Рет қаралды 10,800
🔊 คลิปนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง คลิปเสียง / คลิปวิดิโอ ที่แอบบันทึกไว้ สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่? ซึ่งคลิปนี้มีคำตอบทนายดาวจะมาไขข้อสงสัยให้เองนะคะ
----------------------------
การพิจารณาว่าคลิปเสียงหรือคลิปวิดิโอนั้นสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่นั้น ต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ คดีอาญาและคดีแพ่ง เพราะคดีทั้งสองประเภทมีหลักในการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน
#คดีอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 226 พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานหลักฐานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน
มาตรา 226/1 ในกรณีที่มีความปรากฏแก่ศาลว่า พยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบหรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่ การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน
ในการใช้ดุลยพินิจรับฟังพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น
(2) พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี
(3) ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ
(4) ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด
ในคดีอาญาคลิปเสียงหรือคลิปวิดิโอย่อมเป็นพยานหลักฐานซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ ตามม.226 และสามารถใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้
แต่อย่างไรก็ตามหากคลิปเสียงหรือคลิปวิดิโอถูกลักลอบหรือแอบบันทึกโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือลักลอบถ่ายโดยอีกฝ่ายไม่รู้ตัว ศาลฎีกาตีความว่าพยานหลักฐานดังกล่าวได้มาจากการกระทำโดยมิชอบศาลจึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
#คดีแพ่ง
ในคดีแพ่งไม่มีบทตัดพยานหลักฐานที่ได้มาจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ม.226/1 เหมือนในคดีอาญา
ดังนั้น คลิปเสียงหรือคลิปวิดิโอที่เกิดจากการแอบอัดจึงสามารถรับฟังได้ในคดีแพ่ง
ฎ.4674/2543 การที่จำเลยอ้างส่งเทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลยพร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาเป็นพยานหลักฐานนั้นนับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่องการใช้เงินแม้โจทก์จะไม่ทราบว่ามีการบันทึกเสียงไว้ก็ตาม แต่เมื่อเสียงที่ปรากฏเป็นเสียงของโจทก์จริง และการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความนั้นเป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบอันจะต้องมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 243 วรรคสอง
ฎ.3911/2534 การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำสืบโดยมิได้ถอดเทปมาเปิดต่อถึงวาระที่ตัวผู้คัดค้านที่ 1 เบิกความ มิได้นำมาเปิดต่อหน้าผู้ร้องในขณะพิจารณาคดีฝ่ายผู้ร้องนั้น หามีกฎหมายบังคับให้ถอดข้อความออกมาหรือต้องนำเทปมาเปิดในขณะพิจารณาคดีฝ่ายผู้ร้องหรือต้องถามค้านพยานผู้ร้องเสียก่อนไม่ เพราะการนำสืบเสียงพูดเป็นการนำสืบวัตถุพยาน วิธีการใดที่จะทำให้ศาลได้ฟังและรับเสียงนั้นไว้เป็นพยานหลักฐานได้ ผู้นำสืบชอบที่จะทำได้
---------------------------------------------------------------------------------------
*หากคลิปนี้ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
Page Facebook : ModernLaw
หรือคลิกที่ลิงค์ : / modernlawth