ดราม่า ราชภัฏ VS จุฬาฯ แน่จริงลองสลับกันเรียน! เรียนที่ไหนก็เหมือนกันจริงหรือ?

  Рет қаралды 236,655

LuckFast

LuckFast

Күн бұрын

Ophtus เปิดตัวแว่นรุ่นใหม่ Exalted Stainless Steel Series มี 5 รุ่นด้วยกัน
วัสดุหรู ดูดี พรีเมียม เหมาะสำหรับคนทุกวัย
มาพร้อมโปรโมชั่นเปิดตัว ลดทันที 300 บาท
สามารถใช้ Code : LuckFast ร่วมด้วยจะได้รับส่วนลดอีก 100 บาท
และได้รับสิทธิ์ลุ้นรับ Playstation 5 ฟรี!
สอบถาม/สั่งซื้อ ได้ที่ : / ophtus
.
.
ติดต่องาน : luckfast.official@gmail.com
Facebook : / luckfastt
Tiktok : / luckfastt

Пікірлер: 1 200
@Sentosa8683
@Sentosa8683 2 жыл бұрын
ผมก็จบราชภัฏ ทั้งผมและเพื่อนๆ เข้าใจครับว่า ราคามันสู้มหาลัยดังๆ ไม่ได้ ทำใจกันตั้งแต่เรียนปี 1 แล้ว เวลาไปสมัครงานก็เคยโดนคัดออกแบบเห็นๆ มาแล้ว แต่อาศัยใจสู้ ต้องพิสูจน์ฝีมือมากกว่าคนจบมหาลัยดังๆ จนหลายๆ คน ตอนนี้เป็นระดับหัวหน้างานกันแล้วครับ สรุปการจบมหาลัยดังๆ มีผลมากๆ แต่เราก็สามารถพิสูจน์ให้เขาเห็นได้ การเรียนรู้ยังมีอีกหลายอย่างที่มหาลัยไม่ได้สอน สู้ๆ ครับ
@AojingdiDede
@AojingdiDede Жыл бұрын
แต่เราก็สามารถพิสูจน์ให้เขาเห็นได้ ถ้ามีเวทีมีโอกาสให้พิสูจน์ ส่วนมากโอกาสนั้นก็ให้คนจบม.ดังไปก่อน
@minemine4229
@minemine4229 2 жыл бұрын
จาก ประสบการณ์ เรียน ม.ดัง (ต่างฯ) mindset คือ ไม่ได้แค่เรียนอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นต้องการ connection เพราะ เป็นที่รวมอาจารย์ที่ทำงานจริงระดับสูงในสายอาชีพ และ เพื่อนแทบทุกคน มีหัวด้านธุรกิจ ถึงการแข่งขันสูงแต่ก็คุ้ม ผมไม่ได้บอกว่า ม.ทั่วไป ไม่ดีแต่ การเข้าถึงโอกาสแค่ต่างกันเท่านั้น
@Kizarumei-NC
@Kizarumei-NC 2 жыл бұрын
+1 ผมเรียน มรภ เพื่อนผม มทส ได้อาจารย์พาทำเว็ป metaverse ทำระบบหลังบ้าน ทำ fornt-end ได้ค่าจ้างไปแล้วเกือบ 2 หมื่น ผมที่เรียน มรภ สาขาเดียวกันแม่งอาจารย์ไม่พาทำอะไรเลย เหมือนที่คุณว่าเลย ม.ดัง หา connection ดีๆได้เยอะมาก ได้โอกาสพัฒนาตัวเองสูงด้วยซึ่งก็ใช่ว่าผมจะอยู่นิ่งๆ ผมก็มีเพื่อนต่าง มอ แล้วก็แลกเปลี่ยนความรู้ที่ ม. ไม่ได้ให้ก็อาศัยเพื่อน ม. อื่นนี้หละช่วยเลยล่ะกัน🤣
@kinglyking1461
@kinglyking1461 2 жыл бұрын
อีกอย่างคือ ม.ดังรวมเด็กหัวดีด้วยหล่ะ เพราะ มอพวกนี้คือคะเเนนต้องสูงมากๆเพราะเเข่งกันทั่วประเทศ
@user-ql8xt3tq8g
@user-ql8xt3tq8g 2 жыл бұрын
@@kinglyking1461 เวรกรรม ถามจริง 555 มหาวิทยาลัยม. ดังไม่ได้รวมพวกหัวกะทิหรอกแต่รวมพวกลูกคนรวยคนมีตังค์ มีPavorite ทั้งนั้น แล้วถ้าคุณจะมาอ้างว่าบางคนก็ สอบเข้า นู่นนี่นั่นใช่ครับแต่มันแค่บางคนไงมันไม่ใช่ทุกคน เพราะว่ามหาวิทยาลัยมดังๆมันจะมีโควต้าให้กับไอ้พวกลูกคนรวย ลูกข้าราชการ โอ๊ยเยอะแยะครับ จะมีคนที่สอบเข้าได้จริงๆก็ไม่เกิน 10 20 คนหรอก ที่เหลือยัดตังค์เข้าทั้งนั้นแหละ มันจะไปเก่งอะไร แล้วที่คุณบอกว่ามีแต่คนหัวกะทิมีแต่คนเก่งๆ ผมอยากรู้จังเลยว่าเก่งของคุณคือเก่งยังไง แบบไหนที่เขาเรียกว่าเก่งคิดเลขเร็วเนี่ยเก่งไหม เกรดเฉลี่ย 4.00 เพราะทำงานส่งทุกงานเก่งไหม แล้วพวกจุฬาเนี่ยเรียนจบมาเป็นหมอ คุณว่าหมอเก่งไหม ถ้าบอกว่าหมอเก่งจริงๆ ลองมาประดิษฐ์หุ่นยนต์แข่งกับผมไหม5555 พูดมาได้ยังไงมหาวิทยาลัยมดังๆรวมแต่คนเก่งๆหัวกะทิทั้งนั้น ถุยเก่งเห*้ยอะไร เก่งใช้ตังค์ละไม่ว่า555
@hadevzen164
@hadevzen164 2 жыл бұрын
จะเรียนที่ไหน จบมาทำงานก็มีmindsetเหมือนกันทุกที่คืออยากได้งานสบายแต่เงินเดือนสูง อยากมีผัวหล่อ รวย อยากมีคอนเน็คชั่นกับคนระดับสูงๆ อยากเที่ยวผับหรูๆ ถ่ายภาพอวดรวย ถ้ามหาลัยยังเหยียดกัน ยังรู้สึกแบบนี้กัน มีใครเคยนึกถึงคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาบ้าง คนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ ไม่มีวุฒิแม้แต่ไปสมัครงานพาสไทม์
@gumiginprara
@gumiginprara 2 жыл бұрын
@@hadevzen164 นั่นหน้าที่รัฐบาลครับ เราทุกคนแค่ต้องถีบตัวเองให้ไปอยู่ในที่ที่ดีสุด เท่าที่จะทำได้ และรัฐบาลประยุทธ์ไม่ทำส้นตีนอะไรเลย ยุคบรรหารสร้างกยศ ยุคทักษิณมี1ตำบล1ทุน ยุคอภิสิทธ์มีห้องเรียนพิเศษเรียนฟรี แต่ประยุทธ์ไม่มีการสร้างนโยบายด้านนี้เลย
@vpadampadampadam4164
@vpadampadampadam4164 2 жыл бұрын
ตอนเรียนราชภัฏผมก็คิดงี้แหละ โตมาก็ต้องยอมรับว่าแม่งต่างจริง ทั้งการศึกษา อุปกรณ์ ทัศนคติอาจารย์ การซัพพอร์ตของมหาลัย ราชภัฏด้อยกว่าเยอะ ตอนไปดูงาน ม.อื่นได้แค่อิจฉาอุปกรณ์เขาจริงๆ จากใจเด็กนิเทศราชภัฏ
@rtnsomphong712
@rtnsomphong712 2 жыл бұрын
บอกลูกบอกหลานครับ มหาลัยมีผลต่อการทำงาน
@fundeekongsuk7815
@fundeekongsuk7815 2 жыл бұрын
ดราม่านี้มาจากคำปราศรัยธนาธร
@fundeekongsuk7815
@fundeekongsuk7815 2 жыл бұрын
คุณโพสปั่นแน่เลย จบจากราชภัฏไหน?
@rtnsomphong712
@rtnsomphong712 2 жыл бұрын
@@fundeekongsuk7815 ลองจบละหาทำงานดูครับ แล้วจะรู้เองถ้าเรียนราชภัฏ การสมัครงานยาก เป้นตัวเลือกท้ายๆจริงๆ รีบเรียนให้จบ แล้วเข้าอยู่โลกความจริงครับมันไม่ง่ายเลย
@democracy741
@democracy741 Жыл бұрын
@@fundeekongsuk7815 ถ้าทำงานแล้วจะรู้คุณภาพของ ม. ว่าไม่เหมือนกัน
@tnkg4194
@tnkg4194 2 жыл бұрын
ผมคนนึงที่ติดโควต้า คหกรรมศาสตร์ มธ เชียงใหม่ ติดเอกศิลป์ที่ม. มหิดล แต่พ่อแม่ไม่มีเงินมากพอที่จะส่งได้ขนาดนั้น เลยตัดสินใจเรียนเทคโนภูมิศาสตร์ที่ราชภัฏพระนคร ด้วยตัวเอง แต่ก็ไม่เคยคิดว่าตัวเองถูกด้อยค่านะ เพราะไม่คิดว่าตัวเองไม่มีค่าอยู่แล้ว สังคมจะมองยังไงก็ช่าง เรามองตัวเราให้มีคุณค่า อย่าดูถูกความสามารถตัวเอง บางคนทำงานหรือมีอาชีพส่วนตัวไม่ตรงสายก็มีถมเถไป เพราะใบปริญญามันก็แค่ใบจบแต่ไม่ได้เป็นตัวการันตีประสบความสำเร็จในชีวิต เรียนจบแล้วมีงาน,มีอาชีพส่วนตัว,มีเงินใช้ มีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ลำบากไม่ขัดสน นั่นคือสิ่งที่ประสบความสำเร็จในชีวิตต่างหาก!! ผมก็ยังไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตหรอกนะ แต่แค่อยากบอกว่า ให้เห็นคุณค่าในตัวเองให้มากๆเข้าไว้นะ🙂
@auditorenostrum5168
@auditorenostrum5168 2 жыл бұрын
ติด มช จริงป่าว? ค่าเทอม มช ไม่แพง เผลอๆ คชจ จริงถูกกว่าที่คุณบอกว่าจบนะ
@gumiginprara
@gumiginprara 2 жыл бұрын
คุณติดมหิดลจริงหรอครับ ค่าเทอมมหิดลไม่ได้แพงเว่อมากนะครับ โดยเฉลี่ยถูกกว่าธรรมศาสตร์หลายพันเลย เพื่อนผมเข้าเรียนปี58 วิศวะยังค่าเทอมประมาณ13000เองครับ
@aekasit..silapot8111
@aekasit..silapot8111 2 жыл бұрын
เขาอาจจะยังไม่คิดค่าหอพักหรือเปล่าครับ เขาอาจติดจริง แต่เรียนราชภัฎอาจใกล้บ้าน ไม่ต้องเสียค่าหอพัก ค่ากิน
@auditorenostrum5168
@auditorenostrum5168 2 жыл бұрын
@@aekasit..silapot8111 กยศ มีครับ ถ้าติดจริง แล้วจะต้องเรียนมหาลัย ไม่ปล่อยให้เด็กมีคุณภาพไปง่ายๆนะครับ
@fundeekongsuk7815
@fundeekongsuk7815 2 жыл бұрын
ทัศนคติดี
@natwi1862
@natwi1862 2 жыл бұрын
เรียนที่ไหนไม่เหมือนกันหรอก มหาลัยเดียวกันเรียนคนละเซค อาจารย์คนละคนยังได้แนวข้อสอบไม่เหมือนกันเลย😂😂😂😂
@9vs8
@9vs8 2 жыл бұрын
เรียนที่ไหนก็เหมือนกันแหละ จบออกมาทำงานไม่ตรงสายและตกงานเหมือนกัน ที่สำคัญเยอะซะด้วย
@logannn007x
@logannn007x 2 жыл бұрын
จริงค่ะ แม้จะเป็นหลักสูตรเดียวกันแต่อาจารย์แต่ละคนสอนไม่เหมือนกันก็ต่างกัน ไหนจะสังคมที่ไปเจออีก คอนเนคชั่นอีก อย่างไงก็ไม่เหมือนกัน
@ajisai4236
@ajisai4236 2 жыл бұрын
@@9vs8 เหมือนกันไงเอ่ยยย หลักสูตรแต่ละที่แต่ละม.มีเหมือนกันไหมละ ถ้ามีเหมือนกันค่อยพูดว่าเหมือนกัน(หรือต่อให้มีเหมือนกันแม่งก็ไม่เหมือนอยู่ดียังงงงงงงงไงงงงงงงงมันก็ไม่เหมือนกัน) มันมีรายละเอียดยิบย้อยเยอะแยะ คอนเนคชั่นสำคัญนะคุณ ถ้าคุณไปสมัครงานเขาไม่ดูนิสัยก่อนหรอกเขาก็ดูหน้าตาก่อนทั้งนั้นปกสำคัญกว่าเนื้อหาข้างในจริงไหม มันต้องดึงดูดในสายตา โลกเรามันคือทุนนิยมนะคุณ หรือไม่รู้ ถ้าเขาจะเลือกคนเขาก็ต้องดูเนื้องานด้วยว่าคนนี้ได้มั้ย ต่อให้คนไม่ได้ลงมือทำจริงแต่ทฏดีเขาแน่น อีกอย่างม.บางม.เขาก็มีให้ฝึกงานปี3 ปี4แล้ว คนที่ตกงานกี่คน คนที่ประสบความสำเร็จกี่คนได้ลองไปดูตัวเลขจริงๆมั้ย ไอที่บอกว่าเยอะเท่าไหร่ คิดเป็นกี่%ของอีกด้าน เยอะของคุณกับของคนอื่นมันไม่เท่ากันอันนี้เข้าใจ แต่พวกคนตัวโตๆแม่งไม่สนใจพวกที่ถูกทิ้งไว้หรอก เนี่ยแหละที่เรียกว่าคน โลก ทุนนิยมสัส
@goteborg1266
@goteborg1266 2 жыл бұрын
@@9vs8 บางคนเรียนมา ละสายที่เรียนไม่มีงานรองรับมากพออีก ตลกร้ายจริงๆแหละ
@zerozero6654
@zerozero6654 2 жыл бұрын
ก็จริงอะ เพราะงั้นที่สำคัญเลยคือไปหาข้อมูลว่ามหาลัยที่ไหนสอนวิชาอะไรที่เราชอบมั่ง เช่น ใครชอบเกี่ยวกับ 3dเกม ก็ไปเรียนวิทยาลัยสื่อmadอะไรงี้ คือมหาลัยแต่ละที่ก็มีวิชาเฉพาะน่ะนะ
@dglimpse9199
@dglimpse9199 2 жыл бұрын
อย่างแรกคือ คนที่มีประเด็นต้องเข้าใจก่อนว่าสังคมเรามีการแข่งขันตลอดเวลา มหาลัยที่มีชื่อเสียงเด่น มีดีกรี ก็ไม่แปลกที่จะได้รับการชื่นชมหรือถูกพิจารณาก่อน
@pj16238
@pj16238 2 жыл бұрын
การเรียนแต่ละที่ มันให้ความรู้สึกไม่เหมือนกันหรอก ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนต่างมีธงในใจว่าที่ไหนดีกว่ากัน แต่สิ่งนึงที่ทุกคนมีเหมือนกัน คือเกียรติของความเป็นคน จะเรียนที่ไหนก็เป็นคนเหมือนกัน ถ้าให้เกียรติซึ่งกันและกัน ก็คงไม่มีปัญหาอะไรแบบนี้
@RNRDSW
@RNRDSW 2 жыл бұрын
คอมเม้นนี้ดีค่ะ ธงในใจต่างกัน อย่าเบียดเกินงามก็พอ
@maomihayashi1981
@maomihayashi1981 2 жыл бұрын
ใช่เลยค่ะธงในใจแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางทีเขาก็พอใจกับม.ที่เขาอยู่ อย่าเถียงกันให้เสียเวลาเลยโต้เถียงเรื่องนี้ไปก็ไม่มีประโยชน์กับชีวิต
@zerozero6654
@zerozero6654 2 жыл бұрын
อันนี้โครตจริง
@sugarcane3207
@sugarcane3207 Жыл бұрын
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เราเรียนเอกชนเพราะครอบครัวบอกว่าไหว จบออกมาก็ได้ทำงานณ บริษัทแห่งหนึ่งในกทม. แปลกแต่จริงค่ะ สมัครงานพร้อมกัน ของราชภัฎคือแยกใบสมัครออกและไม่มีการเรียกสัมภาษณ์ (มารู้ตอนที่ได้เข้าทำงานแล้วนะคะ) ฝ่ายบุคคลบอกว่าเป็นนโยบายของบริษัท เห็นแล้วสงสารค่ะความคิดแบบนี้ควรเปลี่ยนได้แล้ว
@democracy741
@democracy741 Жыл бұрын
@@sugarcane3207 ถ้ามี ฬ ใบสมัครของคุณก็จะโดนแยกออก ตามคุณภาพ ต้องยอมรับความจริง
@montringaodat
@montringaodat 2 жыл бұрын
1.อย่าไปเยียดคนอื่น 2. ต้องยอมรับความเป็นจริง 3.ตั้งใจเรียน และ ออกมาทำงานพิสูจน์ตัวเองให้ได้
@HappyZ00
@HappyZ00 2 жыл бұрын
ใช่ครับ นอกจากสามข้อนี้แล้ว ก็อย่าดูแคลนตัวเอง ความรู้หาได้ตอลอดเวลา เมื่อเราพร้อมจะเรียนรู้เราจะแสวงหา จะเรียนที่ไหนก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาตน และเช่นเดียวกัน จะเรียนที่ไหนก็ตาม หากหยุดพัฒนาตนก็ได้แค่นั้นแหละ
@TheNature53
@TheNature53 2 жыл бұрын
เราจบราชภัฏ เอก ภาษาอังกฤษ ก่อนจบมีแต่คนดูถูกต่างๆนาๆ ว่าหางานยากอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เรามีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจ แต่ฝึกฝนทักษะตัวเองอยู่ตลอด จนมีโอกาสได้ทำงานดีๆ เช่น ได้เป็นผู้ช่วยท่านทูตอยู่อเมริกา 2 ปี ต่อมาอยู่อเมริกาและเรียนคณิตศาสตร์เพิ่ม และสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูที่อเมริกาได้ รายได้และสวัสดิการได้มากกว่าผู้ช่วยท่านทูต เราเลยยึดอาชีพนี้จนเดี๋ยวนี้
@AojingdiDede
@AojingdiDede Жыл бұрын
อาชีพเดียวกับคุณจบราชภัฎกี่คน จบ จุฬา มธ กี่คน เทียบสัดส่วน แค่นี้ก็เห็นแล้วว่าความจริงมันเป็นอย่างไร
@user-br6mt8ti3n
@user-br6mt8ti3n Жыл бұрын
​@@AojingdiDedeเด็ก ม.ดังก็อย่างนี้แหละอีโก้สูง คิดว่าตัวเองอยู่เหนือคนอื่น
@physicalteaklay
@physicalteaklay 10 ай бұрын
@@user-br6mt8ti3nไม่ได้คิดเอง สถิติมันบอกอยู่ว่าเป็นเรื่องจริง
@user-fi9xi3or5w
@user-fi9xi3or5w 5 ай бұрын
​@@user-br6mt8ti3nจริง😂😂😂
@natrapa
@natrapa 5 ай бұрын
@@user-br6mt8ti3nก็อยู่สูงกว่านะ ไม่ใช่หรอ?55555555
@user-qn8iq2lr2c
@user-qn8iq2lr2c 2 жыл бұрын
เครียดแค่ไหนก็ยังขายแบบไหลลื่นจริงๆ "เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน" ไม่จริงค่ะ แต่สำหรับเรา "แม้แต่เรียนห้องเดียวกันยังแตกต่าง" เพราะพื้นฐานและความคิดต่างกัน แต่ละคนมีวิธีเรียนไม่เหมือนกัน แค่นี้ก็ต่างแล้วนะคะ
@AojingdiDede
@AojingdiDede Жыл бұрын
ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่โหดร้าย คนอ่อนแอมักจะยอมรับไม่ได้
@phiraphatkhongyot9844
@phiraphatkhongyot9844 2 жыл бұрын
เราเรียนจุฬาฯ ไม่เคยเรียนพิเศษ หาเงินเลี้ยงตัวเอง วางแพลนหาทุน อยู่หอใน เราว่ามันอยู่ที่การวางแผน และความพยายามที่เต็มที่ของเรา อย่าดูถูกความพยายามของนิสิต #จงสร้างค่าของตนจากการกระทำ #ขอบคุณจ้าาาา
@yahbanamyuk2133
@yahbanamyuk2133 2 жыл бұрын
ยังยืนยันอีกเสียงงว่าเรียนที่ไหนก็ไม่เหมือนกัน เราเรียนคณะวิทย์ ม. นึงเด็กในคณะ 200-300 คน แต่อุปกรณ์ไม่พอสำหรับเด็กพอเรียนปฏิบัติจริงอุปกรณ์ 1 ชิ้นต่อเด็ก 6-7 คน ถามจริงกลุ่มนึงได้ลงมือทำจริงกี่คน ต่อให้ ม. ดีขนาดไหนแต่ถ้าไม่ได้ลงมือทำจริงๆ หรือคนโอเวอร์โหลดกับอุปกรณ์จะมีกี่คนที่เก่งทั้งปฏิบัติและทฤษฎีอ่า 👀
@generation5072
@generation5072 2 жыл бұрын
ตอนเราเรียน มหาลัย ซึ่งเป็นมหาลัยของภาครัฐ เราบอกเลยความคิดของอาจารย์และนิสิตนักศึกษา รวมถึงสภาพแวดล้อมแตกต่างกับมหาลัยชื่อดังและค่าเทอมแพงๆเยอะเลยค่ะ อาจารย์ที่สอนเราคืออาการหนักมากค่ะ แกไม่คิดจะสอนเลยด้วยซ้ำ แถมยังดูถูกนิสิต ด่า ประจาน สารพัดเลยค่ะ เอาแต่บอกว่า น้ำหน้าอย่างพวกคุณทำไม่ได้หรอก งัดงานของมืออาชีพมาโชว์แล้วก็บอกกับนิสิตว่าเนี่ย แบบเนี่ยพวกคุณไม่มีวันทำได้หรอก แต่ไม่ต้องห่วงนะผมไม่คิดจะสอนอะไรพวกคุณหรอก อยากรู้ก็เปิด Google เอาเอง ทดลองทำเอาเอง ผมมีหน้าที่แค่ Control งานและสั่งงานเท่านั้น จะได้ไม่ได้ก็โทษที่ตัวพวกคุณมันไร้ความสามารถเอาเองละกัน แบบนี้เลย
@pandy9868
@pandy9868 2 жыл бұрын
แย่มาก อาจารย์เคยหนังหัวหลุดมั้ยคะ ถ้าเป็นสมัยนี้มีหยุมหัวแน่
@natthaong
@natthaong 2 жыл бұрын
อาจารย์แกคงคิดว่าตัวเองเป็นหัวหน้าคนงานล่ะมั้ง สงสัยไม่อยากเป็นแม่พิมพ์ของชาติเพราะต้องใช้ความพยายามมาก คงสูงส่งเกินไปเป็นสิ่งที่เอื้อมไม่ถึง
@Pornratcha
@Pornratcha 2 жыл бұрын
อันนี้รวมตัวกันแจ้งให้ไล่ออกไปเลยน่าจะได้นะ แต่ต้องถ่ายหลักฐานก่อน
@JohnKickboxing
@JohnKickboxing 2 жыл бұрын
เจ้าของบริษัท Flash Express ก็เคยเรียนราชภัฏฯ ยิ่งคนดูถูกนั่นล่ะ ก็ยิ่งดี พอรู้ตัวว่าคนอื่นคิดลบๆ กับเรายังไง ก็จะได้กระตือรือร้นพัฒนาตัวเอง คนส่วนใหญ่ที่เรียนจบจากมหาลัยฯ ดังๆ ส่วนใหญ่มักลงเอยด้วยการสมัครเป็นพนักงาน ลูกจ้าง (เท่าที่เห็นอะนะ) เพราะคิดกันง่ายๆ ว่าจบมาแล้วบริษัทไหนก็อยากรับเข้าทำงาน + เงินเดือนดี + สังคมนับหน้าถือตาด้วย เค้าก็เลยพอใจแค่การเป็นลูกจ้าง/พนักงาน หรือพอใจกับ เงินเดือนแค่นั้น (แต่ก็ยังเงินดีกว่า ม. ที่ไม่ดัง)
@sunflower-oj2lp
@sunflower-oj2lp 2 жыл бұрын
ค่าเทอมก็แพง เจออาจารย์แบบนี้ มันน่า…. อาจารย์แบบนี้แย่มาก
@grapewipa1142
@grapewipa1142 2 жыл бұрын
ฬ. ไม่มีวันให้เด็กไม่ได้เรียน เพราะไม่มีเงิน มหาวิทยาลัยมีทุนพร้อมมาก ขอเเค่สอบเข้ามาให้ได้
@kritsakorn6221
@kritsakorn6221 2 жыл бұрын
ใช่ ผมเด็กฬ ไม่ได้เก่งเวอร์เหมือนคนอื่นๆ แต่ผมเข้ามาผมได้ทุนเรียนฟรีปีนึงแล้ว
@KTSam
@KTSam Жыл бұрын
ยืนยัน​อีกเสียงจากใจเด็กจุฬา​รุ่นหลาย10ปี​ แค่บอกเพื่อนว่าจะไม่มีเงินเรียนต่อที่บ้านก็มีปัญหา​ ทั้งอาจารย์ทั้งเพื่อนๆต่างช่วยกัน​ ทุนได้อยู่แล้ว​ ค่ากินรายเดือน​ กินข้าวอาหารฟรี​ เพราะมีโครงการจากร้านอาหารช่วยเด็กยากจนกับมหาลัย​ ไหนจะเพื่อนเอางานพิเศษ​จากบ้านมาให้ทำ อย่าลืมนะครับ​ เด็กจุฬาส่วนใหญ่ถานะดี​ เจ้าของกิจการเยอะ​ เพื่อนจะได้มีค่าขนมเพิ่มหรืออยากซื้ออะไรเพิ่ม​ สมัยเรียนมีเพื่อนในกลุ่มได้ทุนจุฬาช้างเผือก​ แต่เวลาเพื่อนไปกินไหนก็ลากพาไปด้วย​ เพื่อนๆเลี้ยงได้​ เวลาไปกินข้าวข้่างนอกผมเลี้ยงตลอด​ ช่วยๆกันจะได้เรียนจบ​ ไปมีครอบครัว​ที่ดีเป็นกำลังให้ประเทศ​ต่อ​ ยืนยัน​ครับแค่สอบเข้าให้ได้​ และสามารถที่จะเรียนได้​ เพราะการแข่งขันสูง​ เหมือนสอบเอนทรานซ์​มันทุกวัน​
@pr1nzex
@pr1nzex 2 жыл бұрын
คนจน คนรวย ไอโฟน มือถือจีน คนกรุงเทพ คนต่างจังหวัด ม.รัฐ ม.เอกชน โรงเรียนวัด โรงเรียนอินเตอร์... รถญี่ปุ่น รถยุโรป ต่อให้เราพยายามทำให้ทุกอย่างมันดูเสมอกัน เท่าเทียมกันมากเท่าไหร่ แต่ลึกๆในใจก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายๆอย่างแม่งก็แบ่งชนชั้นทางสังคมไทยแท้อยู่ดี แค่ช่างแม่ง แล้วก็ใช้ชีวิตต่อไป
@birdfirephoenix2481
@birdfirephoenix2481 2 жыл бұрын
จริงๆ จบที่ไหนก็เฉยๆนะ อยู่ที่ตอนทำงานสามารถทำได้ เรียนรู้ไว และคุยกันรู้เรื่อง แต่ถ้ามองไปที่หลักสูตรผลงาน มหาลัยดังจะมีภาษีเรื่องพื้นฐานความรู้ที่แน่นกว่าแน่นอนในเวลาทำงาน ต่างกับมหาลัยอื่นๆที่ไม่ดังอาจจะต้องมาปูพื้นฐานสอนงาน ไหนจะต้องดูนิสัยโอเคไหมบลาๆ แบบสอนงาน 1 เดือนได้ กับ 3 เดือนได้ ก็อาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์เด็กจบใหม่จากมหาลัยนั้นๆ
@freindofdorothy5822
@freindofdorothy5822 2 жыл бұрын
เอาจริงๆ เด็ก ม.อื่นๆ ที่ไม่ใช่ ม. ดังเก่งๆก็มี... แต่หายากมากอ่ะค่ะ HR เวลาจัดเด็กให้เราเปรียบเทียบมาหลายรุ่น คือ โอกาสที่ได้เด็กเก่งจาก ม.ดัง มันง่ายกว่า มีโอกาสได้เด็กเด็ดๆ มากกว่า... คือ หลายคนบอก ก็เอามาสอนงานสิ ถ้าไม่ให้โอกาสแล้วเขาจะเก่งได้เหรอ ... แต่ระหว่างคนที่มาแล้วแทบไม่ต้องสอน กับที่ต้องมาสอนใกล้ชิด เราขอทำตัวเป็นคนขี้เกียจรักสะดวก เอากลุ่มแรกดีกว่าอ่ะค่ะ
@AojingdiDede
@AojingdiDede Жыл бұрын
อาจจะต้องมาปูพื้นฐานสอนงาน นายจ้างคงจะมีเวลามีทุนมากพอสอนละมังครับ นึกถึงตัวเองลงทุน 100 ได้กำไร 100 กับลงทุน 100 ได้กำไร 1000 ในเวลาเท่ากันจะเอาอันไหน
@user-br6mt8ti3n
@user-br6mt8ti3n Жыл бұрын
ความรู้แน่นก็ไม่ได้แปลว่าทำงานเก่งนะครับ
@koz6seth997
@koz6seth997 7 ай бұрын
@@user-br6mt8ti3n แต่ไม่มีความรู้เลย มันก็แปลว่า ไม่มีความพยายามจะเรียนรู้ห่าไรเลย แต่แรกรึเปล่าครับ แล้วจะทำงานเก่งได้หรอ โอเค อาจทำงานเก่ง แต่ทัศนคติก็ไม่น่าได้แล้วครับ
@natrapa
@natrapa 5 ай бұрын
@@user-br6mt8ti3nไม่จริงครับ คนโง่จะไปทำอะไรได้
@Eremez
@Eremez 2 жыл бұрын
มองเป็น 2 ประเด็นครับ 1."เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน" ความเห็นผมบอกเลยว่าไม่เหมือนกันแน่นอนครับ หลักสูตร สิ่งแวดล้อม สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก ไม่เหมือนกันแน่นอน 2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความเห็นผมมองว่าเรื่องนี้จะไปโทษการศึกษาเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ครับ ปัจจุบัน นักเรียนที่โตไปเป็นนิสิตหรือนักศึกษา ก็มีความขยัน มีความตั้งใจ หรือประสบการณ์ในการเติบโตไม่เหมือนกัน หลายๆครั้ง เห็นเด็กฐานะที่บ้านพร้อม ได้เรียนที่ดีๆ ก็ใช่ว่าจะประสบผลสำเร็จหากเด็กคนนั้นไม่ได้ผ่านการเรียนรู้ให้รู้จักทัศนคติที่ดี หรือบางคนที่พบ ประสบแต่ความย่ำแย่ เห็นพ่อแม่ลำบาก เลยตั้งใจเรียน ค้นหาช่องทางเพื่อให้ตนได้เรียน จนสอบชิงทุนต่างๆ หรือบางรายสอบติด มหาลัยดังๆสมความพยายาม ไม่มีเงินเรียน ยอมทำงานหาเงินเรียน ก็มีให้เห็น ที่กล่าวมาทั้งหมด ผมสรุปได้ว่า สิ่งสำคัญที่ควรปลูกฝัง ไม่ใช่มุ่งแต่ต้องได้เรียนที่ดีๆ ตั้งใจเรียน เข็นเรียนพิเศษ แต่ควรต้องเน้นเรื่องของการเติบโตทางมุมมอง การผ่านความล้มเหลวในวัยเด็ก อาจไม่เลวร้ายและเป็นบทเรียนให้เขาเติบโตในวันข้างหน้า สุดท้ายเป็นกำลังใจให้เด็กๆในยุคนี้ เห็นคุณค่าของตน พอใจในโอกาสที่เราทำได้ และ ทำตนให้มีคุณค่าด้วยตนเอง
@palmm8387
@palmm8387 2 жыл бұрын
เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน...มันไม่จริงหรอกครับ ตอนแรกผมก็คิดแบบนั้นถึงได้เข้ามาเรียนราชภัฏ จนกระทั่งได้เข้ามาเรียนจริงๆ อาจารย์บางคนก็ไม่มีความพร้อมในการสอนถึงเวลาสอนให้งานแล้วตัวเองไปนั่งเล่นโทรศัพท์ก็มี เข้าใจว่ามหาลัยแล้วต้องขวนขวายหาความรู้ด้วยตัวเองนะแต่แบบคือบางอย่างจะถามอาจารย์ อาจารย์ตอบกลับมาว่า ก็ผมให้คุณไปหาแล้วศึกษามาเองไง คือบางทีมันหาอ่านมาแล้วไม่เข้าใจอ่ะจารย์!!! เพื่อนร่วมห้องก็ไม่ใส่ใจงานที่อาจารย์สั่ง งานกลุ่มฉันยังต้องทำคนเดียวอยู่เลย บอกให้ช่วยก็บ่ายเบี่ยง หัวจะปวด
@masterthesims7968
@masterthesims7968 2 жыл бұрын
แนะนำให้ไปโหลด Thesis ของแต่ละมหาวิทยาลัยมาอ่าน แล้วจะพบคำตอบเลยว่ามันต่างกันจรงๆ
@nikanja5323
@nikanja5323 2 жыл бұрын
+
@user-ro6vt2ws2u
@user-ro6vt2ws2u 2 жыл бұрын
โหลดยังไงคะหนูทำไม่ได้ป็นค่ะ
@kitas3612
@kitas3612 2 жыл бұрын
5555 คำตอบนี้ฟาดหัวแบ๊ะเลย
@apaluiliw
@apaluiliw 2 жыл бұрын
+1
@wiboonssakhon7132
@wiboonssakhon7132 2 жыл бұрын
อันนี้จริง
@user-rh4zl5hw3m
@user-rh4zl5hw3m 2 жыл бұрын
ชาวเน็ตดุเดือด​มากในไอจีดูแล้วเข้มข้น​ดีมาก​5555
@user-gn9ig4uc4t
@user-gn9ig4uc4t 2 жыл бұрын
คนไม่เก่งจบจากจุฬามี คนเก่งจบจากราชภัฏก็มี แต่คือประสบการณ์ในการเรียนมันต่างกัน การสอนมันต่างกัน สังคมมันก็ต่าง ประสบการณ์ทำงานเคยเรียนมาต่าง มันจะเท่ากันได้ยังไง แถมจุฬาสอบเข้ายากมากๆเลยด้วยไม่แปลกที่เวลาสมัครงานถึงมองมหาลัยจุฬาก่อน
@user-cx3zp9wo3i
@user-cx3zp9wo3i 2 жыл бұрын
@@melgergood มีเหตุผลหน่อยดิอย่าเอ๋อ
@freindofdorothy5822
@freindofdorothy5822 2 жыл бұрын
เอาจริง พูดถูกต้องเลยค่ะ.... แต่ปัญหา คือ เวลา HR เสนอเด็กมาให้เราเลือก แม้เกรดเท่ากัน แต่เด็ก ม.ดัง มีโอกาสที่ได้เด็กเด็ดๆ เก่งๆมาเลยมากกว่าอ่ะค่ะ ไม่ใช่ว่า ม.รองๆ มาไม่เก่งนะ แต่สมมติส่งเด็ก ม.รอง มา 5 คน... จะมีเก่งสักคน หรืออย่างมาก 2 คน ในทางกลับกัน เด็ก ม.ดัง จะได้เด็กเก่ง 3-4 คน สบายๆ ... เราสงสารเด็กเก่งใน ม.รองนะ แต่ในภาพรวมที่ผ่านมา ม.ปล่อยเด็กจบมาแบบไม่มีคุณภาพเยอะไป - -* เด็กเก่งที่ตั้งใจก็เลยซวย ต้องรับภาพลักษณ์สถิติแย่ๆ ติดตัวมาด้วย ม.ผิดค่ะ
@user-ww4cb6yf5m
@user-ww4cb6yf5m 2 жыл бұрын
@@freindofdorothy5822 อาจจะเป็นเพราะ ratio ด้วยหรือเปล่าครับ ม.ดัง อาจจะเด็กที่เก่งที่ต้องการได้ในอัตรา 1:3 ในขณะ ม.ที่ระดับรองๆลงมาอาจจะเจอที่ 1: 20 priority ในการรับเข้าคือเลือก ม.ดังก่อนเพราะตัวเลือกมีความมั่นคงสูง/safe กว่า เว้นแต่ว่ามีการทดสอบแล้วเด็ก ม รองๆดันทำผลงานออกมาดีกว่า แต่ บ. อินเตอร์หลายๆที่เดี๋ยวนี้ก็ค่อนข้างเปิดรับนะครับ หลายๆที่ผมก็เจอราชภัฏเก่งๆหลายคนนะครับ ผสมๆกับคนที่มาจากเอกชนกับ ม.ดังก็มีครับ
@Icu970
@Icu970 2 жыл бұрын
สอบเข้ายากจริง เพื่อนเราเกือบทั้งห้องไปอยู่จุฬาหมด
@user-wz6sj3hq1q
@user-wz6sj3hq1q 2 жыл бұрын
@@melgergood ไม่เลอะหรอก ก็สมัครงานง่ายจริงๆหนิ เพิ่งเรียนจบ ละก็ไม่ได้รู้สึกว่าหางานบริษัทต่างชาติยากนะ ถึงจะช่วงโควิดก็เถอะ ไม่มีผลไรหรอก 🤓🤓 อยู่จุฬาจ้าาาา แล้วก็ภูมิใจมากด้วย🤪🤪
@whenachefbecomeahobo9731
@whenachefbecomeahobo9731 2 жыл бұрын
ไม่ต่างกันได้ยังไง? เเค่ความยากในการเข้าเรียน สภาพแสดล้อมในการเรียน คุณภาพบุคลากรก็ต่างกัน จำนวนนักเรียนก็ต่างกันหลายพันเท่า มันต้องเหลื่อมล้ำอยู่เเล้ว คุณภาพ ศักยภาพต่างกันอยู่เเล้ว ผมก็เคยจบราชภัฏ ไม่กล้าเอาตัวเองไปเปรียบกะจุฬาหรอก บ้ารึเปล่า อยากเเก้ให้ ทุกสถาบันเท่าเทียมกันอย่าไปเเขวะที่ตัวนักศึกษา หรือสถาบัน ไปเเขวะรัฐบาลนู่น
@user-sc8oc1fh6n
@user-sc8oc1fh6n Жыл бұрын
ยืนยันเลยว่า เด็กจุฬา​ไม่เคยเหยียด(เราร่วมงานกับพวกเค้าเยอะ)ส่วนใหญ​่คนที่เหยียดเป็นคนนอกทั้งนั้น อย่างป้าข้างบ้าน ชอบมาบลัฟน้องอีกคนนึง ที่เรียนราชภัฏ​ว่า เรียนไม่เก่ง เรียนอ่อน ลูกเค้าติดจุฬา ได้ทุนนู้นนี่นั่น บลา บลา ~~​ ทั้งๆทีลูกเค้าทีเรียนจุฬา ไม่เคยมาพูดอะไรแบบนี้เลย น้องเฟรนลี่มาก อีกเรื่องนึง จาก ประสบการณ์​จริงของเรา ตอนทำฝ่ายบุคคล หน.เคยสั่งให้ปัดตก เรซูเม่​ของคนที่จบราชภัฏ​ไปเลย เราเพิ่งเข้างานใหม่ๆไม่กล้าถามเหตุผลเค้าหรอก เดี๋ยว​เค้าจะว่าไม่ใช่หน้าที่อย่าถาม สรุปก็คือตอนนั้น คนจบราชภัฏ​ไม่มีสิทธื์​ทำ ตำแหน่งนั้นในบริษัท​ทีเราทำ TT_TT_TT
@GGeologistP
@GGeologistP 2 жыл бұрын
คนที่เขาเก่ง, เขาไม่เสียเวลามานั่งเถียงกันนะว่าจบจากไหน ถ้าคุณเป็นคนเก่ง มีความสามารถ คุณจะหาโอกาสให้ตัวเองแสดงความสามารถและแสดงศักยภาพความเก่งของตัวเองได้
@stevea5209
@stevea5209 2 жыл бұрын
บางทีไม่ไช่แค้่ไม่เก่ง เราว่าเป็นเพราะบางคนเป็น A loser หรือภาษาไทยเรียก ขี้แพ้ชวนตี หรือ แพ้แล้วพาล ไม่รู้สุภาษิตไหนเข้ากับSituation นี้ คือพวกที่พูดสวยๆหลอกตัวเองว่า ทุกสถาบันเหมือนกันก็พวกที่เพิ่ง Disappointed กับการสอบเข้า ม ดัง นั่นแหละ แล้วมาพูดแบบนี้
@blackflamesmill5856
@blackflamesmill5856 Жыл бұрын
ผมมีเพื่อนที่เรียนโคตรเก่ง แต่มันเลือกเข้าคุรุศาสตร์ราชภัฏด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าสอบบรรจุได้เรียนที่ไหนก้เหมือนกัน แล้วก้ไม่ต้องมานั่งเครียดกันความยากของหลักสูตรด้วย สุดท้ายก้สอบไม่ได้ และผมก้รู้จักรุ่นน้องที่เรียนเอกภาษาจีน ตอนมอปลายมันเรียนวิทย์คณิตมันมีเพื่อนที่เรียนเก่งกว่า แต่มันสอบได้มหาวิทยาลัยที่ดีกว่า ส่วนเพื่อนมันเลือกเข้าราชภัฏใกล้บ้าน จบมามันได้ที่ทำงานแล้วก้จะฝากเพื่อนตัวเองเข้าทำงาน แต่คนที่เขาสัมภาษณ์งานเขาไม่รับ ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อนมันสื่อสารไม่คล่อง ผมเคยลองวิเคราะห์ดูแล้ว รุ่นน้องผมถึงไม่ได้เรียนสายภาษาจีนมาตั้งแต่มอปลายแต่มันอยู่ทามกลางคนที่สื่อสารคุยกับคนจีนได้ มีเพื่อนที่มาจากโรงเรียนจีน บางคนรับงานเป็นล่าม มันเลยมีส่วนช่วยพัฒนาให้รุ่นน้องผมเก่งขึ้น ส่วนเพื่อนมันไปอยู่สังคมที่สบายกว่าแรงกดดันน้อยกว่า การที่คนจะพัฒนามันก้น้อยกว่า ผมมองว่าคนโดยทั่วๆไปก้จะไหลในสังคมที่ตัวเองอยู่ ถ้าอยู่ในที่ๆพร้อมกว่า การพัฒนามันก้ต่างกัน แต่ก้ไม่ได้แปลว่าคนเรียนราชภัฏจะไม่มีโอกาสเก่งได้เลย คนบางคนรู้ถึงข้อนั้นก้ยังมุ่งพัฒนาตัวเองให้เก่งก้มี คนส่วนใหญ่มักจะไหลไปตามสังคมมหาวิทยาลัยมันก้เลยมีผลต่อความเก่งของตัวบุคคลนั่นแหละครับ
@mabel_2312
@mabel_2312 2 жыл бұрын
ไม่เหมือนออะ ออฟฟิศผมราชภัฐมาตรวจหนักมากถ้าไม่มีประสบการณ์ เด็กจบใหม่ราชภัฐรับมาหลายคนครับ ไม่ไหวจริงๆ แต่คนที่ไหวก็มีครับเลยรับแต่คนมีประสบการณ์ง่ายกว่าไม่มี
@user-jo9yd4ku9y
@user-jo9yd4ku9y Жыл бұрын
ผมจบมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี เป็นผู้จัดการโรงงานที่ไทย2แห่ง ปัจจุบันเป็นผู้จัดการโรงงานที่ต่างประเทศ ปีนี้ปีที่11 ภูมิใจมากครับ
@craftert95
@craftert95 2 жыл бұрын
คะแนนผมถึงจุฬาแต่ผมไม่ได้เลือก เพราะไม่ใช่คณะที่ผมอยากเรียน ผมเลือกคณะที่ผมชอบในมหาลัยโนเนม ตอนนั้นไฟผมแรงมาก ผมไม่สนมหาลัย ผมสนแค่คณะที่ผมชอบ พอไปเรียนก็จะมีเสียงนกเสียงกามาวิจารณ์ถึงมหาลัยผม แรกๆ ผมก็ทนได้ หลังๆ ผมเองก็จิตตกเหมือนกัน ผมเริ่มรับไม่ค่อยได้ ที่จะต้องฟังคนอื่นมาพูดลบๆใส่ทุกวัน คนรอบข้างผมไม่มีใครสนหรอกว่าจะเรียนคณะอะไร เขาสนแค่เรียนมหาลัยอะไร จุฬาคือพระเจ้าสำหรับพวกเขา บางคณะก็ไม่ได้คะแนนสูงขนาดนั้น สำหรับน้องที่กำลังสับสนเรื่องคณะหรือมอสำคัญกว่า เอาเป็นว่าสำคัญทั้งคู่ ถ้าได้มอดีและคณะที่ชอบ มันจะดีมาก ถ้าคะแนนไม่ถึงคณะที่ชอบในมอดี แต่คะแนนถึงในคณะอื่นในมอดีๆ ผมแนะนำให้ทบทวนซ้ำๆ ให้แน่ใจว่าอยากเรียนคณะที่ชอบนั้นมากแค่ไหน คิดดูให้ดี แต่ถ้าน้องเป็นคนจิตใจแข็งแกร่งแล้วไม่หวั่นไหวกับคำพูดคนก็เลือกเลย
@up5866
@up5866 2 жыл бұрын
สำหรับเราเราว่า เลือกคณะที่ชอบมันสำคัญกว่านะถ้าเรียนคณะไม่ชอบ แต่เป็นม.ดังมันก็ตัดความสุขเราอยู่ดี สู้เรียนคณะที่ชอบแล้วไปหาทำงานต่างประเทศดีกว่าเพราะต่างประเทศเค้าไม่สนหรอกว่าคุณจบมาจากที่ไหน ม.จุฬา ม.ราชภัฏเค้าไม่รู้จักหรอกเค้าสนแค่เกรดกับความสามารถคุณแค่นั้น
@mawinz7308
@mawinz7308 2 жыл бұрын
ใบ้หน่อยได้มั้ยครับว่าม.อะไร
@physicalteaklay
@physicalteaklay 10 ай бұрын
เดี๋ยวนะครับ ผมสงสัยตรง “คะแนนถึงจุฬา แต่ไม่เลือก เพราะไม่ใช่คณะที่ผมอยากเรียน” อันนี้แปลว่าอะไรเหรอครับ แปลว่า ที่จุฬาไม่มีคณะที่อยากเรียน หรือแปลว่าคะแนนถึงคณะใดคณะนึงในจุฬา แต่ไม่ถึงคณะที่เราอยากเรียนครับ เพราะถ้ามันหมายถึงอันใดอันหนึ่งในสองอันนี้ มันดูไม่เมคเซนส์เท่าไหร่ ผมเลยสงสัย
@hikineet789
@hikineet789 2 жыл бұрын
ผมเคยทำงานกับคนที่จบจากราชภัฏ เขาจบมาเกรดเฉลี่ย 4.00 เลยนะครับ ส่วนผมแค่นิติราม เกรดไม่สวยเลยโดนเด็กราชภัฏดูถูกบ่อยๆ บอกเลยครับวงจรความคิด กับรูปแบบการทำงาน เหมือนจับกลุ่มทำบอร์ดส่งอาจารย์ช่วงประถมศึกษา..... ถ้าจุฬากับราชภัฎเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ประเทศนี้ก็แย่แล้วละครับ
@user-lo8wd2yg3h
@user-lo8wd2yg3h 2 жыл бұрын
ถูก
@godofgenesis8168
@godofgenesis8168 2 жыл бұрын
การดูถูก คือการแข่งขันที่ดีของเด็กรุ่นใหม่ จะได้มีพัฒนาการ
@Bibimbubntx
@Bibimbubntx 2 жыл бұрын
@@godofgenesis8168 ห๋าาาาาาา
@omori8554
@omori8554 2 жыл бұрын
@@godofgenesis8168 นายมาจากยุคไหนหรอ!!
@pukjr3500
@pukjr3500 2 жыл бұрын
ผมเรียนราชภัฏแต่ ส่วนตัวก็มองว่าคนจบจุฬาธรรมศาสตร์ไม่ได้เก่งอะไรเลย เเค่เรียนตามกระแสแค่นั้น แค่เข้าเรียนก็จบแล้ว ส่วนราชภัฏต้องใช้ฝีมือทุกคน
@alonetime_6348
@alonetime_6348 2 жыл бұрын
ผมเรียนราชภัฎ โดนดูถูกประจำ แต่หลังๆก็ไม่สนใจละ ยอมรับนะว่าหลายๆอย่างมันด้อยกว่ามหาลัยอื่นจริงๆแหละ แต่อาจารย์สาขาผมเก่งมาก เลยไม่มีปัญหาอะไรเท่าไหร่
@V.B._1184
@V.B._1184 2 жыл бұрын
ราชภัฏ vs จุฬาฯ ผมที่ไปไม่ถึงมหาลัย: hold my soda
@CS-hi2oq
@CS-hi2oq 2 жыл бұрын
ต่างดิ แค่สอบเข้าคะแนนก็ไม่เท่ากันแล้ว แต่ในแต่ละที่จะมี คนฉลาดคนเก่งต่างกัน แต่ทักษะที่ได้จากแต่ละมอ มันต่างกันจริงๆ
@Kefp_mimi
@Kefp_mimi 2 жыл бұрын
"เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน" ใช่ แต่นั่นก็ต่อเมื่อคุณอยู่ในประเทศโลกที่1อย่างญี่ปุ่นซึ่งมีการศึกษาระดับสูงทัดเทียมกันทั้งประเทศ ความเจริญกระจายตัวทุกเมืองและทุกอย่างเข้าถึง มีการควบคุมคุณภาพอย่างจริงจังและรัฐไม่เคยเสียดายเงินกับการลงทุนที่ลงไปกับการสร้างคุณภาพประชากร แต่ที่นี่คือประเทศไทย ดังนั้นเลิกฝันเปียก ความเจริญกระจุกตัวอยู่แค่ไม่กี่เมือง และมาตรฐานสังคมที่ตัดสินคนจากสถาบัน รัฐไม่เคยแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และจิตสำนึกบุคลากรก็เข้าชั้นพัง
@emmyreturns8740
@emmyreturns8740 2 жыл бұрын
ญี่ปุ่นผมว่าไม่จริงอะ ยังไงที่นั้นเขาก็เลือก โทโฮกุ ก่อนอยู่นะ 5555+++
@emmyreturns8740
@emmyreturns8740 2 жыл бұрын
ขนาดใน สปายแฟมิลี่ โรงเรียนดีๆการสอบเข้ายังคัดคนเลย 5555+++ เดิมทีมันก็สร้างมาจากเรื่องจริงบางส่วนอยู่แล้วยัดความแฟนตาซีเข้าไปสักนิด 555++
@gay-hyai
@gay-hyai 2 жыл бұрын
@@emmyreturns8740 อ้างอิงจาก"อนิเมะ"🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡🤡☕🗿
@Kefp_mimi
@Kefp_mimi 2 жыл бұрын
@@emmyreturns8740 เทียบเกณฑ์ทั่วโลกฐานพีระมิดเค้าสูงมาก ความเจรีญการศึกษาเค้ากระจายทั่วประเทศ ขั้นต่ำสุดในระบบการศึกษาก็ยังสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นี่คือสาเหตุที่คนญี่ปุ่นส่วนมากเลือกที่จะเรียนใกล้บ้านมากกว่า คนญี่ปุ่นที่อยากเข้าม.ดังส่วนมากคือตระกูลที่มาฐานะ ทุกประเทศมีมหาลัยชั้นนำอยู่แล้ว และทุกสถาบันเค้ากำหนดจำนวนรับคนอยู่แล้วไม่ว่าจะระดับไหน ไม่ทราบว่าคุณต้องการจะโยงอะไร?
@Kefp_mimi
@Kefp_mimi 2 жыл бұрын
@@emmyreturns8740 ในสปายแฟมิลี่ภาพก็ชัดเจนว่าคนที่เข้าม.ดังมีแต่ลูกคุณหนูทั้งนั้น อ้างอนิเมะก็ช่วยโยงให้ตรงจุดด้วยครับ คุณยังจับประเด็นอะไรไม่ได้เลย สรุปต้องการจะโยงอะไร? ถ้าการศึกษาไทยมันดีเลิศมาก คำว่า "โรงเรียนวัด" คงไม่เกิด ออกจากกลาแลนด์บ้างครับ ด้วยความเป็นห่วง เที่ยวตปท.เปิดโลกไม่แพงอย่างที่คิด ถ้าจัดการเงินเป็น เที่ยว1สัปดาห์ใช้งบแค่ไอแพด1เครื่อง 🤭
@kasamepanyasoponlurs9401
@kasamepanyasoponlurs9401 2 жыл бұрын
ขอบอกเลยว่า "เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน" เป็นแค่คำพูดของพวกองุ่นเปรี้ยวครับ แต่อย่าไปเหยียดเด็กจบใหม่ครับ บางคนมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาต่อได้
@AojingdiDede
@AojingdiDede Жыл бұрын
มะนาวหวาน
@Sutas2483010142
@Sutas2483010142 6 ай бұрын
เรียนที่ไหนก็ต้องมาฝึกงานใหม่เหมือนกัน
@jirawat1150death
@jirawat1150death 2 жыл бұрын
แทนที่ใช่จะให้โอกาสหรือสนับสนุนดันเหยียดดันดูถูกซะงั้น แล้วมันจะเจริญยังไงล่ะครับเนี่ย เข้าไปดูแล้วยังแทบไม่เชื่อเลยว่านี่ คือความคิดของผู้ยกตนว่าสูงส่งเหล่านั้น
@nevernotears6436
@nevernotears6436 2 жыл бұрын
มันจะมีบางคนที่ ไม่มีโอกาสก็เอาแต่แซะคนที่มีโอกาส เราเข้าใจคือแต่ละคนมีโอกาสไม่เท่ากันอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าคนที่เค้ามีโอกาสเค้าผืดนี่ เค้ามีโอกาสเค้าคว้าไว้ นั่นแหละถูกแล้ว คนที่ไม่มีโอกาสถ้าเอาแต่บอกว่าไม่โอกาสๆ ก็ไม่มีทางที่จะมีโอกาสขึ้นมาได้นะ
@user-er5zh5me1e
@user-er5zh5me1e 2 жыл бұрын
ใช่ครับคนที่ไม่มีโอกาสชอบแซะคนมีโอกาส ที่คว้าโอกาศไว้เเต่คนที่ไม่มีโอกาสชอบอ้างว่าไม่มีโอกาสเเล้วถ้ามัวเฉยรอโอกาส ก็อาจจะไม่มีโอกาสครับ🔥🔥
@alonetime_6348
@alonetime_6348 2 жыл бұрын
เอาจริงๆมันก็ทั้งสองฝั่งแหละ แซะกันไปมาอยู่ได้ ทางที่ดีคือต่างคนต่างอยู่
@silvercrownth6718
@silvercrownth6718 2 жыл бұрын
อิจฉาได้ แต่อย่าถึงขั้นริษยา ในวัยนึง การมีตัวเปรียบเทียบจะเป็นแรงกระตุ้นชั้นดี แล้วไม่จำเป็นต้องเดินเส้นทางเดียวกับคนที่คุณเปรียบเทียบเพื่อมุ่งไปสู่ปลายทางที่หวังผลลัพเดียวกัน พูดในมุมต้นทุนที่มาจากคนรุ่นก่อน จะต้องให้ความยุติธรรมกับคนอื่นไม่ใช่มองเห็นแต่ตัวเอง เขาก็มีstoryของเขาไม่ใช่อยู่ดีๆเขาก็รวยก็มีจนมาสร้างโอกาสให้ลูกให้หลานได้ คิดทุกอย่างเห็นเป็นเหตุเป็นผล ใช้สติดำเนินชีวิต ใครบูลลี่ไม่ว่าอยู่สถานะไหนก็ใช้สติไต่ตรองผลได้ผลเสีย ถ้ามันทำให้เสียสุขภาพจิตแล้วไม่มีผลดีอะไรก็ปล่อยผ่านไปสนใจเรื่องอื่นแทนครับ ตอนสมัยเด็กผมเคยโดนมองแปลกแยงเพราะเป็นลูกคนมีเงินที่ไปเรียนโรงเรียนชนบทเพราะดื้อจนเรียนเอกชนไม่ไหวครับ ถึงขั้นครูบางคนบอกอ่านตามครู ยกเว้นชื่อผม
@up5866
@up5866 2 жыл бұрын
คุณคงไม่เคยเจอ คนที่มีโอกาศแซะคนที่ไม่มีโอกาศมั้งคะ มันก็แซะกันไปมานั้นละอย่าโทษฝ่ายเดียว
@nevernotears6436
@nevernotears6436 2 жыл бұрын
@@up5866 เรายังไม่ได้โทษฝ่ายเดียวค่ะ พูดในอีกมุมเฉยๆ
@cliparoundthewolrds4976
@cliparoundthewolrds4976 2 жыл бұрын
ราชภัฏสำหรับเราเมื่อสิบปีที่แล้วคือ Choice สุดท้ายเอาไว้หากไม่มีที่ไปจริงๆ เพื่อนเราก็คิดแบบนี้กันหมด ไม่รู้สมัยนี้คนยังคิดแบบนี้อีกไหม
@numai8131
@numai8131 2 жыл бұрын
เราเด็กม.6ตอนนี้ยังเป็นแบบนี้อยู่ค่ะ เพื่อนเราทุกคนก็คิดแบบนี้
@StoneRose-hu4mg
@StoneRose-hu4mg 2 жыл бұрын
ใช่ค่ะ กำลังจะไปต่อมาหาลัยทุกคนคิดอย่างนี้หมดเลย เรายอมรับนะว่าเราก็คิดเรื่องค่านิยมเปลี่ยนกันยากนะคะ
@user-fm5oj3su5u
@user-fm5oj3su5u 2 жыл бұрын
เด็กม.6ปีนี้ค่ะ อาจารย์บอกเลยว่าราชภัฎ ราชมงคลให้เป็นตัวเลือกสุดท้ายเพราะรับทุกคน
@fjr1721
@fjr1721 2 жыл бұрын
ผมเรียนตรีราชภัฏบอกเลยว่าห่วยจริงครับ นศ.ก็ไม่ค่อยตั่งใจเรียน ห้องผมแล้ว1 ด้วยที่ที่บ้านไม่มีเงิน บวกกับตอนม.6อยู่ห้องท้ายครูไม่ค่อยแนะแนวต่อมหาลัย แต่จบตรีมาต่อโทที่ธรรมศาสตร์ มันโคตรจะต่างเลย
@wongyara1
@wongyara1 2 жыл бұрын
@@StoneRose-hu4mg ไม่ใช่ค่านิยมครับ ตัดสินกันด้วยตัวเลข คะแนน เพราะจะได้ทราบว่าคุณอ่านหนังสือจริงหรือเท็จ ทราบว่าคุณรู้เนื้อหา math biology physics chemistry จริงหรือเท็จ เขาจะไม่ฟังคำพูดว่า ตัวคุณเก่งนะครับ เขาดูตัวเลข ผลสอบเท่านั้น ไม่ใช่ค่านิยมครับ แต่เป็นการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์โดยมีหลักฐานที่แน่ชัด ไม่ใช่แค่คำพูด
@myself4430
@myself4430 2 жыл бұрын
ดราม่านี้มีทุกปีของแต่ละรุ่นจริงๆ พยายามมาปั่นหัวพวกคนที่เลือกเรียนราชภัฏ ทำให้เด็กราชภัฏคิดมาก พวกหิวแสง
@Nasagi16
@Nasagi16 2 жыл бұрын
ความเหลื่อมล้ำและฐานะทางครอบครัวมีผลมากค่ะ ลองทำสถิติดูก็ได้ว่าเด็กที่ติด ฬ เรียนพิเศษกี่ % ฐานะทางบ้านเป็นอย่างไร เทียบกับเด็ก มรภ เด็กที่มาจากฐานะต่างกัน ก็มี Mindset ต่างกัน เรารู้จักทั้งเด็กที่อยู่ต่างจังหวัดฐานะไม่ดี และสังคมรอบตัวเราที่เป็นเด็กในเมืองฐานะปานกลางขึ้นไป สังคมคนเมือง ตอนม.ปลาย เพื่อนในห้องที่ฐานะปานกลาง เรียนพิเศษเกือบทุกคน ตึกวรรณสรณ์ฮิตมาก เพื่อนไปเรียนกันเยอะ ซึ่งทุกคนก็ติดมหาลัย top หรือมหาลัยกลางๆ แล้วแต่ความเก่ง ความขยัน ของคนคนนั้น และต้องยอมรับว่าการเรียนพิเศษมีผลมากที่จะทำให้ติดมหาลัยดังๆ แล้วสังคมเพื่อนก็พากันเรียน การเรียนพิเศษเหมือนเป็น trend ด้วยซ้ำค่ะ ส่วนเพื่อนที่ไม่มีเงินเรียนพิเศษแต่ขยันก็จะอ่านหนังสือเยอะมาก ด้วยความที่อยู่ในสังคมที่เด็กส่วนใหญ่เรียนพิเศษ ไม่งั้นก็ตามเพื่อนไม่ทัน และอันนี้คือสังคมเด็กในเมือง โรงเรียนไม่ได้มีชื่อมาก ถ้าโรงเรียนอย่างเตรียมอุดม คงหนักกว่านี้เยอะ ทุกคนคือเรียนๆๆๆๆๆ ในขณะที่น้องผช.ม.4 ที่เรารู้จัก อยู่โรงเรียนหนึ่งในภาคใต้ เป็นโรงเรียนอำเภอ ครอบครัวมีอาชีพกรีดยาง ฐานะไม่ได้ยากจนมากขนาดนั้น ช่วงเรียนออนไลน์ ครอบครัวให้น้องไปทำงานสวนช่วย ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเรียนอยู่เพื่อหาเงิน เราเคยถามว่า เอ้า แล้วไม่เรียนอย่างงี้จะติดมหาลัยอะไร มันก็ตอบว่า ไม่รู้ ไม่ได้คิด พอถามถึงเพื่อน ก็บอกว่า เพื่อนก็เป็นอย่างงี้กันหมด ทำงานตั้งแต่เรียน ไปเรียนมั่งไม่เรียนมั่ง บางคนจบม.6 ก็มาทำสวน หาเงินๆ ไม่เรียนต่อ สังคมเพื่อนเป็นอย่างงี้จริงๆ แน่นอนว่าไม่ได้เรียนพิเศษ และคนที่คิดจะต่อมหาลัยดังก็มีน้อย ถ้าฐานะไม่ดี เด็กส่วนน้อยก็ไม่ได้เรียนพิเศษ แต่ต้องไปแข่งกับเด็กในเมืองที่เอาแต่เรียนๆๆๆ อีก แล้วลองมองว่า เด็กที่อยู่ในสังคมที่เพื่อนไม่ได้สนใจจะเข้าม.ดัง เพื่อนส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่เรียน จะแหวกไปสนใจม.ดังสักกี่คน ต่อให้สนใจ อุปสรรคทางฐานะที่บีบให้ต้องทำงาน แถมไม่ได้เรียนพิเศษก็มาทับถมอีก โอเค อาจจะพูดได้ว่า ก็มีคนจนเรียน ฬ นะ คนต่างจังหวัดก็มี แต่มันเป็นส่วนน้อยไง ต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนฐานะดี มีเงินเรียนพิเศษเท่าไหร่ ในการอ่านหนังสือเอง และถีบตัวเองออกมาจากสังคมเพื่อนที่ทำแต่งาน สุดท้ายแล้วความเหลื่อมล้ำมันก็มีผลมาก ในมุมมองของเรา รัฐควรจัดระบบมัธยมให้คุณภาพดีพอๆ กันในทุกจังหวัด โดยที่เด็กไม่ต้องไปพึ่งการเรียนพิเศษขนาดนั้น และเรียนฟรีควรมีอยู่จริง เพื่อลดภาระผู้ปกครอง เด็กจะได้ไม่ต้องทำงานตั้งแต่วัยเรียน เอาเวลาไปตั้งใจเรียนดีกว่า
@aonchisachoochot1429
@aonchisachoochot1429 Жыл бұрын
เม้นท์ดีมากค่ะ
@Nasagi16
@Nasagi16 Жыл бұрын
@@aonchisachoochot1429 ขอบคุณค่ะ 🙏😄
@thekeybord-kp4yv
@thekeybord-kp4yv Жыл бұрын
ขัดเจนมากคุณ เม้นยาวแต่อ่านดูแล้วใช่ตามนั้น
@youareme12
@youareme12 Жыл бұрын
ไม่เกี่ยวนะครับขอเเย้งส่วนตัวนี้ติดเพราะเรียนเองครับ ตั้งใจเรียน ถามว่าม.ปลายทำไมถึงไม่เลือก ที่เขาหลักสูตรดีๆจะบอกว่าไม่มีเงินเเต่รร.มีทุนให้นะครับเเถมยังมีโควต้าอีก 5000 บางรร.กับ บางรร.ที่คิดว่า 5000 คุ้มหรอ มันก็ต่างกันเเล้วครับ
@youareme12
@youareme12 Жыл бұрын
ถามว่าความเลื่อมล้ำมีไหม ใช่ครับมีเเน่นอนเพราะพ่อเเม่ไม่พร้อมมีลูกเเล้วก็มีกันจนทำให้ความเหลื่อมล้ำขยายตัว ส่วนรัฐบาลก็ยัดเหยียดหลักสูตรที่เเบบไม่ได้มาตรฐานที่ดี 8 ปีจะเอาอะไรมากครับ #เลือกก้าวไกลครับจบเลย
@wongtiti1798
@wongtiti1798 2 жыл бұрын
การที่จุฬาไปหัวเราะหรือ ตั้งธงดูถูกกันก่อนที่จะดูความสามารถ ก็เป็นเรื่อง ไม่ควร และการที่ราชภัฎ จะแลกเปลี่ยนกันเพื่อวัดว่าใครเก่งกว่าก็ดูไม่จำเป็น คือถ้า อยากมาเรียนก็ ทำเรื่อง elective ระหว่าง ม. ไป
@jakkawadborwonsirianan6334
@jakkawadborwonsirianan6334 2 жыл бұрын
เอาแค่ประเด็นคนโพสท์หัวเรื่องเลย ถ้ามั่นใจในศักยภาพของ ม. ตัวเอง จะไม่พิมพ์อะไรแบบนั้นครับ อย่างที่คุณว่าการแลกเปลี่ยน ม. เพื่อวัดว่าใครเก่งกว่ากันมันดูไม่จำเป็นเลย
@user-bk1pe4kn8p
@user-bk1pe4kn8p 2 жыл бұрын
จะทำทำไม่ครับ สอบเข้าม.ไปเลยงายกว่ามั้ย
@chonsawataewame225
@chonsawataewame225 2 жыл бұрын
ถ้าไม่ใช่สังคมไทย การเถียงกันในหัวข้อนี้เกิดขึ้นได้ยาก เพราะบ้านเราไม่ได้สอนให้คนเกิดมา เคารพความคิดตัวเอง การเปรียบเทียบมันเลยเกิดขึ้นได้ง่าย เห็นอะไรก็จะเปรียบเทียบ เพราะ เราถูกสอนให้อยู่รวมกัน ไม่ใช่ร่วมกันนะ "รวมกัน" คนที่ถูกสอนมาแบบนั้น จะสามารถแยกความแตกต่างของตัวเองกับคนอื่นได้ยาก เพราะสิ่งเดียวที่ทำให้คนที่ถูกสอนมาแบบนั้นสามารถมองเห็นความแตกต่างของตัวเองและคนอื่นได้คือการเปรียบเทียบ แต่จริงๆความแตกต่างมันไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบอยู่แล้ว ต่างก็คือต่าง ม.ใหน เหตุผลใคร เหตุผลมัน ผมก็จบ ราชภัฏ เหตุผล สองอย่างแรกคือ 1.ไม่ติดม. ดีๆ 2.ค่าเทอมราชภัฏถูกกว่าโรงเรียนเอกชนหลายๆที่อีก แต่สุดท้ายมันไม่ได้เกี่ยวเลย ตอนเราตัดสินใจทำอะไรมันขึ้นอยู่กับเราคนเดียวเท่านั้น มันก็เป็นแบบนี้แหละ ประเทศโลกที่สาม ทำใจครับน้องๆ
@Yujin378
@Yujin378 2 жыл бұрын
รู้อย่างเดียวตอนมหาลัยสนุกที่สุด 🥰🥰
@Johan23476
@Johan23476 2 жыл бұрын
คุณภาพของมหาวิทยาลัยต่างกันจริงๆนั้นล่ะครับ ผมมีเพื่อนคนหนึ่งเราเรียนจบจากที่เดียวกันเกรด ความสามารถ เรา คล้ายกันแต่ต่างกันที่ๆครอบครัวเราไม่เหมือนกันผมได้เข้าม.ดังส่วนเพื่อนเข้า ราชภัฏ เรา2คนอยู่คณะเดียวกันแต่คนละม. แต่เรื่องที่เราเรียนต่างกันมากๆครับ แถม คุณภาพของอาจารย์ก็ ต่างกัน ของผม อาจารย์เรียนเสร็จเขาจะเปิดโอกาสให้ถามเรื่องที่ไม่เข้าใจแต่ของเพื่อน สอน เสร็จ อาจารย์กลับเลยครับและมีอีกเยอะมากที่สามารถบอกถึงความต่างตั้งแต่ระหว่างเรียนจนจบเลยครับ
@sup8461
@sup8461 2 жыл бұрын
ถ้าพูดในเรื่อง "ความสามารถ" เรียนที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ครับ เพราะผมว่ามันไม่ได้อยู่ที่เรียนที่ไหน มันอยู่ที่คนเรียน แต่ถ้าในเรื่องของ "สภาพเวดล้อมในการเรียน" มันก็จะแตกต่างกันจริงๆ
@devillord2909
@devillord2909 2 жыл бұрын
ไม่จริง
@arissaraakkasathang7614
@arissaraakkasathang7614 2 жыл бұрын
@@devillord2909 ยังไงอะ
@internetdogisbotheredbymyg1424
@internetdogisbotheredbymyg1424 2 жыл бұрын
@@arissaraakkasathang7614 การสอบเข้ามันก้คัด ‘ความสามารถ’ ไปแล้วในระดับนึงนะครับ มันอาจจะไม่100% แต่เด็กที่มีคุณภาพทางด้านการศึกษาจริงๆต่อให้ไม่ตั้งใจอ่านทุกวัน อาจจะเข้าจุฬาไม่ได้ แต่ก็ไม่ตกลงไปถึงสถานที่ๆไม่ต้องสอบเข้าก็เข้าได้ไรแบบนี้นะครับ เพราะงั้นถ้ามีเด็กกลุ่มนึง ที่พยายามอย่างที่สุดแล้วก็เข้าระดับกลางไม่ได้แสดงว่า ไม่มีความสามารถในด้านนี้ครับ ทุกคนเกิดมาไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเรียนเก่ง เป็นเรื่องธรรมชาติ อย่าไปคิดว่าคนอื่นดูถูกเลยครับ
@ame-kd6oz
@ame-kd6oz 2 жыл бұрын
@@arissaraakkasathang7614 ต่างกัน เช่น ผมจบคอมจุฬามาสภาพคือเขียนแอพไม่เป็นแต่เขียนAIเป็นเขียนdiagramเป็น แต่จบจากราชภัฏอาจจะเขียนแอพเป็นแต่เขียนAIไม่คล่อง ถามว่าทำไมก็เพราะเค้าไม่สอนไง จะไปเรียนเพิ่มก็ได้แหละแต่สภาพจริงคือที่เรียนก็จะตายอยู่แล้ว
@piyaratchhongtaweekul
@piyaratchhongtaweekul 2 жыл бұрын
ทำไมคิดแบบนั้นหละครับ สมมุติด้วยคนคนเดียวกัน ไทม์ไลน์แรก คนคนนี้เรียนหมอ ก็จบทำงานเป็นหมอ ไทม์ไลน์สอง คนคนนี้ไม่ได้เรียนหนังสือ เลยได้ทำงานขายลูกชิ้น ไทม์ไลน์คือสถาบัน อาชีพคือระดับความสำเร็จ อย่าดราม่าเรื่องหมอกับคนขาบลูกชิ้นนะครับ ที่จะสื่อคือ คนคนเดียวกัน ได้รับการศึกษาที่ต่างกัน ผลลัพธ์จึงต่างกัน
@jlerttham
@jlerttham 2 жыл бұрын
ผมคิดว่าทุกสถาบันก็มีข้อดีของใครของมันนะครับ ไม่เห็นต้องเปรียบเทียบกันเลย เลือกที่ๆตอบโจทย์คุณที่สุดในทุกแง่มุมและพยายามทำมันให้ดีที่สุดครับ ไม่ว่าจะจบที่ไหนมา ชีวิตก็ยังมีเรื่องที่ต้องเรียนรู้ต่อไปอยู่ดี
@user-wu2xw3mv5j
@user-wu2xw3mv5j 10 ай бұрын
ต่างแน่นอน แต่อยู่ที่คน แต่การเรียนไม่ได้วัดอะไรได้ทั้งหมด ดูอีกทีตอนทำงานและประยุกต์ใช้การดำเนินชีวิตเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ ผมจบราชภัฏ เคยมีลูกน้องที่ จบ ม. ทอปเรียนเก่ง มาก และทำงานเก่งมากก้อมี แต่ก้อมีจบ ม.ดังระดับทอป แต่ทำงานไม่ค่อยได้ คิดเองไม่ได้ แต่พอไปสอบงานต่าง ๆที่แค่ทำข้อสอบ ยอมรับว่าเก่ง
@lumpinisamsung9186
@lumpinisamsung9186 2 жыл бұрын
การเรียนหลักสูตรเหมือนกันคำตอบ"ใช่" แต่อาจารย์ที่มาสอนหรือหลักสูตรพิเศษที่ใส่ในรายวิชาแต่ละคณะความเข้มข้นจะต่างกันมากอันนี้มองในมุมคณาจารย์ก่อนนะ อย่างที่สอง เพื่อนสังคมที่คบจะแตกต่างกัน วินัยในการเข้าเรียนหรือความขยันขันแข่ง ที่คนพวกนี้คือเข้าไปเรียนจริงๆใน ม.รัฐ ชั้นนำ หรือเอกชนชั้นนำ อีกทั้งคอนเนคชั่นที่มี มันสามารถไปต่อทำมาหากินได้ในอนาคตและมันมีหลายมิติในการตัดสินและมุมมองอีก ถ้าให้เลือก ผมเรียนราชมงคลหรือเอกชนมากกว่าครับ อย่างไรก็ตาม ม. ที่เป็นประเด็นเป็น ม.มาตราฐานทั่วไปที่เรียนให้จบตามหลักสู้ตรเท่านั้น
@dangdsp7565
@dangdsp7565 2 жыл бұрын
มีเด็กราชภัฏคนนึงสร้างบริษัทจนเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของไทย แล้วก็มีเด็กจุฬาที่เป็นผู้ว่าที่ดีที่สุดที่เราเคยมีมา มาจากไหนไม่สำคัญอยู่ที่ตัวคนและตัวผลงาน จะสร้างความสำเร็จได้หมดแหละครับไม่ว่าจะมาจากที่ไหนก็เป็นปัญญาชนกันทั้งนั้น
@Ps-ht1gk
@Ps-ht1gk 2 жыл бұрын
ไม่เหมือน ไม่มีทางเหมือน ขนาดแค่คนละวิทยาเขตยังไม่เหมือนเลย
@thanawatjitdee7414
@thanawatjitdee7414 2 жыл бұрын
ต้องยอมรับ​ จากที่เห็นได้ชัด​ ตอนจบมาใหม่ๆได้ทำงาน​ ได้คุกคลีกับคนที่เรียนมหาลัยดัง​ๆ คนที่เรียนมหาลัยดังๆ​ ความคิดความอ่านเป็นระบบระเบียบ​ ทำงานดี​ รวมไปถึงการเก็บอารมณ์​เวลาเจอสถานการณ์​ที่ควบคุม​ไม้ได้​ เค้าทำได้ดี อาจจะอยู่​ที่คนด้วยแหละ​ แต่ที่เจอมาคนเรียนมหาลัยดังเป็นแบบนี้ทุกคน​ ส่วนมหาลัยรองลงมา ก็เจอคนที่เป็นแบบที่กล่าวข้างต้นบ้าง​ แต่น้อย
@michannel3110
@michannel3110 2 жыл бұрын
เรียนแต่ละที่ไม่เหมือนกันหรอก แต่ละคน คณะ อาจารย์ โรคประจำตัว สุขภาพ เงินทอง ครอบครัว มีผลหมด การได้เรียนที่ดีกว่า ก็เหมือนคนมีโอกาสในการเริ่มต้นที่ดีกว่า แต่การเรียนแค่ 4-6 ปี ซึ่งอาจจะมีวิชาที่เกี่ยวกับสายงานตนเองแค่ไม่กี่วิชา เรียนไม่กี่เทอม มันไม่สามารถเทียบกับประสบการณ์ในการทำงานได้แน่ๆ จริงๆการที่เค้าปฏิเสธเด็กจบใหม่ที่เรียนมอไม่ดัง ก็พอเข้าใจได้ แต่ว่าถ้าทำงานเป็นมีประสบการณ์แล้วยังเอามหาลัยมาแบ่งแยกนี่คืออันนี้หนักจริง
@vorrapontangkusollalit9994
@vorrapontangkusollalit9994 2 жыл бұрын
มันไม่เกี่ยวว่าจะจบที่ไหน อยู่ที่คนจ้างจะเอาคนแบบไหนมาทำงานให้ เอามาเป็นลูกน้องเดินไฟอาคารคงไม่ต้องถึงวิศวะ หรอกมั้ง จ้างแพง ของอย่างนี้มันฝึกกันได้ การเรียนกับการทำงานจริงมันต่างกันเยอะ เก่งแต่หัวหมอ ไม่สู้งาน ก็ไม่ไหส เอาแบบธรรมดา จบ ปวช แต่รักที่จะเรียนรู้ดีกว่า มันไม่ใช่ใครเก่งกว่าใคร ให้หมอมาปลูกข้าว แข่งกับชาวนา มันก็รู้อยู่ว่าใครจะชนะ มันอยู่ที่ความเหมาะสมของบุคคลและงาน
@wwasdwd4196
@wwasdwd4196 2 жыл бұрын
แต่บางที่ ที่เงินดี ก็เอาม.ดังก่อน ก็ต้องยอมรับความจริงข้อนี้
@user-hv6el7ju2d
@user-hv6el7ju2d 2 жыл бұрын
@@wwasdwd4196 ม.ดังทำงานหน้าคอม ปวช.-ปวส.ลงมือหน้างาน
@wwasdwd4196
@wwasdwd4196 2 жыл бұрын
@@user-hv6el7ju2d ช่าย ความเป็นจริงมีหลายที่ ม.ดังได้ก่อน เพราะงั้นเรียนที่ไหนไม่เหมือนกันแน่นอน ปล. หลายที่แต่ไม่ใช่ทุกที่
@LotteSiri
@LotteSiri 2 жыл бұрын
คนเราเกิดมาไม่มีใครเท่ากัน ความเหลื่อมล้ำมีมาตั้งแต่เกิด แต่เราลดความเหลื่อมล้ำได้ด้วยความพยายามของเราเอง อย่าหวังพึ่งพิงคนอื่นมากเกินไป ทำหน้าที่เราให้ดีที่สุด
@st-Miin
@st-Miin 2 жыл бұрын
เราเรียนที่ม.รัฐม.นึงค่ะ ไปดูงาน ม.เอกชนอีกที่นึง งานจบทีสิสของม.เอกชนนั้น มีขนาด/สเกล คุณภาพเท่ากับงานม.เราตอนปี3 เลยค่ะ(เราเรียนสถาปัตที่ต้องเรียน 5 ปี ไม่ได้ดูถูกแต่คุณภาพมันต่างกันจริงๆค่ะ )
@user-qo6dc2jq7f
@user-qo6dc2jq7f 2 жыл бұрын
ตอนผมขึ้นมหาลัย ผมสอบได้ ม.ดังแห่งหนึ่ง แต่ที่ค่าเทอมประมาณ 15,600 ต่อเทอม ที่บ้านไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม และทำเรื่องกู้ กยศ ไม่ทัน เพราะไม่ใช่ผู้กู้ต่อเนื่อง การขอกู้ในปีนั้นคือได้ยากมาก เป็นช่วงที่มีปัญหาเรื่องผู้กู้รายเก่าไม่ใช้หนี้ ผมมี 2 ทางเลือก คือ1)เรียนอีก ม. ใกล้บ้านและค่าเทอมประมาณ 7,500 กับ 2)ไม่ได้เรียนเลยและมีเพียง วุฒิ ม.6 ติดตัว ผมเลือกเรียนครับตามข้อ 1 โดยไม่ต้องกู้จบมาด้วยเกียรตินิยม แต่มันก็แค่กระดาษใบนึงเท่านั้นครับ ผมได้สมัครงานกับ ร.พ.เอกชนแห่งหนึ่ง ระหว่างรอสัมภาษณ์งาน 10 คน ม.A 9 คน ผม ม.B 1 คน ที่รู้เพราะผมชวนผู้รอสัมภาษณ์คุยทุกคน และแล้ว HR ก็เดินเข้ามา เขาเห็นว่าคุยกันหมดเลยคิดว่ามีแต่ ม.A เขาก็พูดขึ้นมาว่า "มีแต่ ม.A หมดเลยเนอะ คงไม่มี ม.อื่นหลุดมา พี่คัดเองกับมือ. . . " เมื่อถึงเวลา แนะนำตัว ผมแนะนำตัวพร้อมบอกว่า จบจาก ม.B HR มีอาการหน้าเสียนิดนึง
@Keeminotoov5792
@Keeminotoov5792 2 жыл бұрын
เวลาเด็กเรียนทะเลกันเรื่องข้อสอบ เด็กเรียน1: ข้อนี้ต้อง x ยกกำลัง2 เด็กเรียน2: ไม่ใช่ ข้อนี้ตอบ 4 ยกกำลัง 2 ผม: เฮ้ยเพื่อนวันนี้กินข้าวร้านไหนดีว่ะ?
@cornelius2538
@cornelius2538 2 жыл бұрын
ใช่ครับผมไปเตะบอล ไม่งั้นก็อยู่สนามตะกร้อ
@mngxi.z
@mngxi.z 2 жыл бұрын
ทางน้ีเวลาตรวจคำตอบแล้ว แต่เพื่อนยังไม่หาหรือหามาแล้วแต่มันข้ามอ่ะ ก็คือมีดึงคอเสื้อกันนะ
@aoifutaba5172
@aoifutaba5172 2 жыл бұрын
ย้ำใว้ตรงนี้เลยว่า เรียนที่ไหนมันไม่มีเหมือนกัน แต่ละโรงเรียนการสอน แนวคิด สถานที่ และอืนๆ ไม่เหมือนกัน และไม่เท่ากัน เพราะงั้นตัดความคิดที่ว่าจะเรียนที่ไหนก็เหมือนกันออกไปได้เลย
@supapongsuratananan3789
@supapongsuratananan3789 2 жыл бұрын
ขอให้ 700k sub ไวๆ ครับ
@youareme12
@youareme12 Жыл бұрын
การสอบเข้า ม.ดังๆได้มันก็บ่งบอกเเล้วคุณพร้อมเเละมีความรับผิดชอบที่สอบเข้าม.นั้นได้ เเสดงว่าเรียนรู้ได้ง่าย เพราะเราค้องเเข่งกับคนอีกมากมายอ่ะ
@wiimonsiri2415
@wiimonsiri2415 2 жыл бұрын
ไม่ต้องดูที่สถาบันหรอก ต้องดูที่การศึกษา ว่าเรียนแล้วมันช่วยยกระดับความเป็นคนขึ้นหรือเปล่า บางคนไม่จำเป็นต้องเรียนสูง ยังน่ายกย่องกว่าบางคนที่เรียนสูง
@user-rh4zl5hw3m
@user-rh4zl5hw3m 2 жыл бұрын
ขายของ​ได้ดีมากสุดยอด​จริงๆ​
@oni5236
@oni5236 2 жыл бұрын
ผมจบราชภัฏมาก็ยอมรับนะมันต่างกันมากจริงๆ ทุกเรื่องเลย อาจารย์ สถานที่ อุปกรณ์การศึกษา สภาพแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำมันมีทุกประเทศแหละครับ
@kaimaew
@kaimaew 2 жыл бұрын
โลกของเรา ถ้าทำสิ่งที่สเกลใหญ่ มันต้องใช้คนที่เยอะ ที่มีความสามารถและความรู้หลากหลาย สุดท้ายก็ต้องมาร่วมกันทำอยู่ดี ทุกคนสำคัญในบทบาทของตน คิดแค่นี้ก็พอ แล้วไม่ต้องเหยียดกัน
@TX_Lynn
@TX_Lynn 2 жыл бұрын
เราว่าสุดท้ายแล้วเด็กได้อะไรกลับมา ได้แค่เกรดจากการทำข้อสอบ หรือได้ความรู้จริงๆ ความแตกต่างกัน อาจารย์ผู้สอนย่อมแชร์ประสบการณ์จากการทำงานจริง การที่อาจารย์ได้ไปเป็นที่ปรึกษากับบริษัทจริงๆ การทำวิจัย …. ส่วนตัวได้จากตรงนั้นมากกว่าความรู้ในหนังสือ แม้จะบอกว่ามันหาได้จากอินเตอร์เน็ต แต่ข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะล้วนกลั่นกรอกเอาแต่สิ่งดีๆ บางครั้งประสบการณ์เรื่องแย่ๆ มันก็มีประโยชน์ แต่เขาไม่เอามาแชร์ในที่เปิดเผยกัน ….
@rapeepatp3845
@rapeepatp3845 2 жыл бұрын
เพราะเห็นHRแยกตะกร้าจริงๆ เลือกสัมภาษณ์ตามลำดับ 1.ม.ดัง 2.ม.เอกชน 3.ราชภัฏ
@rtnsomphong712
@rtnsomphong712 2 жыл бұрын
ผมเคยรับราชภัฏมา 4-5 คนทำงานด้วย อุส่าเปิดใจ ไม่มีตวามรู้สอนกันได้ แต่น้องไม่เอาไรเลย มาบ้างไม่มาบ้าง เตือนทุกอย่าง ผมควรไปต่อกับราชภัฏดีไหมครับ
@IIOUJOIIJ
@IIOUJOIIJ Жыл бұрын
@@rtnsomphong712 ไปต่อได้ครับ แต่ต้อง ไม่ คัดคน จาก เกรด พอคนเหล่านี้ ก็จะคิดว่าตัวเองเก่งถึงได้รับเลือก แต่ลองเปลี่ยนมาเป็นแบบทดสอบทางด้านสังคม เช่น ลองทำขยะเกลื่อน ดูว่าคนไหนจะเก็บ ลองทำของตก ดูว่าคนไหนจะช่วย คนเรานี่แหละ ที่จะเปิดใจเรียนรู้ และรับในสิ่งที่เราจะให้ บางที คนที่ไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ แต่พอได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาจจะเก่ง ในการทำงานในการใช้ชีวิตจริง ก็เป็นได้นะครับ
@sCenermOnz
@sCenermOnz 2 жыл бұрын
มันวัดกันที่ความสามารถ เด็กมอดังๆอาจได้เปรียบตอนจบมาหาที่ทำงานง่ายกว่า แต่จุดเริ่มต้นมันอยุ่ที่การขวนขวายหลังจากจบมากกว่า ผมเรียนเขียนโปรแกรมยังมาหัดทำ animation ไม่ได้ใช้ที่เรียนมาเลย หัดใหม่หมดหลังเรียนจบ สรุปแล้วมันอยุ่ที่คน
@breakout2982
@breakout2982 2 жыл бұрын
พี่ทำเรื่องรร.ในเชียงให้นร.แต่งคอสไปได้ให้หน่อยได้ไหมคับพี่
@sopo_puri230
@sopo_puri230 2 жыл бұрын
ไม่เหมือนกันค่ะ ไม่เหมือนกันจริงๆ แต่ละ มหาลัยหลักสูตรอาจจะคล้ายกันแต่การสอนของอาจารย์จะแตกต่างกันแน่นอนประสบการณ์ที่อาจารย์มีจะให้เราต่างกัน แน่นอนว่าการจ่ายค่าเทอม มากน้อยแน่นอนว่าเราจ่ายไม่ใช่แค่เพื่อรับหลักสูตรของมหาลัย แต่เราอยากได้รับประสบการณ์จากอาจารย์คำชี้แนะจากอาจารย์ที่สะสมมากทั้งจากในประเทศเอยและต่างประเทศ ให้คำสอนในการทำงานกับระบบของต่างชาติได้ให้คำแนะนำกฎหมายเบื้องต้นของการทำงานกับต่างประเทศได้ ถามว่าราชภัฏมีอาจารย์ที่ให้ประสบการณ์อย่างนี้มั้ยมีค่ะ แต่ก็มีจำนวนมากน้อยตามที่มหาลัยนั้นๆจะจ่ายให้อาจารย์ นี่แค่ส่วนการเรียนนะยังไม่พูดถึงคอนเน็คชั่นหลังเรียนจบที่ทั้งอาจารย์หรือรุ่นพี่จะให้เราหลังเรียนจบอีก เราไม่ได้เรียนจุฬา แต่มหาลัยเราก็พอมีชื่ออยู่บ้าง เรามีเพื่อนที่ราชภัฏก็พอจะรู้ว่าอะไรเป็นยังไงอยู่ลักษณะการเทคแคร์นักศึกษาก็ค่อนข้างต่างกันพอสมควร
@zombie4504
@zombie4504 Жыл бұрын
ขนาดเราเรียนเอกชนถือว่าชื่อดังเลย ไม่เคยไปยุ่งกับใครยังโดนเหยียดบ่อยมาก “เกรดต่ำบลาๆไม่มีปัญญาสอบ แค่มีตังก็ได้ใบเกรด” เราก็แบบเอ้าก็เราอยากเรียนที่นี่ เราไม่ได้อยากเรียนที่คุณบอกนิคุณทำให้ สังคม connectionของคุณดูไม่ดีไปด้วยบางคนอาจจะมองแค่บุคคลแต่กับบางคนเขามองภาพรวมไง ที่ๆเราเลือกเพราะส่วนตัวชอบสังคม&connectionค่ะ “มีตังก็เรียนได้” ทุกที่ก็ต้องมีตังปะถึงจะได้เข้าเรียน งง กับตรรกะบางคน “มีตังจ่ายก็ได้เกรดไม่ต้องเรียน” ถ้าคิดว่าเรียนง่ายแก้ปัญญาด้วยเงินได้หมดลองมาเรียนไหมบางวิชาตัดFที่70 บางวิชาได้Aที่98 ที่เราเรียนอะคือเก่งอย่างเดียวไม่ได้ต้องความคิดสร้างสรรค์สุดๆ งงกับการเหยียดของคนบางกลุ่มมากคืออิจฉาหรอที่เราได้เรียนที่ๆเขาดีกว่าที่เขาเรียน เขาคิดเหยียดคนอื่นก็เหมือนเหยียดตัวเองเหมือนกันและกดให้ตัวเองต่ำลงไม่ได้ดูสูงขึ้นเลย
@user-hs8lv5kl6n
@user-hs8lv5kl6n 2 жыл бұрын
ใส่แว่นอ๊อปตัส แล้วตาสว่างขึ้นไหมครับ แค่สงสัยครับ
@user-sx3gt9rs7t
@user-sx3gt9rs7t 2 жыл бұрын
สิ่งแรกที่ต้องยอมรับให้ได้ว่ามันคือความธรรมดา ไม่ต้องโลกสวยครับ นี่คือโลกของทุนนิยม ทุกอย่างบนโลกล้วนถูกหมุนไปด้วยเงิน
@catastrophe8503
@catastrophe8503 2 жыл бұрын
นี่เเหล่ะโลกเรามันก็เป็นแบบนี้เเหล่ะ เป็นมาเเต่ไหนเเต่ไรเเล้ว
@abudabe
@abudabe 2 жыл бұрын
ปัจจุบันเรียนราชภัฏ (ปี 1) เราว่าสภาพแวดล้อมก็โอเคเลยนะ ไม่ได้แย่ ครูที่นี่ก็ใจดีด้วย สอนเข้าใจ เปิดเทอมเรียนมาได้ 3 อาทิตย์แล้ว งานไม่เยอะเลย แต่หลังๆ จะเป็นไงไม่รู้นะ ส่วนตัวคิดว่าขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนด้วยล่ะ บางคนจบมาสูงแต่บุคลิกแย่มาก toxic ไปทั่วว่าฉันจบสูงกว่า ฉันก็ต้องดีกว่า ตั้งตนเป็นศูนย์กลางจักรวาล การงานคุณก็อาจจะดีนะ แต่ความสามารถด้านการเข้าสังคมคุณต่ำมาก ก็แค่นั้น คนที่ดีก็มีเยอะเหมือนกัน ทางเรารู้จักกับรุ่นพี่ที่จบต่างประเทศมาอยู่หลายคน นิสัยดีมากๆ แน่นอนว่าการเรียนมันไม่เหมือนกัน แต่คุณสามารถฝึกฝนทักษะต่างๆ ด้วยตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการเข้าสังคม ทักษะอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเอกของตัวเอง ทำกิจกรรมเก็บเครดิต เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างในระหว่างกิจกรรม แค่นี้คุณก็เป็นคนที่มีคุณภาพได้แล้ว มันไม่ได้ยากอะไรเลย อยู่ที่ตัวคุณว่าสนใจพัฒนาตัวเองมากแค่ไหน
@rtnsomphong712
@rtnsomphong712 2 жыл бұрын
ตั้งใจเรียนให้จบก่อนครับ แล้วจะรู้จักคำว่า พวกมันเยอะ
@isaraitarat9828
@isaraitarat9828 Жыл бұрын
ทำไม สัปดาห์แรก ไม่สอน จัดตารางห้องไม่เสร็จ แล้วปิดคอร์ส เร็วมาก 12 สัปดาห์
@lovlypig7492
@lovlypig7492 2 жыл бұрын
คลิปนี้อธิบายโคตรดีเลยครับ
@btvlog3897
@btvlog3897 2 жыл бұрын
ผมเรียนราชภัฏนะ สาขานิเทศฯ ผมมองนะว่าการที่เรียนที่ใหนก็เหมือนกันเนี่ย ว่าการที่เราอยากเรียนที่นี้ที่นั้นมันเป็นเรื่องธรรมดา อยากเรียนคณะโน้น นี่ นั้น แล้วแต่ใครจะเลือก เอาตามที่เราต้องการอยากจะเรียนแล้วเต็มที่กับมัน เลือกคณะที่ชอบสาขาที่ใช่ แล้วเต็มที่กับมัน ยินดีด้วยครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ให้เรียนจบกันทุกคน~
@praewaapw2405
@praewaapw2405 2 жыл бұрын
เรียนที่เดียวกันแต่คนละเซค อาจารย์ก็สอนคนละแนว สั่งการบ้านคนละแบบกันแล้ว ดุลยพินิจในการให้คะแนนก็ต่างกัน
@Jirayu_Boonman
@Jirayu_Boonman 2 жыл бұрын
จบจากไหนก็เถอะ ถ้าใช้ชีวิตไม่เป็นก็คงใช้ชีวิตต่อยาก💀 แต่ถ้าจบแล้วเขาก็คงบอกแนวทางการใช้ชีวิตมั่งแหละ
@suntizoku8328
@suntizoku8328 2 жыл бұрын
เรื่องเงินสำคัญครับ เด็กส่วนมากไม่รู้ไม่เข้าใจจุดนี้ ผมจบแค่ ปวส. เพราะไม่มีตังเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งผมอยากเรียนมาก แต่ต้องทำงานไปเรียนไปตั้งแต่ ปวช. แล้วครับ
@HappyZ00
@HappyZ00 2 жыл бұрын
ไม่เหมือนกันแน่นอน แค่เรียนคนละกลุ่มมันก็ยังต่างกันเลยครับไม่ต้องเอาภาพใหญ่ขนาดนั้น แค่ภาพเล็กๆก็ต่างแล้ว แต่คุณภาพของคนก็ไม่ได้วัดแค่ตอนเรียนนะครับ เขาจะวัดตอนใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองตั้งเป้าหมายไว้ เรื่องเรียน มันคือเรื่องของการเริ่มต้นของชีวิตจริง สถานเรียนที่ดีมันประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมด้วย จุฬาอาจจะมีระบบคัดเลือกทีเข้มข้นมากกว่าเลยได้นักเรียนที่ตั้งใจเข้ามาจำนวนมาก วิธีการสอนก็แตกต่าง เพราะสภาพแวดล้อมที่มีคนเก่งๆเรียน การสอนก็ต้องตอบสนองกับพื้นฐานความรู้ด้วย ความซับซ้อนมันเลยมากกว่า ตามศักยภาพ ตรงนี้เป็นความจริง แต่คนที่ประสบผลสำเร็จตามที่ตัวเองต้องการเรื่องนี้อยู่ที่ตัวบุคคล สรุปคือ แต่ละที่มีระดับที่แตกต่างกันแน่นอนครับ
@adminsax1330
@adminsax1330 2 жыл бұрын
คือจะเจอคอมเม้นท์แนวว่า ผมจบราชครับ แต่มีลูกน้องจบจุฬาทั้งนั้น กูแบบ เอ้า!? ขนาดมึงจบราชออกมาเป็นผู้ประกอบการ มึงยังรับเด็กจุฬามาร่วมงานมาสร้างผลประโยชน์ให้องค์การตัวเองเลยคิดดู๊!!🤣🤣
@jaychou771
@jaychou771 2 жыл бұрын
จริง ไม่เอาเด็กราช มาอะ 5555
@NaWa1st
@NaWa1st 2 жыл бұрын
เรียนที่ไหนไม่เหมือนกันจริงๆค่ะ จากคนที่จบมาเกือบ 10 ปีแล้ว ถ้าย้อนเวลาไปได้ก็คงเพิ่มความขยันอีกหน่อยเพื่อให้ได้ไปเรียนมอดังๆติดอันดับtop10 ของประเทศ ถ้าเป็นม.รัฐ บางทีหลักสูตรอาจจะไม่ต่างกันมาก แต่ที่ต่างกันสุดๆเลยคือสังคม เพื่อนฝูง คอนเนคชั่น
@Charlotte-hh2mv
@Charlotte-hh2mv 2 жыл бұрын
ปัญหานี้มันจะไม่เกิดขึ้นอะเอาจริงถ้ารัฐบาลเอาจริงเอาจังกับการศึกษา ยกระดับให้สูงขึ้นทั้งให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมอะ ให้มันวัดกันที่ความสามารถเลย
@prempree7608
@prempree7608 2 ай бұрын
เราอยากจะแชร์มุมมองในฐานะคนที่เคยเรียนจุฬาแต่เป็นคณะที่ไม่ชอบและไม่ใช่ แล้วตอนนี้ย้ายมาเรียนคณะที่ใช่ในมหาลัยที่ดังในด้านคณะนี้แต่ไม่ได้ถึงกับท็อป10ของประเทศค่ะ แต่ละช่วงเวลาในการตัดสินใจมันยากมากจริงๆ ในฐานนะเด็กที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาคนนึงเท่าที่เราทบทวนกับตัวเองแค่อยากบอกกับใครก็ตามที่ต้องรู้สึกแย่กับค่านิยมเรื่องการศึกษาว่าสุดท้ายแล้ว ชีวิตเป็นของเรา เลือกใช้เวลากับสิ่งที่เรามีความสุขคือเลือกคณะก่อนอย่างที่หลายคนแนะนำเถอะค่ะ เพราะตอนอยู่มออันดับ1แต่คณะไม่ใช่มันก็ทุกข์ทรมาณมากเหมือนกัน ที่เรามองก็คือ เรียนแต่ละที่มันไม่เหมือนกันอยู่แล้วก็เหมือนโรงเรียนคนละโรงเรียน แต่ความที่มันต่างอยากให้มองว่าไม่ใช่เพราะที่ไหนดีกว่าแย่กว่า มาวัดคุณค่าของสิ่งที่เราเลือก ”สิ่งที่ดีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน^^“ ถ้ามองว่าคนที่ใช้เวลาอยู่กับตัวเรา24ชม.ตลอดชีวิตมันคือตัวเราเราควรเลือกเดินต่อไปและภูมิใจในสิ่งที่เรามีไม่ว่าเพราะเลือกหรือเพราะเป็นหนทางที่ดีที่สุดเท่าที่จะได้ แต่พอเรามองว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกแน่นอนว่า มากคน มากความเห็น และก็มีค่านิยม ซึ่งค่านิยมที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่จะเกิดลอยๆมันก็สมเหตุสมผลอยู่แล้วว อย่างเราๆเลือกเนื้อหาที่จะได้ใช้เวลาสู้ทนเรียนและความรู้ที่จะได้ติดตัว แต่ขณะเดียวกันเราก็มองว่าคนที่เลือกที่ตัวมหาลัยคณะอะไรก็ได้เขาก็ไม่ผิดนะคะ ***สุดท้ายแล้วการให้คุณค่าของเรื่องอะไรก็ตามไม่ใช่แค่เรื่องมหาลัย มันอยู่ที่การให้ความสำคัญ เป้าหมาย และทัศนคติของตัวเราเองค่ะ สำคัญคือต้องยอมรับเข้าใจเงื่อนไขความเป็นจริงในสังคมที่มี แต่อย่ายอมให้ค่านิยมที่เป็นบรรทัดฐานมาทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง หรือเอาไปทำร้ายจิตใจกดคุณค่าคนอื่นต่ำลงเลยนะคะ*** ค่านิยมมีในทุกเรื่องตั้งแต่หน้าตาไปจนถึงทุกเรื่องที่จะเป็นได้ในคนๆหนึ่งเลยค่ะ ถ้าแม้เราไม่ตรงตามบรรทัดฐานที่ใครหลายคนกำหนด แต่เรายังรู้สึกถึงคุณค่าในสิ่งที่เราเป็นแล้วมันสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไปแค่นั้นพอดีกว่าค่ะ คนที่อยู่กับเราไปตลอดชีวิตคือตัวเราไม่ใช่ป้าข้างบ้าน555 พิมพ์ยาวมากๆเลยแต่อยากเป็นกระบอกเสียงและแชร์มุมมองทัศนคติของเราซึ่งรู้สึกว่าใช้ชีวิตมาคุ้มและแฮปปี้กับตัวเองมากค่าา
@asura5702
@asura5702 2 жыл бұрын
คหสต.​ ผมว่าจบที่ไหน​ก็ไม่สำคัญ​ มหาลัยเป็นแค่สังคมจำลองก่อนไปใช้ชีวิตในสังคมจริงๆ.... ชีวิตจริงมันอยู่ที่​ Mindset​ กับเป้าหมายของเรามากกว่าครับ​ว่าเราต้องการอะไร​ แล้วก็ทำสิ่งที่สอดคล้องกับความ ต้องการ​ แค่นี้เลยครับ​ (ซึ่งบางทีผมว่ามหาลัยเป็นแค่ค่านิยมของสังคมและทางผ่านเพื่อสมัครงานด้วยซ้ำ)​ ส่วนตัว​ ผมว่า​ Mindset​ กับ​ Skill​set​ สำคัญกว่า​ ซึ่งทุกวันนี้​ แม้ไม่ต้องเรียนมหาลัยก็ขวนขวายฝึกกันได้เองครับ....
@prakitsointraruxs4462
@prakitsointraruxs4462 Жыл бұрын
เท่าที่พบเด็กที่สอบเข้าจุฬาได้.ส่วนใหญ่เรียนกวดวิชากันทั้งนั้น (ส่วนใหญ่นะ)
@_DoMhee_
@_DoMhee_ 2 жыл бұрын
การเรียนเหมือนกัน แตกต่างแค่"connection"เวลาไปสมัครงาน
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 2 жыл бұрын
มันจะเรียนเหมือนกันได้ไง connection อะถูก
@amon1578
@amon1578 2 жыл бұрын
เอาไรมาเหมือน
@user-qe7oq7wf2e
@user-qe7oq7wf2e 2 жыл бұрын
อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน อยู่กับสิ่งที่มีไม่ใช่แค่ฝัน
@maitreerimthong
@maitreerimthong 2 жыл бұрын
ลองดูงบประมาณ ยังกับเหว กับ ฟ้า จะเหมือนกันได้อย่างไร เหมือนเรียนที่ อเมริกา กับ เรียนที่ .... เอามาเทียบกันไม่ได้ โอกาสมันต่างกันครับ
@kifinz8737
@kifinz8737 2 жыл бұрын
คนละเลเวลเลย คนเราฉลาดไม่เท่ากันอยู่แล้วจะพยายามให้ตัวเองดูโง่อีกทำไม
@KP-sh4ko
@KP-sh4ko 2 жыл бұрын
อาจจะมีคนเก่งจบจาราชภัฏ แต่คนไม่เก่งก็สอบเข้าจุฬาไม่ได้แล้วครับ ถึงเวลาทำงานจริงคนจบจุฬาอาจจะดูด้อยกว่าในบางงาน แต่มันเป็นปัญหาที่หัวหน้างานครับ เช่น พวกเด็กเรียน อาจจะไม่ถนัดงานใช้แรงงาน งานลุยๆหรือปรับตัวเข้ากับสังคมในที่ทำงานไม่ได้ อย่างญาติผมก็ดูถูกพวกจบปริญญา เพราะไม่สู้งาน ก็เล่นมีแต่งานแรงงานนี่หว่า พอขยายกิจการก็เอาแต่พวกกล้้ามๆไปบริหาร แล้วปลดพวกปริญญา ออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย สรุปล้มละลาย เพราะงานโดนรีเจคหมด คือเอาคนขยันแต่โง่ไปคุมงานๆออก แต่มาตรฐานไม่ถึงสินค้าโดนตีกลับหมด ขาดทุนยับ พอล้มละลายก็ไปตั้งตัวใหม่ สเกลธุระกิจเล็ก เน้นแรงงานไม่เน้นบริหาร ก็เริ่มกลับมารวยละ คือคนเก่งอาจจะเก่งบางอย่าง แต่ไม่ได้เก่งทุกอย่าง ถ้างานวิชาการ ต้องเลือกมหาลัยอันดับแรกๆ แต่งานใช้แรงเน้นถึก เอาจบจุฬาไปทำบอกเลย ไม่สู้งานหรอก
@user-wz6sj3hq1q
@user-wz6sj3hq1q 2 жыл бұрын
รู้ได้ไงว่าไม่สู้จ๊ะะะะ?? สู้ แต่ต้องสู้ให้ถูกที่ บางที่สู้ไปไม่คุ้มเหนื่อย แล้วทำไมต้องทนอ่ะ งองนะ ก็มีทางเลือกไง เลยไม่ต้องทนกะอะไรที่มัน toxic ไม่เหมือนพวก…. เหมือนจะสู้งาน แต่ก็แค่พวกไม่มีที่ไป🤪🤪🤪🤪
@KP-sh4ko
@KP-sh4ko 2 жыл бұрын
@@user-wz6sj3hq1q งั้นไปเป็นคนขับรถบรรทุกไหม เห็นว่าที่เมกาคนขาด จนถ้าขยันๆรายได้ดีกว่าหมออีก
@user-wz6sj3hq1q
@user-wz6sj3hq1q 2 жыл бұрын
@@KP-sh4ko อ๋อ พอดีอยู่นี่ รายได้เยอะกว่า55555555555555555555555555
@jessadaprnr7341
@jessadaprnr7341 2 жыл бұрын
คิดว่า เรียนที่ไหน ก็เหมือนกัน แต่สังคมจะไม่เหมือนกัน เช่น ม.เอกชนดัง ก็จะมีลูกนักการเมืองเยอะ กับ ลูกเจ้าของบริษัท ต่าง ที่เขาไม่ไปต่างประเทศกัน
@nisalertnitipas1911
@nisalertnitipas1911 2 жыл бұрын
ใช่ ตอนจบราชภัฏ เมื่อ 20 ปีก่อน ไปสมัครงาน ที่แรกเจ้านายบอกจบราชภัฏ เขาให้แค่ 6,000 บาท ถ้า 3 เดือนไปแล้ว ผ่านโปร ก็จะขึ้นเป็น 10,000 บาท (คือเราจบ ปวส.จากราชมงคลแห่งหนึ่ง และ การสอบเข้าปริญญาตรีราขมงคลที่คลอง6 กับ ที่ ราชมงคลเทเวศ์ ในสาขาเรามันก็ยากมาก เมื่อมาแข่งกับ ปวส. ราชมงคลทั่วประเทศซึ่งเยอะมาก เพื่อจะไปต่อที่ คลอง6 กับ เทเวศ์ แต่สอบไม่ติด เพราะเมื่อก่อนที่วิทยาลัยเรายังไม่ มีปริญญาตรี แต่ไปติดที่ราชภัฏอีกที่หนึ่ง เลยเรียนที่นั่นต่อ 2 ปี เพื่อให้จบปริญญาตรี เป็นสาขาการตลาด ซึ่งคนละเรื่องกับที่เราเรียนตอน ปวช. ปวส. เลย แต่ว่าบางวิชา หลักสามารถโอนเกรดได้ แต่งานที่ทำเป็นงานสาขาที่จบจาก ปวส. ต้องใช้ความรู้ที่เรียนมา ทั้งทฤฏี ละปฏิบัติ เฉพาะทาง เพื่อไปตรวจคุณภาพสินค้า ที่โรงงานต่างๆ )ต้องขยันและ เรียนรู้งานพิสูจน์ตัวเอง หาความรู้เพิ่ม เราใช้เวลาหนึ่งปี ถึงได้ เงินขึ้นเป็น 20,000ค่าเดินทางต่างหาก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ คือทุกคนจะช่วยsupport กัน ให้บรรลุเป้าหมาย ของงาน ทุกคนเป็นมืออาชีพ ไม่มี playgame แกล้งกัน คือมีปัญหา จะไม่โทษกัน แต่จะช่วยกันว่าจะแก้ยังไง คืองานผิดได้ แต่อย่าผิดซำ้ๆ แต่มันก็มีผลต่อการพิจารณาเงินเดือนอ่ะแหละ
@wongyara1
@wongyara1 2 жыл бұрын
พูดตรงๆ ต้องสอบเข้าให้ได้ก่อน เอาคะแนนมากาง ( จุฬาค่าเทอมก็ถูกกว่าเอกชนมาก หมื่นกลางๆ 1. ทุนก็มีสำหรับคนจนของมหาลัย 2.ทุนขอจากรัฐก็ได้ ถ้ายากจน .......การศึกษาไม่ได้เลื่อมล้ำนะครับ อาจจะเลื่อมล้ำอยู่แต่น้อยกว่าในรุ่นผมมาก เช่นยุคผมไม่มีทุนนะครับ ทุนน้อยกว่านี้มาก รุ่นผมอินเตอรเนทเพิ่งมานะครับ ไม่มี youtube เปิดดิกกระดาษ และ แต่ความพยายามของคนดันไม่เท่ากัน มีคนจนออกแรงอย่างสุดเหวี่ยงชนะความเลื่อมล้ำทางสังคมได้ด้วยนะครับ........... ......มีคนจนที่เข้าจุฬาได้ เช่น..... คนที่1 คุณกระทิง พูลพล บ้านจนมาก รร บ้านนอก รร วัดครูยาง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเด็ก โอลิมปิกตื่นอ่านหนังสือตังแต่ตี4 มอ1 ยันมอ6 หกปีเต็ม สอบภาษาEng Tofle ได้เต็ม ติดวิศวจุฬา ได้ทุนไปต่อ Stanford ได้ทุนอีก ทำงานบริษัทGoogle ที่เมกาอยู่7ปี ตอนนี้เป็น ปัจจุบัญเป็น CEOของ กสิกรไทย) ........คนที่2 ดร นิเวศ์ เซียนหุ้น ทรัพย์สินกว่า7พันล้านบาท นี่ก็บ้านอยู่ในสลัมจนสุดๆในอดีต แต่สอบติดวิศวจุฬา มอปลายเรียนเตรียมอุดม ...... คนที่3 ที่บ้านจนมากคือ เจ้าของกาแฟเนเจอร์กิฟ ธุกกิจกว่าพันล้าน บ้านอยู่ในสลัมเช่นกัน บ้านจนสุดๆ แต่สอบติดวิศวจุฬา......คนที่4คือคุณทองมา เจ้าของบ้านจัดสรรรายใหญ่โครงการกว่า5หมื่นล้าน ชื่อบริษัทคือ พฤกษา real estate จำกัด มหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นี่ก็บ้านจน เป็นช่างทำทอง รับจ้างทั่วไป หาเลี้ยงตัวเองไปวันๆ แต่เรียนเก่ง สอบติดวิศวจุฬา เยอะมาก บ้านจน เรียนเก่ง ต่อมาทำงานร่ำรวย......คนที่5 นี่น้องที่รู้จักกันเลย บ้านไม่รวย แม่ขายก๋วยเตี๋ยว ไม่มีตังเรียนพิเศษอ่านเองทุกอย่าง พูดภาษาอังกฤษไฟแล็บ เรียนภาษาเองเพราะไม่มีตังค์เรียน ตอนนี้เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ รุ่นน้องคนนี้ สอบติดเทคนิคการแพทย์จุฬา ตอนนี้ไปต่อออสเตเรีย โดยยืมเงินจากเจ้านายเก่าพ่อโอนเพื่อให้ดูมีทรัพย์สิน จะได้ผ่าน visa ตอนนี้ ไปออสเตรเรียละ น้องคนนี้เค้าเคยบอกผมว่า ถ้ามีตังค์เรียนพิเศษสักหน่อยเค้าคงสอบติดแพทย์จุฬาไปละ ไม่ใช่แค่เทคนิคการแพทย์จุฬา..............คนที่6 อันนี้ก็น้องที่รู้จัก อายุ23 เพิ่งเรียนจบสถาปัตย์จุฬา เรียนได้ที่โหล่ของห้อง รร บ้านนอก ไม่ใช่รรมัทยมดัง ในจังหวัดแพร่ แกเล่าให้ผมฟังว่าเครียดมากเนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เขาเล่าให้ผมฟังว่ารู้สึกแย่กับตัวเอง แต่แก้ไขตัวเองด้วยการตั้งใจเรียนและรีบกลับบ้านอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืนตี2 อ่านอย่างหนักหน่วง เสาร์ทิตย์ไม่ไปไหน ซ้ำยังโดนพ่อแม่ด่าทุกวันอยากให้เรียนใกล้บ้านคือ ม ราชภัช แต่น้องคนนี้ไม่ยอม ดื้อ และ อยากเข้าจุฬาเท่านั้น รู้สึกแย่ถึงขนาดพ่อของน้องได้ บอกว่าถ้าเข้าจุฬา พ่อแม่ขู่ว่าจะไม่ส่งเรียน และทุกวัน พ่อจะมาด่าเขาตอนอ่านหนังสือเกือบทุกวัน พยายามจูงใจให้เข้า มรภ น้องคนนี้ดื้อ โดนแรงบีบจากพ่อ ขู่ว่าจะไม่ส่งเรียน และ ปัญหาเรื่องได้ที่โหล่ของห้อง สุดท้ายความพยามอย่างสุดขีดออกดอกผล น้องเค้าติดสถาปัตย์จุฬา ตอนนี้เรียนจบแล้ว กำลังไปเรียนต่อภาษาที่ออสเตรียเป็นเวลา1ปี.............................คนที่7 นี่จนมาก สอบติดวิศวะจุฬา ดังมากถึงขนาดเอาไปออกข่าว และเอาไปทำเป็น โฆษณา เนื่องจากสอบวิศวะจุฬาได้ แต่เป็นเพียงลูกคนเก็บขยะ(แน่นอนผมเดาว่า คงไม่มีเงินเรียนพิเศษแน่ๆ แต่สอบติดวิศวะอันดับ1ของประเทศ เยอะมากวิศวะจุฬาที่ได้คะแนน วิชาคณิตและฟิสิกส์ได้100เต็มสองวิชา หรือเฉียดร้อยเต็ม เจอเยอะมาก) พ่อเค้าจนที่สุดในหมู่บ้าน และจบเพียงปอ4 พ่อเค้าบอกว่ามีอะไรให้ไม่ได้นอกจากการศึกษา พอพ่อเค้าเข้าห้องประชุมใหญ่คณะวิศวะ จะแอบไปนั่งข้างหลังเพราะอายตัวเองที่เป็นคนเก็บขยะ ไม่กล้านั่งหน้าในห้องประชุม พ่อเค้าบอกว่า ผมอายตัวผมเองเหมือนกัน ตัวเขาเองที่ติดวิศวะจุฬาตอนเด็กก็อายตัวเองทำไมพ่อไม่เป็นทหารหรือตำรวจ แต่โตมาก็เข้าใจไปเก็บขยะกับพ่อ จึงได้รู้ว่าเงินหายากแค่ไหน ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าอายเพราะอะไร เพราะสังคมจุฬาจะเป็นสังคม ชนชั้นกลาง ขึ้น บน จะไม่ใช่ ชนชั้นกลางลงล่างไม่ค่อยมีนัก คนจนจะไม่ค่อยมี พ่อเค้าเลยรู้สึกอายตอนเข้าหอประชุม สะท้อนถึงความอุสหะ ขยัดสุดโต่ง คนจนต้องต่อสู้กับคนบ้านรวย มีตังเรียนพิเศษ ฐานะทางบ้านความพร้อมที่ดีว่าเค้ามาก เรื่องนี้ดังจนออกข่าวผมแนบลิ้งไว้ให้แล้วครับ กดดูได้ kzbin.info/www/bejne/nWOZhmiqmsxlrrM
@UnYou
@UnYou 2 жыл бұрын
ปวดหัวเลย
@LordAlpaca555
@LordAlpaca555 2 жыл бұрын
ว้าว วิศวจุฬาแทบจะทั้งนั้นเลย สังเกตคนเก่งๆจะมาจากที่นี่เยอะ
@wongyara1
@wongyara1 2 жыл бұрын
@@LordAlpaca555 ใช่ครับ ผมมีอีกร้อยกว่าคนที่จบสถาบัญดัง และออกไปก่อตั้ง ทำกิจการจนร่ำรวย มีเก็บไว้เกือบร้อยคนแต่เขียนแค่นี้พอ ถ้าอยากรู้มีใครอีกจะเขียนให้นะ จุฬานะครองทั้ง เศรษฐกิจ การเมือง มหาเศษรฐี การทูต กระทรวงต่างประเทศ เจ้าของกิจการ นักโปรแกรมเมอร์ที่ชนะระดับโลก แพทย์ระดับโลก เต็มไปหมด เขียนแค่นี้ละกันครับ จริงๆมีรายชื่อเยอะกว่านี้ 100กว่าคน
@rutchaphonkidkarn5217
@rutchaphonkidkarn5217 2 жыл бұрын
ผมชอบตรงที่เป็นวิศวะทั้งนั่นเลย พวกนี่เก่งแก้ปัญหา ไมเแปลกใจได้ดิบได้ดี
@win783
@win783 2 жыл бұрын
@@Doc-San565 เหยียดอะไรหรอครับ ต้นโพสคือสอบไม่ติดเเล้วมาโว้ยวาย ถ้าอยู่เงียบๆดีๆ จะมีคนไปบอกเเบบนั้นหรอ เเล้วเรื่องเด็กหลังห้องคุณร้เหรอว่ากลับบ้านเค้าพยายามเรียนต่อมั้ย เพื่อผมที่รรมันไม่เรียนเลย เเต่กลับบ้านเรียนพิเศษถึง4ทุ่มเเล้วอ่านหนังสือต่อเอง มันติดเตรียมอุดมไปละ ไอ้คนที่นั้งเงียบๆในห้องไม่คุย เเต่เลิกเรียนไปเล่นเกมยังอยู่ที่เดิม
@Family-ro4qj
@Family-ro4qj 2 жыл бұрын
ปลายทางชีวิตยังอีกนาน ไอ้พวกขิงกันเรื่องมหาลัย จบมาทำงานผ่านไปสัก5ปี10ปี พวกคุณจะไม่มีเวลาคิดเรื่องพวกนี้หรอกครับ ปลายทางชีวิตจริงๆคือ คุณทำงานมีเงินเลี้ยงครอบครัวสงลูกเรียนได้ มีบ้านมีรถนู้น ถึงจะเจ๋งจริงๆ ไอ้เรียนอยู่มันยังไม่เจ๋งหรอกครับ
@aladinnuruddin20
@aladinnuruddin20 Жыл бұрын
ผมคิดว่าเหมือนกันต้องระบุลงไปอีกว่าเหมือนกันเรื่องใหน​ มันไม่เหมือนกันทุกเรื่อง​ ถ้าพูดถึงการศึกษา​การเข้าถึงความรู้​ก่อนยุคอินเตอร์เน็ต​ ต้องยอมรับว่ามหาลัยดังๆเข้าถึงความรู้​ได้มากกว่า​ แต่ตอนนี้ความรู้​สามารถหาและเข้าถึงได้ง่าย​ ความรู้​จึงเกือบเท่าๆกัน​ แต่ยังไงก็​ไม่เหมือนกันอยู๋ดี​ ยุคก่อนไล่ล่าความรู้ ยุคนี้คำนี้น่าจะเหมาะ​ จินตนาการ​สำคัญ​กว่าความรู้​ เอาความรู้​มาประยุคใช้
@moribundpng
@moribundpng Жыл бұрын
แค่เรียนคนละห้องก็ต่างแล้ว
@clinicclinic5420
@clinicclinic5420 2 жыл бұрын
ขอโทษนะ เรียนไหนไม่สำคัญกูว่าการทำงานสำคัญกว่า เรียนที่ดีๆมาแต่ทำงานไม่เป็นก็จบ
@fjr1721
@fjr1721 2 жыл бұрын
ที่ดีๆจะมีสักกี่คนที่ทำงานไม่เป็น ราดพัดจะมีสักกี่คนที่ทำงานไม่เป็น ผมฟันธงเลยว่าราดพัดมีมากกว่าแน่นอน
@AngrySoldat
@AngrySoldat 2 жыл бұрын
ฝากไปบอกคำนี้กับพวก HR ให้ทีละกันนะ คำพูดสวยหรูไม่สำคัญเท่าชีวิตจริง
@nickiminaj7112
@nickiminaj7112 2 жыл бұрын
@@AngrySoldat จริงพวกนี้โลกสวยเว่อ
@kifinz8737
@kifinz8737 2 жыл бұрын
โลกสวยจัด😂
@jungjament
@jungjament 2 жыл бұрын
คนไม่เคยทำงานมันก็ทำไม่เป็นทั้งนั้นแหละ ไม้ต้องเรื่องทำงานหรอก เรื่องพื้นฐานอย่างการทำงานบ้าน จะทำเป็นก็ต้องมีการสอน ได้รับถ่ายทอด ครูพักลักจำฝึกฝนมาทั้งนั้นแหละ ลองโยนอุปกรณืรีดผ้าให้คนไม่เคยรีดผ้า ไม่เคยเห็นการรีดผ้า ไม่มีความรู้ร้อยทั้งร้อยก็ทำไม่เป็น
@user-sh6vr5pk4n
@user-sh6vr5pk4n 2 жыл бұрын
จะ ราชภัฏ หรือ จุฬาฯ ก็พอๆกันเเหละครับ.... ผมนี้จบกศน ยังไม่โม้เลย จบม.6กศน ปุ้ป ไม่เรียนต่อ หันมาทำไร่ทุเรียนที่บ้าน555 มรดกจากพ่อ พ่อที่พึ่งได้เจอกันตอนอายุ19 "ยอมรับว่าเคยอยากเป็นหมอ เเต่ตอนนั้นคงไม่มีเงินไปเรียน อยากเรียนนิเทศด้วย เเต่ไม่มีเงินไปต่อราชภัฏ ค่าเทอมเเพงจริง ผมเลยออกมา บวกกับ ติดต่อพ่อได้ครั้งเเรก ผมเลยไปอยู่กับพ่อ ทำไร่ทุเรียนดีกว่า ตอนนี้ก็รักในสิ่งที่ทำ ครอบครัวสบาย มีเงิน ไม่อดตายก็พอละครับ ค่อยไปเรียนทีหลังเอาก็ได้ ถ้าอยากเรียนจริงๆ 🤣💗
@wigglypuff3301
@wigglypuff3301 2 жыл бұрын
เหมือนเอาถุงพลาสติกเซเว่นไปเทียบกับกระเป๋าแบรนด์เนมอ่ะ🤭🤭🤭🤭🤭🤭🤭 55555
@GarnNaKa77
@GarnNaKa77 2 жыл бұрын
เราอยู่ในสังคมของการเปรียบเทียบ ทุกเรื่องค่ะ อยู่ที่ตัวเราหนักแน่น กับสิ่งที่ตัวเองเป็นและตัวตน การกระทำ ความตั้งใจ
@Pornratcha
@Pornratcha 2 жыл бұрын
เอาแบบเรียลๆเลยนะ มหาลัยเหมือนช่วยคัดบุคลากรให้ระดับนึง เหมือนฟีลรวมเด็กห้องคิง ใครสอบเก่งก็ได้เข้า คนที่เข้าไปได้ก็คือต้องมีความจำดีที่จำบทเรียนมาสอบได้ มีความรับผิดชอบในการอ่านหนังสือและเรียน การจัดการชีวิตแวดล้อม สภาพแวดล้อมทางบ้านเป็นบวกระดับนึงที่พอจะให้มีสมาธิในการเรียนได้ ถ้าเราเป็น hr จะเลือกหยิบมดังก่อน (เฉพาะพวกเด็กใหม่นะ กลุ่มมีประสบการณ์แล้วอีกเรื่องนึง)
Double Stacked Pizza @Lionfield @ChefRush
00:33
albert_cancook
Рет қаралды 82 МЛН
Amazing weight loss transformation !! 😱😱
00:24
Tibo InShape
Рет қаралды 55 МЛН
Smart Sigma Kid #funny #sigma #comedy
00:26
CRAZY GREAPA
Рет қаралды 16 МЛН
아이스크림으로 체감되는 요즘 물가
00:16
진영민yeongmin
Рет қаралды 61 МЛН
10 อันดับ มหาวิทยาลัยดีที่สุดในไทย 2024
10:19
10 อันดับ จัดไป
Рет қаралды 708 М.
Double Stacked Pizza @Lionfield @ChefRush
00:33
albert_cancook
Рет қаралды 82 МЛН