ปุ๋ยละลายช้า Slow Release Fertilizer คืออะไร ดีต่อพืชอย่างไร ใช้เมื่อไร มีวิธีการใช้อย่างไร

  Рет қаралды 46,190

Muuyehn Studio

Muuyehn Studio

3 жыл бұрын

๐ ปุ๋ยละลายช้า คืออะไร
ปุ๋ยละลายช้า (Slow Release Fertilizer) คือ ปุ๋ยถูกผลิตขึ้นโดยมีการให้การเคลือบป้องกันหรือห่อหุ้มปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ ด้วยสารจำพวกพลาสติกเรซิ่นหรือโพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ (Water-insoluble) อนุญาตให้โมเลกุลหรือประจุบางชนิดผ่านไปได้ (Semi-permeable) หรือไม่สามารถซึมผ่านทางรูได้ (Impermeable with pores) โดยสารที่ทำหน้าที่เคลือบปุ๋ยเหล่านี้จะค่อยๆ สลายลงจากน้ำ ความร้อน แสงแดด และ/หรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน รวมถึงการที่มีองค์ประกอบของกำมะถัน จึงทำให้เกิดการควบคุมการเข้าและอัตราการสลายตัวของปุ๋ย ดังนั้นจึงทำให้เกิดการการปลดปล่อยสารอาหารออกมาในปริมาณน้อย ๆ อย่างคงที่โดยสอดคล้องความพร้อมใช้งานของพืช
๐ ข้อได้เปรียบของการใช้ปุ๋ยละลายช้า
1. ใช้ได้อย่างเหมาะสมช่วงพัฒนาการของพืช (Optimal plant development)
การเจริญเติบโตในช่วงต่างๆของพืชมีความต้องการใช้ธาตุอาหารที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละช่วงระยะเวลาซึ่งมีปริมาณที่ใช้แตกต่างกันไปด้วย ที่เติมปุ๋ยละลายช้าให้สอดคล้องตามช่วงระยะเวลาที่พืชต้องการจึงทำให้มีการปลดปล่อยธาตุอาหารตลอดช่วงระยะเวลาที่ต้องการนั้นอย่างสม่ำเสมอ
2. ใช้งานได้ง่าย (Ease of Use)
การใช้งานของปุ๋ยละลายช้าไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพอากาศที่ต้องใช้ในขณะนั้นว่าจะมีฝนตกลงมา เพียงพอต่อการทำละลายปุ๋ยหรือไม่ ซึ่งการใส่ปุ๋ยละลายเร็วจะต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำเพื่อการทำละลายปุ๋ย มิเช่นนั้นจะเกิดความเสียหายจากการที่ปุ๋ยมีความเข้มข้นมากเกินไปจนทำอันตรายต่อพืชได้
3. ลดต้นทุนการใช้งาน (Saves labor and time)
ความสามารถที่จะค่อย ๆปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช จึงทำให้ไม่จำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยหรือเติมธาตุอาหารเหล่านี้ให้กับพืชอย่างบ่อยครั้งหรือมีความถี่มากนัก ในกรณีที่ปลูกพืชจำนวนมากทำให้ต้องใช้แรงงานหรือระยะเวลานานในการที่จะต้องตื่นปุ๋ยลงไปให้กับพืชการใช้ปุ๋ยละลายช้าจะทำให้ประหยัดแรงงานและประหยัดเวลามากขึ้น
4. ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมลดลง (Reduced environmental impact)
ขอด้อยของการใช้ปุ๋ยเคมีในการสร้างการเจริญเติบโตให้กับพืชนั้น มักจะมีปัญหาจากการให้สารเคมีจำนวนมากลงในดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของดิน ตลอดจนการมีสารเคมีตกค้างในระบบนิเวศ การให้ปุ๋ยละลายช้าซึ่งมีการควบคุมการปลดปล่อยทาสอาหารออกมาทีละเล็กน้อย สอดคล้องกับความต้องการใช้ของพืช จึงทำให้โอกาสของสารเคมีที่มีเหลือเกินและตกค้างในระบบนิเวศลดน้อยลง
๐ ปุ๋ยละลายช้า ใช้อย่างไร
มีวิธีการใช้ปุ๋ยละลายช้ากับไม้ดอกไม้ประดับหรือพืชพันธุ์ในการตกแต่งสวนอย่างหลากหลายวิธีด้วยกัน คือ
1. ผสมไปพร้อมกับดินปลูก วิธีการนี้ให้ทำการผสมปุ๋ยละลายช้าในขั้นตอนของการผสมดินปลูก ช่วยทำให้ธาตุอาหารของพืชกระจายอยู่ในส่วนผสมของดินแล้วค่อยๆ ละลายออกมาเป็นประโยชน์ในระยะแรกของการย้ายปลูกลงในกระถางที่มีการผสมดินปลูกนั้น
2. รองก้นกระถางหรือรองก้นหลุม วิธีการนี้เหมาะกับไม้ยืนต้น ไม้พุ่มขนาดใหญ่ ไม้พุ่มขนาดกลาง ใช้รองก้นหลุมเพื่อให้ร่าสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้ดีขึ้น ทั้งเป็นการดีเพราะรากมีโอกาสสัมผัสกับเม็ดปุ๋ยโดยตรงทำให้อัตราการนำไปใช้งานทำได้ดีขึ้น
3. ขุดเป็นหลุมแล้วหยอดฝังกลบ ใช้ในกรณีสำหรับไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้นที่ปลูกลงในดินเป็นระยะเวลานานไม่สามารถจะพรวนดินโดยรอบได้ หรือเป็นต้นไม้ที่มีการปิดทับผิวหน้าพบบริเวณรากด้วยวัสดุแข็งอื่น ๆ เช่น คอนกรีตแผ่นพื้นทางเดิน เป็นต้น ขุดเป็นหลุมบางช่วงบริเวณผิวหน้าดิน ช่วยเพิ่มโอกาสให้สามารถใส่ปุ๋ยละลายช้าลงไปทำให้พืชสามารถสัมผัสกับธาตุอาหารที่เติมลงไปได้ง่ายขึ้น
4. โรยลงไปบนผิวดินหรือกระถาง วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในบรรดาวิธีการต่าง ๆ เนื่องจากสามารถใส่ลงไปโดยตรงบนผิวกระถาง ผิวดิน หว่านลงไปโดยตรงในสนามหญ้า จากนั้นทำการลดน้ำตาลจะทำให้ปุ๋ยละลายช้าค่อยค่อยปลดปล่อยทาสอาหารออกมาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ครั้งที่มีการสัมผัสน้ำ อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีข้อด้อยจากการรดน้ำที่อาจทำให้ปุ๋ยละลายช้ากระเด็นออกนอกพื้นที่ต้องการใส่ปุ๋ยได้
๐ ควรเติมปุ๋ยละลายช้าลงไปใหม่เมื่อไหร่
การเติมปุ๋ยละลายช้าลงไปควรกระทำเมื่อปุ๋ยมีการละลายออกมาจากสารเคลือบหมดแล้ว สามารถดำเนินการได้สองรูปแบบ คือ
1. พิจารณาจากระยะเวลา โดยเติมปุ๋ยภายหลังจากการที่ใส่ปุ๋ยลงไปครั้งแรก ในระยะเวลาหกเดือน
2. พิจารณาจากจากกายภาพของปุ๋ยละลายช้าโดยผิวของสารเคลือบจะมีความใสมากขึ้น แสดงสัญญาณของปุ๋ยที่อยู่ภายในถูกละลายเกือบหมดแล้ว
๐ ควรคำนึงถึงในการใช้ปุ๋ยละลายช้า
1. ปุ๋ยละลายช้าไม่ได้เหมาะกับทุกสถานการณ์ในการใช้งาน หากเราทราบว่าต้องการ เติมธาตุอาหารให้กับพืชในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งและมีความพร้อมในการทำละลายปุ๋ยได้เป็นอย่างดีและสามารถควบคุมปริมาณของปุ๋ยที่จะเติมลงไปได้อย่างเหมาะสมจงเลือกใช้ปุ๋ยละลายเร็วมากกว่าปุ๋ยละลายช้า
2. ปุ๋ยละลายช้ามีการควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชในรูปแบบที่ล่าช้า มีความพร้อมใช้งานสำหรับการดูดซึมของพืช หลังจากการเติมปุ๋ยลงไปในดินได้ยาวนานกว่าใช้งานของปุ๋ยละลายเร็ว
3. ปุ๋ยละลายช้า มีการควบคุมสามารถค่อยปลดปล่อยสารอาหารและตอบสนองความต้องการของสารอาหารที่เปลี่ยนแปลงของพืชผลตลอดวงจรการเติบโตเพิ่ม ทำให้การให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพก และลดความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมลง
4. แม้ปุ๋ยละลายช้า โดยทั่วไปมีอัตราการปลดปล่อยสารอาหารมากกว่าปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ทั่วไป ก็มิได้หมายคงามว่าอัตรารูปแบบและระยะเวลาของการละลายออกมาของธาตุอาหารจะถูกควบคุมอย่างดีหรือตายตัว เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้การปลดปลอยธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ขับเคลื่อนด้วยความชื้นและอุณหภูมิในดิน ปุ๋ยละลายช้าช้าสามารถปล่อยได้อย่างรวดเร็วเป็นครั้งคราว เมื่อดินมีความชื้นมากเกินไปและอุณหภูมิสูงเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
5. การใช้ปุ๋ยละลายช้า สามารถลดการสูญเสียธาตุอาหาร ไปอย่างเปล่าประโยชน์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเป็นสารอาหารสำหรับพืช และปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น

Пікірлер: 258
@GrannyNimmy
@GrannyNimmy 3 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ☺️
@user-dp4mu1us3j
@user-dp4mu1us3j 3 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ
@user-nl2de1ih5v
@user-nl2de1ih5v 3 жыл бұрын
ละเอียดได้ความรู้มากครับ
@yoswadeesornvai4865
@yoswadeesornvai4865 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้ค่ะ
@dusaneesupawantanakul8575
@dusaneesupawantanakul8575 3 жыл бұрын
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ ติดตามนะคะ
@user-rm2gq7kk7q
@user-rm2gq7kk7q 3 жыл бұрын
ชอบค่ะอธิบาย​ละเอียด​สุภาพ​ได้ความ​รู้​เยอะ​เลย​
@user-zy9up7mp2r
@user-zy9up7mp2r
ขอบคุณครับ มีประโยชน์มาก
@chantimakraithong3884
@chantimakraithong3884 3 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะ เป็นมือใหม่ได้รับประโยชน์มากค่ะ
@manee26
@manee26 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ ถ่ายทอดได้ดีมากค่ะ
@doungdaosomtanong6717
@doungdaosomtanong6717 3 жыл бұрын
สุดยอดค่ะ​ ได้ความรู้มากมายๆ
@usazakna4296
@usazakna4296 3 жыл бұрын
พึ่งเข้ามาติดตาม ค่อยๆดูไปทีละคลิป ทีละคลิป ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ fcนะค่ะ
@phiratay9977
@phiratay9977 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับอาจารย์
@rchp4488
@rchp4488 2 жыл бұрын
ขอบคุณ​ค่พ กำลังเริ่มปลูกต้นไม้
@FineSilvery_
@FineSilvery_ 3 жыл бұрын
คอนเทนต์คุณภาพมากๆครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลและความรู้ ฟังเพลินๆ ติดตามยาวๆครับ 🤟
@iampeople.8978
@iampeople.8978 2 жыл бұрын
ดีมากเลยครับ.
@aorjah24
@aorjah24 3 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์
@natthern9220
@natthern9220 3 жыл бұрын
อยากให้ช่องพี่ดังมากๆ ตั้งใจทำทั้งปกทั้งเนื้อหาเลย สู้ๆค่ะ
@mousebankweak4055
@mousebankweak4055 3 жыл бұрын
โชคดี​มากได้เจอคลิบความรู้​จากพี่ขอบคุณ​มาก​ค่ะ​หนู​ติดตาม​ตลอดนะคะขอบคุณ​มาก​ค่ะ​
@user-ck5dq7po6s
@user-ck5dq7po6s 2 жыл бұрын
ขอบคุณคะ มือใหม่ หัดปลูก มาฟัง แล้วมี ประโยชน์ มาก
@nichasongcha9989
@nichasongcha9989 2 жыл бұрын
ชอบมากเลยค่ะ เข้าใจสลับกันมาตลอดเนย ระหว่าละลายเร็ว กับ ช้า
Heartwarming Unity at School Event #shorts
00:19
Fabiosa Stories
Рет қаралды 22 МЛН
All you need to know about fertilizing houseplants
33:55
OnlyPlants
Рет қаралды 39 М.
หลักการใส่ปุ๋ยไม้ผล..ให้ได้ประโยชน์สูงสุด...
24:34
Kasetworld โลกแห่งการเกษตร
Рет қаралды 28 М.
ปุ๋ยละลายช้าดีอย่างไร
12:02
Kasetworld โลกแห่งการเกษตร
Рет қаралды 10 М.
Heartwarming Unity at School Event #shorts
00:19
Fabiosa Stories
Рет қаралды 22 МЛН