AR-EP10 คุยกับลุงอุ๋ย การประยุกต์ใช้อินทรีย์ชีวภาพ กับการทำสวนทุเรียน

  Рет қаралды 13,685

ยามทําเกษตร ใจเกษม

ยามทําเกษตร ใจเกษม

2 жыл бұрын

คลิปนี้ คุยกับลุงอุ๋ย การประยุกต์ใช้อินทรีย์ชีวภาพ กับการทำสวนทุเรียน
แนวคิดเรื่องเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมาก เพราะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ และใช้ได้ผลในระดับหนึ่ง
ยุคปุ๋ยแพง ปัจจัยการผลิตแพงหมด เรามาฟังแง่มุม การประยุกต์ใช้อินทรีย์ชีวภาพ กับการทำสวนทุเรียนกันบ้างดีกว่าครับ
เมื่อสามปีก่อน พี่ยามมีโอกาสได้ติดตามไปเยี่ยมชม การทำเกษตรเชิงอินทรีย์ชีวภาพ ในหลายชุมชน ได้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมัก จนกระทั่งตัวเองก็หมักใช้เองด้วย และต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
แต่ว่าก็ว่าเถอะครับ การพูดเรื่องเกษตรอินทรีย์ ลดต้นทุนการผลิต มีหลายเสียงสะท้อนมาว่า แล้วจะได้ผลผลิตหรือ ในยามที่ทุเรียนราคากิโลกรัมละ 150 บาท เรื่องต้นทุนปัจจัยการผลิต ถือเป็นการลงทุนแบบหวังผล แพงเท่าไรก็สู้
แต่ในที่สุด ราคาปุ๋ยก็แพงทะลุโลกจริงๆ ประกอบกับมีหลายเสียง อยากให้เราติดตามทำคลิปในแปลงเกษตรอินทรีย์บ้าง แน่นอนว่า พี่ยามมีคลิปที่ถ่ายทำเรื่องการทำปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ไว้ส่วนหนึ่ง พอเอามาตัด ลงได้หลายตอน
ถ้าเพื่อน Fc อยากฟังขอรับฟังเสียงด้วยครับ จะได้ ลองพิจารณา นำมาให้ชม สลับกับการนำเสนอเรื่องวิชาการ รวมถึงเกษตรเชิงเคมีของเรา
เกษตรเชิงอินทรีย์ชีวภาพ ก็เป็นวิทยาศาสตร์นะครับ เพราะทดลองแล้วได้ผลเหมือนกัน เพียงแต่เราต้องรู้ข้อจำกัดของเกษตรชีวภาพ เพื่อที่จะใช้เคมีทดแทนได้ทันเวลา
คนที่อยู่รอดได้ คือ คนที่พร้อมจะปรับตัวครับ โดยเฉพาะชาวสวนรายย่อยที่มีพื้นที่สวนไม่เกิน ยี่สิบไร่ ประหยัดได้เท่าไรก็ส่งผลดีเท่านั้นครับ
เกษตรกร
ณรงค์ ชูราศรี (ลุงอุ๋ย)
ร่วมสนทนา
อ. ลำแพน ขวัญพูล
ภาพตัวอย่างปุ๋ย ที่เกษตรกรใช้ ทางช่องยามทำเกษตร
ไม่มีส่วนได้เสีย หรือร่วมโฆษณาใดๆ ทั้งสิ้น
ใช่ครับ ฟังไม่ผิด ลุงอุ๋ย หมัก หมาเน่า ซากสัตว์ มีอินทรีย์วัตถุเยอะ
สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3 ไตรโคเดอร์มา
สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.2 สำหรับทำปุ๋ยน้ำหมัก
สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3 ไตรโคเดอมาร์
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สารเร่ง ซุปเปอร์
• 93256 การฝึกปฏิบัติเสร...

Пікірлер: 11
@user-fp2hy7bj8e
@user-fp2hy7bj8e 2 жыл бұрын
เยี่ยมเลยคับ..แต่ว่าลุงเขาได้วิเคราะห์ธาตุอาหารในดินได้ผลยังไงบ้างคับ
@guitarneverdie6737
@guitarneverdie6737 2 жыл бұрын
ดีมากเลยครับ
@werachai.ch1
@werachai.ch1 2 жыл бұрын
แนวทางเลยคับ ในยุคข้าวยาก ปุ๋ยแพง
@thaweesakphanbubpha4873
@thaweesakphanbubpha4873 2 жыл бұрын
ที่อ กัณทรลักษ์ จ.ศรีษะเกษ มีสวนหนึ่งใช้ อินทรี100%
@arsddtfgg5749
@arsddtfgg5749 2 жыл бұрын
ผมหมักกระดูกวัวแต่ใช้ปุ๋ยยูเรียเป็นตัวย่อยหมักใว้ปีกว่าแล้วเราจะเอามาฉีดทางใบหรือราดทางดินดีครับเขาจะมีประโยชน์อะไรบ้างครับ
@user-ik3zw2ql5k
@user-ik3zw2ql5k 2 жыл бұрын
@.Arsd..แนะนำสับปะรดสุกนะครับ.ช่วยย่อยอินทรีย์สารดีกว่า.ทำน้ำมะพร้าวเทียมเติมให้เป็นอาหารจุลินทรีย์.หาหัวน้ำเชื้อจุลินทรีย์ที่มีขายในตลาดมาใส่ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดีในปุ๋ย.หมักไปอีก๑เดือน..ฉีดได้ทั่งใบ,ราดลงดินครับ..
@Dr.Kwan-ep2
@Dr.Kwan-ep2 2 жыл бұрын
อิทรีย์หวังผลระยะยาว เอาเคมีช่วยในช่วงแรก ปัจจุบันจึงมีปุ๋ยอินทรีย์เคมี แต่ธาตุอาหารค่อนข้างต่ำในปุ๋ยกระสอบ
@jarnetson5285
@jarnetson5285 2 жыл бұрын
เคมีก็เหมือนคนกินอาหารเม็ดละครับ​ โตแต่ภูมิต้านทาน​อาจไม่ดี​ ที่สำคัญคนใช้คนรอบข้าง​ คนกินเสี่ยงมะเร็ง
@Yamkaset
@Yamkaset 2 жыл бұрын
ถ้ามองในแง่สารเคมี พวกยาฆ่าแมลง คุมศัครูพืช แนะนำให้ใช้ตามรอบมาตรฐาน และให้ปฏิบัติตามหลัก GAP โดยเฉพาะ ก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อให้ผลตกค้างเหลือน้อยที่สุดครับ
@jarnetson5285
@jarnetson5285 2 жыл бұрын
@@Yamkaset สมัยตอนเด็กๆบ้านผมปลูกผักขาย​ ฉีดยาฆ่าแมลงบ่อยมาก​ ฉลากยาก็บอกว่า​ เก็บหลังฉีดอย่างน้อย​ 7​ วัน​ แต่บางทีทำไม่ได้เพราะแมลงมันรบกวน​ ผักไม่สวยคนก็ไม่ซื้ออีก
@Yamkaset
@Yamkaset 2 жыл бұрын
ห้าปีที่่ผ่านมา ครอบครัวผมยังปลูกผักครับ สลัด มะเขือยาว พริกขี้หนู และผักอื่นๆ สลัดไม่ค่อยได้ฉีดยาครับ เพราะแมลงไม่มากวน พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว ต้องเฝ้าระวังอากาศครับ เรื่องต้องฉีดก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน บางที พอไปดูการปฏิบัติจริง เกษตรกรส่วนหนึ่่งก็ไม่ใส่ใจครับ จริงๆ ถ้าหากใส่ใจก็สามารถทำได้ เพราะ 7 วัน เพียงพอที่จะกันแมลงกวน ที่เกษตรกรไม่ใส่ใจ เพราะกลัวความเสี่ยงจากผลผลิตเสียหาย บ้านเราเรื่องสุขอนามัยพืช คุยกันยากจริงๆครับ
Iron Chin ✅ Isaih made this look too easy
00:13
Power Slap
Рет қаралды 34 МЛН
Slow motion boy #shorts by Tsuriki Show
00:14
Tsuriki Show
Рет қаралды 8 МЛН
Iron Chin ✅ Isaih made this look too easy
00:13
Power Slap
Рет қаралды 34 МЛН