Рет қаралды 65,336
การแสดงชุดที่ 8 ฟ้อนหางนกยูง
ผู้ถ่ายทอดท่ารำ อาจารย์ วัฒนศักดิ์ พัฒนภูทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ศราวดี ภูชมศรี
ผู้แสดง นางสาวอัจฉราภรณ์ กะกุลพิมพ์
..........................................................
ประวัติความเป็นมาของการฟ้อนหางนกยูง
ฟ้อนหางนกยูงเป็นศิลปะการฟ้อนรำที่เก่าแก่และงดงามของจังหวัดนครพนมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีพัฒนาการมาอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง ท่ามกลางการแสดงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากการฟ้อนที่อยู่ในพิธีกรรมถวายเทียนซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผี ฟ้อนหางนกยูงก็พัฒนาเป็นการฟ้อนในพิธีบูชาพระธาตุพนมซึ่งเป็นพิธีกรรมของพุทธศาสนา
ประวัติความเป็นมาของฟ้อนหางนกยูงมี 3 ยุค ดังต่อไปนี้
1. ประวัติความเป็นมาของการฟ้อนหางนกยูงในยุคที่ 1 ก่อนปี พ.ศ 2498
2. ประวัติความเป็นมาของการฟ้อนหางนกยูงในยุคที่ 2 ปี พ.ศ 2498-2530
3. ประวัติความเป็นมาของการฟ้อนหางนกยูงในยุคที่ 3 ปี พ.ศ 2530-ปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาโดยย่อของการฟ้อนหางนกยูงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในอดีตฟ้อนหางนกยูงเคยเป็นการละเล่นในพิธีกรรมถวายเทียนของชาวเมืองนครพนมพิธีกรรมถวายเทียนนี้จะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา จุดประสงค์เพื่อบูชาและขออนุญาตเจ้าหมื่นซึ่งตามความเชื่อของชาวนครพนมเชื่อว่าเจ้าหมื่นคือ มเหสักข์หลักเมืองหรือวิญญาณของเจ้าหมื่นที่คุ้มครองชาวนครพนมและนอกจากจะดูแลชาวนครพนมแล้วยังดูแลรักษาแม่น้ำโขงในเขตนครพนมอีกด้วย จากตำนานที่ก่อให้เกิดความเชื่อนี้ ทำให้ชาวนครพนมไม่ว่าจะประกอบกิจกรรมใดๆในชุมชนก็แล้วแต่จะจ้องทำพิธีกรรมบอกกล่าวขออนุญาตเจ้าหมื่นทุครั้งไป โดยเฉพาะการแข่งขันเรือยาวของชาวคุ้มวัดต่างๆ ในเขตเมืองนครพนม พิธีกรรมถวายเทียนที่จะมีการประกอบพิธีบริเวณศาลเจ้าหมื่นซึ่งตั้งบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงหน้าวัดโอกาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยเดิมของเจ้าหมื่นเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่
เมื่อถึงวันแข่งเรือยาวตามที่ประชุมกันไว้แล้วชาวคุ่มวัดต่าง ๆ และเรือที่ได้รับเชิญก็จะตกแต่งหัวเรือและท้ายเรือของตนเองให้สวยงามแล้วผู้ที่จะแข่งขันจะต้องนำเรือยาวของตนเองพร้อมฝีพายที่จะเข้าร่วมการแข่งขันมาจอดเทียบท่าบริเวณศาลเจ้าหมื่นหน้าวัดโอกาส เพื่อร่วมพิธีกรรมถวายเทียน
สิ่งที่เรือยาวแต่ละลำจะต้องเตรียมก็คือ กระหย่องใส่ขัน 5 ได้แก่ ดอกไม้ 5 คู่ เทียน 5 คู่ ตั้งไว้บนเรือเพื่อบูชาแม่ย่านาง พร้อมกับผู้ฟ้อนหางนกยูงประจำเรือลำละ 1 คน ถ้าฝีพายเป็นผู้ชายให้ผู้ฟ้อนเป็นผู้ชาย ถ้าฝีพายเป็นผู้หญิงให้ใช้ผู้ฟ้อนเป็นผู้หญิง เมื่อเรือทุกลำมาพร้อมกันแล้วแม่นางทรงก็จะประกอบพิธีกรรมถวายเทียนเมื่อแม่นางทรงทำพิธีขอนุญาติเจ้าหมื่นแล้วก็จะเริ่มฟ้อนหางนกยูงผู้ฟ้อนจะลงไปฟ้อนบนหัวเรือที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อเป็นการบูชาเจ้าหมื่น ในการฟ้อนหางนกยูงผู้ฟ้อนจะฟ้อนไปตามความสามารถของบุคคลในยุคที่ 1
ฟ้อนหางนกยูงเป็นนาฏกรรมที่ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตของชาวนครพนมเรื่อยมาและต่อเนื่องมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ 2549 เมื่ออาจารย์เกษมสุข สุวรรณธรรมมา ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ได้มารับราชการครูที่โรงเรียนบ้านหนองจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในวัยเยาว์อาจารย์เกษมสุขเป็นผู้มีพรสรรค์ในการฟ้อนรำและมีใจรักในการฝึกหัดวิชานาฏศิลป์ทุกประเภท โดยที่ตนเองไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาของกรมศิลปากรมีเพียงแต่ได้ฝึกหัดการฟ้อนรำจากศิลปินพื้นบ้านรวมไปถึงการฟ้อนหางนกยูงด้วยทำให้ฟ้อนหางนกยูงเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
"เมื่อประมาณ 100 ปีเศษ โดยมีคุณตาพัน เหมหงษ์ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดนครพนมโดยกำเนิด ท่านเป็นบุตรของอุปฮาดคนหนึ่งในสมัยโบราณ เมื่อครั้งที่คุณตาท่านมีชีวิตอยู่ ท่านมีชีวิตโลดโผนเป็นนักสู้รบมาก่อน ท่านสนใจการฟันดาบ เพลงดาบ กระบี่กระบอง และมวย ท่านจึงกลายเป็นครูดาบ กระบี่กระบอง และมวย เป็นผู้มีฝีมือเยี่ยมยุทธ์คนหนึ่ง
และเวลาว่าง ๆท่านก็ชอบออกล่าสัตว์ หมูป่า และนกต่าง ๆ จากนั้นก็สะสมของป่าเอาไว้ เช่น หางนกยูง แล้วนำมามัดเป็นกำ ๆ แล้วคิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนรำขึ้น ซึ่งมีลีลาคล้ายกับการฟ้อนดาบแล้วก็นำไปถ่ายทอดให้ลูกหลานต่อไป"
การฟ้อนหางนกยูงนี้ในสมัยก่อนนิยมฟ้อนเดี่ยวบนหัวเรือแข่ง เมื่อมีงานประจำปีงานออกพรรษาความเชื่อว่าก่อนทีจะนำเรือเข้าแข่งจะนำเรือขึ้นไปถวายสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าจะนำเรือเข้าแข่งขัน และจะต้องฟ้อนหางนกยูงเพื่อถวายต่อหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองด้วย การฟ้อนหางนกยูงนี้จะฟ้อนเฉพาะเรือแข่งที่สำคัญและมีขื่อเสียงโด่งดังเท่านั้น
ศิลปะการฟ้อนหางนกยูงนี้ มีลีลาอ่อนช้อย สวยงาม ถ้าขาดความอ่อนช้อยแล้วก็ขาดความสวยงามไป การฟ้อนหางนกยูงหาคนฟ้อนสวยได้ยาก ด้วยเหตุนี้การฟ้อนหางนกยูงจึงหยุดชะงัก
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2491 นางเกษมสุข สุวรรณธรรมมา ซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงเรียนอุเทนวิทยาคาร อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ได้ย้ายไปรับราชการที่โรงเรียนบ้านหนองจันทน์ ตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม ซึ่งมีนายทวี สุริรมย์ เป็นหลานของคุณตาพัน เหมหงษ์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการฟ้อนหางนกยูงนี้ไว้ นางเกษมสุข สุวรรณธรรมมา จึงได้โอกาสและขอถ่ายทอดฟ้อนหางนกยูงนี้ไว้ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2493 จึงได้นำไปฝึกสอนให้แก่นักเรียนในโรงเรียน เมื่อ พ.ศ. 2495 ซึ่งนางเกษมสุข สุวรรณธรรมา คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายท่า