โคกเมืองวัดเขียนบางแก้วและเมืองสทิงพระ : บ้านเมืองในพุทธศตวรรษที่ 18 | จากรากสู่เรา

  Рет қаралды 18,736

Thai PBS

Thai PBS

5 ай бұрын

เรื่องราวประวัติศาสตร์ในพื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ย้อนไปเมื่อ 2500 ปีก่อนในสมัยพุทธกาล พื้นที่บริเวณจังหวัดจังหวัดพัทลุงยังเป็นชายทะเล และบริเวณคาบสมุทรสทิงพระยังเป็นเกาะ ที่เรียกว่ากันว่า “แผ่นดินบก” ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมา พื้นที่บริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาถูกปกครองด้วยสหพันธรัฐศรีวิชัย พื้นที่บริเวณนี้มีการเดินเรือเพื่อค้าทางทะเลระยะไกลพัฒนามากขึ้น สามารถล่องเรือผ่านช่องแคบมะละกาได้ ทำให้เกิดแหล่งการค้า และส่งผลให้พื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา มีการเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่เป็นหลักแหล่งมากขึ้น
แต่เรื่องราวของการเกิดขึ้นของเมืองโคกเมืองวัดเขียนบางแก้วและเมืองสทิงพระ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาปสงขลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 กลับหายไป ในความเป็นจริงแล้ว...ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่หลายคน และหลายภาคส่วน อาจจะยังไม่เห็นความสำคัญ
พาไปชมการรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ของคนในท้องถิ่น ที่มองเห็นถึงความสำคัญของโบราณสถาน โบราณวัตถุ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่เติมเต็มข้อมูลที่หายไปของการตั้งบ้านเมืองในลุ่มทะเลสาบสงขลา
ติดตามได้ในรายการจากรากสู่เรา ตอน โคกเมืองวัดเขียนบางแก้วและเมืองสทิงพระ : บ้านเมืองในพุทธศตวรรษที่ 18 วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2567 เวลา 14.05 - 14.30 น. ทางไทยพีบีเอส
----------------------------------
👉 กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : / thaipbs

Пікірлер: 21
@fsbn3158
@fsbn3158 4 ай бұрын
ชุมชนโบราณสทิงพระ ตั้งอยู่ในตำบลกระดังงา ตำบลจะทิ้งพระ ตำบลบ่อแดง ตำบลบ่อตาล และตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระในปัจจุบัน ลักษณะที่ตั้งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีคูน้ำล้อมรอบ พบโบราณวัตถุ เป็นเศษถ้วยจีน สมัยราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซุ่ง ราชวงศ์หยวน และราชวงศ์หมิง เครื่องถ้วยของเวียดนาม ซึ่งเป็นดินเผาสีเขียวไข่กา ร่วมสมัยกับราชวงศ์ ซุ่ง (พ.ศ.1503 - 1822) และราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1822 - 1911) ของจีน และยังพบซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐและหิน พบไหเคลือบ ศิลปะจีน สมัยราชวงศ์ถัง เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก ทองคำ ลูกปัดหินรัตนชาติ และภาชนะดินเผาที่แต่งลวดลายเป็นตัวอักษรปัลลวะ
@naytonchannel
@naytonchannel 5 ай бұрын
เป็นกำลังใจให้ทีมงานครับ จากคนภาคใต้คนหนึ่ง
@byp59s
@byp59s 3 ай бұрын
เรื่องราวเหล่านี้ แม้ในท้องถิ่นเอง ยังไม่ค่อยรู้เลย แม้ว่าหลายครูอาจารย์จะเป็นนักวิชาการท้องถิ่นด้วยก็ตาม แต่ขาดการบูรณาการองค์ความรู้รวบรวมให้เป็นแบบเรียนที่น่าสนใจและครอบคลุม รั้วโรงเรียนสมควรเพิ่มวิชาปวศ.ท้องถิ่นให้เยาวชนได้รู้รากรู้เหง้ารู้คุณค่าทางปวศ.และโบราณคดีและมิติอื่นๆของชุมชนท้องถิ่นเพื่อรู้สำนึกคุณแผ่นดินบ้านเกิดมากขึ้น.. (ดีใจที่เห็นเพื่อนร่วมรุ่นได้เป็นนักวิชาการฯช่วยสืบทอดองค์ความรู้ท้องถิ่น..)
@fsbn3158
@fsbn3158 4 ай бұрын
ประมาณพ.ศ1503 มีชาวมอญโบราณอาศัยอยู่ที่สทิงพระ ตามบันทึกจีน วิกิพีเดีย
@newpontecha9351
@newpontecha9351 3 ай бұрын
ติดตามและขอบคุณทีมงานที่นำเสนอข้อมูลชุดนี้ น่าตามรอยมากค่ะ
@FBI-THAILAND
@FBI-THAILAND 5 ай бұрын
โชคดีที่เรียนก่อสร้าง จึงได้รู้ บ้านลักษณะต่างๆ ว่าเป็นเอกลัษณ์ ของกลุ่มคนประเภทไหน
@user-sx6bn6pb2p
@user-sx6bn6pb2p 4 ай бұрын
ไม่ได้เรียนสายนี้เเต่ทำไหมผมรู้อ่ะโชคดีที่ไม่ได้เรียนเเต่รู้
@jindarakp.8402
@jindarakp.8402 5 ай бұрын
ชอบรายการนี้ครับ ความรู้ที่เราไม่เคยได้รับจากตำราเรียน ขอบคุณทีมงานทุกคนครับ
@eimmybb_five-o7899
@eimmybb_five-o7899 5 ай бұрын
❤❤❤❤❤❤
@user-hi5xt4cj4c
@user-hi5xt4cj4c 5 ай бұрын
แต่ที่ได้ยินมามีพระยักยอกของไปนะ😊
@kkrenger6147
@kkrenger6147 4 ай бұрын
ชอบรายการมากครับ
@anuchabeowanan8383
@anuchabeowanan8383 4 ай бұрын
ขอบคุณทีมงานทำประวัติศาสตร์แบบเจาะลึกของภาคใต้ จากคนสงขลา
@user-vi3st9rv3p
@user-vi3st9rv3p 5 ай бұрын
สวัสดีคับ
@user-kb5gq2up6w
@user-kb5gq2up6w 5 ай бұрын
เสียงเบามาก
@fsbn3158
@fsbn3158 4 ай бұрын
กลุ่ม ทมิฬ. เข้ามาสยาม เราก็เฉยๆ
@Realme-dt2le
@Realme-dt2le 5 ай бұрын
ขอบคุณเรื่องราวและข้อมูลที่มีประโยชน์จากThai PBS,
@monsterblink313
@monsterblink313 4 ай бұрын
ประวัติศาสตร์ไทยไม่มีภาคใต้ นี่คือนิยามที่ตกผลึกจากการได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ครับ
@user-zf4sn3mg9i
@user-zf4sn3mg9i 4 ай бұрын
จะมีแต่การเจาะลึกของพื้นที่ภาคกลาง เหนือ และอีสานเป็นหลัก ส่วนภาคใต้ ประวัติศาสตร์ไทยแทบไม่ได้เจาะลึกเลย
@monsterblink313
@monsterblink313 4 ай бұрын
@@user-zf4sn3mg9i เจาะลึก เป็นคำที่บ่งบอกได้ดีมากครับ ยังไม่มีประวัติศาสตร์ภาคใต้ของไทยแบบเจาะลึกเลย(ไม่มีท่านผู้ใดทำ)
@NAMizu0189
@NAMizu0189 3 ай бұрын
จริงด้วย เราก็เพิ่งสังเกตตอนโตนี่แหละ ว่าทำไมประวัติศาสตร์กระแสหลักไม่ค่อยบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับปักษ์ใต้ไว้เลย ทั้งๆที่เป็นเมืองท่าและจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สยามแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (กรุงศรีอยุทธยา-กรุงรัตนโกสินทร์) ต้องการเพื่อออกทะเลแท้ๆ เราได้ยินได้ฟังและเห็นแต่บันทึกที่มีรายละเอียดจากคนท้องถิ่นอย่างเดียวเลย แต่ประวัติศาสตร์กระแสหลักในแบบเรียนเขียนแค่ว่า ปีนั้น สมัยนั้น อยุธยา,ธนบุรี,รัตนโกสินทร์ ส่งทัพไปปราบเพราะแข็งเมืองโน่นนี้นั้นตลอดเลย การที่เมืองหนึ่งต้องการแผ่อิทธพลยังอีกเมืองหนึ่งแปลว่า ดินแดนนั้นมีมาอยู่ก่อนแล้ว และเจริญรุ่งเรือง เป็นที่รับรู้กว้างขวาง ในระดับที่ไปแตะตาอีกเมืองได้เลย หรือที่ไม่ค่อยกล่าวถึงเพราะเดิมทีแถบนี้เป็นเมืองในอิทธิพลของศรีวิชัยซึ่งมีมานานก่อนอยุธยาก่อตั้งเลยจัดเป็นคนละอาณาจักรกัน ต่อมาศรีวิชัยเสื่อมอำนาจ เมืองเหล่านั้นแยกตัวออก อยุธยามีอำนาจมากขึ้นเลยค่อยๆ แผ่อิทธิพลลงมาจนถึงสุดคาบสมุทรมลายูตามประวัติศาสตร์ในแบบเรียนกัน
ข่าวดึก | 3 ส.ค. 67
31:04
Thai PBS
Рет қаралды 2,6 М.
Llegó al techo 😱
00:37
Juan De Dios Pantoja
Рет қаралды 58 МЛН
Why Is He Unhappy…?
00:26
Alan Chikin Chow
Рет қаралды 57 МЛН