กราว(Ground) กับ นิวตรอน(Neutral) ต่างกันอย่างไร ? ทำไมต้องจั้มเข้าด้วยกัน...!!

  Рет қаралды 457,216

Zim Zim DIY

Zim Zim DIY

2 жыл бұрын

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDiy
สำหรับวันนี้ผมจะมา อธิบาย เกี่ยวกับ หัวข้อ
กราว กับ นิวตรอน ต่างกันอย่างไร ? ทำไม การไฟฟ้าต้องบังคับ ให้จั้มถึงกัน ด้วย
ก่อนอื่น ผมอยากให้เพื่อนๆ เข้าใจ Concept ไฟฟ้า ไปในทิศทางเดียวกันซะก่อน ซึ่งนิสัยของมันจะมีอยู่ด้วยกันสามข้อดังนี้ครับ
1.ไฟฟ้าจะไหลผ่านวงจร ก็ต่อเมื่อ มันเชื่อมต่อกันแบบ สมบูรณ์ เท่านั้น
หากเราสัมผัสกับสาย Line ตัวเราเองก็อาจจะทำให้วงจร สมบูรณ์ขึ้นได้
2.ไฟฟ้าจะพยายามที่จะกลับไปยังแหล่งกำเนิดของมันเสมอ
3.ไฟฟ้าจะไหลไปในเส้นทางที่มันไปได้ทั้งหมด เพื่อให้วงจรสมบูรณ์ และเลือกเส้นทางที่มีค่าความต้านทานน้อยกว่า
ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลไปเส้นทางนั้นมากกว่าเส้นทางอื่น
แล้วสายกราวด์มีไว้ทำไม ?
สายกราวด์หลักๆเลยก็คือ ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟที่รั่ว
เพราะว่า สายกราวด์ในสภาวะปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่ในกรณีที่ เกิดความผิดพลาด สาย Line โดนหนูแทะเห็นทองแดง เกิดดวงซวยไปโดนโครง สายกราวด์ก็จะนำกระแส
เราจะเรียกว่าไฟฟ้ามันช๊อต หรือว่าไฟฟ้าลัดวงจร ก็คือ ไฟฟ้ามันไม่ได้ไหล ผ่านโหลด แต่มันลัดเข้าตรงนั้นดื้อๆไปเลย เบรคเกอร์ก็จะรู้สึกได้ และก็ทำการตัดไฟในทันที
เราก็จะไม่โดนไฟดูด
สายกราวด์ก็คือสายทองแดง หุ้มฉนวนสีเขียว เรียกได้ว่าเป็น เส้นทาลัด เพื่อให้ไฟฟ้าไหลกลับไปหายังแหล่งพลังงาน แทนที่จะผ่านตัวเรา เพราะว่า มันมีความต้านทานที่ต่ำ
ดังนั้นไฟฟ้าจึงเลือกไหลผ่านเส้นทางนี้เพราะว่ามันง่ายกว่าและกลับได้เร็วกว่า
งั้นก็ แสดงว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกราวด์ และปลั๊กที่มีช่องกราวด์ ก็ถือว่าปลอดภัยแล้วนะสิ
ผมบอกได้เลยครับว่า มันไม่แน่เสมอไปครับ ถ้าเพื่อนๆไม่ใส่รองเท้า แล้ววันหนึ่งทะลึ่งไปเอาไขควงวัดไปแหย่ปลั๊กเล่น แล้วพลาดท่าไปโดน สาย Line เพื่อนๆก็สามารถถูกไฟฟ้าดูดตายได้เหมือนกัน นะครับ
เพราะวงจรสมบูรณ์ ถามว่า ทำไมเบรคเกอร์ทำไมไม่ตัด
ก็เพราะว่าเรา มันยังมีความต้านทานอยู่ กระแสไฟอาจจะดูดเราก็จริง แต่กระแสที่ไหลไม่ได้สูงนัก แต่กระแสก็อาจจะทำให้เราถึงแก่กรรมได้ เพราะเบรคเกอร์ทั่วไปมันก็ไม่ตัดต่อให้เรา มันจะดูว่า กระแสไหลเกินค่าที่มันจะตัดไหมแค่นั้น ซึ่งถึงตอน นั้นเราก็ไหม้เกรียมไปแล้วครับ
นี้ก็เป็นหนึ่งในเหตุผล ที่ทำให้คน เสียชีวิตได้ เราจะพบเจอเหตุการประเภทนี้บ่อย เราเรียกกรณี แบบนี้ว่าไฟฟ้ารั่ว
แต่โชคดีที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล มีเบรคเกอร์ บางชนิดกันไฟรั่ว หรือกัน ไฟดูดได้ ซึ่งจะตัดไฟ เมื่อกระแสไฟไหลกลับ ไม่เท่ากับกระแสที่จ่ายออก
หรือพูดง่ายๆว่า สายไฟสองเส้นนี้มีไม่เท่ากัน
ก็แสดงว่าเกิดไฟรั่ว เบรคเกอร์จะฉลาดมากครับ มันรู้ และ ก็ตัดการทำงานอย่างรวดเร็ว
ปกติมาตฐานทั่วไปที่เห็น ก็จะตรวจสอบกระแสรั่วไหล อยู่ที่ประมาณ 30 mA ก็จะตัดการทำงานแล้วครับ
เรียกได้ว่ายังไม่ทันโดนดูด ก็ตัดการทำงานไปแล้ว ซึ่งจะทำให้เราปลอดภัย
ยังไงเพื่อนๆ ลองไปส่อง ที่บ้านของเพื่อนๆ ว่ามี เบรคเกอร์ชนิดกันไฟรั่วรึเปล่า รึเปล่าด้วยก็ดีนะครับ
อย่างที่รู้ๆกันว่า ณ ตอนนี้ การไฟฟ้า บังคับตอกแท่งกราวด์ ลงดินภายในตัวบ้านลึกลงไปอย่างน้อย 2.4M
แท่งกราวด์ก็จะจ้ำไปที่บาร์กราวด์
แท่งกราวด์ตรงนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ ไฟ Line ที่รั่วลงดืนนะครับ
จุดประสงค์แท้ที่จริง ก็คือเพื่อกระจายไฟฟ้าแรงสูง เช่นฟ้าผ่า เราก็จะให้ไฟฟ้ากระจายลงดิน นอกจากนี้ก็ยังมีแท่งกราวด์ของหม้อแปลง ช่วยกระจายลงดินอยู่อีกที่หนึ่งด้วย
ขอบคุณข้อมูล จากอินเทอร์เน็ต:
The Engineering Mindset
#กราวกับนิวตรอนต่างกันอย่างไร #ทำไมต้องจั้มGกับNเข้าด้วยกัน

Пікірлер: 376
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
⚠️เนื่องจากเนื้อหาใช้เวลาในการเรียบเรียงข้อมูลค่อนข้างนาน เพื่อนๆสามารถสนับสนุน ค่ากาแฟ☕ ให้กับผมได้โดย.. 1. ซื้อสินค้าผ่าน Shopee 👉 shope.ee/8encLFBkcT 2. ซื้อสินค้าผ่าน Lazada 👉 s.lazada.co.th/l.Zlpm ขอบคุณมากครับ
@tanupanto102
@tanupanto102 2 жыл бұрын
ชื่อร้านอะไรครับในลาซาด้าครับ
@neung1101
@neung1101 2 жыл бұрын
กดเข้าไปมันไม่เข้าไปร้านเลยนะครับ มันเข้าไปแค่แอปครับ แปะลิ้งที่เข้าร้านให้หน่อยครับ
@MrMidorn
@MrMidorn 2 жыл бұрын
ไม่ใช่ครับ ทางช่องไม่มีจำหน่ายสินค้าโดยตรงหรือเปล่าครับ ดูจาก Link แล้ว พอเรากดเข้าผ่าน Link นี้พอทำการสั่งซื้อสินค้าอะไรก็ได้ ทางช่องก็จะได้รับค่าตอบแทน เหมือนการโฆษณา
@user-mx8rm8ov6y
@user-mx8rm8ov6y 2 жыл бұрын
@@neung1101
@sumetagon
@sumetagon Жыл бұрын
👌คลิปสั้นๆ เข้าใจง่าย ดีครับ สนับสนุนครับ...
@tongnattawatc.3521
@tongnattawatc.3521 2 жыл бұрын
เป็นคลิปที่อธิบายได้ดีมากครับ👍 เข้าใจง่ายดี
@kawee1778
@kawee1778 2 жыл бұрын
ทุกคลิปคือความรู้ล้วนๆ สุดยอดคับอาจารย์
@ozekgachai5191
@ozekgachai5191 2 жыл бұрын
ขอบคุณพี่มากครับ​ ที่ทำคลิปแบบนี้ออกมา​ มีประโยชมากมายเลยครับ​
@tobusan
@tobusan 9 ай бұрын
อธิบายดีสุดๆครับ เป็นคลิปที่ดีจริงๆๆ
@thapanatbaisaeng7967
@thapanatbaisaeng7967 2 жыл бұрын
อธิบายได้เข้าใจง่ายดีครับ ขอบคุญที่ให้ได้ควารู้ครับ
@user-jn5ht2xi8m
@user-jn5ht2xi8m Жыл бұрын
ชอบคลิปที่ทำมา..ดูเเล้วเข้าใจ.ไม่ซับซ้อน.เป็นกำลังใจทำต่อไปนะคัป
@siamtourist
@siamtourist Жыл бұрын
เป็นคลิปที่ดีมีสาระ​ แล้วก็​อธิบาย​ให้เข้า​ใจได้ง่ายๆ​ ขอบคุณ​ที่แบ่งปัน​ครับ😊
@user-rv2bv2eq1m
@user-rv2bv2eq1m 7 ай бұрын
คลิปนี้สอนดีมากครับ ได้ใจความ ขอบคุณมากครับ
@paisolengineers7618
@paisolengineers7618 2 жыл бұрын
ตั้งแต่ผมดูคลิปอิเล็กทรอนิกส์ไทย คุณคือคนที่มีคุณภาพมากๆ
@sdop3553
@sdop3553 2 жыл бұрын
คลิปนี้มีประโยชน์ เยี่ยมเลยครับ
@opponut
@opponut 2 жыл бұрын
ทำให้​รู้​สึก​ว่า​ตัวเอง​ฉลาด​ขึ้น​เยอะ​เลย​ขอบคุณ​ครับ​
@howtoalive2023
@howtoalive2023 Жыл бұрын
ช่องนี้มีประสิทธิภาพมาก
@bannai2231
@bannai2231 Жыл бұрын
ขอบคุณครับอาจารย์ ผมชอบมากครับงานประเภทนี้ เพื่อทำความเข้าใจระบบวงจร และคำบรรยาย ดูไห้หลายรอบจะได้จำขึ้นใจครับ (ผมไม่ได้เรียนครับ)ชอบมากขอบคุณครับอาจารย์
@nanaa8464
@nanaa8464 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและทำคลิปนี้ออกมาให้เข้าใจเรื่องของระบบไฟฟ้า ทำให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ และมีประโยชน์มากค่ะ
@user-yx6jb9uf1d
@user-yx6jb9uf1d Жыл бұрын
เข้าใจดีขึ้นมากครับ ขอบคุณมากครับ
@onenaja2745
@onenaja2745 Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ
@kritsanarak9649
@kritsanarak9649 2 жыл бұрын
ชอบมากครับ อธิบายดีมากครับ
@janniemaya7553
@janniemaya7553 2 жыл бұрын
ผมจะดูให้ครบทุกคริป ช่องนี้ ดูแล้วเข้าใจดีมาก สื่อการสอนดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา
@ryfggrhh3337
@ryfggrhh3337 2 жыл бұрын
TN-C-S system 😍😍 ใช้ระบบนี้ 7-8 ปี แล้วครับ ทุกวันนี้ก็ปกติทุกอย่าง
@pps.sks1985
@pps.sks1985 Жыл бұрын
เวลาอธิบายเรื่องสายกราวด์ ต้องแยกแยะให้มันชัดเจนด้วยว่าเป็นสายกราวด์จากแหล่งไหน ต้องอธิบายแยกแยะให้มันชัดเจนด้วยว่าการต่อสายกราวด์หรือการต่อลงดิน เป็นการต่อลงดินในระบบ TN-S หรือระบบ TT ตรงแยกให้มันชัดเจน ไม่ใช่บอกแต่สายกราวด์อย่างเดียว ถ้าสายกราวด์มาจากแท่งกราวด์หรือหลักดิน ที่เป็นการต่อลงดินในระบบ TT โอกาสที่เบรกเกอร์จะไม่ปลดวงจรมีสูงมาก เพราะค่าอิมพีแดนซ์มันสูง แล้วเวลาพูดถึงเบรกเกอร์ว่ามันจะปลดวงจรหรือเปล่า ก็ต้องแยกแยะให้มันชัดเจนว่าเป็นเบรกเกอร์ธรรมดาหรือเบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว ถ้าโหลดต่อลงดินในระบบ TT โอกาสที่เบรกเกอร์ธรรมดาจะไม่ปลดวงจรมีสูงมาก ยกเว้นจะเป็นเบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว
@olemancharter2747
@olemancharter2747 3 ай бұрын
และมันมีทั้งหมดกี่ประเภทหรอครับ สายดิน
@KhobSnam_FieldEdge
@KhobSnam_FieldEdge 27 күн бұрын
การไฟฟ้า กลัว ลักไฟใช้ เลยให้ต่อ ร่วมกันไว้
@pps.sks1985
@pps.sks1985 27 күн бұрын
@@KhobSnam_FieldEdge มั่ว ไม่ได้เกี่ยวกันเลย
@KhobSnam_FieldEdge
@KhobSnam_FieldEdge 27 күн бұрын
@@pps.sks1985 ไปเอาสาย N ออกดิ L ผ่านหม้อ ไปเข้า หลอดแล้ว ลงดิน หลังบ้าน มัน จะกลับมา L ที่หม้อ กี่โมง ก็ นั้นล่ะ หม้อจะหมุน ส่วนหลอด มันก็ติดไป โดยไม่มีค่าไฟ
@user-jt8uz2zl9v
@user-jt8uz2zl9v Жыл бұрын
ผมชอบช่องพี่มากๆเลยครับ เข้าใจง่ายมากๆเลย ไว้จะอุดหนุดนะครับ
@user-jq4xy2ye7y
@user-jq4xy2ye7y 2 жыл бұрын
รับทราบครับผม. ขอบคุนสำหรับความรู้ดีๆ
@boonlertlert2827
@boonlertlert2827 2 жыл бұрын
สุดยอดครับ~! เป็นคลิป ที่ดูได้ครบรส! ได้ทั้งฮา~ขบขัน +ความรู้เชิงลึก +เห็นภาพที่เข้าใจง่าย และชัดเจน ทำคลิปออกมาได้~ละเอียดดีมากๆ (-/\- )) ขอบคุณที่ทำคลิปมีคุณภาพดีมากๆครับผม
@ggk0312
@ggk0312 2 жыл бұрын
สุดยอดขอบคุณครับ
@nanatkimta5252
@nanatkimta5252 Жыл бұрын
ช่องนี้ ดีที่สุด เรียนง่ายได้ความรู้ดูจนจบวิศวะฯ ไฟฟ้า
@512log8
@512log8 Жыл бұрын
ผมจบเครื่องกล แต่ชอบเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน ไฟฟ้า อิเล็ค ทรอนิคส์
@uthaideyungram3256
@uthaideyungram3256 Жыл бұрын
ดีมากครับ... ขอรับชมการจั้มสายเมนสดมากๆ
@tiger.R.lamboy
@tiger.R.lamboy 2 жыл бұрын
สุดยอดมากครับ
@geyomi44
@geyomi44 Жыл бұрын
เข้าใจอะ ขอบคุณครับ😍
@sommayml
@sommayml Жыл бұрын
ขอบคุณครับที่ให้ความรู้
@user-on1pd8mv3m
@user-on1pd8mv3m 2 жыл бұрын
เห็นบ้านตามชนบทต่างจังหวัดเขาใช้กันแค่สองสาย Lกับ N เยอะมากแล้วถ้าสายขาดเส้นหนึ่งไฟ 380 โวทจะข้ามเสายที่มันขาดได้อย่างไรถ้ามาจากบ้านหลังอื่นก็มีกราวดของบ้านหลังอื่นและการไฟฟ้าอีก ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้กราวด์เขาก็ต่อแยกและต่อเบรกเกอรกันไฟดูดเพิ่ม ถ้าฟ้าผ่าก็ใส่เสริกโฟรเทก แต่ก็อยากให้สาย N+G อยู่ที่เสาไฟหน้าบ้านไม่อยากให้ผ่านเข้ามาในตัวบ้านเถ้าสายหลวมขาดเก็จะมีไฟไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้ามาที่สาย G+N และมันเป็นสายเดียวกัน
@rememberlove9231
@rememberlove9231 2 жыл бұрын
สงสัยเหมือนกันครับระบบกราวด์ ขอบคุณที่แชร์ความรู้ดีๆครับ
@user-ot2oo6bj1y
@user-ot2oo6bj1y 2 жыл бұрын
อธิบายได้ชัดเจน พร้อมทั้งตัวอย่างที่เข้าใจได้เลย ขอบคุณมากๆ ครับ
@wit22737
@wit22737 2 жыл бұрын
อรรถาธิบายดีเลิศครับ ขอบคุณมากที่ช่วยให้ความรู้แก่ส่วนรวมครับผม เปรียบเสมือนครูท่านหนึ่ง
@PattanapongGap
@PattanapongGap 2 жыл бұрын
สาระล้วนๆ ขอบคุณครับ
@torsurasit2750
@torsurasit2750 2 жыл бұрын
การสอนต้องแบบนี้ใช้คำง่ายๆ เข้าใจง่าย ไม่ใช่ทางการจนลึกลับ
@MkMk-zn7qp
@MkMk-zn7qp 10 ай бұрын
เอ่อ เอ่อ ใช่ ทฤษฎีจ๋า เข้าใจยาก ต้องจินตนาการสูง มีมโนภาพมากมาก มีนามธรรม ไม่มีรูปธรรม
@wongsakorntimwong873
@wongsakorntimwong873 2 жыл бұрын
ช่องพี่ความรู้เเน่นมากกก
@PampostReturning
@PampostReturning 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ!.
@chatkeawploy
@chatkeawploy Жыл бұрын
อธิบายกระจ่างแจ้งและเข้าใจนึกภาพออกเลยครับ สุดยอดครับ❤👍🙏
@udomnopparat1878
@udomnopparat1878 8 ай бұрын
บทความ เกือบเข้าใกล้ความถูกต้อง พยายามต่อไปครับ สักวันจะรู้แจ้งเห็นจริง เข้าจนได้
@dommosookchu414
@dommosookchu414 3 ай бұрын
แล้วถ้าอยากรู้แจ้งเห็นจริงผมต้องไปดูช่องไหนหรือของอาจารย์ท่านไหนครับ
@fendertick
@fendertick 2 жыл бұрын
เยี่ยมครับ
@mmaarrkkeett
@mmaarrkkeett 2 жыл бұрын
เป็นช่องที่ อธิบายได้ดีกว่าใครเพราะ ง่าย มีเหตุ มีผลทุกคำ และภาพประกอบที่สวยงามเข้าใจง่ายเป็นลำดัย
@jmsssx
@jmsssx 2 жыл бұрын
ขอบคุณก๊าบ
@xaylee7146
@xaylee7146 8 ай бұрын
ได้ความรุ้มากเลยครับผมดูช่องนี้
@aonwongthep261
@aonwongthep261 2 жыл бұрын
ช่องนี้อธิบายชัดเจน ไหลลื่น ไม่วนไปวนมา
@user-qv8og8vx4p
@user-qv8og8vx4p Жыл бұрын
อธิบายมีแอบฮานิดนึงด้วย...ช่วยผ่อยคลายได้ดีเลยครับ
@user-qi3oj3uw9d
@user-qi3oj3uw9d 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับผม
@sura2518
@sura2518 Жыл бұрын
ขออนุญาติแชร์ลงเพจครับอาจารย์❤🎉
@worawongdher7188
@worawongdher7188 Жыл бұрын
การตอกแท่งกราวด์และสายกราวด์ร่วมกับนิวทอลมีหลายเหตุผล อีกหนึ่งเหตุผลคือเพื่อความปลอดภัย หากสายนิวทอลหลุดก็ยังมีสายกราวด์ให้กระแสไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดผ่านพื้นดิน และอีกเหตุผลคือเพื่อให้ศักดิ์ทางไฟฟ้าของสายนิวทอลเท่ากันหรือใกล้เคียงกันให้มากที่สุดตลอดเส้นทาง เพื่อควบคุมไม่ให้แรงดันไฟฟ้าตกมากเกินไป และอีกหลาย ๆ เหตุผล ที้งฝั่งของการไฟฟ้าเอง และฝั่งบ้านเรือนผู้ใช้ และต้องต่อให้ถูกต้องตามมาตรฐานใหม่ของการไฟฟ้าด้วยครับ
@mangkorn-gm3nf
@mangkorn-gm3nf 5 сағат бұрын
ทำรายการได้ดีมากๆครับ แว่ะไปlinkแต่ไม่เห็นเลยว่าจะให้ซื้ออะไรสนับสนุนครับ?
@worawongdher7188
@worawongdher7188 Жыл бұрын
แท่งกราวด์สายกบราวด์สำคัญมาก ควรต่อให้ถูกต้อง ประเภทสาบขนาดของสายความยาวสายถูกต้อง และสีของสายไฟถูกต้องตรงตามเฟสตรงตามนิวทอลตรงตามกราวด์ ถูกต้องตรงตามมาตรฐานใหม่ของกานไฟฟ้า ในบ้านเราก็ควรเปลี่ยนสีสายให้ตรงตามมาตรฐาน เพื่อที่ไฟฟ้าจะได้ไม่ผิดเฟส เพราะการไฟฟ้าจะต่อตามมาตรฐานใหม่
@udomnopparat1878
@udomnopparat1878 8 ай бұрын
ใครที่เข้าใจว่า การไฟฟ้าสลับสาย L ,N เข้าบ้านผิดได้ นั่นแสดงว่ากราวด์ที่ท่านทำไว้ไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน ปกติ สาย L ของการไฟฟ้าจะต่อลงดินไม่ได้เด็ดขาด มันจะสปาก อย่างรุนแรง เพราะมันเป็นการลัดวงจร แล้วใครจะกล้าต่อ หรือมีหน่วยกล้าตาย อาสาต่อจนได้ ฟิวส์ต้นทางก็จะขาด การไฟฟ้าจ่ายไฟไม่ได้ในที่สุด เว้นเสียแต่ว่า ระบบกราวด์ ชำรุด เพราะฉนั้นกาารไฟฟ้าเลยต้องออกเป็นกฏระเบียบให้ทุกบ้านต้องทำกราวด์ให้กีและถูกต้อง จะได้ช่วยกันเป็นกราวด์ที่เข้มแข็ง ใครก็ระเมิดมิได้แม้แต่การไฟฟ้าเองก็เถอะ
@KhobSnam_FieldEdge
@KhobSnam_FieldEdge 27 күн бұрын
มันไม่สปารค์หรอกมันก็ทำงาน แต่ ระบบไฟบ้านคุณจะ สลับ L เป็น N สวิทช์ ไม่ได้ตัด L หลอด นีออน ก็จะเรืองๆแสง ไม่ดับ แล้วทำไมมันไม่ช๊อต ก็บ้านคุณเป็นโหลด ไม่ได้เป็นตัวจ่ายไฟ ป้อนไปสลับไง มันก็ทำงาน ไม่ซ๊อต
@user-nl2po7vf1w
@user-nl2po7vf1w 2 жыл бұрын
กดติดตามเลยคับ..สุดยอดมากๆ
@wisaininmanee
@wisaininmanee 8 ай бұрын
เรื่องนี้ต้องอีกหลายตอน มั้ง แต่เริ่มถูกแล้วครับ
@user-xq4vu7ug3j
@user-xq4vu7ug3j 2 жыл бұрын
อธิบายได้ดี
@endosung6697
@endosung6697 8 ай бұрын
ข้อมูลยังไม่ครบนะครับที่หม้อแปลงแรงดันสูงจะต้องต่อ N ลงดิน หรือ Ground เสมอ เพื่อให้แรงดัน Line เทียบกับ Ground เวลากระแสรั่วก็จะกลับไปที่หม้อแปลงเส้นทางนี้อีก loop นึง
@navaminphanchuey619
@navaminphanchuey619 2 жыл бұрын
ช่วยชี้แนะผมด้วยครับอาจารย์ Hybrid off grid inverter ที่เอาไฟ input จาก กฟฟ. + โซล่าเซลล์ + แบต มารวมกัน แล้วเอาไฟ output ที่ได้ (มีไฟทั้งเส้น L และ N) ไปเข้าเมนเบรคเกอร์เพื่อจ่ายโหลดทั้งบ้าน เค้าบอกว่าห้ามจั้มกราวด์ร่วมกับนิวทรัลที่แผง consumer เพราะจะทำให้เครื่อง inv. พัง เนื่องจากสายนิวทรัลมีไฟ อันนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้างครับ ถ้าเราไม่จั้มกราวด์และนิวทรัล อุปกรณ์ตัดตอนจะยังทำงานสมบูรณ์ไหมเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดไฟรั่วขึ้นมา
@napat8426
@napat8426 2 жыл бұрын
เยี่ยม
@MEan0207
@MEan0207 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับบ
@kodaily
@kodaily Жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@user-ym6kb6kx3b
@user-ym6kb6kx3b 2 жыл бұрын
เข้าใจง่ายในไม่กี่นาที กว่าเรียนหลายๆชั่วโมง😂😂
@romkhamkonlor7383
@romkhamkonlor7383 2 жыл бұрын
สุดยอด
@jezz6697
@jezz6697 2 жыл бұрын
สิ่งที่ผมอยากรู้มานาน
@sarawutslife3866
@sarawutslife3866 2 жыл бұрын
สุด
@be4885
@be4885 2 жыл бұрын
0:17 การไฟฟ้าเขาบังคับให้จั้มใส่กันเพราะว่า ยามที่ฟ้ามันฝ่าสายไฟ ไฟมันจะไดใหลเข้ากราวข งเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าพังเร็วๆ หรือว่าให้ไฟช็อตคน
@qwrt2251
@qwrt2251 6 ай бұрын
ได้ความรู้
@anusorn.te1067
@anusorn.te1067 2 жыл бұрын
เเนวคิดผมว่า n.เชื่อม g มันมีทั้งประโยชน์เเละโทษ คิดว่าทำตามการไฟฟ้าเเหละ n เชื่อม g. เเต่เราตอกหลักดินอีกอัน เเนกต่างหาก โดยไม่เชื่อม n..เเต่เเท่งกลักดินอันนี่ให้วิ่งไปเต้าเสียบอุกรณไฟฟ้าเเทน.
@naipattaranun266
@naipattaranun266 2 жыл бұрын
ขอเสริมให้เพื่อนๆ ครับ เบรกเกอร์ชนิดนั่นมีอยู๋ 2 ประเภท หลักๆ นะ คือ 1. RCCB ที่ตัดเฉพาะ....ไฟฟ้าดูดไฟฟ้ารั่ว 2. RCBO ที่ตั้ง ทั้งไฟฟ้าดูดไฟฟ้ารั่ว และ กระแสเกิน ถ้าจะไป เปลี่ยนแทนของเก่าในบ้าน แนะนำให้ แบบที่ 2 RCBO
@ValenValenzaa
@ValenValenzaa Жыл бұрын
ลึกซึ้งยิ่งนัก
@finallife2081
@finallife2081 2 жыл бұрын
ทำไมผมไม่ได้ต่อสายดินแล้วไฟรั่วกรือไม่แน่นยังไงไม่รู้มันทำให้หม้อแปลงหมุนเร็วจนโดนค่าไฟไปเกือบหมื่นเลยล่ะอันนี้ยังไม่เข้าใจเลย
@klibklim49
@klibklim49 8 ай бұрын
ในคลิปบอกว่าต้องตอก แท่งกราวด์ลงในตัวบ้าน ขยายความจุดนี้ด้วยครับ ติดใน หรือ นอกบ้าน บริเวณไหนที่เหมาะสมในการตอกครับ
@kisadaimkarn5701
@kisadaimkarn5701 Жыл бұрын
เป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ใช้ ถ้าการไฟฟ้าติดแท่งกราวด์ที่มิเตอร์ก็จบ..
@hurrr556
@hurrr556 25 күн бұрын
😮😮สุดยอดประเด็นนี้น่าเอาเข้าสภาและครม.ครับ😮😮
@np7406
@np7406 Жыл бұрын
สอบถามครับ ใช้สกรูไลวัดไฟ จะมีสิทธิ์โดนช็อตด้วยไหมครับ ทั้งถ้าไม่ได้ใส่รองเท้าและใส่รองเท้า
@user-it5mg4xs7g
@user-it5mg4xs7g 6 ай бұрын
ตอบคำถามท่านที่บอกว่าไฟรั่วลงดินแล้วเราไปจับเสาถูกไฟดูด เบรคเกอร์ไม่ตัดเนื่องจากเบรคเกอร์นั้นเป็นชนิด กระแส สองเส้นแตะกัน(short circuit Breaker)จะตัดเมื่อสายชอร์ตกันและอีกชนิด โอเวอร์เคอรเร็น(Over current Breaker) สายดินไม่ได้ป้องกันไฟดูด ท่านต้องติดเบรคเกอร์กันไฟดูดอีกตัวถึงจะชัวร์ เช่นใน เครื่องทำน้ำอุ่น ราคาไม่แพงขั้นต่ำ 250 บาทขึ้นไปยี่ห้อดังในอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น บ้านผมติดมา 20 กว่าปีแล้วยังไม่เสีย อย่าไปติดยี่ห้อที่ขายกันดังๆในเวลานี้ที่ราคา 4 -5 พันบาทมีปุ่มปรับกระแส เยอะแยะ แป๊บเดียวก็เสีย ไปซื้อตามห้างหรือร้านขายเครื่องไฟฟ้าบอกเขาว่าซื้อเครื่องป้องกันไฟดูด( Earth leakage Breaker )ราคา 250 ถึง พัน บาทที่บ้านใช้ พานาโซนิค ยังไม่เสียครับ
@user-jt4nr7fx2u
@user-jt4nr7fx2u 2 жыл бұрын
3เฟส สาย N หลุด ทำไมกระแสจึงสูง ถ้าเอา N ลง G ไว้ด้วยจะช่วยไม่ให้กระแสสูงได้ไหม การไฟฟ้าชอบทำสายN หลุดแต่ไม่ยอมรับ ตอนมาทำไฟบริเวณตู้
@deaw993
@deaw993 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ เข้าในเรื่อ G ผิดมาตั่งนาน 555 นึกว่าต้องลงดินหมด เครื่องทำน้ำอุ่นที่บ้าน ไฟเลยลงดิน หากัน 555
@piyanutrattanacing5634
@piyanutrattanacing5634 Жыл бұрын
จบเลยที่เรียนนั้นยากที่จะหยั่งถึง เจอคริปนี้กูเป็นคนเก่งขึ้นมาทันที
@user-ng5ku5ge3m
@user-ng5ku5ge3m 2 жыл бұрын
ถ้าไม่เอา n พ่วง กราวนด์ คือ กฎยังไงไม่รู้ แต่ไฟดูดที่ n นะครับถ้าไม่ต่อ
@piromseebudda813
@piromseebudda813 2 жыл бұрын
สายGROUND AC​ DC​ ต่อลงดินรวมกันได้หรือเปล่า​ครับ
@alast999
@alast999 2 жыл бұрын
รูกราวที่ปลั๊กมักเป็นรูทิพย์นี่สิพวกบ้านเก่าๆ
@jomrider5844
@jomrider5844 2 жыл бұрын
ถือว่าเป็นการถวนความรู้ไปครับ✓✓✓ แต่ตอนเรียนอาจารย์ไม่ได้สอนลึกขนาดนี้ที่ได้ยินมาเหมือนกับในคลิปนี้ฟังมาจากรุ่นพี่ครับ👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻
@ZimZimDIY
@ZimZimDIY 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@user-ud3gj5oy2q
@user-ud3gj5oy2q 2 жыл бұрын
ถ้าจัมนิวตรอนไฟรั่วแล้วมิตเตอร์ขึ้นถ้าไม่จั้มไฟรั่วแล้วมันไม่ขึ้น
@dxzecu2524
@dxzecu2524 2 жыл бұрын
ผมชอบครับแต่ผมว่าไฟฟ้าบ้านผมทำไม่ถูกต้องเวลาเปลี่ยนมิเตอร์ หรือมิเตอร์ใหม่ไม่บังคับช่างติดตั้ง เส้นล่างให้เปนสายไฟบนนิวตรอน มั่วมากเลยต่อสายมิเตอร์นิวตรอน เปนไฟชาวบ้านเสียค่าไฟเปล่าๆ ไฟฟ้าไม่รับผิดชอบ
@user-xp9to8uk5n
@user-xp9to8uk5n Ай бұрын
จะไปหาช่างแบบนี้ได้ที่ไหนละ
@user-gx2lh3vk4e
@user-gx2lh3vk4e 3 ай бұрын
บอกเลยอันตรายมากถ้าต่อ GและNเข้ากัน
@arthitphutphim8667
@arthitphutphim8667 4 ай бұрын
ใช้โปรแกรมอะไรในการอธิบายการทำงาน ครับ
@nightdamon7298
@nightdamon7298 2 жыл бұрын
5:20 ป่ะ!ใส่รองเท้าขึ้นบ้านกัน😂
@user-hz1kn5ri8v
@user-hz1kn5ri8v 2 жыл бұрын
แล้วที่เขาตอกแทงกาวกับ เครื่องทำน้ำอุ่นล้ะครับ
@user-wh8ds9rg3g
@user-wh8ds9rg3g 2 жыл бұрын
วงจรนี้มันจะเห็นผลชัดมากเลยถ้าบ้านใหนติดตั้ง RCB
@terdsak1able
@terdsak1able 8 ай бұрын
เคยมีกรณีสายกราวที่เสาหลุดหลวม กระแสวิ่งมาผ่านกราวในบ้าน มิเตอร์วิ่งขึ้นโดยไม่ได้ใช้งาน เสียค่าไฟไปฟรีๆ
@bnwifi
@bnwifi Жыл бұрын
จั้มแล้วอันตรายถ้าฟ้าผ่ามากะเอ็นวิ่งชนจีแน่นอน พังทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าพังทั้งคน แนะนำให้แยก 2ชุด ฝังแท่งทองแดงให้ห่างกัน (แต่การไฟฟ้ารู้ถึงปัญหานี้แล้วจึงได้ออกประกาศว่าให้งดใช้กระแสไฟฟ้าขณะฝนฟ้าคะนอง
@user-ij3bx2gq4d
@user-ij3bx2gq4d Жыл бұрын
รับทราบคับ
@psuedoheart1
@psuedoheart1 8 ай бұрын
Good
@sayamratsombunrat3081
@sayamratsombunrat3081 Жыл бұрын
สายกราวด์มีไฟ 1a พอถอดสายกราวด์ออกจากตู้คอนซูเมอร์ ใช้แคมป์มิเตอร์วัดได้ 0 เป็นเพราะอะไรครับ
@DeathZ.
@DeathZ. Жыл бұрын
จั๊มทำไม แต่ทำไมๆ ต้องจั๊ม เมื่อเธอไม่คิดจริงใจ ทำไมๆ ความรักที่เธอนั้นลืมต้องเก็บมาคิดฟูมฟาย อะไรๆ ยังย้อนเข้ามา ทุกช่วงเวลา นั้นยังไม่เคยจางหาย วันที่ฉันมีเธอ ไม่ว่าเวลาจะนานเท่าไร ฉันลืมไม่ได้จริงๆ
@2499w
@2499w 2 жыл бұрын
ถ้าเราเอาสาย G มาจั้ม กับสาย N ไฟจะไหลลง ดิน ยิ่งหน้าฝน อันตรายต่อชีวิตครับ
@kongsomkumdat3969
@kongsomkumdat3969 7 ай бұрын
มันทำให้การไฟฟ้ามีรายเหมือนเดิมแม้เจ้าของบ้านไม่ใช้งาน เพราะเมื่อมีการแก้ไขไฟแล้วจั้มสายสลับกันทำให้ไฟไหลลงดินตลอดเวลา ทำให้ค่าไฟของเจ้าของบ้านเดือนนั้นบานนน...ไม่มีใครรับผิดชอบ เห็นหลายๆกรณี
@sun_golden_bananabit
@sun_golden_bananabit 9 ай бұрын
สรปง่ายๆครับที่การไฟฟ้าบังคับต่อนิวตรอนลงดินก็เพื่อสร้างเครือข่ายสายดินขนาดใหญ่กระจายไปทุกบ้านเพื่อรับฟ้าผ่าโดยตรง เพราะต่อก่อนเข้าเบรคเกอร์ โดยเจ้าของบ้านเป็นผู้ลงทุนเอง และรับความเสี่ยงนี้เอาไว้เอง
@chanikool
@chanikool Жыл бұрын
ตัวสะกด น กับ ล นี่คนละเรื่องเลยนะครับ
@Gojek-fp1bm
@Gojek-fp1bm Жыл бұрын
อยากรู้เกี่ยวกับกราวลอยด้วยครับ
ОДИН ДЕНЬ ИЗ ДЕТСТВА❤️ #shorts
00:59
BATEK_OFFICIAL
Рет қаралды 8 МЛН
Became invisible for one day!  #funny #wednesday #memes
00:25
Watch Me
Рет қаралды 27 МЛН
Vivaan  Tanya once again pranked Papa 🤣😇🤣
00:10
seema lamba
Рет қаралды 29 МЛН
THEY WANTED TO TAKE ALL HIS GOODIES 🍫🥤🍟😂
00:17
OKUNJATA
Рет қаралды 14 МЛН
ในระบบไฟฟ้าทำไมต้องเอา N ต่อลงดิน ?
15:34
ช่างไฟไทยแลนด์ 1985
Рет қаралды 8 М.
Вор в законе заступился за официантку  ...
0:59
Сериалы 🍿
Рет қаралды 9 МЛН
Все мы немного НИКА!
0:17
Привет, Я Ника!
Рет қаралды 2,9 МЛН
😨 24 ЧАСА чтобы найти школьную ПИЦЦУ
0:41
Настя, это где?
Рет қаралды 4,6 МЛН
I Can't Believe We Did This...
0:38
Stokes Twins
Рет қаралды 27 МЛН