นาฬิกาแห่งชีวิต: เมื่อทุกอวัยวะมีนาฬิกาเป็นของตัวเอง -- Circadian Rhythm

  Рет қаралды 121,547

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

Пікірлер: 394
@thisisnathathai
@thisisnathathai Ай бұрын
นาฬิกาแห่งชีวิต : เมื่อทุกอวัยวะมีนาฬิกาเป็นของตัวเอง -- Circadian Rhythm สวัสดีครับ ตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกของเราตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเล็กๆเลยไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตที่มันใหญ่ขึ้นมาเช่นเป็นพวกสัตว์พวกพืชต่างๆรวมไปถึงคนด้วยก็จะมีการดำเนินชีวิตตามช่วงเวลาของวันหรือพูดง่ายๆคือตาม 24 ชั่วโมงของเวลาที่โลกมันหมุนรอบตัวเองนั่นเองนะครับ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็จะมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไปบางสิ่งมีชีวิตตื่นกลางคืนบางสิ่งมีชีวิตตื่นกลางวันแล้วแต่ละสิ่งมีชีวิตมันรู้ได้ยังไงว่าช่วงนี้ควรตื่นช่วงนี้ควรหลับ แล้วก็ทำไมสิ่งมีชีวิตบางอย่างถึงต้องกินตอนนี้ ถึงต้องออกล่าตอนนี้ ถึงมีความแข็งแรงตอนนี้เพิ่มขึ้นกว่าเวลาอื่นๆเออ…ทำไม วันนี้เราจะมาไขความลับในเรื่องนี้ลงลึกไปถึงระดับยีนเลยทีเดียวเพราะว่าเราจะพูดถึงเรื่องของนาฬิกาชีวิตหรือ Cardian Rhythm นะครับ พบกับผมนะครับนายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอดและวิกฤตบำบัดนะครับ เรื่องนี้บางคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างนะครับ เช่น จากศาสตร์ของจีนเขาจะบอกว่าช่วงเวลานี้เป็นเวลาของปอด ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของไต อีกเวลานึงเป็นเวลาของตับแบบนี้เป็นต้นมันมีจริงหรือเปล่า? ➡️มันมีจริงๆครับแต่เวลาอาจจะไม่ตรงเป๊ะเหมือนในตำราจีนก็ได้เดี๋ยววันนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่าคนเรามันมีนาฬิกาชีวิตแบบนี้ได้ยังไง
@thisisnathathai
@thisisnathathai Ай бұрын
1️⃣ ต้องเริ่มจากนาฬิกาชีวิตอย่างแรกที่ทุกคนคงจะรู้จักก่อนนั่นก็คือการหลับและตื่น ทำไมคนเราถึงหลับกลางคืนแล้วทำไมถึงตื่นกลางวัน เหตุผลเพราะอะไร มันเพราะพระอาทิตย์หรือเปล่านะครับ พระอาทิตย์ขึ้นเราตื่น พระอาทิตย์ตกเราหลับ มันเป็นอย่างหรือเปล่าก็มีคนสงสัยแบบนี้ครับ ดังนั้นในประมาณปี 1930 ก็มีคนคิดว่าถ้าเราไปอยู่ในที่ที่ไม่มีแสงอาทิตย์เช่นไปอยู่ในถ้ำเราจะยังคงหลับแล้วก็ตื่นเป็นเวลาอยู่มั้ย ปรากฏว่ามีคนทดลองแบบนั้นครับแล้วก็พบว่าเราก็หลับแล้วก็ตื่นเหมือนเดิมนั่นแหละเราไม่ใช่หลับตลอดแล้วก็ไม่ได้ตื่นตลอดแต่ว่าวงจรการหลับของเรามันเพี้ยนไป เพี้ยนเป็นยังไง? บางคนหลับใน 1 วันเวลาอาจจะไม่ใช่ 24 ชั่วโมงแล้วอาจจะเป็น 25 ชั่วโมง บางคนเป็น 22 บางคนเป็น 27 ไม่เหมือนกันสักคนเลย ก็เริ่มมีคนสงสัยแล้วว่าวงจรการหลับตื่นมันมีอยู่เหมือนเดิมนั่นแหละแต่แต่ละคนมันไม่เหมือนกันมันไม่เท่ากันเลย ทำไมล่ะ ก็แปลว่าแต่ละคนต้องมีนาฬิกาสักอย่างนึงอยู่ในร่างกายตัวเองที่บอกเวลาไม่เหมือนกันนะครับหลังจากนั้นนะครับพอการทดลองพวกนี้ออกมาเยอะๆก็เริ่มมีคนสงสัยแล้วว่านาฬิกาชีวิตเรามันอยู่ตรงไหนของร่างกาย อยู่ใมหัว อยู่ที่แขน อยู่ที่ขา อยู่ที่หัวใจหรืออยู่ที่ไหน การศึกษาครั้งแรกเขาก็ไปทำในแมลงหวี่ครับเขาไปเจอยีนตัวนึงชื่อว่า Period Gene ควบคุมการหลับการตื่นการใช้ชีวิตของแมลงหวี่ทุกอย่างเลย แล้วในคนล่ะมีมั้ย? ➡️มีครับ ปรากฏว่ามีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อ Dr. Joseph S. Takahashi เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นแต่อยู่ที่อเมริกาอยู่ที่ University of Texas Southwestern แล้วเขาไปค้นพบยีนตัวนึงชื่อว่า CLOCK Gene ชื่อ CLOCK ที่แปลว่านาฬิกาแต่มันเป็นตัวย่อยาวๆแกก็ตั้งให้มันสวยๆนะครับคือชื่อจริงๆคือ Circadian Locomotor Output Cycles Kaput นะครับ CLOCK Gene ทำงานร่วมกับยีนอีกตัวนึงชื่อว่า BMAL1 ทำงานร่วมกันในการกำหนดนาฬิกาชีวิตของคนนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Ай бұрын
2️⃣ ตรงนี้ผมจะขออธิบายในเชิงยีนแล้วก็โมเลกุลนิดนึงมันอาจจะยากนิดนึงถ้าเกิดใครตรงนี้ไม่เข้าใจไม่เป็นไรฟังเล่นๆสนุกๆแล้วกันนะครับ เขาพบว่า CLOCK กับ BMAL1 Gene มันทำงานร่วมกันนะครับ ปกติยีนของเราจะอยู่ในนิวเคลียสในนิวเคลียสจะมี DNA DNA เป็นสายยาวๆพวกนี้แหละเป็นรหัสพันธุกรรมของเราแล้วในสายเขาจะแบ่งเป็นยีนหลายๆตัวนะครับยีนพวกนี้จะมีการถอดรหัสนะครับ ถอดรหัสมันก็เหมือนเป็นพิมพ์เขียวถอดรหัสแล้วส่งออกไปที่ Cytoplasm ก็คือนอกนิวเคลียสให้ทำการอ่านรหัสนั้นแล้วสร้างเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่อะไรก็แล้วแต่นี่คือการทำงานของร่างกายในระดับเซลล์นะครับ ทีนี้ยีน CLOCK กับ BMAL ทำงานร่วมกันคือมันก็มีพิมพ์เขียวของมันหลังจากนั้นพอส่งพิมพ์เขียวออกมาที่ Cytoplasm สร้างโปรตีนชื่อ CLOCK กับ BMAL มันมาเกาะกันแล้วกลับเข้าไปในนิวเคลียสใหม่ กลับเข้าไปเกาะกับยีนตัวอื่นๆเพื่อทำหน้าที่บอกว่าอ่านแล้วก็สร้างพิมพ์เขียวของพวกแกออกมาให้หมดแล้วไปสร้างโปรตีนซะนะครับโดยมันจะไปเกาะตำแหน่งนึงชื่อเรียกว่า E-Box นะครับแล้วพอมันอ่านมันควบคุมยีนได้หลายตัวมากแล้วไปเจอว่ายีนตัวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างนาฬิกาในร่างกายมียีน 2 ตัวครับ 💢ตัวนึงชื่อ Priod Gene เหมือนกับแมลงหวี่เลย 💢ยีนตัวนึงมันชื่อว่า Cryptochrome
@thisisnathathai
@thisisnathathai Ай бұрын
3️⃣ 2 ตัวนี้เป็นยีนที่ถูกควบคุมโดย CLOCK กับ BMALให้สร้างพิมพ์เขียวส่งออกไปที่ไซโตพลาสซึมสร้างเป็นโปรตีนแล้วเหมือนเดิมครับโปรตีนจาก 2 ตัวนี้ทั้ง Cryptochrome และ Period มันจะเกาะกันเป็นกลุ่มก้อนแล้วกลับเข้ามาในนิวเคลียสอีกรอบนึงเพื่อยับยั้งการทำงานของ CLOCK และ BMAL ครับ แล้วพอมันยับยั้งเสร็จตัวมันจะสลายไป แล้วมันเกิดอะไรขึ้น? ➡️CLOCK กับ BMAL กระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรตีน Period กับ Cryptochrome โปรตีนกลับมาในนิวเคลียสยับยั้งการทำงานของมันแล้วก็สลายไปเป็นวงจรอย่างนี้ ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก ไปเรื่อยๆนี่ล่ะครับนาฬิกาชีวิต นาฬิกาชีวิตที่มีอยู่ในทุกๆเซลล์ของร่างกายมนุษย์ เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มากๆเลยทีเดียวนะครับ ตรงนี้ฟังแล้วเราเจอแล้วว่าระดับเซลล์ของเราทุกเซลล์มันทำแบบนี้ได้ คำถามต่อมาคือแล้วทำไมคนเราถึงมีเวลาในแต่ละวันไม่เหมือนกันเพราะเมื่อกี้บอกเอาเข้าไปในที่มืดบางคนนอนหลับแล้วก็ตื่นในเวลา 24 ชั่วโมง บางคน 22 ชั่วโมง บางคน 27 ชั่วโมง ทำไมมันไม่เท่ากัน? ➡️เพราะว่าในแต่ละคนมันมีตัวควบคุมนาฬิกาให้มันแตกต่างกันไปอีกก็จะมียีนตัวอื่น มีปัจจัยตัวอื่นอีกที่มันมีผลต่อนาฬิกาตัวนี้นะครับ ถ้าใครอยากจะอ่านเพิ่มเติมผมจะทิ้งลิงก์ไว้ให้แล้วกันแล้วก็ลองไปอ่านเพิ่มเติมเองมันจะมียีนตัวนึงชื่อ Rev-Erb Alpha แล้วก็ RORalpha 2ตัวนี้มีตัวกระตุ้นแล้วก็ตัวยับยั้ง แล้วนอกเหนือจากนี้มียีนตัวอีกมากมายเช่น US F1, Heat Shock Factor (HSF) คือมีอีกหลายอย่างที่มันควบคุมนาฬิกาตัวนี้ทำให้มันเหมาะสมกับร่างกายของมนุษย์คนนั้นและสิ่งมีชีวิตนั้นนะครับนี่เป็นการค้นพบที่สุดยอดมาก
@thisisnathathai
@thisisnathathai Ай бұрын
4️⃣ เริ่มคำถามเลยเกี่ยวอะไรกับแสง? ➡️ต้องบอกอย่างนี้ครับในร่างกายของเราเมื่อตะกี้ทุกเซลล์นะมันมียีนนาฬิกาอยู่ในตัวมันเองแต่ว่าถ้าทุกเซลล์ทำงานไม่ประสานกันร่างกายเรามันมั่วใช่ไหมครับเหมือนเรามีทีมฟุตบอลถ้าต่างคนต่างเล่นทุกคนเล่นฟุตบอลเป็นหมดทั้งทีมเล่นฟุตบอลเป็นหมดแต่ถ้ามันเล่นไปคนละทิศคนละทางมั่วทุกคนอยากจะแย่งบอลลูกเดียวกันมันก็ไม่ชนะเขามันก็ทำงานเป็นทีมไม่ได้ หรือเรามีวงดนตรีวงนึงทุกคนก็เล่นดนตรีของตัวเองได้แต่ถ้าเกิดว่ามันเล่นไม่ประสานกันมันก็ฟังไม่รู้เรื่องแล้วร่างกายเรามันมีคนคุมวงอยู่ตรงไหน เหมือนถ้าเราเป็นวงดนตรีเรามีหัวหน้าวงอยู่ตรงไหน ในร่างกายเราอยู่ตรงไหนกันแน่ เขาก็พบว่ามันอยู่ที่สมองครับ เขาก็ไปเจอครับแสงเข้าทางตาเข้าทางเรติน่ามันจะผ่านเส้นประสาทตาซึ่งมีเส้นประสาท 2 เส้นแล้วมันจะมาไขว้ตัดกันตรงกลางตรงที่มันไขว้เป็นตัวXเราจะเรียกว่า ไคแอสมา (Chiasma) แล้วตรงนั้นนี่แหละมันจะมีที่ที่หนึ่งเราเรียกได้ว่า Suprachiasmatic Nucleus (SCN) Supra คือเหนือ Chiasma คือตัวXนี่แหละที่เส้นประสาทตามาตัดกัน Nucleus ก็คือเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ประสาทนะครับ กลุ่มก้อนของเซลล์ประสาทอยู่ในสมองส่วนที่เราเรียกว่าไฮโปทาลามัสและในแต่ละกลุ่มก้อนของเซลล์ตัวนี้คือ Suprachiasmatic Nucleus มีเซลล์ประสาทอยู่เป็นหมื่นตัวมันทำหน้าที่คุยกันเองประสานงานกันเองแล้วก็กำหนดเวลาของร่างทั้งหมดผ่านทางแสง
@thisisnathathai
@thisisnathathai Ай бұрын
5️⃣ แล้วมันกำหนดยังไง? ➡️ปกติ Conductor จะมีไม้อันนึงคอย Conduct ใช่ไหมที่บอกให้ลูกวงเล่นตรงนี้ดังหน่อยเล่นตรงนี้เบาหน่อย เซลล์ตัวนี้มันไปควบคุมทั้งร่างกายผ่านทางหลายระบบหนึ่งในนั้นก็คือฮอร์โมนสเตียรอยด์ครับ ตัวมันเองจะมีสายประสาทไปกระตุ้นเซลล์ส่วนที่อยู่ในไฮโปทาลามัสให้มันสร้างฮอร์โมนตัวนึงชื่อ Corticotropin-Releasing Hormone แล้วมันก็จะไปกระตุ้นต่อม Pituitary ซึ่งอยู่ติดกับไฮโปทาลามัสเลยให้สร้างฮอร์โมน ATCH นะครับ ATCH ก็จะวิ่งไปที่ต่อมหมวกไตบอกให้สร้างสเตียรอยด์ สร้างคอร์ติซอลออกมา แล้วคอร์ติซอลก็จะควบคุมอย่างอื่นของร่างกายนี่คือกลไกที่ 1 กลไกที่ 2 มันควบคุมผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติครับ และกลไกที่ 3 ควบคุมผ่านทางอุณหภูมิ มันสุดยอดขนาดนี้ แล้วทีนี้เขาไปทดสอบกับพวกเซลล์ต่างๆของร่างกายของเราเขาพบว่ามันเชื่อฟังนาฬิกาชีวิตที่ส่งมาจาก Suprachiasmatic Nucleus มากเลย
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Ай бұрын
🟢สรุปความสัมพันธ์ของ "นาฬิกาชีวิต" กับ "ระบบภูมิคุ้มกัน" 1. ตอนกลางวัน - เน้น การป้องกันเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อม - เซลล์ภูมิคุ้มกัน เช่น เม็ดเลือดขาว ทำงานเต็มที่ - ฮอร์โมน Cortisol หลั่งสูง ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 2. ตอนกลางคืน - เน้นการซ่อมแซม และฟื้นฟูร่างกาย - หลั่งฮอร์โมน Melatonin และ Cytokines ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน - ช่วงหลับลึกเป็นเวลาที่ Growth Hormone หลั่งมากที่สุด 3. ผลกระทบเมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอ - ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย ฟื้นตัวช้าลง - เพิ่มความเสี่ยง การอักเสบเรื้อรัง และโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็ง 4. วิธีดูแลนาฬิกาชีวิตให้สมดุล - นอนหลับให้มีคุณภาพในช่วงกลางคืน - รับแสงแดดตอนเช้าเพื่อรีเซ็ตนาฬิกาชีวิต - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และจัดการความเครียด
@nung-noppapat
@nung-noppapat Ай бұрын
ขอบคุณค่ะพี่ทริป🙏🥰
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Ай бұрын
@@nung-noppapat ยินดีค่ะน้องหนึ่ง...🏖🏝🌊
@กุหลาบแดงงง่้เเเ่สสน-ฬ8ฦ
@กุหลาบแดงงง่้เเเ่สสน-ฬ8ฦ Ай бұрын
ขอบคุณคอมเมนต์นี้มากๆนะคะที่ให้ความรู้
@ปุณณารมย์เจริญวิริยะภาพ
@ปุณณารมย์เจริญวิริยะภาพ 28 күн бұрын
ขอบคุณมากค่ะ
@sirikanjana2941
@sirikanjana2941 25 күн бұрын
ขอบคุณมากๆๆที่กรุณาสรุปให้ค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Ай бұрын
☀การรับ "แสงแดด" หลังตื่นนอน มีความสำคัญมากนะคะ เนื่องจากมันช่วยปรับ "นาฬิกาชีวิต" ภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามวงจรธรรมชาติ... สรุปเหตุผลสำคัญที่เราควรรับแสงแดดหลังตื่นนอนนะคะ... 1. แสงแดดในตอนเช้าช่วย "รีเซ็ตนาฬิกาชีวิต" ในสมอง ซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ เช่น Cortisol (ช่วยให้ตื่นตัว) และ Melatonin (ช่วยในการนอนหลับ) ให้มีการทำงานตามเวลาค่ะ 2. การรับแสงแดดในช่วงเช้าช่วยให้ระบบ "Circadian Rhythm" ปรับตัวให้เหมาะสมกับช่วงเวลาของวัน ทำให้เรามีพลังงานและความตื่นตัวตลอดวัน 3. เมื่อรับแสงแดดในตอนเช้า ร่างกายจะกระตุ้นการหลั่ง Cortisol ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เราเริ่มต้นวันใหม่ด้วยพลังงาน และเพิ่มความตื่นตัวและสมาธิ 4. แสงแดดยังช่วยกระตุ้นการหลั่ง Serotonin ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยปรับอารมณ์และลดความเครียด ทำให้เรารู้สึกดีและมีอารมณ์ที่ดีตลอดวันค่ะ 5. การรับแสงแดดในตอนเช้าช่วยให้ Melatonin หลั่งในช่วงเย็นได้ตรงเวลา ทำให้เราสามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพและหลับลึก 6. แสงแดดเป็นแหล่งสำคัญในการผลิต "วิตามิน D" ในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันค่ะ
@komsonchokdee535
@komsonchokdee535 Ай бұрын
หลังได้ฟัง ผมก็ภูมิใจครับ ที่ได้ทำตามทุกอย่างที่คุณหมอกล่าวมา โดยเพราะการขับถ่ายนี้ยืนยันเลยครับว่ามันมหัศจรรย์มากเหมือนมันมีชีวิตที่เขาทำของเขาเองเลยครับ เป็นประจำทุกวัน 👉ตีห้าครึ่ง รอบที่1 👉หลังอาหารเช้า8โมงครึ่งรอบที่2(ผมก็ไม่เข้าใจทำไมมันไม่ออกมาพร้อมกันทีเดียวตั้งแต่รอบที่1) 👉4โมงเย็นรอบที่ 3 👉ส่วนรอบโบนัส ทุ่มครึ่ง (มีบ้างไม่มีบ้าง) รอบก่อนอาบน้ำนอน พอสามทุ่มผมก็เริ่มหาวน้ำตาไหล(ทำไมก็ไม่ทราบหาวต้องมีน้ำตาตลอด) ผมก็นอนละ ตื่นมาก็ตามเวลาตลอดตี4กว่า มาทำสมาธิ ตีห้ากว่าก็มาขับถ่ายวนเวียนเป็นนาฬิกาตามที่คุณหมอบอกเป๊ะเลยครับ ร่างกายมหัศจรรรย์จริงๆ
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 Ай бұрын
วันนี้ได้รู้จักนาฬิกาชีวิตละเอียดเลยค่ะ เช่น การออกกำลังกายช่วงบ่ายจะประโยชน์สูงสุด เพราะหลอดเลือดขยาย ปอดทำงานมากที่สุด ไทรอยด์ฮอลโมนทำงานช่วงเช้าเหมาะกับการทำงานใช้ชีวิต ไตทำงานเวลากลางวัน ขับของเสียโดยอาศัยน้ำ ควรกินน้ำเยอะ ๆ กลางคืนไตไม่ทำงานไม่ควรกินน้ำ ไม่ควรกินของหวานเวลากลางคืน เพราะอินซูลินไม่ทำงาน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน กลางคืนมีการอักเสบที่ดีทำให้มีภูมิต้านทานจัดการสิ่งแปลกปลอม#เบื้องต้นจำได้ประมาณนี้ค่ะ แต่สัญญาว่าจะย้อนกลับมาฟังและถอดคลิปวันนี้ออกมาเป็นตารางการควบคุมชีวิต แปะไว้ข้างฝาเลยค่ะ พร้อมกับแชร์ให้คนรู้จักค่ะอาจารย์ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@maijutatip
@maijutatip 27 күн бұрын
อยากโหวตให้คลิปนี้เป็น 1 ในคลิปแนะนำแห่งปีเลยค่ะ คุณหมอ เจ๋งมากค่ะ
@boomsong5729
@boomsong5729 Ай бұрын
ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน ยอดวิวรวม 98,463,295 ครั้งแล้วค่ะ อีกแป๊บจะฉลอง 100 ล้านวิวแล้วนะคะ เย้ๆ 💐🎉💐🎉🧡💐🎉💐🎉
@sunshine28810jib
@sunshine28810jib Ай бұрын
โห อยากให้ตอนเด็ก ๆ อาจารย์ที่โรงเรียนสอนแบบนี้บ้าง เข้าใจเลยค่ะ ดีมากเลย
@Kamonpa33
@Kamonpa33 Ай бұрын
ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ นาฬิกาแห่งชีวิต เมื่อทุกอวัยวะมีนาฬิกาเป็นของตนเอง นาฬิกาแห่งชีวิต มีอยู่ในทุก ๆ เซลล์ในร่างกายของมนุษย์ ทำไมคนเรามีเวลาแห่งชีวิตไม่เท่ากัน เพราะมีตัวควบคุมนาฬิกาไม่เหมือนกัน เกี่ยวอะไรกับแสง ตัวควบคุมมันอยู่ที่สมอง ผ่านเส้นประสาทตา กำหนดเวลาผ่านทางแสง 1. ฮอร์โมนสเตียรอยด์ 2. ผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ 3. อุณหภูมิ * กระตุ้นได้ด้วยความร้อน แต่เปลี่ยนไปไม่ร้อยเปอร์เซ็น ร่างกาย * กลางคืนเรานอน สร้างไขมันมาก ต้องกินสตาตินในเวลาก่อนนอน * ร่างกายกระตุ้นระบบหัวใจและหลอดเลือดในตอนเช้า เกิดสโตรกได้ ระบบประสาท (ไม่เกี่ยวกับปัจจัยภายนอก) 1. สมองตื่นตัวมากช่วงเวลาเช้า ใช้ทำงานและตัดสินใจ คิดเรื่องสำคัญ * บ่ายโมงถึงบ่ายสาม สมองตกลงไป ง่วง 2. หัวใจและหลอดเลือด ทำงานเต็มที่ช่วงใกล้รุ่งสาง - 11 โมงทำงานเต็มที่ ขยายตัวดีช่วงประมาณ 4 โมง - 6โมงเย็น พ้องกับระบบกล้ามเนื้อทำงานได้ดี ออกกำลังกายช่วงนี้มีประสิทธภาพที่สุดในช่วงนั้น 3. ระบบภูมิคุ้มกัน ในเวลากลางคืนที่การอักเสบในร่างกายแต่ดี ระบบทำงานเจอเชื้อโรคจัดการได้ เก็บชิ้นส่วนที่ไม่ดีไปแจ้ง เอาเซลล์ที่ไม่ดีมารวมกันและจัดการกัน ถ้าเรานอนได้ดี 4. ปอด ทำงานน้อยที่สุดช่วงเวลากลางคืน ทางเดินหายใจแคบลง ทำงานดีช่วงบ่าย 4 โมง- 6 โมงเย็น ออกกำลังกายดีที่สุด 5. ต่อมไร้ท่อ แสงกระตุ้นบอกเวลา เมลาโทนินไปที่ตับสร้างอินสุลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือด กลางคืนไม่ต้องสร้างอินสุลิน 6. ไทรอยด์ฮอร์โมนทำงานเยอะช่วงเช้า 7. ไตทำงานได้ดีช่วงเวลากลางวัน 10โมงเช้า - 6 โมงเย็น ควรกินน้ำ เอาของเสียขับทางไต กลางคืนพักผ่อนไตไม่ต้องทำงาน กลางคืนพักผ่อน ร่างกายมีการอักเสบที่ดี ให้เซลล์คุ้มกันมาประชุมกัน เพื่อสร้างวางแผนรับมือในวันต่อไป ปิดโดยระบบคอติซอลระบบสเตียรอยด์ แต่ถ้าไม่นอน เกิดการอักเสบตลอด คอติซอลหลั่งตลอดเวลา เกิดกระตุ้น เบาหวาน โรคอ้วน ต่าง ๆ 8. สุดท้ายทั้งหมดวงจรของเซลล์เกิดขึ้นจริง ถึงแม้ไม่มีแสงตาบอดก็ยังมีนาฬิกาชีวิต แต่รอบหนึ่งอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า นาฬิกาชีวิตมีจริง ระบบควบคุมอยู่ที่สมองทำหน้าที่ควบคุมนาฬิกาทุกเรือนในร่างกาย จริง ๆ มีความเกี่ยวข้องกับสเต็มเซลล์ การหลับการตื่นไม่ดี ถ้าคุณไปกวนมันมาก กินข้าวไม่เป็นเวลา นอนไม่เป็นเวลา เจอแสงไม่เป็นเวลา นาฬิการวน โรคต่าง ๆ จะตามมา อัลไซเมอร์ พากินสัน เบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง สิ่งที่ดีที่สุดใช้ชีวิตให้เป็นเวลาเหมือนเดิมทุกวัน ออกกำลังกายช่วงบ่าย ตอนเช้าเจอแสงกระตุ้นสมองดี ถ้าเป็นคนนอนดึกค่อย ๆ ถอยมานอนเร็วได้ แต่ต้องถอยทุกกิจกรรมชีวิตหมด ถึงจะสามารถปรับเวลาของชีวิตได้ ถ้าคุณทำให้นาฬิกาของคุณดีคุณจะปลอดโรคได้ ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Ай бұрын
"นาฬิกาชีวิต" ยิ่งใหญ่และซับซ้อนกว่านาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาปลุกมากมายเลยนะคะ... เพราะมันไม่ใช่แค่เครื่องบอกเวลา แต่เป็นระบบที่ถูก "ติดตั้งมาโดยธรรมชาติ" ให้ทำงานประสานกับ จักรวาล เลยทีเดียว... ◾ถูกฝังอยู่ใน ทุกเซลล์ของร่างกาย ควบคุมการทำงานของอวัยวะทั้งหมด ตั้งแต่หัวใจ สมอง ตับ ไต ไปจนถึงระบบฮอร์โมน ◾ทำงานสัมพันธ์กับ แสงอาทิตย์, กลางวัน-กลางคืน, และโลกที่หมุนรอบตัวเอง ◾มีผลต่อทั้งสุขภาพ การนอนหลับ ความหิว ความเครียด และแม้แต่ความสุข ◾รักษาสมดุลระหว่างมนุษย์กับ "ธรรมชาติ" และ "จักรวาล"...
@chamaipornk1401
@chamaipornk1401 Ай бұрын
@benjatawat8739
@benjatawat8739 Ай бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอ
@thipawansomsoui373
@thipawansomsoui373 Ай бұрын
จริงค่ะ เคยทำงานอยู่เวร ช/ด/บ มา23ปี (อดีตพยาบาล)ตอนนี้ร่างพังแล้วค่ะ 😢 ติดกับระบบ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Ай бұрын
@@thipawansomsoui373 เห็นใจมากๆค่ะ ต้องค่อยๆจัดเวลานอนใหม่ รีเซ็ตระบบนาฬิกาชีวิตใหม่อีกครั้งค่ะ กำหนดเวลานอน เวลาตื่นให้เหมาะสมทุกวัน รวมไปถึงการกิน การออกกำลังกายด้วยค่ะ...
@thipawansomsoui373
@thipawansomsoui373 Ай бұрын
@@FragranzaTrippa ขอบคุณค่ะ ตอนนี้หันมาดูแลตัวเองมากขึ้น
@monthachok5438
@monthachok5438 Ай бұрын
คลิปอาจารย์หมอแทน ดีๆทั้งนั้นเลย เด้งขึ้นมาให้ดูในยูทูปตลอดทุกวันเลย ขอบคุณค่ะ
@hungrytime3343
@hungrytime3343 Ай бұрын
ผู้ติดตาม เพิ่มขึ้นมาเร็วมากเลยครับช่วงนี้ 17/12/2567
@thelordofthelinks1
@thelordofthelinks1 Ай бұрын
คลิปนี้มาแบบถูกจังหวะมากๆ เพิ่งไปหาหมอมาเพราะนอนหลับเองไม่ได้มาเป็นเดือน เพลียนะ ง่วงมากพอเคลิ้มจะหลับตัวเองก็ตื่นเต้นว่าเฮ้ยครั้งนี้จะหลับได้จริงๆหรอ แล้วใจก็หวิววูปเรียกขึ้นมาให้มีสติ เป็นลูปแบบนี้มาเป็นสัปดาห์ หมอเลยให้ยานอนหลับ+ยาคลายกังวลมาแล้วแนะนำให้เซตนาฬิกาชีวิตตัวเอง ผมเพิ่งเริ่มเข้าสู่การใช้ยาำด้สามวัน พอได้นอนเป็นเวลาแล้วเหมือนได้ชีวิตปกติกลับมา
@charonchaiphaengphirum3386
@charonchaiphaengphirum3386 Ай бұрын
ไลฟ์นี้ทำให้เราเข้าใจร่างกายตัวเองมากขึ้น ทำให้รู้เวลาไหนควรทำอะไรต่อร่างกาย สุดยอดครับ
@areeratasudhasirikul952
@areeratasudhasirikul952 Ай бұрын
Wow! Dr. Tany! You are the fist doctor can convey the doctor language into human being language and make people like me understand and can follow and see the picture as your instruction!
@thanajeawmalee8634
@thanajeawmalee8634 Ай бұрын
คลิปนี้ โคตรดี คนรักสุขภาพไม่ควรพลาด
@runhirata6831
@runhirata6831 Ай бұрын
ขอบคุณเช่นเคยคุณหมอ ใช่ค่ะนาฬิกาชีวิตเคยได้อ่านค่ะแต่ไม่ค่อยใส่ใจเท่าไหร่ แต่พอคุณเล่ามารู้สึกว่ามันน่าสนใจมากค่ะ🌎🙏👍
@กันทรากรสีคุณลา-ว5ค
@กันทรากรสีคุณลา-ว5ค Ай бұрын
ว้าวร่างกายของเรามหัศจรรย์มาก🎉🎉
@yunhosh
@yunhosh 19 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมอ เชื่อจริงๆค่ะ ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อก่อนทำงานที่ต้องเข้าเช้าบ้าง เข้ากลางคืนบ้าง ระบบร่างกายมันเเย่ลงเรื่อยๆจนกลายเป็นคนป่วยง่ายหายยากขึ้นๆ พอเลิกทำ กลับมาใช้ชีวิตที่บ้านตัวเองอยู่ต่างจังหวัด กินนอนตรงเวลามากขึ้น ที่เคยเจ็บเคยป่วยหายเป็นปลิดทิ้งเลยค่ะ 😊🙏
@boomsong5729
@boomsong5729 15 күн бұрын
ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะคุณหมอแทน 2 วันที่แล้ว เพิ่งมีคลิป ☘️Recap 2024: มาถึง 100 ล้านวิวแล้ว!!!☘️ วันนี้ยอดวิวรวม 101,181,616 ครั้งแล้วค่ะ ดีใจด้วยนะคะ เย้ๆ 🎁💐🎉💐🧡💐🎉💐🎁
@DaruneeMontharat-ii6xk
@DaruneeMontharat-ii6xk Ай бұрын
กำลังปรับนาฬกาชีวิตใหม่อยู่ค่ะ คุณหมอ ขอบคุณคลิปดีๆ นะคะ จะรักตัวเองให้มั่กมากเลยค่ะ ขอบพระคุณมั่กมากนะคะ 🙏🏼🙏🏼
@ณาตยาบัวสอาด
@ณาตยาบัวสอาด 22 күн бұрын
ชอบคุณหมอนะคะ คุณหมอมีความจริงใจ ซึ่งดูได้จากความใส่ใจในการตอบคำถามแต่ละคำถาม ชื่นชมค่ะ
@johnlo397
@johnlo397 Ай бұрын
ร่างกายประกอบขึ้นจากเซลต่าง ๆและมันก็มีชีวิตของมัน หาได้ใช่ของเรา สิ่งทีเป็นคุณ(ชื่อหรือ สิ่งสมมุติ)คือการทำงานร่วมกันของเซลล์ต่างๆ เหมือนกับบริษัทหนึ่ง เพราะฉะนั้นอย่าทำร้ายมัน ร่างกายนี้ไม่ใช่ของใคร
@nalineedeedee662
@nalineedeedee662 Ай бұрын
เข้าทางพุทธศาสนา
@beandee9711
@beandee9711 29 күн бұрын
ร่างกายนี้ไม่ไช่ของเรายังไง พูดไปเรื่อย คุณป่วยอย่าไปหาหมอนะ เพราะไม่ไช่ร่างคุณ 😂😂😂😂
@ช่วยตัวเอง-ด8ผ
@ช่วยตัวเอง-ด8ผ Ай бұрын
ขอให้ถึง 1m sub ไวๆ ครับ ช่องน้ำดี ดีใจด้วยครับพี่หมอ
@TheGodWarrior
@TheGodWarrior Ай бұрын
เคยถามตัวเองเหมือนกันว่า เราตื่นตอนเช้าตรงเวลาเป๊ะเลยทุกวันได้ไง พึ่งทราบคำตอบวันนี้เอง😅 ร่างกายคนเรานี่ คือสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดละ ใครเป็นคนออกแบบและสร้างขึ้นมานะ ซับซ้อนขนาดนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาแบบฟลุ๊กๆแน่นอน ต้องเป้นวิวัฒนาการที่ล้ำกว่าโลกเราไปอีกหลายล้านปี😊
@natyluvky
@natyluvky 29 күн бұрын
เกิดมา ครึ่งชีวิต ใช้ชีวิตประมาทมาตลอด ชีวิต ที่เหลือ อีก ครึ่งชีวิต จะใช้ชีวิต ชีวิตตามคุณหมอค่ะ ขอบคุณมากๆๆค่ะ 🙏👍👍🙏
@iambabaruchda
@iambabaruchda Ай бұрын
คลิปดีมากครับ ความรู้ล้วนๆเลยอ่ะ ในช่วงที่พูดถึงปอด ที่บอกว่าปอดทำงานได้ไม่ค่อยดีช่วงประมาณตี 2 ถึงเช้า และดีสุดช่วงบ่ายๆ เรามีความรู้สึกว่ามันขึ้นกับปริมาณออกซิเจนในอากาศช่วงนั้นด้วยมั้ง นี่เป็นข้อสมมติฐานนะ หากว่าแสงทำให้พวกต้นไม้ได้รับการสังเคราะห์แสงเยอะสุด กระบวนการหายใจของต้นไม้ก็จะผลิตออกซิเจนออกมามากที่สุดในช่วงบ่าย นี่อาจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เราได้รับออกซิเจนมากสุดในช่วงนั้น และเป็นช่วงที่ปอดรื่นเริงที่สุด ตรงกันข้าม พอถึงกลางคืน ต้นไม้ไม่ได้รับแสงแดด แต่กระบวนการหายใจของต้นไม้ยังมีอยู่ ต้นไม้จะคายออกมาแต่คาร์บอนไดออกไซด์ และเมื่อเข้าสู่เวลาต้นของกลางคืน สัดส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ก็ยังมีเยอะอยู่ แต่ยิ่งดึก ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ก็ยิ่งเยอะขึ้น แน่นอนว่าเยอะสุดในเวลาก่อนแสงอาทิตย์จะขึ้น ก็ตรงกับช่วงเวลาของปอด ที่จะเริ่มซบเซาลงหลังจากดวงอาทิตย์ตก และเริ่มมากขึ้นๆจนกระทั่งเวลาประมาณตี 4 แน่นอนว่าช่วงนั้นคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจะเริ่มเยอะสุด ปอดเลยทำงานแย่ลงในช่วงนั้น จนกระทั่งแสงอาทิตย์เริ่มโผล่มา ต้นไม้จึงเริ่มกระบวนการสังเคราะห์แสงอีกครั้ง และคาร์บอนไดออกไซด์จึงเริ่มถูกต้นไม้ดึงกลับเข้าไปเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง เราได้ออกซิเจนกลับมาอีกครั้ง และปอดก็เลยเริ่มกลับมาทำงานได้ดีขึ้น (หรือรวมถึงระบบของร่างกายด้วย) นี่เป็นข้อสันนิษฐานนะ อยากทำการทดลองจังเลยครับ
@preaewpiir
@preaewpiir 6 күн бұрын
ขอบคุณความรู้ดีๆ ที่คุณหมอนำมาบอกเล่านะคะ ไม่คิดว่าตัวเองจะชอบฟังเรื่องวิชาการที่รู้สึกว่ามันยากที่จะเข้าใจ แต่คุณหมอทำให้ทุกอย่างฟังเข้าใจง่าย ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ
@wichaipongthadaporn2026
@wichaipongthadaporn2026 Ай бұрын
คุณหมออธิบายได้ดีมากๆ เข้าใจกระจ่างเลย และแพทย์แผนจีนนี่ก็สุดยอดมากเพราะรู้เรื่องนี้มาเป็นร้อยเป็นพันปีมาแล้ว เมื่อก่อนเคยได้ยินแต่ไม่ค่อยเชื่อ(ทั้งๆที่อยู่ในวงการสุุขภาพ) ตอนนี้เลยมีโรคประจำตัวเพราะนอนหลับไม่เพียงพอและไม่เป็นเวลา
@illbefine7642
@illbefine7642 5 күн бұрын
เป็นคลิปที่ดีมากๆ เลยค่ะ ทำให้เราได้เข้าใจระบบการทำงานของร่างเรา ขอบคุณมากๆค่ะ❤❤❤❤❤
@Rainbow-N3
@Rainbow-N3 29 күн бұрын
ชอบเรื่องที่คุณหมอนำมาลงตอนนี้ นอกจากสาระความรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บก็อยากให้คุณหมอนำเสนอสาระทุกเรื่องที่เป็นความรู้ในหลายๆด้านหลายๆมุมของชีวิตทั้งมนุษย์ พืช และสัตว์ทึ่เป็นงานวิจัยด้วยค่ะ ขอบคุณทุกคลิปที่นำมาลงนะคะ มีแต่ความรู้ทั้งนั้นเลยค่ะ
@patriyaangchandrpen701
@patriyaangchandrpen701 Ай бұрын
คุณหมออธิบายได้สนุกมากค่ะ และมีประโยชน์มากเช่นกันค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ
@NpAuk
@NpAuk Ай бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอคนเก่ง
@penpugsuwan7447
@penpugsuwan7447 Ай бұрын
อวัยวะเรามีการทำงานเป็นระบบได้แก่#ระบบ#การย่อยอาหาร ขับถ่าย หายใจ การไหลเวียนโลหิตฯ /ซึ่งควบคุมโดยสมองส่วนหน้าเรียกว่า Hypothalamus ทำให้เรารู้สึกร้อนหนาว ง่วงนอนต้องตื่น กิน ทำกิจวัตรประจำวัน /ถ้าเราวางแผนให้อวัยวะต่างๆ ทำงานเป็นเวลาในทุกวัน หรือตามเวลาพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ย่อมส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี แข็งแรงปราศจากโรคภัย/ สรุปได้แบบนี้ ขอบคุณอาจารย์ค่ะ
@SinghaMakara
@SinghaMakara 29 күн бұрын
แล้วถ้าเป็นกลุ่มคนที่ทำงานกลางคืนถึงเช้า อย่างเช่นหมอหรือพยาบาล ร่างกายจะปรับการทำงานเองแบบคนนอนกลางคืนทั่วไปมะครับคุณหมอ ตามมาแต่โควิดคนหลักพัน ขอบคุณมากๆครับคุณหมอแทน❤🙏🏻
@DrTany
@DrTany 29 күн бұрын
ผมเคยทำคลิปเรื่องนั้นไปแล้วครับ kzbin.info/www/bejne/d4nTaWuAm7d7gc0si=w9JtgUwPAitxy69z
@SinghaMakara
@SinghaMakara 29 күн бұрын
@ ขอบคุณค้าบบ🫶🏻🙏🏻
@bulakornchaimongkol8902
@bulakornchaimongkol8902 Ай бұрын
ผมดูคลิปนี้หลายรอบครับอาจารย์! เพราะช่วงต้นเข้าใจยากมากแต่ท้ายคลิปได้แนวทางการดำเนินชีวิต ขอขอบคุณ🎉อาจารย์มากครับ!(ผมจัดอยู่ในกลุ่มนาฬิกาชีวิตพังแบบซ่อมไม่น่าจะได้แล้วครับ!)😅
@Jum.A1
@Jum.A1 Ай бұрын
เอาใจช่วยค่ะ คุณทำได้!!! ✌🏻
@bulakornchaimongkol8902
@bulakornchaimongkol8902 Ай бұрын
@Jum.A1 ขอบคุณมากครับ
@sareeruttanarengsomboon8754
@sareeruttanarengsomboon8754 26 күн бұрын
ติดตามคุณหมอสม่ำเสมอ ความรู้ที่ทันสมัยค่ะ😊
@cottonlog
@cottonlog 26 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ ฟังแล้วสนุกดี ร่างกายเรานี่น่าทึ่งดี 😊
@juliegontin2810
@juliegontin2810 Ай бұрын
พี่หมอหล่อมาก❤❤
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Ай бұрын
🥰ขอบคุณอจ.หมอมากนะคะ🐰^-^🙏
@เทียรราตรีจรัญญาสนเทศเลิศ
@เทียรราตรีจรัญญาสนเทศเลิศ Күн бұрын
มีประโยชน์มากกกกกก(ก.ล้านตัว)>ขอบคุณมากค่ะ👍👍👍👏
@kamolpornjiravanont3337
@kamolpornjiravanont3337 24 күн бұрын
คุณหมออธิบายเรื่่องยากให้เข้าใจง่ายแถมสนุกอีกต่างหาก ขอบคุณ คุณหมอ ที่ทำให้เราเข้าใจร่างกายเพื่อดูแลสุขภาพในระยะยาว ชอบมากๆเลยค่ะ🙏👍👏💕ขอบคุณนะคะ💋
@niddatharworn3496
@niddatharworn3496 25 күн бұрын
ยอดเยี่ยมค่ะหมอ ขอบคุณพระเจ้าทุกๆเวลาของชีวิต ขอบคุณสิ่งดีมากมายของร่างกายนี้ ฟังแล้ว ยอดเยี่ยมจริงๆค่ะ
@รัตนาระย้า
@รัตนาระย้า Ай бұрын
ชอบทุกคลิปของหมอ เข้าสู่ผู้สูงวัยกำลังปรับนาฬิกาชีวิตค่ะ ❤❤❤
@pinkyz6496
@pinkyz6496 Ай бұрын
ฟังคุณหมอเรื่องนี้แล้วสนุกดีครับ เหมือนเป็นภาคต่อของต่อมไพเนียลแกรนเลย จะพยายามเอาไปปรับใช้ตามครับ
@RoongrojPoolsawasdi
@RoongrojPoolsawasdi 29 күн бұрын
เป็นครึ่งชั่วโมงที่มีคุณค่ามากเลย ขอบคุณมากครับ
@secretofprincess
@secretofprincess Ай бұрын
ขอบคุนค่ะ คุนหมอ โชคดี เปนคน นอนเช้า ตื่นบ่าย แต่นอน แบบนี้มา จะ 10 ปีแล้ว รึ เวลามีไปเที่ยว ตปท นานๆ เวลา ก้ มั่วหมด แต่กับไทย มา คือ พยายาม ปรับนอนเวลาเดิม 😊😊
@AL86898
@AL86898 Ай бұрын
ยินดี😊กับยอดผู้ติดตามFC7.14 แสนคนค่ะ 💖💖💖💖💖💖💖 💚 🧡🧡🧡🧡 🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀
@ฐานิดาสุทธินวล
@ฐานิดาสุทธินวล 28 күн бұрын
คุณหมออธิบายได้เห็นภาพเข้าใจง่าย เป็นคลิปที่ดีมากๆค่ะ..ขอบคุณมากนะค่ะที่สละเวลาหาข้อมูลมีประโยชน์ให้แก่พวกเราฟัง☺️☺️☺️
@GYY-l9v
@GYY-l9v Ай бұрын
ใช่เลยค่ะเลี้ยงกระต่ายอายุ 8 ปี อยุ่ดีดีเขาก้อจากไปอย่างสงบค่ะ ❤❤❤❤
@phavinib.959
@phavinib.959 Ай бұрын
อยากฟังเรื่องนี้มากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ🙇
@kanchanaareehamad2472
@kanchanaareehamad2472 29 күн бұрын
พระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่าง น่าอัศจรรย์มาก
@Richieontheway9
@Richieontheway9 19 күн бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ อยากฟังเรื่องข่าวที่ว่ามีรายงานพบสารเคมีอันตรายตกค้างปริมาณสูง บนสายสมาร์ทวอทช์รุ่นยอดนิยม ที่มีฟลูออโรอีลาสโตเมอร์เป็นส่วนประกอบจากคุณหมอค่ะ
@phavinib.959
@phavinib.959 Ай бұрын
ระบบภูมิคุ้มกัน อยากทราบสุดๆ ขอบคุณมากค่ะ🙇
@suriyawong75
@suriyawong75 Ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ😊😍😍
@ph2951
@ph2951 Ай бұрын
ย้ายมาทำกะดึกได้4เดือนแล้ว รู้สึกจริงๆวาาร่างกายพังมาก ตอนนี่เลยแพลนจะกลับไปทำกะปกติแล้วค่ะ อาจารย์อธิบาย เข้าใจง่ายมาก ขอบคุณนะคะ
@pinyadatothong1649
@pinyadatothong1649 11 күн бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะ ได้ความรู้เพิ่มมาดูแลตัวเอง
@waanvanichwoharn1970
@waanvanichwoharn1970 Ай бұрын
คุณหมออธิบายได้ดีมากเลยค่ะ ฟังแล้วก้อรุ้สึกดีทีี่เราพยายามทำนาฬิกาชีวิตให้ดี เป็นคนที่จะนอนกี่ทุ่มก้อตื่นราวๆตี 4 ตี5 ทุกวันตอนเช้าถึงเที่ยงจะปัสสาวะ 3-5 ครั้ง( ดูเยอะมาก) ตอนบ่ายแทบไม่ปัสสาวะเลยจนถึงเวลาจะอาบน้ำนอน แต่จะตื่นราวๆตี 2 เพื่อปัสสาวะแล้วก้อดื่มน้ำนอนต่อ คือพยายามไม่ดื่มแต่มันกระหายน้ำจนนอนต่อไม่ไม่ได้ค่ะ ☺️☺️
@Chaweewan8769
@Chaweewan8769 Ай бұрын
ไม่เคยทราบว่าร่างกายคนเราจะฉลาดขนาดนี้เซลล์ทุกเซลล์มีการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อปกป้องร่างกาย แต่ละช่วงเวลามีการทำหน้าที่แตกต่างกัน คลิปนี้ช่วยในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันว่าควรปฏิบัติตัวเช่นไร ขอบพระคุณมากค่ะ🙏
@keadnarong
@keadnarong Ай бұрын
คุณหมอเริ่มดังแล้วครับ
@nunisomjaipeng6072
@nunisomjaipeng6072 Ай бұрын
ขอบคุณค่ะ ได้ร้บความรู้ดีๆและถูกต้องเสมอๆ
@Pat_Nu
@Pat_Nu 23 күн бұрын
❤❤❤🙏🙏🙏🍀🍀🍀 มีประโยชน์มาก ฟังเรื่องไม่ง่ายเล่าได้ฟังเข้าใจง่ายและน่าสนใจมากค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
@กิตติวอทอง
@กิตติวอทอง 24 күн бұрын
ได้ความรู้ ความเข้าใจการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายมนุษย์ อธิบายได้เข้าใจง่าย
@Melt-away-stress
@Melt-away-stress Ай бұрын
Superb information indeed. Thank you soooooooooooooooooooooooooo much Dr. Tany. Wishing you have a beautiful day and night.
@Huang5334
@Huang5334 Ай бұрын
เยี่ยมเลยค่ะ
@vandam4687
@vandam4687 Ай бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ​ เข้าใจนาฬิกาชีวิตมากขึ้นเลยค่ะ​ ช่วงนี้มีเรื่องเครียดทำให้หลับยากมากเลย​ ​❤❤
@เรณุกาพูนผลทวีลาภ
@เรณุกาพูนผลทวีลาภ Ай бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากน่ะค่ะ มีประโยชน์ทุกคลิปเลยค่ะ เปิดฟังแทบทุกคลิปที่เปิดมาเจอ และยังแชร์ต่อๆกันให้คนที่รู้จัก และลูก-หลานฟังด้วยค่ะ ส่วนตัวป้าเอง เก็บใน keep memo ด้วย เก็บไว้ฟังเรื่อยๆ บ่อยๆ เวลาว่างๆก็เปิดมาฟังเมื่อไหร่ก็มีความรู้ดีค่ะ
@KKJKROISS
@KKJKROISS 9 күн бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ😊 คลิปมีประโยชน์มากค่ัะ อยากขอรบกวนให้คุณหมออธิบายการเกิด Jet lag การป้องกันและการรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นนิดนึงค่ะ☺️เนื่องจากเดินทางบ่อย และเกิด Jet lag ทุกครั้งนานหลายวันติดต่อกันค่ะ
@Rockyblack-88
@Rockyblack-88 Ай бұрын
ฟังแล้วได้ความรู้มากๆเลยค่ะ มันเว้าวมากเหมือนที่คุณหมอบอกเลยค่ะ ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลค่ะคุณหมอเป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ😊
@LAILAUNAHAWAT-vc8ju
@LAILAUNAHAWAT-vc8ju Ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ 🙏❤
@Jane-JN
@Jane-JN Ай бұрын
วันนี้ได้รู้จักนาฬิกาชีวิตอย่างละเอียดเลยค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากๆ ที่แบ่งปันความรู้นี้ค่ะ
@สุนันทาชุ่มจิตร-ศ3ค
@สุนันทาชุ่มจิตร-ศ3ค 28 күн бұрын
วันนี้มาฟังความรู้จากคุณหมออีกค่ะ 20/12/67 ขอบพระคุณความรู้ดีๆจากคุณหมอนะคะ
@Annie-tp1oy
@Annie-tp1oy 18 күн бұрын
ฟังสนุกมากค่ะคุณหมอ ขอบคุณเนื้อหาสาระดีๆนะคะ❤
@lamulherman3352
@lamulherman3352 Ай бұрын
Thank you, thank you ค่ะ คุณหมอ 🙏🙏
@ninanapapha
@ninanapapha Ай бұрын
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ คุณหมอเล่าแล้วเข้าใจง่าย ฟังเพลิน และ เข้าใจระบบร่างกายแยอะเลยค่ะ 😊😊😊😊❤❤❤❤
@tukischiltz9263
@tukischiltz9263 Ай бұрын
สวัสดี🙏ค่ะ ท่านคุณหมอ และทุกคน ชอบฟังท่านมากๆเลยค่ะ พูดดี พูดไพเราะมากค่ะ พูดได้ถูกต้องค่ะ thank you 🙏
@premshanapaa7114
@premshanapaa7114 Ай бұрын
ติดตามคุณหมอแทนค่ะ😊❤
@นิศานาทณัฐพิเชฐคุณ
@นิศานาทณัฐพิเชฐคุณ 7 күн бұрын
ขอบคุณคะ🎉❤🎉
@พี่น้องชาแนล-ฬ5ฦ
@พี่น้องชาแนล-ฬ5ฦ Ай бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอ❤
@meepogyro5117
@meepogyro5117 20 күн бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากๆครับ❤❤❤
@supaneesangiamsak5463
@supaneesangiamsak5463 Ай бұрын
เข้าใจร่างกายมากขึ้น เอาไปใช้ได้เลย ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ😊
@The-spsp
@The-spsp Ай бұрын
ไม่ผิดหวังที่ติดตามคุณหมอค่ะ❤
@ภาวิณีพลายละมูล-ฑ1ภ
@ภาวิณีพลายละมูล-ฑ1ภ Ай бұрын
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์หมอ นาฬิกาชีวิต ทำให้ป้าต้องมาดูแลตัวเองมากขึ้นค่ะ🙏💪
@ธัญชนกทองมา-ณ6ฅ
@ธัญชนกทองมา-ณ6ฅ 11 күн бұрын
ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ
@mayharu
@mayharu 19 күн бұрын
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ เสื้อคุณหมอน่ารักมากเลยค่ะ😊
@ทวีศักดิ์แก้วกัณหา-ฐ3ฒ
@ทวีศักดิ์แก้วกัณหา-ฐ3ฒ Ай бұрын
คุณหมอเล่าอย่างกะหนังเอ๊กซ์ชั่นไชค์ไฟล์เลย ฟังแล้วสนุกดีครับ😂😂😂
@chowdertoon
@chowdertoon Ай бұрын
สวัสดีค่าคุณหมอ❤
@basicoffighters7299
@basicoffighters7299 21 күн бұрын
🙏🙏🙏🙏 ขอบคุณมากๆครับ
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 Ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากค่ะวันนี้มาให้ความรู้ นาฬิกาชีวิต : เมือทุกอวัยวะมีนาฬิกาเป็นของตัวเอง- circadian Rhythm👍🙏🌹
@chisaarnprayoon8037
@chisaarnprayoon8037 29 күн бұрын
ขอบคุณคุณหมอค่ะ
@WorKer-tt1xy
@WorKer-tt1xy 27 күн бұрын
มาหังย้อนหลังอีก 1 รอบ ขอบคุณค่ะ
@getimagine9732
@getimagine9732 Ай бұрын
น้องเนย💖 butter bear.
@akkk3256
@akkk3256 17 күн бұрын
ขอบคุณสาระดีๆ ที่ผมก็อยากจะรู้
@uraiwalschmitt861
@uraiwalschmitt861 22 күн бұрын
❤ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ
@จริราภรณ์โพธิ์วันนา
@จริราภรณ์โพธิ์วันนา 27 күн бұрын
ขอบคุณความรู้ดีๆนะคะคุณหมอ ติดตามตลอดค่ะ
@นิตยากองสีทา
@นิตยากองสีทา 15 күн бұрын
ขอบคุณมากคะ
@silhartguy
@silhartguy Ай бұрын
ขอบคุณคุณหมอครับ เคยได้ยินเรื่องนี้แต่ไม่เคยได้ข้อมูลที่ให้รายละเอียดถึงกลไกการเกิดและความสัมพันธ์กับการทำงานในระบบต่างๆ เป็นข้อมูลทางการแพทย์ที่ดูเป็นเรื่องสำคัญต่อการดูแลสุขภาพให้ดีเป็นปกติตามกลไกการทำงานของร่างกาย แต่ทำไมบุคลากรทางการแพทย์เองถึงถูกจัดการให้ทำงานในภาวะที่ต้องฝืนต่อกลไกเหล่านี้ ผมเห็นน้องพยาบาลจบใหม่เพิ่งทำงานปีแรกที่ต้องทำงานควงเวร4เวรติดบ้าง3เวรติดบ้าง ทำงานต่อเนื่อง5-6วันได้นอนแค่4ชม.ระหว่างเวร เพราะต้องเสียเวลากับการส่งเวรบ้างรอคนอื่นที่ส่งเวรไม่เสร็จจบก่อนถึงกลับได้ เลยเหลือเวลานอนแค่นั้น จากตารางเวรที่กำหนดมาให้ไม่สามารถแลกเวรกับใครได้ แบบนี้จะไม่ส่งผลกับงานที่รับผิดชอบกับชีวิตและสุขภาพของผู้ป่วยได้ยังไง ในเมื่อสุขภาพของพยาบาลที่เป็นผู้ต้องรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่พักผ่อนไม่พอฟื้นตัวไม่ได้เต็มที่แบบนี้ ไม่ต้องพูดถึงการผิดเพี้ยนจากนาฬิกาชีวิตตามที่คุณหมอว่าที่ไม่มีทางตรงได้จากการควงเวร แค่ period ของการนอนแค่4-5ชม.ติดกันสี่ห้าเวรก็แย่แล้วครับ
@monsichawassapakdee9386
@monsichawassapakdee9386 Ай бұрын
ชอบการบรรยายของคุณหมอมากๆค่ะ ❤
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov Ай бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน สำหรับข้อมูลและความรู้ที่อธิบายเกี่ยวกับ Circadian Rhythm เป็นประโยชน์ค่ะ
@surasakrungruangpol549
@surasakrungruangpol549 Ай бұрын
ฟังง่ายเข้าใจง่ายดีครับคุณหมอ
Мясо вегана? 🧐 @Whatthefshow
01:01
История одного вокалиста
Рет қаралды 7 МЛН