วิจัยทางการแพทย์มีกี่แบบ แบบไหนเรียกว่าดี

  Рет қаралды 9,504

Doctor Tany

2 жыл бұрын

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ kzbin.info/door/S1xVkYW134dUJV9NSsu0Dwjoin
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 178
@Achawan_edu
@Achawan_edu 2 жыл бұрын
🌈คลิปนี้ ทำให้เข้าใจงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์/การแพทย์ วิธีดูงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ไม่มีอคติ มีลักษณะอย่างไร ดูผ่านระดับของข้อมูลจากงานวิจัยมีอะไรบ้าง 🌰เกริ่นนำ คุณหมอ >>>การนำงานวิจัยมาสนับสนุนในสิ่งที่พูดทำไมจึงสำคัญ? การวิจัยและสถิติมีความสำคัญอย่างไร? แบบไหนที่ดี แบบไหนที่ไม่ดี, การพิจารณาเบื้องต้นมีอะไรบ้าง ? ตอนที่ 🩸 🌰ข้อมูล และความน่าเชื่อถือในทางการแพทย์ มีการแบ่งเป็นระดับ ดังนี้ 🌻1. expert opinion เป็นความคิดเห็น (จากผู้เชี่ยวชาญ) กรณีแบบนี้เป็น “ความคิดเห็น” แต่ “ข้อมูล” ไม่มี การได้ความคิด/ข้อมูลจึงอาศัยความเชี่ยวชาญจากคนนั้นเป็นตัวตัดสิน ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ถือว่ามีน้ำหนักที่ไม่มาก/เป็นคำพูดจากคนๆ เดียว แต่ทำให้มีความเชื่อถือได้ ต้องอาศัยกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ มีคำว่า "expert panel" คือมีผู้เชี่ยวชาญสาขา/หลายๆ คนมาทำความตกลงร่วมกันว่าน่าจะเป็นบบนั้น ซึ่ง “ข้อมูล” จะไม่มีเท่าไร 🌻2. Review article เมื่อเกิดคำถาม หรือเกิดความสงสัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การไปค้นข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มาทั้งหมด แล้วมาเขียนเป็นบทความใหญ่ โดยมีอ้างอิงจากหลายๆ แหล่ง เรียกว่า Review article ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ทำ review article เลือกงานวิจัยใดมาลงไว้ในงานของเขา *หากเลือกงานวิจัยที่เห็นไปในทิศทางเดียวกันหมดมาลงไว้ ก็อาจจะทำให้เป็นปัญหาได้เพราะหากงานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นตรงข้าม เราไม่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วย เช่นนี้ผู้เขียนก็อาจสรุปพลาดได้ * review article ง่าย สะดวกในการอ่าน และทำความเข้าใจ แต่ข้อควรระวังคือ เขานำงานวิจัยทั้งหมดมาใช้หรือเปล่า ฉะนั้นสิ่งสำคัญอยู่ที่การกำหนดการเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ ควรกำหนดให้ชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ 🌻3. การวิจัย แบ่งเป็น 💦1. basis science คือ การทดลองในเซลล์, หลอดทดลอง, เลือด, สัตว์ทดลอง พวกนี้จะถือว่าเป็น basis science การทดลองก็เพื่อจะดูว่า “มีโอกาสได้ผลหรือไม่” หากมีโอกาสได้ผล ก็จะเริ่มไปทดลองในคน (บางครั้งการทดลองในสัตว์ได้ผลดี ไม่ได้แปลว่าในคนจะได้ผลไปดีด้วย และอาจมีผลเสียในสัตว์ทำให้สัตว์ตาย แต่ในคนอาจเป็นผลดี ไม่ได้ทำให้คนตาย ดังนั้นการตอบสนองของคนและสัตว์จะไม่เหมือนกัน 💦2. translational science คือ (อยู่ตรงกลาง) การนำความรู้ในขั้นทดลอง จาก basic science ไปประยุกต์ให้เข้ากับคนไข้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน สำหรับการวิจัยแบบนี้ จะต้องมีการดูเป็นพิเศษ 💦3. clinical study หรือ clinical trial การวิจัยนี้เป็นการทดลองจริงๆ ในคน โดยแบ่งเป็นเฟสต่าง ๆ คำว่า clinical trial มีการแบ่งเป็นระยะๆ เช่น เฟส 1, 2, 3 .... เป็นต้น หรือก่อนเฟส 1 คือ เรื่องของ Concept (1) . ทดลองในสัตว์ทดลอง แล้วได้ผลดี (2) ทดลองในคนที่แข็งแรงดี (3) จากนั้นมาลองในคนที่มีปัญหา เช่นคนที่เป็นโรคและต้องการใช้ยากลุ่มนั้น (4) ลองในโลกของความเป็นจริง (กลุ่มตัวอย่างจ่ากประชากร) 💦แต่ที่สำคัญคือ การทำ clnical เวลาเราทดลองในชั้น clinical มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในสิ่งที่เราต้องการหาคำตอบเช่น วัคซีนดีหรือไม่ /วัคซีนสามารถป้องกันอะไรได้บ้าง ในการทำวิจัยจึงต้องมี กลุ่มควบคุม การกำหนดกลุ่มควบคุมทำให้มีตัวเปรียบเทียบว่าสิ่งที่กำลังทดลอง ดี/ไม่ดี หรือไม่ 🌰*คุณหมอ >>> สิ่งที่เราได้ยิน เช่น "สมุนไพรตัวนี้กินแล้วดี ช่วยเรื่องตับ ไต ... รักษาหายได้ด้วยสมุนไพรตัวนี้ หากมีข้อมูลแค่นี้ใครๆ ก็พูดได้ ซึ่งไม่มีงานวิจัย ไม่มีการทดลอง และไม่มีการเปรียบเทียบจากการทดลองรองรับ" การพูดแบบที่ไม่มีข้อมูลงานวิจัยสนับสนุน แม้พูดจากผู้เชี่ยวชาญระดับต่างๆ คำพูดแบบนี้ก็เชื่อไม่ได้ แม้คุณหมอเองหากพูดโดยไม่มีงานวิจัยสนับสนุน สิ่งที่พูดก็ไม่น่าเชื่อถือ 🌰 *การพูดจากการมีข้อมูลสนับสนุนจากงานวิจัยจำนวนมาก และงานวิจัยชิ้นนั้นเขียนได้ดี /เขียนได้ถูกต้อง มีจรรยาบรรณ พิจารณาแล้วว่าทุกอย่างดี ฟังแล้วจึงเชื่อได้ ต่อตอน 2
@Achawan_edu
@Achawan_edu 2 жыл бұрын
ตอน 🩸🩸 🌰*ช่องโหว่ของการวิจัย 💦ในการทำงานวิจัย และนำเสนองานวิจัย ควรจะ 🌻1. ต้องมีกลุ่มควบคุม (หากไม่มีก็จะเป็นปัญหา) 🌻2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาแทนกลุ่มทดลอง ในการเลือกกลุ่มในการวิจัยไม่สามารถทดลองกับคนทั้งโลกได้ จึงจำเป็นต้องเลือกตัวแทนมาทำการทดลอง เป็นกลุ่ม และวิธีการเลือกกลุ่มทดลองได้อย่างถูกต้อง ในการทดลองจะต้องเขียนอย่างชัดเจนถึงวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง และขั้นตอนในการวิจัย 💦2.1 จะต้องกำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างชัดเจน ว่ามาอย่างไร 💦2.2 ระเบีบบวิธีวิจัย (Methodology) จะต่องอ่านให้ละเอียดว่าผู้วิจัยเขียนอะไรไว้บ้าง / ทำอย่างไรในการเลือกขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งขั้นตอนวินิจฉัยวิจัย เช่นการเขียนวิธีย้อมสีเซลล์ (ย้อมอย่างไร), และทดลองกับเซลล์ เซลล์อะไร เซลล์นั้นใช้ในคนปรกติได้หรือไม่ เป็นต้น 🌻3. meta analysis and systematic review คือ งานวิจัยที่ใช้กลุ่มทดลอง คือจำนวนคนไข้ในหลายๆ clinical trail (หลายๆ งานวิจัย) มารวมกันเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากๆ เพื่อตอบปัญหาบางอย่าง ข้อดีคือกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนเยอะมาก ซึ่งสามารถเป็นตัวแทนที่จะตอบคำถามนั้นได้มากขี้น มีข้อเสียคือ หากการทดลองที่รวบรวมมาไม่เหมือนกัน เช่นเวลาให้ยาไม่เหมือนกัน เป็นต้น กรณีแบบนี้เมื่อมารวมกันแล้วอาจทำให้ไม่สามารถสรุปได้เท่าที่ควร หรือการที่สรุปได้ก็อาจมีปัญหาก็ได้ โดยปรกติเรื่องของ ตัว systematic review meta analysis เขาจะกำหนดค่าไว้ค่าหนึ่งคือ Heterogeneity (ความไม่เป็นเอก(พันธ์) หรือความต่างแบบ) แต่ละการศึกษามีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน หากมีความแตกต่างกันมาก ตัว meta analysis ตัวนี้บอกอะไรไม่ได้เลย เนื่องจากทุกคนต่างทำของตัวเอง พอเอามารวมกันก็ไม่สามารถที่เป็นตัวอย่างที่สามารถมาเปรียบเทียบอะไรกันได้ เหล่านี้คือปัญหาของการทำ meta analysis สำหรับข้อดีของ meta analysis คือ เป็นการดูกลุ่มตัวอย่างจำนวนใหญ่ ๆ ได้ เป็นสิ่งที่เราเอามาใข้กัน 🌻4.Lies (การโกหก) , damned lies (โคตรโกหก) , and statistics (สถิติ) หมายความว่า โกหกหน้าตาย ไม่มีเหตุผลสนับสนุน /โกหกมากๆ อาจมีเหตุผลสนับสนุนมากขึ้นหน่อย เช่นใครฟังดูแล้วน่าเชื่อถือ และสถิติ ที่เราใช้ เราจะเลือกใช้สถิติตัวไหนก็ได้ (สมมติว่าต้องการเปลี่ยนขาวเป็นดำ) สามารถใช้สถิติให้เป็นเช่นนั้นได้ เช่น วัคซีนอันตรายแบบนั้น แบบนี้ ฉีดไป 93% ที่ตาย เป็นเพราะเป็นวัคซีนล้วน ๆ เราสามารถใช้วิธีทางสถิติเพื่อให้ผลลัพธ์ เป็นไปอย่างที่เราบอกได้ และนี่คือปัญหา 💎💎ฉะนั้นผู้ที่สามารถอ่านงานวิจัยได้จริง และอ่านสถิติเป็น ก็จะสามารถรู้ข้อบกพร่อง ของงานวิจัยได้ - มีงานวิจัยบางเรื่องตีพิมพ์ไปแล้ว เราพบว่า เขามีการโกง มีอคติ ผิดจริยธรรมในการทำวิจัย ซึ่งหากตรวจพบก็สามารถถอนออกได้ 🌻🌻 🌰คุณหมอสรุป >>>ฉะนั้นการอ่านงานวิจัยจึงต้องระวัง หากใครไม่มีงานวิจัยหลักมาสนับสนุนการพูด/การเขียน ก็เป็นเพียงคำพูด เป็นแค่ expert opinion หรือพูดตามงานประชุมต่างๆ โดยไม่มีการตีพิมพ์งานวิจัยใดๆ ทั้งสิ้น ลักษณะนี้เชื่อถือไม่ได้ 🌰การอ่านงานวิจัย หากอ่านเฉพาะหัวข้อเรื่อง แล้วด่วนสรุป /และบอกว่านั่นเป็นสิ่งที่จริง อย่างนี้ไม่ถูกต้อง ต้องอาศัยการวิเคราะห์ ทำได้ถูกต้องไหม มีข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด ใช้ได้กับทุกคนจริงหรือไม่ หรือในบางสถานการณ์ ฉะนั้นเรื่องตรงนี้มีความสำคัญมาก 🌰*บางคนเห็นงานวิจัยบางตัว น่าสนใจดี นำไปโพสต์ และผู้โพสต์ไม่ได้สนใจว่าจะเกิดปัญหาอะไร ซ้ำร้าย คนที่รู้ทั้งรู้ เก่งด้านงานวิจัย ตีพิมพ์งานวิจัยจำนวนมาก และไปเอาข้อมูลที่ยังไม่มีข้อสรุป หรือหากอ่านเข้าไปแล้วข้อมูลยังไม่ดี ยังไม่มีข้อสรุปและนำมาโพสต์์ให้คนใน social เห็น หรือหากเป็น influencer และเอาข้อมูลเช่นนี้มาโพสต์ ใน social ของตัวเขาเอง อยางนี้ทำบาปมาก เพราะคนอื่นที่เขาทำความเข้าใจเรื่องพวกนี้ไม่ได้ จะสับสนมากว่าอะไรถูก/ไม่ถูก ซึ่งไม่ถูกต้อง ฉะนั้นผู้อ่านควรจะต้องระมัดระวังให้ดีในการอ่านงานวิจัย การโพสต์ การแชร์ การส่งต่อ ต้องพิจารณาให้ดี ว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน 💎💎สำหรับท่านใดอ่านงานวิจัยแล้วไม่เข้าใจ สามารถส่งลิงค์มาถามคุณหมอได้ คุณหมอจะเข้าไปอ่านจริงๆ และจะดูว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ คลิปนี้ได้ความรู้ ความเข้าใจงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ เพื่อแยกแยกข้อมูลที่ถูกต้อง/น่าเชื่อถือ ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ 🙏🙏👍👍
@tonotdn7125
@tonotdn7125 5 ай бұрын
อยากให้คุณหมอ พูดเรื่องงานวิจัย คอลลาเจนทั้งสามไทด์ หน่อยครับ😊😊😊
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
อาจารย์กล่าวถึงการวิจัยและทดลองวัคซีนโควิด ซึ่งต้องทำเป็นระยะๆ ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 จากข้อมูลล่าสุด ตอนนี้วัคซีนโควิดมากมายกำลังถูกทดสอบในแต่ละระยะ หลากหลายชนิดเลย ซึ่งตอนนี้วัคซีนโควิดส่วนใหญ่ที่ทดสอบอยู่เป็นวัคซีนชนิด "โปรตีนซับยูนิต" ตอนนี้มีวัคซีน 48 ตัวกำลังทดสอบในระยะที่ 1 มีวัคซีน 67 ตัวกำลังทดสอบในระยะที่ 2 และมีวัคซีนอีก 71 ตัวที่กำลังทดสอบในระยะที่ 3 ค่ะ
@kanoky7076
@kanoky7076 2 жыл бұрын
14.12-14.47 อยากให้มีคนที่เก่งๆมีความรู้ความสามารถรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณ นึกถึงผลประโยนช์ส่วนรวมให้มากๆแบบคุณหมอเยอะๆจังคะ มีแต่คนที่ไม่เก่งจริง มุ่งหวังเอาแต่ผลประโยชน์ ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมทำให้คนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง คุณหมอยังกรุณาเสียสละทุ่มเทเวลาที่จะช่วยอ่านงานวิจัยเพื่อให้ได้งานจิจัยที่ถูกต้องตามความเป็นจริงอีกด้วยขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ 🙏
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
วลีเด็ด.. "Lies, damned lies, and statistics" ไปหามาแล้วค่ะอาจารย์ คนที่พูดวลีนี้คือ Benjamin Disraeli รัฐบุรุษของพรรคคอนเซอร์เวทีฟของอังกฤษ และเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย เขาบอกว่า "ความเท็จมี 3 ชนิด ได้แก่ คำโกหก คำโคตรโกหก และ สถิติ"
@ลูกพ่อธาตุรักอีสาน
@ลูกพ่อธาตุรักอีสาน 2 жыл бұрын
คนไม่มีความรู้ก็คาดหวังพึ่งพาคนที่มีความรู้มากๆ ตวามรู้คู่คุณธรรมและสำนึกมันจึงสำคัญ แต่บางครั้งคนที่มีความรู้มีเครดิตการันตีคุณวุฒกลับเอาสิ่งเหล่านั้นมาทำร้ายคนที่เขาเชื่อเขาศรัทธา แย่มากๆครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@ลูกพ่อธาตุรักอีสาน เห็นด้วยค่ะ เป็นการทำบาปทำกรรมที่ร้ายแรงจริงๆ
@sumritrittirong3997
@sumritrittirong3997 2 жыл бұрын
หมอท่านนี้ยอมรับ เป็นหมอโดนจิตวิญาณ รู้ลึกรู้จริง ผมก็เข้ามาเสพความรู้ประจำ
@AL86898
@AL86898 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทนการเลือกงานวิจัยมาลงให้คนอื่นทราบนั้นต้องมีการเลือก การทดลองอย่างแรก ในหลอดทดลอง ก่อนในสัตว์ แล้วมาทดลองกับคนต้องรู้ความแตกต่างของสัตว์ทดลองและการทดลองขั้นต่อไปในคน ที่แข็งแรงก่อนนั้นว่าดีหรือไม่ต้องมีงานวิจัยมาสนับสนุน และต้องมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่เลือกเลือกมาอย่างไรการนำจำนวนคนไข้มาทดลองในกลุ่มที่ใหญ่มากๆวิธีการทดลองต้องเหมือนกันจึงจะสรุปการศึกษานั้นๆได้ การโกหกเพื่ออะไรสักอย่างจากการทำสถิติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามความต้องของตัวเอง การหาคำตอบว่าวัคซีนชนิดนั้นๆดีหรือไม่ ต้องผ่านการวิจัยมาสนับสนุนว่าควรเชื่อถือหรือไม่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างมาทำการทดลอง เป็นอย่างไร การวินิจฉัย วิจัยต่างๆ ถ้าได้ตัวอย่างมากๆมาทดลอง จะดี ก็แปลกมาเทียบกับการโกหก สามารถใช้วิธีทางสถิติมาเปลี่ยนแปลงได้ถ้าพบว่าการใช้สถิติมาทำให้คนเชื่อถือ บางทีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนันสนุนผลงานตัวเองมันผิดถ้าจับได้ก็ขาดความเชื่อถือไปเลย เสียชื่อเสียง คนที่ต้องการชื่อเสียงทำผิดวิธี แล้วเรามาตามแชร์ไปไลน์ไปอาจผิดพลาดตามคนคนนั้น ไปด้วยควรที่จะพิจารณาให้ดี ถามคุณหมอได้รู้สึกยากเหมือนกันนะคะถามคุณหมอก่อนได้ ขอบคุณคุณหมอค่ะ🙏❤
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ ถ้ามีรางวัลผู้ตรวจสอบงานวิจัยดีเด่น คุณหมอได้ชัวร์ค่ะ ยิ่งฟังคุณหมอวันนี้ ยิ่งทำให้ทราบว่าการวิเคราะห์งานวิจัยยากมากๆ สำหรับคุณหมอแล้ว จุดบกพร่องใดๆไม่สามารถเล็ดลอดสายตาคุณหมอได้เลย โชคดีจังค่ะ ...ไม่ต้องอ่านเอง จรรยาบรรณสำคัญมากจริงๆค่ะ ทุกวันนี้สังคมสับสนวุ่นวายเพราะความไม่มีคุณธรรม และจริยธรรม เผยแพร่ข้อมูลปลอม ซึ่งกระจายได้รวดเร็วกว่าข้อมูลจริงหลายเท่าค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัวมีความสุขนะคะ
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
@ Doctor Tany ขอบคุณมากค่ะ ในรายการแบไต๋ ทุกคำพูดคุณหมอมีค่ามากๆค่ะ ครอบคลุมทุกกลุ่ม ถูกที่ ถูกเวลา คุณหมอสมาร์ทมากค่ะ ขอบคุณมากนะคะคุณหมอคนดี
@Lek44888
@Lek44888 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์ อาจารย์มาให้ความรู้ เรื่องงานวิจัยทางการแพทย์ การวิจัยมีหลายประเภท แบบแรก เป็นการทดลองในเซลล์ ในหลอดทดลอง ในเลือดใช้สัตว์ในการทดลอง ดูว่ามีโอกาสได้ผลหรือไม่ ถ้ามีโอกาสก็จะนำไปทดลองในคน ใช้ทดลองในสัตว์ไปก่อนที่จะนำไปทดลองในคน เพราะการตอบสนองของคนกับสัตว์ แตกต่างกัน แบบที่สอง คือการเอาความรู้ไปประยุกต์ เข้ากับคนไข้ แบบที่สาม เป็นการทดลองจริงในคน จะแบ่งเป็นเฟสต่างๆ เมื่อทดลองในคนแล้ว สุดท้ายจะไปทดลองในโลกแห่งความเป็นจริง ขั้นตอนนี้ จะต้องแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กับกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มควบคุม เพื่อนำไปเปรียบเทียบ ถ้าไม่มีตัวเปรียบเทียบใครๆก็พูดได้ พูดลอยๆ โดยไม่มีงานวิจัยมาสนับสนุนก็จะเชื่อไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง การทดลองขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวอย่าง เราทดลองกับคนทั่วโลกไม่ได้ เราต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างมาทำการทดลอง การเลือกกลุ่มทดลอง จะบอกด้วยว่าเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างไร การเลือกต้องเลือกให้ถูกต้อง มีการกล่าวคำโกหก - โกหกแบบไม่มีเหตุผลมาสนับ สนุน ข้อนี้ก็ขาดความเชื่อถือไป - โกหกมากๆ มีเหตุผลสนับ สนุน อาจใช้ตำแหน่งทำให้ดูน่าเชื่อถือ - สถิติ มีวิธีการพลิกแพลงเพื่อหาคำตอบบางอย่างได้ สามารถเลือกใช้สถิติตัวไหนก็ได้ ที่จะเปลี่ยนขาวเป็นดำได้ อาจารย์ บอกว่าการอ่านงานวิจัย ต้องอ่านให้เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่อ่านเฉพาะหัวข้อแล้วก็เชื่อเลย ปัจจุบันสังคมออนไลน์มีบทบาท สำคัญขยายเป็นวงกว้าง ต่อระบบการสื่อสาร ทำให้เราเชื่อมต่อกันได้ไม่จำกัดเวลา สถานที่ อาจารย์ เตือนว่า จะโพสต์อะไรต้องดูให้ดีก่อน ว่าเชื่อได้แค่ไหน ถ้าโพสต์ผิดๆไป คนมักเชื่อ ถ้าเป็นข้อมูลทางการแพทย์คนรับสิ่งผิดๆไปแล้วไปปฏิบัติตาม มันมีผลถึงชีวิตได้ และจะมีปัญหาทางกฏหมายตามมาอีกด้วย ขอบคุณอาจารย์ค่ะ🙏🏻
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 2 жыл бұрын
สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆคะคุณหมอที่มาให้ความรู้ดีดีมีประโยชน์เสมอคะ ตาก็อ่านงานวิจัยไม่เป็นเคะฟังคุณหมอนี่แหละคะดีที่สุดคะ😊 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏😷🌹
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
ดูพระเอกเกาหลี เอ๊ย อาจารย์หมอแทน ในรายการแบไต๋ ดิฉันคิดว่านอกจากฉีดวัคซีนครบแล้ว เรื่องการสวมแมสก์ยังมีความจำเป็นอยู่มาก มีบางคนไม่ใส่ในที่ทำงาน ผล ติดโควิด แล้วอ้างไม่ได้ไปไหนเลย ติดได้ไง เขาถอดแมสก์คุยกัน แต่ก็มีเยอะเหมือนกันค่ะ ที่สวมแมสก์สองชั้น ส่วนดิฉันสวมมาก่อนมีโควิด เพราะที่นี่สมุทรสาครเป็นพื้นที่สีแดง ค่าPM 2.5 เป็น number one ก่อนโควิดมา ได้นั่งรถไฟฟ้า MRT ไปเยาวราช วันนั้นลืมสวมแมสก์ คนเยอะมาก นักท่องเที่ยวจีน ฝรั่ง คนไทย เดินเบียดเสียด ร้านอาหารไม่มีที่นั่ง วันนั้นเป็นวันที่30ธ.ค.62 กลับมาบ้านเป็นไข้สูงอยู่หลายวัน พอพาราหมดฤทธิ์ ไข้ก็ขึ้นสูงอีก กว่าจะหายก็หลายวันอยู่ เป็นไข้สูงอย่างเดียว แปลกใจมาก การสวมหน้ากากเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ถ้าไม่สวม คิดว่าโควิดอาจจะแพร่ระบาด มากกว่านี้ค่ะ แล้วก็ต้องเว้นระยะห่าง ล้างมือ ฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน
@Hoshi1451
@Hoshi1451 2 жыл бұрын
🙏ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ สำหรับความรู้ในคลิปนี้ ปัจจุบัน ข่าวใดๆก็ไปไวมากค่ะ คนแชร์กัน ซึ่งสิ่งสำคัญของคนมีสื่ออยู่ในมือ ถ้าไม่มี ศีลธรรมจรรยบรรณ แล้วใช้สื่อนำเสนอไปก็จะทำให้เกิดความเข้าใจผิด และข่าวหรือเรื่องบ้างเรื่อง ก็ทำให้เกิดความตกใจ สับสนและวุ่นวายได้เลย นะคะ🌹
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ดูคลิปแบไต๋ 2 รอบ ดิฉันอดขำไม่ได้ค่ะ ไม่ได้ขำอาจารย์นะคะ แต่พอมองหน้าอจ.เจษ แล้วมองหน้าอาจารย์ ทำไมมันแตกต่างกันขนาดนี้😂 คือ อาจารย์หน้าผ่องใสมาก (บุคลิกสุขุม พูดดี นิ่ง รับฟังทุกฝ่าย) พอดูไปเรื่อยๆก็เห็นรูป "หม่อมปลื้ม" ที่เขา insert รูปเข้ามาในเนื้อหาช่วงหลัง คือ หน้าหม่อมปลื้มนี่ดำคล้ำมากๆ (เข้าใจว่าไปเที่ยวทะเลมา) ต้องขอชมจากใจว่า อาจารย์ดูแลสุขภาพได้ดีมากๆทั้งกายและใจ โกรธแต่ก็หายเร็ว รีบสลัดๆๆ สะบัดๆๆความโกรธ ความขุ่นมัวทิ้งไปให้เร็วที่สุด ทุกวันนี้ดิฉันก็ทำแบบอาจารย์อยู่ค่ะ มีโมโห มีโกรธบ้างแต่หายเร็วค่ะ...
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 2 жыл бұрын
ไม่อยู่ในแวดวงเกี่ยวกับงานวิจัยเลย ได้รู้จักงานวิจัย มากขึ้นจากการติดตามช่องอาจารย์หมอค่ะ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ😍 คนที่อยู่ในวิชาชีพแพทย์ นำข้อมูลผิด ๆ มาเผยแพร่ให้คนทั่วไปที่รู้น้อยกว่า ซึ่งจะทำให้ผู้รับข้อมูลเชื่อในสิ่งที่ผิด ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจที่ส่งผลต่อชีวิตร่างกายเพื่อนมนุษย์เลยนะคะ ถือเป็นการทำบาปขั้นสูงเลยค่ะ🙄
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ขออนุญาตประชาสัมพันธ์นะคะ... ศบค.รายงานความคืบหน้า 4 วัคซีนโควิดสัญชาติไทย ดังนี้ค่ะ - Chula-Cov19 (จุฬาฯ) กำลังทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 2 - HXP-GPOVac (องค์การเภสัชฯ กับ ม.มหิดล) กำลังทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 2 - Baiya (บ.ใบยาฯ กับ ม.จุฬา) กำลังทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 - Covigen (บ.ไบโอเนทฯ) วัคซีนไร้เข็ม กำลังทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@kanyamuay3748 ยินดีค่ะ
@P518-c3z
@P518-c3z 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@kerra3876
@kerra3876 2 жыл бұрын
👍🌸
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@P518-c3z 💙
@wonsilapattawee8134
@wonsilapattawee8134 Жыл бұрын
อาจารย์หมอแทน เป็นบุคคลากรที่ทรงคุณค่าในทางการแพทย์ ว่างๆกลับไปดูคลิปหลายคลิป บางทีดูซ้ำๆ บอกได้เลยว่า ศรัทธา นับถือ เคารพในคุณค่าที่หมอมีในหัวใจ ไม่รู้จะบอกอะไรว่าไงนอกจาก ขอบคุณจากใจค่ะ
@KarnTovara
@KarnTovara 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่าคุณหมอ 😃 การทำงานโดยปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆๆ นะคะ คุณหมอพักผ่อนด้วยนะค้า 🍱🥣🥝🍵😃
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
👍🏻👍🏻
@KarnTovara
@KarnTovara 2 жыл бұрын
@@EedWatcharapornTubrutn ⚘⚘⚘😃😃😃
@หิรัญญาไกรชิต
@หิรัญญาไกรชิต 2 жыл бұрын
เห็นด้วยค่ะคุณหมอ สร้างสับสน กังวลใจ ได้ฟังคุณหมอถึงมั่นใจมากขึ้นค่ะ
@kanokpornmartinez9609
@kanokpornmartinez9609 2 жыл бұрын
การ ทำงาน อย่างมี คุณภาพ การวิจัย ผลงาน ที่ดีที่สุด จ้า
@sasikan9388
@sasikan9388 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอที่ช่วยแนะนำความรู้ที่ไม่คอยถนัดแต่คุณหมออธิบายได้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอ ขอบคุณ สำหรับข้อมูลความรู้ในวันนี้🙏🙏
@Spt_N_25
@Spt_N_25 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมอความรู้เรื่องงานวิจัยการแพทย์มีกี่แบบ แบบไหนดี วิธีอ่านและข้อสังเกตที่ต้องดูพิจารณาว่าน่าจะเชื่อถือได้แค่ไหน ยินดีด้วยวันนี้252K 2+5+2=9 ขอให้เพิ่มขึ้นทุกวันค่ะ 🎉🎉💐💐💐
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
💐💐💐💐💐💐💐💐💐 ยินดีด้วยนะคะอาจารย์ 💐💐💐💐💐💐💐💐💐
@Spt_N_25
@Spt_N_25 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa 🐯โฮกปี๊ป พี่เสือขอก้าวกระโดดทะลุล้านนน เลขสวยด้วยค่ะ💐💐💐💐💐9️⃣💐💐💐💐
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@Spt_N_25 ใช่ค่ะ 9 มงคล ก้าวหน้า ก้าวไกล ก้าวต่อไปไม่หยุดยั้งค่ะ
@Spt_N_25
@Spt_N_25 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa เห็นด้วย ทุกก้าว คู่ควรคุณหมอแทนค่ะ9️⃣✅☑️
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov 2 жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอแทนค่ะ สำหรับการพูดถึงงานวิจัยที่ดีควรเป็นแบบไหน มีขั้นตอนอย่างไร และควรมีจริยธรรมทั้งผู้ทำวิจัยและผู้ที่นำไปเผยแพร่
@ptphone8011
@ptphone8011 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอฟังแล้วดิฉันคิดว่าอาจารย์หมอคงเหลืออดแล้วจริงๆคนที่ชอบส่งข้อมูลอันเป็นเท็จใจร้ายมากไม่คิดว่าจะส่งผลกับคนอื่นอย่างไรสำหรับเรื่องนี้ ดิฉันแต่ก่อนก็เชื่อข้อมูลที่ว่อนอยู่ในเน็ตเพียงเพราะเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นหมอ เป็นผู้รู้ แต่พออาจารย์หมอเอาตัวอย่างงานวิจัยหลายๆตัวอย่างมาวิเคราะห์ให้ฟังชี้ให้เห็นความน่าเชื่อถือไม่น่าเชื่อถือเช่นงานวิจัยต่อต้านโควิดทำให้ดิฉันมีความรู้ความเข้าใจสามารถแยกแยะข้อมูลที่อ่านได้ว่างานวิจัยชิ้นนี้เชื่อถือได้หรือไม่ขอบคุณอาจารย์หมอที่ได้ให้ความรู้ตลอดมาค่ะ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ ช่วงที่มีนักศึกษามาฝึกงานด้วย จะต้องมีงาน พาน้องอ่านงานวิจัยและ นำเสนอการอ่านงานวิจัย เวลาเลือกงานวิจัย จะดู วิธีการศึกษา เกณฑ์คัดเข้า คัดออก และวิธีทดลองด้วยค่ะ ยิ่งเรา มีความรู้และชำนาญรู้ด้านนั้น ด้วยจะยิ่งเข้าใจและเห็น จุดด้อย จุดเด่น ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลด้วย ที่สำคัญ ควรอ่านงานนั้นเข้าใจ เหมือนทำเองเลย ยิ่งดีค่ะ เป็นตัวช่วยกรองการเลือกอ่านงานวิจัย ส่วนเรื่องสถิติ ที่ใช้ ก็ตามคนเขียน เพราะไม่เก่ง สถิติ งานวิจัยค่ะ และยิ่ง เป็นเรื่องที่นักศึกษาต้องนำเสนอ ต้องเน้นเรื่องที่น้องอ่านแล้วเข้าใจ จะให้น้องเลือกมาให้เลือกอีกที เพราะถ้าเลือกให้เลย อาจเป็นเรื่องที่เราเข้าใจ แต่น้องอาจไม่เข้าใจ ค่ะ Have a nice time ค่ะ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
พี่อี๊ดสายแพทย์นิเหนื่อยมากๆเลยนะพี่ต้องอ่านงานวิจัยเยอะ ต้องทำอะไรอีกเยอะมากๆเลย แล้วพี่อี๊ดเหนื่อยไหมเวลาอ่านงานวิจัยต่างๆ อยากรู้เหมือนกันนะคะ แวะมาทักทาย พี่อี๊ดนะค่ะ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
@@Chefaey พี่ไม่เหนื่อยค่ะเพราะอ่านเฉพาะเรื่องที่อ่านแล้วเข้าใจ อันไหน อ่านแล้วไม่เข้าใจเพราะไม่ชำนาญด้านนั้น ก็ให้คนที่ชำนาญด้านนั้นอ่านค่ะ ตอนพี่เรียนหลักสูตรยังไม่ต้อง ทำงานวิจัยค่ะ อ่านงานวิจัย นำเสนอ ตอบคำถามได้ ก็จบค่ะ ที่มาได้อ่านทบทวน ช่วงนักศึกษามาฝึกงานด้วย หรือช่วงที่ ต้องทำผลงานวิชาการ เพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้น ไม่ได้เน้นงานวิชาการเหมือน อ. แทน ที่เป็นสาย มหาวิทยาลัยค่ะ ( ถ้าเหมือนเมืองไทย) ของพี่เน้นสาย บริการ งานผู้ป่วยค่ะ เพราะ เป็น รพ. ศูนย์ ต้องรองรับทุก สิทธิการรักษา 30 บาท ประกันสังคม เบิกได้ เป็น รพ. พี่ใหญ่ ในเขต 7 ค่ะ ทั่วประเทศ มี 12 เขตค่ะ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
@@EedWatcharapornTubrutn ขอบคุณพี่อี๊ดมากเลยนะคะ พี่อี๊ดเป็นสายทางการแพทย์ที่น่ารัก และใจดีที่สุดเลยคะ คุยแล้วรู้สึกอุ่นใจมากๆๆเลยค่ะ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
@@Chefaey ถ้าย้อนอดีตไปตอน เป็น CI ช่วงแรกๆ ก็ โหดบ้าง ใจดีบ้างค่ะ ว่าให้ต่อหน้าที่ทำไม่ตรงกับมาตรฐาน ( ของพี่ ตอนนั้น)เลย ไม่ได้คุยลับหลังคนอื่น น้องที่มาฝึกงานที่นี่ต้อง strong เพราะคิดว่าเด็ก คือเด็ก ไม่ได้มี หน้าตา หรืออัตตาอะไร ผู้ใหญ่สี่งสอนได้ แต่จบแล้วก็คือจบ เพราะไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของพี่แล้ว หรืออาจจะเข้มงวดกับเด็กเกินไป หลังๆ พอได้รู้จัก ได้ยิน ได้ฟัง คำสอนของหลวงตามหาบัว พระอรหันต์ องค์แรก ที่ทำให้พี่ได้รับรู้ สัมผัสได้ถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าเป็นจริง ตามที่ท่านสอนไว้ ตอนเด็กๆ ก็ไม่ได้มีเป้าหมายอะไร หลักสูตรให้เรียนอะไร เรียนให้ครบ พอสอบผ่านก็พอใจแล้ว ถ้าน้องต้องเขียนรายงานเคส presents case จะเข้มงวด ถ้า น้องที่อยู่ด้วย ไม่ได้มีงาน present จะเน้น ปฏิบัติค่ะ ไม่ค่อยถามวิชาการอะไรอะไรมากเพราะถือว่า คนที่สอนเค้าก่อนมาฝึกงานกับพี่ผ่านการเรียนกับระดับดอกเตอร์ มาเกือบทุกวิชา สาขา สมัยพี่ยังเป็นรุ่นพี่เพิ่งจบ ห่างกันไม่มาก ป.ตรี ป. โท ป. เอก ยังน้อยอยู่ พอช่วงหลังๆ เน้น บอกน้องนักศึกษาไปเลย สอนเทคนิคที่ตัวเองทำไปเลยค่ะ เพราะ ความรู้และประสบการณ์อยู่ที่น้องจะเก็บเอาไปมากน้อยเท่าไหร่ บางเรื่อง เคยบอกหลายครั้งก็ยังลืม เลยเน้น ทำเลย ค่ะ เพราะตอนสอบใบประกอบวิชาชีพพี่ไม่ได้ไปสอบด้วย น้องต้องเก็บเกี่ยว ประสบการณ์ของพี่ ๆ พอเรียนจบออกไป จะไม่มี ใครคอยบอกหรือกำกับ ให้แล้วค่ะ การเรียนรู้คำสอนของหลวงตา หลวงปู่ ต่างๆ ทำให้คน( พี่) เปลี่ยนมุมมอง ความคิด ได้ค่ะน้องเอ้ รักษาสุขภาพจ้า 😁😄😃😀 ปล. นี่ขนาดเย็นลงมากแล้วนะ อิอิ มีบางอารมณ์ก็แอบร้อนอยู่ค่ะ ยิ่งมีโควิดยิ่งลงมาเยอะเลยนะคะ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
@Doctor Tany ขอบคุณค่ะ 💚💚💚💚💚💚💚💚 ขอบคุณ ค่ะ คุณพ่อของน้อง โรซี่ ชาแนล no. 19 💐💐🌷🌷🌸🌸🌹🌹 💫✨🌟⭐️💫🌟⭐️✨ Have a blissful moment of time with Rosy . ค่ะ 🐶🐶🐩🐩🐶🐶🐩🐩
@jitpakornboonna9565
@jitpakornboonna9565 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ ทันแชร์เข้าไลน์กลุ่มพอดี ในกลุ่มมีผู้สูงอายุเยอะ แล้วกะลังส่ง fake news เข้ากลุ่มพอดี จะแย้งหรืออธิบายก็คงยาก ให้คลิปคุณหมอ อธิบายแทน ดีกว่า แอบนำเหนอค่ะ ภาพดอกไม้ข้างหลัง ถ้าเปลี่ยนเป็นรูปซากุระ จะสวยไหมคะ 😙😙😙
@apakornwongsathapornpat8877
@apakornwongsathapornpat8877 2 жыл бұрын
คนเก่งมากๆก็อาจมีมิจฉาทิฐิได้ เพราะใช้ประสบการณ์หรือเชื่อมั่นตัวเองมากเกินไป
@krunok8012
@krunok8012 2 жыл бұрын
สมัยก่อนคนจะเชื่อฟังคนที่เป็นหมอพูดแต่ยุคโควิดเราต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเองเพราะหมอเองก็ยังพูดไม่เมือนกันเช่นทุกวันนี้คุณหมอบางท่านก็บอกว่าฉีดเข็ม4ได้แล้ว บางท่านก็บอกว่าเข็ม4ยังไม่จำเป็น ในขณะที่บางคนบอกว่ารอฉีดเข็ม5อยู่...ผลสุดท้ายชอบฟังคุณหมอแทนพูดแล้วตัดสินใจค่ะ...
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ตอนนี้เชื่อหมอแทนคนเดียว
@mountainview9195
@mountainview9195 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🌸
@luxanawadeeboonyasirinun6378
@luxanawadeeboonyasirinun6378 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ ชัดเจน ดีมากๆ เลยค่ะ
@suriyawong75
@suriyawong75 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@bupphalovenature8265
@bupphalovenature8265 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ มารับฟังคุณหมอค่ะ...🙏🙏🙇‍♀️🙇‍♀️
@ปิติรัตนะนราพันธ์
@ปิติรัตนะนราพันธ์ 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามผู้รู้ค่ะ ลูกชายติดโควิดเพิ่งหายได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ต้องรอ1-3เดือนมั้ยคะถึงจะฉีดกระตุ้นเข็ม2ได้(น้องได้รับเข็นที่1แล้ว เข็ม2หมอนัด28เมย.นี้ค่ะ)
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ช่วยคุณหมอตอบนะคะ ไปฉีดเข็ม 2 ตามนัดค่ะ และไม่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ลูกเคยติดโควิดนะคะ (ถ้าแจ้งเจ้าหน้าที่จะไม่ฉีดให้ค่ะ)
@amarasanpanich5464
@amarasanpanich5464 2 жыл бұрын
ฟังหลับไปเลย happy Sunday ค่ะอาจารย์หมอ โชคดีตลอดไปนะคะ
@beambeaw4937
@beambeaw4937 2 жыл бұрын
สวัสดีวันเสาร์คุณหมอแทน😊
@ttanwiph
@ttanwiph 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ อยากให้ พูดถึงเรื่อง ตับอักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ในอังกฤษ อเมริกา ไอร์แลนด์ ค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
กรณีนั้นควรสอบถามหมอเด็กที่เชี่ยวชาญโรคตับครับ
@ttanwiph
@ttanwiph 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากค่ะ ติดตามคุณหมอมาตลอด ได้สาระ และ ทัศนคติดีๆ มากเลยค่ะ
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ ☺️🙏❤️🙏 สงสัยมานานค่ะ งานวิจัยทางการแพทย์เราไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย เรื่องพวกนี้เพิ่งมาได้รับความรู้จากตอนที่มาฟังคุณหมอเอางานวิจัยต่างๆมาเล่าให้ฟังค่ะ แล้วก็ตัวอย่างงานวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือที่สนับสนุนการต่อต้านวัคซีนที่คุณหมอเอามาวิเคราะห์ให้ฟังค่ะ -Clinical trial เคยเห็นบ่อยๆค่ะ ต้องดูกลุ่มทดลองว่าน่าเชื่อถือไหม มี bias ไหมด้วยนะคะ เราว่ามันคล้ายกับ garbage in garbage out แล้ว บางคนไปเลือก cherry picking จาก garbage out แล้วเอามาแชร์ให้คนตกใจ ยิ่งข่าวตกใจยิ่งแชร์กันไวนะคะ เรื่องแบบนี้คุ้นๆเลยนะคะ คุณหมอ ต้องระวังมากๆ ⭐️😘⭐️
@สวยอําไพแจ่มดี
@สวยอําไพแจ่มดี 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ🙏🏼คุณหมอแทน ป้ามารับฟังและรับชมและมาให้กำลังใจคุณหมอสู้ๆๆน่ะค่ะคุณหมอแทนทำได้อยู่แล้วค่ะ✌️✌️✌️🙏🏼ขอบคุณข้อมูลที่ดีๆๆในทุกๆๆวันค่ะ🙏🏼♥️🥰ค่ะ
@ployyy.2107
@ployyy.2107 2 жыл бұрын
สวัสดีรอบสองค่ะวันนี้ขอบคุณข้อมูลความรู้ต่างๆค่ะ...🥰🥰🥰🥰🥰🥰
@slv6395
@slv6395 2 жыл бұрын
พี่หมอครับ ผมสงสัย ขออนุญาติถามครับ สมมุติว่าถ้าเราต่อ cannula tube ของ ecmo เข้าcarotid arteries 1.ถ้าผู้ป่วยมีแค่หัว เช่นผู้ป่วยคอขาดมา สมองจะยังทำงานต่อได้มั้ยครับ(ตัดปัจจัยภายนอกเรื่องระยะเวลาถึงมือแพทย์ออกนะครับ) 2. ผู้ป่วยทั่วไปที่อยู่ครบทั้งตัว สามารถอยู่บนecmoได้นานสุดแค่ไหนครับ 3.การให้heparin เพื่อกัน blood clothเป็นเวลานานจะมีผลข้างเคียงยังไงครับ 4. และหากเกิด thrombus ขึ้นจากecmo ส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณใดครับ ขอบคุณครับพี่หมอ
@kerra3876
@kerra3876 2 жыл бұрын
😱อยากฟังคะ คำถามน่าสนใจมากคะ สะพรึงเลยคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
1) น่าจะลำบากมากเพราะมีหัว ไม่มีตัวยังไงก็อยู่ไม่ได้ และแรงดันของ ecmo จะไม่มีการ regulate อะไรทั้งนั้นสมองก็จะเจอความดันที่แปลกๆสุดท้ายก็แย่ครับ 2) นานตราบเท่าที่เครื่องยังทำงานได้ โดยไม่ขัดข้อง และร่างกายต้องไม่มีอะไรแทรกซ้อนให้ตายไปเองครับ 3) ก็เลือดออกง่ายครับ นานมากๆกระดูกก็พรุนง่ายขึ้น และเสี่ยงกับ HITT ครับ 4) ตรง circuit filter ครับ
@slv6395
@slv6395 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับพี่หมอ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@kerra3876 มารออ่านคำตอบเหมือนกันค่ะว่า จะทำยังไงหว่า...
@gkjr3377
@gkjr3377 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์ ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ ขออนุญาตเสนอหัวข้อคลิปค่ะอาจารย์ ช่วงที่เรียนเป็นแพทย์ประจำบ้านอาจารย์มีวิธีเตรียม หรือเริ่มต้นการวิจัยอย่างไรบ้างคะ ขอบคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เริ่มจากปัญหาของคนไข้ที่เราตอบไม่ได้ก่อนเลยครับ
@wiriwiriya-36
@wiriwiriya-36 2 жыл бұрын
ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งสำคัญ....เมื่อก่อนตอนเด็กๆอะคิดว่าความรักจะชนะทุกสิ่ง...แต่พอโตมาก็เพิ่งเข้าใจว่า....ความขี้เกียจต่างหากที่ชนะทุกอย่าง ^^ 🤭
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ไม่สิมะลิ ความรักชนะความขี้เกียจใด้นะ ถ้าเรามีความรัก มันจะทำให้เราขยันทำทุกอย่าง อย่างที่เราไม่เคยทำเลยล่ะ จิงปะ อิอิ แวะมาทักทายน่ะ เดียวไปนอนต่อแล้ว
@wiriwiriya-36
@wiriwiriya-36 2 жыл бұрын
@@Chefaey เรียกได้ว่า ."ความรักชนะทุกสิ่ง " ..มุ้งมิ้งๆ 🤟
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
@@wiriwiriya-36 มะลิ ต้นตะบองเพชรสวยมาก จริงๆมะลิ ขอชมจากใจเลยน่ะ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
@@wiriwiriya-36 😊อีกหนึ่งเสียงความรักชนะทุกสิ่ง เราจะขยันและพยายามเพื่อคนที่เรารักได้เสมอ แวะมาทักทายจ้า แต่มะลิคงนอนแล้ว🌻🌷
@wiriwiriya-36
@wiriwiriya-36 2 жыл бұрын
@@Chefaey หลงรักน้องบองเลยช่วงนี้ ว่าจะเอาแมมชูแมนมาลง..เอ้แวะมาได้ดูด้วยน้าา..น้องสวย...( วันนี้ยุ่งทั้งวันเลย)
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
อาจารย์หมอคะ ขออนุญาตฝาก request ไว้ซักเรื่องนึง เผื่ออาจารย์แทนมีเวลาเล่าสู่กันฟัง กล่าวคือ: ด้วยความไม่รู้ของเรา เรามีความอยากรู้ว่างานวิจัยทางการแพทย์แบบ 'review' (เราคุ้นแค่งานวิจัยแบบที่ต้องทำการทดลองน่ะค่ะ) อย่างเรื่องที่อาจารย์แทนเคยทำและตีพิมพ์ไว้ แล้วเอาข้อสรุปมาใช้งานเมื่อตอนโควิดน่ะค่ะ สำหรับแพทย์ใหม่ที่ไปอเมริกาแล้วอยากจะทำงานวิจัยแบบนี้ เขาจะต้องเริ่มต้นอย่างไร ถ้าเขาจะเป็นคนเขียนมันเองเป็นหลัก ต้องเขียน proposal ส่งรพ.ต้นสังกัดก่อนไหม วิจัยแบบ review ต้องขอทุนอะไรไหมเพราะไม่ได้ทำการทดลอง แล้วพิจารณาหาทีมที่มาช่วยอ่านงานเราอย่างไร ลำบากสุดตรงไหน กว่าจะให้งานตีพิมพ์ได้ อีกอย่าง งานวิจัยแบบ review ต้อง review มามากมาย อ่านกี่ฉบับขนาดไหนถึงจะเรียกว่า review ได้อย่างน่าเชื่อถือ มีเกณฑ์อะไรไหมคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
แบบรีวิวไม่ใช่วิจัยครับ มันคือการรวบรวมหลักฐานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆมาเขียนครับ ใช้แต่แรงคนเขียน ส่วนจะขอทุนรึเปล่าอันนี้แล้วแต่ครับ ส่วนมากเขาจะไม่ให้ทุนเท่าไหร่ครับ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
@@DrTany ขอบพระคุณค่ะคุณหมอแทน
@mountainview9195
@mountainview9195 2 жыл бұрын
ขออนุญาตสอบถามอาจารย์เรื่องการนอนหลับค่ะ 1 การหยุดหายใจขณะหลับมักจะเกิดในช่วงหลับลึกหรือเปล่าคะ หรือว่าช่วงไหนก็ได้ 2 ถ้าดูข้อมูล Heart rate จาก smart watch เราพอจะเดาได้มั้ยคะว่าช่วงที่ heart rate ไม่ถึง 60 เป็นช่วงที่เราหลับลึก หรือว่าช่วงไหน ❤️rate ขึ้นสูงๆ 90-110 เป็นช่วงที่เราหลับแล้วฝันตื่นเต้น ดิฉันเดาผิดหรือถูกคะอาจารย์😀🙏🌸
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
1) ช่วงหลับแบบ REM ครับ 2) พอได้ครับ แต่ไม่เสมอไป
@mountainview9195
@mountainview9195 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากค่ะอาจารย์🙏🥱😴😴
@pannko8888
@pannko8888 2 жыл бұрын
🥵ร้อน เบื่อจิงๆๆคนก็หายไปไหนหมด สบายดีนะค่ะ 🌹🌿🌿
@pannko8888
@pannko8888 2 жыл бұрын
คิดถึงเราบ้างมั้ยค่ะ❤️
@pannko8888
@pannko8888 2 жыл бұрын
คิดถึงก็บอกมานะคะจะได้เหมือนกัน🌹
@Chaweewan8769
@Chaweewan8769 4 ай бұрын
ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ที่พยายามช่วยเหลือไม่ให้เชื่อความรู้ที่ผิดๆ🙏
@กานดาธาราชีวิน
@กานดาธาราชีวิน 2 жыл бұрын
Like U Teach, Good more Coz have Reason ขอบคุณค่ะ
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับพี่หมอ🙏
@permch5051
@permch5051 2 жыл бұрын
สวัสดีครับคุณหมอ เเม่ผมติดเชื้อเมลิออยด์ครับ ตอนนี้เเม่อาการดีขึ้นมากเจาะคอเเล้วตอนนี้เริ่มพูดได้เเล้วยกเเขนยกขาเเล้วก็นั่งได้เเล้วครับ เมื่อ5-6วันที่เเล้วเเม่ไม่ได้ใช้เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เเต่มาวันนี้ทำไมถึงได้ใช้ครับ เเล้วเขาใช้ทำไมครับ
@permch5051
@permch5051 2 жыл бұрын
หลังจากที่เเม่ออกจากicuปกติเเม่ใช้เเต่เครื่องช่วยหายใจครับ (เเต่ไม่ได้ใช้ตลอดเวลา) เเต่มาวันนี้ทำไมได้ให้เครื่องให้สารละลายในหลอดเลือดดำอีกครับหรือ เเม่อาการเเย่ลงครับ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ต้องถามหมอที่รักษาครับว่าสารที่ให้คืออะไร
@WANWAnnzz
@WANWAnnzz 9 ай бұрын
อะไรที่คิดเเล้วมันไม่ดีก็ตัดมันออกไปจากชีวิตอะไรที่คิดเเล้วมันไม่ได้ประโยชน์เเถมได้โทษเราก็หยุดคิดคิดในสิ่งที่ดีเเละมีประโยชน์ คนที่เก่งที่สุดชนะกับทุกสิ่งคือคนที่เอาชนะใจตัวเองได้หยุดคิดในสิ่งที่ไม่ดีเเละไม่มีประโยชน์ต่อชีวิตความคิดไม่สร้างสรรค์ไม่มีอะไรดีมีเเต่บั่นทอรจิตใจเเละสุขภาพเริ่มต้นใหม่บอกกับตัวเราเองเราจะใช้ชีวิตที่มีเเต่ความสุขต่อไปนี้เราจะมีชีวิตที่ดีเเละมีเเต่ความสุขไม่ยุ่งเรื่องของคนอื่นคนที่ชอบยุ่งเรื่องคนอื่นคือคนไม่มีสติไม่มีความสุขเพราะชีวิตคงจะมาเฝ้ามองเเต่คนอื่นจนลืมมองตัวเอง อย่าเอามาตฐานความคิดของตัวเองมาตัดสินใจเเทนคนอื่น คนแบบนี้เชื่อเถอะไม่มีความสุขในชีวิตเพราะวันๆหนึ่งคงคิดเเต่เรื่องคนอื่นเอาชนะคนอื่น 😅😅😅😅น่าสงสารจริงๆมุนษย์รว่มโลกที่ไร้สมองเเละปัญญาคิดว่าตัวเองเก่งกล้าที่เเท้ก็ขี้เเพ้กวนฝาเท้า ❤❤❤❤ตามบ้านมีเยอะ🌞🌾🌾🌾🌾🌾✨✨✨✨✨เอาที่สบายใจเลยค่ะ❤❤❤❤
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
⚀มีคำถามค่ะ 🤔? ข้อ 1 ⚀ไม่สะดวกตอบผ่านไปได้เลยค่ะ 😊 Clinical Study หรือ Clinical Trial เป็นการทดลองจริงในคน แบ่งเป็นเฟสต่างๆ 1-3 ก่อนเฟส 1 เป็นเรื่องของ คอนเซ็ป - ลองในสัตว์ทดลองได้ผลดี - ลองในคนที่แข็งแรง - ลองในคนที่มีปัญหาต้องการใช้ยากลุ่มนั้น - ลองในโลกของความเป็นจริงว่ามีอะไรไหม 1 นอกจากหนูที่นำมาเป็นสัตว์ทดลอง มีสัตว์อะไรบ้างคะที่นิยมรองลงมาจากหนู (เฉพาะทดลองยารักษาโรคค่ะ) 2 "ลองในคนที่มีปัญหาต้องการใช้ยากลุ่มนั้น" หมายถึงลองกับคนไข้ที่กำลังรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือเปล่าคะ และถ้าใช่เขาจะทราบหรือมีสิทธิทราบหรือเปล่าค่ะว่ากำลังถูกทดลองยาอยู่ และต้องมีการเซ็นเอกสารยินยอมทดลองก่อนหรือเปล่าคะ ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
@@CherryChonny 😊ขอบคุณนะคะ คิดเหมือนกันค่ะว่า ถ้าแอบทำจะเป็นการละเมิดสิทธิคนไข้ แต่ก็อยากรู้จากคนที่อยู่หน้างานหรือเกี่ยวข้องกับคนไข้ว่า มันจะมีกรณีแบบที่ถามบ้างไหม สัตว์ทดลองจากที่ดูข้อมูลมีพอสมควร ทั้งทดลองยา ปลูกถ่ายอวัยวะ แต่คิดว่ารองจากหนูที่นำมาทดลองยาคือกระต่ายเหมือนกันค่ะ (เดาล้วนๆ😁)🌷🌻
@KarnTovara
@KarnTovara 2 жыл бұрын
สวัสดีค่า 1.นิยมทดลองในหนูค่า มีการทดลองในสัตว์อื่นบ้าง แต่ไม่นิยม เช่น กระต่าย สาเหตุที่ทดลงอในหนู เพราะว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มียีนส์ใกล้เคียงมนุษย์ ผลทดลองที่ออกมาก็จะใกล้เคียงกับการทดลองในคนค่า และหนูมีขนาดเล็ก เพาะพันธุ์ง่าย และให้ลูกในปริมาณมากค่ะ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็จะทดลองอย่างมีจรรยาบรรณนะค้า ต้องคิดแล้วว่าการทดลองในครั้งนั้นต้องคุ้มค่าค่ะ คิดอย่างรอบคอบและใช้ตามความจำเป็นค่า (หลังจากการทดลองยา ต้องกำจัดสัตว์ทดลองค่ะ เพราะไม่สามารถนำมาทดลองยาซ้ำค่ะ) 2.ต้องมีการเซ็นต์เอกสารยินยอมเข้าร่วมโครงการค่ะ (แต่การทดลองจะมีการให้ยาหลอกด้วย แต่จะไม่ทราบนะคะ ว่าตนเองได้รับยาหลอกหรือยาจริงค่ะ)
@KarnTovara
@KarnTovara 2 жыл бұрын
ขออนุญาตเล่าเสริมค่ะ... 😄 สมัยเรียนเภสัช - การผ่าดูอวัยวะภายใน: จะใช้กบค่ะ ขณะผ่ากบยังมีชีวิตค่ะ และได้รับยาสลบมาค่ะ เมื่อเปิดท้องกบออกมา หัวใจกบก็ยังเต้นอยู่ค่ะ มีการทดลองที่ต้องผ่ากบ หลายครั้งเลยค่า (ต้องผ่าทุกคนค่ะ ทำเป็นคู่ partner lab กัน) - การฉีดยา: ใช้หนูค่ะ มีการทดลองหลายครั้งค่ะ (ทำเป็นคู่ partner lab กัน) - มีการทดลองฉีดยาโดยใช้กระต่ายค่ะ ไม่ได้ทำทุกคนค่ะ มีแค่แลปเพียงครั้งเดียวค่ะ และอาจารย์ทำให้ดูเพียงตัวเดียวค่ะ (หยอดยาที่ตากระต่าย แล้วดูผลของยาค่ะ กระต่ายตัวโต ขนขาว น่ารักมากๆ ค่ะ) - ปัจจุบันพยายามลดแลปที่มีการใช้สัตว์ทดลองค่ะ ทำเป็นโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์แทน เป็น animation ค่ะ กดปุ่มก็จะเป็นการฉีดยาค่ะ กดปุ่มซ้ำคือการเพิ่มปริมาณยา ก็จะทำ animation เมื่อได้รับยาในปริมาณต่างๆ จะเกิดผลอย่างไรต่อสัตว์ทดลองค่ะ 🙂
@kerra3876
@kerra3876 2 жыл бұрын
แล้วยาหลอกมันคืออะไร มันคือ แป้ง คะ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
@@KarnTovara 😊ขอบคุณมากนะคะ ข้อมูลเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ 🌷เดาผิดไม่ใช่กระต่าย 555 2 แอบคิดนะคะว่า ถ้าเป็นตัวเองป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลคงอยากได้ยาที่ดีมีการรับรองแล้วมารักษาจะได้รีบหายป่วย ถ้าต้องลองยาใหม่อาจจะเครียด หายป่วยช้า 555 หรืออาจจะไม่ขอทดลองยาเลย กลัว 🌺🌷🌸
@Yodomedlao
@Yodomedlao 11 ай бұрын
สวัสดี ครับ อาจารย์ ช่วยทำ clip การอ่าน และ วิเคาะงาน medical research ได้ไหมครับ
@DrTany
@DrTany 11 ай бұрын
เคยอ่านให้ฟังเป็นตัวอย่างหลายคลิปแล้วครับ แต่มันไม่มีวิธีที่มาตรฐานใช่ได้ทุกครั้ง ดังนั้นมันต้องมีการประยุกต์ไปเรื่อยๆตามสิ่งที่อ่านครับ แต่เวลาเราอ่าน หลักการคือพยายามจับผิด หาจุดอ่อนครับ ถ้าหาได้แปลว่าเราเข้าใจละครับ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
⚀มีคำถามค่ะ 🤔? ข้อ 2 ⚀ไม่สะดวกตอบผ่านไปได้เลยค่ะ 😊 ศาสตราจารย์มีชื่อเสียงที่ทำงานวิจัยและตีพิมพ์ลงในวรสารชั้นนำของโลก ทำเรื่อง stem cell หัวใจ ถูกจับได้ว่าแปลงงานวิจัย ใช้สถิติเข้าข้างตัวเอง พอถูกจับได้ถูกถอดออกจากตำแหน่ง งานวิจัยถูกเพิกถอนหมด ปัจจุบันศาสตราจารย์คนนี้ยังทำงานด้านนี้อยู่บ้างไหมคะ หรือถูกตัดสิทธิ์ทำงานวิจัยตลอดชีวิตแล้วหายไปจากวงการนี้เลย และผิดลักษณะแบบนี้ต้องถูกดำเนินคดีด้วยหรือเปล่าคะ (ส่วนตัวคิดว่าแปลงงานวิจัยเป็นเรื่องใหญ่มีผลกระทบต่อหลายคน) ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
หนีไปประเทศอื่นแล้วครับ ผมก็ไม่ได้ตามข่าวครับ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
@@DrTany 😊ขอบคุณมากค่ะ เดี๋ยวจะลองหาชื่อดู เผื่อว่าจะหนีมาที่ไทย 555
@Hoshi1451
@Hoshi1451 2 жыл бұрын
@@Euang-Mali 555
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@youtubewatcher2179
@youtubewatcher2179 2 жыл бұрын
🤭555 คุณหมอตอบได้ดีมากเลยค่ะ👍
@phatnareepungluangchiroj8178
@phatnareepungluangchiroj8178 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ😊
@jitpakornboonna9565
@jitpakornboonna9565 2 жыл бұрын
คุณหมอคะ ที่ศาสตราจารย์คนนั้นถูกถอดงานวิจัย ในภายหลัง ? ที่เมกา มีกระบวนการตรวจสอบงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เหรอคะ 🙏👨‍⚕️😇 ค่าาา
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
มีคนอ่านแล้วแย้งไปหลายคนครับ
@jitpakornboonna9565
@jitpakornboonna9565 2 жыл бұрын
@@DrTany 🙏👨‍⚕️😇
@sorattyahattapasu7765
@sorattyahattapasu7765 2 жыл бұрын
อจ.หมอแทน คะมีงานวิจัยไหมคะคือคนเป้นโควิคไปฉีดวัคชีนไฟเชอร์ ไม่รู้ว่าตัว ว่าติดโควิมาก่อน ฉีดกลับมาบ้าน ตอนดึกเกิดอาการไอเจ็บคอมีไข้ต่ำ ตรวจATkมี2ขีด กังวังจังคะ เข็ม3คะ ฉีด AT+Fz+Fz. จะมีผลอะไรไหมคะ แก้ไขอย่างไรดีคะ
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
ไม่เป็นไรค่ะ เจ็บคอ มีไข้ ทานฟ้าทะลายโจร หรือ ยา ตามอาการได้ค่ะ อย่าเครียดนะคะ คุณฉีดวัคซีนมาแล้วอาการไม่หนักค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
แนะนำเพิ่มเติมนะคะ รายละเอียดจากคลิปคุณหมออธิบายไว้ เรื่อง "เป็นโควิดโดยไม่รู้ตัว ไปฉีดวัคซีนเป็นอะไรหรือไม่" kzbin.info/www/bejne/iH21e6GEnpeikLs
@spra88
@spra88 2 жыл бұрын
ฟ้าทะลายโจรก็ไม่ควรใช้?
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ใช้ได้ค่ะ ใช้เมื่อเริ่มมีอาการไข้ เจ็บคอ เวลามีอาการหวัดทั่วๆไป แต่ยังไม่มีการวิจัยว่า ป้องกันไวรัสโควิดค่ะ แต่ถ้าอยากใช้ก็ใช้ได้ค่ะ
@kukrejapemika
@kukrejapemika 2 жыл бұрын
อาจารย์หมอคะ อยากทราบว่าเชื้อโควิดสามารถติดจากการทานอาหารที่มีการปนเปื้อนจากเชื้อได้ไหมคะ ยกตัวอย่างเช่นถ้าพนักงานทำอาหารไม่สบายเป็นโควิดและมีการไอใส่อาหาร และเราทานเข้าไปเปอร์เซ็นต์ในการติดมีเยอะไหมคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
แนะนำคลิปนี้ค่ะ ติดโควิดจากอาหารได้หรือไม่ ควรป้องกันอย่างไร kzbin.info/www/bejne/iYOrZI2ul6yXp5Y
@kukrejapemika
@kukrejapemika 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa ขอบคุณมากค่ะ
@kukrejapemika
@kukrejapemika 2 жыл бұрын
@@CherryChonny ขอบคุณมากค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@kukrejapemika ยินดีค่ะ
@ณฐพลวุฒิไกรวณิชย์-ฌ2ฌ
@ณฐพลวุฒิไกรวณิชย์-ฌ2ฌ 2 жыл бұрын
#แอบรักน้อนสฺปฺทฺ์โรซี่
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
อาจารย์คะ ตกลงว่าชื่อ Piero Anversa ใช่ไหมคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ใช่ครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณค่ะอาจารย์
@Betterworld233
@Betterworld233 2 жыл бұрын
ไทยเสียเปรียบต่างชาติก็เรื่องไม่ค่อยเก่งเรื่องงานวิจัยเนี่ยล่ะค่ะ ซึ่งจริงๆแล้วมีประโยชน์มากๆในทุกสาขาอาชีพ ชอบคลิปอ่านงานวิจัยของอาจารย์มากค่ะดูเท่ห์ไม่เหมือนใคร👏👍😁🥰🙏
@oppotelewiz59
@oppotelewiz59 2 жыл бұрын
นอกเรื่องหน่อยค่ะ ถ้าวิ่งออกกำลังกาย 30 นาทีไม่เหนื่อยถือว่าเป็นความดันในปอดใหมค่ะ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ตอบตรงนี้ให้นะคะ ไม่ใช่นะคะ อาการความดันเลือดในปอดมี 1เหนื่อยง่าย ขณะออกแรง 2 อ่อนเพลีย 3เจ็บหน้าอก 4 หัวใจเต้นเร็ว 5หน้ามืดเป็นลมหมดสติ ุ6 ไอเรื้อรัง ไอ เป็นเลือด 7ท้องโตมีน้ำในช่องท้อง 8ขาบวม เท้าบวม 9 ปลายมือปลายเท้าเขียว
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ที่ไม่เหนื่อย อาจจะเป็นเพราะคุณวอร์มอัพก่อนวิ่ง กล้ามเนื้อแข็งแรง และหายใจขณะวิ่งได้อย่างถูกหลักก็ได้นะคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ถ้าวิ่งไม่เหนื่อย มันไม่ได้บ่งบอกโรคอะไรครับ ร่างกายน่าจะแข็งแรงพอดู ถ้าอยากเหนื่อยลองวิ่งให้เร็วขึ้นดูครับ
@oppotelewiz59
@oppotelewiz59 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@WorapatYommana
@WorapatYommana 2 жыл бұрын
สวัสดีครับ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ขออนุญาติทักทายเม้นพี่นะคะ อยากจะบอกว่าใด้เข้าไปฟังเพลงในช่องของพี่ชึ่งเป็นเพลงเก่าๆเพราะมากเลยนะคะ ถึงแม้ว่าปกติจะติดฟังแต่เพลงแรป ฮิบฮออป ก็ตาม ขอให้พี่เอาเพลงเก่าๆมาลงเรื่อยๆเลยนะคะ แล้วจะตามเข้าไปฟังนะคะ ขอบคุณค่ะ
@nurseza22
@nurseza22 10 ай бұрын
ยากจังงงงงงงง
@narlaw1342
@narlaw1342 2 жыл бұрын
@sanpdinocat
@sanpdinocat 2 жыл бұрын
🦁
@Hoshi1451
@Hoshi1451 2 жыл бұрын
🎉🌈เป็นกำลังใจให้อาจารย์หมอแทน🧑‍⚕️ ทำคลิปดีๆต่อไป ท่านสามารถ👉👉 🧸กด☑️ติดตาม🕰️ 🎨กด☑️แจ้งเตือน💓 🎈🥳พิเศษตอนนี้เปิดรับ▶️สมัครMembership แล้ว ซึ่งมีคอนเทนต์สนุกๆต่างๆมากมายที่อาจารย์หมอ🧑‍⚕️ทำคลิปไว้ เป็นVlog ช่วงใน1วัน ที่อาจารย์หมอพาไปดูสถานที่ต่างๆ🕍หรือกิจกรรมตอนอยู่บ้าน🏠🐶 ซึ่งคอนเทนต์ต่างๆนี้ไม่มีลงในยูทูปนี้ 🧸ท่านสามารถกดสมัครที่ปุ่มด้าน บน🔼ได้เลยค่ะ🌷🌟🎠
@Hoshi1451
@Hoshi1451 2 жыл бұрын
@@CherryChonny เพิ่งมาสมัครMembership ไม่นานนี้เองค่ะ มีคอนเทนต์ ให้ดูเยอะมากดูไม่ทันเลยค่ะ555 อยากเจอน้องโรซี่ค่ะ..รู้งี้สมัครนานแล้ว😊 มีสอนออกกำลังกายด้วย อาจารย์หมอ..มาสอนเองเลยดูท่าออกกำลังง่ายๆนะคะ แต่ทำตามแล้วไม่ธรรมดาเลยค่ะ👍😊
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
@@Hoshi1451 😊👍💖🌻🌷
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
⚀มีคำถามค่ะ 🤔? ข้อ 3 ⚀ไม่สะดวกตอบผ่านไปได้เลยค่ะ 😊 ความน่าเชื่อถือของ review article คุณหมอแทนจะให้น้ำหนักความน่าเชื่อถืออย่างละกี่เปอร์เซ็นต์ระหว่าง - คนทำ review article - วิธีที่เลือกงานวิจัยมาว่าทำอย่างไร ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
@@CherryChonny 😊 แสดงความคิดเห็นได้เลยค่ะ ไม่ต้องขออนุญาต แม้จะถามคุณหมอแทนเพราะอยากได้ความคิดเห็นจากคนที่อ่านงานวิจัยบ่อยๆ แต่ความคิดเห็นของเพื่อนๆที่นี่ก็เป็นประโยชน์เหมือนกันค่ะ 😊🌷🌻 เราก็เห็นด้วยกับคุณ Chon Chon นะคะเรื่องนี้ แต่ก็แอบคิดไม่ได้ว่าจะมีไหมที่ คนอ่านงานวิจัยเชื่อในตัวผู้เขียนจนไม่พิจารณาด้านอื่น อ้อ ไม่ได้หมายถึงคุณหมอแทนนะคะ 😁 เพราะจากคำถามก็พอจะรู้ว่าคุณหมอแทนจะให้เปอร์เซ็นต์อะไรมากกว่า
@kerra3876
@kerra3876 2 жыл бұрын
ถ้าคุณหมอเห็นก็จะตอบให้คะไม่ปล่อยผ่านคะ นอกจากจะไม่เห็น หรือถ้าตอบไม่ได้ไม่ใช่สิ่งที่ถนัดก็จะบอก ไม่ทราบ คะ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
@@kerra3876 😊🌷 ค่ะเห็นด้วยเลย คุณหมอแทนไม่เคยปล่อยผ่านตอบตลอดค่ะ ไม่ทราบก็จะบอกไม่ทราบ เป็นอย่างนี้มาตลอดค่ะตั้งแต่เราเข้ามาช่องนี้ อันนี้เราทราบดี 😁 ขอบคุณที่พูดเรื่องนี้นะคะ ทำให้เราได้อธิบาย ที่เขียนบอกว่าไม่สะดวกตอบผ่านไปได้เลย เพราะเราคิดว่า - คำถามอาจจะสร้างความไม่สบายใจไม่สะดวกใจที่จะตอบ ซึ่งเราไม่รู้ ก็จะได้เลือกได้ว่าไม่ตอบก็ได้ - คุณหมอแทนมีงานประจำอยู่แล้ว อาจจะไม่มีเวลามาตอบเรา ก็ไม่เป็นไรค่ะ
@kerra3876
@kerra3876 2 жыл бұрын
@@Euang-Mali แต่กับเราหมอไม่เคยตอบเลย เพราะไม่เคยถาม เฮ่ GN คะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ดูวิธีเลือกครับ
@kanchariyahinsungneon8643
@kanchariyahinsungneon8643 2 жыл бұрын
😊😊🙏🏻🙏🏻❤️❤️
@beam9158
@beam9158 2 жыл бұрын
🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰
@kornveeka
@kornveeka 2 жыл бұрын
🙏❤🙋‍♀️🙂👌😁
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
คุณหมอคะ รบกวนถามค่ะว่า แบบนี้เรียกว่างานวิจัยที่เชื่อได้ไหมคะ รบกวนคุณหมอช่วย ก็อปไปเปิดในกูเกิ้ล // ยูทูป เขาไม่ให้แปะ link ค่ะ az mrna equivalent protection อันแรกจาก web บริษัท AZ ค่ะ ออกมาเมื่อ ปลาย เมษา 2022 ขอบคุณค่ะ 🙏🙏
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
อันนี้น่าจะต้องอ่านเพิ่มครับ แต่ข้อมูลทั้งหมดที่มีมันไม่ equivalent ครับ mRNA ยังคงดีกว่าครับ
@ราชันย์จันทีเทศ-ป4ด
@ราชันย์จันทีเทศ-ป4ด Жыл бұрын
ผมหยากทดลองผมหยากทดสอบมันอาจจะรักษาคนไทยได้ทั้งประเทศก็เป็นไปได้นะครับ
@chanakanphilarak
@chanakanphilarak 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@ภัทราอินทรมหาชัย-ฆ5ษ
@ภัทราอินทรมหาชัย-ฆ5ษ 2 жыл бұрын
สวัสดีรอบสองค่ะอาจารย์ฟังอาจารย์แล้วสบายใจค่ะขอบพระคุณมากๆนะค่ะ
Крутой фокус + секрет! #shorts
00:10
Роман Magic
Рет қаралды 41 МЛН
World‘s Strongest Man VS Apple
01:00
Browney
Рет қаралды 59 МЛН
ДЕНЬ УЧИТЕЛЯ В ШКОЛЕ
01:00
SIDELNIKOVVV
Рет қаралды 4 МЛН
Крутой фокус + секрет! #shorts
00:10
Роман Magic
Рет қаралды 41 МЛН