😌
@woodoopui184
@woodoopui184 7 ай бұрын
@@kissyou-1004นับถือ นับถือ❤
@Uunartoq2018
@Uunartoq2018 Жыл бұрын
ผมเป็นคนใต้ติดชายแดน แต่ชอบส้มตำมาก!!! 🎉🎉🎉 ทานบ่อยจนตอนนี้กลัวโซเดียมแล้ว 😅
@Alexon_Browd
@Alexon_Browd 29 күн бұрын
จริง ย่าและปู่ของผมเป็นคนอ่างทอง เป็นคน 2 ยุค ปู่ผมอายุ 96 ปีนี้ ปู่และย่าแกทำปลาร้ากับน้ำปลากินเอง ผมเห็นมาตั้งแต่ผมยังเด็ก จริง ๆ แล้วคนภาคกลางก็กินปลาร้ามานานแล้ว ไม่ใช่แค่คนอิสาน ผมยังจำได้เลยปู่ย่าผมก็ตำปลาร้าให้ผมกินตั้งแต่ยังเด็ก ผมยังงงว่า ทำไมเขาถึงบอกว่าส้มตำเป็นอาหารภาคอิสาน ปู่กับย่าผมเป็นคนอ่างทองแต่กำเหนิด และทั้งคู่ก็ไม่เคยไปไหน สมัยก่อนลำบากกว่านี้การเดินทางแค่ไปอำเภออย่างลำบาก ไม่ต้องพูดถึงเรื่องเที่ยวเลย ผมจะสื่อว่าคนรู่ปู่ย่าไม่ค่อยได้เดินทางหรืออยู่แต่บ้านทำสวนไร่นา ไม่ได้ไปไหนไกลนัก ผมว่าส้มตำคือสิถีของคนไทยทั้งประเทศคุ้นเคยมาแต่กำเหนิดต่างหาก
@rewtsaraphon3973
@rewtsaraphon3973 3 жыл бұрын
ผมชอบส้มตำที่ไม่ใช้มีดขูดมะละกอแบบเส้นเล็กๆยาวๆ(ผมว่าเส้นมันเหนียวไม่กรอบ) ถ้าเห็นร้านไหนผมผ่านเลยครับ ผมชอบกินส้มตำแบบใช้มีดสับเฉาะมากกว่า เส้นกรอบดี อีกอย่างนึงคือมะนาว ถ้าร้านไหนใส่มะนาวลงไปก่อนมันจะขม มะนาวต้องสุดท้ายก่อนเสิร์ฟครับ จะได้ไม่มีรสขม อีกอย่างนึงรสเปรี้ยวของส้มตำพื้นฐานเลยต้องมาจากมะกอกสุก กับน้ำมะขามเปียก แล้วก็บีบมะนาวใส่ก่อนเสิร์ฟ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอม
@peeyaphonpeeya2559
@peeyaphonpeeya2559 3 жыл бұрын
ตำกินเองเถอะค่ะ
@rewtsaraphon3973
@rewtsaraphon3973 3 жыл бұрын
@@peeyaphonpeeya2559 ดูเรื่องมากไปหน่อยใช่มั้ย แต่มันก็เป็นเรื่องง่ายง่ายๆได้ ถ้าเราใส่ใจ ขั้นตอน แล้วส้มตำจะอร่อย เช่นการสับมะกอ จะทำให้เส้นกรอบ แต่ถ้าใช้วิธีขูดมะละกอ เส้นจะดูสวยก็จริง แต่เส้นจะเหนียว
@CHANNEL-Daniel
@CHANNEL-Daniel Жыл бұрын
จริงค่ะ มันอร่อยกว่าจริงๆ
@chalalahchalah4263
@chalalahchalah4263 3 жыл бұрын
เป็นอาหารประยุกต์หรือเนี่ย คิดว่า original มาจากลาวมาทั้งชีวิต คือแค่เอาสูตรตำส้มของลาวมาประยุกต์ใส่มะละกอ amazing มากค่ะ
@nsasoneG
@nsasoneG 3 жыл бұрын
ส้มตำเกิดที่ภาคกลางของไทย จากกลุ่มคนที่อยู่ที่นี้ ซึ่งคือคนลาวที่อยู่ไทย (ปัจจุบันเป็นคนไทยหมดแล้ว) สรุปเกิดที่ไทยนี่แหละ เหมือนๆกับผัดไทย เทคนิควิธีการแบบจีน แต่ก็ไม่ใช่อาหารจีนและกำเนิดที่จีน ส้มตำก็เช่นกัน เทคนิควิธีการแบบลาว แต่ไม่ใช่อาหารของประเทศลาวที่กำเนิดที่ลาว เช่นเดียวกับมัสมันญีปุ่น มัสมันต้นกำเนิดคืออินเดีย แต่มันพัฒนาแยกสายไปและไม่ใช่อินเดีย มันคือมัสมันญี่ปุน
@pongkaewnok6273
@pongkaewnok6273 2 жыл бұрын
มันคืออาหารอีสานไม่ใช่ของลาว ลาวมันทำน้ำปลาแดกกันเหรอ?แดกแต่เกลือกันที่ลาวน่ะ แดกน้ำปลาเพราะมาจากภาคอีสานกับไทย
@Umim-yf5jb
@Umim-yf5jb 3 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้นี้ค่ะ มีประโยชน์มาก
@user-ph3fk8zq9x
@user-ph3fk8zq9x 3 жыл бұрын
สุดยอดครับ. พึ่งรู้ ไม่ดูไม่รู้ ขอบคุณรายการที่นำสาระดีๆ มาเล่าให้ฟัง
@user-yu5ul3sw9e
@user-yu5ul3sw9e 3 жыл бұрын
เรื่องของกินนั้น..มากหลาย.ไม่ว่าจะของชนชาติใด.ก็กินได้และอร่อยทุกๆเมนูค๊าฟ.💖
@user-xq8lo1qs5h
@user-xq8lo1qs5h 3 жыл бұрын
ดูแล้วน้ำลายสอ อยากกินมากเลยค่ะ เคยจำหลายปีมาก จากคุณหมอชนิกาท่านเคยบอกว่าส้มตำไทยมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากค่ะ
@pisanuchannel1255
@pisanuchannel1255 3 жыл бұрын
ชอบคุณมาก ที่แบ่งปันความรู้..
@MunichGermanySuwansri
@MunichGermanySuwansri 3 жыл бұрын
ปลาร้าสมัยก่อนๆทำไม่ค่อยสะอาด กินแล้วปวดท้อง กลิ่นแรง มาสมัยนี้ ยุคนี้ พัฒนาขึ้น ทำสะอาด ต้มฆ่าเชื้อ ดับกลิ่นด้วยวิธีต่างๆให้น้อยลง คนเลยนิยมมากๆสมัยนี้ ยอดฮิตเลย
@st.yb.8670
@st.yb.8670 3 жыл бұрын
ส้มตำที่นำมะละกอมาตำ กำเนิดที่กรุงเทพเเน่นอน ยำเฉยๆกรุงเทพมีมาก่อน(ยังไม่นำมาตำ) เเต่ถ้ารูปเเบบการตำที่เเพร่หลายในปัจจุบันมาจากวัฒนธรรมคนลาวในกรุงเทพ ซึ่งเเม่เเบบของส้มตำปัจจุบัน ส่วนตำส้มภาคเหนือคือตำเฉพาะถิ่นมิได้มีส่วนในการเเพร่วัฒนธรรมตำส้มเเพร่เข้ามาในกรุงเทพ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเชลยลาวล้านช้างที่เข้าสร้างวัฒนธรรมส้มตำ
@somkhidphoummichit2607
@somkhidphoummichit2607 3 жыл бұрын
แม่นแล้วคนลาวมีวัฒนธรรม​กินตำหมากหุ่ง
@MiKi-yn5hj
@MiKi-yn5hj 3 жыл бұрын
ส้มตำแบบเหนือเป็นสูตรแบบเฉพาะถิ่นถูกต้องแล้วค่ะ เพราะไปที่อื่นๆไม่เคยเห็นที่ไหนตำแบบเหนือกินกันเลย เศร้า...
@radhanasiri
@radhanasiri 2 жыл бұрын
ส้มตำแบบมะลอกอมีในภาคใต้มานานแล้วครับ มีตั้งแต่ส้มตำอิสานยังไม่เข้ามา ส้มตำอิสานเพิ่งเข้ามาราวๆสี่ห้าสิบปีนะ มันเข้ามาพร้อมๆ ทีวีวิทยุหนังสือพิมพ์ ไก่ชุบแป้งทอดอะไรนี่หละ คนเฒ่าคนแก่ทำแบบโบราณเป็นครับ เรียกว่าลอกอยอก ใช้มะละกอขูด ตำใส่ปลาย่างปลาแห้งกุ้งแห้ง ดีปลีหรือพริกไทย น้ำมะขามหรือมะนาว กะปิ น้ำตาลปีป น้ำปลา หยิบทำให้เป็นคำๆด้วย ใบมะยม ใบชะพลู ใบทองหลางแล้วกิน หลักๆมีประมาณนี้ ความแตกต่างที่ชัดเจนมากๆคือ ใส่ กะปิ พริกไทย และกินกับใบไม้ครับ แต่จะเพิ่มถั่วลิลง ถั่วฝักยาวหั่นซอย อะไรต่างๆก็ปรุงกันไปครับ
@tharinkheetasang8052
@tharinkheetasang8052 2 жыл бұрын
@@somkhidphoummichit2607 ลาวซ้ายก๊อปปี้..ส้มตำไทย..ไปวะ
@sayhinet
@sayhinet 3 жыл бұрын
ส้มตำไม่ว่าจะเกิดจากประเทศไหน แต่ส้มตำดังเพราะประเทศไทย โดยเฉพาะตำไทย นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเมืองไทยต้องสั่งกิน 4อย่าง ผัดไทย ต้มยำกุ้ง มัสมั่น ส้มตำไทย
@RM-fu2nt
@RM-fu2nt 2 жыл бұрын
ยุคอยุธยา ถึงต้น ยัน ปลาย คิดว่าคนภาคกลาง น่าจะยังไม่นิยมกินส้มตำ
@user-lx8tp7dc9o
@user-lx8tp7dc9o 2 жыл бұрын
@@RM-fu2nt คิดว่าน่าจะเป็นคนอิสาน
@user-ko3qd9wf6k
@user-ko3qd9wf6k 2 жыл бұрын
แล้วใครเป็นคนตำส้มตำเป็นคนแรก
@mr.latimfromlaos8758
@mr.latimfromlaos8758 Жыл бұрын
มั่นใจหรอว่าไทยเป็นประเทศแรกๆ
@Yucomia123
@Yucomia123 Жыл бұрын
555 พวกลูกหลาน มอญ เขมร หลอนตัวเองว่าเป็นไทย
@Guidegongtonglok
@Guidegongtonglok 2 жыл бұрын
ชอบช่องรายการนี้มากค่ะ ได้ความรู้เยอะมาก
@user-ss8du2hv6k
@user-ss8du2hv6k Жыл бұрын
ได้ทั้งความรู้ และ ความหิว 👍👍👍❤❤❤
@soponkamsawad3716
@soponkamsawad3716 2 жыл бұрын
ประวัติศาสตร์นอกตำรา สุดยอดจริงๆ
@sosingker6374
@sosingker6374 2 жыл бұрын
สมัยก่อนคนกรุงแทบจะไม่รู้จักส้มตำด้วยช้ำ จนชาวอิสานย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานและทำงานค้าขาย เป็นจำนวนมาก และ อย่างว่าแหละคนอิสานไม่เคยลืมวัฒนธรรมการกินของพวกเขาส้มตำจึงมีให้เห็นเต็มกรุงเทพมาจนถึงทุกวันนี้ไง
@surasakphasit1884
@surasakphasit1884 Жыл бұрын
เจ้าคุณเสือ นางสนมคนโปรด ของ ร.1 เป็นสาว ลาว นะครับ พูดง่ายๆ ว่า ตำส้มบักหุ่ง เข้าวังหลวงตั้งแต่ต้น รัตนโกสินทร์ เลย
@user-yo9vb3cs1s
@user-yo9vb3cs1s 14 күн бұрын
แล้วคนกรุงเทพฯมันจะไปรู้อะไร สมัยแต่ก่อนมันดูถูกชาวอีสาน กินปลาร้าเหม็นๆบ้าง เลี้ยงควายเหม็นเหมือนควายบ้าง บ้านนอกทุรกันดารบ้าง เป็นแรงงานกรรมกรบ้าง ตั้งแต่ก่อนๆนั้นอีสานเรายังไม่มีบทบาทอะไรเลย แต่สมัยปัจจุบันนี้ คนอีสานบ้านเรามีชื่อเสียงแทบจะทุกอาชีพ วงการบันเทิง นักร้องนักแสดง นักลงทุนกิจการใหญ่ๆ ผู้บริหาร คนอีสานทุกวันนี้เริ่มจะเป็นที่เชิดหน้าชูตา ของประเทศไทยเราแล้ว
@nittainchannel241
@nittainchannel241 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ..ครับ.
@seafc1085
@seafc1085 3 жыл бұрын
สุดยอดสารคดี ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
@ssurapongsriprom
@ssurapongsriprom 3 жыл бұрын
วันสองวันมานี้นำไปใช้ให้เด็ก ม. ต้น ฝึกสรุปความจากเรื่องที่ฟัง- ดู นักเรียนตื่นเต้นกันมาก เมื่อทราบที่มาของพริก - มะละกอ.
@user-ly9kf6wk7e
@user-ly9kf6wk7e 2 жыл бұрын
ย9​0​7
@user-ly9kf6wk7e
@user-ly9kf6wk7e 2 жыл бұрын
7​
@deedeedailey1823
@deedeedailey1823 3 жыл бұрын
That's my # 1 for my favorite foods with sticky rice ka.I love it.
@jamrusjimpoo5904
@jamrusjimpoo5904 2 жыл бұрын
Somtom came from papaya! 55555555 Me love it not too much spicy!!!!
@jamrusjimpoo5904
@jamrusjimpoo5904 2 жыл бұрын
Me love Somtum and sticky long time. Very very good to me!!!!5555555
@tu1445
@tu1445 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ...เมืองไทย มีอาหารต่าง ๆ ให้เลือกกินได้อย่างมากมาย
@dragonyst4454
@dragonyst4454 3 жыл бұрын
แต่ก่อนเมื่อ30-40 สัมตำแถวอิสานจะมีส่วนประกอบแค่มะละกอ ปลาร้าสด พริกตามใจตนกิน มะนาวหรืิิอมะกอก ผงนัวและน้ำปลาต่างจากตอนนี้มาก ส่วนประกอกมีเลือกเยอะมาก จนกินได้แทบไม่ซ้ำเมนูด้วยแต่ยังไงก้อแซบอยู่ดี
@zebdecor
@zebdecor 3 жыл бұрын
ปกติชอบกินตำไทย ครบรส สดชื่น พอได้ลอง ใส่ปลาร้า พระเจ้านี้มันออฟชั่น​ชุดแต่ง ส้มตำหอมหวน​ชวนจ้ำแบะๆ
@deepbluesea1333
@deepbluesea1333 2 жыл бұрын
เราชอบตำไทยมากกว่าบางทีเป็นตำผลไม้ก็ได้ไม่ใส่ปูไม่ใส่ปลาร้ากินแล้วสดชื่นดี
@flyingnook
@flyingnook 3 жыл бұрын
"...แล้วมานั่งยังน่าพลับพลาพร้อม พี่น้องล้อมเรียงกันสิ้นเลยกินเข้า หมี่หมูแนมแถมส้มตำทำไม่เบา เครื่องเกาเหลาหูฉลามชามโตโต ที่มาเฝ้าเจ้าน้ามุกดาหาร พาสำราญรายรักขึ้นอักโข ยังวิโยคอยู่ด้วยโรคโรโค ดูโศกโซเศร้าซูบเสียรูปทรง..." นิราศวังบางยี่ขัน แต่งโดยคุณพุ่ม (บุษบาท่าเรือจ้าง) บรรยายถึงเครื่องเสวย เมื่อครั้งที่เสด็จเยี่ยมพระญาติที่วังเจ้าลาว
@user-qr7yr9yv4f
@user-qr7yr9yv4f 3 жыл бұрын
เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่ดีมากค่ะ ทำให้เราทราบว่าในช่วงต้นรัชกาลที่ห้า มีคำว่าส้มตำปรากฏขึ้นแล้วด้วย
@user-rb9ou4md2d
@user-rb9ou4md2d 3 жыл бұрын
ราชสำนักลาวที่ว่าคือวังบางยี่ขัน เขาว่าเป็นวังเก่าเจ้าอนุวงศ์ คุณพุ่มตามเสด็จเจ้านายสตรีที่เป็นญาติกับเจ้าลาวไปวังบางยี่ขัน
@jubjangfest6422
@jubjangfest6422 3 жыл бұрын
ราชสำนักลาวอยู่บางยี่ขันได้ยังไง?​ ทำไมไม่อยู่เวียงจันทน์?
@feitus968
@feitus968 3 жыл бұрын
@@jubjangfest6422 สมัยนั้นล้านช้างเป็นประเทศราชของสยามค่ะ
@jubjangfest6422
@jubjangfest6422 3 жыл бұрын
@@feitus968 เค้าเรียกวังเจ้าลาว ไม่ใช่ราชสำนักลาวค่ะ ใช้คำไม่ถูก
@user-fz7yp9jk6h
@user-fz7yp9jk6h 2 жыл бұрын
ขอบคุณ​มาก​ครับ​สาระ​ดี​มีประโยชน์​มาก​ครับ​
@whale7428
@whale7428 Жыл бұрын
ส้มตำ ออริจินอลน่าจะคือ ตำส้ม คือไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นเฉพาะมะละกอ เอาทุกสิ่งอย่างไม่ว่าจะพืช ผัก ผลไม้ ที่มีลักษณะเนื้อออกแข็ง มาปรุงแล้วตำให้มันนิ่มขึ้นเป็นการดัดแปลงให้เป็นอาหารคาว แต่มะละกอนิยมมากสุด
@s.thananpatch2710
@s.thananpatch2710 3 жыл бұрын
ส้มตำไทยใส่ปู สุดยอดในบรรดาส้มตำทั้งหมด...
@hellomobile9982
@hellomobile9982 3 жыл бұрын
อิสานสามารถนำผลไม้เกือบทุกชนิดมาทำส้มตำได้ จุดกำเนิดส้มตำก้อมาจากคนเชื้อสายล้านช้างก้อคือคนลาวกับคนอิสานนี่หล่ะคับ
@dethsodomchannel9924
@dethsodomchannel9924 2 жыл бұрын
คนอิสานก็คนลาวนี้แหละ อย่าเยอะใช่2-3คำเลย
@kawkokusol6992
@kawkokusol6992 2 жыл бұрын
@@dethsodomchannel9924 อิสานลาวไทยเขมร ก็เหมื่อนๆกันนั้นแหละ แต่ต่างกันบางส่วน
@user-mr8we3rj5o
@user-mr8we3rj5o 2 жыл бұрын
จะอ๊วก
@tharinkheetasang8052
@tharinkheetasang8052 2 жыл бұрын
ล้านช้างไม่เกี่ยว
@tharinkheetasang8052
@tharinkheetasang8052 2 жыл бұрын
คุณควรรู้จักอาหารโบราณของสยามขนิดหนึ่งคือ..ข้าวมันส้มตำ..นะ..นี่คือต้นกำเนิดส้มตำ
@kungkit201
@kungkit201 4 ай бұрын
ชอบดูคลิปนี้ตอนกินสัมตำมากครับ ทำให้รู้สึกกินแล้วอร่อยขึ้น
@swe8396
@swe8396 3 жыл бұрын
แถวบ้านเอิ่น"ตำบักหุ่ง" น้ำลายไหลอยากกินเด้ เปนตาแซ่บ😂😂😀
@soontorn2489
@soontorn2489 3 жыл бұрын
ข้อมูลบางอย่างอาจผิดพลาดครับ,คนอิสานรู้ จักตำบักกอ(มะละกอ) ตำบักหุ่งมาเป็นพันปี แล้วครับ,ในพงศาวดาร อิสานยังบันทึกไว้Ok... คนที่รู้จักและใกล้ชิดกับ ส้มตำคือคนอิสานครับ. สมัยก่อนเมื่อ20-30ปีก่อน คนในกรุงเทพฯแสดงความรังเกียจและดูถูก.. อาหารชนิดนี้มากๆครับ ใครกินส้มตำถือว่าเป็น คนกระจอกหรือคนชั้น ต่ำครับ,ไม่เชื่อลองสืบ ดูให้ดีๆ,ส่วนผมเจอมา กับตัวครับ,พอเวลาผ่าน ไปคนนิยมขึ้นและติดอัน ดับโลกก็ถึงเริ่มมาตื่นตัว และคุยโม้เป็นคุ้งเป็นแคว ส่วนบุคคลทางที่ราบสูง.. นั้นมีมะละกออยู่ในDNA 99.99999999% Ok
@jubjangfest6422
@jubjangfest6422 3 жыл бұрын
พันปีเลยเหรอ
@CORACHA_1991
@CORACHA_1991 2 жыл бұрын
แอดมินต้องหาที่มาของ มะขาม กระเทียม พริกและเกลือให้ได้ก่อน ว่าใครปลูกก่อนปลูกทีหลัง ใครเป็นผู้ผลิตเกลือก่อน เพราะมันเป็นเครื่องปรุงรสที่สำคัญมากๆ ถ้าขาดเครื่องปรุงรสอย่างใดอย่างหนึ่ง มันก็ตำส้มตำไม่ได้ ส่วนตัวคิดว่าคนอีสานน่าจะเป็นต้นกำเนิดของส้มตำ เพราะส้มตำสมัยก่อนใช้น้ำมะขามปรุงรสแทนมะนาว มะนาวพึ่งจะมีใช้ในภายหลัง เพราะฉะนั้นส้มตำอีสานจึงมีมาก่อนส้มตำไทยอย่างแน่นอน ส่วนส้มตำลาวนั้นตัดออกไปได้เลย เพราะลาวผลิตเกลือเองไม่ได้ ต้องนำเข้าเกลือจากประเทศไทย เกลือใช้หมักปลาร้า และใช้ปรุงรสแทนน้ำปลา เพราะเหตุนี้จึงตัดลาวออกไปได้เลย ส่วนเขมรสมัยนั้นยังเป็นประเทศอาณานิคมของไทยอยู่เลย ไม่ใช่ต้นกำเนิดส้มตำอย่างแน่นอน เพราะเกลือในสมัยก่อนมันเป็นของคนชนชั้นสูง พวกทาสไม่มีเกลือติดบ้านล้านเปอร์เซ็นต์
@aodac269
@aodac269 2 жыл бұрын
You are the best free edutainment in YT. Keep up the good work. Really Enjoy It!!
@sanesirinmccoy4365
@sanesirinmccoy4365 3 жыл бұрын
เป็นรายการที่มีสาระดีมาก และผ่อนคลายในการรับดูรับชม
@piisongs2359
@piisongs2359 3 жыл бұрын
ดูจบ..น้ำลายแตกเลย555...อยากตำหมากฮุ่งขึ้นมาทันที😘
@user-ui8rm3uq9b
@user-ui8rm3uq9b 2 жыл бұрын
คนลาวอิสานมักนิยมกินส้มตำ3 มื้อเหมือนๆกับข้าวเหนียว ผมไปร้อยเอ็ดเขาก็ทำส้มตำกินทั้ง3มือและก็กินข้าวเหนียวด้วยทั้ง3มื้อ ส่วนผมอยู่อิสานเหมือนกันแต่อยู่สุรินทร์ ไม่นิยมกินข้าวเหนียว จะกินข้าวจ้าว ทั้ง3มื้อ จะมีกินข้าวเหนียวบ้างก็ตอนกลางวันที่ออกไปทำงานในนาไร่พร้อมส้มตำ เป็นบางครั้งคราว ส้มตำส่วนมากจะกินเล่นๆตอนกลางวัน
@kontaibaan
@kontaibaan 2 жыл бұрын
ย่าผมถ้าท่านยังไม่เสีย ตอนนี้ก็อายุเกือบ 130 แล้ว ท่านยังตำส้มตำปลาร้าให้ผมทานแล้วตอนเด็กๆ เริ่มหัดกินเผ็ด แสดงว่าทางอีสานรู้จักส้มตำมานานแล้ว แต่หลายกี่ชั่วอายุคนอันนี้ไม่ทราบ สมัยก่อนอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมจากภาคกลางในระดับชาวบ้านมีน้อยเพราะการเดินทางไม่ได้สะดวกเท่าทุกวันนี้ การตำๆ นี่เป็นวิถีทางอีสานเข้มข้น ตำ+ตามด้วยชื่อผลไม้ที่ไม่ผ่านการต้มหรือย่าง เช่นตำหมากหุ่ง ตำหมากสีดา ถ้าผ่านการต้มจะเรียกว่าซุบหรือเหนี่ยน โดยซุบจะตำผักหรือผลไม้ดิบต้มสุกแล้วแบบหยาบๆ เช่นซุบหมากเขือ ซุบหมากมี่ แต่ถ้าตำแบบละเอียดมากขึ้นเพื่อให้เข้ากับเนื้อสัตว์อื่นที่ต้มสุกมาผสมจะเรียกว่าเหนี่ยน สำหรับการตำเนื้อสัตว์ต้มปิ้งย่างสุกให้ละเอียดเรียกว่าป่น+ชื่อสัตว์ ส่วนภาคกลางอาจทานมะละกอดิบในรูปแบบอื่นมาก่อนที่จะมารู้จักส้มตำ ส่วนตำไทยก็แค่ดัดแปลงปรุงแต่งให้ถูกจริตแค่นั้นเอง
@nsasoneG
@nsasoneG 3 жыл бұрын
ส้มตำ(มะละกอ)เกิดที่ภาคกลางของไทย จากกลุ่มคนที่อยู่ที่นี้ ซึ่งคือคนลาวที่อยู่ไทย (ปัจจุบันเป็นคนไทยหมดแล้ว) สรุปเกิดที่ไทยนี่แหละ เหมือนๆกับผัดไทย เทคนิควิธีการแบบจีน แต่ก็ไม่ใช่อาหารจีนและกำเนิดที่จีน ส้มตำก็เช่นกัน เทคนิควิธีการแบบลาว แต่ไม่ใช่อาหารของประเทศลาวที่กำเนิดที่ลาว เช่นเดียวกับมัสมันญีปุ่น มัสมันต้นกำเนิดคืออินเดีย แต่มันพัฒนาแยกสายไปและไม่ใช่อินเดีย มันคือมัสมันญี่ปุน
@cuteboy219
@cuteboy219 2 жыл бұрын
แล้วขนมโตเกียวเป็นของไทยมั้ยครับ
@tongar7660
@tongar7660 3 жыл бұрын
ผมเห็นคลิปนี้แล้ว ผมต้องใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างสูง จนผมทนไม่ไหวแล้ววววว ไปสั่งส้มตำกินดีกว่า น้ำลายไหลเต็มมือถือเลย
@yuupamiew
@yuupamiew 3 жыл бұрын
ได้ความรู้มากเลยค่ะ👍🏻
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 Жыл бұрын
น้ำปลาไทยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2456โดยการนำกรรมวิธีเข้ามาของชาวจีนชื่อนายไล่เจี๊ยง แซ่ทั้งซึ่งก่อนหน้าคนสยามภาคกลางไม่รู้จักน้ำปลาเลยแต่รู้จักใช้กะปิหรือเคยและก็เกลือปรุงรสเค็มส่วนชาวล้านนาภาคเหนือใช้ถั่วเน่าและน้ำปูเกลือปรุงแต่งอาหารและไม่มีภูมิปัญญาในการทำปลาร้าในครัวเรือน...ส่วนอีสานมีน้ำปลาลาวหรือปลาร้าใช้มานับ1000ปีปรุงแทนรสเค็มทุกชนิดเพราะเมื่อสมัย200ปีก่อนไม่มีการผลิตน้ำปลาจ้า......สรุปคือส้มตำปูปลาร้าปูนาดองชาวอีสานและฝั่งลาวคือต้นตำรับส่วนคนภาคอื่นหันมากินในยุคหลังๆมานี้นี่เองจ้า
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 Жыл бұрын
@P coo จ้า100%
@radhanasiri
@radhanasiri Жыл бұрын
สรุปผิดครับ :) ผมคิดว่าอาจแบ่งช่วงได้ครับ 1 ยุคแรกๆ คนไทยมีวัฒนธรรมตำและยำผักผลไม้อยู่แล้วสารพัดแบบและเป็นวัฒนธรรมร่วมกันของภูมิภาคนี้ด้วย คือ ไทย พม่า ลาว มอน เขมร มลายู มีกันหมด แต่ไทยลาวกระจายตัวในแถบนี้มากก็จะเด่นหน่อย 2 ต่อมามีมะละกอ เข้ามาจากฝรั่ง ก็ต้องขึ้นที่เมืองชายผังก่อน โดยเฉพาะจุดที่ฝรั่งค้าขายหรือมีอำนาจ ดังนั้นไม่ว่า พม่า แถวทวาย ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระนอง ภูเก็ต ลงไปถึง แหลมมะละกา ย้อนมาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จนถึงอยุธยา หรือแม้แต่ฝั่งกัมพูชา ย่อมมีโอกาสได้มะละกอเข้ามาก่อน * ถ้าเป็นภาคอิสานหรือลาวที่ไม่มีเมืองท่าก็อาจเข้าไปจากภาคกลางหรือต้องเข้าทางเวียดนาม ตอนเหนือของเวียดนามมีคนตระกูลไทยลาวอยู่อาศัยเยอะ (ยุคก่อนไม่แบ่งตามประเทศคนอิสานก็เรียกตัวเองว่าลาว) แต่มีโอกาสน้อยเพราะเป็นเส้นทางป่าเขา มีการค้าขายแลกเปลี่ยนไม่มาก 3 มีส้มตำท้องถิ่นมาก่อนส้มตำแบบใหม่ครับ 3.1 พม่า ทวายอะไรต่างๆ ก็มีส้มตำแบบท้องถิ่นครับ พม่าตอนล่างจุดที่ติดชายแดนก็มีประชากรเป็นคนเชื้อชาติไทยอยู่มาก มีส้มตำแบบของเขาครับ 3.2 ระนองก็มีส้มตำ จนลงมาถึง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฏร์ ก็มีส้มตำ * ทำแบบ ลอกอยอก เป็นส้มตำใส่กะปิ กินกับ ใบมะยม ใบชะพลู ในทองหลาง วิธีทำเน้นคลุกบีบกับมะนาวให้เส้นมะละกออ่อน รสเผ็ดร้อนเปรี้ยวเค็ม มีหวานมันจากวัตถุดิบเพิ่มกุ้งเสียบ ปลาฉิ้งฉั้งนิดหน่อย * ไม่เน้นใส่น้ำตาลหวานตำผสมเอากรอบๆแบบยุคนี้ เพราะยุคก่อนอาหารกลุ่ม คาวในภาคใต้ไม่นิยมน้ำตาล (สมัยก่อนเรียกน้ำผึ้งนำหน้าเครื่องปรุงรสหวาน น้ำผึ้งรวง น้ำผึ้งโหนด น้ำผึ้งพร้าว การเรียกน้ำตาลนำหน้าเรียกตามหลักสูตรหนังสือและสื่อต่างๆที่เข้ามาทีหลัง) แกงส้มอะไรต่างๆ ถ้าใส่น้ำผึ้งลงไปโดนตีมือ * นิยมทำ ลอกอยอก ให้คนสร่างไข้กินเป็นคล้ายๆยา มีรสร้อนแรงกระตุ้นประสาทสัมผัส แต่ยามว่างก็กินกันทั้งบ้านนั่นหละ ฝั่งสุราษฏร์มีการหุงข้าวมันใส่กะทิกินด้วยแต่ไม่แน่ใจว่าจัดเข้าคู่กับส้มตำแบบส้มตำในภาคกลางด้วยหรือไม่ * นอกจากนี้ภาคใต้ยังมีการใช้เส้นมะละกอทำอาจาดหรือดองกินกับขนมจีน อันนี้อาจแปลกสำหรับภาคอื่นที่เน้นอาจาดแตงกวา 3.3 ภาคกลางมีส้มตำแบบ กินคู่กับข้าวมัน(ใส่กะทิ) ภาคอิสานก็มีตำมะละกอกับมะกอกมาก่อน ไม่ใช่ตำไทยแบบใหม่ 4 ตอนผมเด็กๆภาคใต้ไม่มีส้มตำแบบใหม่ การทอดไก่ปลาอะไรต่างๆไม่มีแบบชิ้นใหญ่ชุบแป้ง มีแต่พวกเรียกว่าเบือก็ใช้กับผัก แต่มีการทำทอดมัน ลูกชิ้นอะไรต่างๆอยู่นะ ไก่ทอด ส้มตำแบบใหม่ที่เน้นใส่น้ำตาล เพิ่งเข้ามาราว 40 ปี มาพร้อมๆกับยุคที่ ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ ก๋วยเตี๋ยวอะไรต่างๆเริ่มแพร่หลายถึงชนบทมากขึ้น * ดังนั้น ส้มตำยุคก่อนมีอยู่ทั่วไปครับ พม่าทวายอะไรก็มี และไม่มีภาคไหนสามารถเคลมเอาได้ว่าเป็นต้นตำหรับนะครับ แต่ภาคที่ติดชายฝั่งค้าขายกับฝรั่งโดยตรงจะมีโอกาสเยอะกว่าภาคเหนือภาคอิสาน * ส่วนส้มตำยุคใหม่ ตำไทย เกิดในประเทศไทยแน่นอน แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดที่ภาคกลางหรือภาคอิสาน ดังนั้นไม่ต้องแย่งกันหรอก และภาคอื่นแม้แต่พม่าก็มีส้มตำแบบของเขาเองอยู่ก่อนด้วยนะ
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 Жыл бұрын
@@radhanasiri ไม่ผิดจ้าในอดีตอีสานเจริญกว่าไทยภาคกลางภาคกลางของไทยพึ่งมาฟื้นประเทศได้ในสมัยกรุงธนบุรีมานี้นี่เองเดิมฝั่งอีสานและลาวเจริญรุ่งเรืองมาก..แม้แต่สยามเองยังต้องส่งบรรณาการและธิดาไปเชื่อมสัมพันธไมตรีแต่เดิมเมืองอีสานและฝั่งลาวเจริญมากและมีความเข้มแข็งทางทหารดังปรากฎมีคนพูดภาษาลาวฝั่งไทยอีสานและฝั่งลาว23ล้านและ7ล้านคนมากกว่า30ล้านคนทุกตำบลและอำเภอ...ที่คนไทยภาคกลางเองยังไม่สามารถปฎิเสธได้เดิมฝั่งอีสานมีอารยธรรมที่รุ่งเรืองมากในสมัยอดีตก่อนจะล่มสลายและเสียเอกราชให้คนสยามภาคกลางซึ่งเป็นแค่ชนชาติเล็กๆมีอารยธรรมแค่ภาคกลางเท่านั้นถ้าไม่รวมอาณาจักรล้านนาและลังกาสุกะภาคใต้...ปลาร้าเกิดขึ้นในฝั่งอีสานมีช้านานแล้วส่วนน้ำปลาเป็นของชนชาติจีน...คนภาคกลางแต่เดิมกินเกลือและกะปิเท่านั้น
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 Жыл бұрын
@@radhanasiri และไม่จำเป็นใดๆที่คนภาคพื้นอื่นๆในประเทศไทยจะเชื่อตามคนภาคกลางของไทยเสียทุกอย่าง...ทุกพื้นที่ในไทยล้วนมีอารยะธรรมทางล้านนาภาคเหนือก็มีชนชาติภาษาอารยะธรรมตนเองมาช้านานมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวและก็อีสานก็เช่นกันมีประเพณีวัฒนธรรมจารีต12ครอง14ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพกาลมีอารยธรนมอันรุ่งเรืองยาวนานกว่าคนภาคกลางของไทยเสียอีก....ดังนั้นคนภาคกลางของไทยจะเขียนอะไรขึ้นมาแล้วก็ไม่จำเป็นใดๆที่คนภาคพื้นอื่นๆเขาจะมาสนใจหรือคล้อยตามเพราะทุกที่มีคุณค่าในตัวเอง..ขอยืนยันส้มตำไม่ใช่ของคนไทยภาคกลางและส้มตำปูปลาร้าเป็นของชาวไตลาวฝั่งอีสานเป็นผู้ให้กำเนิดขึ้นมานึกถึงภาคอีสานคือปลาร้า,ส้มตำ,ลาบ,แกงอ่อมซึ่งคงไม่ต้องมีอะไรมาอธิบายได้มากกว่านี้.......ส่วนภาคได้คือสตอจ้าแกงส้มปักษ์ใต้..ภาคกลางแกงเขียวหวานภาคเหนือน้ำพริกหนุ่มแคบหมู....ซึ่งมันอัตลักษณ์ในตัวอยู่แล้ว...(.จดตำราจำส้มตำลาวเอาตำรามา). เครนะจ๊ะ
@radhanasiri
@radhanasiri Жыл бұрын
@@tawatchaikhakwian4229 การทีลาวภาคอิสาน มีส้มตำปูปลาร้า ไม่ได้ทำให้ ภาคใต้ไม่มี ลอกอยอก (ส้มตำพื้นเมือง) นี่ครับ เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน แบบภาคใต้ ใส่กะปิ ปลา พริกไทย หรือ ดีปลี กินกับใบมะยม ใบชะพลู แบบพม่าก็ใส่กะปิ เหมือนกัน... ถ้าส้มตำเกิดที่ภาคอิสาน จะอธิบายส้มตำพื้นเมืองภาคใต้และส้มตำพื้นเมืองแบบพม่ายังไงครับ... ถ้าบอกว่าภาคอืสานมาสอนคนถาคใต้อาจฟังขึ้น แต่ไปสอนให้พม่าทำส้มตำด้วยมันไม่ใช่หละครับ ผมถึงบอกว่า สรุปได้ผิดไงครับ ส่วนส้มตำปลาร้า ผมก็ไม่ปฏิเสธว่าเป็นแบบภาคอิสานครับ และส้มตำไทยเพิ่งมีภายหลัง.. ไม่น่าเกิน 60 ปีนี่หละ
@startover4650
@startover4650 3 жыл бұрын
ใผสิเอิ้นส้มตำตำไทยตำฝรั่งอิหยังกะส่างเถาะ แต่คนลาวทั้งประเทศเอี้นตำส้มตำบักหุ่งคือกันเบิ่ด
@hubertcuypers6519
@hubertcuypers6519 3 жыл бұрын
คนไทยตำแซ่บทีสุด อาหารประจำประเทศไทยมาหลายร้อยปี
@user-nb2eg8wd4m
@user-nb2eg8wd4m 2 жыл бұрын
ลาวก็ออร่อยนะค่ะ ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ตำอร่อย
@jonathankong4795
@jonathankong4795 Жыл бұрын
คนส่วนใหญ่ไม่ได้ออกเสียงเพี้ยนจากมะละกา มาเป็นมะละกอ แต่ มะละกอเป็นสำเนียงภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี ซึ่งคนไทยยุคก่อนไม่ได้ติดต่อผ่านชาวมาลายูผ่านจากมะละกาโดยตรง แต่ติดต่อผ่านเส้นทางกลันตัน-ปัตตานีมี จึงไม่แปลกที่คนไทยจะเรียกคำว่ามะละกาตามสำเนียงชาวมาลายูทางตอนใต้ของสยาม
@radhanasiri
@radhanasiri Жыл бұрын
ผมคิดว่าอาจแบ่งช่วงได้ครับ 1 ยุคแรกๆ คนไทยมีวัฒนธรรมตำและยำผักผลไม้อยู่แล้วสารพัดแบบและเป็นวัฒนธรรมร่วมกันของภูมิภาคนี้ด้วย คือ ไทย พม่า ลาว มอน เขมร มลายู มีกันหมด แต่ไทยลาวกระจายตัวในแถบนี้มากก็จะเด่นหน่อย 2 ต่อมามีมะละกอ เข้ามาจากฝรั่ง ก็ต้องขึ้นที่เมืองชายผังก่อน โดยเฉพาะจุดที่ฝรั่งค้าขายหรือมีอำนาจ ดังนั้นไม่ว่า พม่า แถวทวาย ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระนอง ภูเก็ต ลงไปถึง แหลมมะละกา ย้อนมาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จนถึงอยุธยา หรือแม้แต่ฝั่งกัมพูชา ย่อมมีโอกาสได้มะละกอเข้ามาก่อน * ถ้าเป็นภาคอิสานหรือลาวที่ไม่มีเมืองท่าก็อาจเข้าไปจากภาคกลางหรือต้องเข้าทางเวียดนาม ตอนเหนือของเวียดนามมีคนตระกูลไทยลาวอยู่อาศัยเยอะ (ยุคก่อนไม่แบ่งตามประเทศคนอิสานก็เรียกตัวเองว่าลาว) แต่มีโอกาสน้อยเพราะเป็นเส้นทางป่าเขา มีการค้าขายแลกเปลี่ยนไม่มาก 3 มีส้มตำท้องถิ่นมาก่อนส้มตำแบบใหม่ครับ 3.1 พม่า ทวายอะไรต่างๆ ก็มีส้มตำแบบท้องถิ่นครับ พม่าตอนล่างจุดที่ติดชายแดนก็มีประชากรเป็นคนเชื้อชาติไทยอยู่มาก มีส้มตำแบบของเขาครับ 3.2 ระนองก็มีส้มตำ จนลงมาถึง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฏร์ ก็มีส้มตำ * ทำแบบ ลอกอยอก เป็นส้มตำใส่กะปิ กินกับ ใบมะยม ใบชะพลู ในทองหลาง วิธีทำเน้นคลุกบีบกับมะนาวให้เส้นมะละกออ่อน รสเผ็ดร้อนเปรี้ยวเค็ม มีหวานมันจากวัตถุดิบเพิ่มกุ้งเสียบ ปลาฉิ้งฉั้งนิดหน่อย * ไม่เน้นใส่น้ำตาลหวานตำผสมเอากรอบๆแบบยุคนี้ เพราะยุคก่อนอาหารกลุ่ม คาวในภาคใต้ไม่นิยมน้ำตาล (สมัยก่อนเรียกน้ำผึ้งนำหน้าเครื่องปรุงรสหวาน น้ำผึ้งรวง น้ำผึ้งโหนด น้ำผึ้งพร้าว การเรียกน้ำตาลนำหน้าเรียกตามหลักสูตรหนังสือและสื่อต่างๆที่เข้ามาทีหลัง) แกงส้มอะไรต่างๆ ถ้าใส่น้ำผึ้งลงไปโดนตีมือ * นิยมทำ ลอกอยอก ให้คนสร่างไข้กินเป็นคล้ายๆยา มีรสร้อนแรงกระตุ้นประสาทสัมผัส แต่ยามว่างก็กินกันทั้งบ้านนั่นหละ ฝั่งสุราษฏร์มีการหุงข้าวมันใส่กะทิกินด้วยแต่ไม่แน่ใจว่าจัดเข้าคู่กับส้มตำแบบส้มตำในภาคกลางด้วยหรือไม่ * นอกจากนี้ภาคใต้ยังมีการใช้เส้นมะละกอทำอาจาดหรือดองกินกับขนมจีน อันนี้อาจแปลกสำหรับภาคอื่นที่เน้นอาจาดแตงกวา 3.3 ภาคกลางมีส้มตำแบบ กินคู่กับข้าวมัน(ใส่กะทิ) ภาคอิสานก็มีตำมะละกอกับมะกอกมาก่อน ไม่ใช่ตำไทยแบบใหม่ 4 ตอนผมเด็กๆภาคใต้ไม่มีส้มตำแบบใหม่ การทอดไก่ปลาอะไรต่างๆไม่มีแบบชิ้นใหญ่ชุบแป้ง มีแต่พวกเรียกว่าเบือก็ใช้กับผัก แต่มีการทำทอดมัน ลูกชิ้นอะไรต่างๆอยู่นะ ไก่ทอด ส้มตำแบบใหม่ที่เน้นใส่น้ำตาล เพิ่งเข้ามาราว 40 ปี มาพร้อมๆกับยุคที่ ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ ก๋วยเตี๋ยวอะไรต่างๆเริ่มแพร่หลายถึงชนบทมากขึ้น * ดังนั้น ส้มตำยุคก่อนมีอยู่ทั่วไปครับ พม่าทวายอะไรก็มี และไม่มีภาคไหนสามารถเคลมเอาได้ว่าเป็นต้นตำหรับนะครับ แต่ภาคที่ติดชายฝั่งค้าขายกับฝรั่งโดยตรงจะมีโอกาสเยอะกว่าภาคเหนือภาคอิสาน * ส่วนส้มตำยุคใหม่ ตำไทย เกิดในประเทศไทยแน่นอน แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดที่ภาคกลางหรือภาคอิสาน ดังนั้นไม่ต้องแย่งกันหรอก และภาคอื่นแม้แต่พม่าก็มีส้มตำแบบของเขาเองอยู่ก่อนด้วยนะ
@harisasugosol212
@harisasugosol212 2 жыл бұрын
รายการดีมีคุณภาพ ขอใเป็นกำลังใจให้ทำต่อไป
@luqmanreizosischen2731
@luqmanreizosischen2731 3 жыл бұрын
ขาดบ่ได้เด้อแนวแซ่บแบบนี้ กินบ่จักอิ่ม กินจั่งได๋กะบ่ตุ้ย
@mieeinadtz2792
@mieeinadtz2792 3 жыл бұрын
บอกว่าตำส้มกำเนิดจากกรุงเทพหลอครับ ทั้งที่คนทางภาคอีสาน ทานมาก่อนตั้งนาน คนกรุงเทพเพิ่งจะมาทานเมื่อไม่นานมานี้เองนะ หึหึหึ
@rattanaamulets
@rattanaamulets 3 жыл бұрын
ของกรุงเทพแท้เลยครับ ตำรับวังครับ แต่เอาตำส้มของชาวลาว ที่กวาดต้อนมาพัฒนา พวกไพรทาสที่ถูกกวาดมาจากลาวครั้นไปตีเมืองคงตำกินกันและคงไปถูกปากเจ้านายเข้า เลยบรรจุลงตำหรับวังครับ โดยไม่ใส่ปลาร้า ใส่กุ้งแห้งถั่วแทน ครับ เพราะเจ้านายสมัยก่อนคงไม่กินปลาร้าครับ ทุกวันนี้ลูกหลานชาวลาวกลุ่มนั้นคือคนไทยคนกรุงเทพหมดแล้วครับ :)
@manenejiki2461
@manenejiki2461 3 жыл бұрын
เหมือนดูคลิปแล้วเข้าใจไม่แตกอะ เอาเป็นว่าคุณจะเข้าใจยังไงก็แล้วแต่ ทั้งนี้ในทางประวัติศาสตร์ ถ้าจะแย้งต้องฟาดกันด้วยหลักฐานนะคะ เรื่องราวในอดีตมันซับซ้อนกว่าที่คิด จะมานึกเอาแค่จากประสบการณ์ที่" คุณคนเดียว" เคยพบเจอไม่ได้
@annewtpnx9349
@annewtpnx9349 3 жыл бұрын
@@rattanaamulets ข่อยว่าเป็นทางลาวกับอีสาน เพราะ ว่า คนลาวถูกกวาดต้อนไปกรุงเทพ กะเลยมีส้มตำ สะหลุบว่า ตำมะหุ่งมาจากลาวกับอีสาน
@aoaojung
@aoaojung 3 жыл бұрын
คนไทยภาคกลางภาคตะวันออกกินข้าวมันส้มตำแต่โบราณกาลแล้วจ้า. ถ้าเป็นทางอีสานเรียกตำบักหุัง ตำปลาแดก
@poom9863
@poom9863 2 жыл бұрын
จะของชาติไหนก็เถอะ ขอกินด้วยนะ น้ำลายไหลจ๊ะ ชอบตำไทยใส่ปู หวานน้อย พริกสามเม็ด พร้อมข้าวเหนียว ไก่ย่างร้อนๆ😋
@hirochitenchi649
@hirochitenchi649 3 жыл бұрын
ดู​ ฟัง​ เพลินเข้าใจงา่ยครับ
@songkanchinnehanha3204
@songkanchinnehanha3204 3 жыл бұрын
สมัยก่อนสาวๆในออฟฟิตกล้ากินซะที่ใหนทั้งดูถูกดูแคลนว่าเป็นอาหารอีสานราคาถูกหาซื้อได้ตามข้างทาง ทุกวันนี้cnnยกให้เป็นอาหารจานเด็ดให้คนทั่วทั้งโลกได้ลองชิม
@whatthecat3855
@whatthecat3855 3 жыл бұрын
ในต่างประเทศ ที่คนไทยไปเปิดร้านอาหารไทย เช่นในยุโรป (อังกฤษ สวีเดน) ส้มตำ ได้รับความนิยมมากครับ แต่ ฝรั่งมักจะเรียกว่า papaya salad(สลัดมะละกอ) ลดความเผ็ดลงมา ส้มตำกินได้กับหลายอย่างครับ ข้าวเหนียว เส้นขนมจีน ขนมปังก็อร่อย ยิ่งมีไก่ย่างด้วย แจ่มแมว ไม่แปลกใจครับที่ ฝรั่งจะชื่นชอบรสชาดในอาหารไทย ส้มตำ ต้มยำกุ้ง แกงมัสมั่น ข้าวเหนียวมะม่วง และอีกเยอะแยะ
@mosawdxxt101
@mosawdxxt101 3 жыл бұрын
ก็เหมือนคุณดูถูกดูแคลนสาวๆนั่นแหละ แล้วว่าไง..อึบมั้ย🤣🤣🤣
@ritphoto717
@ritphoto717 3 жыл бұрын
อยากให้ทาง ประวัติศาสตร์ นอกตำรา บอกเล่าเรื่องราว ที่มาที่ไปของขนมขี้มัน ขนมไทยในภาคใต้มาก ๆ เลยครับ
@radhanasiri
@radhanasiri Жыл бұрын
ของโบราณบ้านเราแท้ๆเลย มีขี้มอดเพราะเรามีข้าวคั่ว พอมันเม็ดมันหักเยอะๆ ก็ดัดแปลงไป และมีขี้มัน เพราะเราทำน้ำมันมะพร้าวใช้ในครัวเรือนครับ
@bosoplinkool3347
@bosoplinkool3347 2 жыл бұрын
ดูแล้วหิวววว 😋
@user-qg1rx6ft4q
@user-qg1rx6ft4q 3 жыл бұрын
ได้ความรู้มากเลยครับ
@user-fb4kq6un6k
@user-fb4kq6un6k 3 жыл бұрын
เห็นปลาร้าจากเขมรทำแล้วสงสัยส่งมาไทยข่อยจะบ่กินปลาร้าปลากระดี่เลย นอกจากแม่ข่อยทำเองจากปลานาของข่อยห่าราก
@hub6490
@hub6490 2 жыл бұрын
สำหรับคนที่ไม่เชื่อว่าส้มตำเกิดในกรุงเทพ แล้วเถียงว่ายังงัยก็เป็นของอีสานหรือลาวแน่ๆเพราะว่าคนภาคกลางไม่กินปลาร้านี่ผิดนะครับ เพราะว่าคนไทยภาคกลางกินปลาร้ามานานทากแล้วนะครับ เอาจริงๆแล้วไทยรับมาจากมอญอีกที จดหมายเหตุของ ลาลูแบร์ทูตฝรั่งเศษบันทึกเรื่องปลาร้าเอาไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา หรือถ้าใครเคยอ่านขุนช้างขุนแผนนี่ก็มีเขียนถึงปลาร้า เพราะฉนั้นอย่างต่ำๆนี่สมัยอยุธยาคนไทยกินปลาร้าแล้วแน่นอน แต่ส้มตำมันต้องกินกับข้าวเหนียวงัยมันเลยนิยมง่ายในอีสานกับลาว เอาเข้าจริงๆกินปลาที่หมักให้เน่านี่มันเป็นอะไรที่ทำกันหมดทั้งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นพันปีแล้ว เอามาแบ่งไม่ได้หรอกว่าปลาร้าคือลาวไม่ใช่ไทย ขนาดภาคใต้ยังมีน้ำบูดูเลยนับประสาอะไรกับภาคกลาง
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 2 жыл бұрын
ส้มตำเป็นของคนอีสานจ้าปรุงจากปลาร้าส่วนคนไทยไม่มีใช้จ้าน้ำปลาเกิดขึ้นปีพ.ศ.2456โดยนายไล่เจี๊ยง แซ่ทั้งผลิตขึ้นครั้งแรกซึ่งแต่เดิมคนไทยไม่มีกินจ้ากินแค่เกลือส่วนเมืองที่ติดทะเลจะใช้กะปิดังนั้นส้มตำอีสานมีมาก่อนเพราะเขาใช้ปลาร้าปรุงมาตั้งแต่600-700ปีแล้วส่วนคนไทยสยามไม่มีใช้เพราะส้มตำไทยใส่น้ำปลาจ้า...ของสยามจึงเกิดทีหลังอย่างชัดเจน
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 2 жыл бұрын
อย่าบอกนะคนภาคกลางชอบปลาร้าย้อนแย้งเหมือนถ่มน้ำลายรดหน้าตัวเองจ้า
@widdhayayooyenpensook8814
@widdhayayooyenpensook8814 2 жыл бұрын
@@tawatchaikhakwian4229 ไปอ่านบันทึกประวัติศาสตร์สมัยพระนารายณ์ของลาลูแบร์ครับ ทูตไทยส่งปลาร้าเป็นของขวัญให้ทูตฝรั่งเศส นั่นแปลว่า ปลาร้ามีในภาคกลางสมัยอยุทธยาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์เป็นอย่างน้อยหรือมีมาก่อนหน้านั้นแน่นอน แล้วพวกการหมักดองมันต้องอาศัยเกลือ สมัยก่อนล้านนาล้านช้างต้องใช้บ่อเกลือจากน่าน ส่วนอยุทธยาพอทำศึกกับล้านนา ก็มาได้สูตรวิธีการทำเกลือสมุทรจากจีนในสมัยพระบรมไตรโลกนารถ ดังนั้น คนภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ย่อมต้องรู้จักการใช้เกลือหมักดองหรือถนอมอาหารมานานมากแล้ว มันเป็นความรู้ที่กระจายกันอยู่ในภูมิภาคเพราะค้าขายถึงกันหมด จะหาต้นตอความเป็นเจ้าของเรื่องปลาร้า คงยาก มันคือวัฒนธรรมร่วม แต่บอกได้ว่าภาคกลางรู้จักปลาร้ามานานพอ ๆ กับภาคอื่น ๆ แน่นอน ไม่ได้พึ่งมารู้จักตอนต้นรัตนโกสินทร์
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 2 жыл бұрын
@@widdhayayooyenpensook8814 ใช่แต่คนไทยภาคกลางไม่นิยมกินปลาร้าอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้น้ำปลาร้ามาเป็นส่วนประกอบมีบางส่วนเท่านั้นที่นำมาประกอบอาหาร..แต่ของคนอีสานจะใช้น้ำปลาร้าแทนเค็มทุกเมนูที่เป็นอาหารคาวและที่บอกปลาร้าเป็นของพวกมอญเขมรเพราะคนไทยภาคกลางมีความเชื่ออย่างนั้นและไปรับวัฒนธรรมพวกตระกูลมอญเขมรมาเสียเยอะเลยเช่นอาหารสถาปัตยกรรมรวมทั้งการแต่งกายนิยมนุ่งโจบงกะเบนตัดผมปีกทัดแบบเขมร..ซึ่งคนไทยอีสานหรือแม้กระทั่งชาวล้านนาไม่มีความนิยมในตระกูลพวกมอญเขมรถ้าทางอีสานจะถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่ด้อยมากและค่อนข้างแอนตี้พวกตระกูลออสโตรเอเชียติกแบบสุดขั้วเลยทีเดียว...และไม่มีวันจะเชื่อว่าเป็นของพวกมอญจะหยิบจับอะไรคนภาคกลางจะยกว่าเป็นของพวกมอญทันทีซึ่งคนภาคอื่นเขาไม่มีความเชื่อแบบนั้นแต่ที่เออออไปเพราะคนภาคอื่นเขาต้องเรียนหนังสือจากส่วนกลางของพวกคนภาคกลางและยัดเยียดให้คนภาคอื่นเขาเรียนตามว่ามาจากพวกมอญเขมร.....รู้ไว้ก็ดีวัฒนธรรมพวกมอญเขมรตามอารยธรรมชาวล้านนาภาคเหนือและวัฒนธรรมล้านช้างอีสานโบราณจะมีความเชื่อ..ค่อนข้างต่ำหรือด้อยกว่าจึงไม่ยึดเอาประเพณีพวกนี้มาในแบบแผนจารีตประเพณีของชาวล้านช้างอีสานและล้านนาเราไม่มีความเชื่อแน่นอนว่าปลาร้าไทยภาคอื่นรับมาจากมอญอย่างแน่นอน1ล้าน%.....
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 2 жыл бұрын
@@widdhayayooyenpensook8814 และอีกอย่างความคิดเห็นของไทยภาคกลางก็ไม่ถูกต้องเสมอไปเพราะคุณไม่ใช่ศูนย์กลางวัฒนธรรมคนไทยภาคอื่นเพราะภาคอื่นล้วนมีวัฒนธรรมที่ยาวนานก่อนพวกคนไทยภาคกลางเสียอีกทั้งทางล้านนาเชียงใหม่เกิดก่อนกรุงเทพอีกหรือแม้กระทั่งล้านช้างรวมทั้งอีสานมีประวัติยาวนานก่อนพวกคนภาคกลางด้วยซ้ำไปยังไม่รวมชาวมลายูภาคใต้ที่เป็นกลุ่มภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในอาเซียนเกือบ200ล้านคนเขามีอารยธรรมที่ยาวนานเช่นกัน..และไม่จำเป็นที่คนเหล่านี้จะไปรับอาหารวัฒนธรรมมาจากมอญเพราะไม่ใช่ญาติใดๆจ้า
@KaneXa60
@KaneXa60 Жыл бұрын
ตำบักหุ่งมาจากอีสานครับ ใส่ปลาแดก ปลาแดกทุกๆบ้านจะทำเองในไหเพราะอีสานจะหาปลาได้เยอะในหน้าฝน ภูมิปัญญาล้วนๆ ภาคอื่นผมไม่แน่ใจว่าจะทำปลาแดกกันทุกบ้านแบบอีสานไหม ส้มตำสูตรในปัจจุบันบันก็ใส่ปลาแดก ดังนั้นตำหมากหุ่งมาจากอีสาน/ลาวแหละครับ ผู้คนตามภาคอื่นได้เปลี่ยนสูตรไปตามความชอบตามภาคนั้นๆ
@user-ju8yd5kx5o
@user-ju8yd5kx5o Жыл бұрын
คนใต้ สายสัมตำค่ะ ขอย้ำว่าชอบตำลาว ใส่แต่ปลาร้าอย่างเดียวเท่านั้น 😅😅
@lightthailand5711
@lightthailand5711 3 жыл бұрын
กินเป็นแค่สองอย่าง​ คือตำไทย​ กับตำใส่ปลาเหนื่อย​ เผ็ดๆ
@tondtpyng2289
@tondtpyng2289 3 жыл бұрын
บุญคุณส้มตำคุณแม่ ส้มตำนี่แหละที่แม่ขายเลี้ยงลูกมาตั้งแต่เด็ก
@choosummer2628
@choosummer2628 3 жыл бұрын
ใช่คะเราด้วย แม่ตื่นตี4เดินจ่ายตลาดห่างจากตลาด3กิโล....ทำให่เรารักแม่มากและชอบกินส้มตำมากคะ
@redmiredmi8768
@redmiredmi8768 2 жыл бұрын
ดูช่องนี้แล้วได้ความรู้ที่แท้จริง
@pangtanpitcha2701
@pangtanpitcha2701 2 жыл бұрын
สนุกมากๆ ค่ะ
@mongprom
@mongprom 3 жыл бұрын
กลุ่มคนลาวและอิสาน จะมีการทำอาหารที่เรียกว่าตำโดยปกติอยู่แล้ว เช่น ตำกล้วย,ตำเมี่ยง,ตำถั่ว,ตำบักม่วง,ตำบักขาม,ตำแตง ดังนั้นกลุ่มที่เอามะละกอมาตำ เป็นส้มตำแบบทุกวันนี้น่าจะเป็น คนอิสานหรือไม่ก็กลุ่มคนลาวในกรุงเทพ
@Style77374
@Style77374 3 жыл бұрын
ผมก็ว่ามาจากอีสาน
@mongprom
@mongprom 3 жыл бұрын
@@Style77374 ใช่ครับเพราะอิสานมันพื้นที่ใหญ่และประชากรเยอะไงวัฒนธรรมต่างๆมันจึงแพร่ได้เยอะ ยกตัวอย่างเพลงลูกทุ่งหมอลำที่คนฟังเกือบทั้งประเทศ ผมว่ามาจากอิสานมากกว่ากรุงเทพ เพราะถ้านึกถึงส้มตำคนจะนึกถึงปลาร้าก่อน ใส่ตำไทยใส่น้ำปลาน้ำตาลผมว่ามาที่หลัง เพราะถ้ามาพร้อมกันต้องใส่เกลือแทนปลาร้า
@user-yw2xg3pz9f
@user-yw2xg3pz9f 3 жыл бұрын
@@Style77374 ผมก็ว่ามาจากเชื้อสายคนลาว แต่ก่อนคนกรุง กินรึเปล่า ผมไปอยู่กรุงเทพ ปี 39 รนกรุงยังไม่กิน แถมรังเกียจ ปลาร้า ว่ามันเหม็น ด่าคนอีสาน...ว่า ไอ้ลาว ทุกวันนี้ แม่งแดก ไม่แดกเฉพาะส้มตำ ลาบ น้ำตก ไก่ย่างแถมเอาคำของคนอีสานไปใช้.."แซบ.."(อย่าตอบกู ขี้เกียจตอบ)
@Style77374
@Style77374 3 жыл бұрын
ขึ้น 9 ค่ํา เดือน 12 นั้นนะสิ. แต่ก่อนนี่อุ้ยเหม็นพวกกินปลาร้า พวกลาวบ้านนอก พวกกันดาลเดี๋ยวนี่หรออาหารขึ้นชื่อประเทศไทยที่ต่างชาติต้องลองตำบักหุ่ง ลาบ ซอยจุ๊ ปลาแดก
@mongprom
@mongprom 3 жыл бұрын
@@Style77374 เห็นด้วยครับ อย่าง ไก่ใต้น้ำมันก็อบไก่แบบอิสานดีๆนี่เอง ต้มแซบก็ต้มวัวต้มเครื่องในแบบอิสาน แต่อาจเปรี้ยวหน่อยแค่นั้นเอง
@dunupob
@dunupob 3 жыл бұрын
นี่คือ1ตัวอย่างชัดๆของคนไทย ที่สามารถปรับทุกอย่างได้ไม่ยึดติด จนมีเอกเเละอัตลักษณ์ของตัวเอง ไม่เหมือนบางประเทศเเถวๆนี้ ถือดียึดติด จนไม่มีอะไรบ่งบอกความเป็นชาติตัวเองได้
@SS-zi4vh
@SS-zi4vh 2 жыл бұрын
เห็นด้วย การมีใจที่เปิดกว้าง ทำให้คนไทยมีความคิดที่สร้างสรรค์ไม่ยึดติด
@user-pv5kv8qo8e
@user-pv5kv8qo8e Жыл бұрын
ส้มตำน่ากินมากครับ
@user-tn4hf5ph3d
@user-tn4hf5ph3d 3 жыл бұрын
คุณพ่อคุณแม่ผมเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อตอนที่ท่านเป็นหนุ่มสาวนั้น คนที่ลงไปทำงานที่กรุงเทพได้นั้นยากมาก และจะเรียกการไปกรุงเทพฯ ว่า "ไปไทย" และสมัยนั้นคนที่ไปกรุงเทพจะไม่กล้าทำส้มตำกินเพราะอายคนกรุงเทพจะเรียกว่าไอ้ลาว จึงไม่กล้ากิน จึงได้พากันแอบไปซื้อพริก และมะละกอดิบ แยกมาต่างหากเพื่อมาทำส้มตำกินกันในห้องพัก โดยการซื้อพริกนั้นต้องบอกว่าจะเอาไปให้นกแก้วของเจ้านายที่เลี้ยงไว้ ส่วนมะละกอก็บอกว่าจะเอาไปแกงส้ม เป็นต้น สำหรับปราร้าหรือปลาแดกนั้น ไม่ต้องพูดถึง ไม่มีใครกล้ากินให้คนกรุงเทพเห็นได้ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าส้มตำน่าจะเข้ามาทางภาคอีสานก่อนที่อื่น ส่วนจะได้มะละกอมาอย่างไรนั้นมิทราบได้ และมะละกอน่่าจะเข้ามาเมืองไทยไม่เกิน 200 ปี (คุณพ่อคุรแม่ ตอนนี้ท่านอายุ 84 ปี) เพราะถ้าเข้ามาต้นรัตนโกสินทร์ ส้มตำก็น่าจะเป็นที่แพร่หลายมาก่อนหน้านี้ครับ
@radhanasiri
@radhanasiri 2 жыл бұрын
ส้มตำแบบมะลอกอมีในภาคใต้มานานแล้วครับ มีตั้งแต่ส้มตำอิสานยังไม่เข้ามา ส้มตำอิสานเพิ่งเข้ามาราวๆสี่ห้าสิบปีนะ มันเข้ามาพร้อมๆ ทีวีวิทยุหนังสือพิมพ์ ไก่ชุบแป้งทอดอะไรนี่หละ คนเฒ่าคนแก่ทำแบบโบราณเป็นครับ เรียกว่าลอกอยอก ใช้มะละกอขูด ตำใส่ปลาย่างปลาแห้งกุ้งแห้ง ดีปลีหรือพริกไทย น้ำมะขามหรือมะนาว กะปิ น้ำตาลปีป น้ำปลา หยิบทำให้เป็นคำๆด้วย ใบมะยม ใบชะพลู ใบทองหลางแล้วกิน หลักๆมีประมาณนี้ ความแตกต่างที่ชัดเจนมากๆคือ ใส่ กะปิ พริกไทย และกินกับใบไม้ครับ แต่จะเพิ่มถั่วลิลง ถั่วฝักยาวหั่นซอย อะไรต่างๆก็ปรุงกันไปครับ
@user-gn5dm3wj2r
@user-gn5dm3wj2r 3 жыл бұрын
ทุกวันนี้คนเหนือก็ยังเรียก ส้มตำ ว่า ตำส้ม นะครับ
@ingnajaza4201
@ingnajaza4201 3 жыл бұрын
คนโคราชก็เรียกครับ
@bentochannel8128
@bentochannel8128 3 жыл бұрын
ตำที่มีรสเปรี้ยว คนเมียง ส้ม=เปรี้ยว
@bytheway1395
@bytheway1395 3 жыл бұрын
คนแก่ทางอีสานเรียกตำส้ม
@user-ry4dw7yv7j
@user-ry4dw7yv7j 3 жыл бұрын
บ้านเราก็คนอีสาน เด็กเล็ก คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าคนแก่ ก็เรียก ตำส้ม หรือตำส้มไอ้กอ
@user-hv6eq7gy3t
@user-hv6eq7gy3t 3 жыл бұрын
เมืองเลย กะเอิ้น ตำส้ม
@somchaypsp
@somchaypsp 3 жыл бұрын
ແນວໃດກໍຕາມ ... ຕຳໝາກຮຸ່ງ ໃສ່ປາແດກ ຂອງແຊບໆອາຫານລາວ ! ກິນກັບເຂົ້າໜຽວຮ້ອນໆ ... ປິ້ງປາໃສ່ໄມ້ຫີບ ( ຕັ້ງແຕ່ເກີດມາໄດ້ກິນແລ້ວ ... ຄັກຫຼາຍ 😋😋😋😋)
@sammyjone7941
@sammyjone7941 3 жыл бұрын
ແມ່ນ
@mho9130
@mho9130 2 жыл бұрын
ผมคนลาวอิสานอาหารอีสานถืกด้อยค่าจากคนภาคกลางว่าปลาแดกเหม็นสกปรกนู้นนี่นั่นสุดท้ายกลายเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงคนไทยกะบอกว่าเป็นอาหารไทยนิสัยคนไทยอิหยังดีกะว่าเป็นของจะของเบิ่ดคิดว่าจะของฉลาดกว่าคนอื่นทั้งที่โง่กว่าจะประเทศล้อมข้างด้วยซ้ำไปเชิงความรู้ที่ถูกต้อง
@hajaudaa4802
@hajaudaa4802 Жыл бұрын
​​@@mho9130 อาหารลาวใส่ปลาร้าชาติเดียวหรือไง อาหารไทยก็ใส่ คนแถบนี้กินปลาร้ากันเป็นอาหารหลักตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว เดอ ลาลู แบร์ เข้ามาอยุธยาก็บันทึกไว้อยู่ ชาวสยามกินสัตว์เล็ก ปลาร้า ปลาจ่อม ส่วนส้มตำเป็นอาหารฟิวชั่นพึ่งกำเนิดขึ้นมา
@tawatchaikhakwian4229
@tawatchaikhakwian4229 Жыл бұрын
@@hajaudaa4802 ส้มตำของชาวอีสานและชาวลาวไม่ใช่ของไทยอาหารไทยภาคกลางไม่เป็นที่นิยมของชนพื้นถิ่นอื่นๆจ้า...คือเขาไม่กินกันแต่คนไทยทางภาคกลางมักไปลอกเลียนแบบภาคพื้นอื่นมาเช่นลาบ,ส้มตำ,แกงอ่อม,หรืออาหารภาคพื้นอื่นๆที่ไปขโมยภูมิปัญญาเขามา
@hellothailand4556
@hellothailand4556 Жыл бұрын
@@tawatchaikhakwian4229 คนไทยภาคกลางส่วนมากมีสายเลือดมาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
@user-mq5cs3ev3e
@user-mq5cs3ev3e Жыл бұрын
เกิดมาตอนเด็ก ๆ นี่อายุ 63 แล้ว อยู่ภาคใต้คะ นครศรีธรรมราช เราจะทำส้มตำกินเป็นของกินเล่น จะใส่กุ้งแห้ง ใส่ถั่วลิสงคั่ว คือแบบตำไทย ออกหวานน้ำตาลมะพร้าว มันถั่ว เปรี้ยวมะนาว ใช้มะละกอสับ กินกับข้าวมัน เรียกข้าวมันส้มตำ ข้าวมันใ้ช้ข้าจ้าวหุงน้ำกะทิ คือ ข้าวมัน กินกับส้มตำ หรือข้าวมันกินกับแกงกะทิ มีข้าวมันแกงกุ้ง ข้าวมันแกงเนื้อ แกงกะทิกุ้ง หรือเนื้อ จะข้น ๆไม่ใส่ผัก มีขายแต่ข้าวมันแกง ส่วนข้าวมันส้มตำไม่มีขายต้องทำกินเอง สมัยก่อนจะมีขนมจีนน้ำพริกหวาน ขนมจีนน้ำแกงกะทิ กินกับอาจาด ข้าวหมกไก่กินกับอาจาด ข้าวมันส้มตำไม่นิยมกินเป็นอาหารหลัก แต่กินเล่นกินเป็นของว่างของกินเล่น ส่วนข้าวจ้าวข้าวแกง ข้าวหมกไก่ ข้าวมันแกง ข้าวผัดซอสแดงใส่ไข่ เราจะกินเป็นอาหารหลักได้ ขนมทำจากแป้งข้าวจ้าว เช่นขนมกวน ขนมครก ส่วนข้าวเหนียวเราจะทำขนม เช่นข้าวต้ม เหนียวห่อกล้วย ต้มเปียกเหนียวกะทิ ข้าวเหนียวกวนน้ำตาลมะพร้าว ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวสังขยา ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง
@jimzhou3269
@jimzhou3269 7 ай бұрын
เกิดมารู้ความก็รู้จักเมนูนี้ที่แม่ทำให้กินประจำกินตั้งแต่เล็กจนโต ที่บ้านปลูกติดรั้วไม่ขาด ไปเรียนไปตลาดตามอำเภอร้านลาบส้มตำก็เห็นจนเป็นเรื่องปกติ เข้ามาทำงานเมืองกรุงเทพฯก็จะร้านส้มตำของคนอีสานที่หากินได้ง่ายสำหรับคนไกลบ้านที่ต้องการกินอาหารบ้านเกิดตัวเอง ไปอยู่ต่างประเทศก็ทำให้เพื่อนต่างชาติกินประจำจนติดใจ ตำบักฮุงเมนูไม่ธรรมดากินกันได้ทั้งประเทศ เป็นอาหารที่กินไม่เบื่อและชอบมาก
@user-xs2iz2yo4f
@user-xs2iz2yo4f 3 жыл бұрын
มาจากอิสาน.เรียกว่าตำบักหุ่ง
@teachersunny7969
@teachersunny7969 3 жыл бұрын
อยากให้ทางช่องทำเรื่องปลาร้า น้ำปลา กะปิ ที่เป็นวัฒนธรรมร่วมของภูมิภาคบ้างคับ เหมือนเป็นเรื่องพื้นๆ ที่สำคัญแต่ทุกคนพากันมองข้ามมันไป
@user-qr7yr9yv4f
@user-qr7yr9yv4f 3 жыл бұрын
รับหัวข้อไปให้ทีมงานนะคะ
@sasakinaayutthaya1211
@sasakinaayutthaya1211 3 жыл бұрын
มีหลักฐานเขียน "ข้างกำแพงนครวัดเขมรว่า *"อิเล็กตรอน+โปรตรอน มาจากเขมร"* 😁 "เนื้อเยื่อโมเลกุล มะละกอ" มีอิเล็กตรอน หมุนรอบๆโปรตอน" ดังนั้น *"ส้มตำ ปลาร้า น้ำปลา กะปิ มีต้นกำเนิดมาจากเขมร ค่ะ"* ชาวโลกไม่ต้องทะเลาะให้เสียเวลาน่ะค่ะ 😅😅
@kitthaday9797
@kitthaday9797 3 жыл бұрын
แนะให้ดูสารคดีต่างประเทศนะ
@user-du7mw7mi5z
@user-du7mw7mi5z 2 жыл бұрын
ได้ความรู้ดีๆครับ
@soonthornchai
@soonthornchai 3 жыл бұрын
สาระดีมีที่มาครับ ไม่บอกไม่รู้เลยครับ👍👍👍
@karmatheenlightenedone7980
@karmatheenlightenedone7980 2 жыл бұрын
ดูแล้วน้ำลายแตกเลย​ ชอบตำลาวปูปลาร้า​นัวๆ​
A little girl was shy at her first ballet lesson #shorts
00:35
Fabiosa Animated
Рет қаралды 9 МЛН
A clash of kindness and indifference #shorts
00:17
Fabiosa Best Lifehacks
Рет қаралды 123 МЛН
6 ความเป็นมาอาหารจีนที่คนไทยคุ้นเคย
8:42
Abdulthaitube - อับดุลย์เอ๊ย ถามไรตอบได้!
Рет қаралды 122 М.