เคสผู้ป่วยที่ประทับใจ (7) ปลูกถ่ายปอด ไม่ได้สติ แอมโมเนียสูง Mycoplasma, Urea cycle

  Рет қаралды 10,728

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 148
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 1) เคสผู้ป่วยประทับใจ (7) ปลูกถ่ายปอด ไม่ได้สติ แอมโมเนียสูง Mycoplasma, Ureacycle วันนี้ผมก็จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวของกับเคสที่ประทับใจอีกเคสนึงของผมนะครับ ซึ่งเป็นเคสตอนสมัยผมเป็น Fellow ปีแรก ที่ดูแลคนไข้ปลูกถ่ายปอดนะครับ คนไข้อายุประมาณ 60 นะครับ ปลูกถ่ายปอดมา 4 วันแล้ว แต่ว่ามีปัญหาคือปลุกยังไงก็ไม่ตื่นนะครับ ตื่นขึ้นมาก็รู้สึกสับสนไม่รู้เรื่องอะไรเลยนะครับ พูดจาไม่รู้เรื่อง แล้วก็ไปเจอว่ามีแอมโมเนียในร่างกายสูงมากๆนะครับ 500 อะไรอย่างนี้ อันนี้ถือว่าเยอะมากนะครับ คนปกติ จะอยู่ที่ 0 หนือ 1 แค่นั้นเอง นี่ 500 เลย ก็คือเยอะมากๆนะครับก็เลยสงสัยว่าทำไมเป็นอย่างนั้นวันนี้ฝนก็จะเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังเลยนะครับ เคสนี้โดยทั่วๆไปแล้วปกติที่เราปลูกถ่ายปอดเสร็จ วันแรกเราก็จะพยายามถอดท่อช่วยหายใจ ลดยานอนหลับเพื่อที่จะให้คนไข้พูดคุยกับเรา แล้วก็เดินเหินไปไหนมาไหนเองได้นะครับ แล้วก็เริ่มออกกำลังกายเพื่อที่จะฟื้นฟูร่างกายนะครับ แต่คนนี้ทำไม่ได้ พอเราลดยาเสร็จปุ๊บก็สับสน เพ้อ ไม่รู้เรื่องอะไรนะครับ บางทีก็ซึมไม่ตื่นนะครับ ก็เลยเป็นที่มาของการที่เราสงสัยว่าอะไรที่ทำให้เขามีการเปลี่ยนแปลงของการรับรู้สติเป็นแบบนั้นนะครับ ในเรื่องของการรักษาแล้วก็การวินิจฉัยคนไข้ปลูกถ่ายปอดแล้วก็มีปัญหาทางด้านของการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตัวนั้น เราจะต้องคิดถึงหลักๆทั้งหมดนะครับ 3 โรคด้วยกัน 🔸 โรคแรกก็คือ อันนี้จะเป็นภาษาทางการแพทย์หน่อยนะครับ ถ้าใครไม่ใช่แพทย์ก็ฟังสนุกๆไปแล้วกันนะครับ โรคคือ PRES (Posterior reversible leukoencephalopathy syndrome) 🔸 โรคที่สองคือ TMA (Thrombotic microangiopathy) 🔸 โรคที่สามคือ โรคติดเชื้อ Mycoplasma Ureaplasma หรือ Urea-splitting organisms ชนิดหนึ่งนะครับ ซึ่งวันนี้เราจะคุยกันเรื่องนี้นะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 2) 🔶สาเหตุแรก PRES (Posterior reversible leukoencephalopathy syndrome) Posterior แปลว่า ข้างหลัง Reversible แปลว่า ถ้าเรากำจัดสาเหตุแล้วมันหายได้ Leuko แปลว่า ขาว Encephalopathy คือสมองมันมีอาการผิดปกติไป Leuko คือสมองจะมีส่วนสีขาวกับส่วนสีเทา ส่วนสีขาวจะเป็นส่วนที่เป็นใยประสาทที่มีมันปลอกหุ้มชื่อว่า มัยอิลิน (myelin) ปลอกหุ้มพวกนี้มีไขมันเยอะเลยทำให้มันดูขาวๆ ส่วนที่เป็นตัวเซลล์ของมัน มันจะอยู่ด้วยกันเยอะๆนะครับ พวกนี้ก็จะออกเป็นสีเทาๆนะครับ ซึ่งสีเทาๆมันจะอยู่ตรงผิวๆของสมอง ลึกๆเข้าไปข้างในจะเป็นสีขาวหน่อย แต่ก็มีข้อยกเว้นบ้างนิดหน่อยนะครับ แต่เราเอาคร่าวๆแล้วกัน ส่วนสีขาวนี้ตรงข้างหลังจะมีการรั่วของน้ำออกไปจากเส้นเลือดได้ง่ายกว่า และนี่ก็คือเป็นพยาธิวิทยาของคนที่เกิด PRES ขึ้นมานะครับโดยเวลาที่เราไปทำ MRI สมองจะเจอว่ามีการเปลี่ยนแปลงของภาพถ่าย MRI ที่อยู่ด้านหลังเป็นหลักนะครับ ซึ่งตรงนี้ถ้าเป็นแพทย์ผมก็จะถาม “แล้วท่านจะแยก PRES ออกจาก Posterior Circulation Stroke ได้อย่างไร” ❓ *️⃣แน่นอนคือ PRES อาการหลักๆนอกเหนือจากอาการไม่รู้สึกตัวแล้ว จะต้องเจอว่ามีความดันโลหิตที่สูงมากๆนะครับ แต่ไม่จำเป็นนะครับ มันไม่จำเป็น ความดันโลหิตปกติก็เจอนะครับ แต่ส่วนใหญ่จะค่อนไปทางสูงนิดนึงนะครับ อันนี้ก็ต้องเป็นอะไรที่เราจำไว้นิดนึงนะครับ 🔶อันที่สองที่อยากจะบอกก็คือ TMA (Thrombotic microangiopathy) ภาวะนี้เกิดขึ้นเพราะว่ายาของการกดภูมิต้านทานชื่อว่า Tacrolimus (ทาโครลิมัส) จะมีปัญหาอย่างหนึ่งคือบางคน ในบางคนเท่านั้นจะก่อให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดเล็กๆ Thrombotic แปลว่า การเกาะกลุ่มเป็นลิ่มเลือด Micro แปลว่า เล็ก Angiopathy คือเส้นเลือดมันมีปัญหา คือการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดเล็กๆ พอมันเกิดลิ่มเลือดปุ๊บ อวัยวะเหล่านั้นก็จะเกิดการเสียไปนะครับ เช่นในสมองก็จะไม่รู้สึกตัว ในไตก็จะไตวายเป็นต้น และอีกอย่างหนึ่งที่เราจะเจอก็คือว่า ในเมื่อหลอดเลือดพวกนี้มันมีลิ่มเลือดไปอยู่ในนั้น เวลาเลือดเราผ่าน เม็ดเลือดแดงวิ่งผ่านลิ่มเลือดพวกนี้ มันก็จะฉีกขาดจากการที่มันไปครูดกับลิ่มเลือดตัวนี้นะครับทำให้เม็ดเลือดแดงของเรามีลักษณะทางการแพทย์เราเรียกว่า Schistocyte คือจะเละๆแหว่งๆนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 3) ลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้อย่างไร❓ *️⃣ คือต้องการโปรตีนที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือดบางอย่าง แล้วก็ต้องการลิ่มเลือดตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Platelet มันต้องไปเกาะๆกัน ดังนั้นเราก็ชื่อว่าคนเหล่านี้ Platelet มันจะต่ำ เม็ดเลือดแดงก็จะต่ำจากการที่มันแตกไปนะครับ และรูปร่างก็จะเละๆแหว่งๆนะครับ ก็จะเรียกว่า Schistocyte ดังนั้นถ้าเราเจอ ก็จะเจอว่าคนไข้เหล่านี้อาจจะมีปัญหาเรื่องของสมอง เรื่องการรับรู้สึกตัว อาจจะมีไข้ก็ได้ อาจจะมีโรคไตร่วมด้วยนะครับ ไตเริ่มวายแล้ว ตรวจเลือดก็จะเจอว่ามีเม็ดเลือดแดงแตกนะครับ ค่า LDH ขึ้น ค่า Haptoglobin ต่ำนะครับ ลักษณะของมันก็เป็นเซลล์ที่เป็น Schistocyte นะครับ และ Platelet ก็จะต่ำด้วยเช่นกัน อย่างนี้เราจะแยกได้อย่างไรว่า เป็น TMA หรือ TTP-HUS ❓ *️⃣มันไม่ใช่โรคเดียวกัน มันคนละโรคกันเลยนะครับ และวิธีการรักษาไม่เหมือนกันเลย TMA วิธีการรักษาคือการเปลี่ยนยา Tacrolimus เป็น Cyclosporine แค่นั้นเลย แล้วก็จะหายนะครับ แต่ถ้าเป็น TTP (Thrombotic thrombocytopenic purpura) ก็เกิดอย่างเดียวกันเลยคือ มีลิ่มเลือดไปอยู่ในเส้นเลือดและเม็ดเลือดแดงมาวิ่งผ่านแล้วมันก็ฉีกขาด แต่อันนี้มันเกิดขึ้นด้วยเหตุผลต่างกันก็คือ เกิดขึ้นเพราะว่ามันมีปัญหาเอนไซม์ตัวหนึ่งชื่อว่า ADAMTS13 มันน้อยกว่าปกติ หรือทำหน้าที่ผิดปกตินะครับ ADAMTS13 สำหรับแพาย์นะครับ ผมก็จะชอบถามว่า “แล้วท่านรู้หรือเปล่าว่าคืออะไร❓” *️⃣ บางคนก็จะบอกว่ารู้ เอาไปตัด von Willebrand ตัวใหญ่ๆให้เป็นตัวเล็กๆ อันนี้ถือว่าท่านก็เข้าใจระดับหนึ่ง แต่ท่านต้องเข้าใจว่า ADAMTS13 มันคืออะไร❓ *️⃣ ADAMTS13 มีชื่อเต็มนะครับ ย่อมาจากคำว่า A disintegrin and metalloproteinase with a thrombospondin type 2 motif 13 มันมีหน้าที่ในการตัด von Willebrand factor ที่ตัวใหญ่ๆ von Willebrand factor มันก็เป็นตัวที่มีความเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดนะครับ ถ้ามันตัวใหญ่เราจะไม่ชอบครับ มันจะมีเงี่ยงๆออกมา จากตัวมันเยอะทำให้มันก่อให้เกิดการแข็งตัวของเลือดได้ง่ายขึ้นดังนั้นร่างกายของเราก็จะไม่อยากให้มันเป็นแบบนั้นก็จะต้องไปตัด von Willebrand ให้เหลือชื้นเล็กๆ เพื่อจะได้ทำงานได้ถูกต้อง
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 4) การที่เราขาดเอนไซม์ ADAMTS13 ก็จะทำให้ von Willebrand ต้วใหญ่ ไม่ถูกย่อยเป็นตัวเลขแล้วมันก็จะเกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดพวกนี้ตามมาดังนั้นวิธีในการรักษา TTP นั้น จะต้องเป็นการเอา ADAMTS13 เติมเข้าไปในคนไข้ คนไข้พวกนี้อาจจะมี ADAMTS13 ที่น้อยลงเพราะว่าตัวเค้าเองก็ได้หรืออาจจะเกิดจากการที่มีการทำลายหรือมีแอนติบอดีต่อ ADAMTS13 ก็ได้ดังนั้นวิธีในการรักษาก็คือเอา Plasma หรือ เลือดไปทิ้ง เพราะในนั้นอาจจะมีตัวต่อต้าน ADAMTS13 ก็ได้นะครับ แล้วใส่ Plusma ของคนที่มี ADAMTS13 เข้าไปในคนคนนี้ นั้นก็คือการทำ plasma exchange นั่นเอง นี่คือวิธีในการรักษานะครับ แต่ก็จะมีรายละเอียดอย่างอื่นเยอะแยะไปหมด แต่วันนี้ก็ประมาณเท่านี้แล้วกันนะครับ เดี๋ยวจะงงนะครับ ถ้ามีสาเหตุก็ต้องแก้ไขที่สาเหตุนะครับ เรื่องของ TTP มีอย่างหนึ่งที่อยากจะเตือนนะครับ ADAMTS13 หลายๆแล็บจะรายงานว่า ถ้าต่ำกว่า 30% หรือ 25% จะถือว่ามันต่ำนะครับ แต่ถ้าจะวินิจฉัยว่าเป็น TTP ได้นั้นมันจะต้องต่ำกว่า 10% ครับ activity ของเค้าจะต้องต่ำกว่า 10% ถึงจะวินิจฉัยได้ ถ้าออกมาได้ 20% ถือว่าต่ำแต่มันไม่ทำให้เกิด TTP ท่านจะต้องไปหาเหตุผลอย่างอื่นเพื่อที่จะอธิบายในคนไข้คนนั้นเช่นอาจจะเป็น DIC หรืออะไรก็แล้วแต่นะครับ อีกอย่างที่จะต้องวินิจฉัยแยกก็คือ HUS Hemolytic Uremic Syndrome ก็คือมีอาการของโรคไตที่เป็นตัวเด่น แต่ก็จะมีการแตกของเม็ดเลือดแดงเหมือนกัน แต่เรื่องไตของเขาจะเด่นกว่านะครับ พวกนี้ มันก็จะมี Typical กับ Atypical Typical ก็มักจะมีอาการท้องเสียหรือว่าการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากเชื้อต่างๆเชื้ออีโคไล (E. coli) หรือเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) หรือตัวอะไรก็แล้วแต่นะครับมาก่อน กับอีกแบบหนึ่งซึ่งมันน่ากลัวมากกว่าคือ Atypical hemolytic uremic syndrome (aHUS) เพราะถ้าเราไม่รีบรักษาเดี๋ยวนั้นทันทีมันมีโอกาสที่จะไตวาย หรือบางทีคนไข้อาจจะตายไปเลยก็ได้นะครับ แล้วปัญหาก็คือการรักษา เพราะว่ามันแพง แล้วท่านจะต้องตัดสินใจเดี๋ยวนั้นโดยที่ไม่มีข้อมูล อย่างอื่นนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 5) วิธีในการวินิจฉัย Atypical HUS มีอยู่วิธีเดียวก็คือการส่งเลือดไปตรวจ Factor H ที่ Mayo Clinic ที่อเมริกา อาจจะมีแล็บอื่นตรวจได้นะครับ แต่มันน้อยมากที่จะตรวจได้จริงๆ แล้วกว่าจะตรวจได้ก็ 2-3 อาทิตย์ กว่าผลจะมาหาท่าน คนไข้ก็ตายไปแล้วนะครับ หรือไม่ก็ไตวายถาวรไปแล้วนะครับ ดังนั้นท่านต้องตัดสินใจรักษาเลย วิธีในการรักษา Atypical HUS ก็คือการให้ยาชื่อว่า Eculizumab เป็น Anti-complement C5 ให้ทันที แต่พอให้ทันทีท่านก็ต้องอย่าลืมการให้ Prophylaxis สำหรับเชื้อซึ่งมันมีแคปซูลเช่น Haemophilus Influenzae , Neisseria, Streptococcus pneumoniae พวกนี้มันจะมีแคปซูลซึ่ง complement โดยเฉพาะ complement ตัวท้ายๆ 5 6 7 8 9 ที่มันฟอร์ม Membrane Attack Complex พวกนี้มีความสำคัญมาก ถ้ามันเสียไปจากยาที่เราให้ คนไข้เขาจะติดเชื้อพวกนี้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจะต้องให้ Prophylaxis เช่นให้กิน Penicillin (เพนิซิลลิน) ไปเรื่อยๆในช่วงนั้น ยา Eculizumab สุดยอดแพงเลย ดังนั้นการตัดสินใจจะต้องแม่นมาก เพราะว่าถ้าไม่แม่นท่านก็เสียเงินฟรีซึ่งแพงมากนะครับ ถ้าท่านตัดสินใจแม่นแต่ไม่ได้ให้คนไข้ก็อาจจะเสียไตไปเลย
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 6) 🔶มาสู่เคสนี้กันเลยที่ว่าเจอแอมโมเนียสูง ทำไมเวลาเราเจอแอมโมเนียในคนไข้ Lung Transplant หรือคนไข้ปลูกถ่ายปอดเราต้องกังวลอะไรบ้าง❓ *️⃣ เวลาแอมโมเนียสูงเราต้องคิดอย่างนี้ครับ อะไรทำให้มีแอมโมเนียขึ้นมาได้แอมโมเนียมาจากไหน แอมโมเนียนั้นคือสารที่มันมาจากการสลายของโปรตีนกลายไปเป็นแอมโมเนีย แอมโมเนียก็ต้องรวมตัวกันให้มันกลายเป็นยูเรียเพราะตัวแอมโมเนียมันเป็นสารพิษนะครับ เข้าไปในสมองก็ทำให้สมองเราเบลอ ไม่รู้เรื่อง มีการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตัวต่างๆนะครับ เราก็ไม่ชอบ เราก็ต้องการให้มันรวมเป็นยูเรีย เพื่อที่จะได้ขับไปทางปัสสาวะได้ ดังนั้นเราก็ต้องคิดก่อนว่าร่างกายเรามีการสลายโปรตีนเยอะหรือเปล่า แต่โดยทั่วไปการสลายโปรตีนมันไม่ใช่อยู่ๆเกิดขึ้นได้นะครับ ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นเช่นนั้นน้อยมาก หรือบางคนกินโปรตีนเข้าไปเยอะๆในตอนนั้นมันก็ไม่เกิดอยู่ดีนะครับ เพราะว่าร่างกายของเรามีกลไกลในการกำจัดพวกนี้ได้ดีมากๆนะครับ สิ่งหนึ่งซึ่งเราจะต้องคิดถึงเสมอก็คือ มันมีภาวะ 2 ภาวะ หลักๆที่เราต้องคิด ➡️ ภาวะแรกซึ่งอันตรายมากและต้องรักษาเดี๋ยวนี้ก็คือการติดเชื้อที่มันสามารถแยกยูเรียให้กลายมาเป็นแอมโมเนียสองตัวได้อันนี้เราจะเรียกว่า Urea-splitting organisms และตัวอย่างในนั้นก็คือเชื้อ Mycoplasma hominis และเชื้อ Ureaplasma Urealiticum สองตัวนี้มันจะทำให้เกิดแบบนี้ได้ และแอมโมเนียในร่างกายจะสูงได้นะครับ วินิจฉัยยาก เราจะต้องเอาสิ่งต่างๆของร่างกายไปตรวจหา PCR เราไม่สามารถตรวจด้วยวิธีอื่นๆได้นะครับ การเพาะเชื้อ Mycoplasma Ureaplasma ใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ และต้องใช้วิธีการเพาะพิเศษดังนั้นหลายๆที่จะไม่ทำการเพาะ Mycoplasma นะครับ
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
👨‍👩‍👧‍👦 สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ คะ หากชอบดูคลิปของ...คุณหมอแทน 👨‍🦰🩺 ซึ่งมีหลากหลายหัวข้อเรื่อง แต่ละเรื่องน่าสนใจ และทันต่อเหตุการณ์เสมอ ซึ่งในวันนี้ก็มาเล่าเคสผู้ป่วยปลูกถ่ายปอดที่ประทับใจอีกเคสหนึ่ง ประทับใจอย่างไร ไปฟังคุณหมอเล่ากันค่ะ 😊🎧 👍 ♥️ ซื้อ Super thanks ใต้คลิปทุกคลิปที่ถูกใจ เพื่อสนับสนุนช่อง Doctor Tany โดยตรงได้นะคะ 🗣 เพื่อเป็นกำลังใจให้คุณหมอแทนทำคลิปดีๆ แบบนี้ตลอดไป ขอบคุณมากค่ะ 🙏🏻
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
เรื่องการรักษา และการวินิจฉัยคนไข้ปลูกถ่ายปอดที่มีปัญหาเรื่อง ความรู้สึกตัว เราจะคิดถึงโรคหลัก 3 โรค คือ 1. Posterior reversible encephalopathy syndrome หรือ PRES 2. Thrombotic microangiopathies หรือ TMA 3. การติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Urea Spitting Organisms
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะน้องทริป
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@kanyamuay3748 ความจริงไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยค่ะ วันนี้หาคำศัพท์เยอะเลย ยาวๆทั้งนั้น
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
@@FragranzaTrippa เก่งมากค่ะน้องทริป👍
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
วันนี้อจ.หมอมีเรื่องเล่าเคสผู้ป่วยประทับใจ(7) ปลูกถ่ายปอดไม่ได้สติ แอมโมเนียสูง เรื่องราวจะเป็นอย่างไรไปฟังอาจารย์หมอเล่าให้ฟังนะคะ ท่านอย่าลืม#กดติดตาม #กดถูกใจ เป็นกำลังใจให้อาจารย์หมอทำคลิปดีๆๆต่อไปค่ะ😄☺️🤠👍👍
@เพียรภักดี
@เพียรภักดี Жыл бұрын
ใดๆคือการที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เพื่อนร่วมโลกไม่ว่าคนๆนั้นจะรู้จักเราหรือไม่ก็ตาม..ถ้าเราได้ช่วยเหลือให้เขาพ้นทุกข์..เชื่อว่าคนที่ได้ช่วยเหลือหรือคนที่ได้รับความช่วยเหลือก็มีความสุขใจ..อิ่มเอมใจ..ก็เหมือนที่คุณหมอคอยช่วยเหลือรักษาคนไข้ให้หายจากความเจ็บป่วย..ลึกๆแล้วในใจมันมีความสุขนะที่ได้เห็นคนไข้หายจากความเจ็บปวด..มันรู้สึกดีว่าเราสามารถรักษาเขาได้.. ## ส่วนตัวเรา..เราก็บริจาคโลหิต ร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่..บริจาคทุกส่วนของร่างกายที่สามารถใช้ได้..มันสุขใจที่ได้เป็นผู้ให้..ส่วนผู้รับก็คงจะสุขใจเช่นกัน.. ## สวัสดีค่ะ 😊🙏👨‍⚕️ ขอคุณพระคุ้มครอง เทวดาปกป้องรักษาให้คุณหมอ มีสุขภาพแข็งแรงนะคะ...
@palitpada2071
@palitpada2071 Жыл бұрын
ชื่นใจจังค่ะ คุณหมอแทน born to be มาก เก่ง ฉลาด มีไหวพริบ ท้ายสุดแล้วสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ❤❤
@Avabebetter7371
@Avabebetter7371 Жыл бұрын
เดินออกกำลังฟังคุณหมอไปด้วย ฟังเข้าใจยากหน่อยต้องตั้งใจมากย้อนฟังถึงสองรอบ
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
บางช่วงบางตอนในเคสของอาจารย์ Q : ทำยังไงให้แอมโมเนียลดลง A : ต้องล้างไตครับ ทำ CRRT เท่านั้นเลย หลังจากทำ แอมโมเนียก็ลดลงมาอย่างรวดเร็ว 🔺CRRT (Continuous renal replacement therapy) การฟอกเลือดชนิดต่อเนื่อง 🔻เป็นการฟอกเลือดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะพิจารณาทำในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำมาก ต้องการยากระตุ้นความดันโลหิตในขนาดสูง หรือผู้ป่วยไตวายที่มีความจำเป็นต้องได้รับสารน้ำส่วนประกอบของเลือด หรืออาหารทางหลอดเลือดดำในปริมาณมากและต่อเนื่องจนไม่สามารถขจัดออกด้วยยาและวิธีการฟอกเลือดปกติ หรือผู้ที่มีสารพิษ กรดในเลือด หรือความผิดปกติทางเมตาบอลิกอื่นๆ ที่ยังคงอยู่และเกิดต่อเนื่อง หรือผู้ที่มีโอกาสจะได้รับผลเสียจากการขจัดของเสียออกอย่างรวดเร็วด้วยวิธีการฟอกเลือดปกติ เช่น ภาวะตับวายเฉียบพลัน เนื้อเยื่อสมองได้รับบาดเจ็บหรือขาดเลือดจนเสี่ยงต่อภาวะสมองบวม
@MuayChannel6
@MuayChannel6 Жыл бұрын
คุณหมอเก่งมากๆ ค่ะ เยี่ยม! 😊👍
@kanoky7076
@kanoky7076 Жыл бұрын
ขอบคุณนะคะ คุณหมอเก่งเหนือคำบรรยายเลยคะ สามารถวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อนยากๆได้ถูกต้องเสมอๆ🙏
@สวยอําไพแจ่มดี
@สวยอําไพแจ่มดี Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน วันนี้13.ม.ค.2023 เรื่องปลูกถ่ายปอด ไม่ได้สติแอมโมเนียสูง ขอบคุณข้อมูลที่ดีๆๆในทุกๆๆวันทุกๆๆคริปนะค่ะ สุขภาพแข็งแรงๆๆนะค่ะคุณหมอ ความรัก ความห่วงใย ความเมตตากรุณามีอยู่ในตัวของคุณหมอแทนของfcคนไทยเลยนะค่ะ สุขภาพดีมีสุขค่ะคุณหมอแทน🙏🏼♥️♥️♥️🥰
@sophis4924
@sophis4924 Жыл бұрын
ขอพรจากสิ่งศักค์สิทธิ์ที่เมืองไทยคุณพระพุทธคุณพระธรรมคุณพระสงฆ์จงช่วยปกปักรักษาคุณหมอแทนให้มีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งใจและกายมีความสุขความเจริญในทุกมิติของกาลเวลานะคะ
@hellomaewmiew7335
@hellomaewmiew7335 Жыл бұрын
ฟังดูเป็นเคสที่ยากจริงๆค่ะ แต่ก็ไม่สามารถรอดพ้นมือคุณหมอได้ เก่งมากๆเลยค่ะ
@suriyawong75
@suriyawong75 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 Жыл бұрын
สวัสดีคะ ขอบคุณมากๆคะคุณหมอวันนี้มาเล่าเรื่องประทับใจ ได้ความรู้ดีดีมากคะมีประโยขน์คะ👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹❤️
@RISA_1234.
@RISA_1234. 10 ай бұрын
ชื่นชมคุณหมอมากค่ะ😊
@kanokpornmartinez9609
@kanokpornmartinez9609 Жыл бұрын
หล่อสดใส หัวใจยังวัยรุ่นจ้าา สีเขียวสดใส อาจารย์ขาว กว่าเก่าจ้าา
@geegee2465
@geegee2465 Жыл бұрын
🙏ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ ชอบมากถึงมากที่สุดทุกครั้งที่อาจารย์เล่าถึงเคสที่ประทับใจ สนุกตื่นเต้น ชวนค้นหาลุ้นไปกับอาจารย์ด้วยทุกครั้ง สมัยทำงาน ก็ชอบลุ้นช่วยคุณหมอเวลาเจอเคสยากๆ ชอบเก็บเกี่ยวความรู้ จากคุณหมอทุกครั้ง เผื่อเอาไว้ช่วยคนไข้เบื้องต้นในกรณีฉุกเฉินค่ะอาจารย์ ยิ่งเจออาจารย์เก่งๆ เคสยากๆยิ่งทำงานสนุกค่ะอาจารย์ ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะ Sjogren’s Syndromeมีโอกาสทำให้เกิดภาวะขาดADAMTS-13มั๊ยคะ แล้วถ้าเกิดภาวะขาดADAMTS-13แล้วรักษาด้วยยากดภูมิ มีโอกาสที่ตับจะกลับมาสร้าง ADAMTS-13ได้ตามปกติมั๊ยคะ แล้วอายุจะยืนกว่าพวกที่ขาดADAMTS-13จากสาเหตุ USS(เกิดในทารกแรกเกืดแล้วอายุไม่ยืน)..มั๊ยคะ แต่ถ้าเป็นคนไข้อาจารย์เชื่อแน่ว่าอาจารย์ต้องหาทางช่วยให้ถึงที่สุด ไม่ปล่อยคนไข้กลางทางแน่นอนทุกครั้งที่ฟังเคสประทับใจของอาจารย์ รับรู้ได้ถึงความตื่นเต้น เหมือนดูหนังลึกลับ สืบสวนสอบสวน ชวนค้นหาสาเหตุตามไปด้วย เมื่อคนไข้หาย เรารับรู้ได้จากแววตารอยยิ้มและน้ำเสียงของอาจาย์ที่มีความสุขความอิ่มเอมใจที่ช่วยชีวิตนึงให้รอดปลอดภัย 💃🎻🎹Have a nice time with your family naka💐 🏝️🪂🏂อย่าลืมไปเที่ยวทะลฤดูหนาวนะคะ เก็บเกี่ยวพลังไว้เยอะๆก่อนกลับเมกานะคะ😍
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
1) โอกาสน้อยมากครับ 2) มันสร้างได้อยู่แล้ว แต่ในผู้ใหญ่เกิดเพราะมีภูมิต่อต้าน ADAMTS-13 ครับ 3) ยืนกว่าครับ
@geegee2465
@geegee2465 Жыл бұрын
@@DrTany 🙏ขอบคุณค่ะอาจารย์
@anuwattop
@anuwattop Жыл бұрын
ผมชอบเวลาคุณหมอมาเล่าเรื่องที่ประทับใจมากครับ เล่าอีกเยอะๆนะครับ เคสขาดวิตามินครั้งก่อนสนุกมาก
@youtubewatcher2179
@youtubewatcher2179 Жыл бұрын
มิ้นสวัสดีนะค่ะคุณหมอแทน วันนี้ในหัวข้อ ปลูกถ่ายปอด ไม่ได้สติ แอม โมเนียสูง ที่วันนี้คุณหมอแทน มาให้ความรู้ กับ ประชาชน และ คุณหมอ หรือพยาบาล ที่เรียนอยู่ แล้ว คุณหมอแทน กำลัง บอก ถ่ายทอด การรักษา ว่าต้องทำยังไง ถึงผ่าตัด แล้วทำให้คนไข้จะปลอดภัย แล้ว คนไข้ก็จะรู้สึกดี และ คนไข้ ก็จะ ประทับใจ คุณหมอ การให้ที่ คุณหมอแทน ให้ความรู้ กับทุกๆท่าน ขอให้ผลบุญอันนี้ ให้👨‍⚕️คุณหมอแทน และครอบครัว สุขภาพร่างกาย แข็งแรงนะคะ👨‍⚕️👨‍👩‍👦‍👦🏋‍♂️🏃‍♀️🏃‍♂️🤾‍♂️🐶💪💪✌🍒🍏🍋🍊🥝🍓🍈🥑🥕🥬🥩🥚🍚🍣🍱🥛☕🍵🎼🎹🎧📚🎋🏖🛥🌞
@KunlayaneeToy
@KunlayaneeToy Жыл бұрын
ความประทับใจ...ทำให้เกิดความทรงจำ ที่ดีค่ะ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
เคส7 ที่รอคอย อลหม่านสมเป็นเคสที่ประทับใจ เป็นหมออย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องเป็นนักสืบด้วย กราบหัวใจของคนไม่เคยหยุดสงสัย สัญชาตญาณแม่นจริง
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ 🙏อาจารย์หมอแทน😍วันนี้คุณหมอมาเล่าเรื่องเคสที่ประทับใจเรื่องที่7 ชอบฟังค่ะ คุณหมอพบเคสนี้ตอนเรียนfellowปีแรกเป็นเคสการปลูกถ่ายปอด กับคนอายุ60ปี คนไข้ได้รับการปลูกถ่ายปอด ไปแล้ว4วัน แล้วปลุกคนไข้ ไม่ตื่น และตื่นมาก็งัวเงียสับสน พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่รู้สึกตัวส่วนใหญ่ปลูกถ่ายปอดเสร็จต้องลดยา และฟื้นฟูร่างกาย แต่คนนี้ทำไม่ได้ คุณหมอพบว่าสาเหตุ เพราะในร่างกายในสมอง ส่วนสมอง มีสีขาว และสีเทาระหว่างสมองสองข้างมีร่องตรงกลาง ถ้ามีการอุดตัน นั่นคือสโตรก ไม่ใช่โรคนี้ ที่คุณหมอเจอ โรคนี้มันมีความผิดปกติคือมีแอมโมเนีย สูงแอมโมเนียเป็นสารพิษ ถ้ามีสูงอันตราย มากคนนี้มีถึง500ซึ่งปกติ แค่1-100คุณหมอให้การรักษาโดยให้ยาที่คนไข้รับได้ และทำการล้างไต เอาแอมโมเนียออกจากร่างกาย คนไข้มีอาการดีขึ้นเรื่อยๆจนหาย เคสนี้ คุณหมอชอบเพราะได้ใช้ความคิดค้นหาวิธีการหลายอย่าง🌻คนไข้ทำไมมาเป็นโรคนี้ตอนอายุ60ปี เพราะเป็นโรคยูเรีย(ไซเคิลดีเฟ๊ก) พลาสม่าเป็นโรคชนิดหนึ่งทางพันธุกรรม คุณหมอบอกว่า มันเกิดขึ้นมาจากความเครียดที่คนไข้ต้องรับการผ่าตัดเครียดที่จะรับการผ่าตัดจึงมีอาการเกิดขึ้นคุณหมอ ให้ยาใหม่ที่ทำให้ไม่ซึม แอมโมเนียไม่สูง คุณหมอใช้วิธีล้างไต และเปลี่ยนยา คุณหมอให้คิดถึงภาวะ สามอย่างข้างต้น ด้วยที่คุณหมอบอก ใช้ยาใหม่อ๊อกซี่ไซคิน ได้ผล คนไข้หาย ขอบคุณค่ะ🙏👍❤️
@ภาวิณีพลายละมูล
@ภาวิณีพลายละมูล Жыл бұрын
🍃🍃สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ วันนี้ดูสดใสมากค่ะ😀😄
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ ที่ได้ในการดูแล เคสผู้ป่วยประทับใจ เคสที่ 7 ค่ะ เคสนี้น่าประทับใจมากๆ ค่ะ ได้ใช้ความรู้ของ อาจารย์แทน เยอะมากๆ และ ใช้ยาที่ไม่ค่อยได้ใช้บ่อย สำหรับ อาจารย์แทน ด้วย และ การตรวจทางห้องแลบ ที่ตรวจได้ ที่เดียว ที่ Mayo Clinic Laboratories 🧪 🇺🇸 Minnesota อเมริกา (สำนักงานใหญ่ ) วันนี้ความรู้น่าจดไว้มากๆ ค่ะ เดี๋ยวมาตามจดความรู้เพิ่มค่ะ Have a wonderful & freshly air in Thailand วันหมอก ทั่วไทย อากาศเย็นสบาย สุดๆ อากาศ เมืองไทยที่เมืองไทยวันนี้ มาต้อนรับ อ. แทน แน่ๆ เลยค่ะ เย็นสบาย แบบ บอสตัน 🎁🎁 🌸🌸🌹🌹🛍️🛍️
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ Tany สำหรับ 💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖 🛍️🛍️🎁🎁 🌸🌸🌹🌹 Have a wonderful & delicious dinner & sleep well & Take care of yourselves ค่ะ . 🧣🧣
@สุรัสวดีรัตนะ-ช1ค
@สุรัสวดีรัตนะ-ช1ค Жыл бұрын
พักผ่อนเยอะ ๆ นะคะ คุณหมอทำงานเยอะจัง ได้กลับมาอยู่กลับครอบครัว ได้ชาร์จแบต ได้พลังงานดี ๆ
@KarnTovara
@KarnTovara Жыл бұрын
𖤣𖤥𖠿𖤣𖤥 ขอบคุณค่าาคุณหมอ...สำหรับ VDO ความรู้ในวันนี้ค่า 🙇🏻‍♀️ • VDO วันนี้ฟังเป็นความรู้เพลินๆ ค่า ...🧏🏻‍♀️ • ร่างกายมนุษย์ซับซ้อน การรักษา "ความไม่ปกติ" จึงต้องได้รับการดูแลจากผู้ที่เรียนมาทางนี้โดยตรง ซึ่งก็คือ "แพทย์" และหลายครั้งที่เจ็บป่วยมาก ต้องได้รับการดูแลจาก "แพทย์เฉพาะทาง" 👨🏻‍⚕️ • อาชีพหลายอาชีพ จะต้องมี "ใบประกอบวิชาชีพ" จึงจะสามารถทำงานได้ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ วิศวกร สถาปนิก ครูอาจารย์ นักการบัญชี ทนายความ ฯลฯ • ผู้ประกอบวิชาชีพทุกสาขาอาชีพต่างรู้ดี ว่าจะต้องปฏิบัติงานอย่างไร ให้เป็นไปตาม *“จรรยาบรรณ”* แห่งวิชาชีพของตนเอง และ *"ไม่ก้าวก่ายวิชาชีพอื่น"* ค่ะ 💡🧏🏻‍♀️ ทั้งนี้...เพื่อสวัสดิภาพ สุขภาพ ความปลอดภัยของประชาชน และสังคมส่วนรวมค่ะ 🩶👨‍👩‍👧‍👦
@1viboonya137
@1viboonya137 Жыл бұрын
ขอบคุณคะ กำลังอยากรู้เกี่ยวกับ mycoplasma เลยค่ะ อยากให้คนที่เรารัก เจอคุณหมอก่อนหน้านี้จังคะ
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
นาทีที่ 14:50 Mycoplasma pneumoniae 🫁 (ไม่ใช่ในเคสของคุณหมอแทนที่นำมาเล่านะคะ) อันนี้คุณหมอช่วยขยายความให้ เพราะเห็นว่าเป็นที่สนใจของคนไทยหลายๆ คน Mycoplasma ที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม ปอดอักเสบ หรือผื่น หรือเม็ดเลือดแดงแตกต่างๆ คือ Mycoplasma pneumoniae 🫁 🔺จะติดต่อโดยการมาจาก droplet คือทางการหายใจ ไอ จาม เข้าไปในจมูก ปาก แล้วเข้าไปอยู่ที่ปอด อาจจะทำให้เกิดหลอดลมอักเสบก็ได้ ปอดอักเสบก็ได้ ซึ่งเป็นอาการหลัก 🔺แต่ในเด็กจะเจอได้มากกว่า พวกนี้จะไอเยอะ บางคนก็รู้สึกว่าเขาไม่ค่อยป่วยนะ แต่ไอเยอะ เด็กบางคนจะมาด้วยอาการหู 2 ข้างอักเสบ แดง มีปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันบางอย่างด้วย เช่น ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงเมื่อเจอความเย็น หรือที่เรียกว่า Coagglutination ทำให้เกิด IgM ต่อ Antigen ที่เป็น I Antigen ของเม็ดเลือดแดง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบว่าทำไมถึงเกิดได้ แต่มันก็เกิด 🔺ระบบที่เจอบ่อยๆ คือ หู ปอด ทางเดินหายใจ แต่เจอในระบบอื่นได้อีกแต่ไม่บ่อย เช่น ระบบสมอง ทำให้มีความรู้สึกตัวที่เปลี่ยนแปลงไปหมดเลย ทำให้เกิดสมองอักเสบโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับแอมโมเนีย 🔺ที่เจอได้อีกคือ ผื่นต่างๆ เช่น ผื่นแดงๆ ผื่นแบบ vesicles ก็เจอได้ 🔺แล้วอันที่เจอยากมากๆ ก็คือ Cardiac inmovement การที่ Mycoplasma จะเข้าไปที่หัวใจได้นั้น เจอยากมากๆ ทำให้เกิด Pericarditis, Myocarditis และมีรายงานหนึ่งว่าทำให้เกิด Endocarditis ก็ได้ แต่โอกาสเกิดมันยากมากๆ 🔺ที่สำคัญ! ไม่มีวิธีการป้องกันใดๆ ทั้งสิ้นในการป้องกัน Mycoplasma มันเกิดขึ้นก็ดวงจริงๆ ที่จะเกิดขึ้นได้แบบนั้น 🔺ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วทำได้แค่รักษา ส่วนเหตุผลที่ทำไมมันเกิดแบบนั้นได้ ปัจจุบันก็ยังไม่ทราบชัดเจนว่ามันเกิดจากการติดเชื้อ Mycoplasma แล้วมันไปทำลายส่วนต่างๆ เหล่านี้ หรือมันเป็นปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่มันไปทำให้เกิดอาการเหล่านี้ เพราะว่าถ้าเป็นจากภูมิคุ้มกัน การให้ยาฆ่าเชื้อมันไม่ได้ผลอะไร เชื้อมันตาย แต่ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันมันเกิดไปแล้ว เหมือนกรณีของโควิด ในช่วงแรกที่เชื้อโควิดแบ่งตัวเยอะๆ ต้องให้ยาฆ่าเชื้อโควิด เช่น Remdesivir, Paxlovid, Molnupiravir แต่เมื่อไรที่เข้าสู่ช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดขึ้นเพราะระบบภูมิต้านทานของร่างกายตอบสนองผิดปกติ ให้ยาฆ่าเชื้อโควิดก็ไม่หาย ต้องให้ Steroid หรือให้ IL-6 Antibody ซึ่งเป็นยาที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทาน ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อโดยตรง เพราะว่าร่างกายเกิดการอักเสบ การบาดเจ็บจากภูมิคุ้มกันของตัวเอง แต่อันนี้เป็นกรณีของ Mycoplasma pneumoniae และโชคร้ายตรงที่ไม่มีวิธีป้องกัน ติดมาทางเดินหายใจ 😔😷 ขอบคุณมากค่ะ อจ 😊💐💐 ถ้าอย่างนั้นเราควรใช้ Standard และ Droplet precaution ส่งเสริมการล้างมือ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อให้แก่ผู้อื่นกันดีมั้ยคะ
@sabanja1
@sabanja1 Жыл бұрын
ชอบอาจารย์ ดูไม่ fake refer research universal จะติดตาม อ.ตลอด ผมไม่ได้จบ dr. จบ clinica psychologist แต่ก็ชอบฟังเพื่อเป็น knowledge ครับผม 😅😅😅
@nung-noppapat
@nung-noppapat Жыл бұрын
ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ วนมาที่คลิปดีๆใน playlist คลิปนี้อีก จะทำให้ OK ขึ้นเวลาฟังคู่กับคลิปวันที่ 14.07.23 "วิเคราะห์เคสฯรู้เร็วไม่ได้แปลว่าหาย" นั้นพูดเรื่องคนไข้ idiopathic pulmonary fibrosis แต่คลิปนี้ขยายความเรื่อง PRES เรื่อง TMA เรื่อง UREA-Ammonia แบบไปช้าๆลงไปในรายละเอียดอีกติ๊ดนึง ฟังต่อกันแล้วสนุกดี ขับรถไปฟังไปแบบว่าบันเทิง! ฟังอันโน้นลืมนี้ ฟังอันนี้ลืมโน้น "อ๊ะ มะกี๊ได้ยินว่าไรนะ?" ย้อนไปใหม่ วนอยู่นี่แหละ 555 เราก็ว่ามันมีประโยชน์ดีมากเลย
@ptphone2301
@ptphone2301 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ เคสผู้ป่วยที่ประทับใจ(7)ปลูกถ่ายปอดไม่ได้สติแอมโมเนียสูง เป็นเคสที่ประทับใจของอาจารย์หมอสมัยยังเป็นfellowปีแรกดูแลคนไข้ปลูกถ่ายปอดแล้วมีปัญหาปลุกไม่ตื่นสับสนไม่รู้เรื่องและพบว่าแอมโมเนียในร่างกาย สูงมากๆตั้ง500ซึ่งคนปกติมี0-1เท่านั้นเลยสงสัยว่าทำไมเป็นแบบนี้ซึ่งตามปกติผู้ป่วยปลูกถ่ายปอดวันแรกก็จะพยายามเอาเครื่องช่วยหายใจออกเพื่อให้คนไข้สามารถพูดได้และเริ่มเดินออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูร่างกายแต่คนนี้ทำไม่ได้ อาจาย์หมอสงสัยว่าอะไรทำให้เป็นอย่างนี้การรักษาและวินิจฉัยคนไข้ปลูกถ่ายปอดแล้วเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตัวแบบนี้นั้นอาจารย์หมอคิดถึง โรค3โรคอันแรกคือ Pres TMA และการติดเชื้อไมโครพลาสม่าชนิดหนึ่ง สมองของคนเรามีสองสีคือสีเทาและสีขาว สีขาวตรงข้างหลังมีการรั่วของน้ำออกไปจากเส้น เลือดได้ง่ายกว่าจึงเป็นพยาธิวิทยาของคนที่เกิดpresขึ้นมาและเคสนี้ประทับใจมากเป็นเพราะว่าต้องอาศัยการคิดหลายขั้นตอนมากบางคนพบว่าแอมโมเนียสูงอาจไม่รู้เรื่องไม่ได้คิดอะไรก็จะบอกว่าให้เขาถ่ายออกมาแอมโมเนียมันก็จะลดลงเองซึ่งวิธีการรักษาแบบนี้มันไม่หายจะต้องรักษาโดยการล้างไตทันทีถึงแม้ไตไม่วายก็ต้องล้างเพื่อที่จะเอาแมโมเนียลดลงมาให้ได้แล้วก็เป็นไปตามที่อาจารย์หมอคิดๆไว้เป็ะทุกประการ สุดท้ายคนไข้ที่มีความ เครียดจากการผ่าตัดก็ลดลงทุกๆอย่างค่อยๆดีขึ้นคนไขัก็ดีขึ้นตามลำดับ (แอมโมเนียมาจากการสลายของโปรตีนกลายเป็นยูเรียเป็นแอมโม เนียๆเป็นสารพิษถ้าเข้าไปในสมองจะทำให้เบลอไม่รู้เรื่องมีการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกต่างๆ) ขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงที่เล่าให้ฟังเป็นเคสที่ประทับใจจริงๆค่ะยังคิดอยู่ในใจว่าจะมีเคสที่ประทับใจอีกไหมคือฟังแล้วมันมีความสุขใจค่ะแต่กว่าจะผ่านมาได้อาจารย์หมอก็ต้องคิดหลายขั้นตอนวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากๆสุดยอดอาจารย์หมอค่ะ
@ptphone2301
@ptphone2301 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หมอ
@thea1713
@thea1713 Жыл бұрын
สนุกค่ะ ได้ความรู้ด้วย ฟังแล้วหนูคิดถึงความรู้ pre clinic มาก อยู่ รพช.ไม่ได้เจอเลยค่ะ แต่ยังดีที่ รพช.ค่อนข้างใหญ่ จะเป็น รพ.ทั่วไปอยู่แล้ว ได้ใช้ความรู้บ้าง ไม่งั้นสมองหนูคงฝ่อไปเลยค่ะ 5555 ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันมากค่ะอาจารย์ หนูก็ลืมๆไปเยอะมากแล้วค่ะ ID เผื่อกลับไปนั่งทบทวนค่ะ 🙏
@piemlabinphirom55
@piemlabinphirom55 Жыл бұрын
สวัสดีึ่ึ่ค่ะอ.จ.หมอแทน​ ขอบพระคุณ​ข้อมูลดีๆค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
ADAMTS13 ย่อมาจาก A disintegrin-like and metalloprotease with thrombospondin type 1 motifs 13 เป็นเอ็นไซม์ชนิดหนึ่ง ) ซึ่งทำหน้าที่ในการตัด von Willebrand multimer ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง การขาด ADAMTS13 อาจเกิดจาก สาเหตุทางพันธุกรรม (Upshaw-Schulman syndrome หรือ USS) หรือเกิดขึ้นภายหลัง ได้แก่ การตั้งครรภ์ มะเร็ง การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ยาหลายชนิด เช่น ในกลุ่มยาเคมีบำบัด ภาวะตับอ่อนอักเสบ โรคภูมิแพ้ตนเอง (autoimmune disease) และโรคติดเชื้อ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
อุตส่าห์หา Upshaw-Schulman เจอด้วย งั้นเสริมให้ครับว่าโรคนี้เกิดในเด็กแรกเกิด อายุจะไม่ยืนนักแม้จะรักษาก็ตาม เพราะเด็กเหล่านี้ไม่สามารถสร้าง ADAMTS-13 ได้ ซึ่งต้องแยกจากเด็กคลอดก่อนกำหนดที่ตับยังไม่สามารถสร้าง ADAMTS-13 ซึ่งกลุ่มหลังนี้สักพักก็จะสามารถสร้างได้ครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@DrTany บังเอิญหาเจอค่ะอาจารย์ โชคดีที่เขาระบุไว้เลยค่ะ... ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ที่กรุณาอธิบายเพิ่มเติมค่ะ 🙏🙏🙏
@sasikan9388
@sasikan9388 Жыл бұрын
เก่งและขยันมากเป็นแฟนตัวยงของคุณหมอเลยค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@sasikan9388 ขอบคุณมากๆค่ะน้องกานต์🙏
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะน้องทริป สำหรับข้อมูล
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
คุณหมอแทนคะ เกิดมีคำถามที่ไม่เกี่ยวกับเคสนี้ แต่ playlist เคสที่น่าประทับใจ ของคุณหมอมันน่าสนใจดีทุกเคส เลยขออนุญาตฝากคำถาม ถามคุณหมอไว้ตรงนี้นะคะ: 1. คุณหมอเคยเจอคนไข้เคสที่เป็น Listeriosis (จาก Listeria monocytogenese) ไหมคะ รู้แต่ว่าอันตรายมากแบบว่าตายเร็วเลย แต่อยากเข้าใจว่ามัน attack ร่างกายอย่างไร? 2.แล้ว L.mono ตัวนี้มันทำให้เป็น Pneumonia ได้ด้วยหรือคะ?
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
1. เคยเจอคนท้องเป็น meningitis จากเชื้อนี้ครับ รักษาได้ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ 2. ตัวที่ทำให้เป็น pneumonia คือ legionella ครับ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
@@DrTany สำหรับข้อ2 legionella อันนี้pneumonia แน่นอน แต่ listeria mono เนี่ยบังเอิญเราไปเห็น บทความนานเชียวแหละค่ะ ขอประทานโทษจำชื่อหน่วยงานที่เขียนไม่ได้ครบชื่อ คือ JSTOR แล้วก็ Clinical Micro. Infection มีตัวอื่นหลายอันอยู่ แต่ว่ามันนาน ราวๆปี 2018 ปี95 ปี92 แล้วก็ไม่เห็นมีปีเร็วๆนี้เลย มันอ่านยากๆน่ะค่ะเลยยังไม่มีเวลาเข้าไปอ่านละเอียดข้างในเพียงแต่ไม่คิดแต่แรกว่าตัวนี้จะเกี่ยวกับ respiratory infection แต่สงสัยว่าช่วงนั้นทำไมมันมีเขียนเรื่องนี้กันหลายสถาบันนัก
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน ฟังแล้วสมควรเป็นเคสที่ประทับใจในการคิดเพื่อวินิจฉัยโรคจริงๆค่ะ อ่อไม่ใช่ชื่อคุณอดัม ค่ะๆ ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
เคสนี้เป็นเคสที่อาจารย์รู้สึกประทับใจสมัยที่เป็น "fellow ปีแรก" คำว่า "fellow" คือ แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ หมายถึง แพทย์ที่จบสาขาเฉพาะทางแล้ว แต่ยังต้องการเป็นแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาย่อยลงไปอีก เช่น ทางโรคหัวใจ โรคไต โรคปอด เป็นต้น...
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะน้องทริป
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย... สอบถามค่ะพี่จบรัฐศาสตร์ แล้วพี่ทำงานด้านนี้ไหมคะ เช่น รับราชการอะไรงี้
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
@@FragranzaTrippa ไม่ได้ทำงานด้านที่เรียนมาค่ะ ทำงานกับเจ้านายเก่าของพ่อ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@kanyamuay3748 อ๋อ ค่ะพี่ เป็นงานด้านไหนคะพี่ ตอบกว้างๆก็ได้นะคะ (ของทริป HR ค่ะ)
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
@@FragranzaTrippa บางคนเขาเรียกว่าพี่เป็นเสมียน เขามาตามที่บ้านให้ช่วยงานเขา ตอนนั้นเขียนลายอยู่ที่บ้านกับสอนพิเศษเด็กนักเรียนตอนเย็น ทำทุกอย่างเท่าที่มีเวลา พ่อเสียไปแล้วต้องเลี้ยงแม่ กับลูกพี่สาวสองคน ปัจจุบันเขียนลายอย่างเดียวก็เหนื่อยแล้ว วันนี้ก็ทำอยู่ที่บ้าน เขามาจ้างทำค่ะ สรุปไม่มีอะไรเกี่ยวกับที่จบมา พื้นฐานชอบวิทยาศาสตร์ ฝึกภาษา บ้าง ที่เคยเรียนมา พูดไม่ได้ สื่อไม่เป็น มาฝึกในยูทูปนี่ได้มาเยอะ การมาฟังอาจารย์แทน ทำให้ได้ความรู้เยอะ แล้วก็ไปค้นหาเพิ่มเติม สนุกมาก บางครั้งก็หาไม่ทัน ต้องทำงานตามที่เรากำหนดเวลาไว้ ยาวเลย🤣😂
@AvecBella
@AvecBella Жыл бұрын
Buona Sera 👋🏼 to a beautiful evening ka Doctor Tany ☁️✨🌛 The simplest solution to wind down the day is to Relax, Recharge and Reflect… about all the things you are grateful for. Happy Fridayyy… Night! 🙃 ☁️✨🦋🌛💤
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
◾วงจรยูเรีย (urea cycle) มีหน้าที่หลัก คือ 1. ทำหน้าที่สังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิดภายในร่างกาย ได้แก่ arginine, ornithine และ citrulline เพื่อนำกลับมาใช้ในวงจรยูเรียอีกครั้ง 2. เป็นกลไกหลักในการเปลี่ยนของเสียในรูปของไนโตรเจน คือ แอมโมเนีย (ammonia; NH) ที่เกิดจากการหมุนเวียนของโปรตีน (protein turnover) ไปเป็นยูเรีย (urea) เพื่อขับออกจากร่างกายผ่านทางหน่วยไต 3. เป็นกลไกหลักในการเมแทบอลิซึมของสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น adenosine monophosphate 4. เป็นวงจรที่มีเอนไซม์เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้าง nitric oxide ได้แก่ เอนไซม์ argininosuccinate synthase (ASS) และ argininosuccinate lyase (ASL) ◾ภาวะ Urea Cycle Defect เป็นความผิดปกติด้านกระบวนการสร้างและสลาย ที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนแอมโมเนียให้อยู่ในรูปของยูเรียเพื่อขับออกได้ ดังนั้น ค่าชีวเคมีหลักที่ผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือระดับแอมโมเนียในเลือดที่สูงกว่าปกติ (hyperammonemia)
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@ FragranzaTrippa ขอบคุณมากนะคะคุณทริป ได้ความรู้เพิ่มขึ้นทุกวันค่ะ ⚘💙⚘ @ Doctor Tany คุณหมอวินิจฉัยโรค ได้แม่นยำเสมอค่ะ ขอบคุณมากนะคะคุณหมอแทน 🌻🧡🌻
@AvecBella
@AvecBella Жыл бұрын
Thanks for the review ka Khun FragranzaTrippa! I have forgotten some of these because I’m no longer in school… 😅❤
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@boomsong5729 ยินดีค่ะคุณมนต์... ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@AvecBella As far as I remember, I've never studied about this topic in school. I've just heard about this term for the first time from Dr.Tany's clip ka.😅
@AvecBella
@AvecBella Жыл бұрын
@@FragranzaTrippa But you took the time to type them out so I don’t have to go look! 😆 Mwah!!! ❤️
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 Жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ
@wanpenleohirun8153
@wanpenleohirun8153 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ🙏
@Chefaey
@Chefaey Жыл бұрын
เพิ่งเจอคลิปเรื่องเล่าปลูกถ่ายปอดเลยแต่เดี่ยวไปตามหาฟัง เคสอื่นๆๆต่อแต่ศัพท์ก็ยากมากเลยแอบมึนๆๆ
@ณฐพลวุฒิไกรวณิชย์-ฌ2ฌ
@ณฐพลวุฒิไกรวณิชย์-ฌ2ฌ Жыл бұрын
รักหมอแทนนี่ รักออเรนจิ
@warongratratanawarang3057
@warongratratanawarang3057 Жыл бұрын
อยากให้คุณหมอพูดถึง โมโนโซเดียม กลูตาเมท MSG ผงชูรส เดี๋ยวนี้ใช้กันมากโดยเฉพาะอาหารจีน แต่เดียวนี้อาหารไทยก็ใช้มาก แม้แต่ส้มตำยอดนิยม ก็ยังต้องใส่?! ขอบคุณค่ะ
@areeratasudhasirikul952
@areeratasudhasirikul952 Жыл бұрын
ใช่คะ อาทิฅย์นี้ กินอาหารที่ส่งให้คนแก่กินทุกวันมีมากๅ กินแล้วเท้าขางซ้ายบวบนิดหน่อย ดื่มน้ำมาก
@user-mr8fp6lo6g
@user-mr8fp6lo6g Жыл бұрын
สวัสดีเจ้าคุณหมอ💖💖💖💖💖
@ilhamabdullah-och1117
@ilhamabdullah-och1117 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ การวินิจฉัยโรคของคุณหมอน่าทึ่งมากเลยนะคะ ต้องอาศัยความจำ ความเข้าใจ หลายๆด้านด้วย ฟังแล้ว อยากให้กำลังใจคุณหมอที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกท่านเลยค่ะ ✌🏻🤝 รวมถึงคุณหมอแทนด้วยค่ะ มีคำถามเล่นๆที่นึกออกได้ค่ะ 1.เวลาคุณหมอเขาใบสั่งยาจะเขียนใบสั่งยาจะใช้ชื่อยา หรือชื่อยาทางการค้า ? 2.เคยได้ยิน ว่า ลายมือหมออ่านยากๆไหมค่ะ ของคุณหมอแทนลายมืออ่านยากเหมือนกันไหมค่ะ 😅 (แต่เดี๋ยวนี้ รพ. รัฐ ใช้คอมคีย์ใบสั่งยากันแล้วใช่ไหมค่ะ) 3.มีเคสรุ่นพี่ค่ะ ที่เขาปวดท้อง ปวดท้องแบบปวดมากมาหลายวัน ไปหาหมอ หมอให้แอดมิท แล้วหมอก้อหาเจาะเลือด ชาว์ ทำเกือบทุกอย่าง เพื่อหาว่าเป็นโรคอะไร สุดท้ายหาไม่เจอ ให้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการไป แล้วยังบอกคนไข้ว่า ลองไปสาเหตุทางไสยศาสตร์ดูด้วยก้อดี 😮😅 (หนูงงเลย) มีด้วยหรอค่ะแบบนี้ ถ้าหาสาเหตุ หาโรคไม่ได้ วินัจฉัยโรคไม่ได้ คุณหมอทำยังไงต่อค่ะ คุณหมอเคยมีเคสแบบนี้ไหมค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
1) มีทั้งคู่ครับ 2) ลองไปดูคลิปเก่าๆผมมีเขียนให้ดูหลายคลิปครับ 3) ผมไม่อยู่ในเหตุการณ์คงบอกอะไรไม่ได้ครับ
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
น้องอัง ลายมือคุณหมอสวยเขียนเร็วด้วยค่ะ
@ilhamabdullah-och1117
@ilhamabdullah-och1117 Жыл бұрын
@@maneeann ช่ายเลยค่ะพี่แอน 👍😇😉
@Hnuhri
@Hnuhri Жыл бұрын
❤❤❤ขอบคุณค่ะคุณหมอ🙏🙏🙏
@user-wq6jb3zb1j
@user-wq6jb3zb1j Жыл бұрын
ฟัง....แล้วน่ากลัวครับ ....ไมโครพลาสมา ... ติดต่อระบบหายใจ
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh Жыл бұрын
ขอบคุณครับพี่หมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️♥️
@somjitlue-aroon7875
@somjitlue-aroon7875 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ
@wiphadawijakkanalan2405
@wiphadawijakkanalan2405 Жыл бұрын
ติดตามตลอดค่ะ
@tooksuchanun3744
@tooksuchanun3744 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอมีคำถามค่ะ ว่าคนที่ปอดมีปัญหามากๆถึงขั้นไหนคะ จึงต้องทำการปลูกถ่ายปอด แล้วที่ทราบมาว่าปอดของคนถึงแม้ถูกตัดออกไปแล้วก็ยังมีปอดอีกข้างสามารถทำงานได้ มีชีวิตอยู่ได้จริงหรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ🙏
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ส่วนมากเมื่อต้องใช้ออกซิเจน หรือใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อขับคาร์บอนไดออกไซด์ออก พวกนี้ก็พิจารณาครับ
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณค่ะ🙏สำหรับคำตอบ ❤️คุณหมอคะขอบคุณสำหรับหัวใจวันนี้ด้วยนะคะให้มาแล้ว หายไปเพราะแก้คำผิดอีกแล้ว🤣🤣❤️
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@@AL86898 เคยรู้จักเด็กคนนึง มีปอดข้างเดียวตั้งแต่เกิด ก็ใช้ชีวิตได้เป็นปกติค่ะ เข้าใจว่าถ้าไม่มีข้อบ่งชี้อย่างที่คุณหมอตอบก็น่าจะอยู่ได้ค่ะ อยากทราบเหมือนกันค่ะ เรียนถามคุณหมออีกครั้งนะคะ ไปฟังเพลงช่องคุณแอ๋วดีกว่าค่ะ 😊
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
@@boomsong5729 ขอบคุณค่ะแสดงว่ามีชีวิตอยู่ได้ ตามที่คุณเล่าค่ะ🙏
@firework05
@firework05 Жыл бұрын
ผมอยากให้หมอเป็นพ่อผมครับ
@ภาคภูมิ-ต8ซ
@ภาคภูมิ-ต8ซ Жыл бұрын
ขอบคุณความรู้อย่างสม่ำเสมอมากนะครับ อยากทราบความเห็น เรื่องของโรคซึมเศร้า อย่างไรครับ การเข้าเกณฑ์เป็นโรค มีตัววัดชี้ชัดที่เป็นเชิงปริมาณอย่างไร ถ้าสาเหตุเกิดจากสารในสมอง
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เรื่องนี้ถามหมอจิตเวชดีกว่าครับ FB page หมอแมวน้ำเล่าเรื่อง
@ภาคภูมิ-ต8ซ
@ภาคภูมิ-ต8ซ Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ
@ภาคภูมิ-ต8ซ
@ภาคภูมิ-ต8ซ Жыл бұрын
ยังไม่เคยเจอช่องไหนที่อธิบายได้มีรายละเอียดชัดเจน แบบช่องอาจารย์เลยครับ
@user-cx3ll2ht5k
@user-cx3ll2ht5k Жыл бұрын
คนไข้ที่หมดสติมาเป็นเดือน ไม่รู้สึกตัวเลย จะมีโอกาสฟื้นขึ้นมาไหมคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
มีครับ แต่น้อย และที่ฟื้นมาแล้วปกติก็ยิ่งน้อยลงไปกว่าเดิมมากครับ
@user-cx3ll2ht5k
@user-cx3ll2ht5k Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณค่ะ
@Yuyu76888
@Yuyu76888 Жыл бұрын
การนอนเยอะเกินไปทำให้เป็นเส้นเลือดในสมองตีบจริงหรือป่าวครับ เขาบอกการนอนมากกว่า7ชม.ต่อวันเสี่ยงเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ แล้วเขาเอางานวิจัยมาอ้างด้วยครับ จริงหรือป่าวครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เรารู้ว่าการนอนมากเกินไปก็ไม่ดีครับ แต่มันขึ้นกับอายุด้วย ในเด็กจะนอนมากกว่าผู้ใหญ่อยู่แล้วด้วย
@tonydebua
@tonydebua Жыл бұрын
Mycoplasma เชื้อตัวนี้อ่านเจอในแถลงการณ์ฉบับที่ 3 เกี่ยวกับพระองค์ภาฯ
@ragponsriniratsai5162
@ragponsriniratsai5162 Жыл бұрын
สวัสดีครับอาจารย์ น้องชายผมเคยบริจาคเลือดที่ศิริราชเมื่อประมาณ 1x ปีที่แล้ว มีใบมาบอกว่าเป็นไวรัสตับซี แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ชีวิตอยู่ แต่ผอมมาก ฟันหลุดตลอด ควรบำรุงอย่างไงดีครับ หรือจะเสริมวิตามินอะไรพอบ้าง ขอบพระคุณครับ...โปรดช่วยทีนะครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ผมว่าควรไปตรวจก่อนดีกว่าว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ฟันหลุดนี่ต้องดูปัญหาเรื่องช่องปากก่อนเลยครับ ต้องไปตรวจกับหมอฟันด้วย ถ้าผอมมากแน่นอนว่าควรกินอาหารที่พลังงานสูงเช่นไขมัน และเพิ่มโปรตีนครับ
@wildberry9384
@wildberry9384 Жыл бұрын
ขออนุญาตนอกเรื่องวิชาการนิดนึงนะคะ มีใครเคยทักคุณหมอว่าหน้าคล้ายพี่jin BTSมั้ยคะ 😊😊😊
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่รู้จักเลยครับ
@sanpdinocat
@sanpdinocat Жыл бұрын
@ployployprapai3809
@ployployprapai3809 Жыл бұрын
❤❤❤🙏
@ภาวิณีพลายละมูล
@ภาวิณีพลายละมูล Жыл бұрын
🍃🍃สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ วันนี้ดูสดใสมากค่ะ😀😄
@pattarajarinsangtong1222
@pattarajarinsangtong1222 Жыл бұрын
♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️🌳🌳🌳🌳🌳🌺🌺🌺🌍ความรักขับเคลื่อนโลกใบนี้คุณคือผู้มีบุญ🌸🌸🌸
@kanjanaanyrukratchada2719
@kanjanaanyrukratchada2719 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@narlaw1342
@narlaw1342 Жыл бұрын
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@pattarajarinsangtong1222
@pattarajarinsangtong1222 Жыл бұрын
รักนะค่ะคนดีของฉันจะวันไหนก็มีเพียงเธอ♥️♥️♥️เพลงบี้เดอะสตาร์นะค่ะ🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺เปิดใจรับฟัง❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️
@ployyy.2107
@ployyy.2107 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอขอบคุณข้อมูลความรู้ได้รับความรู้ทุกวันอะไรที่ไม่รู้ก็ได้รู้ขอบคุณมากๆค่ะขอให้คุณหมอและครอบครัวสุขภาพแข็งแรงค่ะ🥰🥰🥰
@phattraintharamahachai4401
@phattraintharamahachai4401 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์ขอบคุณมากนะคะสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ถึงศัพท์ทางการแพทย์เยอะก็ฟังค่ะวันนี้อาจารย์ได้ไปเที่ยวไหมค่ะ
@sasikan9388
@sasikan9388 Жыл бұрын
ขอบคุณนะคะที่คุณหมอมาอธิบายได้ละเอียดวันนี้ได้มีความรู้เพิ่มขึ้นอีกค่ะ
@pornsawangervy7520
@pornsawangervy7520 Жыл бұрын
👍👍👍👍👍👍✌✌✌✌✌✌🌎🌍🌏🌎🌍🌏🌅🌅🌅🌅🌅🌅🌄🌄🌄🌄🌄🌄😍😍😍😍😍😍❤❤❤❤❤❤😘😘😘😘😘😘✌✌✌✌✌✌
Or is Harriet Quinn good? #cosplay#joker #Harriet Quinn
00:20
佐助与鸣人
Рет қаралды 57 МЛН
Bend The Impossible Bar Win $1,000
00:57
Stokes Twins
Рет қаралды 49 МЛН
GIANT Gummy Worm Pt.6 #shorts
00:46
Mr DegrEE
Рет қаралды 13 МЛН
У ГОРДЕЯ ПОЖАР в ОФИСЕ!
01:01
Дима Гордей
Рет қаралды 8 МЛН
Or is Harriet Quinn good? #cosplay#joker #Harriet Quinn
00:20
佐助与鸣人
Рет қаралды 57 МЛН