Рет қаралды 90
#ทหารพราน อักษรย่อ: ทพ. เป็นกำลังทหารราบเบากึ่งทหารซึ่งลาดตระเวนตามแนวชายแดนไทยและเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพไทย ทหารพรานทำงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดน แต่ถูกฝึกและติดอาวุธให้ทำการรบ ขณะที่ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมากกว่า และทหารพรานนาวิกโยธินในสังกัดกองทัพเรือนั้น ขึ้นการบังคับบัญชากับกองพลนาวิกโยธิน
#ประวัติศาสตร์
หน่วยทหารพรานจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ตามแนวคิดที่กำหนดไว้ว่า ทหารพราน คือ อาสาของประชาชน หรือเรียกว่านักรบประชาชน มีวัตถุประสงค์จัดตั้งเพื่อต่อสู้กับกองโจรพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และขับไล่กองโจรลงจากที่มั่นบนภูเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแนวคิดของพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกที่กองบัญชาการกองทัพไทยในกรุงเทพมหานคร หน่วยทหารพรานประกอบด้วยทหารใหม่จากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อการกำเริบของคอมมิวนิสต์ ทหารใหม่นั้นจะเข้ารับการฝึกเข้มข้นทั้งหมด45 วัน ได้รับแจกอาวุธสมัยใหม่ และถูกส่งกลับไปยังหมู่บ้านของตนเพื่อดำเนินปฏิบัติการกองโจรต่อคอมมิวนิสต์
หน่วยทหารพรานดำเนินหลายปฏิบัติการต่อขุนส่าในสามเหลี่ยมทองคำ และยังมีส่วนในการปฏิบัติความมั่นคงระหว่างการเผชิญหน้ากันที่ปราสาทพระวิหารใน พ.ศ. 2551 และ 2552
ข้อโต้เถียง
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับทหารพราน ชั้นสัญญาบัตร
ช่วงแรกของการก่อตั้งทหารพรานบางคนเป็นอาชญากรที่ต้องคำพิพากษาแต่ได้มีการผ่อนผันโทษ บางส่วนก็สมัครเข้าเป็นทหารพรานเพื่อให้ได้รับพื้นที่ทำกิน ในบางพื้นที่ก็ใช้ทหารพรานทำหน้าที่แทนกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเป็นกำลังพลเรือนที่ปกป้องประชาชนในท้องถิ่นจากกองโจร จนถึงปลาย พ.ศ. 2524 ทหารพรานเข้าแทนที่ 80% ของหน่วยทหารปกติในการปฏิบัติภารกิจตามแนวชายแดนพม่า กัมพูชาและมาเลเซีย
ทหารพรานมีประวัติศาสตร์ที่เจ็บช้ำ โดยเป็นหน่วยที่มักถูกกล่าวหาว่ากระทำการโหดร้าย ใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องและมีส่วนพัวพันกับการค้ายาเสพติด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าหน่วยทหารพรานมีอันธพาลท้องถิ่นส่วนมาก ซึ่งมักใช้สถานะของตนก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนพลเมืองต่อไป มีการปฏิรูปหลายครั้งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกทหารใหม่ ซึ่งเป็นมืออาชีพมากกว่าที่เคยเป็นเมื่อยี่สิบปีก่อน
อดีตทหารพรานยังต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกิจกรรมก่อการร้ายระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนในการกล่าวอ้าง มีเพียงรัฐบาลในตอนนั้นที่พูดว่ามีชายชุดดำในกลุ่มผู้ชุมนุม
หน่วยพิเศษ
พ.ศ. 2522 การหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยของผู้อพยพชาวกัมพูชากลายเป็นปัญหาการเมืองสำคัญและเป็นประเด็นความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการที่ผู้อพยพหลายพันคนเคยเป็นนักรบเขมรแดง นายกรัฐมนตรีไทย พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ทหารอาชีพซึ่งเคยเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาก่อน ประกาศให้อำเภอติดชายแดนอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกและอนุมัติให้การอำนวยการรวม กองบัญชาการทหารสูงสุด ควบคุมและจัดความปลอดภัยให้แก่ผู้อพยพ กองบัญชาการทหารสูงสุดสนองโดยจัดตั้ง หน่วยเฉพาะกิจ 80 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 หน่วยทหารพรานพิเศษนี้ได้รับมอบหมายหน้าที่ป้องกัน การจัดการผู้ลี้ภัย และจัดหาอาหารและอาวุธให้แก่ฝ่ายขัดขวางต่อต้านเวียดนามซึ่งประเทศไทยสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขมรแดง เช่นเดียวกับแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร และ Armee Nationale Sihanouk Site หรือ ANS ระหว่างการมีอยู่ช่วงสั้น ๆ ของหน่วยเฉพาะกิจ 80 หน่วยถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งถูกยุบยกเลิกไปในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531
หน่วยทหารพราน
ในปัจจุบัน ทหารพรานมีกรมทหารพรานทั้งหมด 22 กรมทุกกองทัพภาคในไทย (276 กองร้อย) มีหมวดทหารพรานหญิงทั้งหมด 12 หมวด (71 หมู่)
ในปัจจุบัน กองทัพบกจัดกำลังทหารพราน สนับสนุนภารกิจป้องกันชายแดนในเขตรับผิดชอบของ กองทัพภาคที่ 1 และ 3 รวม 10 กรมทหารพราน และ 3 หมวดทหารพรานหญิง และสนับสนุนภารกิจการรักษา ความมั่นคงภายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 12 กรมทหารพราน และ 9 หมวดทหารพรานหญิง[
ภาพรวมของการปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อ 4 ม.ค. 2547
กองทัพบก ได้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกำลังในส่วนของ กองทัพบกมีการจัดและประกอบกำลังจากหน่วยประเภทต่าง ๆ จากหน่วยกำลังรบหลัก หน่วยกำลังรบประจำพื้นที่กำลังทหารพราน หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนการช่วยรบที่จำเป็น สำหรับลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งกรมทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 หลังเกิดเหตุการณ์ปล้นอาวุธปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส กองทัพบกได้เคลื่อนย้ายกำลังส่วนต่าง ๆ เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยกำลังส่วนหนึ่ง ได้แก่ กำลังทหารพรานจำนวน 3 กรม และ 3 หมู่ทหารพรานหญิง ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการขยายหน่วย ทหารพรานเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 กรมทหารพราน และ 4 หมวดทหารพรานหญิง ปรากฏว่าสามารถทดแทน กำลังทหารหลักซึ่งมาจากกองทัพภาคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี กองทัพบกจึงขออนุมัติรัฐบาลเพิ่มเติมกำลังทหาร พรานเพื่อทดแทนกำลังทหารหลักอีก 5 กรมทหารพราน และ 5 หมวดทหารพรานหญิง ให้พร้อมปฏิบัติงานใน เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2554 และ เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งกำลังทหารหลักจะถอนกำลังกลับจำนวน 7 กองพัน ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปจะมีทหารพราน 12 กรม กับอีก 9 หมวดทหารพรานหญิง เป็นหน่วยปฏิบัติการหลักในพื้นที่ควบคู่กับกองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15 ) กรมทหารพรานที่มีอยู่แล้วและปฏิบัติภารกิจอยู่เดิม โดยจัดเป็นหน่วยเฉพาะกิจจำนวน 7 หน่วย ประกอบด้วย