จบราชภัฏแล้วจะทำไม? จบที่ไหนก็เหมือนกันจริงหรือ? | echo

  Рет қаралды 631,842

echo

echo

Күн бұрын

“ราชภัฏก็เรียนส่งๆ ไป ด้วยความที่สังคมมันพูดอย่างนั้นมา ก็เลยรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่าด้วยมั้ง จะเกียรตินิยมอันดับ 1 แต่นามสกุลราชภัฏน่ะ เขาก็ไม่สนหรอก”
อย่าว่าแต่โดนคนอื่นเหยียด กระทั่งปากคำเด็กราชภัฏเองก็ยังบอกตรงๆ ว่ารู้สึกด้อยกว่า
ทั้งที่เป็นวิทยาลัยครูมาก่อน แต่ทำไมสังคมต้องดูถูกเด็กราชภัฏขนาดนั้นอะ?
ไหนๆ วันนี้ก็วันครู ขอชวนไปลองดูว่าในมายาคติสุดดราม่า
มันยังมีประเด็นซุกไว้อีกเพียบ ทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำ มาตรฐานการศึกษาไทย ไปยันสวัสดิการเรียนฟรี!
-----------------------------------------------------------------------------------------------
หนับหนุน echo แบบเบิ้มๆ ทุกช่องทางได้ที่
👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇
linktr.ee/fook...
☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️
จะได้ไม่พลาดคอนเทนต์ใหม่ๆ จากชาว Fooking friends 💚
#วันครู #ราชภัฏ #เหยียดราชภัฏ #มาตรฐานการศึกษา
#เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน #รัฐสวัสดิการ #เรียนฟรี #echo #fookingecho
-----------------------------------------------------------------------------------------------

Пікірлер: 2 100
@rungjung7509
@rungjung7509 Жыл бұрын
จากประสบการณ์ทำงานเป็น HR มา 10 กว่าปี มหาลัยที่เรียนจบมีผลจริงๆครับ ผมเจอเด็กราชภัฏมาสมัครงานเยอะ ส่วนมากจะไม่มีความสามารถตามต้องการ หรือตอบไม่ได้แม้จะเป็นคำถามง่ายๆพื้นฐานสำหรับสายงานที่ตัวเด็กจบมาก็ตาม มีแค่ประมาณ 10% ที่รับเข้าทำงานจริงๆครับ เทียบกับคนที่จบมอดัง เด็กเหล่านั้นมีโอกาสเข้าทำงานสูงกว่ามากครับ
@bobby7131
@bobby7131 Жыл бұрын
Soft skills ต่ำมากครับ ผมจบราชภัฏ เพื่อนที่เรียนด้วยบางคนจบเพราะเพื่อนครับ ผมจบได้นี่แบกคนอื่นแทบลากเลือด แถมความรู้รอบตัวนอกห้องเรียนต่ำมาก หัวไม่ก้าวหน้าครับ ต้องปฏิรูปเยอะเลย
@moungkhalee
@moungkhalee Жыл бұрын
คนเข้าม.ดังได้มันกรองไปเเล้วตรงความพยายามพัฒนาตัวเอง ทั้งติวทั้งถีบตัวเองเพื่อให้เข้าให้ได้ นี่คือเหตุผล
@piyaphummuetkhambong768
@piyaphummuetkhambong768 Жыл бұрын
จริงครับผมเรียนวิทย์คอม ม.เกษตร ไปถามเพื่อนที่เรียนอีกที่นึงเป็น ม.ราชภัฏ วิทย์คอมเหมือนกัน ผมถามไปว่า Array คืออะไรมันตอบไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่มันก็เรียน C เหมือนผมเเถมข้อสอบเเบบฝึกหัด ที่มันเรียนสำหรับผมคือง่ายมากอ่านตอบได้เลย ข้อสอบกลางภาคก็เป็นตัวเลือกอีกซึ่งจะต่างจากที่ ผมเรียนคือข้อสอบกลางภาคปลายภาค เป็นอัตนัยหมด เขียนโค้ดก็เขียนตอบเเบบอัตนัย เเค่เนื้อหามันก็ต่างกันฟ้ากับเหวเเล้ว
@สมหมายมาแล้วจ้า
@สมหมายมาแล้วจ้า Жыл бұрын
@@piyaphummuetkhambong768 ยืนยันอีกเสียงครับ
@ศศิธรนาสัน
@ศศิธรนาสัน Жыл бұрын
เม้นนี้อ่านขาด ถูกทุกอย่าง​
@watermemol7774
@watermemol7774 Жыл бұрын
สรุปสั้นๆคลิปนี้ให้นะ "ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสันดานแต่ละคน ไม่ใช่ชื่อมหาวิทยาลัย และโปรดกระจายอำนาจบริหารและงบประมาณให้ทั่วถึงด้วย"
@nnn0017
@nnn0017 Жыл бұрын
พวกสอบไม่ติดมหาลัยชั้นนำ เพราะไม่เก่งเท่าคนอื่น เลยต้องมาอยู่ราชภัฏ
@thboy1037
@thboy1037 Жыл бұрын
มหาวิทยาลัยจะมีการแบ่งกลุ่มงานครับ กลุ่มวิจัย นวัตกรรม งบประมาณจะไม่เท่ากัน ของราชภัฏถ้าจำไม่ผิดคือเพื่อสนับสนุนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ทุกประเทศมีแบบนี้ อเมริกามี Ivy League เกาหลีใต้มี SKY อังกฤษมี Oxford Cambridge
@udomsakchomsuk9138
@udomsakchomsuk9138 Жыл бұрын
ปัจจุบันทำงานบริษัทต่างชาติยังมีเด็กราชภัฏอยู่เลยนะ เดี๋ยวบริษัทเขาไม่ได้แบ่งว่าจบราชภัฏ รัฐบาล หรือเอกชน
@yorika6464
@yorika6464 Жыл бұрын
งานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยตอนม.ราชภัฏเป็นเจ้าภาพ เคยไปสถานที่เขายิ่งใหญ่อลังการกว่าม.ดังๆหลายๆม.อีก จะบอกว่างบประมาณไม่ทั่วถึงก็คงไม่น่าใช่ ได้งบไปแล้วจัดสรรไปลงกับส่วนไหนมากกว่า
@Samakurono
@Samakurono Жыл бұрын
@@udomsakchomsuk9138 คนเก่งจบที่ไหนก็เก่งครับ มหาลัยก็มีส่วน แต่ทุกที่มีอัจฉริยะ ผมบอกแค่นี้ บางคนมันอคติก็เหมารวมไปเรื่อย
@Nyrf-kb6wl
@Nyrf-kb6wl Жыл бұрын
1. งบประมาณไม่เพียงพอ 2. จ้างครูเก่งไม่ได้ 3. ได้ครูไม่มีคุณภาพมาสอนเด็ก 4. เป็นแม่พิมพ์ที่บิดเบียวให้เด็ก 5. เด็กพัฒนาได้ไม่เต็มความสามารถตลอด4ปีในรั้วมหาลัย เป็นลูปแบบนี้ตลอด ถ้ากระทรวงศึกษาต้องการให้คนเข้าถึงการเรียนรู้โดยให้งบประมาณที่ต่ำขนาดนี้ อย่างน้อยที่สุดสื่อการเรียนการสอนก็ควรจะได้มาตราฐานมากกว่านี้ เด็กบางคนใจเขาใฝ่เรียนรู้ เพียงแต่ว่าเค้าถูกหลอมให้อยู่กันไปแบบนั้น แบบที่แทบไม่ได้พัฒนาความรู้ต่อยอดเลย แล้วมันก็ทึบ ทางตัน บางคนโชคดีฮึดสู้ขึ้นมาได้ บางคนก็ได้แค่นั้นการศึกษาเท่านั้นแหละ เพราะชีวิตรู้จักอะไรแค่นี้ ปัจจัยในการดำเนินชีวิตมันต่าง
@joelyessir4724
@joelyessir4724 Жыл бұрын
ผมดูจาก ช่อง เดอะสแตนดาร์ด แล้วตามไปดูที่เขาทำวิจัย เกี่ยวกับ จบจาก ม. ไหน นายจ้างรับทำงานมากสุด อันดับต้นๆใน กทม. ทั้งนั้นเลย แม้จะเป็น ราชภัฏ ก็เถอะ อันนี้คือเรื่องจริง
@kiattikornsinchai1310
@kiattikornsinchai1310 Жыл бұрын
ตามนั้น เรื่องจริงที่หลายคนไม่กล้าพูด
@biil3444
@biil3444 Жыл бұрын
@@joelyessir4724 จริงครับผมว่ามันก็ไม่ได้แยาอะไรนะ คนเก่งๆที่ผมรู้จักก็เรียนราชภัฏเยอะ กับบางคนเรียนกลางๆไม่ได้เก่งมาก แต่จบลาดกระบังก็เยอะ ทุกวันนี้การศึกษาหรือหนังสือที่ใช้เรียนก็เหมือนๆกันหมดแล้วหละครับ
@puddingman2331
@puddingman2331 Жыл бұрын
ผิดทุกข้อ
@puddingman2331
@puddingman2331 Жыл бұрын
@@biil3444 ไปทำความเข้าใจใหม่นะ
@minimuy5885
@minimuy5885 Жыл бұрын
เผลอกดเข้ามาอ่านคอมเม้นก็ค่อนข้างหดหู่นะคะ5555 ส่วนตัวก็เรียนราชภัฏแห่งหนึ่งอยู่ค่ะ ใกล้จบแล้ว เราไม่ได้มีโอกาสเหมือนคนอื่นค่ะ บางคนอาจจะบอกว่าทำไมไม่ถีบตัวเองขึ้นมาเพื่อสอบเข้าม.แนวหน้าล่ะ ปัจจัยแวดล้อมคนเรามันต่างกันมากๆและสำคัญมากๆนะคะ ส่วนตัวยอมรับในความเก่งของคนที่สอบได้เข้าเรียนม.แนวหน้ามากๆค่ะ ขยันอดทน และเก่งมากๆ ตัวเราทำไม่ได้ขนาดนั้น ทั้งโอกาส ทั้งความรู้ที่น้อยนิด เราปากกัดตีนถีบด้วยตัวเองค่ะ พาตัวเองมาจนจะจบ เราอยากจบแบบภูมิใจมากๆค่ะที่พาตัวเองมาได้เราต้องการแค่นั้นค่ะ เรารู้ค่ะว่าโลกการทำงานมันยาก เราก็โดนเหยียดมาเยอะค่ะ ทุกคนย่อมอยากพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีค่ะ #ไม่มีใครอยากให้คนอื่นมาด้อยค่าความตั้งใจหรือความภูมิใจของเราหรอกค่ะ และเป็นกำลังใจให้เด็กรุ่นหลังให้ได้สอบเข้ามอที่ตั้งใจได้นะคะ♡♡
@nv6399
@nv6399 Жыл бұрын
มาให้กำลังใจน้อง ตั้งใจเรียน มุ่งมั่น มีเป้าหมายที่ชัดเจน เดินตามเป้าหมายที่วางไว้ ที่สำคัญ อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ ค้นคว้า หาข้อมูลพัฒนาตัวเอง พี่เรียนจบราชภัฎเหมือนกัน ทำงานแล้วยังต้องค้นคว้าหาข้อมูล เรียนรู้ตลอดเวลา ทำงานเป็นผู้บริหาร บริษัทอินเตอร์ติด top 5 ของโลก เงินเดือนหลักแสน แต่ทุกอย่างไม่ได้มาง่าย ไม่ยากเกินไปถ้าใจคิดไขว่คว้า เป็นกำลังใจให้ ... เราต้องฝัน เดินตามฝัน น้องทำได้แน่นอน มั่นใจตัวเอง
@blookerchannel6666
@blookerchannel6666 Жыл бұрын
ผมก็จบจากราชภัฏครับ ตอนนี้มีงานที่กำลังทำไปเรื่อยๆเพราะมุ่งหน้าชนกับมันทุกวัน แต่ผมเชื่อว่าวันนึงงานที่ผมทำอยู่มันจะสำเร็จแน่นอนครับ ก็เลยอยากจะบอกอะไรเล็กๆน้อยๆกับคนที่เข้ามาอ่านเม้นนะครับว่า ในความคิดผมนะ ไม่ว่าเราจะจบอะไรมา มันจะไม่สำคัญเลย ถ้าเรา อยากเรียนรู้ที่จะทำอะไรต่อ สิ่งๆนั้นที่เราสนใจและอยากจะทำมันจริงๆ เชื่อมั่นและมุ่งมั่นว่าทำได้ หลังจากนั้นละครับที่จะเป็นตัวจุดฉนวนในการมุ่งไปข้างหน้า อย่างไม่ยอมแพ้ ผมเชื่อว่าเราทุกคนทำได้ครับ แต่เเค่คนเหล่านั้นจะกล้าออกมาจาก SafeZone ตัวเองจริงๆหรือเปล่า อันนี้ ก็อยู่ที่ตัวคุณเองแล้วละ
@helloboo7167
@helloboo7167 Жыл бұрын
คอมเมนต์นี้โดนใจเรามากเลย เพราะเราก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน​
@palmtp4186
@palmtp4186 Жыл бұрын
เราจบเอกชนดังมาเกรดปานกลางไปสมัครงานกับเพื่อนสนิทมอราชภัฏ นางเรียนดี ขยัน มีวินัยกว่าเราเยอะมากแต่นางไม่ผ่าน 😢ส่วนเราก็ทำงานไปด้วยเรียน ขายของ จนดันตัวเองจบป.โทราม เด็กเอกชนก็จะโดนเหยียดเหมือนกันแต่ไม่เยอะ อารมณ์ลูกคุณหนูทำไรไม่เป็น
@KT-zk4pr
@KT-zk4pr Жыл бұрын
ถ้าเลือกได้ใครก็อยากเข้ามหาลัยท็อปของประเทศทั้งนั้นแหละ แต่ก่อนจะอยากเข้ามหาลัย สังคมมันคัดตั้งแต่เราเกิดในท้องแม่ละ การกิน กานเรียน การส่งเสริม ต้นทุนชีวิตมันต่างกัน ตั้งแต่แรก มันก้แน่นอนว่า มหาลัยท็อปพวกนี้ จะมีแต่เด็กที่ได้รับโอกาสที่ดีแต่เด็ก
@forlua9211
@forlua9211 Жыл бұрын
ที่เยอรมันนี เด็กๆทุกคนมี options ในการเข้าเรียนหลากหลายมากๆ เช่น - เด็กที่ชอบวิชาการมากๆหน่อยก็ไปเรียน University คือมหาลัยชั้นนำที่เป็น research oriented เหมือน จุฬา มหิดล - เด็กพอเรียนทฤษฏีได้บ้างแต่ชอบปฏิบัติมากกว่าก้อไปเรียน University of Applied Sciences (เทียบได้กับราชภัฎ ราชมงคล) - เด็กที่ไม่ชอบทฤษฏีเลยชอบปฎิบัติอย่างเดียว ก็ไปเรียน vocational school (คล้ายๆเทคนิค) เรียน 2 วันทำงาน 3 วัน ไม่ว่าเด็กจะเก่งไม่เก่ง ชอบวิชาการชอบปฏิบัติ เด็กทุกๆคนจะมีทางเดินที่สามารถไปได้ในแบบที่เหมาะกับตัวเอง ปัญหาของ ราชภัฎ ราชมงคล คือ "การวาง position ของตัวมหาลัย" ที่พยายามที่จะเป็นเหมือน จุฬา ธรรมศาสตร์ ทั้งๆที่บุคคลากรไม่ได้มีความเข้มข้นทางการทำวิจัยและตัวนักศึกษาเองก็ชอบปฎิบัติมากกว่าวิชาการ ในความเป็นจริงแล้วราชภัฎและราชมงคลควรจะสร้างมหาวิทยาลัยที่เน้นปฏิบัติไม่ใช่เน้นวิจัย ไม่ต้องไปวิ่งไล่ตามตูด research oriented universities แต่ควรสร้างทางเลือกกลางๆสำหรับคนที่พอเรียนทฤษฏีได้แต่ชอบปฏิบัติมากกว่า (ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศนี้) ... สิ่งที่เด็กๆในประเทศไทยต้องการไม่ใช่ "มหาลัยอันดับหนึ่งของประเทศ" แต่เป็น "มหาลัยที่มีความแตกต่างหลากหลายและตอบโจทย์กับสิ่งที่เค้าชอบ" ... ที่เยอรมันนีเราไม่ได้เห็นระดับชนชั้นสูงต่ำของมหาลัยเหมือนอย่างที่บ้านเรา เพราะแต่ละมหาลัยเค้ามี focus ในแต่ละด้านของเค้า University เน้นวิชาการ ส่วน University of Applied Sciences เน้นปฏิบัติป้อนคนเข้าอุตสาหกรรม ของบ้านเรามันจะวิ่งไปเป็น research oriented university กันอย่างเดียว พอความเข้มข้นทางวิชาการไม่ถึงและธรรมชาติของนักศึกษามันไม่ได้ มันก้อโดนมองว่าเป็นมหาลัย research oriented ปลอมๆ "ที่ไร้คุณภาพ" ... เพิ่มเติม: University of Applied Sciences (เทียบได้กับ ราชภัฎ ราชมงคล) ในเยอรมันนี ไม่สามารถสอนในระดับปริญญาเอกได้ด้วยตนเองหากแต่ต้องไป co กับ University (มหาลัยวิจัย) ที่อื่น เพราะ University of Applied Sciences ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานวิจัย ต่างจากกรณีของไทยที่ ราชภัฎ ราชมงคล แห่สร้างหลักสูตรปริญญาเอก(ที่ไม่ได้มาตรฐาน)แข่งกัน โดยไม่สนธรรมชาติของผู้เรียนและตลาดแรงงาน
@andysdairy
@andysdairy Жыл бұрын
ผมเรียน Applied Science มาบอกเลยว่าเน้นCase studyจริงๆ มันคือการสอนเพื่อเอาไปทำงานจริงๆ จะเป็นการให้เรารู้ว่าควรเอาทฤษฎีไป Implement กับงานยังไง
@alexgo4081
@alexgo4081 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
@HighOctaneExtreme
@HighOctaneExtreme Жыл бұрын
บ้านเรายังเรียนตามเพื่อนตามเทรนอยู่เลย
@orangeissoftpower
@orangeissoftpower Жыл бұрын
อันนี้น่าสนค่ะ
@realme5249
@realme5249 Жыл бұрын
ทำไมถึงพูดประเด็นนี้ได้ครบถ้วนรอบด้านขนาดนี้ แจกแจงได้ดีมาก ยกตัวอย่างดีมาก เห็นภาพชัดเจน ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
@syxyn
@syxyn Жыл бұрын
ปัญหาของประเทศไทยคือประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษามากขนาดนั้น อยากเรียนเก่งก็ไปหาติวเตอร์เก่งๆสิ มันเห็นชัดมากว่าถ้าอยากเก่งก็ต้องมีเงินถึงจะไปหาติวเตอร์เก่งๆได้ เด็กบางคนเก่งมากขยันอดทนแต่พ่อแม่ไม่มีเงินส่งเรียนก็ต้องตัดใจจากมหาลัยที่ค่าเทอมสูงๆ เรียนที่ไหนอาจมีส่วนจริงแต่คุณค่าของคนมันไม่ได้ขึ้นอยู่ที่มหาลัยที่เรียน
@puddingman2331
@puddingman2331 Жыл бұрын
สรุปสั้นๆคือ มึงไม่เข้าใจ
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
ใช่ครับ บางคน เก่งมาก แต่ตังก์ไม่ถึง
@numai8131
@numai8131 Жыл бұрын
ดูแล้วสรุปก็คือราชภัฏมีปัญหาจริงๆไม่ใช่แค่มายาคติสินะ จริงๆเราว่าเป็นเรื่องดีที่ราชภัฏมีหลายแห่งและเข้าถึงง่ายเพราะมันช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา แต่คุณภาพมัน...น่าเสียดาย
@lflam__l1219
@lflam__l1219 Жыл бұрын
@@Zemon7664 เขามาเยอะเเหละเเต่ ก็โกงเยอะเช่นกัน
@thboy1037
@thboy1037 Жыл бұрын
ใช่ครับ อย่างน้อยคือมันก็ช่วยให้คนมีปริญญา พอจะไปหางานทำได้ ส่วนเรื่องงบประมาณ มหาวิทยาลัยจะมีการแบ่งกลุ่มงานครับ กลุ่มวิจัย นวัตกรรม งบประมาณจะไม่เท่ากัน ของราชภัฏถ้าจำไม่ผิดคือเพื่อสนับสนุนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ทุกประเทศมีแบบนี้ อเมริกามี Ivy League เกาหลีใต้มี SKY อังกฤษมี Oxford Cambridge
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ
@hokijooki
@hokijooki Жыл бұрын
ในด้านหลักสูตรทำไมถึงง่ายอาจารย์เราเคยบอกไว้ว่าเขาวัดจากประสิทธิภาพนศ ซึ่งส่วนมากเกณฑ์ตาำก็ต้องปรับการสอนลง นี่แหละข้อเสีย แต่ก็เข้าใจว่าเปิดให้เด้กทุกคนได้เรียน แต่มีวิธีการยังไงให้ดีกว่านี้ไหมนะ
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
@@hokijooki ใช่ครับ ราชภัฎ ราชมงคล เอาจริง ๆ ปรับให้ยาก ก็ทำได้ แต่ที่ไม่ทำ เพราะเด็กที่ไม่เรียนบางคน มันจะเปอร์ ไปเรื่อยครับ หาว่า อาจารย์โหด ยังโง้น ยังงี้
@mr_chubbycat-t
@mr_chubbycat-t Жыл бұрын
เพื่อนผมจบราชภัฏ แม่งก็เป็นคนบอกเองว่ามหาลัยห่วยมาก ผมกับเพื่อนเรียนสาขาเดียวกัน แต่คนละ มอ เวลาคุยเรื่องเรียนจะเหวอๆว่า เด็กราชภัฏ มันเรียนอะไรกันว่ะเนี่ยทำไมหลักสูตรมันแปลกๆ อาจารย์ก็ค่อนข้างจะปล่อยเกรด
@Bossgreatwall
@Bossgreatwall Жыл бұрын
จริง
@Bossgreatwall
@Bossgreatwall Жыл бұрын
มหาลัยดังๆ ปรับหลักสูตรตลอดเเทบจะทุกๆ2-3ปี ปรับได้ดีขึ้น ปรับให้เข้ากับความต้องการของผู้ประกอบการเเต่ละสาขานั้นๆ
@bobby7131
@bobby7131 Жыл бұрын
เราจบราชภัฏ ทุกวันนี้ได้แต่บอกเด็กๆ ว่าอย่าเข้า สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ แถมคอนเนคชั่นต่ำมาก น้อยมากที่จะได้งานจากคอนเนคชั่น ถ้าไม่เก่งจริง จบไปไม่มีงานรองรับมหาลัยนี้เลย เศร้า
@Ttttttttt421
@Ttttttttt421 Жыл бұрын
เคยดูชีทวิชาภาษาอังกฤษของเพื่อนราชภัฏแล้วอึ้งเลย is am areอยู่เลย🤦🏻‍♀️
@กูเเม่งโครตเท่
@กูเเม่งโครตเท่ Жыл бұрын
ผมเรียนราชภัฏก็คิดงั้น
@nualsleeper6891
@nualsleeper6891 11 ай бұрын
input : เด็กมอดังมีทรัพยากรอัดฉีดเข้าไปมากกว่าเด็กราชภัฏ + ไหนจะสภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดีมากกว่า output : เด็กมอดังมีสัดส่วนเด็กเก่งมากกว่าเด็กราชภัฏ มีโอกาสเติบโตไปเป็นผู้บริหาร หรือพนักงานระดับ management มากกว่า ซึ่งนั่นเป็น fact ที่ไม่ว่าจะ teamมอดัง หรือ teamราดพัด หรือไม่ว่าใครก็สามารถเข้าใจใน fact นี้ได้เหมือนกัน input หรือการได้ทรัพยากรในการศึกษา = เด็กมอดัง > เด็กราชภัฏ output หรือผลผลิตของเด็กเก่ง = เด็กมอดัง > เด็กราชภัฏ ที่นี้ การที่เด็กราชภัฏหลายๆ คนออกมาพูดทำนองว่า จบราชภัฏมาก็เอาตัวรอดได้, เด็กราชภัฏก็เก่งกว่าเด็กมอดังได้ ถ้าพยายาม มันทำให้เด็กมอดังหลายคนไม่พอใจ ประมาณว่าเอ็งมาจะดีกว่าข้าได้ไง จนบางทีก็ลืมมองความจริงไปว่า ในเด็กเก่ง 100 คน อาจจะมีเด็กมอดังในนั้นอยู่ 90 คน แต่อีก 10 ที่เหลืออาจจะเป็นเด็กราชภัฏ หรือมอในเครือท้องถิ่นอื่นๆ ก็ได้ การที่เด็กราชภัฏพูดว่า เด็กราชภัฏบางคนเก่งกว่าเด็กมอดัง พวกเขาหมายถึง ‘เด็กราชภัฏส่วนหนึ่งเอง ก็สามารถพัฒนาตัวเองจนเก่งกว่าได้ ภายใต้ต้นทุนหรือทรัพยากรที่ด้อยกว่า’ ซึ่งต่างจากเด็กมอดังที่มีทรัพยากรด้านการศึกษาครบถ้วนจนแทบจะเหลือใช้ ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่เขาจะภูมิใจ และพูดเพื่อให้กำลังใจเพื่อนราชภัฏด้วยกัน และแม้จะตั้งใจหรือไม่ มันเป็นเหมือนการทำตัวเหนือกว่าเด็กมอดังไปโดยปริยาย > ผลคือเด็กมอดังเข้ามา defense ว่าราชภัฏดีกว่าตรงไหน ห่วยจะตาย เป็นการกดยิ่งไปกว่าเดิม > เด็กราชภัฏเถียงกลับ เป็นสงครามน้ำลายที่ไม่จบไม่สิ้น เหมือนต่างฝ่ายพยายามเถียงให้ได้ว่า ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เป็น fact ที่ปฏิเสธไม่ได้คือ มันมีเด็กราชภัฏบางคน อาจจะสัดส่วนน้อย แต่ก็มีคนที่เก่งกว่าเด็กมอดังจริงๆ *ในความหมายที่ว่า สามารถถีบตัวเองให้เก่งกว่าได้ภายใต้สภาพแวดล้อมและ input ที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น เด็กราชภัฏบางคนที่พยายามด้วยตัวเองจนเก่งขึ้นมาได้ คุณควรภูมิใจ ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เรื่อง input และ output เด็กมอดังมีโอกาสเยอะกว่ามาก ไม่มีใครปฏิเสธเรื่องนั้น แต่เรื่องที่ว่าเด็กราชภัฏ ‘บางคน’ ก็เก่งกว่าเด็กมอดังได้ มันเป็น fact ที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกัน ในหลายครั้งที่เด็กราชภัฏออกมาพูดในแง่ให้กำลังใจกันเองแบบนี้ ก็จะถูกล่าโดย teamมอดังบ่อย บางคนไม่ได้จบมอดังด้วยซ้ำแต่อยากเข้ามาร่วมวงสนทนา (อยากมาด่าเด็กราชภัฏ) ด้วย ก็จะเข้ามารุม (ใส่ not all เอง) ซึ่งอย่าลืมว่า ที่เด็กราชภัฏออกมาพูด คือบางคนเขาต้องการให้กำลังใจกันและกัน ไม่ได้กะจะเหยียดเด็กมอดังหรืออะไร (แต่ใครที่อยากเหยียดเด็กมอดังจริงๆ อันนั้นเป็นสันดาน) ใน ปสก ส่วนตัวเราทำงานเป็นล่ามในบริษัทผลิตรถยนต์ในเขตอุตสาหกรรม เห็นกับตาว่าเด็กจบมอเอกชนที่ไม่ได้มีชื่อเสียง (เพื่อนร่วมงาน) เก่งกว่าเด็กมอดัง top 3 ของประเทศแบบเทียบไม่ติด หรืออีกตัวอย่าง เราเองจบราชภัฏ (ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ และไม่มีใครปฏิเสธด้วยว่าหลักสูตรมันแย่จริง แต่เราพยายามด้วยตัวเองมาเยอะ) แต่เราสอบวัดระดับภาษาอันดับสูงสุดได้ก่อนเพื่อนที่จบมหาลัย top 5 ของประเทศถึงสองปี และในงานล่ามทุกวันนี้ก็แบกเพื่อนมอดัง top 5, top 3, top 1 ในหลายๆ ประชุมจนหลังหัก ดังนั้นน้องๆ ที่เรียนราชภัฏอย่าเพิ่งหมดกำลังใจกันนะ ถึงหลักสูตรมันจะห่วยแต่เรายังพัฒนาตัวเองได้ตลอด ส่วนเหล่าเพื่อนมอดังบางคนที่ยังเหยียดเด็กราชภัฏอยู่ เราห้ามความคิดคุณไม่ได้ ถึงคุณจะดูถูกเด็กราชภัฏที่เก่งกว่าหรือด้อยกว่าคุณ แต่อย่าลืมว่าในการทำงาน ผู้บริหารเองก็ขับเคลื่อนองค์กรไม่ได้เช่นกัน หากขาดแรงงานและพนักงานระดับปฏิบัติการ และถ้ายังไม่หายเหี้ยน ลองเทียบมอดัง top ประเทศไทยกับ global university ranking ดูนิดนึง หรือเอาแค่ในเอเชียก็พอ ว่าตัวเองอยู่อันดับที่เท่าไหร่ เผื่อเม็ดมั่นจะหลุดจากมือ แล้วก็เรื่อง connection สุดท้ายก็เป็นแค่อีกหนึ่ง factor ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
@haveyou633
@haveyou633 Жыл бұрын
ถูกต้องครับ ม.ราชภัฏ สำหรับผมคือมหาลัยกำลังมีปัญหาเฉยๆครับ ปัญหาจากหลายๆอย่างที่ไม่พร้อมทำให้มีโอกาสที่เด็กจบมาจะไม่มีคุณภาพครับ แต่ไม่ได้หมายความทุกคนจะไร้คุณภาพทั้งหมดนะครับ และคนที่จบมาแบบมีคุณภาพนี้ต้องซื่นชมมากเลย เพราะ ต้องใช้ความพยายามและความอดทนสูงมากๆครับ วิธีแก้ไม่ยากครับ เพียงแค่พัฒนาระบบการศึกษา ทางโครงสร้างทั้งหมด ในหลายปัจจัย ตั้งแต่ระดับเล็กๆจนถึงภาพรวมเลยครับ (ที่บอกไม่ยากนี่พูดเล่นนะ) อาจจะต้องใช้เวลานานมากๆ และ งบประมาณจำนวนมากเลยครับ แต่ผลตอบแทนคุ้มค่าแน่นอน เพราะมันหมายถึงการเจริญก้าวหน้า ของระบบการศึกษาไทยโดยภาพรวมเลยครับ ถ้ามองซะว่าราชภัฏคือตัวแทนของ การศึกษาไทย เพราะมีการกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทยและ มีนักศึกษา รวมกันจำนวนเยอะมากๆ ถ้าพัฒนาจุดนี้ได้ แล้วเพิ่มอัตราการเรียนจบให้มีประสิทธิภาพได้ ก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ให้เวลาเดียวกัันเลยครับ ก็เหมือนแก้เกรดครับ ทำคะแนนวิชาอื่นๆได้คะแนนดีมาก เกรด3+ หมด แต่วิชาที่หน่วยกิจ3หน่วยกิต ได้แค่เกรด1 แต่ด้วยความที่วิชานั้นมันหน่วยกิตสูงมาก ทำให้ดึงเกรดโดยรวมให้ต่ำไปด้วย และการแก้ไขปัญหาของม.ราชภัฏ ก็เหมือนแก้วิชาที่ได้เกรด1 นั่นแหละครับ อย่างน้อยอาจจะทำให้ออกมาดีไม่ได้เพราะเราไม่ถนัดวิชานี้ แต่ถ้าใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นมาน่อย ก็อาจจะเพิ่มเกรดขึ้นมาเป็นเกรด2 ได้ก็ได้ และพอเป็นแบบนั้น เกรดโดยรวมก็เพิ่มขึ้นด้วย หลักการง่ายๆ เพราะงั้นโดนส่วนตัวผมมองว่า "ราชภัฏคือรากฐานของการศึกษาไทย ที่ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ เป็นเหมือนกระจกสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของบุคลากรไทยและอนาคตของประเทศไทยครับ" เป็นรากฐานการศึกษาที่ไม่ถูกให้ความสำคัญครับ ถ้าให้แนะนำว่าเข้าราชภัฏดีมั้ย ผมจะตอบว่า "ถ้าไม่มีทางเลือก ก็เข้าได้ครับ" ก็สู้ๆนะครับ สำหรับDek66 สอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมก็Dek66เหมือนกันตอนนี้ยังไม่รู้จะเข้าม.ใหนเลย555
@thngb4759
@thngb4759 Жыл бұрын
เราเรียนมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปริญญาตรี คณะนึง ไปดูหลักสูตรปริญญาโทของราชภัฏที่นึง แล้วอึ้งมากก เพราะคณะปริญญาตรีที่เราเรียนคือปริญญาโทของราชภัฏนั้นทั้งหมดเลย ส่วนตัวเราคิดว่าคนจบราชภัฏไม่ใช่ทุกคนที่ไม่เก่ง บางคนเก่งมาก โคตรขยัน แต่หลักสูตรห่วยมากๆๆบวกกับโอกาสที่ได้รับระหว่างเรียนในมอนั้น แต่บางคนมอดังทอป 3 ตอนฝึกงานเป๊ะเนื้อหา เป๊ะทฤษฎีมาก แต่เจอชาวต่างชาติแล้วไม่ได้เลย ไม่สามารถสื่อสาร รับหน้า แก้งานได้เลยเหมาะสำหรับงานเขียนงานสอนดีกว่า ป.ล อยากให้ดูที่ตัวรายบุคคลดีกว่า
@abcdefuggg3716
@abcdefuggg3716 Жыл бұрын
เป็นคนนึงที่คิดว่าตัวเองมีศักยภาพอยู่ประมาณนึงค่ะ แต่ด้วยอยู่ต่างจังหวัด เราต้องคิดทั้งค่าเดินทาง ค่าหอ ค่าชุด ค่าครองชีพ และคิดถึงด้วยว่าหากเข้าไปเรียนแล้วต้องเสียค่าอะไรอีกบ้าง เราไม่ได้มีฐานะมาก พออยู่ พอกิน ยังคิดว่าการศึกษาแพงเลยค่ะ สุดท้ายก็เลยเลือกไปยื่นพอตราชภัฏ เราตกใจมากที่พอไปยื่นแล้วพบว่ามีคนที่ไปยื่นเหมือนกันแต่ไม่ได้ทำพอตไป ไปแค่สัมเฉยๆ กับเอาผลงานของตัวเองให้ดู เรารู้สึกแย่มาก ที่เราตั้งใจทำพอตและทำงานทุกอย่าง เรียบเรียงทุกอย่างออกมาให้ดีที่สุด แต่ทางม.ไม่ได้ให้เกียรติเด็กที่ทำตามกฏกติกาด้วยซ้ำ สุดท้ายคืออยากบอกว่า เรียนที่ไหนก็ไม่เหมือนกันหรอกค่ะ คุณภาพ อะไรใดๆต่างกันอยู่แล้ว เป็นค่านิยมของคนไทยไปแล้วด้วยซ้ำ มีทางเดียวคือรัฐบาลลงมาใส่ใจการศึกษาและงบประมาณ ของการศึกษาไทยให้มากกว่านี้ อนาคตของเด็กไทยเก่งๆที่ไม่มีทุนในการเรียนมากพอจะได้ไม่ถูกขโมยไปโดยค่านิยมของคนในสังคมที่ยากจะแก้อีกค่ะ สุดท้ายคือ เราอยากใช้ชีวิตในนามของเด็กราชภัฏอย่างมีคุณภาพ และทำตามความฝันของตัวเองอย่างสุดความสามารถ ใช้ชีวิตของตัวเองให้มีความสุขบนมาตรฐานสังคมที่กดทับลงมา ขอบคุณค่ะ
@sitthasimarugumapi2883
@sitthasimarugumapi2883 Жыл бұрын
แชร์จากคนวงในราชภัฏ ผมเนี่ยเกิดในราชภัฎเลย อยู่มาทั้งชีวิต 35ปี มีเพื่อน พ่อแม่ญาติพี่น้องอยู่ในราชภัฎทั่วประเทศ ปัญหาอันดับ1ที่ผมเห็นเลยคือเรื่องคอรัปชั่น อาจจะพูดไม่ได้เต็มปากว่าเป็นทุกที่ แต่ทุกที่ที่ผมรู้จักเป็นเหมือนกันหมด ผู้บริหารที่ขึ้นมาทุกยุคมีแต่เสือสิง เข้ามาเพื่อกอบโกยโกงกิน ตั้งแต่ค่าดินสอยันที่ดิน จะเล็กจะน้อยเอาหมด ผมโตมากับสิ่งเหล่านี่จนช่วงนึงของชีวิตผมคิดว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่อง"ปกติ" ใครๆก็ทำ หรือมันต้องทำ ไม่ว่าจะเบิกงบไปเที่ยวแล้วอ้างว่าสัมมนา แม้แต่ผมเองได้ไปเที่ยวต่างประเทศหลายครั้งตั้งแต่เด็กก็เพราะสิ่งเหล่านี้ เดิมน้ำมันต้องทำบิลแยก ต้องเบิกเงินค่าข้าวคนขับรถ เอาญาติพี่น้องมาใช้รถ ใช้บ้านพัก เอาญาติตัวเองเข้าทำงานในทุกตำแหน่ง แล้วคนกันเองก็โหวดคนกันเอง ขึ้นเป็นผู้บริหาร ได้งบสร้างอาคาร งบพัฒนานักศึกษามา เอามานั่งประชุมกันว่าจะหั่นงบตรงไหนเอามาใช้ส่วนกลาง(กันเอง)ได้ ช่วงนึงผมเชื่อจริงๆว่าทำแบบนี้คือถูกแล้วเพราะให้งบมาไม่ตรงกับที่ต้องการเลยต้องเล่นแร่แปลธาตุเอางบนั้นแอบมาทำอันนี้ แต่วนไปวนมาก็คือผลประโยชน์เข้าพวกพ้อง ใครไม่เอาด้วยก็นั่งสอนหนังสือไปเถอะไม่ได้เติบโตไปไหน เก่งแทบตาย งานวิจัยระดับประเทศก็ได้แค่2ขั้น เส้นใหญ่มาทีหลังขึ้นเป็นหัวหน้าภาคเรียนร้อย แล้วคนพวกนี้สอนหนังสือไม่เคยรู้เรื่องโยนงานให้นศ.โยนงานให้ผู้ช่วยไปเรียนกันเอาเอง แล้วก็ปล่อยเกรดไม่ก็ขายเกรดให้จบๆไป นศ.ก็รู้กันดี จะเรียนทำไมให้เหนื่อยตายก็ได้แค่C ยกกระเช้าให้อาจาย์B+ก็มาละ ดังนั้นแค่จัดงบมาลงให้เท่ามหาลัยก็ไม่ช่วยครับ งบนั้นจะละลายหายหมดเหมือนโยนเงินใส่กองไฟ แล้วก็ไม่ต้องหวังจะตรวจสอบอะไร เวลามีเรื่องก็พวกเดียวกันทั้งนั้นเป็นกรรมการสอบ อธิการที่นี่มีปัญหาก็ตั้งอธิการที่อื่นที่เป็นเพื่อนกันและทำเหมือนกัน มาสอบ สอบให้ตายก็ไม่ผิด ต่อให้ผิดก็ไม่ลงโทษ ต่อให้มีโทษก็ไม่ลงซักทีดึงไปดึงมาจนเกษียณ บางคนจนแก่ตายไปก็เยอะแยะ
@sitthasimarugumapi2883
@sitthasimarugumapi2883 Жыл бұрын
เรื่องมันเยอะเล่าเป็นปีก็ไม่หมด ช่วงที่ครูทำอาจารย์3กันเยอะๆ แล้วต้องให้อาจารย์ราชภัฎเป็นคนอ่าน แค่ยื่นให้อ่านก็ 5000บาทละ (10กว่าปีแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่รู้เท่าไหร่แล้ว) ไม่ใส่ซองก็วางกองไว้ตรงนั้นแหละ คนส่งให้อ่านเป็นร้อย จะเลือกคนไหนมาอ่านก่อนหละ ถ้าเขียนดีมากก็จบที่ 5000 เขียนกลางๆก็แก้ไป3-4รอบ ถ้าขี้เกียจเสียเวลาแก้ก็ใส่ซัก 4-5หมื่น เดี๋ยวอาจาย์แก้ให้เอง555 เลวร้ายที่สุดที่เคยได้ยินแพคเกจผ่านแบบไม่ต้องเขียนซักตัวอักษร 2แสน เอาไปเลย ผ่อนจ่ายได้ คนยอมจ่ายเยอะด้วย เพราะ1-2ปีคืนทุนละที่เหลือกำไร บางคนทำนานกว่า2ปียังไม่ผ่านเยอะแยะ
@Uknowdonttouchmelife
@Uknowdonttouchmelife Жыл бұрын
จริง
@itsjustopinion_are_asfollows
@itsjustopinion_are_asfollows Жыл бұрын
แซ้ดเลย
@my-de5kj
@my-de5kj Жыл бұрын
ชอบคอมเม้นท์นี้ คุณเล่าได้เห็นภาพเลยครับ ซึ่งบางสิ่งบางอย่าง รร.มัธยมก็มีแบบนี้
@pointch.1094
@pointch.1094 Жыл бұрын
อันนี้จริง ไม่เชื่อไปดูเมืองดอกบัวได้เลย งบ สอนไม่ค่อยจะมีแต่งบสร้างสนาม นี้เยอะจัง วิทยาเขต ก็มีสระว่ายน้ำด้วยนะ แต่ได้ใช้ไม ก็ไม่น่าจะได้ใช้เพราะห่างจากตัวมหาลัยตั้ง 20 30 กม.
@njlo5729
@njlo5729 Жыл бұрын
ส่วนตัวหนูจากใจเป็นเด็กราชภัฏ ตั้งใจอ่านหนังสือ เต็มที่กับการเรียน แต่พอสอบออกมาก็ได้คะแนนไม่ได้ตามที่หวังตั้งใจ ไม่ติดมหาลัยที่หวัง สุดท้าย ไม่ได้มหาลัยที่ตั้งใจแต่ได้คณะที่ตั้งใจไว้ เลยลองเปิดใจเข้ามาเรียนที่นี่ จากการเรียนมาหลายๆเดือนหนูรู้สึกว่าที่นี่ให้โอกาสหลายๆอย่าง การศึกษาที่แน่นพอสมควรจากกอาจารย์ที่จบโทจบเอกจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อนในห้องหลายๆคนเก่งกันมากมีทั้งคนทำงานไปเรียนไป แต่ พอเข้ามาสื่อต่างๆในโลกออนไลน์ และโลกความเป็นจริง ไม่ค่อยที่จะมีใครเปิดใจกับสถาบันนี้ อยากให้ทุกๆคนเลิกบั่นทอนจิตใจนักศึกษาที่นี่ที่เข้ามาเรียนด้วยความตั้งใจได้ไหมคะ ให้“กำลังใจ”แทนการใช้คำพูดว่าจบมาจะไม่มีงานทำดีกว่าไหมคะ。
@puppysadayut4228
@puppysadayut4228 Жыл бұрын
นี่แหละความคิดเด็กราดพัด
@njlo5729
@njlo5729 Жыл бұрын
@@puppysadayut4228 ใช่ค่ะ นี่คือความคิดของเราเองเด็กราชภัฏคนนึง ยอมรับความจริงทุกอย่างแต่เลือกที่จะพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
@horndxgSM
@horndxgSM Жыл бұрын
@@puppysadayut4228 นี่แหละ คนที่เกิดมาจากเศษเดน
@ป้าข้างบ้าน-ว2ง
@ป้าข้างบ้าน-ว2ง Жыл бұрын
ดิฉันก็จบราชภัฏค่ะ อยากมาให้กำลังใจ ต้องยอมรับก่อนว่าที่ดิฉันเลือกเรียนราชภัฏเพราะว่าใกล้บ้านใกล้บริษัทของคุณพ่อเดินทางสะดวก คุณพ่อของดิฉันสอนดิฉันว่าการศึกษาไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยเสมอไป ความรู้ที่ใช้ได้จริงคือประสบการณ์ การพูดคุยกับคนที่ประสบความสำเร็จจะทำให้เราได้ความรู้ในชีวิตจริง ดิฉันพิสูจน์แล้วว่าถึงจะเรียนจบราชภัฏก็ประสบความสำเร็จได้ คนที่จบจากมหาวิทยาลัยดังเป็นแค่พนักงานบริษัทได้เงินเดือน10000-100000บาทต่อเดือน แต่ดิฉันจบจากราชภัฏได้เงิน10000-100000บาทต่อวัน เงินที่ได้รับเป็นเงินปันผลที่ผู้ประกอบการได้รับไม่ใช่รายได้ทั้งหมดของบริษัทนะคะ ดิฉันจบจากราชภัฏดิฉันก็มีความสามารถในการบริหารบริษัทได้ แล้วก็ในบริษัทของดิฉันมีพนักงานที่จบจากราชภัฏที่เก่งๆก็มี เงินเดือนก็ให้เท่ากับคนที่จบจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ดังนั้นอย่าพึ่งท้อนะคะ
@Samakurono
@Samakurono Жыл бұрын
@@njlo5729 ไม่เป็นไรครับคนเก่งเขารู้จักพัฒนาตัวเองจบมาทำงานเขาก็หาความรู้อยู่เสมอไม่ได้ไปสนใจหรือเหยียดใครหรอก คนพวกนี้เขามีแสงอยู่กับตัว วันนึงมันก็จะไปสว่างในที่ของมันเอง ส่วนตัวเจอเด็กราชภัฏเก่งๆก็มีแค่อาจไม่เยอะเหมือนที่อื่น สู้ๆครับ ปริญญาโทปริญญาเอกก็มีให้พิสูจน์อีก
@Hopbitz
@Hopbitz Жыл бұрын
บทดีมากกก เปรียบเทียบ ถูกจุดชัดเจน ตรงประเด็นมากค่ะ ความเหลือมล้ำทางด้านการศึกษา
@beformidable12
@beformidable12 Жыл бұрын
0:25 จริงๆที่อาจารย์พูดก็น่าสนใจนะครับ ที่บอกว่าโลกมันพัฒนาไปแล้ว เด็กราชภัฎก็มีคุณภาพไม่ต่างกัน แต่ถ้าให้อาจารย์ต้องเลือกเด็กจบใหม่สักคนไปทำงานสักงานหนึ่งโดนมีชีวิตอาจารย์เป็นเดิมพัน ถามว่าอาจารย์จะเลือกเด็กจากไหนครับระหว่าง เด็กจุฬา/ธรรมศาสตร์/มหิดล กับเด็กราชภัฎ ? คนเราเวลาบอกให้คนอื่นเลือกโดยไม่มีอะไรเป็นเดิมพันมันก็พูดได้ทั้งนั้นแหละครับ แต่พอถึงเวลาตัวเองต้องเลือก ต้องเดิมพันด้วยธุรกิจ ด้วยเงิน ด้วยตำแหน่งของตัวเอง 9/10 ก็เลือกในตัวเลือกที่คิดว่าเซฟที่สุดทั้งนั้นแหละครับ
@sermpongsuwanna
@sermpongsuwanna 10 ай бұрын
เห็นด้วยครับ
@nattawutn.4643
@nattawutn.4643 Жыл бұрын
ส่วนตัวก็จบราชภัฎ แต่ที่มองเห็นปัญหาจากที่เจอตอนเรียนจริงๆ จะมีปัจจัยสำคัญมีไม่กี่อย่างจริง ๆ คือ 1.อาจารย์ผู้สอน ที่เจอคือ อาจารย์ไม่สอนให้นักศึกษา หาความรู้เอง 1 เทอมคือได้เจอแค่ไม่กี่ครั้ง เช็คชื่อผ่านการถ่ายรูปหน้าคลิปวิดีโอที่ให้ศึกษา หรือ ส่งงานครบ เอา A ไป คนไหนสนิทกับอาจารย์ เอา A ไป วิจัย Ctrl + c and Ctrl+v ไม่มีคำผิด เข้าเล่มไว ได้ A (แต่อักขราวิสุทธิ์เกิน 50%) คนไหนถึงจะทำวิจัยออกมาดี เก็บค่าข้อมูลเอง สำรวจเอง แต่ไม่ได้สนิทกับอาจารย์ แก้หลายรอบ เอา C ไป 2.ตัวนักศึกษา(บางคน)เองที่ไม่มีคุณภาพ บางคนซื้องานวิจัย คัดลอก จ้างคนอื่นทำรายงาน ไม่เข้าเรียน แต่เข้าร้านเหล้าไม่เคยขาด คิดแค่ว่าเข้าเรียนยังไงก็ผ่าน อย่างน้อยก็ได้ D หรือ C เพราะคิดอยู่แค่นี้ถึงได้โดนอย่างที่โดยอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้าถามว่า ทำไม ถึงเรียนราชภัฏ ตอบตรงๆคือ เรื่องทุนทรัพย์ ค่าครองชีพ และอื่น ๆ (ความเหลื่อมล้ำมันอยู่ที่จุดตรงนี้ )
@thitikornphumma6140
@thitikornphumma6140 Жыл бұрын
ผมอยากเรียนมหาลัยในกรุงนะครับ แต่ผมเองก็ไม่มีทุน ผมก็ทำงานหาเงินอย่างหนักแต่ก็ไม่ได้ทำให้มีโอกาสได้เรียนเลย เพราะค่าครองชีพ ที่เพิ่มขึ้น มันไม่แฟร์เลย ที่คนรักเรียนไม่มีโอกาสได้เรียน แต่กับพวกที่มีโอกาสได้เรียนแต่ไม่คิดอยากจะเรียน ไม่ได้รักเรียนเลยกลับไม่คิดอยากจะเรียน
@DavisonBo
@DavisonBo Жыл бұрын
ต่างกับผมมาก ตอนเมื่อก่อนเรียน มช อาจารย์สอน เราจะเข้าไม่เข้าก็ได้ ส่วนมากมาเรียนกัน 60-70% สอบรอบเดียว 100 คะแนนเต็มปลายภาค ไม่มีกิจกรรมไรเลย ทำไม่ได้ก็เรื่องของเอ็ง 555555
@sutuachai4361
@sutuachai4361 Жыл бұрын
@@DavisonBoของผมก้สอบ100 น้ำตาแทบไหล หนีFตลอด5555
@Pizzanoo
@Pizzanoo Жыл бұрын
ผมก็ไม่มีทุนทรัพย์ นะ แต่เลือกเรียนใน กทม. กู้เรียน รวมถึงขอทุนต่างๆ มา support ก็จบมาได้นะครับ และคำว่าไม่มีของผมก็คือ “ไม่มีจริงๆ” ถึงขนาดจะดรอปเรียน ผมคิดว่าถ้ายังไม่ลองพยายาม ก็อย่าเพิ่งปิดโอกาสตัวเองและพูดถึงความเหลื่อมล้ำดีกว่า เพราะพูดไปปัญหานี้ก็แก้ไม่ได้ภายในวันสองวัน ต้องลองลงมือทำก่อนครับ
@DavisonBo
@DavisonBo Жыл бұрын
​@@Pizzanoo เห็นด้วยครับ ยิ่งไม่มีทุนยิ่งต้องเข้า ม.ใหญ่ๆ รัฐบาลเลย พวกมอใหญ่ทุนมันเยอะอย่างของผม มช ถ้าขยันหาทุนหน่อยมีทั้งทุนทำงาน(เดือนละ6000) ทุนเรียนฟรี(จ่ายค่าเทอมให้หมด4ปี) ยังไม่นับกู้ กยศ. และทุนศิษย์เก่าอีก เอาจริงๆถ้าขยันและเก่งจริง ยังไงก็ใช้ทุนน้อยกว่าราชภัฎ เยอะครับ
@Repository3
@Repository3 Жыл бұрын
จริงมาก สวัสดิการ อุปกรณ์การเรียน ใด ๆ ไม่ดีเท่าม.ประจำจังหวัดหรือ ม.ระดับประเทศ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แลกมาด้วยค่าเทอมที่ถูกพอสมควร เทอมละหกพันบ้าง แปดพันบ้าง หมื่นต้น ๆ ในขณะที่ ม.จังหวัด เริ่มที่หมื่นห้า อีกประการคือ ทุนช่วยนักศึกษามีไม่กี่ทุน ถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับ ม.อื่น ในด้านของคณาจารย์ เรารู้สึกว่า แต่ละท่านเก่งมาก Content แน่น ความเป็นครูแน่น (เท่าที่พบมา) หลายท่านเคยเป็นนักศึกษาทุนที่ไปต่างประเทศ หลายท่านเองก็จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ แต่ภาพจำเวลาไปคณะหรือเรียนทำแลปคือ ตึกเก่า ๆ ของบางอย่างยังมีคำว่า วิทยาลัยครูเขียนอยู่เลย และเรายังได้ใช้มัน เครื่องแก้วเก่า ๆ เก้าอี้พัง ๆ แล้วก็อุปกรณ์บางทีไม่พอ ห้องแลปเล็กพอควร ซึ่งพวกอุปกรณ์เหล่านี้ ต่างจาก ม.ประจำจังหวัดที่เคยไปเรียนสมัยมัธยมมาก
@300percentbeam3
@300percentbeam3 Жыл бұрын
เรากำลังเรียนอยู่ที่ฬ.ค่ะตอนมัธยมเป็นคนขี้เกียจมากๆเรียนคือแทบไม่เอาเลยสังคมกับตัวมหาลัยมีผลมากๆ อาจารย์หลายคนค่อนข้างให้ความสำคัญกับเด็ก หลักสูตร ความพร้อมของมหาลัยมีผลจริงๆกิจการนิสิตคณะเราก็ค่อนข้างตามเรื่องได้เร็วแก้ปัญหาไว เซอร์วิสให้แทบทุกอย่าง อย่างคณะเรามีภาคปฏิบัติที่น่านทำงานตัวเป็นเกลียว ลงชุมชนถี่มากแต่มันได้อะไรจริงๆค่ะ มีกิจกรรมจากคนข้างนอกมาให้ความรู้แทบทุกอาทิตย์ พออยู่ในสังคมแบบนี้มันบีบให้เราเป็นคนมีวินัยเลิกผลัดวันไปแบบอัตโนมัติเลย ที่จริงการที่มหาลัยมีหลายๆอย่างคอยรองรับเรามันได้เปรียบแบบโคตรๆเขาพยายามให้ความรู้วิ่งหาเราสุดๆ ข้อเสียก็มีหลายอยู่แต่ถ้าเทียบกับหลายๆมหาลัยเราคิดว่าเด็กในมอเองก็น่าจะรู้สึกเหมือนกันค่ะว่าค่อนข้างได้เปรียบมาก
@nattkett7786
@nattkett7786 Жыл бұрын
นี่เคยสอนทั้งใน ม.ใหญ่ และ ม.ราชภัฏ ต่างค่ะ ต่างจริงๆ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งโทษใครฝ่ายเดียวก็ไม่ถูก
@mulika
@mulika Жыл бұрын
จริงโคตร ที่พื้นฐานมีไม่เท่ากัน ตั้งแต่ก่อนเข้ามหา'ลัยแล้ว แล้วลองคิดดูว่า in put ที่เข้าไปมันต่างกัน แล้วจะให้ out put มีคุณภาพเท่ากัน ในทางปฏิบัติ มันเป็นไปไม่ได้ อาจารย์ สอนดี สอนเข้าใจ แต่เด็กต้องมีพื้นฐานมาระดับนึง แล้วอีกอย่างคือ ข้อสอบ ถ้ายากเกินเด็กในชั้นเรียน มันจะแยกเด็กที่รู้เรื่องมาก น้อย ออกจากกันไม่ได้ ง่ายไป ก็แยกเด็กไม่ได้อีก ก็ต้องออกสอบที่มันจะตัดสินได้ ว่าใครรู้มากกว่า ใครเข้าใจมาก เข้าใจน้อย เพราะแบบนี้จะออกข้อสอบที่มาตรฐานเท่าที่อื่นไม่ได้ นี่แหละ เกรดสวยจริง แต่ความรู้ไม่เท่ากัน ปัญหานี้มีมาตั้งแต่โรงเรียนมัธยม โรงเรียนประถมแล้ว จะแก้ยังไง
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ
@bellalachandos4600
@bellalachandos4600 Жыл бұрын
ประสบการณ์จากมหิดลนะ สภาพแวดล้อม สังคม มีส่วนมากๆกับการพัฒนาตัวเอง มองไปทางไหนก็เจอแต่คนเก่ง จนรู้สึกต้องพัฒนาตัวเองตลอด(กลัวตกมีน) จบมาก็ล้อมรอบไปด้วยเพื่อนๆรุ่นพี่ที่หน้าที่การงานดี ทำให้มีคอนเนคชั่นที่ดีต่อยอดได้ง่าย
@ursamajor8683
@ursamajor8683 Жыл бұрын
เราพยายามกันตั้งแต่ช่วงมัธยมต้นถึงปลาย เพื่อจะเก็บเกี่ยววิชาความรู้ไปสอบเข้าสถาบันการศึกษาแถวหน้าของประเทศ แม้แต่ตอนอยู่ในรั้วมหา'ลัยเราก็เต็มที่เพื่อจะสำเร็จการศึกษาแล้วเข้าสู่ตลาดแรงงาน ที่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับที่สั่งสมความรู้มา และพัฒนาตัวเองในสายอาชีพที่ทำ แค่ความพยายามเราก็ต่างกันแล้ว แต่เราไม่เคยไปเหยียดมหา'ลัยอื่นเพราะเราเรียนหนักและไม่มีเวลามากขนาดนั้น ขอบคุณค่ะ
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
ม.ระดับล่าง ๆ เข้าง่าย เด็กจะค่อนข้างขี้เกียจครับ คาดหวังให้ครูบาอาจารย์ ปล่อยเกรด
@Red-hf4rwกฟหไฟแasfawfax
@Red-hf4rwกฟหไฟแasfawfax Жыл бұрын
@@mccarterstartrek9395 ครับ ออพติมัสไพร์ม
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
@@Red-hf4rwกฟหไฟแasfawfax ครับ คุณ สไปเดอร์แมน เพื่อนบ้านที่แสนดี
@Squier123
@Squier123 Жыл бұрын
​@@mccarterstartrek9395ตัดมาที่ มก. สอบ Mid Term คณะวิทยาศาสตร์นี่คือไม่ได่นอนตอนนี้อยู่ช่วงสอบ Mid Term อยู่ติวกันทั้งวันทั้งคืน สอบ 8.30 สอบเสร็จ 11.30 กลับมาที่ห้องนอน 4 ชม. ตื่นมาอ่านต่อ เพราะข้อสอบข้อเขียนทั้งหมดและโจทย์เป็นภาษาอังกฤษ
@real__air
@real__air Жыл бұрын
เราเป็นคนหนึ่งที่เรียนจบจากจบราชภัฏ และรู้สึกว่ามหาวิทยาลัยไม่มีมาตรฐานจริง ๆค่ะ เราเข้าเรียนต่อโดยการสอบข้อเขียนแล้วจึงสอบสัมภาษณ์ แต่มีอีกหลายคณะที่เข้าเรียนโดยการสอบสัมภาษณ์เท่านั้น แล้วตอนที่เรียนรวม ได้เจอเด็กจากคณะอื่น ๆ รู้สึกว่าพวกเขาทำอะไรไม่เป็น น้อยคนมากที่จะทำได้ ส่วนใหญ่จะโยนงานให้เราทำ และเราเองก็ไม่ไว้ใจให้เขาทำเหมือนกัน แล้วเราเรียนที่มันต้องใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์อะ เครื่องไม้เครื่องมือคือไม่พร้อมมาก ในกลุ่มให้อยู่ด้วยกัน5-6 คน บ้าบอมาก เราเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่นให้ทำแลปเป็นคู่ ไม่ก็เดี่ยว มาเรียนที่นี่แหละ ได้ทำแลปกลุ่ม และยืนยันจริง ๆว่าเด็กบางคน ไม่มีความรู้อะไรเลย
@Sentosa8683
@Sentosa8683 Жыл бұрын
แสดงว่าซิ่วมาจากมหาลัยอื่นใช่ไหมครับ คนที่เรียนมหาลัยแล้วมาเรียนราชภัฏจะเห็นภาพ แต่ถ้าพูดให้เด็กราชภัฎฟังจะนึกไม่ออกเลย นึกแต่ว่าคงเรียนเหมือนๆ กัน
@wasins6856
@wasins6856 Жыл бұрын
เรื่องมาตราฐานเห็นด้วยครับเคยไปแข่งวิชาการเปเปอร์แล้วตัว มรภ เป็นเจ้าภาพปีนั้นพอดี คือไม่ได้ว่านะครับแต่ตัวงานของเด็กมอนี่เองมันดูเหมือนแค่ไปก็อปมาจากเน็ตเฉยๆ ขนาด hyper link สียังไม่เปลี่ยนก็อปวางเลย อาจารย์เค้าก็ไม่ว่าไรเป็นกรรมการสะด้วย แต่เค้าได้รางวัลนะงานแบบนี้ ตัดภาพมาผมเป็นเด็ก ม สีเขียว วิทยาเขต งานเค้าดีมากและพูดจาได้ดี ไม่ท่องจำ แค่นั้นก็เห็นชัดแล้วครับ แน่นอนเด็กเก่งมีทุกมอแต่ตัวเลข หรือเปอเซ็นน้อยกว่าแน่นอน ผมว่าที่ทำให้คนมองไม่ดีเพราะระบบ มาตราวัดของตัวมหาลัยเองที่ไม่ดีพอ
@MeowMuscleTv
@MeowMuscleTv Жыл бұрын
ผมก็เรียนโดยรวมมาตรฐานไม่ดีจริงๆ แต่ดีหน่อยคณะผมมาตรฐานยังพอโอเคเพราะอาจารย์สร้างมาตรฐานให้คณะ แต่เด็กที่เข้ามาเกิน 50% ไม่มีความตั้งใจในการเรียน ไม่ขยัน ความคิดแบบแคบอยู่ในกรอบ การแข่งขันต่ำเพราะคนเก่งก็โดดขึ้นไปเลย คูแข่งไม่ค่อยมี
@theapirak
@theapirak Жыл бұрын
ขอแชร์ประสบการณ์ ในฐานะที่ตัวผมจบราชภัฏอันดับต้นๆของประเทศและเคยเป็นคนโค้ชงานหรือแม้แต่เป็น Quality Evaluator ให้กับน้องที่จบจาก มอ เอกเชนแพงๆ หรือ มอ รัฐดังๆด้วยซ้ำมาก่อนที่ผมจะออกจากงานออฟฟิศมาตามฝันแล้วเป็นราชการครู.. ไม่ได้ดูหมิ่นนะ ราชภัฏอ่อนๆมีเยอะ แต่ มอดังๆ ที่ขึ้นชื่อว่าอันดับต้นๆ พอมาเจองานจริงๆหัวทึบๆ ก็มีแยะ ท้ายสุดหลังหลุดมาจากรั้วมหาลัยทุกคนต้องเจอโลกความจริง แล้วเจอเนื้องานที่มันท้าทายทุกวัน นั้นแหละจะเป็นบทพิสูจน์ให้ตัวน้องๆเองว่า เราแม่งเจ๋งกว่าที่คนเค้าดูถูก อย่าเถียงให้เสียน้ำลาย แค่ลงมือทำ เหตุผลหลักที่ผมเรียนราชภัฏเพราะมันขึ้นชื่อเรื่องครู ผมแค่ตามฝันตัวเองตั้งแต่ ม.4 ผมเลยไม่จำเป็นต้องแคร์ขี้ปากใครดูถูก ในเมือผมพิสูจน์มันด้วยตัวเองมาแล้วว่าสุดท้าย จบจากไหนมันก็แค่ด่านแรกก่อนเริ่มงาน ถ้าคุณเจ๋งจริง จบจากไหนคุณก็ made it to the top ได้ !!!
@dennisoniel
@dennisoniel Жыл бұрын
จากประสบการณ์ที่เห็นได้ชัดที่สุดในการทำงานสายโรงแรมคือ ภาษาอังกฤษ. เด็กจากมอดังแถวหน้า แม้แต่จะเรียนสาขาใดก็ตาม มีความรู้ความสามารถในการ์ใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า เด็กราชภัฏที่จบเอกภาษาอังกฤษด้วยซ้ำ แม้แต่คำศัพท์พื้นฐานพวกเขาแทบไม่รู้จัก ไม่รู้วิธีออกเสียง บางครั้งต้องให้เด็กที่ไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษมาสอนพวกเขา มันทำให้เราตกใจมาก และสงสัยว่าสิ่งที่พวกเขาเรียนตลอดสี่ปี คือเขาเรียนอะไรกัน
@mccrying
@mccrying Жыл бұрын
จบราชภัฏครับ ใจจริงเลยก็อยากเรียน ม.ดังๆ ม.ดีๆ แต่ติดว่าบ้านจน ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่าเพราะต้องเซฟค่าใช้จ่ายสุดๆ คนอื่นเขาว่า ก็ก้มหน้ารับไป เพราะส่วนใหญ่มันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ตอนจบใหม่ๆจะไปสมัครงานในตำแหน่งดีๆลึกๆก็ยังรู้สึกด้อยค่ากว่าคนอื่นจาก ม.ดังๆนะพูดตามตรง ณ.ตอนนี้จบมาหลายปีแล้ว เลือกทำอาชีพขายของออนไลน์ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ มีบ้านมีรถมีเงินดูแลครอบครัวให้อยู่ดีมีสุขได้อยู่ครับ
@Flothiz
@Flothiz Жыл бұрын
เราจบจากราชภัฏ สาขามัลติมีเดีย บอกตรงๆว่าหลักสูตรห่วยจริงๆค่ะ แม่เราให้เลือกว่าจะเรียนราชภัฏหรือรังสิต ใจอยากไปรังสิต แต่เราอยากอยู่ใกล้แม่และปัญหาเรื่องการเงินเนื่องจากพ่อเสียตั้งแต่ยังเล็ก แม่เลยเลี้ยงเราด้วยตัวคนเดียว เลยจำใจต้องเรียนราชภัฏ ตอนแรกเราหวังว่าจะได้ความรู้ที่แน่น แต่การเรียนจริงๆคือ แค่พื้นฐานเรียน1-2คาบก็เปลี่ยนเรื่อง หรือบางทีอ.ส่งลิงค์งานไว้ในกลุ่มแล้วให้นศ.ศึกษาเอาเอง พอคาบต่อไปก็สอบจากเรื่องที่เคยส่งลิงค์ให้อ่านคาบก่อนหน้าโดยที่อ.ไม่เคยเข้าสอน เป็นแบบนี้ค่อนข้างบ่อย แต่ก็มีอ.บางคนที่สอนเก่ง ความรู้แน่น เข้าใจง่าย แต่วิชานั้นดันไม่ใช่วิชาหลักของสายการเรียน บอกตรงๆว่าไม่ค่อยได้อะไรกับการเรียนเลย 4 ปี ตอนฝึกงานก็ใช้ความรู้ที่มีก่อนเรียนมหาลัยอยู่แล้วมาใช้ พี่ที่ทำงานสอนหรือศึกษาเอง ถ้าให้นึกขอบคุณก็คงขอบคุณที่ฝึกงานที่มอบงานโหดๆให้จนมีสกิลติดตัว
@nonarealchannel7397
@nonarealchannel7397 Жыл бұрын
เหมือนกันค่ะ นี่กำลังเรียนอยู่ ปี3 แต่ดรอปเรียนทำงานหาเงิน เพราะเศรษฐกิจการเงินบ้านมันแย่ถึงมี กยศ ก็ตาม ที่เรียนมามันบางทีเนื้อหาไม่จำเป็นเลยและเทียบกับเพื่อนต่างมหาลัยคือคนละเรื่องเลยค่ะแบบดอกฟ้ากับหมาวัด การที่เรียนมาทั้งหมดบอกตรงๆว่าศึกษาเองเป็นส่วนใหญ่จริงๆ อยากเรียนที่รังสิตไม่ก็ศรีปทุมมาตลอด แต่แบบเงินไม่ถึงไง การเงินมันสำคัญต่อการคัดเลือกการเรียนคุณภาพที่จำกัดลงด้วยอะ มาถึงตอนนี้แบบ....นั้นแหละเศร้า
@Flothiz
@Flothiz Жыл бұрын
@@nonarealchannel7397 บีบมือนะคะ นึกย้อนกลับไปก็เสียดายที่ไม่เลือกรังสิต
@hellome7819
@hellome7819 Жыл бұрын
ผมก็เรียนสาขามัลติมีเดียครับ ปี3 เห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้มาก!!! ส่วนตัวอยากเรียนที่รังสิตหรือไม่ก็ศรีปทุม แต่ติดปัญหาเรื่องเงินนี่แหละ หลักสูตรที่สอนคือแค่พื้นฐานจริงๆ คือไปดูตามKZbinก็มีสอนอะ ดีๆไม่ดียังละเอียดกว่าอาจารย์สอนอีก การเรียนคือ..ศึกษาเองซะส่วนใหญ่กับประสบการณ์ที่เคยฝึกงานตอนปวช. การสอนบางวิชาก็เป็นอย่างที่กล่าวมาจริงๆ ทิ้งไฟล์ไว้ในกลุ่ม ให้ไปอ่านเอง คาบต่อไปก็มาสอบ เจอค่อนข้างบ่อย(บางคนสอนเก่งและตั้งใจสอนก็มีนะ) บอกตรงๆเหมือนกันว่าไม่ค่อยได้ความรู้อะไรที่ลึกๆสักวิชาสู้ไปหาดูออนไลน์ดีกว่าเยอะ ไม่ได้อยากด้วยค่าสถาบันนะครับแต่มันคือเรื่องจริงอะ!
@nonarealchannel7397
@nonarealchannel7397 Жыл бұрын
@@hellome7819 จริงที่สุดค่ะ ตอนนี้รอกลับไปเรียนตอนปิดเทอมแล้ว บอกตรงๆว่าเรียนไปทำงานไปไม่ได้เลยอันนี้ มันเหนื่อยมากต้องใช้สมองทำความเข้าใจเองแล้วอะไรเยอะมากๆค่ะ นี่เลยพอเปิดเทอมจะเน้นเรียนเลยค่ะ เรียนเองค่ะ 55555555
@Flothiz
@Flothiz Жыл бұрын
@@hellome7819 เอ้ะ ที่เดียวกันรึป่าวคะเนี้ย 55555
@ปรีชาพันงามปีย์
@ปรีชาพันงามปีย์ Жыл бұрын
ผมจบมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี เป็นผู้จัดการโรงงานที่ไทย2แห่ง ปัจจุบันเป็นผู้จัดการโรงงานที่ต่างประเทศ ปีนี้ปีที่11 ภูมิใจมากครับ
@ACPx-bn2fx
@ACPx-bn2fx 7 ай бұрын
เขมร หรอครับ ต่างประเทศที่ว่า ?
@hki2015
@hki2015 Жыл бұрын
ส่วนตัวจบราชภัฏ ที่เรียนเพราะทุนทรัพย์ทางบ้านไม่พร้อมทำให้ต้องจำใจเรียนใกล้บ้าน ยอมรับเลยว่าระบบการสอน การคิด มันจะแปลกๆ สอนแปลกๆ มันอยู่ที่เด็กก็จริง แต่ระบบการสอนการใช้ความคิดมันก็เกี่ยว อยากให้ปรับหลักสูตรให้เข้ากับสายวิชาที่เรียนจริงๆ
@bybeer6880
@bybeer6880 Жыл бұрын
จะดีมากถ้ากลายเป็น ทุกมหาวิทยาลัยอัพเป็นพื้นฐานเดียวกันหมดเลย พื้นฐานการศึกษาไม่ต่างกันมาก แต่มีพร้อมส่งให้เด็กไปต่อได้
@youknow514
@youknow514 Жыл бұрын
ลองแบบรามสอบ 50/50 ดูสิตายเรียบ
@lflam__l1219
@lflam__l1219 Жыл бұрын
@@youknow514 เกษตร 30/สอบ70 นะ TYT
@channie2002
@channie2002 Жыл бұрын
@@youknow514รามสอบ100นะคะ จะมีก็นานน๊านนนนนนนนนบางวิชาที่จะ 90\10,80\20
@itsjustopinion_are_asfollows
@itsjustopinion_are_asfollows Жыл бұрын
ไม่มีการพัฒนาหรอกค่ะ
@MeoMeo-wh7jf
@MeoMeo-wh7jf Жыл бұрын
ถ้าเอาหลักสูตรแบบจุฬา เด็กราชพัดจะไม่จบสักคนนะสิคะ
@adisonroopian
@adisonroopian Жыл бұрын
เอาจากประสบการณ์ที่ทำงานส่วนตัว เด็กที่มาจาก ม.มีชื่อเสียงตามที่สังคมเข้าใจและคาดหวังกันไว้สูง เก่งจริงครับ แต่อีโก้ก็มีมากตาม และขาด soft skill ที่จำเป็นในการทำงานร่วมกับองค์กรที่ดีเยอะ จนบรรยากาศในการทำงานแย่ลงมาก และไม่พยายามปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร แต่ไม่ได้บอกว่าทุกคนที่มาจาก ม.ดังๆ เป็นแบบนี้นะครับ แต่เท่าที่เห็นมันคือเยอะจริง จนหลังๆ จะหาทีม หาคนเพิ่ม เลือกที่จะมองเด็กหลากหลายที่ ไม่ต้องเก่ง แต่ขอแค่ตอบในสิ่งที่ในตำแหน่งตัวเองจะเป็น และเข้าใจมันให้ได้ก็พอ ระหว่างทางการทำงานก็จูนความรู้เพิ่ม เทรนเพิ่มได้ไม่เป็นไร แต่ทุกคนในองค์กรทำงานร่วมกันได้สบายใจคือโอเคครับ ไม่เสียสุขภาพจิต
@pedallgg3455
@pedallgg3455 Жыл бұрын
จุฬา ธรรมศาสตร์ คนไม่มีตังก็เข้าได้นะ ไม่จำเป็นต้องมีตัง เหตุผลหลัก 1.ทั้งจุฬาและ มธ มรโครงการชนบท คือต่างจังหวัดสามารถสอบแข่งกันได้โดยเฉพาะาะคนฐานะปานกลาง ถึ่งต่ำ ถ้าเก่งจริง สอบได้จะได้ เรียนฟรีนอนฟรี กินฟรี เพราะฉนันถ้าเก่งจริงเงินไม่ใช่ปัญหาหลัก 2. ค่าเทอมไม้ได้แพงขนานนั้น ค่าหอในก็ถูกมากๆ ค่าอาหารหอในถูกมาก ทั้งสองมหาวัยที่ อาจารย์ในคลิปพูด
@hopzahoodeenee230
@hopzahoodeenee230 Жыл бұрын
1.อย่างน้อยๆ แม้ทุนจะน้อย แต่...ก็ยังมีที่เรียนใกล้บ้านไง 2.ศิษย์เก่า,ครูเก่งๆก็ไปสอน ม.ดังไง คิดดูถ้าราชภัฏ ทำแบบเดียวกะอดีตม.ดัง(ซึ่งปัจจุบันดรอปลงเยอะ) คือรักสถาบันรุ่นพี่รุ่นน้อง ทั้งประเทศ พลังมันก็เพียงพอเปลี่ยน ราชภัฏทั้งหมดหรืออาจจะการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทยได้เลยนะ เด็กราชฯ ปี4 มีรุ่นพี่มารอรับเข้างาน ศิษย์เก่ามีบริจาคเงิน ซื้อสื่อการสอนทันสมัยให้ นิสิตมีความภาคภูมิตั้งใจฯลฯ 3.เรียนมหาวิทยาลัยฟรี คือดีครับ แต่แซะงบเรือดำน้ัำ,เกณฑ์ทหารนั้นไม่น่าฟัง ไม่ใช่ว่าเข้าข้างลุง แต่ งบ1.3ลำที่ว่า ไม่ใช่ซื้อทุกปี ขณะที่ เรียนฟรีนี่จ่ายทุกปีและมากขึ้นทุกๆปี แค่เอามาเทียบกันมันก็ไม่ได้แล้วป่าวครับ? (เช่น คนเราวันๆนึก ต้องดื่มน้ำ ทานข้าว ดัน เอางบ ซื้อข้าว โยงกับ งบซื้อน้ำ เอามาเทียบกัน ใช่เหรอ?) 4.จริงว่า หน้างานรู้ปัญหาชัดกว่า ส่วนกลางที่กุมอำนาจ แต่มันก็ง่ายที่จะเปลี่ยนเองตามใจชอบ ถ้าไม่มีส่วนกลางคุม (ซึ่งถ้าดีก็ดีไป ถ้าไม่ดีคือแก้ยากเพราะจะไม่มีอำนาจแทรกแซง) 5.พูดถึงล้างหนี้ คิดว่า ไร้สาระ เพราะยืมเงิน ก็ต้องใช้ ยิ่งเงินนี้เป็นกองทุนหมุนเวียนให้รุ่นถัดๆไปได้เรียนหนังสือ คือการออกมาพูดนี่ ได้ดูเรต เรียกชำระมั้ย? (เงินยืม1แสน เรียนจบให้ตั้งตัว2ปี ปีที่3(ปีแรก) พันกว่าบาท(เก็บเดือนละ100) ปี2สามพัน(เก็บเดือนละ200) ไล่ไป15ปี(หมื่นกว่า) เงินเก็บเดือนละ1พัน คนเงินเดือนหลายหมื่นยังไม่ยอมใช้หนี้เลย ..บอกจะมาให้ยกหนี้ ล้างหนี้ ? สรุป เหมือนว่าจะมาบอก ราชภัฏไม่ได้ด้อย แต่จริงๆ คือเหมือนแค่เอามาบังหน้าตีกระทบ ระบบ+แทรกแนวคิด ดึงอำนาจส่วนกลาง แค่นั้น.....เซ็งงะ
@ps9591
@ps9591 Жыл бұрын
ราชภัฏไม่ต้องไปเทียบกับมหาลัยอื่นหรอก ขนาดราชภัฏด้วยกันเอง 38 แห่ง คุณภาพการศึกษายังไม่เหมือนกันเลย
@rnkthun715
@rnkthun715 Жыл бұрын
จริงครับ ราชภัฏตจวสู้ราชภัฏในกรุงเทพไม่ได้
@cielotardecita343
@cielotardecita343 Жыл бұрын
38 อันนี้ทั่วประเทศไทยรวมทั้ง กทม หรอครับ
@ps9591
@ps9591 Жыл бұрын
@@cielotardecita343 ใช่คับ
@วรากรวงศ์ชนะ-ญ5ภ
@วรากรวงศ์ชนะ-ญ5ภ Жыл бұрын
@@cielotardecita343 รวมสิ
@กฤษฎาไชยวารี-ร1ฤ
@กฤษฎาไชยวารี-ร1ฤ Жыл бұрын
สำหรับผมที่เคยสัมผัสมานะ สวนสุนันทา โอเครที่สุดใน 38 แห่งที่กล่าวมา ถ้าให้เทียบผมว่าพอๆกับ ม.บู ม.นเรศวร
@-ImperiaL-
@-ImperiaL- Жыл бұрын
ขอโทษนะครับ โรงแรมผมเมื่อก่อนผมเจอเด็กเกียรตินิยมราชภัฏบ่อยมากๆ ยังสู้เด็กธรรมดา ม. ดังๆ ไม่ได้เลยครับ .... ยกเว้น 2-3 ปีมานี้ ผมเริ่มยอมรับความเก่งของเด็กราชภัฏมากขึ้น (มากขึ้นมากๆ) เพราะส่วนใหญ่ไม่ต้องเกียรตินิยมแต่ก็ทำงานเป็นโดยแทบจะไม่ต้องสอนอะไรมาก ตรงกันข้ามกัน ม. ดัง ติดอีโก้ ผมพูดตรงๆ เลยนะ (ความคิดเห็นส่วนตัว) ทุกวันนี้ ที่ผมเจอ เด็กราชภัฏส่วนมากเริ่มพัฒนาขึ้น แต่ ม. ดัง กลับเริ่มแย่ลงๆ ๆ ๆ อีโกสูง ไม่พร้อมเรียนรู้ บางคนมองเด็ก ม.อื่นด้อยกว่าตัวเอง ทั้งๆ ที่เขาเป็นงานกว่า
@forgotten3617
@forgotten3617 Жыл бұрын
เรื่องอีโก้นี่โคตรจริง บางคนผมเสนอให้ 5หมื่น กลับขอ 6หมื่น5 เพราะเกียรตินิยม ม.ดังระดับประเทศ ผมก็จ้างนะ ถ้าคุ้ม ตำแหน่งสำคัญคนเดียวก็อยากได้ที่เก่งๆ ไปเลย แต่ผลคือ ทำงานได้ไม่ตามเป้าของโรงงาน พอลดยอดเป้าสุทธิลง ก็ยังทำไม่ได้อีก แถมยังมีการติดต่อประสานงานกับบริษัทอื่นผิดพลาดอีกได้ไงไม่รู้ พอจะยื่นซอง บอก ขอโอกาส ลดเงินเดือนเหลือ 3-4 หมื่นก็ได้ .... แต่สุดท้ายผมก็ไม่เอาครับ
@scarlett9750
@scarlett9750 Жыл бұрын
คิดเหมือนกันตรงที่เด็กบางคนที่จบมอดังๆชอบดูถูกเด็กราดพัด
@scarlett9750
@scarlett9750 Жыл бұрын
@@forgotten3617 จี๊ด
@igot7callmyname177
@igot7callmyname177 Жыл бұрын
ความเห็นนี่+ด้วยคนค่ะ อีโก้แก้ยากแต่ไม่เก่งเนี้ยทำไปบ่อยๆมันเก่งได้
@kaikai_daisuki7788
@kaikai_daisuki7788 Жыл бұрын
@@supasinjongjarukawin1998 ไปว่าคนอื่นว่าทำงานในที่ง่อยๆนี่คิดก่อนเขียนรึยังคะ? เด็กราชภัฏมีประชากรเยอะมาก ไม่แปลกที่การรับงานเเต่ละครั้งจะมีจำนวนเด็กราชภัฏเข้ามาเยอะกว่าม.อื่นๆ ก็เรื่องปกตินี่คะที่เด็กราชภัฏจะเข้าเยอะ มันเกี่ยวอะไรกับตัวโรงเเรมหรอคะ?
@suthikarn6792
@suthikarn6792 Жыл бұрын
จากที่เราทำ HR สรรหา มา ราชฏัชจะเหมาะในงานที่ไม่ต้องคิดพลิกแพลง ไม่ต้องครีเอทงานใหม่ ทำตามแบบไปเรื่อยๆ แล้วไม่ค่อยเปลี่ยนงานบ่อย(ส่วนใหญ่ที่เคยเจอมีค่านิยมแปลกๆว่ารักองค์กร) ไม่หาความก้าวหน้าเท่าไหร่
@tidapornchaokuweag
@tidapornchaokuweag Жыл бұрын
อ่อจร้า
@MeoMeo-wh7jf
@MeoMeo-wh7jf Жыл бұрын
@@tidapornchaokuweag อุ้ย
@Pamcuup
@Pamcuup Жыл бұрын
จริงค่ะ คอนเฟิม เลยไปเป็นครูกันเยอะ แล้วรักษาแต่ระเบียบเชยๆไว้ พอหาเหตุผลว่าทำไปทำไม ก็ตอบไม่ได้ เด็กไทยน่าสงสารมากค่ะ
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
@@Pamcuup เหมือน ยาม ทหาร ตำรวจ แหละครับ ทำตามหน้าที่ คิดอะไรเอง ไม่เป็น
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ
@jiramatejongnimitpaiboon677
@jiramatejongnimitpaiboon677 Жыл бұрын
ผมจบราชภัฏเหมือนกัน ผมว่าสมัยนี้การทำงานอยู่ที่ทัศนคติ วิธีคิด วิธีแก้ปัญหา สำคัญเลย คือ อดทนกับงาน หาทางแก้ไขที่ดีที่สุด มีแผนในการทำงาน อดทนในที่นี้คือ อดทนแบบเข้าใจ รู้ว่าตนเองมีดีอะไร จุดเด่น จุดด้อยอะไร จุดดีเราพัฒนาให้ดีขึ้น จุดด้อยก็ค่อยปรับหาทางแก้ไข ลองคิดในมุมบริษัท ว่า ทำไมเขาถึงต้องรับคุณ คุณมีดีอะไร ถ้ายังตอบตัวเองไม่ได้ โอกาสหางานยากครับ
@tir2292
@tir2292 Жыл бұрын
ผมก็เรียนราชภัฏ ผมว่าต่าง ต่างจริงๆ มาตรฐานมหาวิทยาลัยชั้นนำ สูงกว่ากว่าจริงๆ แต่ในไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาด้อยค่าราชภัฏ เพราะคนเก่งมีมาก ควรวัดกันที่ผลสอบกลางไปเลย
@rinkudorinki5063
@rinkudorinki5063 Жыл бұрын
ผมเชื่อถือคน ที่ประสบการณ์และความมัวุฒิภาวะ มากกว่ามาเลือกที่จบจากไหนมา เพราะไม่ว่าจะจบจากมหาลัยมีชื่อแค่ไหน ถ้าในความคิดผมและที่ผมทำงานมาตั้งแต่เด็กๆ คือ เขาดูที่ประสบการณ์การทำงาน และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะพวกจบม.ดัง มีสิ่งที่คนทำงานด้วยเกลียดอย่างแรงเลยก็คือ อีโก้ และความไม่เชื่อฟัง ทำตัวเหมือนพวกรู้มาก แต่ทำงานแล้วไปไม่รอด
@balenciagalee5579
@balenciagalee5579 Жыл бұрын
จบราชภัฏมาเหมือนกัน มันจริงอย่างที่ที่คอนเทนท์พูดแหละ ไม่เถียง แต่ไม่เคยอายที่จบราชภัฏ ที่ให้ความสำคัญที่สุดในชีวิตตอนนี้คงเป็น เรื่องเงิน เรื่องงานที่ต้องมีหน้าตาทางสังคมส่วนตัวไม่แคร์ เพราะไม่ชอบอยู่ในระบบ เรียนจนมาดีแค่ไหน สกิลหาแดกในชีวิตจริงต่ำก็แค่นั้น บางคนเรียนดีจบที่ดี เกาะพ่อแม่ เป็นหนี้สิน ใช้ชีวิตไม่ปลงก็ยังมี ชอบที่ตัวเองมีเงิน มั่นคง เลี้ยงดูพ่อแม่ดูแลครอบครัว ไม่มีหนี้สิน ไม่ได้มีบ้านหลังใหญ่ รถแพงๆ แต่มีความมั่นคงเรื่องเงิน พอแก่ขึ้นมาในวัยสามสิบกว่า พ่อแม่เราเข้าสู่วัยเกษียณ เริ่มเห็นรู้จักทยอยค่อยๆตาย เพราะแก่ตาย ป่วยตาย เรามามานั่งไม่โหยหาความภูมิใจอะไรแบบนี้หรอก (แม้แต่งานรับปริญญายังไม่เข้ารับ ไม่มีรูปติดฝาบ้าน )เราโหยหาเงิน ที่ต้องต้องสะสมไว้เลี้ยงดูพ่อแม่และตัวเราเอง เอาแค่ครอบครัวเรามีความสุขและอยู่รอดในรัฐบาลเผด็จการก็ถือว่าแกร่งแล้วประเทศนี้ไม่มีสวัสดิการดีๆ บ้านไหนมีเงินคือรอด ปล่อยวางเรื่อง ความภูมิใจ ลาภ ยศ สรรเสริญ การเป็นที่ยอมรับจากสังคม ตายไปก็เอาไปไม่ได้
@jutsuo.kun41
@jutsuo.kun41 Жыл бұрын
เราคนนึงที่เรียนราชภัฏ หลักสูตรการเรียนการสอนดีมาก ไม่ปล่อยเกรด แต่สิ่งหนึ่งที่เราว่าห่วยคือเรื่องกิจกรรมค่ะ คือสรรหากิจกรรมมาให้เด็กเข้ามาก เน้นคะแนนกิจกรรมมาก ระบบเช็คชื่อกิจกรรมห่วย อัพเดตช้า เว็บชอบล่ม
@thanawatrunwong6879
@thanawatrunwong6879 Жыл бұрын
ผมก็เรียนราชภัฏเหมือนกันครับถ้าให้พูดตรงๆเลยมันอยู่ที่ความสามารถ ความขยันของแต่ละคน หาความรู้ข้างนอกดีกว่าครับ เพื่อนผมส่วนใหญ่ตอนแรกๆก็เรียนหลังๆเริ่มเผยธาตุแท้ออกมาแบบว่ามันเรียนขอไปทีสอบก็ผ่านไปเฉยๆ เอาแต่เล่นเกมแบ่งเวลาก็ไม่เป็นพอได้คะแนนน้อยก็ออกมาบ่นกัน ส่วนเรื่องงบประมาณอันนี้สุดจะปวดหัว จัดงานวันไหว้ครู แต่มาเก็บเงินที่นักศึกษา มันคืออะไรกัน แต่ตอนนี้ก็พยายามจะซิ่วอยู่ ครับ ในความคิดผมคิดว่าการที่เรียนจบออกมาแล้วตอบคำถามอะไรไม่ได้เนี่ยสื่อให้เห็นถึงลักษณะของตัวบุคคลโดยชัดเจนครับ
@freedomman793
@freedomman793 Жыл бұрын
ผมจบบริหาร เกียรตินิยม1จบตั้งแต่ปี2555 งานแรกที่ไปสัมภาษณ์ ตำแหน่งผช.ผจก.ห้าง เด็กจบม.ดังๆมาพร้อมกันสรุปผมได้ ตอนนั่นยังโดนนินทาเลยว่าเราเล่นเส้น งานที่สองไปสอบราชการแข่งกับเด็กม.ดังอีกหลายสิบคน รับตำแหน่งเดียวผมก็ได้อีก (งานว่าจ้างชั่วคราวตามสัญญา) อย่าด้อยค่าครับอยู่ที่คนไม่ใช่สถาบัน
@by4981
@by4981 Жыл бұрын
ตอนเข้ามหาลัยนี่สอบติด 3 ที่ ทั้งมหิดล มช. ราชภัฏ แต่สุดท้ายก็เลือกราชภัฏเพราะด้วยสถานะการเงินและค่าใช้จ่ายเพราะจังหวัดเรามี ม.ราชภัฏ จึงไม่ต้องย้ายที่อยู่ แต่จริงตรงที่จบมาแล้วคอนเนคชั่นไม่เท่ากับ ม.ดังๆ ต้องคอยหาเองและต้องพยายามหาเรียนเสริมสกิลอื่นเพิ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เท่าๆกับคนจบ ม.ดังๆ เรายอมรับว่าคนจบม.ดังๆ บางคนมี mindset ที่ดีมาก ได้ทำงานกับคนพวกนี้คือต้องกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเองจริงๆค่ะ แต่ก็ไม่อยากให้ตัดสินอะไรเพียงเพราะแค่จบม.ราชภัฏเลยค่ะ บางคนเก่ง มีความสามารถ แต่อาจเพราะไม่มีทุนทรัพย์มากพอจะเข้าม.ดังๆได้
@ฟุตบอล-ร4ล
@ฟุตบอล-ร4ล Жыл бұрын
จากใจเด็กราชภัฏ ถ้ามีโอกาส มีกำลังทรัพย์และความสามารถไปมออื่นเลย ❤
@จีจี้-ท6ข
@จีจี้-ท6ข Жыл бұрын
ส่วนตัวเราก็อยากเข้าม.ดังๆค่ะ อย่างเกษตรศาสตร์ เเต่ฐานะทางบ้านไม่สามารถส่งเราไปเรียนได้จริงๆ นี่ก็เป็นเหตุผลที่เรียนราชภัฏค่ะ😢 ลึกๆก็เเอบน้อยใจที่ไม่สามารถไปเรียนต่อม.ดังได้ค่ะ รู้สึกเเย่ทุกครั้งเลยว่าเรียนราชภัฏหรอ😢
@gundamunicorn1848
@gundamunicorn1848 10 ай бұрын
ทำไมไม่เรียน ม.ราม หรือ มสธ ล่ะ ยังไงจบมาก็เป็นที่ยอมรับมากกว่าราชภัฏอยู่มาก ไม่จำเป็นต้องเป็น ม.ดัง ขนาดนั้นก็ได้ หลักสูตรของ ม.ราม กับ มสธ ก็เเน่นพอๆกับมหาลัยดังๆ จนเป็นที่ยอมรับ เเละดีกว่าจบจากราชภัฏเเน่นอน
@Aresl3oSsaNova
@Aresl3oSsaNova Жыл бұрын
ผมคนนึงที่เรียนจบราชภัฏมาครับ บอกตรงๆไม่ได้อะไรเลยจริงๆ นอกจากเพื่อน แต่ก็ต้องยอมรับว่าตอนจะเลือกเรียนคือ ไม่มีเงิน ต้องทำงานไปด้วยส่งตัวเองเรียนไปด้วยครับ
@pongjakyamsuk5028
@pongjakyamsuk5028 Жыл бұрын
ปฏเสธไม่ได้จริงๆ เข้าใจเจตนารมณ์ในการ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ให้กับคนที่ขาดโอกาส แต่ในทางกลับกัน คุณภาพ ควรจะยกระดับตั้งแต่บุคคลการ อาจารย์ ในสถาบัน ให้มีมาตรฐานมากขึ้น เพื่อคัดกรองคนจบออกมา
@fonnsirirattt7246
@fonnsirirattt7246 Жыл бұрын
จบราชภัฏจังหวัดทางอีสานค่ะ จากใจเลย เรียนง่ายจริงๆ เพราะอ.ต้องสอนให้ง่ายเพื่อที่เด็กต่างอำเภอสามารถเรียนเข้าใจได้ มันไม่ได้เหลื่อมล้ำแค่มหาลัยค่ะ มันเหลื่อมล้ำมาจากการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ถ้านักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่านักเรียนในกทม. จะไม่มีการเหยียดกันแบบนี้เกิดขึ้นค่ะ
@microcomchiangrai8184
@microcomchiangrai8184 Жыл бұрын
อาจารย์และบุคลากร มีคุณภาพสูงน่ะครับ นักศึกษามีโอกาสในการทำงานต่างกัน จะเหมารวมมิได้
@natachalee375
@natachalee375 Жыл бұрын
พออายุเข้าเลข3 เวลาไปสมัครงาน เขาจะเลิกถามมหาลัย​ที่จบมาแล้วค่ะ หัวหน้าหรือHR จะมองแค่ใบปริญญา​ เกรดก็แทบจะไม่มองเลย เขารับเอกสารไว้เพื่อยืนยันตัวตนเท่านั้น ช่องที่มองจริงๆคือช่องประสบการณ์​ เคยทำอะไรมาบ้าง มีความสามารถด้านไหนเป็นพิเศษ​ไหม ต่อให้จบITแต่คุณพูดอังกฤษ​หรือภาษาอื่นๆ​คล่อง แล้วไปสมัครงานที่เกี่ยวกับภาษา เช่นงานตามสนามบิน งานCallcenter งานสายท่องเที่ยว​ งานตอบแชทลูกค้า บริษัท​ก็ให้ความสนใจคุณ และเรียกมาสัมภาษณ์​แน่นอนค่ะ
@Onijwa
@Onijwa Жыл бұрын
ตอน ม.1 ครูวิทยาศาสตร์ พูดออกมาเลยว่า ถ้าไปสมัครงาน เขาจะโยนใบสมัครของราชภัฏทิ้งลงขยะก่อน เขาจะเอา มหาวิทยาลัยเอกชนก่อน // คำนี้ผมจดจำจนวันนี้
@fatmacaron2511
@fatmacaron2511 Жыл бұрын
ความเข้มข้นของหลักสูตรมีผลนะคะ ตอนเรียนป.โทเคยตรวจสารนิพนธ์ป.โทของราชภัฎให้เพื่อน สิ่งที่พบคือเนื้อหาที่เขาทำ ความง่ายมันเหมือนเป็นแค่รายงานที่เราทำตอนปริญญาตรี
@p959d7
@p959d7 6 ай бұрын
แล้วแต่ตน แล้วแต่คิดเพราะแต่ละชีวิตไม่เหมือนกัน แล้วทุกวงการมีทั้งตนดีและไม่ดีถ้า ทำงานได้ ทำงานดี อดทน มุ่งมั่น ประสบความสำเร็จทั้งนั้น...ใจกว้างๆครับ❤อย่าหวั่นไหวก้าวหน้าต่อไป เป็นกำลังใจครับ❤
@gameralove6418
@gameralove6418 Жыл бұрын
จากประสบการณ์ตรงนะครับ ตอนผมกลับมาไทย เวลาฝรั่งเค้ามาจะชอบบอกว่า ทำไม คนที่จบราชภัฏเอกภาษาอังกฤษแต่กลับพูดไม่ค่อยได้ บางคนบอกเค้าว่า เค้าเก่งที่สุดในห้องแล้ว คือ พูดได้ฟังได้ แต่เด็กอีกมหาลัย ไม่ได้เรียน เอกภาษาอังกฤษ แต่กลับพูดได้คล่องมาก ผมบอกว่าผมก็ไม่รูเหมือนกัน การศึกษา เป็นสิ่งที่สำคัญมากนะครับ แต่ก่อนผมไปเที่ยวที่จีนตอนประถม เค้าแย่มากในปักกิ่งนี่บ้านติดๆกันแบบบ้านเก่าๆในหนังจีนอ่ะ เค้าทุบๆตอนนั้น คนปั่นจักรยาน ตอนนี้เป็นเมืองที่แพงมาก ตอนโตผมไปดูงาน ผมก็กลับมาบอกคนไทยแบบนี้ว่า การศึกษาเค้าดีมาก ในยูเซี่ยงไฮ้ นี่มันไม่ได้ต่างจากมหาลัยระดับโลกเลย (ตอนนั้นไม่รู้ว่าเค้าติดระดับโลกไปแล้ว หรือมาติดทีหลังก็ไม่แน่ใจ) เด็กมหาลัยเค้าไม่ได้คุยกัน งุ้งงิ้งนะครับ เค้าคุยกันเรื่องเปิดบริษัท ระดับโลก เพื่อนผมวันก่อนผมยังมึนเลยเห้ยเด็กจบใหม่จับเงิน21ล้านอ่ะ ทำเองได้จากความรู้ล้วนๆ ครั้งแรกที่ผมเห็น ในหัวผมคือเครื่องคิดเลขเสีย ผมกดใหม่ๆ ผมก็ไม่ได้คิดอะไรนะ คือคิดว่ามือถือคงพัง มันช็อคอ่ะ ไม่ใช่คนเดียวนะครับ อันนี้พ่อแม่ เป็นคนขับรถประจำทาง อีกคนทั้งๆพ่อแม่เลยเป็นคนกวาดขยะ ความรู้ที่ถูกต้อง มันเปลี่ยนชีวิตเราได้เลย คือลองคิดง่ายๆ ผมจำได้ว่าเค้ามียูนิงเชิญ mark zuckerberg ไปอ่ะ เค้าก็ไม่ได้ลงข่าวอะไรเลย เหมือนเป็นเรื่องธรรมดา เด็กเค้าได้เรียนกับของจริงอ่ะ ผมชอบพูดเรื่องนี้ให้คนฟังเพราะมัน จะได้ reaction คนละแบบ ส่วนนึงจะบอกว่า ผมอวยจีน ผมชอบมากเลยน่ารักดี เวลาได้ยินจะยิ้มนิดๆให้ เป็นคนที่ความคิดง่ายๆ simple อีกลุ่มจะ เห้ย เราก็ทำได้นะ เป็นพลังในการตั้งใจเรียนและทำตัวเองให้ดีกว่าจีน อีกกลุ่มจะเป็นจนจีนเองนี่แหละ จะบอกผมว่า ผมนี่เกลียดประเทศจีนมากเลยเนอะ ผมบอกว่าเปล่าเลย เพราะจริงๆผมอยากให้คนไทยเห็นว่า เห้ยคนที่เค้าเคยจน ลำบากกว่าเรามากๆๆ เค้าก็ทำได้ แล้วการศึกษาในที่ๆ สามารถให้ความรู้จริงๆได้จริง มันสำคัญมาก
@prame3746
@prame3746 Жыл бұрын
ปัญหาคือม.ราชภัฏทั่วประเทศไทย อนุญาตให้เด็กที่เกรดต่ำกว่า 2.00 สามารถเข้าเรียนได้ เพื่อนผมส่งกระดาษเปล่าข้อสอบไฟนอลได้เกรด D+ เหมือนมาเรียนเอาวุฒิไปแปะผนังบ้าน
@gundamunicorn1848
@gundamunicorn1848 10 ай бұрын
อันนี้ก็เกินไปไหมส่งกระดาษเปล่ายังได้ D+ เลยเหรอ งั้นเท่ากับว่าไปนั่งพอให้จบๆเฉยๆนะซิ เเล้วจบมามันจะภูมิใจได้ไงถ้าปล่อยขนาดนี้
@boymatee9020
@boymatee9020 Жыл бұрын
ผมคนหนึ่ง สอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐได้ แต่ผม ไม่มีเงินเรียน จึงต้องไปเรียนราชภัฏ และทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย อาจารย์ เข้าใจและให้โอกาส ครับ รัก ราชภัฏจันทรเกษม ครับ
@okokok840
@okokok840 7 ай бұрын
กำ
@Ap-nu8bb
@Ap-nu8bb Жыл бұрын
คนที่เรียนในระดับอุดมศึกษา กับตัวสถาบันอุดมศึกษาไม่ว่าจะ ม. ดัง ๆ หรือ ม.ราชพัด มันต่างกัน คนละอย่าง ต้องจับแยกออกจากกันเสียก่อน คนจะเก่ง จะดีได้ จะประสบความสำเร็จได้ มันขึ้นอยูที่ตัวบุคคลล้วน ๆ ครับ สถาบันการศึกษาเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการเรียนเท่านั้นครับ ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าคุณจะมาจาก ม. อะไร ก็ต้องจบออกไปทำงานหาเงินอยู่ดี คนที่เรียนต้องพิสูจน์ตัวเอง มหาลัยเขาไม่ได้มาพิสูจน์ร่วมกับคุณหรอก เพราะคนสัมภาษณ์งาน เขาถามตัวบุคคล ไม่ได้ถามมหาลัย .......ผมเองก็จบราชพัดครับ แต่ก็เอาดีได้ พิสูจน์ตัวเองได้ เป็นที่ยอมรับของสังคมได้ครับ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกน้อง ๆ ทุกคนที่กำลังเรียนราชพัดอยู่ครับ
@creamzip5206
@creamzip5206 Жыл бұрын
เคยไปศึกษากับเรียนที่ราชภัฏมาค่ะ บอกเลยว่าพี่ๆเพื่อนๆเก่งชิบหาย แต่ตอนนั้นเราเรียนควบที่บ้านส่งไม่ไหวบวกกับมีปัญหาทางบ้านจึงเรียนที่ๆถูกกว่าค่ะ …
@tiwaphonchanthuk2880
@tiwaphonchanthuk2880 Жыл бұрын
@@Zemon7664 จริงงง
@jangmaster921
@jangmaster921 Жыл бұрын
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับค่าเทอมฟรีเท่าไรคับ อีกอย่าง ม จุฬาที่ผมเรียนอยู่ถ้าไม่มีจิงๆติดต่อคณะเค้าจะให้ทุนมาใช้คับเป็นการทำกิจกรรม ชมละ 1000 บาท ก้คือค่าเทอม 20000 ก้หาเวลาไปช่วยงานคณะ 20 ชม เเปปเดียวเองคับส่วนค่าใช้จ่ายเค้าให้เดือนละ 2000-5000 เเล้วเเต่คนมออื่นผมก้คิดว่าน่าจะมีนะครับอย่างเกษตร มหิดล มหาลัยเป็นการศึกษาทางเลือกครับไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ ถ้าค่าเทอมฟรีเด็กจบมาเยอะก้ตกงานอยู่ดีงานในประเทศไทยมันหายากครับเค้าเลยออกเเบบข้อสอบให้ยากเพราะทรัพกรไม่ได้เพียงพอขนาดประเทศในอุดมคติน่ะครับ อีกอย่างการจัดการของภาครัฐเฮงซวยสุดๆครับ
@สิริกรทีปะนาถ
@สิริกรทีปะนาถ Жыл бұрын
ขอแสดงความเห็นค่ะ การให้เรียนฟรีอาจไม่จำเป็นกับจุฬา(เพราะกิจการนิสิต ทุนคณะ ฯลฯ)มีส่วนจริงอยู่ค่ะ ส่วนจะให้กู้กยศ.ฯลฯเท่าที่พอทราบคือเค้าดูคณะมหาลัยฯลฯด้วยในการให้ทุน แต่กับราชภัฏเราคิดว่าไม่ได้มีทุนมากมายขนาดนั้น(จะกู้กยศ เท่าที่ทราบคือเงินออกช้า/ คหสต.คือ การมีหนี้ติดตัวตั้งแต่ตั้งต้นชีวิตใหม่เป็นการสร้างความลำบากต่อการขยับสถานะทางสังคมฯลฯมากๆๆๆ) ดังนั้นการให้การศึกษาฟรีจึงจำเป็นค่ะ สิ่งที่เป็นเป้าหมายของทุกประเทศอยู่แล้วในการยกระดับคุณภาพชีวิต คุณภาพสังคมก็คือการลดความเหลื่อมล้ำ การลดช่องว่าง การศึกษานี่แหละค่ะที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ได้ จะให้ปล่อยๆไปเลยแล้วมองว่าการศึกษามีไว้สำหรับคนที่พร้อมเท่านั้นดูจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะเท่าไหร่
@M79506
@M79506 Жыл бұрын
แฟนผมจบด้านไอที เคยไปฝึกงานกับเด็กราชภัฏ เด็กราชภัฏมาฝึกกันสามคนจบด้านไอทีเหมือนกัน บริษัทเค้าให้ทำ Power point เด็กราชภัฏทำไม่เป็นกันสักคนเลยครับเอามาให้แฟนผมทำให้ แฟนผมงงหนักมาก
@penkhae
@penkhae 9 ай бұрын
เรียน IT แต่ใช้ Power Point ไม่ได้... OMG
@tsmovies4981
@tsmovies4981 Жыл бұрын
คนที่จบราชภัฎ แทนที่จะมาคอยเถียงคอยเอาชนะว่ากูก็เก่งไม่ต่างกัน ควรเอาเวลาไปตั้งใจทำงาน พัฒนาตัวให้มีคุณภาพครับ เพราะความเชื่อนี้มันคือเรื่องจริงไง ไม่ได้ถูกมโนขึ้น ถ้าคนจบราชภัฏส่วนใหญ่มันมีคุณภาพจริงๆ ความเชื่อนี้จะหายไป แล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นเลย
@AojingdiDede
@AojingdiDede Жыл бұрын
มันไม่สามารถแสดงความสามารถได้ไงก็เลยเถียงไว้ก่อน กลัวเสียหน้า 5555
@Mickey-lc7ch
@Mickey-lc7ch Жыл бұрын
มันขึ้นอยู่กับคน คนเก่งๆก็มี ตั้งใจจริงๆก็มี แต่คนส่วนมากดันมีแต่คนขี้เกียจ แถมงานที่ได้มาก็ไม่ยาก อย่างสอบภาษาอังกฤษ ให้เอาหนังสือเข้าไปได้ ก็ยังลอกเพื่อนหมดคำจะพูด มันเป็นความจริง คัยๆก็เห็น
@natte1632
@natte1632 Жыл бұрын
ครูผมจบศิลปากร แกต่อโท ราชภัฏแห่งหนึ่ง แกบอกว่าจะลาออก เพราะ ระบบการสอนเหมือนกับมัธยม งานกลุ่มออกมาพรีเซ้นหน้าห้องให้จบๆ ไป แทบไม่มีให้แพชชั่นอะไรเลย
@lxlxdx5597
@lxlxdx5597 Жыл бұрын
เรื่องจริงล้านเปอร์เซ็นต์
@CrescentmoonIII
@CrescentmoonIII Жыл бұрын
ผมก็คนหนึ่งที่จบราชภัฏ แล้วก็รู้สึกว่าหลักสูตรดูไม่ค่อยลึกเท่ามหาลัยดัง เพราะหลายๆสาขาวิชา ผมแค่ดูว่าหลักสูตรเขาเรียนอะไรบ้าง ก็สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้เท่ากับสาขาอื่นๆ
@suppeak3510
@suppeak3510 Жыл бұрын
ต้องยอมรับข้อนึงก่อนครับ การเรียนด้วยตนเอง กับมีอาจารย์ชี้แนะมันต่างกัน
@a28-p8r6u
@a28-p8r6u Жыл бұрын
เราจากใจเด็กราชภัฏ ราชภัฏกิจกรรมเยอะมากไม่ได้ตอบสนองความรู้หรือสร้างความรู้พยายามปลูกฝังให้ นศ มีจิตรได้สำนึกอะไรก็ไม่รู้ ทั้งที่ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลยพยายามเอางบมาทำกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์เเละสิ้นเปรืองไม่เกิดความรู้อะไรเลย โดยเฉพาะการอบรมวิศวกรสังคมเสียเวลามาก เเละพยายามบังคับให้เข้าร่วมกิจกิจกรรมเกือบทุกกิจกรรม เราว่าควรจัดการการศึกษาใหม่ อีกอย่างนึกการศึกษาไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าไหนด้วยอุปกรณ์เอยอะไรเอยไม่ค่อยอำนวยความสะดวก
@PB-fr7lu
@PB-fr7lu Жыл бұрын
คือยังไงดีมันก็ด้อยกว่ามออื่นจริงๆเพราะผมเองก็เคยสัมผัสเพื่อนๆกลุ่มที่เรียนที่นั้นมาเยอะงบางอย่างควรรู้แต่ไม่รู้ซะงั้น ลองลงมาก็ตระกูลเทคโนฯที่ผมเรียนมาเรียนง่ายกว่าสมัยมัธยมใช้ความพยายามแค่ไม่มากก็ได้ 3.75 แล้ว 😢😢😢 สุดท้ายแล้ว มันไม่ใช่ตัวชี้วัด “ความสำเร็จ” ของชีวิตคนจบราชฏัธก็สามารถประสบความสำเร็จได้ถึงแม้คำว่า “คนที่ให้โอกาส” มันจะน้อยกว่ามหาลัยอื่นๆก็ตาม… เพราะสมัยนี้อาชีพก็ไม่ได้มีน้อย
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
แต่บางอาชีพ ก็เริ่ม ๆ หายไปจากสังคมแล้วล่ะครับ ร้านเช่าวิดีโอ ร้านถ่ายรูป นี่ล่าสุด อาชีพ สอนพิเศษ ใกล้ หาย ๆ ไปล่ะ เพราะว่า คนหันมาดู KZbin มีคลิปสอนฟรีเพียบ อย่างเด็กจุฬา นี่คือ ติวเตอร์ สอนพิเศษ ทำกันเยอะ ก็ไม่รู้ว่ากระทบแค่ไหน
@VOV-se4to
@VOV-se4to 11 ай бұрын
มหาวิทยาลัยราชภัฏ เเต่ละเเห่งก็มีสาขาโดดเด่นไม่เหมือนกันนะ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เด่นเรื่อง โลจิสติกส์ นิเทศศาสตร์ เป็นต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เด่นเรื่อง สาขาโรงเเรม บริหารธุรกิจการบิน เป็นต้น หลักๆ คือ ครู ❤❤❤
@pimplengza
@pimplengza Жыл бұрын
เราเรียนราชภัฏเชียงใหม่ค่ะ มาอ่านเม้นแล้วหดหู่ใจมาก อย่างไรก็ตามเราก็มองโลกอย่างเป็นจริงค่ะ ราชภัฏหลักสูตรอ่อนแต่ไม่ใช่ว่าง่ายนะคะ (สำหรับเรา) ก่อนสอบเราก็อ่านแทบตายค่ะ ดังนั้น Hr ทุกคนคะ อยากให้รับฟังเด็กราชภัฏขึ้นอีกหน่อย ตอนคัดคนเอาหนักๆ ถ้าจะปัดตกขอให้ตกเพราะคัดสกิลต่างๆจากการสัมภาษณ์อย่างเข้มงวดแล้ว อย่าปัดเพียงเพราะเห็นมหาลัยแล้วปัดเลยนะคะ 😢 เราเองเด็กราชภัฏ แต่ไม่หยุดนิ่งจะเรียนรู้ค่ะ ประสบการณ์ ทักษะ ไหวพริบ สมอง ทุกอย่างเราเต็มที่จริงๆ เราพร้อมจะงัดความสามารถมาสู้ค่ะ ขอแค่โอกาสได้แสดง ส่วนเหตุผลที่เลือกเรียนราชภัฏมันหลายอย่างมากค่ะ มันคือตัวเลือกสุดท้ายของเราแล้วจริงๆ (ไม่ใช่ว่าเกรดแย่ สอบที่อื่นไม่ได้นะคะ)
@pimplengza
@pimplengza Жыл бұрын
อ่านเม้นแต่ละอันละท้อมาก ฮื่อ แต่ก็ไม่ยอมแพ้หรอกนะคะ!
@merrickjohn5012
@merrickjohn5012 Жыл бұрын
ผมต้องพูดตามตรงว่าไม่มีเพื่อนจุฬา แต่มีแฟนเรียนTUเรียนได้เกรดกลางๆแต่โคตรพ่อโคตรแม่เก่ง กับเพื่อนผมอีกคนคือเรียนได้เกือบเกียรตินิยมสาขาเดียวกับแฟนผมแต่ความรู้ห่างกันมาก อันนี้ผมไม่ได้บูลลี่เรื่องสถาบันนะ แต่ความสามารถเด็กรภ.กับมธ.ต่างกันมากจริงๆ คือแฟนผมเอาความรู้ตอนเรียนอยู่มธ.แบบของปี1พื้นฐานเลยมาคุยเรื่องเรียนกับเพื่อนผมที่เรียนรภ.คือเพื่อนผมตอบแทบไม่ได้เลยทั้งๆที่เรียนได้เกือบเกียรตินิยม ต่างกับแฟนผมเรียนได้เกรดกลางๆที่มาจากมธ.แต่ยอมรับว่ามธ.เด็กเก่งมากจริงๆขนาดเด็กเกรดกลางๆกลับมีความสามารถสูงกว่าเด็กเกือบได้เกียรตินิยมอะ ย้ำก่อนนะครับว่าไม่ได้บูลลี่อันนี้คือสิ่งที่เจอมากับตัวโดยส่วนตัวผมจบวิศวะไฟฟ้าจากมหาลัยแห่งหนึ่งย่านพระราม7ติดกับSCG แฟนผมสามารถช่วยข้อสอบเกี่ยวกับแมทได้สบายมากๆครับ
@sephamt
@sephamt Жыл бұрын
เคยเปิดใจให้ราชภัฏแล้ว แต่คุณภาพไม่ได้จริงๆ ท่ามกลางก้อนหินหลายๆก้อน นานๆจะมีเพชรเม็ดงามโผล่มา แต่มหาลัย top tier แค่กำมือหยิบก็ได้เพชรมาเพียบแล้ว มันเลยเป็นเรื่องเสียเวลาที่เราจะมัวไปนั่งงมเพชรในฝูงหิน สู้งมเพชรในบ่อเพชร มันไม่ง่ายกว่าเหรอ ไม่แปลกใจที่ราชภัฏจะถูกด้อยค่า มันต้องมองแหล่งวัตถุดิบที่คุณได้มาด้วยว่าดีหรือไม่
@ปอนด์คุณจุ้น
@ปอนด์คุณจุ้น Жыл бұрын
เราจบจากมหาวิทยาลัยอื่น แต่เรามีเพื่อนเรียนราชภัฏเยอะ ก็มีคนที่ทำงานเป็น อาจจะไม่ได้ว่าใหญ่โต แต่เพื่อนราชภัฏ รุ่นน้องราชภัฏ ที่ทำงานไม่หยิ่งเลยค่ะ น่ารักสู้ชีวิต เท่าที่เจอมานะ ไม่เห็นว่าจะไม่ดีตรงไหน น่าจะไม่เกี่ยวที่มหาลัย แต่เป็นที่ตัวบุคคล บางคนจบมาไม่ได้มองที่จบจากไหน แต่มองว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไร ใช้ความคิดอย่างไร
@Lll-km8ir
@Lll-km8ir Жыл бұрын
เด็กราชภัฏเก่งๆก็มีแต่คนที่จบราชภัฏที่เคยเจอมันแย่ ครูเก่าจบจุฬามาความรู้ลึกมาก เห็นสมุดรุ่นพี่กับสมุดเรานี่คนละอย่างเลย ครูใหม่เราจบราชภัฏมาก็คือไม่ได้เลยอ่านตามหนังสือ ถามอะไรก็ไม่รู้เรื่องแล้วมันเป็นวิชาสำคัญ😂 ไม่ใช่เค้าไม่ดีขนาดนั้นแต่สำหรับชั้นเรียนเราเค้าไม่เหมาะ
@impossible5500
@impossible5500 Жыл бұрын
เอาตามที่ผมประสบพบเจอมานะครับ การงานเค้ามักจ้างรุ่นน้องมาทำงานเพราะประเพณีรุ่นพี่รุ่นน้องยังมี เอาสีเดียวกันมาทำงานไว้ใจใช้ง่ายกว่า แล้วบริษัทต่างๆมีแต่มหาลัยดังๆนั่นตำแหน่งใหญ่โต เค้าจะจ้างราชภัฏมาทำไม จ้างเพื่อแค่ลบภาพเส้นสายแค่นั้นถึงเวลาก็บีบออก อีกอย่างถ้าพวกคุณเก่งเกินหน้าเกินตามหาลัยดังๆมันเหมือนเค้าโดนดูถูกสู้ราชภัฏไม่ได้ เห็นไหมมันเป็นค่านิยมประเพณีนิยมที่ฝั่งอยู่ในสังคม ราชภัฏไม่ผิดครับแต่ผิดที่ค่านิยม
@user-el7ec2no3d
@user-el7ec2no3d Жыл бұрын
พูดถูกเขามีรุ่นพี่อยู่ในองค์กรอุปถัมย์หน่อยๆ
@nawaminTh
@nawaminTh Жыл бұрын
เพราะรุ่นพี่ที่จบมาเขาก็เชื่อมั่นว่ารุ่นน้องที่จบ ม เดียวกันมีคุณภาพตามที่ต้องการ เพราะตัวรุ่นพี่เองก็จบมาจาก ม นั้นๆ
@MeoMeo-wh7jf
@MeoMeo-wh7jf Жыл бұрын
เด็กไม่มีคุณภาพไม่มีใครเขาอยากรับหรอกค่ะ
@impossible5500
@impossible5500 Жыл бұрын
เด็กราชภัฏไม่ใช่ไม่เก่งครับเพียงแต่เค้าศึกษามาในหลักสูตรและอาจารย์ที่สอนอาจมีคุณภาพไม่เท่ามหาวิทยาลัยดังๆแต่ไม่ใช่ว่าสติปัญญาของเค้าจะด้อยกว่านะครับ การเข้าทำงานคือการเรียนรู้ใหม่เกือบทั้งหมด ความรู้เหมือนกับว่าปูพื้นฐาน ส่วนใหญ่แล้วระบบรุ่นพี่รุ่นน้องจะมีประโยชน์ก็ตรงคอนเน็กชั่นเช่นทำงานในโรงงานหรือที่บริษัทของตัวเอง ต้องติดต่องานกับอีกบริษัท ที่พอดีมีรุ่นพี่รุ่นน้องอยู่ คุณว่ามันคุยตกลงกันง่ายไหมโดยเฉพาะพวกงานติดต่อค้าขายเนี่ย เค้าเลยอาศัยสายสัมพันธ์หรือคอนเน็กชั่นเพื่อให้งานง่ายขึ้นแต่นั้น แต่เรื่องสมองสติปัญญานั้นไม่ต่างกันครับ
@puddingman2331
@puddingman2331 Жыл бұрын
ถ้าใช้ตรรกะนี้ ราชภัฏ ควรมีการจ้างมากสุด และจะประสบความสำเร็จมากสุดเพราะคุณพูดถึงปริมาณ ไม่ได้พูดถึงคุณภาพ
@วีรภัทรอรรถมานะ
@วีรภัทรอรรถมานะ Жыл бұрын
ผมว่านักเรียนเก่งๆส่วนใหญ่ จะเข้าจุฬา ธรรมศาสตร์ การสอบเข้า วัดจากคะแนน ความรู้ในสาขาวิชาชีพ จบมาเงินเดือนก็ต่างกันตาม มหาลัย
@nightmarebg1641
@nightmarebg1641 Жыл бұрын
@ช่างหนู ที่บอกแม่พิมพ์ราชภัฏโง่ๆ ก็เกินไปนะมันขึ้นอยู่กับตัวครูที่สอนเองรึเปล่าเพราะที่รร.เรา ครูบางคนไม่ได้จบราชภัฏยังสอนไม่รู้เรื่องเลย ส่วนครูที่จบราชภัฏสอนรู้เรื่องกว่า
@nightmarebg1641
@nightmarebg1641 Жыл бұрын
@@AojingdiDede เขาก็สอนลึกเหมือนกันนะ มันแล้วแต่คนเจอรึเปล่า ใช่ขึ้นอยู่กับสมองเด็กแต่ก็ขึ้นอยู่กับการสอนด้วย
@nightmarebg1641
@nightmarebg1641 Жыл бұрын
@@AojingdiDede คุณไม่เข้าใจที่เราสื่อหรอ เราไม่ได้สื่อรายได้ การตลาดต้องการอะใช่เราแค่จะบอกว่าจบม.ไหนมาสอนไม่รู้เรื่องคือสอนไม่รู้เรื่องครับ อย่าคิดแค่จบม.นี้มาสอนไม่รู้เรื่อง
@nightmarebg1641
@nightmarebg1641 Жыл бұрын
@@AojingdiDede ไม่ครับ ที่บอกไม่รู้เรื่องคือทั้งห้องนะไม่ใช่แค่ผมคนเดียวถ้าสอนไม่รู้เรื่องทั้งห้องไม่น่าผิดที่ตัวนักเรียนนะครับ
@nightmarebg1641
@nightmarebg1641 Жыл бұрын
@@AojingdiDede ละคุณบอกว่านักเรียนว่าสมองน้อยคนแบบนี้ควรสอนคนอื่นหรอครับ?
@noppadon4558
@noppadon4558 Жыл бұрын
เด็กราชภัฏ มีทุกระดับ คนที่เก่งๆก็มี ที่ไม่อยากไปเรียนที่ไกลบ้าน ถ้าผมเป็น HR อันดับแรกเลยที่จะทำคือ แบบทดสอบผู้เข้าสมัคร แบบทดสอบเชาว์ปัญญา ทั้งIQ EQ ซึ่งไม่ใช่คณิต หรือ วิชาพื้นฐานที่เรียนกันมา เพราะเชื่อว่าหากผู้สมัครงานมี มี iQ ที่อยู่ในระดับดี เขาก็จะสามารถพัฒนาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว
@IMMMMMMMIZZZ8
@IMMMMMMMIZZZ8 Ай бұрын
จากใจคนที่เรียนราชภัฏ (ครุศาสตร์) ปัญหาที่เจอตอนนี้คือ 1.เวลามีงานกลุ่มที่ต้องออกมานำเสนอหน้าห้องอย่างกลุ่ม 5 คนมีผมทำแค่คนเดียวแต่ล่ะคนเหมือนไม่ค่อยอยากทำอะไรเลย 2.เพื่อนแต่ล่ะคนเหมือนมาเรียนไปวันๆนั่งเล่นโทรศัพท์ให้จบไปคาบนึงแค่นั้นไม่ได้ดูจะสนใจอะไรเลย 3.มาเรียนคณะครุศาสตร์เกี่ยวกับครูแต่เพื่อนๆในคลาสหลายคนติดบุหรี่ไฟฟ้ากันมากดูดกันฉ่ำ 4.หลักสูตรเนื้อหาที่เรียนดูไม่ได้เคร่งอะไรเลยแค่มาเข้าเรียนคุณก็ได้คะแนนแล้ว 5.ด้วยความที่ว่ามหาลัยนี้แค่จ่ายเงินก็ได้เข้าเรียนแล้วมันเลยแทบไม่ได้คัดกรองอะไรเลยสังคมข้างในเลยค่อนข้างแย่
@TheNeololita
@TheNeololita Жыл бұрын
ที่จริงไม่ใช่แค่ราชภัฏนะ แต่รวมไปถึงสายอาชีพต่างๆด้วยทั้งๆที่เขามีส่วนสำคัญในตลาดแรงงานกว่าสายสามัญซะอีก
@littleboy5853
@littleboy5853 Жыл бұрын
ในไทยอะไรที่ เป็นเอกชน มีคุณภาพมากกว่าอยู่แล้วครับ ทั้งโรงเรียนกับมหาลัย แต่ว่าไม่ว่ายังไงก็แล้วแต่ บางคนเก่งมีความสามารถ แต่ติดเที่ยวติดเล่นตอนมหาลัย จากไม่เคยกินเหล้าไม่เคยทำอะไรก็ได้ทำจนเสียคนก็มี สุดท้ายแล้ว การประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเรียนมหาลัยไหน แต่ขึ้นอยู่กับตัวคุณต่างหากว่าคุณจะพัฒนาตัวคุณเองได้ไกลแค่ไหน
@monteque3502
@monteque3502 Жыл бұрын
ผมจบราชภัฏครับ เคยทำงานกับบริษัทระดับประเทศ เคยได้ไปทำงานต่างประเทศหลายปีกับบริษัทยานยนต์ระดับโลก จากประสบการณ์ ณ ตอนเรียนราชภัฏ นอกจากคุณภาพของเด็กที่เข้ามาเรียนมีหลายระดับความรู้ความฉลาดแล้ว อีกอย่างคือ อาจารย์ผู้สอนครับ สำหรับผม ภาควิชาที่เรียนอาจารย์เก่ง สอนตามเนื้อหาที่เป็นปัจจุบันสมัยเน้นการประยุกต์ใช้จริง แต่ แต่ ถ้าไปลงเรียนกับอาจารย์ภาควิชาอื่นบางคณะ บางคน เน้นที่บางคน คุณภาพของอาจารย์แย่มากครับ ไม่มีวิธีการสอนที่แปลกใหม่น่าสนใจ มันไม่ Aggressive เข้ากับยุคสมัยเอาเสียเลย ต่างจากอาจารย์ของภาควิชาที่ผมเรียนที่สอนแบบมีวิสัยทัศน์กว่า ผมเข้าใจว่าปัจจัยหลักเป็นเรื่องความสามารถของตัวบุคคล ผมเรียนไม่เก่ง เกรดเฉลี่ยกลางๆ แต่ผมเน้นกับวิชาใหนที่อาจารย์สอนเก่ง สอนได้น่าสนใจ วิชานั้นผมจะพยายามทำเกรดให้ดี ณ ตอนทำงาน เคยทำงานร่วมกับคนที่จบจากสถาบันชั้นนำ อย่างจุฬา ธรรมศาสตร์ มหิดล ผมเองยอมรับว่าเพื่อนร่วมงานที่จบจากสถาบันเหล่านั้น เค้าเก่งจริงครับ หลายอย่างเค้าเก่งกว่า เหนือกว่า ผมเองยอมรับในความเหนือกว่าของคุณภาพในตัวบุคคลที่จบจากสถาบันมีชื่อเหล่านี้ เหนือกว่าคนที่จบจากราชภัฏมากมีความเป็น Multitasking มากกว่าเยอะ ณ ตอนนั้นถือเป็นประสบการณ์ที่เปิดหูเปิดตาอย่างมาก ได้ทำงานดวลผลงานกับคนที่จบสถาบันดังๆ ท้าทายดี คือถ้าผมไม่มีความสามารถระดับหนึ่งคงไม่ได้มาทำงานร่วมกับคนที่จบจากสถาบันเหล่านี้ เราก็มีดีพอตัว ไม่ได้ด้อยกว่าแต่อย่างใด แต่ถ้าเทียบกับเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันในห้อง ระดับ Top 3 พอสู้ได้ แต่ต่ำกว่านั้นสู้คนที่จบมหาลัยใหญ่ๆไม่ได้เลย นี่คือความจริงจากประสบการณ์ที่ได้พบเจอมาครับ ปัจจัยหลักชี้วัดที่ความสามารถของตัวบุคคลนั้นๆ แต่ถ้าเหมาแบบสถาบันองค์รวม ต้องยอมรับว่า คนละชั้น จริงๆ จากเด็กจบราชภัฏ...
@itsjustopinion_are_asfollows
@itsjustopinion_are_asfollows Жыл бұрын
เก่งจังเลยค่ะ
@monteque3502
@monteque3502 Жыл бұрын
@ช่างหนู อย่าว่ากันขนาดนั้นเลยครับ ผมอยากขอให้เป็นเรื่องของตัวบุคคลมากกว่าสถาบันครับ ท่านก็กล่าวเกินไป ด้อยค่าได้ ดูถูกกันก็ได้ แต่ก็ต้องมีขอบเขตของการให้เกียรติกันบ้างครับ ผมก็จบราชภัฏ ผมเองก็เคยทำงานกับคนจบวิศวะสถาบันเดียวกับท่าน เก่งกว่ากันและด้อยกว่ากันในคนละจุด คือสิ่งที่ผมเห็นมา เราถกเถียงกันในแนวทางที่ก่อประโยชน์จะดีที่สุดครับ...
@monteque3502
@monteque3502 Жыл бұрын
@@บัง-ถ3ฒ เพราะบ้านเรามีคนที่มีทัศนะคติแบบท่านเยอะ การศุกษาของบ้านเมืองนี้จึงมีปัญหาไงครับ ผมทำงานกับนิสสันตะวันออกกลาง มีสำนักงานใหญ่ที่ดูใบมา 6 ปี เป็นหนึ่งในทีมวิศวะที่ทำ นิสสันนาวาร่าตัวใหม่ ที่ประกอบในบ้านเรา ทำงานใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ผ่านการอบรบ N-Step ระดับ 3 ชั้นสูง ในคนทำงานรุ่นเดียวกันมีมาจาก ฟิลิบปินส์ ศรีลังกา อิยิป ผมโตในสายงานเร็วสุด บรรดาหัวหน้างานที่สนับสนุนผม ไม่เคยบอกว่าผมทำงานเก่งสุด แต่ที่ผมเหนือกว่าใครในรุ่นคือมีทัศนคติต่อเพื่อร่วมงานเหนือกว่าใครในรุ่น ดูจากการพิมพ์เม้นมา ผมเชื่อว่าในชีวิต คงยังไปไม่ถึงจุดหนึ่งของชีวิตที่ใครเขาเรียกกันว่า "ประสบความสำเร็จ" เพราะคนจะไปถึงจุดนั้นได้ ทัศนะคติคือปัจจัยหนึ่งในตัวชี้วัด ท่านบังประสบการทำงานในสายมืออาชีพยังน้อยนัก มือสมัครเล่นอาจมีบ้าง ผมจบการจัดการจากราชภัฏ ผ่านประสบการทำงานกับมืออาชีพตั้งแต่จบใหม่ๆ ถ้าคนมีประสบการณ์ทำงาน มาอ่านข้อความที่ผมเขียน ก็พอจะเข้าใจด้วยประสบการณ์และปัญญา ส่วนคนที่ด้อยในทั้ง 2 เรื่อง อ่านปุ๊ปก็อาจจะลงความเห็นคล้ายๆกับท่าน คนมีประสบการณ์อ่านปุ๊ปก็พอรู้แล้วว่าคนเขียนเป็นเช่นไร อย่าเป็นเช่นนั้นเลยครับ...
@guyjirawut7910
@guyjirawut7910 Жыл бұрын
@ช่างหนู ก๊อบวาง ก๊อบวาง ทุกคอมเมนท์เลยนะ
@jirapongmaithong9778
@jirapongmaithong9778 Жыл бұрын
@ช่างหนู ครับคุณฉลาด
@ดวงจันทร์เดชเด่นรัศมี
@ดวงจันทร์เดชเด่นรัศมี Жыл бұрын
เอาจริง ๆ จากใจคนเรียน คุณภาพหลาย ๆ อย่าง มันต่างจาก ม.ดัง ๆ หลายเท่าค่ะ เช่น ความรู้ ระบบการศึกษา สังคม คอนแท็ก แต่ก็นะ ค่าเทอม 9,600 บาทอ่ะค่ะ ตรงสเปคกับทุนทรัพย์เท่าที่เรามี ลำพังก็จบจากโรงเรียนวัด สิ่งเดียวที่เห็นในราชภัฏคือ ความถึก อึด เพราะบางคนทำงานไปด้วย เรียนไปด้วยค่ะ
@ดวงจันทร์เดชเด่นรัศมี
@ดวงจันทร์เดชเด่นรัศมี Жыл бұрын
มันไม่ได้ผิดที่นักศึกษาที่เค้ามีทุนทรัพย์เท่านั้นนะคะ แต่ต้องตั้งคำถามกับรัฐว่า ทำไมไม่ทำให้การศึกษามันเท่าเทียม
@smple-yd8xp
@smple-yd8xp 10 ай бұрын
ก็ตามราคา และ ปัจจัยที่จะใช้เข้าเรียนอะ 1.เข้าง่ายไม่ต้องสอบแข่งขันเอาเป็นเอาตาย 2.ค่าเรียนถูก 3.โอกาสเจอพวกเด็กเกเรย่อมเยอะกว่า มหาลัยดีๆ เพราะมันเข้าง่ายจากปัจจัยข้างต้น 4.ค่าเรียนถูกอุปกรณ์การสอนกับหลักสูตรก็ไม่มีคุณภาพตามราคาค่าเทอมแหละ 5.การสอบและ การเรียนยังไงก็ไม่มีทางสู้เอกชนดังๆ หรือ มอ รัฐที่สอบเข้ายากอยู่แล้ว จากปัจจัยข้างต้น ที่ต้องการให้คนเรียนจบง่ายๆ พวกภาคค่ำสบายกว่าอีกมาเรียนอาทิตย์ละวัน จบมาได้ปริญญาเหมือนกันกับภาคปกติ ถามจริงจะได้ความรู้อะไรนอกจากเอาวุฒิเฉยๆ ไปเจอพวกม เอกชน บาง มอ เหี้ยกว่านั้นอีก แค่มาสอบอย่างเดียวไม่ต้องเข้าเรียนก็จบได้ มีดีแค่ connectionดี กับ อุปกรณ์การสอน ทันสมัย เพราะค่าเทอมแพง จบออกมาต่างจากราชภัฏตรงไหน คนจบราชภัฏเก่งๆก็มี
@rahvun599
@rahvun599 Жыл бұрын
หลายๆคนที่เรียนที่นั่นก็รู้กันแหละครับว่าที่นี่มันมีปัญหา แต่เงินมันผุดออกมาแบบหญ้า แบบเห็ดไม่ได้อะดิ ผมก็เรียนราชภัฏเหมือนกัน ถึงจะเสียใจหน่อยๆ แต่ กยศ. ตอนนี้ก็ติดเกือบ 2 แสนบาทไปแล้ว แบ่งทั้งตัวเอง แบ่งทั้งทางบ้าน มันเป็นตัวเลือกสุดท้ายละสำหรับคนกระเป๋าฉีกแบบผม ://
@neutrality7745
@neutrality7745 Жыл бұрын
เรียนที่ไหนก็เหมื่อนกัน ถามจริงตอนจบ ม.ปลาย ทุกคนไปสอบแล้วหวั่งมหาลัยดังๆหรือไหม ทุกคนไปสอบหมด แต่สอบไม่ติดไม่ได้เข้าเรียน มีทางเดียวหันหัวเข้า ราชภัฎ อย่าบอกว่าเหมื่อนกันผมพูดเลยไม่เหมื่อน ถามคนที่เรียนราชภัฎแต่ถ้าสอบเข้า ม.ดังที่หวังไว้จะเอาไหม ตอบเอาสิ แค่มึงสอบกันไม่ได้ไม่ติดแต่นั้นถึงเข้าหาราชภัฎ
@wachaiChanel
@wachaiChanel Жыл бұрын
ผมก็ราชภัฏเอาจริงๆ รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้เรียนเหมือน ม.ดังๆ. ทั้งที่อาจาร์ที่มาสอนก็ จบม.ดังๆมา ทำแต่งานวิจัยๆ พอไปทำงานจริง ก็สู้กับ ม.ดังๆไม่ได้ สัมภาสยากแล้ว เข้าไปทำหวังว่าจะสู้คนที่จบ ม.ดังๆอีก สรุป. หลักสูตร และคนสอน
@nopponlnwjingjing8158
@nopponlnwjingjing8158 Жыл бұрын
จบราชภัฎ แต่เป็น Lead จบจาก ม.ชั้นนำ ได้ ขอไม่เอ่ยถึง ผมว่าไม่เกี่ยวกับการที่ว่าจบจากที่ไหน อยู่ที่ประสบการ ความสามารถ Mindset ความเป็นผู้นำ คหสต
@savnerdeg1001
@savnerdeg1001 Жыл бұрын
เราจบราชภัฏเกียจนิยมอันดับ1 จบมา5ปีแล้ว บอกตรงๆว่าหลักสูตรง่ายกว่าตอนฉันเรียนมัธยมอีก😅
@n_iclt6535
@n_iclt6535 Жыл бұрын
ขออนุญาตถามนะคะ ถ้าทำให้ไม่พอใจไม่จำเป็นต้องตอบก็ได้นะคะ พอดีถามพอเป็นความรู้อะค่ะ เส้นทางการเข้าทำงานของพี่ยากไหมอะคะ ได้เกียตินิยมด้วยมันจะดีขึ้นรึป่าวคะ เข้าทำงานใช้คอนเนชั่นยากไหมคะ
@savnerdeg1001
@savnerdeg1001 Жыл бұрын
@@n_iclt6535 ยินดีจร้า พี่เรียนจบสายภาษาอังกฤษมาสมัยนั้นสมัครงานที่บริษัทเขาไม่ตอบรับ พี่ต้องโทรไปขอสัมภาษณ์กับเขาเองไม่อยากรอ เพราะอยากได้ตำแหน่งนั้นจริงๆ ตอนสัมก็พูดภาษาอังกฤษใส่เขารัวๆ จนเขารับพี่เข้าทำงาน แต่ว่าต่อเงินเดือนเหมือนต่อราคาซื้อเสื้อผ้านึกออกมั้ย😅 ปัจจุบันพี่อยู่ออสเตรเลีย เพราะรู้สึกว่าอยู่ไทยไปก็ไม่ก้าวหน้า ไปหาประสบการณ์ใหม่ๆดีกว่า
@n_iclt6535
@n_iclt6535 Жыл бұрын
ออออววว ขอบคุณค่ะ🙏🙏🫶🏻♥️
@lxlxdx5597
@lxlxdx5597 Жыл бұрын
จบมา 10 ปีแล้วได้เกียรตินิยมเช่นกันค่ะ ตอนแรกภาคภูมิใจมาก ต่อมาถึงได้รับรู้ความจริงของโลกใบนี้ว่า จบเกียรตินิยมจากราชภัฏไม่ได้ช่วยอะไรเลย แต่หากมองในความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่แปลกที่จะได้เกียรตินิยมค่ะ พี่เป็นคนสมองทึบด้วยซ้ำ แต่ก็ได้เกียรตินิยมมาได้ เพราะราชภัฏโคตรจะปล่อยเกรดเลยค่ะ แค่ไม่โดดเรียน ส่งงานครบ ประจบประแจงนิดหน่อย คะแนนส่วนที่เรียกว่าคะแนนเก็บหรืออีกนัยหนึ่งมันก็คือคะแนนพิศวาส c-c+แล้วนะคะ แปลว่าสอบอีกไม่กี่คะแนนจะเอาเกรดบีหรือเอ ก็ไม่ยากแล้ว ราชภัฏเป็นแบบนี้จริงๆค่ะ ปล่อยเกรดทุกวิชาจริงๆ
@liomessi1786
@liomessi1786 Жыл бұрын
รสนิยมบางอย่าง มุมมองบางอย่าง มันก็แตกต่างกันตั้งแต่เข้ามหาลัยแล้ว ยิ่งพอจบออกมา ก็มีความต่างบางอย่าง ที่บางที มองด้วยตาเปล่าๆก็เห็น
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
เด็กราชภัฏ ราชมงคล ส่วนใหญ่ เด็กบ้าน ๆ ส่วนเด็ก ม.ดัง ม.เอกชน ส่วนใหญ่ ลูกคุณหนู ไฮโซ
@eddddddd618
@eddddddd618 Жыл бұрын
@@mccarterstartrek9395เด็กบ้านๆเรียน ม.ดัง ก็เยอะคับ
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
@@eddddddd618 ถ้า ม.เกษตร มศว มข มช มอ มน มบ หรือ วิทยาเขตต่างจังหวัดอ่ะ เด็กบ้าน ๆ อาจจะเยอะหน่อย ลอง จุฬา ธรรมศาสตร์ มหิดล ดูซิ ลูกคุณหนูเพียบบบบบ !!!!!
@eddddddd618
@eddddddd618 Жыл бұрын
@@mccarterstartrek9395 ผมเด็กต่างจังหวัดก็มีเพื่อนเรียนจุฬา มธ มหิดล หลายคนนะ????
@wanidaposhae8596
@wanidaposhae8596 Жыл бұрын
ต้องคัดคุณภาพและคุณธรรมของอาจารย์ มันต้องไปควบคู่กัน ระหว่างคนที่อยากเป็นอาจารย์เพราะเงินอำนาจ หรืออยากเป็นครูอาจารย์เพราะรักในสิ่งที่จะทำ ความคิดคนกับคุณภาพและคุณธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่างเราเรียนภาคพิเศษเสาร์อาทิตย์ อาจารย์ที่มาสอนบางคนเป็นครูพิเศษจากข้างนอก แต่นศ.ภาคปกติเรียนกับอาจารย์ของมอ แบบนี้แบ่งแยกกันเห็นๆ ทั้งๆที่เราก็จ่ายตังมาเรียนเหมือนกัน เผลอๆแพงกว่าด้วยซ้ำ
@miraiprophat
@miraiprophat Жыл бұрын
จากประสบการณ์ที่จบมา (นานแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นไง แค่แชร์ตามที่ประสบมา ไม่โกรธกันนะ) เด็กที่เรียนเก่งฉลาดในราชภัฎก็เก่งจริงๆนะครับ แต่มันน่าเสียดาย ด้วยระบบการศึกษาอะไรหลายๆอย่างเค้าเลยไปไม่สุด คือเด็กเก่งควรจะไปอยู่ ม ดัง เค้าน่าจะได้อะไรๆมากกว่านี้มากจริงๆ ยกตัวอย่าง อาจารย์ที่มาสอนราชภัฎทุกคน มักจะย้ำว่า เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ที่นี้ ราชภัฎ ก็จ้างอาจารย์เก่งๆจาก มหาลัยดังๆ มาสอนทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงคือ... อาจารย์ก็ต้องสอนเอาส่วนมากให้เรียนรู้เรื่อง เพราะฉนั้นการสอนก็จะไปในแบบ ช้าๆ สโลวไลท์แบบสุดๆ แวดล้อมก็จะเต็มไปด้วยเด็กที่เค้ามาเรียนให้จบๆไป ตั้งใจมาเที่ยวหาเพื่อนมากกว่า มันทำให้การเรียนเป็นไปแบบช้า และแผนการเรียนก็ได้ความรู้แค่ตึ่งหนึ่งก็หมดภาคเรียนแล้ว แล้วเด็กเก่ง มันจะไปได้อะไรจากการเรียนที่นี้... ก็คือได้น้อย ---------- คุณภาพอาจารย์ สมัยนั้นที่เรียนเจอมา ขอแชร์ -สอนเก่ง เข้าใจเด็ก มีจิตวิญญาณในการสอน เจออาจารย์แบบนี้แค่ไม่กี่คน -นั่งอวดรวยทั้งคาบ สอนเสร็จชวน น ศ สาวๆ ไปต่อ -อาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ แต่สอนแบบ งงๆ (เหมือนจารย์ก็จะไม่เข้าใจที่ตัวเองสอนเหมือนกัน) เด็กดาวรุ่ง เกียรตินิยม เก่งแค่ไหน เจอแก ก็ได้แค่ C ไม่ก็ติด 0 ไปเลย -อาจารย์สายโดด แทบไม่เจอหน้า ไม่มาสอน นานๆเจอกันที สอนแค่ 15 นาที แล้วก็ให้ไปอ่านเอง
@แหงนมองพระจันทร์แล้วเธอคิดเหมื
@แหงนมองพระจันทร์แล้วเธอคิดเหมื Жыл бұрын
จากที่เรียนอยู่ระบบแย่จริง สิ่งอำนวยความสะดวกก็ค่อนข้างน้อย มหาลัยค่อนข้างมีระบบขัดแย้งกับความต้องการของนักศึกษา แต่เรื่องการเรียนส่วนตัวคิดว่าครุศาสตร์ถือว่าโอเคเลยนะ เพราะจากที่ได้สัมผัสมาอ.แต่ละท่านก็ให้ความรู้เต็มที่ไม่ใช่แค่สอนแต่ในตำรา แต่ยังส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำไปใช้และปฏิบัติจริง จากตอนแรกกลัวไมค์ตอนนี้ไมค์ต้องกลัวเราแทนเพราะพูดฉับพลันบ่อยมากๆ เคยได้ยินว่าจบราชภัฏเขียนหลักสูตรไม่เป็น ทำงานเอกสารไม่เป็นตรงนี้เราว่าเป็นที่ตัวบุคคลมากกว่า แหะ😅
@tsuboom
@tsuboom Жыл бұрын
เพื่อนเคยเอา Undergraduate Thesis มาให้ช่วยแปลจากไทยเป็นอังกฤษ (2022) แค่ตัว abstract ยังสรุป 5 chapter ที่ใน 1 Paper ต้องมีไม่ได้เลย นี่ก็ถามไปว่า อาจารย์คือให้ผ่านแล้วใช่ไหม มันบอกว่าใช่ เนื้อหาข้างในไม่ต้องพูดถึง ปังปิ๊นาศมาก แต่ก็ผ่านก็เลย อรุ่ม... //เอามือทาบ-อก เหมือนไม่เคยเรียนวิชา Research Methodology/ Research Report Writing มาก่อนเลยอ่ะ
@ppos9031
@ppos9031 Жыл бұрын
ภาคนิพนธ์ปะครับ เพื่อนผมก็เคยเอามาให้ตรวจเช็คให้ คือผมมาร์คงานมันเเดงทั้งหน้าอะ ส่งกลับไปให้ มันก็ไม่แก้นะ แล้วก็เอาส่งอาจารย์ไปท้ังยังงั้นอะ ที่ตกใจกว่าคือ แม่งผ่าน ได้ A ด้วย งงใจมาก
@xbiohazardx7312
@xbiohazardx7312 Жыл бұрын
ชัดเจนขนาดนี้แสดงว่า ม.คุณภาพต่ำจริง
@minigiulia
@minigiulia Жыл бұрын
จบมาใหม่ๆอาจสู้ไม่ได้ แต่พอทำงานไปสักระยะแล้วก็อยู่ที่ตัวคนแล้ว ถ้าชอบงานที่ทำจริงก็จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจนเก่งได้เอง ยกตัวอย่างคนทำงานไม่ตรงสายงานบางคนเก่งกว่าคนที่จบมาโดยตรงซะอีก สรุปคือคนเก่งเขาจะขวนขวายเอาเอง หลักสูตรที่เรียนก็คือแนวทางที่จะชี้นำให้ไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้นและถูกต้อง
@chestnuthahnscoffee1015
@chestnuthahnscoffee1015 Жыл бұрын
แล้วคนที่ไม่ได้เรียนมหาลัยแล้วประสบความสำเร็จล่ะ มีโอกาสเรียนก็เรียนไปเถอะ อนาคตที่ดีอยู่ที่ใจสู้
@alonetime_6348
@alonetime_6348 Жыл бұрын
ออกตัวก่อนว่าตอนนี้ผมเรียนวิศวะคอมราชภัฎปี 3 ตอนที่เลือกที่นี่เพราะคิดว่ามันจะเรียนง่าย แต่พอเข้าไปแล้วคือป่าวเลย.. อาจารย์สอนดีนะ อุปกรณ์ก็พร้อม เพื่อนก็เก่งกันหลายคน ห้องสมุดก็ดีมาก ผมไปสิงอยู่บ่อยๆ มีโรงหนังด้วย คือมันดีแหละ ถ้าเราไม่เอาไปเทียบกับม.ดังๆอ่ะ เพราะถ้าเทียบเมื่อไหร่คือเละ.. รุ่นพี่สาขาผมจบไปก็ได้งานดีๆกันทั้งนั้นนะ (สาขาอื่นเป็นไงไม่รู้) อาจารย์สาขาผมก็มีคอนเนคชั่นพอควรเลย ถ้าใครคิดว่าเรียนราชภัฎแล้วจะจบง่ายๆ ขอบอกไว้เลยว่าคิดผิด (ไม่รู้ว่าสาขาอื่นเป็นไง แต่วิศวะคอมยากโคตร) ถามว่ามันมีแย่อย่างที่เขาว่ากันมั้ย บอกเลยว่ามี แต่ส่วนตัวผมไม่ค่อยเจออ่ะ นานาจิตตังแหละเนอะ ผมโชคร้ายหน่อยที่ปี 2 เรียนออนไลน์ทั้งปีเพราะโควิดระบาดหนัก แต่ตอนนี้คือปกติแล้ว ชอบอีกอย่างคือที่ม.ผมไม่มีกฎบังคับเรื่องเครื่องแต่งกายว่าต้องใส่ชุดน.ศ.เท่านั้น ใส่ชุดอะไรไปเรียนก็ได้ ขอแค่ต้องเรียบร้อย ช่วงแรกๆเพื่อนมันก็แต่งตัวแฟชั่นกัน แต่ผ่านไปสักพักมันก็เสื้อยืดกางเกงยีนส์เพราะขี้เกียจ 🤣 ปล.อาหารในโรงอาหารม.ผมอร่อยมาก 🤣
@alonetime_6348
@alonetime_6348 Жыл бұрын
ลืมเล่าอีกเรื่อง รุ่นผมเข้ามาในปีที่ทางมหาลัยประกาศยกเลิกระบบ SOTUS พอดี อันนี้ชื่นชมมาก ถ้ารุ่นพี่ใช้อำนาจกับรุ่นน้องก็โดนลงโทษ รุ่นผมเลยรอดตัวไป ไม่โดนรับน้องเลย
@piyaphummuetkhambong768
@piyaphummuetkhambong768 Жыл бұрын
ข้อสอบเป็นข้อเขียนล้วนทุกวิชาไหมครับ ผมเรียนวิทย์คอม ปี 1 ตอนนี้เรียน หลักมูลการคณนา พีชคณิต เเคลคูลัส ภาษา C/C++/Python/R การโปรเเกรมทางสถิติ (ตัวเดียวกับสถิติวิศวกรรมเเต่เป็นสถิติที่เอามาเขียนในภาษา R ด้วย) ทุกวิชาสอบข้อเขียนหมด เรียกได้ว่าเปิดมาปี 1 ก็เรียนวิชาปี 2 ของ ม.อื่นละทั้ง ๆ ที่ ม.อื่นวิทย์คอม ปี 1 น่าจะเเค่ ฟิสิกส์ เเคล 1/2 Flowchart Pseudo code Python/C อยู่เลยมั้ง
@alonetime_6348
@alonetime_6348 Жыл бұрын
@@piyaphummuetkhambong768 ตั้งแต่เรียนมาเจอข้อเขียนตลอดครับ จะมีแค่ช่วงที่เรียนออนไลน์ที่มี Choice ปนมาด้วยนิดหน่อย ทำใน Google Form
@boondirekk.4589
@boondirekk.4589 Жыл бұрын
@@piyaphummuetkhambong768 เหมือนหลักสูตรที่ลาดกระบังเลยครับ 😂 ของผมมีเพิ่มเติมคือ logic กับ discrete math
@mccarterstartrek9395
@mccarterstartrek9395 Жыл бұрын
ราชภัฏ ที่คุณเรียนนี่คือ สวนดุสิต สวนสุนันฯ นครปฐม เชียงใหม่ ป่ะครับ เพราะว่า แต่ละที่ คุณภาพอาจไม่เท่ากันครับ แต่ ชื่อที่ว่ามา คือ ราชภัฏ อันดับต้น ๆ
@นรินทร์ทศลา-ฮ4ฃ
@นรินทร์ทศลา-ฮ4ฃ Жыл бұрын
เราจบราชภัฏทางภาคอีสาน มีงานทำ มีอาชีพที่เรารักและตั้งใจไว้ตั้งแต่เด็ก เรารักราชภัฏ เราเป็นศิษย์ราชภัฏ เรารักคุณครูราชภัฏ รักอีกมากมาย....
@nngsrt2506
@nngsrt2506 Жыл бұрын
อยากให้แอดทำคลิป เพื่อสะท้อนปัญหาของการศึกษาไทย โดยที่ครูต้องทำงานเอกสารและงานนโยบายมากล้นชนิดท่วมตัวจนแทบจะไม่มีเวลาเตรียมการสอน ซึ่งเป็นภาระหน้าที่หลักของครูด้วยครับ
@fuyugayukino8923
@fuyugayukino8923 Жыл бұрын
จากประสบการณ์จากที่ผมเรียน CS ราชภัฏแห่งหนึ่งในภาคอีสาน(อยู่กลางเมือง) บอกตรงๆว่าค่อนข้างแย่ การสอนก็เหมือนสอนผ่านๆงานง่ายๆพอผ่านๆ ช่วยๆให้จบๆไป ผมเรียนมาใกล้จะจบแล้ว แทบไม่ได้อะไรเลย เนื้อบางวิชาที่ผมเรียนเนื้อหาง่ายมาก (ง่ายจนมีเวลาพอมานั่นจับผิดเนื้อหาตอนอาจารย์สอน) ส่วนบางวิชาก็มีแค่ชื่อ เพราะตอนสอนจริงอาจารย์ก็เปลี่ยนเนื้อหา และให้เหตุผลว่า กลัว นศ. เรียนไม่ไหว (ไม่รู้สาขาอื่นเป็นมั๊ยแต่สาขาผมเป็น) ในหัวตอนนั้นคือ ห๊ะ? ตัวใหญ่ๆเลย คณะก็ไม่ใส่ใจนักศึกษา อาจารย์หลายคนตั้งใจที่จะมาสอนนศ. แต่ไม่ได้สอนเพราะทางคณะให้ออกไปทำภาระกิจนอกพื้นที่(บ่อยมากๆ) อาจารย์ก็มาเล่าให้ผมฟังแกบอกว่าไม่รู้ให้ไปทำไม ให้ไปทำน้ำอ้อยกับชุมชน สาขาCS ไปทำน้ำอ้อย แปลกดี😂 ส่วนรุ่นพี่ ปรึกษาได้ทุกอย่าง ยกเว้นเรื่องเรียน บอกตรงอยากย้าย ม.อื่นมากๆ แต่ติดที่ไม่มีตัง (ยอดหนี้กยศ. พุ่งเป็นแสนแล้วตอนนั้น) ที่จริงมันก็ผิดที่ตัวผมเองที่คิดตื้นๆ ( ถูก ใกล้ หลักสูตรไม่น่าจะต่างกันเท่าไร หรอกมั้ง ) พอเข้าไปเรียน บอกตรงๆว่าผิดหวัง อันนี้ไม่ได้เหมารวมว่า ม.ราชภัฏ ทุกแห่งจะแย่นะครับ แล้วก็ไม่ใช่ว่าม.ราชภัฏที่ผมเรียนอยู่ แย่ทุกสาขานะครับ แต่ที่ผมเล่าคือประสบการณ์ที่ผมเจอ ขอบคุณที่สละเวลาอ่านครับ
@SGhouldere
@SGhouldere Жыл бұрын
ผมเรียนวิทย์คอม ราชภัฏจังหวัดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ผมพึ่งจบปีแรกไปเอง แต่ความรู้สึกที่ได้มาตอนเรียนคือแบบ "นี่คืออาจารย์ที่จะสอนเราจริงๆหรอ" คืออาจารย์บางท่านสอนผิดๆถูกๆ มีความสารมารถในการสอนเรื่องง่ายๆให้กลายเป็นเรื่องยากๆได้จนนักศึกษาไม่เข้าใจ บางคนก็เข้าสอนบ้าง ไม่เข้าสอนบ้าง ไม่ได้ใส่ในการสอนนักศึกษา นึกอยากจะสอนก็มา ไม่อยากจะสอนก็หยุด ผมกับเพื่อนๆต้องมานั่งหาความรู้กันด้วยตัวเองหมดเลยครับ รู้เลยว่าถ้าอยากจบไปแบบคนมีความคิดที่ดี มีงานให้ทำ ผมต้องพึ่งตัวเองให้ได้ แทบหวังความรู้กับอาจารย์ผู้สอนหลายๆท่านไม่ได้เลยจริงๆ
@label1503
@label1503 Жыл бұрын
พี่ผมจบ​ ม.ดัง​ ส่วนตัวผมจบราชภัฏ​ ผมเลือกเรียนราชภัฏ​ด้วยตัวเอง​ เพียงเพราะอาชีพที่ผมจะเป็นผมเลยต้องเรียนราชภัฏ​ ส่วนเรื่อง​ บริษัท​ โรงงาน​ ประสบการณ์​เพื่อนผม​ ไปสมัครงานที่บริษัท​หลายๆแห่ง​ ส่วนใหญ่​ เขาจะมองหรือพิจารณา​ คนจบ​ ม.ดังๆก่อน​ ม.ราชภัฏ​อยู่ท้ายๆเลย​ ซึ่งหมายความว่า​ แค่โอกาส​ ก็สู้ยากมากๆ​ ต่อให้​ ทำวานเป็น​ แต่ใบเบิกทางหรือวุฒิ​ที่จบมาเป็น​ ม.ราชภัฏ​ ก็โดน​ มองไปอยู่ท้ายๆแล้ว​ เขาจะมองที่วุฒิ​ที่จบมาก่อน แต่ไม่ใช่ว่าเขาไม่เอาราชภัฏ​นะบางที่เขาก็ให้วัดคสามสามารถหลายๆอย่างก่อนเข้าทำงานก็มี​ สู้กันด้วยหน้างาน​ ถึง​ วุฒิที่จบมาจะต่างกัน​ ก็ตาม
@ครีมมี้-ฬ2ร
@ครีมมี้-ฬ2ร Жыл бұрын
ประสบการณ์ตรงของเรา ที่เรียนในโรงเรียนระดับมัธยม มีอาจารย์ที่จากหลายๆแห่ง เราเห็นชัดเลยว่าอาจารย์ที่มาจากมหาลัยดีๆจะเก่งมากทั้งมีความรอบรู้จริงและสอนเก่ง ส่วนอีกอันไม่อยากวิจารณ์เดี๋ยวจะหาว่าดูถูกเขา ทั้งที่มันเป็นเรื่องจริงตรงหน้า
Как подписать? 😂 #shorts
00:10
Денис Кукояка
Рет қаралды 7 МЛН
когда не обедаешь в школе // EVA mash
00:57
EVA mash
Рет қаралды 2,9 МЛН
哈莉奎因怎么变骷髅了#小丑 #shorts
00:19
好人小丑
Рет қаралды 52 МЛН
Остановили аттракцион из-за дочки!
00:42
Victoria Portfolio
Рет қаралды 3,6 МЛН
Как подписать? 😂 #shorts
00:10
Денис Кукояка
Рет қаралды 7 МЛН