No video

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำอย่างไร

  Рет қаралды 47,403

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 330
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำอย่างไร #ผู้ป่วยติดเตียง สาเหตุผู้ป่วยติดเตียง 1. เส้นเลือดสมอง ตีบ หรือ แตก ไปทำให้เป็นอัมพฤกของร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ 2. คนที่มีปัญหาทางด้านสมองด้วยเหตุผลต่างๆเช่น โรคสมองเสื่อมที่รุนแรงมากๆ ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 3. บางคนมีโรคสมองที่รุนแรง จนไม่สามารถเดินเองได้ ทำให้เป็นผู้ป่วยติดเตียงขึ้นมาได้ 4. คนที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวหลายๆโรครวมๆกันก็อาจทำให้เป็นผู้ป่วยติดเตียงขึ้นมาได้ ตอนที่1
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
แต่ละโรคโอกาสที่จะติดเตียง หรือ ดีขึ้นแตกต่างกัน จะต้องสอบถามแพทย์ที่รักษา ยิ่งติดเตียงนานเท่าไหร่โอกาสที่จะดีขึ้นก็จะยิ่งลดลงตามระยะเวลาเท่านั้น เพราะเมื่อติดเตียงเราจะไม่ค่อยได้ใช้กล้ามเนื้อของตัวเอง หากไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อนานๆ กล้ามเนื้อก็จะฝ่อ ลีบ จะใช้งานได้ลดลงไปเรื่อยๆ ข้อต่อต่างๆก็จะยึดติด ยิ่งทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาได้อีกมาก ควรใส่ใจด้านสุขภาพจิตใจของผู้ป่วย เพราะหลายๆคนยังรับรู้ว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยติดเตียง รู้ว่าตัวเองไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยเฉพาะคนที่เส้นโลหิตในสมองตีบหรือแตก แล้วเป็นอัมพฤก อัมพาตไป แล้วไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้สามารถทำได้ทุกอย่างได้ปกติ แล้วจู่ๆก็ไม่สามารถทำอะไรได้ คนเหล่านี้จะต้องดูแลสภาพจิตใจมากเป็นพิเศษ พยายามให้เขามองในแง่บวก ว่าสามารถดีขึ้นได้หากเขาทำกายภาพที่เหมาะสม และมีกำลังใจที่จะทำมัน คนเหล่านี้มักจะขาดกำลังใจ พอขาดกำลังใจแล้วก็จะท้อแท้แล้วก็ไม่ทำ สิ่งที่ตามมา คือจะสร้างความรำคาญและเป็นภาระเพิ่มขึ้นให้กับครอบครัว แล้วพอครอบครัวดูแลมากๆเข้าก็จะทะเลาะกันไป ทะเลาะกันมา คราวนี้ก็จะไม่ดูแลซึ่งกันและกัน คนไข้ก็จะแย่ลง ครอบครัวก็จะรู้สึกผิดตามไปด้วยเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจริง ตรงนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องสร้างความเข้าใจกันระหว่างคนดูแล และตัวคนไข้ ตอนที่2
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
ที่สำคัญต้องเข้าใจคนที่ดูแลคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ด้วยเพราะงานเขาก็หนัก จะต้องดูแลคนเหมือนทารกแรกคลอดที่ตัวใหญ่และเอาแต่ใจ ซึ่งเราก็ต้องเข้าใจว่าเป็นเพราะเขาเคยช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ตอนนี้กลับช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ดังใจ หลายๆคนที่มาโรงพยาบาล แล้วมีปัญหาทำไมหมอไม่ทำแบบนั้น ทำไมพยาบาลไม่ทำแบบนี้ ทำไมไม่ดูแล พยาบาล 1 คน ต้องดูแลคนไข้หลายคน ดังนั้นจะให้ความสำคัญกับคนไข้คนใดคนหนึ่งตลอดเวลาไม่ได้ เราควรจะศึกษาวิธีดูแลคนไข้เพิ่มเติมด้วย การดูแลด้านจิตใจผู้ป่วย และ ผู้ดูแลด้วย ควรจะมีการผลัดเปลี่ยนเพราะดูแลคนเดียวก็ไม่ไหส วันหนึ่งก็จะท้อ จะล้าขึ้นมาก็จะเป็นปัญหาได้ แล้วอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นเหมือนในข่าวก็ได้ นอกจากนี้ควรต้องสร้างแรงบันดาลใจต่างๆ เพราะมีหลายๆคนเป็นอัมพฤก อัมพาตแล้วสามารถหายดีได้ เราควรจะมองด้านบวกไว้ก่อน ตอนที่3
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
ปัญหาที่พบในการดูแลคนไข้ 1. ติดเชื้อ - ติดเชื้อจากการสำลัก เนื่องจากมีปัญหาทางด้านการกลืน คนติดเตียงห้ามนอนโดยเฉพาะนอนหงายแล้วเอาช้อนป้อนอาหาร หากสำลักแบคทีเรียจากปากจะเข้าไปในปอดเกิดปอดอักเสบติดเชื้อขึ้นมาได้ บางคนอาจเสียชีวิตได้ วิธีการป้อนอาหารจะต้องนั่งตัวตรง เอนก็ไม่ได้ ก้มนิดนึงได้ และต้องเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย แล้วถ้าเคี้ยวได้ไม่มากก็ต้องเป็นอาหารที่เคี้ยวง่ายขึ้น อาหารที่เป็นของเหลว หากเหลวเกินไปบางคนสำลักได้ จะต้องให้เป็นพวก sauce ที่เหนียวๆนิดหนึ่งเพื่อให้กลืนได้ง่ายขึ้น บางครั้งต้องปรึกษาคุณหมอจะมีนักกายภาพบำบัด มาประเมินการกลืนให้คนไข้ก่อน ผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถเดินได้ เมื่ออาหารลงไปแล้วจะอยู่ในกระเพาะ ดังนั้นกินเสร็จแล้วห้ามนอน เพราะอาหารสามารถไหลย้อนจากกระเพาะเข้ามาในปอดได้ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อได้ ควรจะให้นั่งอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย และยิ่งนั่งนานก็ยิ่งดี ตอนที่4
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
- ติดเชื้อจากกระเพาะปัสสาวะ เพราะคนเหล่านี้ไม่สามารถเดินไปขับถ่ายได้ด้วยตนเอง จะต้องขับถ่ายบนเตียง หากไม่ได้เช็ดทำความสะอาดให้ดีก็จะติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้หญิงจะกระเพาะปัสสาวะจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะจะสั้นกว่าผู้ชาย เวลาติดเชื้อรุนแรงที่มาโรงพยาบาลมักจะมาจาก ปอด ทางเดินปัสสาวะ ถ้าเชื้อรุนแรงมากๆก็จะเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาอีก - ติดเชื้อจากแผลกดทับ เพราะคนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนอนอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ โดยเฉพาะบริเวณก้นกบ ส้นเท้า ไหล่ ศีรษะด้านหลัง หรือ บริเวณไหนที่กดอยู่กับเตียงนานๆก็จะเกิดแผลกดทับได้ วิธีการป้องกันควรจะพลิกตัวคนไข้ทุกๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งแผลกดทับจะเกิดเนื่องจากเราไปกดบริเวณเดิมซ้ำๆเป็นเวลานานๆก็จะขาดเลือด แล้วเนื้อบริเวณนั้นก็จะตายแล้วมีการติดเชื้อตามมา โดยเฉพาะถ้ามีปัญหาเรื่องหลอดเลือด และเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ก็จะยิ่งเป็นและแผลก็จะไม่หาย ตอนที่5
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
2. นอกจากนี้เราต้องระวังในแง่โภชนาการ คนเหล่านี้จะต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ครบหมู่ และคนเหล่านี้ที่อยู่ในบ้านนานๆจะขาดแสงแดด และจะขาดวิตามินดีในท่ีสุด ดังนั้นคนเหล่านี้จะต้องให้วิตามินดีเสริมเข้าไป ที่สำคัญถ้าพอจะเข็นคนไข้ไปเจอแสงแดด ลม สิ่งแวดล้อมภายนอกได้จะดีมากเพราะ การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่อยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม แล้วออกไปเจอแสงแดด ลมบ้าง ได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ กับสิ่งที่อยู่ข้างนอกบ้างจะเป็นสิ่งที่ดี จะช่วยเยียวยาจิตใจคนไข้เป็นอย่างดี มนุษย์เป็นสัตว์สังคม การอยู่คนเดียวตลอดเวลาในห้องแล้วไม่เจออะไรเลย เป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่ๆ คนที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงก็ต้องการพบเจอสิ่งแวดล้อมภายนอกอื่นๆเหมือนกับคนปกติเช่นกัน เมื่อจิดใจเขาดีแล้วร่างกายก็มีโอกาสฟื้นตัวและแข็งแรงตามไปด้วย ตอนที่6
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 2 жыл бұрын
เคยเห็นคนแถวบ้านเค้าดูแลคุณแม่ที่เส้นสมองแตกเป็นอัมพาตนอนติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หลายปีมาก ๆ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาคุณแม่เค้าลุกนั่งได้ พูดได้ ทานข้าวเองได้ (ตอนนี้คุณแม่เค้าอายุใกล้ 90 แล้วค่ะ) คือเค้าดูแลดีมากค่ะ เค้าก็เครียดนะคะ แต่เค้าก็มีวิธีจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ดีมากค่ะ เอาความเครียดมาพูดหยอกล้อกับคุณแม่ให้เป็นเรื่องขำ หรือเค้าก็จะไปคุยกับเพื่อนบ้าน นับถือหัวใจลูกผู้ชายของเค้ามากเลยค่ะ สรุปว่าถ้าร่างกายผู้ป่วยติดเตียงยังแข็งแรง และได้รับการดูแลอย่างดีก็มีโอกาสดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อนะคะ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@anuraksaralee1347
@anuraksaralee1347 2 жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอที่ทำคลิปดีดี ในไทยน้อยมากเลย ที่จะมีคลิปแบบนี้ พ่อผมพึ่งติดเตียงง ได้ความรู้ ได้กำลังใจมากขึ้น ทำต่อไปนะคุณหมอ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
เห็นหัวข้อคลิปวันนี้ ดิฉันยังคิดเลยว่า ต้องตอบโจทย์ใครหลายๆคนแน่ๆค่ะ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อของคุณ ตัวคุณเองและครอบครัวด้วยนะคะ ขอให้บุญรักษาครอบครัวคุณด้วยคะ
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะคะ คุณแม่เคย Stroke หลังจากออกจาก รพ ก็จ้างนักกายภาพบำบัดมาดูแล และคุณแม่ก็หมั่นทำกายภาพด้วย สามารถกลับมาได้ 80% เลยนะคะ
@konglakaentaw3898
@konglakaentaw3898 Жыл бұрын
ตอนนี้อาการของท่านหายยังครับ? อยากรุ้ครับ เพราะพ่อผมเกิดอุบัติเหตุ ได้10วันเเล้วตอนนี้ป่วยติดเตียงครับ
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 2 жыл бұрын
น้ำตาไหลคิดถึงพ่อ..คะ ตอนนี้แม่ ก็เริ่มจะต้องไปอยู่ที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยคะ ด้วยที่ครอบครัวไม่สามัคคี..ชี้นิ้วสั่ง..ใครไม่พบเจอกับตัวเองไม่รู้ หรอกคะ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน นะคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้ครับ
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณคะ คุณหมอ
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 2 жыл бұрын
ขอบคุณคะ
@AL86898
@AL86898 2 жыл бұрын
ให้กำลังนะคะทำให้ดีที่สุดค่ะภาวะแบบนี้เคยเจอมาแล้วด้วยต้องพยาบาลคุณพ่อคุณแม่พี่ชาย อีก2ที่ป่วย ระยะใกล้ไป หาคนดูแลไม่มีเพราะอ้างติดงานกัน ที่สุดทุกท่านก็ไปหมดแล้วทั้งสี่ เห็นใจเลยเรื่องหาคนจะมาช่วย นะคะ ยากเหมือนกัน สู้ๆค่ะ
@maneeann
@maneeann 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่นำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง ผู้ป่วยติดเตียงมีรายละเอียดเยอะจริงๆ ทำให้นึกถึงตอนอยู่วอร์ดเลยค่ะ ที่ รพ ของดิฉันจะจัดเคสเป็นการดูแลแบบ Total care เมื่อแรกรับผู้ป่วยนอน รพ ก็จะมีการทำ Discharge planning เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อถึงเวลาจำหน่าย จะต้องมีการให้ความรู้กับ Care giver โดยการสอนการดูแลผู้ป่วยที่บ้านเฉพาะราย สถานที่ เตียงนอน การรับประทานอาหาร การขับถ่าย การทำความสะอาดร่างกาย ในรายที่เจาะคอ ต้องสอนการดูดเสมหะ การถอดเอาท่อด้านในออกมาล้างทำความสะอาด การพลิกตะแคงตัว การออกกำลังกาย และอื่นๆ ตามที่อาจารย์เล่ามาเลยค่ะ จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องอาศัยความเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะผู้ดูแลต้องมีความรู้ ถึงจะดูแลได้อย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่ญาติหรือผู้ดูแลจะรู้สึกเครียดขึ้นมาเลยค่ะ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็ต้องมีการเสริมพลังให้กับผู้ดูแล แต่ยังไม่เคยแนะนำเกี่ยวกับ Pet Therapy เลยค่ะ ดีเหมือนกันนะคะ น่าจะมีส่วนช่วยด้านจิตใจได้เยอะทีเดียวถ้ามีโอกาสจะแนะนำค่ะ มาถึงตรงนี้ก็คิดถึงโรซี่ 🐶 อีกแล้วค่ะ 😃 ดิฉันเชื่อว่าถ้า Care giver เหล่านั้นได้มาฟังคลิปนี้ของอาจารย์ คงจะมีความมั่นใจ และมีกำลังใจขึ้นมาเยอะเลยค่ะ ✌️
@vickipp5696
@vickipp5696 Ай бұрын
โอโห คุณหมอพูดถูกต้องมากค่ะ เล่าเกือบทั้งคลิป คืออาการเดียวกับคุณป้าสามี อายุ94เลยค่ะ แกแข็งแรงไม่มีโรค แต่เกิดล้มก้นกระแทกพื้นสะโพกหัก ผ่่าตัดเสร็จ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป มีอาการตามที่คุณหมอพูดหมดเลย ปอดอักเสบ ติดเชื้อกระแสเลือด ลำไส้มีเลือดออกอึสีดำ อยู่ๆหายใจไม่ออก ออกซิเจนตกแรง แอดมิทicuอีกรอบ (ก่อนล้มแกก็มีอาการเพ้อๆ สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือนอยู่ค่ะ) ตอนนี้คนดูแลเหนื่อยเลย จากที่แข็งแรง ล้มปุ๊ปทรุดเลย😢
@sasikan9388
@sasikan9388 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ วันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชอบมากและคิดว่าเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่จะได้พบเจอ เคยดูแลแม่เป็นอัมพฤกษ์ระยะสั้นๆแค่สามเดือนแม่ก็เสียตอนนั้นไม่ค่อยเครียด แต่เวลามาดูพ่อที่ไม่มีโรคอะไรเลยนอกจากโรคชราหนึ่งปีที่ดูแลยอมรับว่าเหนื่อยมากค่ะพยายามดูแลอย่างดี ขนาดว่าเขาไม่จู้จี้ ให้ทำอะไรก็ทำยังเหนื่อยเลยค่ะ เมื่อพ่อเสียตอนอายุ96 เขาหลับอย่างสงบเพราะเขาเจริญสติตลอด หลังจากนั้นก็ต้องรักษาตัวเองเพราะร่างกายอ่อนแอมาก คุณหมอบอกว่าเกิดจากพักผ่อนไม่เพียงติดต่อกันนาน ตอนนี้หายดีแล้วค่ะ ออกกำลังกาย นอนหลับ พักผ่อน สวดมนต์ แล้วก็ฟังสาระดีจากคุณหมอทุกๆวัน แค่นี้ก็มีความสุขแล้วค่ะ ขอกุศลผลบุญนี้ส่งผลให้คุณหมอเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปนะคะ❤️
@user-wn1hz2io4g
@user-wn1hz2io4g 11 ай бұрын
ดูคุณหมอเป็นประจำคัะได้ความรู้ดีมาก
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
คุณหมอเคยเห็นเชือกกายภาพหนูเล็กก่อนบ่ายไหมคะ แขวนไว้บนเพดานแล้วเป็นห่วงสี่อัน สองอันเกี่ยวที่ขา สองอันเกี่ยวที่มือ แล้วเอามือดึงให้ขาเคลื่อนไหวได้ ขึ้นลงๆ แบบนี้น่าจะช่วยได้ดีเลย ได้ออกแรงที่แขน ได้นั่งตัวตรง ได้เคลื่อนไหวขา ได้บริหารปอดและหัวใจ ❤️‍🩹 น่าจะดีนะคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
Core muscle อ่านว่า คอร์ มัสเซิล ฟังว่า คอร์ ก็จริงแต่ไม่ใช่ _กล้ามเนื้อคอ_ Core muscle คือ กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าเราจะขยับท่าทางไหน หรือทำกิจกรรมอะไรในชีวิตประจำวัน ก็มักจะใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนี้แทบจะตลอดเวลา ซึ่งทำหน้าที่เป็นหลักคอยช่วยพยุงร่างกายเราให้เกิดสมดุล ตั้งแต่สะโพก หลัง ไปจนถึงไหล่ และช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ใกล้เคียงกัน
@Spt_N_25
@Spt_N_25 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะ🙏🏻 #หมอแทน การดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำอย่างไร#ผู้ป่วยติดเตียง เรื่องนี้มีประโยชน์เลยค่ะ สรุปการดูแลผู้ป่วยติดเตียง -ผู้ป่วยจะดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นจากอะไรขึ้นอยู่กับจิตใจคนไข้ว่าจะ สู้แค่ไหนและการออกกำลังกายเป็นหลักรวมทั้งโภชนาการ -การดูแลคนไข้สิ่งที่ต้องกังวลสภาพจิตใจคนไข้และสภาพจิตใจของผู้ดูแลถ้ามีผู้ดูแลหลายหลายคนสลับกันได้ก็จะดี -สนับสนุนในแง่ของการนอนหลับให้ถูกต้องช่วงกลางวันให้มีกิจกรรมเยอะเยอะถ้าไปเจอแสงเจอธรรมชาติข้างนอกบ้าง ถ้ามีสัตว์เลี้ยงมีเด็กเล็กๆเอาไปเล่นด้วยจะทำให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ ยอมรับในสิ่งตัวเองเป็นรวมทั้งพยายามที่จะดีขึ้นให้มองในแง่บวก -ต้องระวังเรื่องของการกินอาหารเรื่องของสำลัก การขับถ่ายอย่าให้ท้องผูกเป็นอันขาดและถ้าปัสสาวะอุจจาระแล้วต้องรีบเช็ดการนอน ถ้าพลิกตัวควรจะพลิกตัวทุกๆ2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับคนเหล่านี้เวลาติดเชื้อมักจะติดที่ปอดที่ทางเดินปัสสาวะหรือที่แผลกดทับแล้วถ้าเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งอันตรายมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ -การออกกำลังกายควรให้คนไข้นั่งขึ้นมานั่งไว้นานนานยิ่งดีให้เท้าไปเหยียบตามพื้นผิวสัมผัสที่แตกต่างกันจะเสริมสร้างทำให้ประสาทของคนไข้ตื่นตัวได้แล้วก็มีการยึดเหยียดตามข้อต่างๆไม่ว่าข้อไหล่ข้อนิ้วมือข้อมือข้อศอกข้อเข่าข้อสะโพกข้อทุกข้อพยายามยึดไว้ ตรงไหนที่คนไข้ออกกำลังกายเองได้ให้ทำออกกำลังกายโดยการเกร็งข้อเหล่านั้น -เรื่องโภชนาการอาจจะต้องเสริมพวกวิตามินดีเพราะไม่เจอแสงแดดและกินแคลเซียมเสริมในบางกรณี กินอาหารให้ครบหมู่ดูเรื่องของการเคี้ยวการกลืนให้ดีหากไม่แน่ใจให้ปรึกษาหมอ*ห้ามให้อาหารในท่านอนเด็ดขาด พยายามให้นั่งขึ้นมา คุณหมอพักผ่อนบ้างขอให้ปลอดภัยงานราบรื่นค่ะ
@CSara-wl4wg
@CSara-wl4wg 2 жыл бұрын
เคยดูแลคุณแม่ติดเตียงแค่ 6เดือน เราเครียดจนเปนซึมเศร้าไปเลย อยากให้คุณหมอช่วยพูดเรื่องการดูแล ผป ระยะสุดท้ายด้วยค่ะ สำคัญไม่แพ้กันเลย อันนี้จากประสพการของตัวเอง
@kalyamonosathanond
@kalyamonosathanond 2 жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะคะพี่ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะเน้นไปที่การดูแลรักษาแบบประคับประคอง Palliative Care เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตในช่วงสุดท้ายดีที่สุด แต่อารมณ์ผู้สูงอายุบางทีจะเหวี่ยงและวีนแรงมาก จนเราเครียด หนูก็เข้าใจเพราะเคยผ่านมาก่อน ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ 🙏🏻💕
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะคะ จากประสบการณ์ คนดูแลผู้ป่วย ก็ต้องแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจด้วยค่ะ แนะนำให้อ่านธรรมะ หรือแนวจิตวิทยาช่วยได้เยอะค่ะ
@KarnTovara
@KarnTovara 2 жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะคะ ❤
@geegee2465
@geegee2465 2 жыл бұрын
💕🤜🤛ส่งกำลังใจให้นะคะการดูแลคนที่เรารักโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ เป็นบุญที่ยิ่งใหญ่คิดย้อนไปทีไร ก็มีความสุขทุกที ผลบุญนั้นจะช่วยคุ้มครองคุณ ให้ผ่านพ้นวิกฤตทุกอย่าง เราเข้มแข็งเราทำได้ต้องภูมิใจและชื่มชมตัวเองนะคะ 💐😍
@user-ht2lx1ow1n
@user-ht2lx1ow1n 5 ай бұрын
เราจะ3ปีแล้วน้ำตาไหลทุกวันงานก็ทำคนเดียวเลยทุกสิ่งอย่างเราคนเดียวแม่เราหลงด้วยเครียดมาก
@luxanawadeeboonyasirinun6378
@luxanawadeeboonyasirinun6378 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมอสำหรับหัวข้อนี้ ดีมากเลยค่ะ คุณหมอน่ารักอีกละตอนอธิบายเรื่องนี้…มีความใส่ใจในรายละเอียดและมีความห่วงใยออกมาในแววตา…ซึ่งก็อาจทำให้คนที่ต้องเผชิญเรื่องนี้ไม่น่าทุกข์กายใจมาก และไม่รู้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะถึงวันนั้นเมื่อไหร่ ที่เราอาจจะเป็นผู้ดูแล เป็นผู้ถูกดูแลแบบนี้เอง ได้ฟังคุณหมอวันนี้ เหมือนเป็นการเตรียมความรู้และความพร้อมไว้ก่อนระดับหนึ่ง (ก็ยังน่ากังวลใจเล็กๆ เหมือนกันค่ะว่า ถ้าวันนั้นเป็นต้อมที่ติดเตียงใครจะดูแล😭) แต่บางคนที่พอมีกำลังทรัพย์อาจจ้างคนมาช่วยดูแลได้ ก็เบาใจได้ระดับหนึ่ง แต่ดีที่สุดคือคนในครอบครัว ผู้ดูแลต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ นี้ได้ยิ่งดีขึ้นเลยค่ะ สำคัญคือ ที่ต้องมีความห่วงใยและใส่ใจด้วย อะไรๆ น่าจะดีขึ้นนะคะ
@kanokpornmartinez9609
@kanokpornmartinez9609 2 жыл бұрын
เคย ดูแล สามีเก่า ช้อก ไอชียู 23วัน แขนขา ลีฟ สมองจำเสื่อม ฟื้นมา ฝึกเดิน สอนการกินใหม่จร้าา หนักมาก ดูแล 24ชม จร้า 1ปี อ้วน แข็งแรง เดินได้ และเงียบ ไปเฉยๆ หมดเวลาตามที่บอกไว้จร้าา เพิ้ลบอกไม่มีโรค ไม่กินยา ยาช่วยไม่ได้ เป็นโรคกรรม โรคเวร ขอบคุณ ทางการแพทย์ ที่ให้ออกชิเจน รอดมาบอกลาได้ หายสงสัยจ้าา รพ รามคำแหง ปี2545
@AL86898
@AL86898 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์แพทย์ 🙏คุณหมอแทน วันนี้มาบอกเรื่อง การดูแลคนไข้ที่ติดเตียง ด้วยเหตุผลหลายอย่างเช่น คนเป็นโรคหลอดเลือดในสมองแตกตีบแล้วเป็นอัมพฤตหรืออัมพาต เคลื่อนไหวไม่ได้โรคสมองรุนแรง และโรคอื่นๆมากมายจนไม่สามารถเดินได้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้ จะลีบไป สิ่งที่ควรเข้าใจใส่ใจก่อนคือจิตใจของคนไข้เพราะว่าเคยช่วยเหลือตัวเองได้แล้วจู่ๆต้องมานอน ติดเตียงจิตใจจะเศร้าหมอง ท้อถอย ไม่อยากอยู่ มีอารมณ์หงุดหงิด เราต้องให้กำลังใจและต่างต้องเข้าใจระหว่างตัวเองคนไข้ กับคนดูแล💥ส่วนในการดูแลนั้น คนที่ดูแลก็จะต้องเข้าใจด้วยว่าต้องเหนื่อยกายและใจเหมือนดูแลเด็กทารกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นควรมีคนมาสับเปลี่ยนดูแลคนไข้ ต้องให้กำลังใจคนไข้ ด้วย💥ในการให้คนไข้กินอาหารนั้น ห้ามป้อนใส่ปาก ขณะนอนราบหรือแม้แต่เอียงตัว ต้องให้คนไข้นั่งตัวตรง จึงป้อน เพราะถ้าอาหารหล่นตกลงไปในหลอดลมเข้าไปในปอดเนื่องจากคนไข้กลืนอาหารไม่สะดวก ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ดังนั้นต้องให้นั่งตัวตรงเวลาป้อนอาหารและอาหารต้องเป็นแบบเหลวๆทานง่าย และทานเสร็จอย่าให้นอนทันทีต้องนั่งสักครึ่งช.มส่วนการช่วยให้คนไข้แข็งแรงเร็วขึ้น💥การกายภาพ ออกกำลังกายที่เตียงก็ได้ให้คนไข้ยกแขน ขา ขยับข้อต่อทุกส่วนของร่างกาย ไม่ให้ข้อต่อล๊อก ช่วยให้คนไข้ยกแขนให้ได้มากที่สุดโดยคนดูแลช่วยได้💥อาจมีอาการท้องผูก เพราะลำไส้ไม่ได้เคลื่อนไหวและการไม่ขยับร่างกาย จึงทำให้มีอุจจาระคลั่งค้างมากๆทำให้เกิดอาการเพ้อสับสน และ💥คนดูแลจะต้องพลิกตัวคนไข้ทุกสองช.มเพื่อป้องกันแผลกดทับ ที่หลังไหล่ ก้นกบต้องพลิกและเปลี่ยนท่าทางการนอนด้วย 💥การกินอาหารครบหมู่ต้องให้วิตามินดีเสริมเพราะไม่ค่อยโดนแดด💥ควรนำคนไข้ออกไปนอกอาคารเพื่อรับแสงแดด ดูต้นไม้ธรรมชาติ ให้จิตใจดีขึ้น ให้เค้าได้รับวิตามินD จากแสงแดดด้วย💥การขับถ่าย ไม่ดีท้องผูก อาจติดเชื้อทางเดินปัสสวะได้💥การนอนหลับเป็นอีกปัญหาหนึ่ง ถ้าคนไข้นอนไม่หลับ ให้ทำกิจกรรมในตอนกลางวันต้องให้เค้าหลับกลางคืนปิดไฟให้นอนเพื่อช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนตามเวลา 💥ออกกำลังกาย ตามความสามารถของคนไข้ ถ้าคนไข้เคลื่อนไหวได้นักกายภาพจะช่วยเราควรรู้วิธีด้วยถ้าติดเตียง ทำอะไรไม่ค่อยควรให้เคลื่อนไหวร่างกาย แขนข้อศอก ข้อมือ ยืดแขนขา ยกขึ้นยกลง การนั่งให้คนไข้นั่งนั้นจะต้องช่วยให้เค้าสามารถทรงตัวได้ นั่งห้อยขาดีมาก จะทำให้เค้าทรงตัวได้ดีถ้าต่อไปต้องยืนหรือเดิน ให้คนไข้จะมีการทรงตัวดีไม่ล้มการนั่งตรงนานๆดีช่วยให้การเดินต่อไป💥หรือการนำเท้าไปแช่น้ำ เย็นหรือทราย ก้อนหินก้อนกรวดที่ขรุขระ ช่วยให้ประสาทได้รับการกระตุ้น 💥อีกอย่างคือถ้ามีสัตว์เลี้ยงนำน้องหมาน้องแมวเอาไปให้เล่นกับคนไข้เช่น น้องหมา น้องแมว จะช่วยให้คนไข้อารมณ์ดีหรือเด็กๆลูกหลานทำให้เค้าสดชื่นขึ้น อารมณ์ดีขึ้น 💥ถ้าคนไข้มีโรคประจำตัวอยู่ในความดูแลของหมอ คุณหมอจะลดจำนวนยาลงอย่าขอหมอให้ยานอนหลับเพราะหมอไม่จ่าย ให้คนไข้ถ้าไม่นอนกลางวัน ก็จะได้มานอนตอนกลางคืน 💥ยาลดไขมันดีต่อคนไข้ในช่วง10และยาความดันไม่ต้องให้ถ้าอายุมากถึง80 ,คุณหมอลดยามากกว่า💥 สรุปการดีขึ้น นั้นขึ้นอยู่กับอะไร 💥ให้กำลังใจ การออกกำลังกาย การกินอาหาร วิตามินดี เสริมแคลเซี่ยม การกลืน การเคี้ยวต้องระวัง อย่าให้สำลัก ออกรับแสงแดด เรื่องการขับถ่ายต้องทำความสะอาดทันที เพื่อกันเรื่องติดเชื้อ กินแคลเซี่ยมเสริม วิตามินดี ขอบคุณค่ะ
@user-ml5zl3bx7j
@user-ml5zl3bx7j 2 жыл бұрын
😊ขอบคุณค่ะ😊
@AL86898
@AL86898 2 жыл бұрын
@@user-ml5zl3bx7j ด้วยความยินดีค่ะ
@Hoshi1451
@Hoshi1451 2 жыл бұрын
☺️ขอบคุณอาจารย์หมอ มากค่ะ คลิปวันนี้"การดูแลผู้ ป่วยติดเตียงทำอย่างไร #ผู้ป่วยติดเตียง อาจารย์ อธิบายวิธีดูแลคนไข้ให้ฟัง คนไข้จะดีขึ้นไหมขึ้นอยู่ว่า เป็นจากอะไรและขึ้นอยู่กับ สภาพจิตใจคนไข้ การนอน หลับ โภชนาการ การดูแล คนไข้ การออกกำลังกาย 🧡ด้านจิตใจคนไข้ ด้าน จิตใจผู้ดูแลให้มีการสลับ เปลี่ยนผู้ดูแลหลายคนก็จะ ดีกว่ามีผู้ดูแลคนเดียว 💙การนอนหลับ เวลากลาง วันพาไปเจอแสงแดด เจอ ธรรมชาติ หาสัตว์เลี้ยงมา เล่นด้วย จิตใจก็จะดี ยอมรับสภาพที่ตนเองเป็น และอยากให้ตนเองดีขึ้นมี กำลังใจ เวลากลางคืนปิด ไฟนอนให้หลับสนิท 💜การขับถ่าย อย่าให้ท้อง ผูก ทานอาหารเสร็จให้นั่ง อย่างน้อยครึ่ง ชม.หรือมาก กว่าเพื่อไม่ให้อาหารย้อน ขึ้นมาเพราะอาจเข้าปอด เกิดอักเสบได้ เมื่อปัสสาวะ หรืออุจาระให้เช็ดทำความ สะอาดทันที ❤️การนอน พลิกตัวทุก 2ชม. เพื่อป้องกันแผลกด ทับ และป้องกันการติดเชื้อ ที่ปอด ,ทางเดินปัสสาวะ เพราะแผลกดทับเชื้อเข้า กระแสเลือดอันตรายมาก 💛การออกกำลังกาย ให้ คนไข้หมั่นนั่งนานๆก็ได้เพื่อส่งเสริมให้แก่นกลางกล้าม เนื้อลำตัวแข็งแรงและยืนได้ ให้คนไข้เอาเท้าสัมผัสพื้น ผิวต่างๆเช่น เอาเท้าจุ่มน้ำ สัมผัสพื้นหญ้า,พื้นทราย เหยียบดิน,พื้นมีหิน เพราะ ช่วยกระตุ้นเส้นประสาท และช่วยความรู้สึกด้าน จิตใจให้ดีขึ้น ออกกำลังข้อ ต่อต่างๆเพื่อป้องกันข้อติด ก่อนจะเป็น เพราะเป็นข้อติดแล้วแก้ยาก และคนไข้ ทำได้ให้ออกกำลังกายเอง 💕โภชนาการ ให้เสริม วิตามินดี เพราะคนไข้แบบนี้ มักไม่ได้เจอแสงและอาจ ต้องกินแคลเซียมเสริมด้วย กินอาหารให้ครบหมู่ ระวัง การเคี้ยวการกลืนอาหาร อาหารไม่ควรเหนียวหรือ เป็นน้ำเกินไป เวลาทาน อาหาร💥ห้ามให้อาหาร ตอนนอนเด็ดขาด ให้ลุกนั่ง ตัวตรงเวลาทานอาหาร ขอบคุณอาจารย์หมอมาก ค่ะ อาจารย์อธิบายละเอียด เข้าใจง่ายมีข้อระวังพิเศษ มาเตือนกำชับบอก🌷 💕ขอบคุณมากมายค่ะ☺️
@peyawankulpokin4605
@peyawankulpokin4605 4 ай бұрын
ดูแลคุณพ่ออายุ 91 ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เราพอรู้วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตีนงอยู่บ้าง แต่เวลาปฏิบัติจริงไม่ง่ายเลย เช่น ทานอาหารแล้ว ควร นั่งก่อน ท่านก็จะนอนเลย บอกว่านอนเลยเดี๋ยวจะสำลัก ก็ไม่ฟัง การกายภาพ ก็ไม่ยอมทำ กลางวันหลับ กวนไม่ได้จะหงุดหงิด กลางคืนไม่นอน คนดูแลต้องใจเย็นมากๆ
@user-qe6nz3nt3o
@user-qe6nz3nt3o 3 ай бұрын
สู้ๆค่ะ ดูแล ก๋ง เหมือนค่ะ ก่อนติดเตียง จนตอนนี้ 97 แล้ว อยากดูแลให้ดีที่สุด แต่ที่บ้านมี เรากับแม่ คอยเปลี่ยนกันดูแล
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
สวัสดึค่ะคุณหมอธนีย์ คุณหมอพูดถึงจิตใจเป็นอันดับแรก จริงค่ะ นอกจากปัญหาด้านร่างกาย สภาพจิตใจของผู้ป่วย เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก สิ่งที่ผู้ป่วยมีเหมือนกันคือ ความทุกข์ใจ และความเบื่อหน่ายที่ไม่สามารถช่วยเหลือ หรือทำอะไรด้วยตัวเองได้เหมือนเดิม ผู้ดูแลควรมีความเข้าใจและอดทนมากๆ ที่คุณหมอแนะนำวันนี้ทำได้เกือบทั้งหมดค่ะ การบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยง และเด็กๆ ช่วยคลายเครียดและความเบื่อหน่ายได้มากค่ะ คุณหมอดูแลคนอื่นเสมอมา อย่าลืมดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขนะคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณมนต์...
@KarnTovara
@KarnTovara 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่าาคุณหมอ สำหรับคำแนะนำการดูแลผู้ป่วยติดเตียงค่า 🙇‍♀️ - คำแนะนำของคุณหมอมีประโยชน์มากๆ ค่ะ และสามารถประยุกต์ใช้ดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยค่ะ 👨‍👩‍👦💞 - *การดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ* เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากๆ ผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจโรคของผู้ป่วยเป็นอย่างดี เข้าใจสภาพจิตใจของผู้ป่วยและผู้สูงอายุเป็นอย่างดี ... รู้วิธีการดูแลที่ถูกต้องค่ะ - *ความสะอาด* ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ค่ะ ไม่ใช่ดูแลเฉพาะความสะอาดในการขับถ่าย แต่รวมถึง อาหาร เครื่องใช้ต่างๆ และตัวผู้ดูแลด้วยค่ะ 🙂 - *สำหรับผู้ดูแลเอง* ก็ต้องดูแลตนเองด้วยเช่นกัน เพราะอาจจะเครียดง่ายค่ะ 💫 เป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่าา 🙂
@user-qr3kr8ki2y
@user-qr3kr8ki2y Жыл бұрын
ขอบคุณ​มาก​ค่ะคุณหมอ ดูแลแม่ติดเตียงมา8ปี คำแนะนำของคุณหมอละเอียดเข้าใจง่าย แต่บางอย่างก็ไม่ได้ทำเลยค่ะ ช่วงปีแรกและปีที่2จะพาแม่ออกไปอาบน้ำทุกวัน พอตอนหลังปวดหลังมาก เริ่มถอยการอาบน้ำจากทุกวันเป็นวันเว้นวัน และถอยออกไปอีกเป็น2วัน แม่มีโรคเบาหวาน ความดัน เส้นเลือด​ใน​สมอง​ตีบ​ แขนขาข้างขวาอ่อนแรง แม่กินอาหารข้าวสวย ถ้าเป็นโจ๊กเป็นข้าวต้มแม่จะไม่ค่อยกินค่ะ แต่ข้าวสวยกับแกงแม่จะกิน แม่ไม่มีฟันแต่ไม่ชอบกินโจ๊ก แม่ขับถ่ายเองแต่บางครั้ง2วัน แม่กินยาคลายเครียด​มาหลายปี หมอจิตเวช​ให้ยา แต่จะนำความรู้จากคุณหมอในวันนี้ไปปรับใช้กับแม่ค่ะ แต่ยังติดเรื่องแม่กินน้ำแล้วสำลัก ก๋แก้ด้วยการให้กินหลอดก็สำลัก เปลี่ยน​เป็นดื่มน้ำในแก้วก็ยังสำลักอยู่ เลยต้องให้กินน้ำอึกนึงเอาหลอดออก แต่ก็ยังมีบางครั้งสำลัก ไม่ได้พาไปออกแดด แต่ห้องแม่จะมีแสงแดดเข้าถึงจะเปิดหน้าต่างให้แสงเข้ามา และทำให้แม่มองเห็นต้นไม้เขียวๆ ห้องมีหน้าต่างรอบเลยค่ะ ทำกายภาพ​ให้แขนขาไม่มีข้อติดอะไร เป็นปกติ ขอบคุณ​ุค่ะ​คุณ​หมอ​🙏❤️
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
รักษาตัวด้วยครับ
@user-qr3kr8ki2y
@user-qr3kr8ki2y Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ🙏
@user-db9kh7jw3b
@user-db9kh7jw3b 2 жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากๆครับที่ให้ข้อมูลดี ข้อคิดดีๆเป็นประโยชน์มากครับผม
@srisudad7207
@srisudad7207 2 жыл бұрын
ยิ่งฟังยิ่งชื่นชม คุณหมอ แทน ที่ มีความใส่ใจ อธิบายรายละเอียด ในการดูแลคนป่วยติดเตียง ทุกขั้นตอน ขอบพระคุณมากค่ะ
@rabbit2698
@rabbit2698 Жыл бұрын
ความรู้ที่คุณหมอถ่ายทอดเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ดูแลปฎิบัติกับคนไข้อย่างมีความหวังมากขึ้น ขอบพระคุณมากๆๆค่ะ
@fyerwn3270
@fyerwn3270 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ ที่นำประเด็นนี้มาพูดถึงโดยละเอียด เป็นเคสที่เครียดทั้งผู้ป่วยและคนดูแล อาทิตย์แรกที่รับกลับมาดูแลเองคือเคว้ง ไม่เหมือนที่บรีฟกันไว้ คนบรีฟมืออาชีพแต่เรามือสมัครเล่นเนอะ ต้องสังเกตต้องปรับตัวกันหมด ทั้งปั่นอาหาร กายภาพ ดูและเรื่องขับถ่าย ให้ยากิน ฉีดยา ให้น้ำเกลือ แผลกดทับ แล้วถ้าเป็นเคสมนุษย์ยังมีเรื่องอารมณ์ทั้งคนไข้และคนดูแล ถ้าเคสน้องหมาที่ดูนี่คือต้องระวังอารมณ์ตัวเอง เค้าไวกับอารมณ์เจ้าของมาก
@mythaichannel9082
@mythaichannel9082 2 жыл бұрын
ได้ความรู้ อีกแล้ว พี่ทำงาน กับ Seniors เจอเคสแบบนี้ แทบทุกวัน แทงคิ้ว สำหรับความรู้ จ้าาาา
@jidapatisa4992
@jidapatisa4992 2 жыл бұрын
ติดตามเพจคุณหมอแทน ตลอดค่ะ มีประโยชน์ และ ให้ความรู้มากๆค่ะ และได้ปฎิบัติตาม ที่คุณหมอแนะนำ ทุกอย่างค่ะ รอติดตามคลิปต่อไปอีกนะค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
Polypharmacy ที่อาจารย์กล่าวถึง คือ การใช้ยาหลายตัวควบคู่กันไปพร้อมกัน หรือการใช้ยาฟุ่มเฟือย เป็นการใช้ยา _มากกว่า 5 ชนิดเป็นต้นไปสำหรับผู้ป่วย 1 ราย_ รวมไปถึงการใช้ยาที่ไม่มีข้อบ่งใช้ การใช้ยาเกินขนาด หรือการใช้ยาชนิดอื่นมารักษาผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีกชนิดหนึ่ง ยาที่พบว่ามีปัญหาการใช้ยาฟุ่มเฟือย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ยารักษาโรคเรื้อรังและยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ
@yaombl4585
@yaombl4585 2 жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอมากๆค่ะ จะได้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง อย่างเข้าใจ
@punpi_jim
@punpi_jim 2 жыл бұрын
คุณหมอสอนคลิปนี้ฟิวกระตือรือล้นดีจังเลยคะ😍😍 ยิ่งสอนถึงช่วงกระตุ้นภาวะเสริมพลังงานบวกให้กับผู้ป่วยจากการเหยียบทราย จากการเหยียบพื้นเย็น จากเด็ก จากสัตว์เลี้ยง จากคนใกล้ชิด ...📌เคยเห็นผู้ป่วยติดเตียงบางรายท้องอืด ท้องผูก บ่อยมากเลยคะ ถ้าต้องทานยาระบายบ่อยๆในระยะยาวมีผลเสียหรือผลข้างเคียงไหมคะ แล้วมีวิธีระบายโดยวิธีอื่นแทนทานยาไหมคะ🙏💚
@DoDeeDee-2567
@DoDeeDee-2567 Жыл бұрын
คลิปนี้ดีมาก ๆ กำลังดูแลคุณแม่ค่ะ คุณหมอเก่งจัง รู้รอบ รอบรู้
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
อาจารย์พูดถึงอาการสับสน เพ้อ เห็นภาพหลอน ของผู้ป่วยติดเตียงหลายราย ทำให้นึกถึงคลิปเก่าที่อาจารย์เคยบรรยายไว้ เรื่อง อาการสับสน หลอน เพ้อ Delirium ในคนไข้อาการหนัก แนะนำทุกท่านดูคลิปนี้นะคะ kzbin.info/www/bejne/imjShqCsn6trl5o
@user-gg3ip9ly6u
@user-gg3ip9ly6u 2 жыл бұрын
ขอบคุณคะคุณหมอ🙏🏻 รู้ไวใช้ว่าใส่บ่าแบกหาม👌 มีประโยชน์ทุกคลิปเลยคะ ไม่ว่าจะเป็นคลิปอะไรก็ต้องฟังคลิปคุณหมอทุกวัน เพื่อตัวเองและคนรอบข้างค่ะ💐
@ongargepetchrothai4203
@ongargepetchrothai4203 2 жыл бұрын
โห หมอสุดยอด พูดเหมือนตาเห็นเลย
@jeetjatsupun1624
@jeetjatsupun1624 2 жыл бұрын
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากคุณหมอนำไปใช้ได้จริงๆคะ
@user-hj7uh2py4g
@user-hj7uh2py4g 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ ข้อมูลฟังเข้าใจง่าย เป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
อาจารย์พูดถูกค่ะ เพิ่งมาดูความหมายภาษาอังกฤษของคำว่า "ผู้ป่วยติดเตียง" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า bedridden patient ถ้าเราแปลจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษตรงๆ คือ ผู้ป่วยขี่เตียง 🤣มันตลกดีค่ะ แต่ถ้าจะใช้คำให้ตรงกันเป๊ะ ก็ควรจะเป็น bed sticking patient แต่ก็ฟังดูเหมือนติดกาวแปะอยู่กับเตียงไปอีก🤣
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
แต่ก็แปลเหมือนกันเลย ตลกดีค่ะ🤣😂
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@kanyamuay3748 ใช่ค่ะ พี่หมวย🤣
@moondance8670
@moondance8670 7 ай бұрын
เราใช้ bedbound
@Oncelna1ifetime
@Oncelna1ifetime 9 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ต่าง ๆ นะครับ มีประโยชน์ทั้งต่อผู้ป่วยและผู้ดูแล
@pamsudtida5824
@pamsudtida5824 2 жыл бұрын
จิตใจนี่สำคัญอย่างแรกเลยนะคะ ข้อมูลมีประโยชน์ค่ะ
@kamlaimaskritpet9302
@kamlaimaskritpet9302 Жыл бұрын
อ.หมอให้ความรุ้ได้ยอดเยียม ชัดเจน พี่ดูแลแม่ติดเตียง อายุ90ปี ขอบพระคุณมากคะ่
@user-ww9jf9ec6c
@user-ww9jf9ec6c 2 жыл бұрын
#รักแต่น้อนสฺปฺทฺ์โรซี่จนติดใจ
@maneeann
@maneeann 2 жыл бұрын
ว้าว มาคนแรกเบย
@user-ww9jf9ec6c
@user-ww9jf9ec6c 2 жыл бұрын
@@maneeann เม้นท์ฺแรกให้รู้ว่ารักน้อนสฺปฺทฺ์โรซี่แค่ไหน
@maneeann
@maneeann 2 жыл бұрын
@@user-ww9jf9ec6c 😆😆
@taweesit3114
@taweesit3114 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณอจ.หมอครับเป็นความรู้ในการดูแลคนไข้ติดเตียงที่เป็นประโยชน์และนำไปใช้ได้จริงครับ
@suriyawong75
@suriyawong75 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอ มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@user-qt1lt7rl2v
@user-qt1lt7rl2v Жыл бұрын
ผมเหนื่อยมาก คนแก่ย่าที่บ้านขยับตัวนั่งได้แต่เดินไม่ได้ เยี่ยวและขี้ เต็มทีนอนและพื้นชุกอยู่ที่ผ้าเต็มไปหมด ทุกวัน ผมต้องทำความสะอาดทุกวัน ผมให้ใส่แพมเพิสไม่กี่ชั่วโมงแกก็ดึงออก ตอนนี้ผมไม่ใส่ให้แล้ว แกกินข้าวเยอะ กินเยอะมาก กินเยอะกว่าผมอีก กินวัน 4 มื้อ ต้องเปลี่ยนเสื้้อผ้าทุกวัน ซักผ้า อาบน้ำ ล้างจาน ชอบเรียกใช้ผมไปยิมนู้น ไปยิมนี้ ตลอด เหนื่อยบอกตรงๆ 2 ปี แล้วผมทำสิ่งนี้อยู่ แก่บ่นว่าจะตายทุกวัน รำบากมากผม ผมลาออกจากงานไม่ได้ทำงานแล้ว พอมีวิธีไหนที่ทำให้ไม่รำบากบ้างคับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ ต้องให้คนที่เกี่ยวข้องกับแกมาเฉลี่ยภาระกันครับ
@preechapiangtoen7881
@preechapiangtoen7881 2 жыл бұрын
โอ้โหตรงกับเคสปัจจุบันที่ผมดูแลประจำบ้านเลยครับ ขอบคุณมากครับอาจารย์ เป็นความรู้ที่ดีมากครับใช้ได้จริงๆ ตามประสบการณ์ที่เจอมาเลยครับ ขอบคุณมากครับ😊🙏🏻
@oatpkr9241
@oatpkr9241 2 жыл бұрын
คลิปมีประโยชน์มากๆครับ
@FL19352
@FL19352 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากๆ ค่ะ เป็นความรู้ที่ดีมากเลยค่ะ เป็นประโยชน์ มีความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น รู้ไว้เผื่อเป็นประโยชน์ในอนาคตค่ะ🙏
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ วันนี้เรื่อง _การดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำอย่างไร_ ใครที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้านจะได้ความรู้ และวิธีปฏิบัติได้ถูกต้อง เป็นประโยชน์มากๆค่ะ (แฮชแทก #ผู้ป่วยติดเตียง มีวิดีโออยู่ 422 รายการ จาก 146 ช่อง)
@srisamornkiczurczak2229
@srisamornkiczurczak2229 2 жыл бұрын
เป็นหลานที่น่ารักมากค่ะ
@jilameena5227
@jilameena5227 2 жыл бұрын
แม่ป่วยเป็น นิวมอเนียค่ะ อายุ 98 ปี ไม่ยอมกินเลยต้องฟีดนม พยายามฝึกกลืน ฝึกกิน กินได้น้อยมาก ต้องfeedนมต่อไป กลางวันพาเดินช่วยกันพยุงคนละข้าง แล้วให้ถีบจักรยานกายภาพ เกาะราวเดิน ไม่ทราบว่าทำไมมีน้ำลายไหลออกมามาก เป็นสีขาวใสเหนียวๆ มีวิธีดูแลอย่างไรบ้างคะ คุณหมอที่ดูแลบอกว่าถ้าเดินได้ก็จะกินได้ ทำไมบางคนไปผ่าตัดสะโพกมา เดินไม่ได้ยังกินได้เลย กลางวันพาไปตากแดดมาค่ะ อยากจะให้คุณหมอพูดเรื่อง การดูแลผู้ป่วยใส่สายอาหารทางจมูกค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
@kwantaboonian9065
@kwantaboonian9065 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ เรื่องราวมีประโยชน์มากค่ะ
@user-jp1zo3kh7w
@user-jp1zo3kh7w 8 ай бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะ มีประโยชน์และมีความรู้ให้กับผู้ดูแลมากๆ🙏🏻
@kk-nu9ry
@kk-nu9ry Жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอมากๆนะคะ ที่ให้ความรู้จะนำได้ไปปรับใช้🙏🙏
@mrsell99
@mrsell99 2 жыл бұрын
ขอความกรุณาคุณหมอ ช่วยแนะนำวิธีการนอนของคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยนะครับ นอนแบบไหนดีในกรณีที่ไม่สามารถนอนติดต่อกันยาวๆได้ ทุกวันนี้ช่วงกลางคืนต้องตื่นมาดูผู้ป่วยเกือบทุกชั่วโมงเลยครับ ขอบพระคุณ คุณหมอมากครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
หมายถึง ท่านอน ใช่ไหมคะ
@mrsell99
@mrsell99 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa ไม่ใช่ครับ ผมหมายถึงการนอนหลับของคนดูแลครับ เพราะช่วงกลางคืนคนดูแลต้องตื่นมาดูผู้ป่วยเกือบทั้งคืนเลยครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@mrsell99 ถ้าผู้ป่วยได้นอนตอนกลางคืน ผู้ดูแลก็จะได้นอนไปด้วย อย่างที่อาจารย์กล่าวในคลิปว่า ช่วงกลางวันเราต้องหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำ ไม่ให้เขานอนกลางวันเลย เพื่อจะได้ให้เขาได้หลับตอนกลางคืน ทำให้ผู้ดูแลได้พักไปด้วย เดี๋ยวรออาจารย์หมอมาแนะนำเพิ่มเติมอีกครั้งนะคะ
@kalyamonosathanond
@kalyamonosathanond 2 жыл бұрын
อันดับแรก เราต้องค่อยๆปรับแก้พฤติกรรมการนอนของผู้ป่วยก่อน คือ พยายามให้เวลาการนอน อยู่ในช่วงกลางคืนมากที่สุด แต่ถ้ายังอยู่ในช่วงการปรับ หรือยังทำไม่ได้ เราต้องรีบนอนสะสมในทุกช่วงที่พอจะสามารถนอนได้ค่ะ ช่วงไหนผู้ป่วยสงบและงีบไป รีบนอนเลยค่ะ เก็บแรงไว้ เข้าใจ เห็นใจ และขอเป็นกำลังใจให้นะคะ สุขภาพของคนดูแลก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าร่างกายเราเริ่มไม่ไหว พยายามหาคนมาสับเปลี่ยนนะคะ🙏🏻
@kalyamonosathanond
@kalyamonosathanond 2 жыл бұрын
การปรับพฤติกรรมการนอนของผู้ป่วยอาจใช้เวลา แต่อย่าพึ่งท้อนะคะ ลองเริ่มจากเป้าหมายสั้นๆก่อน เช่น ให้นอนติดต่อกันได้สัก3ชม.(ในกรณีต้องคอยพลิกป้องกันแผลกดทับ) อีกหน่อยจะค่อยๆดีขึ้น บางอย่างใช้เวลา แต่ถ้าเราทำได้ผลลัพธ์ที่ได้มันคุ้มค่าค่ะ
@user-vf4by2yw8k
@user-vf4by2yw8k 2 жыл бұрын
ดีเลยค่ะคุณหมอคลิปนี้มีประโยชน์มากๆ ค่ะขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ
@user-un7xp2ln8m
@user-un7xp2ln8m Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะ ตอนนี้พ่อติดเตียงคนดูแลก็หนักอย่างที่คุณหมอพูดจริงๆเหนื่อยมากฟังคุณหมอแล้วได้ประโยชน์มากจะนำไปปฏิบัติตามค่ะ
@maitimetoread
@maitimetoread Жыл бұрын
สวัสดีคุณหมอ Tany ค่ะ (1/2) ก่อนหน้าเคยถามคุณหมอเกี่ยวกับอาการของพ่อ เป็นผู้ป่วยติดเตียง เป็นมา 1 ปีแล้วค่ะ อายุ 68 ปี เริ่มมีอาการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 รักษามาตลอดแต่ไม่ดีขึ้นเลย ส่วนโรคเรื้อรังและโรคประจำตัวมีหลายอย่าง 1. หลอดเลือดสมองตีบ (Stroke) 2. Parkinson 3. ต่อมลูกหมากโต ต้องคาสายสวนไว้ตลอด (มีอาการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะบ่อย และปี 65 เข้า-ออกรพ.ทุกเดือน ด้วยอาการนี้บ่อยมาก) 4. มีปอดติดเชื้อบางครั้ง (มีเสมหะและเคยสำลักอาหาร ทำให้ต้องใส่สายอาหารไว้ที่จมูก) และผู้ป่วยเหลือฟันน้อยลงมากในการเคี้ยว ทำให้ต้องใส่สายให้อาหาร 5. นิ่วในไต และ 6. ความดันโลหิตสูงค่ะ คำถามค่ะ 1. ผู้ป่วยสูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหลายๆ อย่างและติดเตียงที่เจาะคอ ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนตลอดเวลาเพราะเคยมีหัวใจหยุดเต้นและภาวะหยุดหายใจ ทำให้ระบบหายใจและการหายใจล้มเหลวจริงมั้ยคะ 2. ถ้าหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจสักพักลองให้เขาหายใจเองสามารถทำได้มั้ยคะ เพราะเท่าที่สังเกตหลังจากกลับมารักษาตัวต่อที่บ้าน เขาก็ยังสามารถหายใจเองได้อยู่ เคยลองไม่ต่อเครื่องผลิตออกซิเจนให้ทางที่เจาะคอประมาณ 5-10 นาที เขาก็ยังสามารถหายใจเองได้อยู่ปกติ แต่มีอาการเหนื่อยๆ และปริมาณออกซิเจนลดลง มากบ้าง น้อยบ้าง ดูจากเครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ส่วนชีพจรยังเต้นปกติ ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป แบบนี้อันตรายมั้ย และถ้าลองให้เขาหายใจเองให้นานขึ้นกว่านี้ประมาณ 15-20 นาที สามารถทำได้มั้ยคะ 3. กรณีหมอบอกต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนที่ 10 ลิตร แต่เครื่องให้ได้สูงสุดที่ 8 ลิตร จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยมั้ยคะ (มีต่อค่ะ)
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
1) ไม่จริงครับ จะใช้ก็ต่อเมื่อระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำเท่านั้นครับ 2) อันนั้นน่าจะแค่ออกซิเจนไม่ใช่เครื่องช่วยหายใจนะครับ ถ้าระดับออกซิเจนเกิน 95% ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ครับ 3) ขึ้นกับปริมาณออกซิเจนที่ตรวจปลายนิ้วครับ ถ้าสูงกว่า 95% ถือว่าดีแล้วครับ
@wanchalermbusaman2786
@wanchalermbusaman2786 2 жыл бұрын
คุณพ่ออาย86 stroke / ติดเตียงมา เกือบ1 ปี // ชอบนอนกลางวัน ตื่นกลางคืน // ปลุกกระตุ้นให้ทำกิจกรรมประจำวันช่วงกลางวัน เค้าจะหงุดหงิดมาาาาาาาากค่ะ ดื้อมากเงลาเค้าจะนอน เค้าจะง่วงมาาาาาาาาาก
@orawanbo7530
@orawanbo7530 3 ай бұрын
ขอแชร์ค่ะคุณหมอ
@kanoky7076
@kanoky7076 2 жыл бұрын
ขอบคุณนะคะ ส่วนตัวก้คาดหวังว่าเรื่องแบบนี้คงจะไม่เกิดขึ้นกะคนในครอบครัวของตัวเอง🙏
@thisisnathathai
@thisisnathathai 2 жыл бұрын
(ส่วนที่ 1 ) การดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำอย่างไร #ผู้ป่วยติดเตียง การที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง เช่น 🔘มีเส้นเลือดสมองตีบ หรือแตกไปทำให้เป็นอัมพฤกษ์ ข้างไหนข้างหนึ่งของร่างกาย แล้วเคลื่อนไหวไม่ได้ 🔘 คนที่มีปัญหาทางด้านสมอง ด้วยเหตุผลต่างๆเช่น มีโรคสมองเสื่อมที่รุนแรงมาก ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 🔘 คนที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ในหลายโรครวมกัน ยิ่งติดเตียงนานเท่าไหร่ โอกาสที่จะดีขึ้นก็ยิ่งลดลงไปตามระยะเวลาเท่านั้น เพราะเวลาอยู่ติดเตียง สิ่งที่ไม่ค่อยได้ใช้ก็คือกล้ามเนื้อของตัวเอง ดังนั้นกล้ามเนื้อของคนเราถ้าไม่ได้ใช้นานๆ มันก็จะฝ่อ ลีบ และก็จะใช้งานได้ลดลงไปเรื่อยๆ ข้อต่างๆก็จะยึดติดขึ้นมา ยิ่งทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว ❤️ สิ่งหนึ่งที่จะต้องใส่ใจ คือสุขภาพทางด้านจิตใจของคนไข้ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ให้คนไข้มองในแง่บวกให้คนไข้คิดว่าอาการจะต้องดีขึ้น ถ้าเขามีการกายภาพที่เหมาะสม และทำคนไข้มีกำลังใจ และจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจระหว่างคนดูแลและคนไข้ 🟠ในการดูแลคนไข้ ปัญหาอะไรที่จะเจอได้❓ ปัญหาหลักๆเลยคือ 🔶เรื่องของการติดเชื้อ 🔸ติดเชื้อจากการสำลัก คนเหล่านี้มักจะมีปัญหาทางด้านการกลืนไม่มากก็น้อย เพราะนั้น❌ห้ามป้อนข้าวผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยนอน โดยเฉพาะนอนหงาย เป็นสิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด❌ เพราะถ้าสำลักแบคทีเรียต่างที่อยู่ในปาก จะลงไปในคอทำให้ปอดอักเสบและติดเชื้อ และบางคนเสียชีวิตได้ ☑️ถ้าจะให้ทานอาหารทางปากจะต้อง ให้คนป่วยนั่งตัวตรง ต้องเป็นอาหารที่เคี่ยวง่าย แต่ถ้าเป็นของเหลวที่เหลวจนเกินไปอาจจะสำลักได้ ดังนั้นบางครั้งควรปรึกษาคุณหมอก่อนว่าคนป่วยสามารถรับประทานอะไรได้บ้างโดยจะมีนักกายภาพบำบัดมาประเมินการกลืนให้คนไข้ก่อน ❌และเมื่อรับประทานเสร็จแล้วห้ามนอนทันที เพราะอาหารที่อยู่ในกระเพาะจะไหลย้อนขึ้นมาทำให้เข้าไปสู่ปอดได้ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อ ☑️ต้องนั่งอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ยิ่งนั่งนานยิ่งดี เพราะยิ่งจะทำให้คนป่วยแข็งแรงขึ้นด้วย 🔸 ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เพราะคนป่วยเหล่านี้ไม่สามารถไปเข้าห้องน้ำได้เอง เวลาขับถ่ายก็จะขับถ่ายบนเตียง ถ้าไม่ได้เช็ดหรือทำความสะอาดให้ดี ก็จะติดเชื้อโดยเฉพาะถ้าเป็นผู้หญิง มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่าย ผู้ชายเนื่องจากว่าอวัยวะของผู้หญิงจะสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อจะเข้าไปได้ง่ายกว่า ก็จะเกิดการติดเชื้อขึ้นมา ของผู้ชายก็เป็นได้แต่เป็นได้น้อยกว่า 🔸 ติดเชื้อจากแผลกดทับ เนื่องจากนอนอยู่ในท่าเดิมๆซ้ำๆ จะมีแผลกดทับบริเวณก้นกบ หรือบริเวณตรงส้นเท้า บางคนก็มีตรงไหล่ ต่างคนก็เป็นที่หัวด้านหลัง ตรงไหนก็แล้วแต่ที่ติดกับเตียงนั้นนาน ตรงนั้นจะเกิดแผลกดทับได้ วิธีป้องกันคือ การพลิกตัวคนป่วยบ่อยๆ ควรจะเปลี่ยนท่าทางการนอนทุกๆ 2 ชั่วโมง แผลกดทับเกิดจาก การกดบริเวณเดิมซ้ำๆ นานๆทำให้ มันเกิดการขาดเลือด พอขาดเลือดเนื้อก็จะตาย พอเนื้อตายก็จะมีการติดเชื้อตามมา โดยเฉพาะมีโรคหลอดเลือด โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ก็จะยิ่งเป็น และแผลก็จะไม่หาย
@thisisnathathai
@thisisnathathai 2 жыл бұрын
(ส่วนที่ 2) 🔶 ระวังในแง่ของ 🔸โภชนาการ คนเหล่านี้จะต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบหมู่ และที่สำคัญก็คือ คนเหล่านี้อยู่ในบ้านนาน ทำให้ขาดการถูกแสงแดด ทำให้ขาดวิตามินดี คนเหล่านี้มักจะต้องการการเสริมวิตามินดี และที่สำคัญคือถ้าสามารถเข็นคนป่วยออกไปข้างนอกบ้านได้ ให้ได้รับแสงแดด รับลมให้เจอธรรมชาติบ้าง จะเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ให้เจอธรรมชาติ จะเป็นการช่วยเยียวยาจิตใจคนไข้ได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าจิตใจดีร่างกายก็จะมีโอกาสฟื้นตัวและแข็งแรงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 🔸 การขับถ่าย คนป่วยเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องของการท้องผูก ปัญหาเกิดจากร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ดังนั้นอาหารที่รับประทานเข้าไปมันก็ย่อยยาก แล้วก็จะอยู่ในท้อง บางคนท้องผูกถ่ายไม่ออก พอท้องผูกนานๆ สิ่งที่ตามมาก็คือการติดเชื้อ การที่ท้องผูกนานๆจะทำให้สามารถติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะได้ นอกเหนือจากนี้คือทำให้คนป่วยทรมาน เวลาที่มีอุจจาระอยู่ในท้องเยอะๆ คนป่วยจะมีปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นตามมาได้คือ คนป่วยเมื่อทรมานแล้วแสดงออกไม่ได้นานๆ จะมีอาการเพ้อ สับสน หลอน และจะออกมาในรูปแบบที่หงุดหงิด บางครั้งก็จะสร้างปัญหาให้กับผู้ดูแล 🔸 ปัญหาของการนอนหลับ โดยคนปกติแล้วการจะควบคุมการนอนหลับก็จะมีวงจรที่ว่า กลางวันเราเจอแสงเราก็จะตื่นตัว กลางคืนไม่เจอแสงเราก็จะนอนหลับ คนเหล่านี้ถ้าไม่ได้เจอแสงอะไรก็จะไม่มีวงจรแบบนี้ ดังนั้นการให้คนป่วยเจอแสงในช่วงกลางวัน ชวนคุยในช่วงกลางวัน มีกิจกรรมในช่วงกลางวัน จะทำให้เค้าเหนื่อยและหลับได้ในช่วงเวลากลางคืน ❌บางคนทำผิด คือเห็นเป็นคนป่วยก็อย่าไปรบกวนให้เขานอน แต่สิ่งนี้มันจะทำให้เขาตื่นเวลากลางคืน แล้วก็จะทำให้คนที่เฝ้าดูแลไม่ได้นอนเช่นกัน ถ้ามีปัญหาทางด้านการนอนหลับควรจะต้องตรวจด้วย เพราะอาจมี การหยุดหายใจในขณะหลับ แล้วถ้าไม่ใช้เครื่องช่วยหายใจในขณะหลับ ก็จะหลับไม่สนิทก็จะทำให้มีปัญหาเหล่านี้มากกว่าเดิมอีก
@thisisnathathai
@thisisnathathai 2 жыл бұрын
(ส่วนที่ 3) 🔸 การออกกำลังกาย ถ้าไม่ออกกำลังกายคนเหล่านี้จะไม่มีทางดีขึ้นแน่ๆ จึงจำเป็นที่ต้องออกกำลังกาย การออกกำลังกายนี้ขึ้นอยู่กับว่าคนป่วยช่วยตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน ♾️ ถ้าคนป่วยยังเคลื่อนไหวได้ แน่นอนว่ากายภาพต่างๆซึ่งนักกายภาพจะสามารถสอนท่าทางที่คนป่วยทำได้อย่างปลอดภัย และญาติควรจะไปเรียนรู้ด้วยว่าทำอะไรให้คนป่วยได้บ้าง ♾️ ถ้าคนป่วยทำอะไรไม่ได้ แล้วติดเตียงจริงๆ สิ่งที่ต้องทำก็คือ นอกเหนือจากการพลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง ก็คือการเคลื่อนไหวตามข้อต่อต่างๆ เช่นข้อศอก ข้อมือ ไหล่ ข้อสะโพก จะเป็นการป้องกันไม่ให้ข้อยึด ข้อติด ♾️ ช่วยให้ผู้ป่วยฝึกเกร็งกล้ามเนื้อ ♾️ ให้ผู้ป่วยนั่ง ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงไว้ จะมีผลต่อกล้ามเนื้อ Core Muscle เป็นกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จะทำให้ผู้ป่วยทรงตัวอยู่ได้ และเป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้ผู้ป่วยยืนได้ โดยการนั่งแล้วห้อยขาลงจะดีที่สุด ประโยชน์อีกอย่างที่สำคัญมากๆของการนั่งก็คือ เมื่อคนป่วยเริ่มเดินได้ใหม่ๆจะมีอาการเวียนหัว ความดันตก และขาจะไม่มั่นคง การที่ให้คนไข้นั่งไว้ในท่านี้นานๆมันจะเป็นการที่ทำให้คนไข้ต้องใช้กล้ามเนื้อตัวเอง ในการบีบเลือดที่ลงไปเลี้ยงขา กลับขึ้นมาสู่หัวใจ แล้วก็ไปเลี้ยงสมอง อีกรอบหนึ่ง การทำแบบนี้จะทำให้คนไข้ชินกับการที่ยืนขึ้น เพราะถ้านอนลงนานๆ ร่างกายไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อใดๆทั้งสิ้น แล้วปัญหาก็คือเมื่อเวลาที่เราลุกยืนขึ้นมาทันที ความดันก็จะตก เวียนหัวบ้านหมุน แล้วก็ล้มลงไป นั่นคือปัญหา ถ้าให้คนป่วยนั่งยิ่งนานๆหลายๆชั่วโมงไปเลย มันก็จะช่วยทำให้คนป่วย มีโอกาสที่จะลุกขึ้นมายืน มาเดินได้ดีขึ้น ♾️ พยายามให้เท้าคนป่วยแตะพื้นไว้ อย่าใส่ถุงเท้าในเวลาที่เท้าแตะพื้น ให้เท้าสัมผัสกับพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันหลายๆแบบ ดีที่สุดคือทราย ถ้ามีให้ใช้กระบะทราย มีก้อนกรวดก้อนหินให้มีความขรุขระบ้าง ถ้าออกไปเจอธรรมชาติให้คนป่วยลองเอาเท้าจุ่มน้ำ เอาเท้าไปเหยียบหิน เท้าไปเหยียบดิน เหยียบหญ้า ให้มีพื้นผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน ทำแบบนี้จะกระตุ้นเส้นประสาทของคนไข้ได้ค่อนข้างที่จะดีมาก เลยทีเดียว ♾️ ถ้ามีสัตว์เลี้ยงให้เอาไปเล่นกับคนป่วยติดเตียง ถ้ามีสุนัขหรือแมวแล้วเอาไปเล่นกับผู้ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง จะรู้เลยว่าอารมณ์ของเค้าเปลี่ยนแปลงไปชัดเจน หรือถ้ามีลูกหลานเล็กๆ ให้ไปเล่นกับผู้ป่วยติดเตียงเลย เด็กพวกนี้จะมีพลังบวกเยอะมาก จะทำให้คนป่วยติดเตียงดีขึ้นได้ 🔸 ถ้ามีโรคประจำตัวจะต้องปรึกษากับคุณหมอที่รักษาว่า จะต้องดูแลรักษาด้วยยา กับโรคประจำตัวอย่างไร ส่วนหมอ ก็จะมีหน้าที่ในการดูอย่างหนึ่งคือ ในคนเหล่านี้ ยาหลายๆตัว ถ้ามันบวกกันแล้ว บางครั้งจะเกิดผลข้างเคียงขึ้นมาซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เราจำเป็นจะต้องลดจำนวนยาลงให้เหลือน้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ แล้วญาติก็อย่าไปขอยาบางอย่างโดยเฉพาะ ห้ามเด็ดขาด เพราะจะเป็นการสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น ในทางการแพทย์จะเรียกว่า Polypharmacy คือยิ่งมียาหลายตัวยิ่งมีปัญหา โดยเฉพาะคนป่วยติดเตียง
@thisisnathathai
@thisisnathathai 2 жыл бұрын
(ส่วนที่ 4) โดยสรุป คนใครติดเตียงจะดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้น ขึ้นอยู่กับว่ามันเป็นจากอะไร แล้วก็ขึ้นอยู่กับจิตใจของคนไข้ด้วยว่าสู้แค่ไหน และการออกกำลังกาย เป็นหลัก รวมทั้งการโภชนาการและการดูแลคนไข้ สิ่งที่เราต้องกังวลคือ ⭐️สภาพจิตใจของคนไข้และสภาพจิตใจคนดูแล ถ้ามีผู้ดูแลหลายๆคนได้ก็จะยิ่งดี ⭐️สนับสนุนในแง่ของการนอนหลับ ให้ถูกต้อง ในช่วงกลางวันให้มีกิจกรรมเยอะๆ พาไปเจอแสง ไปเจอธรรมชาติข้างนอกบ้าง ⭐️ ถ้ามีสัตว์เลี้ยงมีเด็กเล็กๆ ให้ไปเล่นด้วย จะทำให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ ⭐️ ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น รวมทั้ง พยายามที่จะดีขึ้น มองในแง่บวกไว้ ⭐️ ต้องระวังเรื่องของการรับประทานอาหาร เรื่องของการสำลัก เรื่องของการขับถ่ายอย่าให้ท้องผุกเป็นอันขาด ⭐️แล้วถ้าปัสสาวะอุจจาระแล้วต้องรีบเช็ด ⭐️ การนอน ควรจะพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ ⭐️คนเหล่านี้เวลาติดเชื้อก็มักจะติดที่ปอด ที่ทางเดินปัสสาวะ หรือว่าที่แผลกดทับ แล้วเชื้อด็จะเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอันตรายมากๆ ทำให้เสียชีวิตได้ ⭐️ เรื่องของการออกกำลังกาย ควรจะให้คนไข้นั่งขึ้นมา ถ้าเป็นไปได้นั่งไว้นานๆ ⭐️ให้เท้าไปเหยียบตามพื้นผิวสัมผัส ยิ่งแตกต่างกัน จะเสริมสร้างทำให้ปราสาทคนไข้ตื่นตัวได้ ⭐️ มีการยืดเหยียดตาม ข้อต่างๆ ไม่ว่าข้อไหล่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อสะโพก พยายามยืดไว้ ตรงไหนที่คนไข้ออกกำลังกายเองได้ให้ทำด้วยกันเกร็งข้อเหล่านั้น ⭐️ เรื่องของโภชนาการ อาจจะต้องเสริมพวกวิตามินดี เพราะว่าคนกลุ่มนี้ ไม่ได้เจอแสงแดด อาจจะต้องมีการรับประทานแคลเซี่ยมเสริมในบางกรณีด้วย เพราะว่าคนเหล่านี้กระดูกจะสลาย กล้ามเนื้อจะสลาย เพราะว่าถ้าไม่ได้ใช้นานๆ มันก็จะสลายเอง ⭐️ นอกเหนือจากนี้ก็คือ จะต้องกินอาหารให้ครบหมู่ ดูเรื่องของการเคี้ยวการกลืนให้ดี ถ้าไม่แน่ใจให้ ปรึกษาหมอ พาคนไหนที่มีการเจาะคอ การให้สายยาง ให้อาหารทางจมูกหรือทางหน้าท้องอะไรก็แล้วแต่ พยายามให้คนไข้นั่งขึ้นมา แล้วค่อนให้ อย่าไปให้ตอนคนไข้นอนเด็ดขาด
@Jum.A1
@Jum.A1 2 жыл бұрын
คลิปนี้ดีมาก ๆ เลยค่ะคุณหมอ ตอนที่คุณย่านอนอยู่โรงพยาบาลก็พยายามนวดปลายมือ ปลายเท้าพยายามยกงอแขนงอขาให้ท่านเหมือนกันค่ะ ผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียงนานๆ มักอารมณ์ไม่ค่อยน่ารัก เป็นเพราะเค้าป่วยและอึดอัดกับความเจ็บป่วยที่ต้องเจอ ผู้ดูแลต้องเข้าใจและพยายามพูดคุย ดูแลด้วยความรักและเข้าใจมาก ๆ ค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ดูแลทุกท่านนะคะ ท่องเอาไว้ว่าเราต้องดูแลด้วยความรักเพราะท่านเป็นบุคคลที่เรารัก ไม่ใช้อารมณ์ค่ะ ถ้าเหตุการณ์เริ่มเข้าสู่การโต้เถียงก็ให้เดินออกมาหาของอร่อย ๆ ทาน ซื้อไปฝากท่านหากคุณหมออนุญาต เดี๋ยวก็อารมณ์ดีขึ้นค่ะ คิดถึงใจท่านให้มาก ๆ เราไม่พอใจยังเดินออกไปข้างนอกได้ แต่ผู้ป่วยเค้าออกไปไม่ได้นะคะ เป็นกำลังใจแก่กันและกันให้ผ่านช่วงนี้ไปให้ได้นะคะ 💛
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
อ่านแล้วปลื้มปลิ่มค่ะจุ๋ม... ใช่เลย เราต้องรักและเข้าใจผู้สูงอายุให้มากๆ เพราะวันนึงเราก็ต้องเป็นผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน...
@Jum.A1
@Jum.A1 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa เหนือสิ่งอื่นใด ท่านคือคนในครอบครัว เป็นคนที่เรารักและเคารพค่ะพี่ทริป ตอนเราเด็ก ๆ ดื้อยังไงท่านก็ยังดูแลเลี้ยงดูเรามาจนโตเลย ได้ดูแลตอบแทนพระคุณท่านเป็นมงคลสูงสุดกับชีวิตและมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่จะทำแบบนี้ได้ค่ะ 🥹
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@Jum.A1 ถูกต้องเลยค่ะจุ๋ม มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่จะทำแบบนี้ได้...
@Jum.A1
@Jum.A1 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa ♥️🤍🥰🫶🏻🫰🏻
@ampairat3012
@ampairat3012 2 жыл бұрын
เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
@phannitakanbhut3385
@phannitakanbhut3385 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณสำหรับความรู้ค่ะ อยากให้คุณหมอเล่าเกี่ยวกับเรื่องโรคถุงน้ำในรังไข่จังเลยค่ะ แต่จริงๆก็ฟังทุกเรื่องที่คุณหมอพูดอยู่แล้ว 😀
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เรื่องนั้นไม่ค่อยถนัดครับ ผมรู้ว่ามันคืออะไรแต่เรื่องการรักษาและพยากรณ์โรคต้องสอบถามหมอสูตินรีเวชครับ
@maam5239
@maam5239 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆนะคะคุณหมอ ละเอียดมากๆเลยค่ะ ฟังไปนี่เห็นภาพเลยค่ะในฐานะที่เป็นคนนึงที่ดูแลใกล้ชิดกับยายของตัวเอง เป๊ะมากเว่อร์ค่ะ 55555
@sumate21t.97
@sumate21t.97 2 жыл бұрын
เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ
@wassanachangpan8261
@wassanachangpan8261 Жыл бұрын
ได้ความรู้มากค่ะ (จากศูนย์ผู้ป่วยติดเตียงบ้านลุงสนิท)
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
🗓 พฤหัสบดี 25 ส.ค. 2565 ขอบคุณอาจารย์หมอแทนมากค่ะสำหรับหัวข้อในวันนี้ 🛌🛌 การดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำอย่างไร #ผู้ป่วยติดเตียง การดูแลรักษาที่อาจารย์หมอแทน พูดในวันนี้ ค่อนข้างครอบคลุมและดีต่อผู้ป่วย แบบองค์รวม ครบทุกด้านมากๆ ไม่ว่าจะเป็น 💪🏻 ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหว 😀 ด้านจิตใจ เลี้ยงสัตว์ 🐶 🍗 ด้านอาหาร 🎄🌲🌳 ออกท่องเที่ยวเปลี่ยนสถานที่ 🍤 การขับถ่าย 🚶‍♂️ การเคลื่อนไหว ที่ดีต่อลำไส้ 💬 เนื้อหา ข้างล่าง จะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ค่ะ 🏡 การจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เอื้อประโยชน์ต่อการการฟื้นฟูสภาพ ร่างกายและจิตใจ ♿️ในการฝึกกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วย 🛌 ต้องมีเตียงนอน ⭐️ ไม่ใช่ให้ผู้ป่วยนอนกับพื้นราบ ถ้ามีเตียงเวลาผู้ป่วยลุก นั่ง บนเตียง ให้เท้าแตะถึงพื้น ให้เท้า อยู่หลังข้อเข่าเล็กน้อย เพื่อใช้การโน้มตัวไปข้างหน้า ก่อนลุกขึ้นยืน เป็นการถ่ายน้ำหนักก้น เพื่อให้ขาออกแรงเหยียดเข่า เหยียดสะโพกเพื่อยืน ได้ง่ายขึ้น 🪑🦶🦶 🦵🦿 ถ้าวางเท้าในแนวระนาบเดียวกันกับเข่า ผู้ป่วยจะต้องออกแรงที่ขา เพื่อยกตัวให้ยืนที่มากเกินไป และทำได้ยาก ยิ่งออกแรงเบ่งเยอะยิ่งกระตุ้น ให้เกิดการเกร็ง spastic ของกล้ามเนื้อได้ 🔋เพื่อลดการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อ 🛌 เตียงไม่สูง เกินไป เท้าแตะพื้นได้ เท้าไม่ลอย 🦶🦶 เวลา ผู้ป่วย ลุกนั่ง หรือญาติพาลุกนั่ง 🧠 สมอง และร่างกายจะได้ฝึกการเรียนรู้ ในท่านั่ง ได้บ่อย หรือนาน กว่าคนที่ไม่ได้ มีเตียง ให้ฝึกนั่ง 🛌⏰ 🪑ผู้ป่วย ได้ฝึก โน้มตัว มาข้างหน้า เตรียมสู่ท่ายืน ได้ฝึกทรงตัวในท่านั่ง ให้ลงน้ำหนักที่ก้นให้ เท่ากันทั้งสองข้าง ฝึกการใช้ กล้ามเนื้อรอบเชิงกราน ในการยัก สะโพก ถัดก้น 🥛 ☎️🍚 ของใช้ ในแต่ละวัน วางไว้ด้านข้างอัมพาต แม้ตอนนั้นจะออกแรงไม่ได้ก็ตาม แต่ การที่ของอยู่ฝั่งอัมพาต สมอง หรือร่างกาย ก็จะพยายาม ออกแรงข้างอัมพาตก่อน ทำให้ไม่เกิดการลืมข้างอัมพาต ( neglected affected side) 💆‍♂️ถ้าผู้ป่วยยังทำไม่ถูกต้องหรือทำเองไม่ได้ ญาติหรือผู้ดูแล ต้องพาทำแบบออกแรงให้ทั้งหมด ( passive exercise / range of motion) ควรมีเวลาฝึกให้ทุกวัน ให้สมอง และกล้ามเนื้อได้จดจำการทำงาน 🚶‍♂️🚶🏻‍♀️เน้น การทำที่ถูก ท่าทาง เพื่อลดการออกแรงที่มากเกินไป ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกร็งกล้ามเนื้อมากเกินไป ( กระตุ้น spastic ) ฝึกในท่าที่ขาดบ่อยๆ ( missing components) เช่น ต้องโน้มตัวถ่าย ย้ายน้ำหนักก้น เตรียมพร้อมออกจากเตียง ให้ก้นเบา ก่อนการ ใช้แรงจากขา ในการลุกขึ้นยืน 🚶🚶‍♂️ เวลาเดิน ออกแรงขา ยกขา ก้าวขา ให้สวยได้เวลาเดิน แต่ผู้ป่วยเคยชินการแกว่งขา แกว่งสะโพก ช่วย ช่วงแรงยังน้อยอยู่ 🚶‍♂️ อาจใช้การฝึกยกเท้าให้พ้นพื้นที่ราวบันไดบ้าน ( ขั้นบันไดไม่สูงมาก ถ้ามากเกินไป อาจใช้อย่างอื่นที่สูงไม่มาก ฝึกยกสะโพก ร่างกาย และสมอง จะเรียนรู้ การทำงานที่ถูก ฝึกซ้ำ ๆ จน สมองส่วนที่ยังดี จำได้ และมาทำงานทดแทนเองทันที แบบ อัตโนมัติ 🦵🦿💪🏻 ถ้ามีการเกร็งของแขนขามากๆ ลดการเกร็ง โดยการ นอนหงายชันเข่า หมุนสะโพก ไปทางซ้าย ขวา หรือหมุนบิดตัวยืดค้างไว้ การฝึกการทำงานกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ( core muscles) จะช่วยลด การเกร็งของแขนขา และผู้ป่วยออกแรงแขนขาได้ง่ายขึ้น 😊 ด้านจิตใจ บางคนที่เกิดอัมพาต อาจเป็นคนในวัยทำงาน ยิ่งถ้าเป็นหัวหน้าครอบครัวจะยิ่งเกิดความรู้สึกสูญเสียมากๆ มีปัญหาในการยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นกับตัวเองไม่ได้ หรือยอมรับได้อย่างลำบาก ซึมเศร้า ไม่ยอมรับสภาพการเจ็บป่วย บางคนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป 💬🗣ดังนั้น การอธิบายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูร่างกายและสมองจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการฟื้นฟูของสมอง หรือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 🩸🧠 แตก ตีบ ตัน เรียงลำดับ ตามความสำคัญ ที่มีผลต่อการฟื้นตัว 1 ) ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพ ตำแหน่งที่สมองตาย 🧠 จากการขาดเลือดไปเลี้ยง และความรุนแรงของการเกิด 💪🏻 ถ้า เป็นมากหายช้า 🦵 เป็นน้อยหายไว 🚑 การมาหาหมอเร็ว ยิ่งเร็วยิ่งดี อาจช่วยลดความพิการได้ ถ้าเป็น โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ หรือตัน จะมีเวลา นาทีทอง คือ 4.5 ชั่วโมง หรือ 270 นาที ในการให้ยา สลายก้อน ที่อุดตันเส้นเลือด หรือสลายลิ่มเลือด ( ยา rt-PA) นับจากเวลาที่เกิดเหตุ ถ้า หลังจากตื่นนอน มักจะเลยเวลานาทีทอง เพราะ ไม่รู้ว่าเกิดเหตุตอนไหน ⏰ บางคน ผ่านไปหลายวันค่อยมาหาหมอ ถ้าเจอ ผู้ป่วยแบบนี้ จะรีบให้ความรู้ ถึงอันตรายที่มาหาหมอช้า ให้ฟังทันที ครั้งนี้ ผู้ป่วยอาจจะโชคดี ที่ พิการไม่มาก หรือฟื้นตัวได้ไว บางคนมาหาหมอไว ถ้า ตัวโรค เป็นมาก ก็มีความพิการมาก เนื่องจากตัวโรค ตำแหน่ง ขนาด 2 ) อายุ น้อย ไม่มีโรคประจำตัวเยอะแยะ จะฟื้นตัวได้ดีกว่าผู้สูงอายุ 3 ) ความตั้งใจ ใส่ใจของผู้ป่วยในการฝึก ยิ่งใส่ใจ ตั้งใจ ฝึกให้สมอง จดจำ เรียนรู้การเคลื่อนไหวร่างกาย การฟื้นฟูจะดีกว่า 🚶‍♂️🚶🦵🦿💪🏻ถ้าให้ดี ฝึกวันละ 1 ชั่วโมงครึ่ง จะส่งผลดีต่อการจดจำของสมอง และจะทำให้มีการใช้การสั่งการแบบ อัตโนมัติของสมอง 🧠 เข้ามาทำงาน 4 ) สภาพที่บ้านที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟู เช่น มีเตียง ให้ฝึกนั่ง หรือจากท่านั่งลงนอน โดยการ ก้มตัวหย่อนแขนลงนอนตามขั้นตอนจะทำให้ ไม่ใช้กำลังเยอะเกินไป หรือไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อผิดมัด ลดการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อ spastic เพราะ ที่ต้องเน้น ไม่ให้ กล้ามเนื้อเกร็งมากๆ และทำงานให้ถูกแบบแผน ( จะไม่เหมือนผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ที่สมองยังดี เน้นใช้งานมัดที่มี กำลัง ที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ โรคทางสมองจะไม่ได้ทำแบบนั้น ) 🧠 ขั้นตอนการฟื้นของสมอง ที่มีต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ มี 3 ระยะ เริ่มจาก 1 🥴 💪🏻อ่อนปวกเปียก ( flaccid) 2 🥴💪🏻 เริ่มมี โทนของกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้น ( spastic) ระยะนี้ ถ้า ออกแรงมากเกินไป ตอนฝึก ที่กระชากไม่นุ่มนวล หรือจัดท่าไม่ผ่อนคลายจะกระตุ้นให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อได้ 😴 เวลานอน ต้องใช้หมอนรองใต้หัวเข่าในท่านอนหงายหรือในท่านอนตะแคงให้กอดหมอนข้างทั้งแขนและขา 🤳 ส่วนแขนข้างที่ถูกทับให้กางแขนออกเพื่อที่จะไม่เกิดอาการปวดหัวไหล่เวลานอนทับนานๆ ถ้าจัดท่าไม่ดี จับแขนขา กระชาก แรงๆ ทำไวๆ เร็ว ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง มาก เกร็งมาก ก็ส่งผล ต่อการขัดขวางการฟื้นตัว หรือ ออกแรงกล้ามเนื้อของผู้ป่วย เวลาฝึก กล้ามเนื้อที่อยู่กลุ่มฝั่งตรงข้ามของการออกแรง 3 🥴💪🏻 ระยะการฟื้นฟูสภาพ หรือฟื้นตัวกลับมาสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติ ถ้าระยะที่ 1-> 2 ทำไม่ค่อยดี จะส่งผลต่อระยะ 3 ของการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ Tany สำหรับ ❤️❤️❤️❤️❤️❤️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️ Have a happiness time with a lovely asleep good girl Rosy . Take care of yourselves both Rosy & Tany in a wonderful Boston.
@user-mr8fp6lo6g
@user-mr8fp6lo6g 2 жыл бұрын
สวัสดีเจ้าขอบคุณเจ้า🤘🤘🤘🤘🤘
@niraponnirapon2490
@niraponnirapon2490 6 ай бұрын
ขอบคุณมากๆเลยค่ะคุณหมอ
@yingyingniratisai5850
@yingyingniratisai5850 2 жыл бұрын
ขอบคุณข้อมูลดีๆนะค่ะ. 👏👏👏❤️❤️
@wongjanp1407
@wongjanp1407 2 жыл бұрын
รอเรื่องนี้มานาน ขอบคุณค่ะ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
😊🌼🍃 ⚀ คนไข้หรือผู้ป่วยติดเตียงมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง 🔺️ เหตุผลที่เป็นคนไข้หรือผู้ป่วยติดเตียง มันมีได้หลากหลาย ยกตัวอย่าง เช่น มีเส้นเลือดสมองตีบ หรือแตกไป ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายแล้วก็เคลื่อนไหวไม่ได้ 🔺️ คนที่มีปัญหาทางด้านสมอง เช่น โรคสมองเสื่อมที่รุนแรงมาก ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บางคนมีโรคสมองที่รุนแรงจนไม่สามารถที่เดินเองได้อันนั้นก็จะเกิดเป็นผู้ป่วยติดเตียงขึ้นมาได้ 🔺️ หรือคนที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว หลายๆโรครวมกันก็อาจจะเป็นเช่นนั้นขึ้นมาได้ แต่ว่าแต่ละโรคก็มีโอกาสที่จะติดเตียง และโอกาสที่จะดีขึ้นแตกต่างกันซึ่งตรงนี้จะต้องสอบถามแพทย์ที่รักษา ยิ่งติดเตียงมานานเท่าไหร่โอกาสที่จะดีขึ้นมันยิ่งลดลงไปตามระยะเวลาเท่านั้น 🔺️ เพราะว่าเวลาที่เราอยู่ติดเตียง สิ่งที่เราจะไม่ค่อยได้ใช้ก็คือกล้ามเนื้อของตัวเอง กล้ามเนื้อของคนเราถ้ามันไม่ได้ใช้ไปนานๆ มันก็สามารถที่จะฝ่อลีบและใช้งานได้ลดลงไปเรื่อยๆ 🔺️ ข้อต่างๆของร่างกายเราก็จะยึดติดขึ้นมา ยิ่งทำให้มันไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวในคนพวกนี้ ถ้าเกิดว่าจะดีขึ้นได้ มันต้องมีการเคลื่อนไหวในสิ่งต่างๆเหล่านี้ คลิป การดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำอย่างไร # ผู้ป่วยติดเตียง ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹
@somsiriasetwaytin4524
@somsiriasetwaytin4524 Жыл бұрын
,
@yaombl4585
@yaombl4585 2 жыл бұрын
เพิ่งไปเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงมา กลับมาเจอคลิปนี้พอดี
@striratreeves8430
@striratreeves8430 2 жыл бұрын
ชอบคลิปนี้ที่สุด ขอบคุณค่ะ
@Vipada-re2gb
@Vipada-re2gb 3 ай бұрын
ขอบคุณมากนะคะ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
วิธีช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยติดเตียง 1)ใช้เทคนิคการผ่อนคลายการนวดกดจุดฝ่าเท้าของผู้ป่วยติดเตียงเพราะจะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายขึ้น 2)ผู้ดูแลควรปรับเวลาการนอนให้เข้ากับตารางของผู้ป่วยติดเตียงการนอนหลับของผู้ป่วยติดเตียงอาจจะถูกรบกวนใด้จากกิจกรรมการดูแลในตอนกลางคืนการปรับเวลาให้เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงหลับกลางคืนใด้มากขึ้นจัดตารางการนอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกคืนจนเป็นกิจวัตรถ้าทำติดต่อภายใน1อาทิตย์ร่างกายจะปรับตัวและคุ้นเคยจนทำให้หลับใด้ กรณีที่ผู้ป่วยนอนไม่หลับนานถึง30นาทีอย่าฝืนนอนต่อคนดูแลอย่ากดดันผู้ป่วยเช่นมองนาฬิกาเพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับใด้ 3)การสัมผัสแสงจากหลอดไฟ Fluorescent ที่ติดอยู่ตรงหัวเตียงนอนเปิดไฟ10.00-15.00จัดสิ่งแวดล้อมทางด้านแสงสว่าวในช่วงกลางวันและลดการใด้รับแสงในช่วงกลางคืนจะช่วยให้นอนหลับลึกขึ้น 4)ปรับอุณหภูมิห้องนอนให้ สบายเพื่อให้การนอนหลับมี ความสบายขึ้น ปล.ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ดูแลผู้ป่วยทุกท่านด้วยนะคะ
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 2 жыл бұрын
สวัสดีคะคุณหมอ
@ongargepetchrothai4203
@ongargepetchrothai4203 2 жыл бұрын
โห มาได้ไง สุดยอด โดนๆๆๆๆๆ
@Aoypahloong
@Aoypahloong 6 ай бұрын
ขอบคุณค่ะได้ความรู้มากมายเลยค่ะ
@mwnhealthcare9950
@mwnhealthcare9950 2 жыл бұрын
ขออนุญาตแชร์ความรู้ให้ลูกค้าใช้งานเตียงผู้ป่วยติดเตียง ได้นำไปปฏิบัตินะครับ เพื่อช่วยให้การดูแล ถูกต้องถูกวิธี และเข้าใจผู้ป่วยติดเตียงมากยิ่งขึ้นนะครับ ขอขอบคุณความรู้ดีๆเช่นนี้มากๆนะครับ
@ptphone2301
@ptphone2301 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เหตุผลที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงมีหลายสาเหตุเช่นคนที่มีปัญหาด้านสมองเส้นเลือดในสมองตีบ แตก เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาธ ทำให้เดินไม่ได้ต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานานเลยกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ยิ่งติดเตียงนานเท่าไรโอกาสที่จะดีขึ้นจะลดลงไปตามระยะเวลา ผู้ป่วยติดเตียงนาน กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้จะฝ่อลีบ ที่สำคัญคนไข้ติดเตียงจะดีขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่ที่ 1.อยู่ที่จิตใจของคนไข้ว่าจะสู้แค่ไหนหากลูกหลานคอยดูแลให้กำลังใจอาจทำให้คนไข้มีกำลังใจที่พร้อมที่จะสู้ 2.การออกกำลังกายๆที่คนไข้ทำได้เช่นยกแขน ขา เกร็งกล้ามเนื้อ พยายามให้คนไข้นั่งตัวตรงห้อยขาให้ฝ่าเท้าสัมผัสกับหิน ดิน ทราย หลายๆชั่วโมงจะทำให้คนไข้ลุกขึ้นมายืนได้ 3.โภชนาการให้ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ อย่านอนกินจะสำลักได้ 4.การดูแลคนไข้สิ่งที่ต้องกังวลคือสภาพจิตใจของคนไข้จากคนที่ทำอะไรได้ด้วยตนเองมาวันหนึ่งต้องมานอนติดเตียงเป็นภาระคนอื่นทำให้คนไข้คิดมาก เครียดสภาพจิตของคนที่จะดูแลก็สำคัญถ้ามีผู้ดูแลหลายคนก็จะดีจะได้ช่วยกันจะได้ไม่เหนื่อยเกินไป 5.สนับสนุนการนอนหลับให้ถูกต้องช่วงกลางวันควรให้ทำกิจกรรมให้มากเพื่อจะให้คนไข้หลับในตอนกลางคืนโดยพาออกไปข้างนอกรับแสงแดดธรรมชาติบ้าง ถ้ามีสัตว์เลี้ยงลูกหลานอยู่ด้วยก็จะทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น ที่สำคัญคนไข้ต้องยอมรับสภาพตัวเองให้ได้มองโลกในเชิงบวกไม่คิดมาก ขอขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงค่ะที่ให้ความรู้การดูแลคนไข้ติดเตียง หากใครมีก็ขอให้ดูแลให้ดีทั้งกายและใจค่ะ
@ptphone2301
@ptphone2301 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอ
@TheAnnalok01166
@TheAnnalok01166 2 жыл бұрын
Thanks!
@douiyh4869
@douiyh4869 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับพี่หมอ🙏😘♥️♥️♥️
@maitimetoread
@maitimetoread Жыл бұрын
(ต่อ 2/2) 4. ผู้ป่วยมีแผลกดทับที่ระดับ 3 โดยทำแผลทุกวันแต่แผลค่อนข้างใหญ่และลึก สามารถรักษาให้หายได้มั้ย และใช้เวลานานไหร่คะ 5. ผู้ป่วยมีโรคต่อมลูกหมากโต โดยใส่สายสวนคาไว้ทำให้มีการติดเชื้อตลอดเวลา ถ้าไม่มีการติดเชื้อเข้ามา จะทำให้เขาสามารถอยู่บ้านได้นานขึ้นมาก (ต้องเข้า-ออกรพ.บ่อยมากๆ เพราะเรื่องนี้) เคยถามหมอเรื่องผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก แต่หมอที่รักษาแจ้งว่าผ่าตัดไม่ช่วยเพราะมีโรคทางสมองอยู่ การติดเชื้อจากการคาสายสวนไว้สามารถรักษาให้ดีขึ้นหรือหายขาดได้มั้ยคะ 6. ดูหลายๆ คลิปของคุณหมอแล้วเข้าใจมากขึ้น เช่น การเจาะคอ ทำให้รู้ว่าไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด ขอบคุณคุณหมอที่เผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์ด้วยภาษาง่ายๆ ให้คนทั่วไปเข้าใจค่ะ 7. นอกเรื่องค่ะ คุณหมอรู้จัก Miss Lee Nadine นศ.แพทย์ชาวเกาหลีที่ Harvard Medical School มั้ยคะ ที่มาออกรายการ Single’s Inferno นศ.ชาวเกาหลีและชาวเอเชียที่ Harvard มีเยอะมั้ยคะ (เคยอ่านหนังสือชื่อ 'เรียน 9 ได้ 10 เก่งอังกฤษขั้นเทพ' ของ Miss Won Hee Park ที่แปลไทยแล้วรู้สึกพวกเขาตั้งใจ เอาจริงเอาจังกันมากๆ ถึงขนาดเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเครือ Ivy Leagues กันได้หลายที่เลยค่ะ อ่านแล้วรู้สึกว่าต้องเร่งพัฒนาตัวเองให้เก่งกว่านี้อีกเยอะค่ะ) ขอบคุณคุณหมอค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
4) ส่วนมากไม่หายครับ มันต้องไม่มีแรงกดทับบริเวณนั้นก่อน รวมทั้งมีเลือดไปเลี้ยงพอด้วยถึงมีโอกาส และมักต้องผ่าตัดโยกย้ายเนื้อเยื่อมาปิดแผลซึ่งก็ทำได้ยากมากและโอกาสล้มเหลวสูงในผู้ป่วยกรณีนี้ครับ 5) ไม่หายขาดครับ ผ่าต่อมลูกหมากจะได้ผลดีถ้าคนไข้เดินเหินไปมาเองได้ คุมปัสสาวะเองได้ แต่กรณีแบบนี้ผ่าไปมันไม่ได้ช่วยอะไรครับ 6) ขอบคุณครับ 7) ไม่รู้จักครับ นักศึกษาเอเชียก็มีเยอะครับ
@madeeum5300
@madeeum5300 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะ
@supaveethana4984
@supaveethana4984 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณหมอ 👍
@shopopposhopoppo5809
@shopopposhopoppo5809 Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอคะกำลังดูแลอยู่คะ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
อย.อนุมัติวัคซีน ไฟเซอร์ฉีดในกลุ่มเด็ก 6 เดือนถึงน้อยกว่า 5 ปี นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 คณะอนุกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ ที่เป็นวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้มีมติเห็นชอบการขยายขอบเขตข้อบ่งใช้ของวัคซีน โคเมอร์เนตี(COMIRNATY VACCINE) ของบริษัทไฟเซอร์จำกัด สำหรับกลุ่มเด็กอายุ 6 เดือน - น้อยกว่า 5 ปี #ขวดฝาจุกสีม่วงแดง เพื่อป้องกันโรคโควิด -19 แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทไฟเซอร์ได้รับอนุญาตให้ใช้วัคซีนสำหรับกระตุ้นภูมิในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป และมีการขยายอายุให้ใช้ในกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี สำหรับการฉีดในกลุ่มเด็ก โดยมีขนาดการใช้วัคซีนลดลงเหลือ 10 ไมโครกรัม ด้วยการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็มห่างกัน 21 วันนี้ #สำหรับปริมาณการใช้วัคซีน ในกลุ่มเด็กอายุ 6 เดือน - น้อยกว่า 5 ปี จะใช้วัคซีนโดสละ 0.2 มิลลิลิตร(3ไมโครกรัม) ฉีด3เข็ม โดยเข็ม 2 ห่างจากเข็ม1 3สัปดาห์ และเข็ม 3 ห่างจากเข็ม 2 28 สัปดาห์ สามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้ 80.3% ข้อมูล อย.24/8/2565
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
เป็นข่าวดีมากค่ะพี่หมวย...ไฟเซอร์สำหรับเด็กเล็ก _ฝาสีม่วงแดง_ ด้วยค่ะ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa เคยเห็นคอมเม้นท์ถามเรื่องนี้ค่ะ น้องทริป เจอข่าวนี้ เลยพิมพ์มาค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@kanyamuay3748 ขอบคุณมากค่ะพี่ ฉีด 3 เข็มด้วยค่ะ
@maneeann
@maneeann 2 жыл бұрын
@@kanyamuay3748 ขอบคุณค่าพี่หมวย 🍦🍦
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
@@maneeann ยินดีค่ะน้องแอน🌹🌹😍
@gifymobile5790
@gifymobile5790 2 жыл бұрын
จากนครศรีฯสวัสดีครับ
@benjawan6747
@benjawan6747 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ 🙏
@mountainview9195
@mountainview9195 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🌸
@samoilyeempensuk2385
@samoilyeempensuk2385 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์
@WichaiPhutyaem
@WichaiPhutyaem 2 жыл бұрын
กราบขอบพระคุณอาจารย์หมอธานีผู้เมตตา เป็นคำแนะนำและสาระที่มีประโยชน์มากจริง ๆ ครับ
@sujinsamolta8458
@sujinsamolta8458 2 жыл бұрын
ดูย้อนหลังค่ะ สวัสดีค่ะคุณหมอคนเก่งผ่านไปด้วยดีค่ะ กับการดูแลแม่ตัวเองวัย 91ปี ติดเตียง 3 ปีค่ะ ตอนนี้แม่ก็จากไปได้ 3 ปีค่ะ ก่อนหน้านั้นคลิปคุณหมอแทนยังไม่ออก แต่การดูแลนั้นเหมือนคลิปที่คุณหมอบอกวันนี้เลยค่ะ เพราะเราเป็นลูกดูแลด้วยหัวใจด้วยความรัก การให้อาหารต้องป้อนอาหารอ่อนสามมื้อพร้อมผลไม้ (เหมือนเราเลี้ยงลูกอีกรอบ) กายภาพ เราต้องหมั่นทำทุกวัน (ยกไม้ยกมือเพื่อไม่ให้ข้อยึด) *สำคัญ ต้องเปลี่ยนแพมเพิสวันละสามผืน (เช้า กลางวัน เย็น) และนอนที่นอนลมทางการแพทย์ช่วยเรื่องแผลกดทับได้ดีมากค่ะ และช่วยเราเปลี่ยนแพมเพิสง่ายด้วยค่ะ ด้านจิตใจให้ฟังพระสวดมนต์ ฟังเพลงพระ เปิดวนไปจนยาน 5555 (เพราะแม่ไม่ชอบดูทีวี แต่ชอบร้องเพลง) *การดูแล มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ไม่สามารถลงได้(เยอะเกิ๊นนน) สุดท้ายแม่ก็จากไปอย่างสงบ เราเป็นลูกผู้ดูแลภูมิใจมากเพราะไม่ติดใจว่าเราบกพร่องตรงไหน หลังจบการดูแลแม่สามปี ป้าเป็นคนธรรมดารู้สึกได้เท่ากับเราเป็นผู้ช่วยพยาบาลเลยแหละค่ะคุณหมอ สิบอกไห่
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
พอดีใด้อ่านคอมเม้นจะใด้จำเอาใว้เพื่อคุณย่าป่วยจะใด้จำเอาใว้ไปดูแลท่านใด้ ขอบคุณที่แชร์ประสบการณนี้นะคะมีประโยชน์มากๆๆ
@sujinsamolta8458
@sujinsamolta8458 2 жыл бұрын
@@Chefaey ขอบคุณมากค่ะที่ชอบ ลูกหลานต้องทำความเข้าใจกับบริบทของท่านดูแลด้วยใจ ด้วยความรัก เมื่อท่านจากไป เราจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังค่ะ เป็นกำลังใจล่วงหน้าให้นะคะ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
@@sujinsamolta8458 ขอบคุณมากๆๆเลยนะคะ
@althedolphin1979
@althedolphin1979 Жыл бұрын
คุณหมอแทนคะ รบกวนสอบถามอีกครั้งหนึ่งค่ะ ตอนนี้ย้ายคุณยายจาก รพ เอกชนในเชียงใหม่ มารักษาต่อที่ รร แพทย์ อีก 1 เดือนครึ่ง รวมเป็น 3 เดือน⬇️
@althedolphin1979
@althedolphin1979 Жыл бұрын
คุณหมอเจ้าของไข้ของคุณยายบอกว่าอาการปอดกับทางเดินปัสสาวะติดเชื้อดีขึ้นแล้ว ค้างที่จำเป็นคาใส่สายอาหารทางจมูก⬇️
@althedolphin1979
@althedolphin1979 Жыл бұрын
ทีนี้คุณยายไอ เจ็บคอทุกวัน คุณหมอแนะนำให้ใส่เป็นท่อ PEG แทน แต่คุณยายอายุ 90 ปี และมีประวัติแผลปิดช้า ขอคำแนะนำจากคุณหมอแทนค่ะว่า ควรทำ PEG ไหม? เพิ่มความเสี่ยงอะไรบ้าง ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ควรครับ มันดีกว่าแบบใส่ทางจมูกมากเลยครับ
@althedolphin1979
@althedolphin1979 Жыл бұрын
@@DrTany ขอบพระคุณคุณหมอแทนมาก ๆ เลยค่ะ ช่วยให้ทางญาติ ๆ ตัดสินใจง่ายขึ้น 🙏
@geegee2465
@geegee2465 2 жыл бұрын
🙏ขอบคุณอาจารย์มากค่ะอาจารย์ Topicนี้ตรงหัวข้อกำลังอบรมพอดีเลยค่ะ พักเบรคเลยเข้ามาเม้นค่ะอาจารย์ อบรมผ่านZoom 3 วัน วันนี้วันสุดท้าย อบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะสมองเสื่อม เมื่อวานมีเนื้อหาการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยค่ะนอกจากเก่งแล้วนั่งทางในได้ด้วยเหรอคะ😄😇 เข้าอบรมต่อก่อนนะคะ🤫
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
55555 มีอะไรมาดลใจครับ
@geegee2465
@geegee2465 2 жыл бұрын
@ Doctor Tany Senแรงมากค่ะ คุณแม่ไม่สบาย บอกลูกให้ส่ง CXR ให้อาจารย์ดู แต่ลูกไม่ส่งเพราะ เกรงจะรบกวนอาจารย์ ขอบคุณมากนะคะสำหรับคำปรึกษา ตอนนี้ดีขึ้นบ้างค่ะ
@user-tu3xo6xw7e
@user-tu3xo6xw7e 2 жыл бұрын
คุณพ่อติดเตียงได้ 1 เดือนค่ะ ยกแขนใส่เสื้อผิดท่าทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนมาทับเส้นประสาท ผ่าตัดไม่ได้ปวดหลังมาก ขาไม่มีแรงค่ะ ประกอบกับเป็นต่อมลูกหมากโต ทำให้ปัสสาวะเองไม่ได้ พ่ออายุ 83 ปีค่ะ พ่องอแงมากต้องให้คนอยู่ด้วยตลอด 24 ชม. ให้คอยดูแลตลอดเวลา อยากทราบว่าจะรู้ได้อย่างไรเมื่อไหร่คนไข้แข็งแรงพอจะฝึกยืนหรือเดินได้คะ ขอบพระคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ตอนนี้เลยครับ ไม่ควรให้นอนอยู่กับที่ อย่างน้อยๆต้องนั่งห้อยขา ให้เท้าแตะพื้น จับให้ออกกำลังตามแขนขาไว้ตลอด ถ้าไม่ทำมันก็จะอ่อนแอลงเรื่อยๆจนสุดท้ายทำอะไรไม่ได้เลยครับ และตรงนี้มันต้อง บังคับให้ทำ มิฉะนั้นก็จะแย่ลงเรื่อยๆ คนหลายๆคนจะไม่กล้าบังคับ และคนป่วยเองก็จะต่อต้าน แต่พออ่อนแอลงเรื่อยๆก็จะมาสอบถามหมอ ขอทางเลือก ทางรักษา แต่มันเป็นไปไมได้แล้วล่ะครับ
@user-tu3xo6xw7e
@user-tu3xo6xw7e 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบพระคุณมากค่ะ
@krongkaewarunsiri8866
@krongkaewarunsiri8866 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณค่ะมีประโยชน์มากค่ะคุณหมออนุโมทนาสาธุค่ะ🙏❤️
@user-np3uz2zb6q
@user-np3uz2zb6q 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@user-jp1zo3kh7w
@user-jp1zo3kh7w 8 ай бұрын
คุณหมอ ช่วยแนะนำ วิธีปฏิบัติ อาการน้ำท่วมปอดสำหรับผูป่วยด้วยค่ะ🙏🏻
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
เคยเล่าไปแล้วครับ ลองค้นหาคลิปโดยพิมพ์ Keyword แล้วตามด้วยชื่อผมดูครับ
@season7516
@season7516 2 жыл бұрын
ถึงแม้เหตุการณ์ตอนนั้นจะผ่านมานานแล้วแต่ก็ยังจำภาพและความรู้สึกในตอนนั้นได้ดีค่ะ เหนื่อยมากเลยค่ะเครียดด้วย หนูจะลำบากหน่อยตอนที่ต้องพลิกตัวให้คุณพ่อ ต้องสองคนช่วยกัน เวลาอยู่คนเดียวต้องทำคนเดียวหนูปวดแขน ปวดเมื่อยตัวไปหมดเลยค่ะ คุณพ่อเป็นเนื้องอกสมอง หลายจุด มีโรคแทรกซ้อนเป็นปอดติดเชื้อด้วยค่ะ😞
@AL86898
@AL86898 2 жыл бұрын
เห็นใจเลยเคยดูแลคุณแม่ญาติสนิทการพลิกตัวยาก มากต้องใช้สองคน ตัวเองอยู่คนเดียว พยายามมากตามทำพยาบาลสอน ตอนนี้ก็ไปแล้วค่ะซ้ำทานมีสายปัสสวะที่เจาะไตสองข้างห้อยข้างตัว พี่นี้อุ้มเลย ดีที่ตัวไม่อ้วนมาก เห็นใจคนดูแลคนป่วยติดเตียงจริงๆ เลยเป็นกำลังใจให้ทุกคนเลยค่ะ
@season7516
@season7516 2 жыл бұрын
@@AL86898 ขอบคุณค่ะพี่แอ๋ว เป็นกำลังใจให้เช่นกันค่ะ❤️
@AL86898
@AL86898 2 жыл бұрын
@@season7516 ค่ะThankyouค่ะ💚🌻🌷
@nuntiyanuntiya5038
@nuntiyanuntiya5038 Жыл бұрын
ขอบพระคุณหมอมากค่ะกำลังดูแลแม่อายุ89ปีทำให้มีกำลังใจในการดูแลจะทำตามคุณหมอแนะนำค่ะเปิดดูหลายๆๆรอบชอบมากค่ะ
Schoolboy Runaway в реальной жизни🤣@onLI_gAmeS
00:31
МишАня
Рет қаралды 3,6 МЛН
الذرة أنقذت حياتي🌽😱
00:27
Cool Tool SHORTS Arabic
Рет қаралды 24 МЛН
لااا! هذه البرتقالة مزعجة جدًا #قصير
00:15
One More Arabic
Рет қаралды 52 МЛН
Challenge matching picture with Alfredo Larin family! 😁
00:21
BigSchool
Рет қаралды 42 МЛН
Schoolboy Runaway в реальной жизни🤣@onLI_gAmeS
00:31
МишАня
Рет қаралды 3,6 МЛН