No video

ภัยเงียบไมโครพลาสติก

  Рет қаралды 35,445

Doctor Tany

Doctor Tany

9 ай бұрын

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 308
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
ภัยเงียบไมโครพลาสติก #Microplastic #Phthalate #bpa สวัสดีครับ มีคนสอบถามเข้ามานะครับว่าการใช้ภาชนะพลาสติกเพื่ออุ่นอาหารในไมโครเวฟมันจะเกิดอันตรายขึ้นหรือเปล่านะครับ รวมทั้งถุงพลาสติกชนิดต่างๆซึ่งเราเอาใส่อาหารร้อนมันจะเป็นปัญหาหรือเปล่าพลาสติกจะละลายเข้าไปในอาหารทำให้เราได้รับพวกนี้เข้าไปในร่างกายไหม พลาสติกมีอันตรายอย่างไรนะครับ วันนี้ผมก็เลยอยากจะเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังเลยนะครับเพราะว่าหลายๆคนอาจจะคุ้นเคยแล้วก็เดี๋ยวนี้เริ่มมีการกล่าวถึงพลาสติกบางอย่างเช่นไมโครพลาสติกนะครับสาร BPA สาร Phthalate ของพวกนี้มันคืออะไร เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไร และเรามีวิธีในการป้องกันพวกนี้อย่างไรได้บ้างนะครับ พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวันนะครับ เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ ก่อนอื่นนะครับผมต้องขอกล่าวให้ทุกคนทราบก่อนว่าพลาสติกเนี่ยจริงๆมันคืออะไรกันแน่นะครับ? ➡️พลาสติกมันมีต้นกำเนิดมาจากน้ำมันดิบนี่แหละครับ น้ำมันดิบนี้มันมีการกลั่นแล้วก็การเผาไหม้จนสามารถที่จะทำให้เกิดสารพวกอีเทน โพรเพนนะครับ แล้วสารตัวนี้มันก็ไปทำปฏิกิริยาต่อนะครับในกระบวนการสร้างพลาสติกเกิดเป็นสารพวก Ethylene Propylene นะครับแล้วโมเลกุลเหล่านี้เราจับมันมาต่อกันเป็นสายยาวๆเราจะเรียกมันว่าโพลิเมอร์ ในที่สุดก็จะเกิดการประกอบกันไปเป็นสารที่เรียกว่าเป็นพลาสติกนะครับ แต่ในกระบวนการมันก็ไม่ได้มีพลาสติกเพียงแค่ชนิดเดียวมันมีการเติมสารเคมีชนิดอื่นๆเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น สาร Bisphenol A หรือ BPA นะครับเพื่อที่จะทำให้พลาสติกตัวนั้นมันมีความทนทานนะครับแล้วก็บางกรณีเราเติมสาร Phthalate เข้าไป Phthalate นี้มันก็จะทำให้พลาสติกนี้มันมีมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้นะครับเราจับมันดัดได้เป็นรูปร่างตามที่เราต้องการนะครับ แต่ของพวกนี้ทั้งหมดมันก็กลายไปเป็นปัญหาต่อสุขภาพนะครับ และผมเชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยได้ยินมาว่าพลาสติกเหล่านี้มันใช้เวลานานมากๆเลยกว่าจะย่อยสลายได้บางอย่างเป็นหลักพันปีเลยทีเดียว มันก็จะอยู่คู่กับเราไปตลอดชีวิตนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
1️⃣ พลาสติกตัวนี้มันอันตรายยังไงนะครับ? ➡️ผมต้องขอบอกอย่างนี้ก่อนเพื่อที่จะตอบคำถามว่าพลาสติกมันเอาไปเข้าไมโครเวฟได้หรือเปล่า มันทนความร้อนได้หรือเปล่า ผมอยากจะให้ทุกคนที่มีภาชนะพลาสติกไม่ว่าจะเป็นแก้วพลาสติก กล่องพลาสติก Tupperware อะไรก็แล้วแต่ให้ดูที่กล่องตอนนี้เลยนะครับมันจะมีสัญลักษณ์ ♺ นะครับ สัญลักษณ์สามเหลี่ยมนี้เป็นสัญลักษณ์ Recycle Plastic แล้วตรงนั้นตรงกลางของสามเหลี่ยมมันจะมีเลข 1 2 3 4 5 6 7 นะครับ พลาสติกที่ใช้กับอาหารที่แบบใช้แล้วทิ้งส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ 1 นะครับมีเบอร์ 1 นะครับหรือพลาสติกชนิดที่เราเรียกว่า PET นะครับแต่ชนิดนี้เอาไปโดนความร้อนไม่ได้นะครับมันจะละลายเข้าไปในอาหารแล้วก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาได้นะครับ จะมีพลาสติกอยู่ 2 ชนิดที่ถ้าเราจะเอาไปโดนความร้อนมันสามารถทนความร้อนได้ก็คือพลาสติกชนิดที่ 2 และ 5 นะครับ ถ้าเราดูมันมี ♺ แล้วมันเขียนว่า 2 หรือ 5 อยู่ตรงกลางถ้าอย่างนี้โดนความร้อนได้นะครับ และ 2 ตัวนี้จะเป็นการหลีกเลี่ยงสาร BPA แล้วก็สาร Phthalate ได้ด้วยนะครับ หรืออีกอย่างนึงพลาสติกบางทีเขาเขียนไว้ชัดเจนว่าอันนี้เข้าไมโครเวฟได้นะครับหรือจะมีสัญลักษณ์ที่เป็นเหมือนรูปคลื่น ♒︎ ต่อๆกันหลายอัน อันนั้นก็แปลว่าเป็นตัวที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้นะครับ ถ้ามันไม่ใช่พลาสติกชนิดที่ผมพูดไปเมื่อกี้มันไม่สามารถเอาเข้าไมโครเวฟได้นะครับเพราะว่าถ้าเอาเข้าไปแล้วก็จะเกิดการหลอมละลายแล้วก็เข้าไปปนเปื้อนในอาหารนั่นคือปัญหาของการใช้พลาสติกพวกนี้ ดังนั้นดูเลยนะครับทุกภาชนะถ้ามันมีเครื่องหมายสามเหลี่ยมมันจะต้องบอกไว้เลย 1 2 3 4 5 6 7 เลข 2 กับ 5 ปลอดภัยที่สุด แต่ละอย่างมันก็มีรายละเอียดปลีกย่อยของมันนะครับ ไม่ใช่ว่าเลขตัวอื่นเอามาใช้ไม่ได้นะครับเพราะว่าอย่างที่เมื่อกี้เรากล่าวไปเลข 1 นะครับพลาสติกที่มีสามเหลี่ยมแล้วก็ 1 อยู่ตรงกลางอันนี้มันใช้ในอุตสาหกรรมอาหารค่อนข้างที่จะมากนะครับแล้วก็มักจะใช้กับกรณีที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งไม่เอามาใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกนะครับและก็ห้ามโดนความร้อนโดยเด็ดขาดนะครับเบอร์ 1 นะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
2️⃣ ที่นี้พลาสติกพวกนี้ เมื่อกี้เราบอกว่าใช้เวลาย่อยสลายเป็นร้อยปีพันปีเลยแล้วมันไปไหนนะครับ? ➡️ถ้าเราทิ้งลงสู่ธรรมชาติมันก็จะใช้เวลาของมันในการย่อยสลาย ในขั้นตอนการย่อยสลายของพลาสติกเมื่อกี้เราบอกว่าตอนมันประกอบเป็นพลาสติกมันมีการเติมสารเคมีบางตัวเข้าไปถูกไหมครับ สารเคมีเหล่านั้นมันสามารถละลายออกมาจากพลาสติกลงสู่ธรรมชาติแล้วถ้าน้ำฝนน้ำทะเลไปชะล้างสารพิษพวกนี้มันก็เข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้ พอมันเข้าสู่สิ่งมีชีวิตแล้วมันไปไหนล่ะครับ มันก็จะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเล็กได้รับเข้าไปก่อน หลังจากนั้นก็สิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ขึ้นมากินนะครับ ใหญ่ขึ้นมากินๆๆเข้าไปสุดท้ายแล้วคนที่ได้เยอะที่สุดก็คือมนุษย์ เพราะว่าเราเป็นคนที่อยู่สูงสุดของห่วงโซ่อาหารเราก็ไปกินพวกนี้ซึ่งของพวกนี้คือพลาสติกที่เราทิ้งทุกวันมันก็เป็นละลายอยู่ตามน้ำตามอะไรพวกนี้ทั้งหมดเลยนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
3️⃣ แล้วก็ไม่ใช่แค่นั้นนี่คือสารเคมีที่ละลายออกจากพลาสติกเท่านั้นนะครับแล้วตัวพลาสติกเองมันไม่ได้หายไปไหนนะครับมันสามารถโดนกระแทกโดนแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้เราจะเรียกพวกชิ้นเล็กชิ้นน้อยนี้ว่า Microplastic นะครับ Microplastic พวกนี้มันสามารถที่จะโดนสัตว์ต่างๆกินเข้าไปได้นะครับพอมันกินเข้าไปมันก็เหมือนกับสารเคมีเมื่อตะกี้เลยครับตอนแรกสัตว์ชนิดเล็กกินเข้าไปก็กินได้ปริมาณนึงสัตว์ชนิดใหญ่มันก็มากินสัตว์ชนิดเล็กอีกต่อหนึ่งมันก็ได้ Microplastic เข้าไปเพิ่มนะครับ สมมติว่าสัตว์ชนิดเล็ก 5 ตัวมี Microplastic คนละ 2-3 อัน สัตว์ตัวใหญ่มากินมันทีนึงกิน 5 ตัวเลยก็ได้ Microplastic เข้าไปมหาศาลเลยในตัวใหญ่ แล้วตัวใหญ่กว่ามากินอีกก็ได้เข้าไปเพิ่มขึ้นอีกนะครับแล้วมนุษย์นี่ล่ะกินเข้าไปหมดเลยก็ได้สาร Microplastic เข้าไปเต็มไปหมดเลยนะครับ แล้ว Microplastic มันไม่ได้มีเฉพาะในสัตว์น้ำเพราะว่าหลายๆคนอาจจะเคยเข้าใจ Microplastic ถ้าคนดูข่าวคนติดตามเรื่อง Microplastic นะครับจะเห็นว่ามันจะอยู่ในทะเลซะส่วนใหญ่เพราะว่าทุกๆอย่างที่เราทิ้งขวดอะไรก็แล้วแต่มันไปสู่ทะเลได้แล้วก็มีคนไปเจอเรียกว่าเป็นกองพลาสติกกลางทะเลอยู่กันเป็นเกาะเลยนะครับพลาสติกมันไปกองอยู่ตรงนั้นแล้วมันอยู่ตรงนั้นมันก็ละลายออกมาในน้ำได้หรือแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เป็น Microplastic ทำให้สัตว์น้ำมันกินเข้าไปได้ ดังนั้นหลายคนอาจจะเข้าใจว่า Microplastic อยู่ในสัตว์ทะเลสัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่นะครับซึ่งมันก็ถูก แล้วที่สำคัญเราไปเจอ Microplastic ที่ที่เราไม่คาดคิดอีกก็คือขั้วโลกเหนือครับแอนตาร์กติกาอะไรพวกนี้นะครับ ตามน้ำแข็งใหญ่ๆเราไปเจอ Microplastic อยู่ตรงนั้น และที่สำคัญเราไปเจอ Microplastic บนภูเขาด้วยครับมันไปถึงตรงนั้นได้อย่างไรก็ยังไม่มีใครทราบนะครับ ทำให้เดี๋ยวนี้ Microplastic มันไม่ได้อยู่แค่พวกปลาอย่างเดียวแล้วนะครับ ในน้ำก็มี น้ำที่เราดื่มกันทุกวันมันก็มีการปนเปื้อนของ Microplastic ในเครื่องใช้ประจำวัน เช่น แชมพู ยาสีฟันบางชนิดก็มี ครีมบำรุงผิว ของเล่นเด็ก ของเล่นเด็กยังมีเลยนะครับ พวกนี้ทั้งหมดมันก็จะสามารถก่อกำเนิด Microplastic ได้แล้วก็ของเล่นเด็กรวมไปถึงขวดนมเด็กด้วยครับซึ่งปัจจุบันก็มีการรณรงค์ออกมาแล้วว่าเรารู้ว่าสาร Bisphenol A หรือ BPA กับสาร Phthalate มันเป็นสารซึ่งถ้าเข้าไปในร่างกายของเด็กจะอันตรายได้ โดยที่มันจะมีความสำคัญกับระบบฮอร์โมนและบางตัวเป็นสารก่อมะเร็งจึงมีการรณรงค์ว่าจะพยายามเอาสาร 2 ตัวนี้ออกไปจากของเล่นเด็กแล้วก็ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กนะครับรวมทั้งพลาสติกบางชนิดก็จะมีการเขียนไว้ชัดๆเลยว่า BPA Free Phthalate Free คือไม่มีสาร BPA และไม่มีสาร Phthalate อยู่ในนั้นนะครับ ถ้าท่านซื้อผลิตภัณฑ์อะไรที่มันไม่มี 2 ตัวนี้อย่างน้อยก็ยังดีนะครับเพราะว่ามันจะได้ไม่ไปยุ่งอะไรกับร่างกายเรานะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
4️⃣ ทีนี้เราจะสังเกตเห็นได้ว่า Microplastic มีอยู่ทุกที่เลย ยังไงร่างกายเราก็จะต้องมีโอกาสได้รับมันเข้าไป แล้วเราจะทำยังไง? ➡️คือมันไม่ใช่เรื่องของเราคนเดียวแล้วนะครับ คุณจะรวยคุณจะจนคุณจะอยู่ชนชั้นไหนคุณมีโอกาสได้รับ Microplastic เข้าไปเท่ากันเสมอนะครับ คุณชอบกินปลาดิบ▶️ปลาพวกนี้นั่นแหละที่มันกิน Microplastic เข้าไป แล้วคนเราก็มากินอีกรอบนึงนะครับและสัตว์ตัวใหญ่ก็จะมีได้เหมือนกันมันก็จะเป็นอย่างนี้ แล้วในชีวิตประจำวันเรามีพลาสติกเยอะแยะเต็มไปหมดเลยถูกไหมครับ ดังนั้นอันนึงซึ่งมนุษย์ทั้งโลกต้องช่วยกันก็คือจะต้องช่วยกันลดปริมาณพลาสติกใช้พลาสติกที่มันรีไซเคิลได้แล้วก็ถ้าเรามีอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกนะครับควรจะเอาไปรีไซเคิลแทนที่จะทิ้งลงไปในถังขยะธรรมดาเพราะว่าถ้าทิ้งลงไปถังขยะธรรมดาบางทีมันก็กลับธรรมชาติแล้วธรรมชาติก็กลับมาที่เรานั่นแหละครับ ดังนั้นปัจจุบันนี้มีพลาสติกอยู่ในโลกเป็นร้อยล้านตัน พันล้านตันนะครับมันไม่ไปไหนเพราะว่ามันใช้เวลาเป็นพันปีกว่าจะโดนย่อยแล้วคนที่รับเคราะห์ก็คือพวกเรานั่นเอง นี่คือในกรณีที่เราช่วยกันทั้งโลกนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
5️⃣ แต่แล้วเราจะทำอะไรได้บ้างในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภค? ➡️มันก็มีหลายอย่างที่เราสามารถทำได้ ✳️อย่างแรกเลือกพลาสติกที่จะเอามาใช้นะครับ ถ้าเราจะเอาเข้าไมโครเวฟหรือจะไปโดนของร้อนจะต้องเป็นพลาสติกที่ทนความร้อนได้เท่านั้นนะครับคือถ้ามีสัญลักษณ์รีไซเคิลเป็นรูปสามเหลี่ยมจะต้องเป็นสัญลักษณ์ที่เขียนเลข 2 กับเลข 5 เท่านั้นนะครับ หรืออันที่เขียนไว้ตรงๆเลยว่าทนความร้อนได้เอาเข้าไมโครเวฟได้นี้คืออันที่ 1 คือต้องรับพลาสติกเข้ามาในร่างกายให้น้อยที่สุดนะครับ ✳️อาหารก็แน่นอนว่าจะต้องทานเฉลี่ยเข้าไปหลายอย่างนะครับเพราะว่าถ้าทานอย่างใดอย่างหนึ่งโอกาสได้รับ Microplastic ก็จะสูงขึ้นนะครับ ✳️เกลือๆนี่แหละครับมี Microplastic เยอะเหมือนกันนะครับ ผมเคยพูดไปในคลิปเรื่องเกลือแล้วเรื่องของ Microplastic ว่าไปเจอที่ไหนบ้าง ถ้าเป็นเกลือหิมาลายันนี้อาจจะ Microplastic น้อยกว่าเพราะว่ามันอยู่ในที่สูงโอกาสเจอ Microplastic ขึ้นไปถึงตรงนั้นบางทีน้อยกว่านะครับก็อาจจะมีการใช้ได้ ✳️แล้วก็ทะเลบางบางแห่งมี Microplastic เยอะกว่าบางแห่งตรงนี้ก็ต้องไปดูแล้วนะครับว่าตรงไหนมีเยอะตรงไหนมีน้อยเราก็ต้องไปเลือกกินปลาจากแถบนั้นนะครับ ถ้าแถบไหนมีเยอะเราก็กินไม่ได้เพราะว่าจะเข้าร่างกายนะครับ ✳️และที่สำคัญคือการออกกำลังกายครับ การออกกำลังกายที่มีเหงื่อเราพบว่ามันสามารถพอจะขับ Microplastic ออกมาจากร่างกายได้อันนี้เจ๋งนะครับ มันเป็นการบอกได้ว่าเราสามารถที่จะออกกำลังกายก็ช่วยได้เหมือนกันนะครับเพราะว่าการออกกำลังจริงๆมันช่วยได้ทุกอย่างแต่ถ้าเป็นการออกกำลังกายที่มีเหงื่อเยอะๆมันจะช่วยขับพวกนี้ออกมาได้ ไม่ใช่แค่ขับ Microplastic อย่างเดียวนะครับถ้าคนที่ได้รับโลหะหนักเข้าไปก็สามารถขับออกมาทางผิวหนัง ได้คนที่นั่งซาวน่าคนที่นั่งสตรีมพวกนี้ก็สามารถขับพวกโลหะหนักหรือว่าจะเป็น Microplastic ออกมาทางผิวหนังได้นะครับ ไม่จำเป็นจะต้องไปทำคีเลชั่น (Chelation) อะไรให้ให้เปลืองสตางค์ของท่านนะครับแล้วนั่นก็จะเป็นปัญหาด้วยนะถ้าท่านทำ Chelation นะครับ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยได้นะครับ
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
🔺2:45 ขวดน้ำพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นแบบ PET เลข 1 ไม่ควรเอาไปใส่น้ำร้อน หรือเข้าไมโครเวฟ เหมาะกับการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ควรใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก 4:05 🔺15:44 ถุงพลาสติกใส่อาหาร ไม่ควรเอาเข้าไมโครเวฟ มันละลายได้ 🔺3:00 พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ ทนความร้อนได้ ต้องมีเขียนไว้ว่าเข้าได้ หรือมีรูปคลื่น หรือ เป็นประเภท 2 หรือ 5 แต่เราไม่เคยเอาพลาสติกเข้าไมโครเวฟเลยค่ะ ใช้ชามแก้ว ชามกระเบื้องดีกว่าค่ะ สัญลักษณ์ที่บอกว่าเข้าได้จริงไหมไม่มีการตรวจสอบรับรองค่ะ
@EarngAris
@EarngAris 9 ай бұрын
นับถือในความมีวินัย ทำคลิปได้ทุกวันอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และก็ทึ่งในความขยันหา ขยันเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ จนมีความรู้ที่หลากหลายได้ขนาดนี้ค่ะ 👏🏻✌🏻
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
เวลาซื้อขวด หรือ เขียง พลาสติก เราหาสัญลักษณ์ BPA free ค่ะ ภาชนะใส่อาหารใช้แก้ว แทนพลาสติก ส่วนไมโครเวฟเราไม่มีค่ะ ใช้เตาอบขนมปังแทนค่ะและใช้ภาชนะแก้วค่ะ แต่ความเสี่ยงของเราคือเราชอบสั่งอาหารข้างนอก แล้วเขาใส่กล่องพลาสติกมาให้ค่ะ ก็ต้องสลับหลายๆร้านจะได้ กระจายความเสี่ยงค่ะ พลาสติกที่ใช้แล้ว เราล้างและเอาไปขายได้ด้วยค่ะ วันนี้เพิ่งทราบว่าการออกกำลังกายแบบมีเหงื่อขับโลหะหนัก ขับ ไมโครพลาสติกได้ ขอบคุณค่ะ คุณหมอ
@frould7203
@frould7203 9 ай бұрын
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เตาไมโครเวฟ😅
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
@@frould7203 ถูกต้องค่ะ ปัญหาอยู่ที่ภาชนะใส่อาหาร แต่เราไม่มีไมโครเวฟเพราะไม่มีที่วางค่ะ
@user-ux4xp6zh1r
@user-ux4xp6zh1r Ай бұрын
มันก็เสี่ยงตรงสัตยว์ผักที่เรากินอีกทางหนึ่ง ไม่รวมยาฆ่าแมลง ปวดตับไปอีกเคส😢
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
คุณหมอคะทำไมคุณหมอเก่งจังไม่ว่าใครถามอะไรคุณหมอก็ตอบได้หมดเลย เรื่องนี้มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับการแพทย์ซะทีเดียวนะคะ ช่องคุณหมอสุดยอดความรู้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
@panupatswangareeruk3578
@panupatswangareeruk3578 9 ай бұрын
ผมก็ว่าจะถามตั้งแต่เมื่อวานละครับ ว่า การเป็นหมอ คือต้องมีความรอบรู้ทุกเครื่องขนาดนี้ไหม5555 ขนาดไม่ใช่โรคทางสาขาตัวเองแต่ตอบได้หมด😊
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
@@panupatswangareeruk3578คุณหมอมีพื้นฐานอายุรกรรมและมีความใฝ่รู้จึงตอบคำถามการแพทย์ได้แบบผู้เชี่ยวชาญเลยค่ะ 🙏😊🙏
@user-jz6tu7yp4u
@user-jz6tu7yp4u 9 ай бұрын
คุณหมออ่านหนังสือเยอะค่ะ(เวลาว่างจะเข้าห้องสมุด) และชอบอ่านงานวิจัยจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ และหมอบอกว่าผมไม่ได้เก่งครับแต่ผมใช้มันทุกวัน(ใช้สมอง) ผมเลยจำได้
@AMMY.SKM1985
@AMMY.SKM1985 9 ай бұрын
จริงค่ะ คุณหมอเก่งมากๆ เราดีใจมาก ที่ได้มาเจอช่องของคุณหมอค่ะ ❤
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
เพราะผมกินขนมบ่อย แล้วก็เพิ่มความรู้ให้ตัวเองวันละเรื่องมาเป็นสิบปีแล้วครับ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn 9 ай бұрын
กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะอาจารย์หมอแทน ที่กรุณาส่งผ่านความห่วงใยในผลกระทบสุขภาพจากการรับประทานอาหารซึ่งนับวันจะต้องการความสะดวกและรีบเร่ง การซื้ออาหารจากร้านนอกบ้านปัจจุบันนี้หลีกเลี่ยงภาชนะพลาสติกเหล่านี้ได้ยาก และหลายคนลำบากในการพกปิ่นโต กล่องสแตนเลสเปล่าๆติดตัวไปไหนต่อไหนไว้ซื้ออาหาร แต่ใครสะดวกจะทำก็ดี อย่างไรก็ตามเราสามารถลดความเสี่ยงได้บ้างในขั้นตอนอุ่นอาหารนั้น ยอมเสียเวลาซักนิดเดียว เช่นเทลงภาชนะจานชามที่บ้านที่ปลอดภัยที่จะเข้าไมโครเวฟเช่นจานเซรามิค จานกระเบื้อง หรือใช้เครื่องครัวอุ่นบนเตาปกติเลย แต่สุดวิสัยรีบจริงๆจะเอาทั้งภาชนะที่ซื้อมาเข้าไมโครเวฟเลย ก็จดจำสัญญลักษณ์ที่อาจารย์หมอบอกไว้ให้ดี ทางที่ดีถ้ากลัวลืมก็เขียนแปะไว้ให้เห็นชัดๆแถวไมโครเวฟ เตือนตัวเองให้พลิกดู และไม่ควรอุ่นจนร้อนจี๋เกินไปเพราะอย่างไรก็ตามวัสดุนั่นทนความร้อนมักมีข้อจำกัดทนความร้อนได้ไม่เกิน 120องศา การอุ่นจนเดือดปุดๆภาชนะเบี้ยวบี้ไปเลยเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเช่นกัน
@wichianratanat3789
@wichianratanat3789 9 ай бұрын
ผมระคายคอและไอมาอาทิตย์นึง เพิ่งเจอสาเหตุว่ามาจากเสื้อทำด้วยโพลิเอสเตอร์ที่แขวนใกล้ๆ คล้ายกับมีละอองฝอยฟุ้งออกมา ทิ้งไปแล้วถึงดีขึ้น ปีที่แล้วก็ทิ้งผ้าม่านโพลิเอสเตอร์ กับโซฟาที่บุด้วยผ้าโพลิเอสเตอร์ ด้วยอาการเดียวกัน ดูเหมือนใช้งานมา 5 ปี เหมือนๆ กัน ผ้าม่านที่ขายกันส่วนใหญ่เป็นโพลิเอสเตอร์ ที่ดูดีกว่า ราคาถูกกว่าผ้าฝ้าย คนอื่นใช้งานแล้วมีอาการแบบนี้กันไหมครับ
@boomsong5729
@boomsong5729 9 ай бұрын
ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน ยอดผู้ติดตาม 5.23 แสนคนค่ะ สถานีต่อไป 5.24 แสนคนคะ ช่อง Doctor Tany ช่องคุณภาพ ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ เนื้อหาหลากหลาย ประโยชน์มากมาย ตรงจริง ชัดเจน ครอบคลุม ทุกประเด็น ขอให้ได้ 1 ล้านซับไวๆนะคะ 🏡🌻🌻🌻🧡🌻🌻🌻🏕
@Hoshi1451
@Hoshi1451 9 ай бұрын
ไมโครพลาสติกคืออะไร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. Primary microplastics เป็นพลาสติกที่ถูกผลิตให้มีขนาดเล็กมาตั้งแต่ต้น เพื่อการใช้ประโยชน์เฉพาะด้าน เช่น เม็ดพลาสติกที่นำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก (Plastic pellet) เม็ดพลาสติกที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า เครื่องสำอาง หรือยาสีฟัน (Plastic scrub) ซึ่งมักเรียกกันว่า ไมโครบีดส์ (Microbeads) หรือเม็ดสครับ ไมโครพลาสติกประเภทนี้สามารถแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการทิ้งของเสียโดยตรงจากบ้านเรือนสู่แหล่งน้ำและไหลลงสู่ทะเล 2.Secondary microplastics เป็นพลาสติกที่เกิดจากพลาสติกที่มีขนาดใหญ่ หรือมาโครพลาสติก (Macroplastic) ซึ่งสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานเกิดการย่อยสลายหรือแตกหัก โดยกระบวนการย่อยสลายพลาสติกขนาดใหญ่ให้กลายเป็นพลาสติกขนาดเล็กนี้สามารถเกิดได้ทั้งกระบวนการย่อยสลายทางกล (Mechanical degradation) กระบวนการย่อยสลายทางเคมี (Chemical degradation) กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ (Biological degradation) และกระบวนการย่อยสลายด้วยแสงอาทิตย์ ((UV degradation) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำให้สารแต่งเติมในพลาสติกหลุดออก ส่งผลให้โครงสร้างของพลาสติกเกิดการแตกตัวจนมีขนาดเล็ก กลายเป็นสารแขวนลอยปะปนอยู่ในแม่น้ำและทะเล
@suvitchaiwongkirachalearn5582
@suvitchaiwongkirachalearn5582 9 ай бұрын
หลังจากที่บ้านเราแบนการใช้กล่องโฟมสำหรับใส่อาหาร ก็เห็นกล่องพลาสติกที่สำหรับใช้แล้วทิ้ง ซึ่งไม่เอื้อต่อการใช้ซ้ำ และบางชนิดเนื้อบาง แตกหักง่าย ยิ่งหมดทางใช้ซ้ำเลยครับ ใช้แล้วก็ต้องทิ้ง ไม่รู้จะช่วยได้อย่างไรเลยครับ เห็นแล้วก็เพลียครับ 😢 แล้วพวกถุงร้อน ยางรัดถุงใช้กันเยอะก็ต้องทิ้ง
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ... หัวข้อวันนี้ เรื่อง... ภัยเงียบไมโครพลาสติก #Microplastic #Phthalate #bpa ◾เนื่องจากมีหลายท่านสอบถามเข้ามาว่า การใช้ภาชนะพลาสติกเพื่ออุ่นอาหารในไมโครเวฟจะเป็นอันตรายหรือไม่ รวมทั้งถุงพลาสติกชนิดถุงร้อนที่ใส่อาหารร้อนจัดๆ พลาสติกจะละลายออกมาหรือไม่ จะมีอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ รวมทั้งเรื่องของ ไมโครพลาสติกด้วยค่ะ... ลองมาฟังกันดูค่ะ ◾ขอให้สังเกตดูที่ภาชนะพลาสติกต่างๆที่ใช้อยู่ ให้มาดูที่สัญลักษณ์ที่ประทับตราไว้ด้านล่าง พลาสติกชนิดที่ทนความร้อนได้จะมีสัญลักษณ์ เลข 2 และเลข 5 อยู่ตรงกลางสัญลักษณ์ ♻ หรืออาจจะมีข้อความระบุชัดเจนว่า ใช้กับไมโครเวฟได้ เช่น Microwave Safe หรือ Microwavable หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์รูปคลื่น ถ้าเป็นแบบนี้หมายความว่า ใช้กับไมโครเวฟได้ ทนความร้อนได้ค่ะ ◾ส่วนพลาสติกประเภทที่ 1 หรือ PET เป็นพลาสติกมีลักษณะ ใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี มองทะลุได้ เช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันพืช แบบนี้ใช้กับความร้อนไม่ได้ ◾ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของการใช้พลาสติก คือ การทิ้งพลาสติกต่างๆและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพลาสติกจะค่อยๆย่อยสลายออกมาปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น ในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร และในดิน ทำให้กระทบกับระบบห่วงโซ่อาหาร และสุดท้ายมนุษย์ก็จะได้รับสารไมโครพลาสติกจากสัตว์น้ำ หรือแม้แต่เกลือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำทะเล หรือ เกลือบางชนิดได้จากภูเขา ◾ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากไมโครพลาสติก 1. ก่อนอื่น คือ ต้องเลือกใช้พลาสติกให้เหมาะสม ต้องทราบว่า พลาสติกแบบไหนทนความร้อนได้ แบบไหนทนไม่ได้ 2. ทานอาหารให้หลากหลาย ไม่จำเจอยู่กับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง 3. การออกกำลังกายแบบที่ทำให้เหนื่อยจนมีเหงื่อออกมา พอจะสามารถขับสารไมโครพลาสติกออกมาจากร่างกายได้ รวมทั้งพอที่จะช้วยขับโลหะหนักต่างๆจากร่างกายได้ด้วย ◾และเมื่อไม่นานมานี้ มีการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น คือ ค้นพบแบคทีเรียตัวหนึ่ง ชื่อ Ideonella sakaiensis ค้นพบครั้งแรกในปี 2016 โดยทีมนักวิจัยที่นำโดย Kohei Oda จากสถาบันเทคโนโลยีเกียวโต และ Kenji Miyamoto จากมหาวิทยาลัย Keio ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้จะเป็นตัวช่วยในการย่อยพลาสติกได้ดี โดยเฉพาะพลาสติก PET (Polythylene Terephthalate) สำหรับใช้ในการผลิตขวดน้ำดื่ม ซึ่งนักวิจัยคาดหวังว่า จะพัฒนาและต่อยอด มีการปรับแต่งเอนไซม์ในการย่อยสลายพลาสติกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
@kchi3920
@kchi3920 9 ай бұрын
คุณแม่ที่บ้านชอบทำอาหารเยอะมากๆ พอเหลือก็เอาใส่ถุงแกงแช่ช่องฟรีซ เคยบอกหลายรอบแล้วว่าอย่าทำเยอะ เพราะเราไม่ชอบกินอาหารแช่แข็ง บอกจนไม่รู้จะบอกยังไงก็ไม่ยอมหยุดทำ แล้วเราเป็นพวกเสียดายของ ถ้าไม่กินก็ไม่มีใครกิน แม่ก็ไม่ค่อยกินเพราะเค้าทำใหม่ตลอด สรุปแม่กินของใหม่ แต่เรากินของเก่าในตู้เย็น งงมาก อาหารบางอย่างอยู่ในฟรีซเป็นเดือนๆ เราเคยได้ยินว่าอาหารที่ใส่ถุงพลาสติกแช่ฟรีซก็อันตรายเหมือนกันแต่แม่เหมือนคิดว่าอยู่ในฟรีซ=อยู่ได้ตลอดไป😢
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
เอามาอุ่นให้แม่กินแล้วบอกว่ามันไม่อร่อยเหมือนตอนทำสดๆ ต่อไปจะได้ไม่ต้องทำเผื่อเหลือเยอะค่ะ
@sasikanworgwan1819
@sasikanworgwan1819 9 ай бұрын
สมัยนี้เน้นสะดวกสบายพลาสติกก็เลยเข้ามาในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นนะคะ รวมทั้งกล่องโฟมก็เยอะ ต้องใช้อย่างระมัดระวังมากจริงๆค่ะ
@ALL86898
@ALL86898 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทน 🙏😍วันนี้คุณหมอเล่าให้ความรู้เรื่อง ภัยเงียบของไมโครพลาสติก การใช้ภาชนะพลาสติก ถุงใส่อาหารร้อน ได้ไหมอันตรายต่อร่างกายอย่างไร 🌼พลาสติกมีต้นกำเนิดมาจากการเผาไหม้ เกิดโมเลกุลมาต่อกัน มีต้นกำเนิดมาจากน้ำมันดิบ มากลั่น เกิดการเผาไหม้ มีการเติมสารเคมี เช่นสารbpaให้ทนทาน phthalate สาร (ทาเลท ) เพื่อการดัดรูปร่างได้🌼 พลาสติก เราทราบว่ามันอยู่ได้นาน กว่าจะย่อยสลายเป็นพันๆปี ให้ดูที่ตัว🌼กล่องภาชนะพลาสติก แก้วพลาสติกกล่อง ต่างๆ จะมีเลขสัญญลักษณ์รีไซค์เคิลสามเหลี่ยม มีเลข ตั้งแต่1-7ตัวเลขมีพลาสติกอยู่สองชนิด คือเลข2และ5คือจะโดนความร้อนได้ และเราจะหลีกเลี่ยงสารphthalate และbpa หรือมีบอกเลยว่าใช้ทนความร้อนได้ มีสัญญลักษณ์รูปคลื่น เข้าไมโครเวฟได้ ถ้าไม่มี เข้าไม่ได้ มันอันตรายได้🌼มีเลข1จะทนความร้อนไม่ได้ และใช้แล้วทิ้งเลย ใช้ในอุตสาหกรรม อาหารมาก ห้ามโดนความร้อนเด็ดขาด 🌼🌼พลาสติก มีสารเคมีปนอยู่ ที่เติมเข้าไปดังตอนแรกทีคุณหมอบอกและเมื่อมันละลายเข้าสู่ธรรมชาติน้ำฝน น้ำทะเล สารเคมีสลายออกไป ในรูปไมโครพลาสติก มันแตกออกมา จากพลาสติก ลงน้ำอยู่ในน้ำ สัตว์เล็กกินเข้าไป สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็กอีกที มนุษย์กินสัตว์ ใหญ มนุษย์เป็นห่วงโซ่ สุดท้าย จึงรับ มามาก สุด เราเจอในทะเล กองอยู่กลางทะเล ที่ภูเขาเจอ ขั้วโลกเหนือแอนตาติก้า ในน้ำ ครีมบำรุงผิว ยาสีฟันบางชนิด 🌼พลาสติกมีอยู่ทั่วไป ของเล่นเด็ก แชมพู ครีมบำรุงต่างๆขวดนมเด็ก มีอันตรายต่อระบบฮอร์โมนบางตัวมีสารก่อมะเร็ง เวลาซื้อต้องดูว่ามีเขียนว่า Free bpafree phthalatefreeอันนี้จะไม่มีสารสองตัวนี้อยู่ ยังดีไม่ยุ่งกับร่างกายเรา 🌼Microplastic ไมโคร พลาสติก มันมีอยู่ทุกที่ เราจะทำอะไรได้บาง มีในปลา ดิบ ในชีวิตประจำวัน มีแต่พลาสติก ควรเอาไปรีไซค์เคิล อย่าทิ้งขยะ เพราะมันจะไปอยู่ที่ธรรมชาติ และย้อนกลับมาที่มนุษย์คือเรา 🌼จุกนมเด็กใช้แบบซิลิโคน ดีกว่า 🌼ในฐานะผู้บริโภค เลือกควรพลาสติกที่ใช้ ถ้าใช้ในไมโครเวฟ ใช้แบบเลข 2และ5 หรือที่บอกว่า ใช้กับไมโครเวฟได้ ในเกลือมีไมโครพลาสติก ด้วย 😍การออกกำลังกายให้มีเหงื่อออกลดสารไมโครพลาสติก และสารโลหะหนักได้โดยถูกขับออกมาทางเหงื่อ ทางผิวหนัง การทำซาวน่า สตรีม ขับโลหะหนัก และไมโครพลาสติกได้🌼ไมโครพลาสติก เข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจและการกิน🌼อาหาร ร่างกายเราสามารถขับออกจากร่างกายได้ ทางอุจจาระ และปัสสาวะ ส่วนใหญ่เป็นทางอุจจาระ ปนกับน้ำดี ปนกับอุจาระ 🌼พลาสติก ไมโครพลาสติก ปัญหาใหญ่ กับภูมิต้านทาน อัลไซค์เมอร์ ฮอร์โมนต่างของร่างกาย และ ฝุ่นPM2.5ล้วนแต่เป็น มนุษย์สร้างขึ้นมา เราต้องช่วยกัน ทั้งโลก โดยหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติก ให้น้อยลง มีอันตรายมากๆหลายอย่าง 🌼ญี่ปุ่นพบปี2016พบว่าแบคทีเรียตัวหนึ่ง มีเอ็นไซม์ที่ มันสามารถย่อยสลายพลาสติกได้นวกรรมใหม่ อนาคตอาจจะเข้ามาช่วย ในเรื่องรีไซค์เคิล 🌼พลาสติก มีอันตราย อย่าใช้บ่อยใช้แก้ว ล้างต่อหลอดที่ไม่ใช้พลาสติก ไมโครพลาสติก มีขนาดเล็กกว่า5มิลลิเมตร นาโนพลาสติกเล็กลงไปอีกเล็กกว่า1มิลลิเมตร เราจะป้องกันตัวอย่างไร ลดการใช้พลาสติก ให้น้อย ออกกำลังกาย ทานอาหารหลากหลาย ไม่ใช่ปลาอย่างเดียวออกกำลังกายให้เหงื่อออก ดูพลาสติกว่าเลขอะไรใช้ทนความร้อนได้ คือ2และ5ตัวเลขในรูปสัญญลักษณ์สามเหลี่ยม ขอบคุณความรู้ในเรื่องไมโครพลาสติกค่ะ🙏👍❤️
@somyosanantnakin6655
@somyosanantnakin6655 9 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ คุณหมอ ละเอียดมาก แต่ก็ยังสงสัยถ้าพลาสติกดข้าสู่ร่างกายและขับไม่ออก มันจะตกตะกอนในเลือด จนพลาสติกอุดตันเส้นเลือด มีคนเป็นเยอะไหมคะ
@user-vi3lv5qk9t
@user-vi3lv5qk9t 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน ป้ามาชมย้อนหลังอีกรอบนึงค่ะ หัวข้อเรื่อง ภัยเงียบไมโครพลาสติก #micropiastic#phthatate#bpa 16พ.ย2023 ส่วนมากเวลาป้าเวฟของหรืออุ่นของทานป้าใช้ชามตาไก่อุ่นชะส่วนมากค่ะ ได้รับความรู้เยอะๆๆเลยขอบคุณนะค่ะคุณหมอแทนยกนิ้วให้คุณหมอเลยค่ะ👍👍👍เก่งหลายๆๆอย่างเลยผู้ติดตามหรือfcถามได้ตอบๆได้ทันทีเลย ป้าขอแสดงความยินดีกับคุณหมอแทนด้วยนะค่ะยอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้นๆๆตอนนี้5.23แสนๆคนแล้ว🎉🎉🎉นะค่ะ สุดท้ายขอให้คุณหมอแทนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงๆๆ สุขกาย สุขใจ สุขภาพดีมีสุขนะค่ะและน้องโรชี่ด้วยค่ะ❤️❤️❤️🥰ค่ะ ขอบคุณค่ะ
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 2 ай бұрын
ล่าสุดมีการค้นพบว่ามีไมโครพลาสติกในน้ำอสุจิแล้วครับ นี่ยังไม่รู้เลยว่าถ้าเกิดอสุจิตัวนั้นได้ไปผสมกับไข่แล้วไมโครพลาสติกที่ติดอยู่ใน อสุจิมันจะไปทำอะไรกับร่างกายของเด็ก
@kanoky7076
@kanoky7076 9 ай бұрын
ขอบคุณนะคะ ภัยใกล้ตัวมากๆที่คนส่วนมากไม่ทราบ รวมทั้งตัวเองด้วย ต่อไปจะได้สังเกตที่กล่องพลาสติกว่ามีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมและตัวเลข2กะ5หรือลูกคลื่นที่บ่งบอกว่าสามารถทนความร้อนได้และเอาเข้าไมโครเวฟได้ แต่ถ้ามีสามเหลี่ยมและเลข1 ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งแล้วห้ามโดนความร้อนด้วย รบกวนถามคะว่าพลาสติกที่มีรูปสามเหลี่ยม สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้มากที่สุดกี่ครั้งคะ ถึงจะยังมีความปลอดภัยอยู่🙏
@nannapatpongbhaesaj3760
@nannapatpongbhaesaj3760 9 ай бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 🙏🏼ตอนหลังพยายามใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติเช่น พวกชานอ้อยที่มาทำเป็นจาน ชาม ใช้ซ้ำได้ ไม่รู้ว่าปลอดภัยจาก mircroplastic 100% ไหม แล้วก็ใช้พวกแก้ว เซรามิก มากกว่าค่ะ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 9 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ ไม่ได้สังเกตตัวเลขของพลาสติกมาก่อนเลยค่ะ แก้ว ที่ มีเลข 5 ชอบเอามาใช้ต่อได้ค่ะ 😁😁 ส่วน พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้จะ ซื้อจากร้าน ที่มั่นใจคุณภาพ เลยไม่ได้สังเกต ตัวเลขค่ะ ถ้า อัไหนไม่แน่ใจ ถ้าต้องเข้า ไมโครเวฟ เน้น ถ้วยกระเบื้องค่ะ มั่นใจกว่า Micro plastic ทุกคน มีโอกาส ได้รับ เพราะ สัตว์ ไปกิน แล้วคนก็ไปกิน สัตว์ ต่อ ในห่วงโซ่อาหาร เคยเห็นข่าว เต่าทะเล กินพลาสติก แล้วน่าสงสาร ค่ะเค้า แยก ไม่ออก ว่า อันไหนกินได้กินไม่ได้ กำลังฟังยาวๆ ค่ะ 😂😂
@Jin_789
@Jin_789 9 ай бұрын
ขอบคุณ​คุณ​หมอ​ค่ะ​ที่​ให้ ​ความ​รู้​สาระ​ที่​มี​ประโยชน์ต่อ.​สังคม​ใน​ปัจจุบัน​มาก​เลย​ค่ะ​
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
คลิปต่อไป ขอเรื่องการ recycle หรือการจัดการขยะที่อเมริกาค่ะ คุณหมอ เราเคยไปเรียนที่ออสเตรเลีย พวกกระป๋องเขา เขียนไว้เลยว่ามีราคา 50cent ขวดบางอย่างก็ได้ค่ะ เวลาเราซื้อน้ำเราต้องดูก่อนว่าคืนแล้วได้เงินหรือเปล่า แล้วก็เก็บรวบรวมไว้ค่ะร้านรับซื้อก็อยู่ไม่ไกลจากที่พัก เอาไปขายทีได้มา 5-10 เหรียญ เป็นค่าขนมค่ะ ดีใจมากที่หาเงินได้จากการเก็บขวด กระป๋องค่ะ พอเรากลับไทยพี่เราก็บอกที่ไทยก็มีร้านรับซื้อ กระป๋องอลูมีเนียมแพงสุด ขวดพลาสติกกลางๆ ขวดแก้วถูกสุด กระดาษก็ขายได้ เราเคยเก็บตั้งนานได้มา 50 บาท 555 ตอนหลังเลยไม่เก็บแล้วค่ะรกห้อง เอาไปให้แม่บ้านที่คอนโดขายดีกว่าค่ะ 😊
@meowmeowmeowyao8379
@meowmeowmeowyao8379 9 ай бұрын
ภาชนะพลาสติกที่มีสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมที่มีเลข 2 หรือ 5 เข้าไมโครเวฟได้ แล้วก็ที่เป็นรูป wave ด้วย
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 9 ай бұрын
ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาซื้อภาชนะพลาสติกที่จะมาใช้กับไมโครเวฟ ก็จะสังเกตที่ระบุว่าใช้กับไมโครเวฟได้ค่ะ ก็เห็นสัญลักษณ์สามเหลี่ยม ที่ตัวเลขตรงกลาง 2 กับ 5 เหมือนกัน แต่ไม่ทราบความหมายค่ะ😄 วันนี้ทราบแล้วค่ะ ไมโครพลาสติกมีอยู่รอบตัว รักตัวเอง รักษ์โลก เลือกใช้พลาสติกให้น้อยลง หรือใช้พลาสติกที่ทนความร้อน ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว#ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ🥰
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากคะวันนี้มาให้ความรู้เรื่อง ภัยเงียบไมโครพลาสติก# Microplastic # Phthalate # bpa มีปนะโยชน์มากค่ะ👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🌹🌹
@WK-fk4dd
@WK-fk4dd 8 ай бұрын
โอ กระทรวงสาสุข ทำอะไรกันอยู่ ข้อมูลสุขภาพเพื่อประชาชนเช่นนี้ ทำไมไม่สรุปให้ประชาชนฉลาดขึ้น ปล่อยให้ป่วย มารักษากันจน รพไม่มีทางจะเดิน คุณหมอทำงานให้ความรู้ข้ามโลก มีประโยชน์ เปิดกระโหลก ทำเรื่องยากให้เข้าใจง่าย น่าเป็นวิทยากร VIPกระทรวงสาสุข ไม่ก็ กระทรวงศึกษา
@Mama-ck2sf
@Mama-ck2sf 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ ปกติม๊ะทำกับข้าวเอาไปทำงานด้วยใส่กล่องข้าวแก้ว ถือหนักแต่ใส่❤หร่อยที่สุดในโลกเลย หากมีโอกาสจะเรียนเชิญชิมฝีมือแม่นะคะ🎉
@user-kb9jo6eg4h
@user-kb9jo6eg4h 9 ай бұрын
👍👍🙏👍👍 อยากให้คุณหมอพูดถึงวัสดุสัมผัสอาหาร เช่นกระทะ เป็นต้น โดยเฉพาะกระทะแบบไม่ติดอาหาร อายุการใช้งานครับ
@apakornwongsathapornpat8877
@apakornwongsathapornpat8877 8 ай бұрын
ไมโครพลาสติก คือ อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร มักเกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติกขนาดใหญ่หรือเกิดจากพลาสติกที่มีการสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ส่วนใหญ่มีรูปร่างทรงกลม ทรงรี เส้นตรงหรือบางครั้งมีรูปร่างไม่แน่นอน
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 9 ай бұрын
อย่างนี้การว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายในที่อากาศเย็นมากๆ ก็ไม่ช่วยขับไมโครพลาสติกออกมาสิครับ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ถูกครับ สรุปแล้วยังไงก็เสี่ยงถ้าเรายังอยู่บนโลกนี้ครับ ปัญหาคือทุกคนคิดเหมือนกัน คือเอาสบายเข้าว่า ดังนั้นไม่มีทางที่เราจะเลี่ยงเรื่องปัญหานี้ได้ครับ
@Kamonpa33
@Kamonpa33 9 ай бұрын
ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ รู้สึกเป็นบุญเหลือเกินที่ได้ติดตามอาจารย์ค่ะ ชีวิตที่เหลืออยู่เราอาจหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่เราช่วยกันลดพลาสติกให้น้อยลงได้ค่ะ ปกติชอบกินปลาทะเลมากค่ะ แต่การออกกำลังกายให้เหงื่อออกช่วยได้บ้าง ขอให้มีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตอาจารย์นะคะ ชอบคุณมากค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะอาจารย์💐 🎉ตอนนี้ผู้ติดตาม 5.23 แสนคนแล้วค่ะ🎉
@ordinarygal7376
@ordinarygal7376 9 ай бұрын
ก็เคยกังวัลแค่อาหารสำเร็จรูปแช่แข็งใส่กล่องพลาสติกที่เอามาเวฟ .. แต่คุณหมออธิบายละเอียดขนาดนี้ .. เปลี่ยนจากกังวล เป็นปล่อยไปตามยถากรรมแล้วกัน 😂 🌎"โลกนี้มันอยู่ยาก" ๆๆ แทร่ๆ ค่ะ 😅 เคยกินเหนียวหมูปิ้งไม่หมด ก็เวฟทั้งถุงพลาสติกประมาณ 10 วิด้วย คิดเองเออเองว่า 10 วิเองไม่เป็นไรหรอก 😅😂
@siriwanchaowanaprecha4845
@siriwanchaowanaprecha4845 5 ай бұрын
😅
@user-ph6db3fj8k
@user-ph6db3fj8k 9 ай бұрын
ขอถามว่าขวดพลาสติกใส่น้ำดื่มเวลาขนส่งถูกแสงแดดนานๆพลาสติกจะละลายเข้าไปในน้ำในขวดได้ไหม
@surasakanakekanjanapan
@surasakanakekanjanapan 9 ай бұрын
ไม่มีครับ
@Hoshi1451
@Hoshi1451 9 ай бұрын
😊💐ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ💓👍👍 เย้ๆๆ 5.23 แสนคน🎉🎉🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️ ขอบคุณอจ.หมอแทนมากค่ะขอให้มีผู้ติดตามฟังแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆๆ นะคะ🧑‍🤝‍🧑👫ประชาชนได้รับความรู้เป็นประโยชน์จาก อจ.หมอแทนค่ะ😊 /\__/\ ขอบคุณ .❛ ᴗ ❛. มากค่ะ 🙏 ❤🌹 (ෆ ෆ)
@fattyrose3251
@fattyrose3251 9 ай бұрын
อันนี้เลี่ยงยากจริงครับ ถ้าสังเกตดีๆไมโครพลาสติกนี่รอบตัวเลย เผลอกินไปบ้างเท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้
@Mama-ck2sf
@Mama-ck2sf 8 ай бұрын
🙏คุณหมอ ขออนุญาตค่ะออกกำลังกายเหงื่อที่ออกมา=ขับไล่สารพิษในร่างกายได้ เคยสังเกตุจากตัวเอง ถ้าไม่ได้ออกกำลังกายหลายวัน พอกลับมาออกกำลังกายเหงื่อออกมามีความเค็มและแสบตา หากออกกำลังกายต่อเนื่องเหงื่อจะจืดและไม่มีกลิ่นตัวค่ะ😅 😮นี่คือข้อดีอีกอย่างของการออกกำลังกายใช่ไหมคะ😊
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
ดีละครับที่ออกกำลังกาย
@AMMY.SKM1985
@AMMY.SKM1985 9 ай бұрын
สวัสดี​ค่ะ อาจารย์​🙏🏻​🧸​✨​🥰 เกี่ยวกับเรื่องภาชนะ​ใส่อาหารที่เป็นพลาสติก เราจะใช้เมื่อใส่อาหารที่ต้องเก็บเข้าตู้เย็น และที่บ้านไม่มีไมโครเวฟค่ะ จะใช้เตาและแกสเป็นปกติประจำ เวลาทำอาหารก็จะเป็นจำพวก ต้ม นึ่ง ผัด ทอด เมื่อต้องอุ่นอาหารจะใช้ภาชนะโลหะพวกหม้ออลูมิเนียมและสแตนเลสสตีล หากต้องเอาอาหารมาอุ่นก็จะเปลี่ยนภาชนะก่อนค่ะ เพราะเชื่อว่าพลาสติกเวลาโดนความร้อนแล้วไม่น่าจะปลอดภัยกับเราซะเท่าไหร่ค่ะ 🙏🏻​😊
@user-uv6dx3ie4z
@user-uv6dx3ie4z 9 ай бұрын
ดีงามค่ะ ต้องช่วยกันเริ่มจากตัวเราเอง
@StateSpace289
@StateSpace289 9 ай бұрын
เห็นร้านแถวบ้านขายน้ำต้มน้ำตาลแล้วใส่ผลไม้ที่ต้องแกะเม็ดออกเป็นน้ำกระแสที่ดังๆใน​TT ต้มเสร็จร้อนๆเสร็จเทใส่โหลพลาสติกขุ่นสีขาวควันครุกรุ่นเป็นชั่วโมงเลย​คนก็ยังซื้อกินก็นะ​ คืออยากบอกว่าจะซื้ออะไรกินก็ระวังกันด้วย
@jumnarumol1309
@jumnarumol1309 2 ай бұрын
คนขายแย่นะที่ทำอย่างนี้ ไม่นึกถึงคนกิน ที่นำเงินมาให้เลย ที่จริงเขาควรจะลงทุนซื้อถังสแตนเลส หม้อสแตนเลสหรือหม้ออลูมิเนียม หรือหม้อเคลือบ มันก็ไม่ได้แพงมาก ใช้ประโยชน์ต่อได้
@StateSpace289
@StateSpace289 2 ай бұрын
@@jumnarumol1309 เป็นถังที่ตักขายโชว์หน้าร้านในตัวน่ะครับ​แบบขาวขุ่นแบบพวกขายลอดช่องแต่มองเห็นสินค้า ก็คงไม่ใช้แบบถังสแตนเลสปืดทึบครับเพรนะต้อวโชว์ด้วย​ และถ้าใสโหลแก้วโหลแก้วก็คงแตกเพราะร้อนๆต้มเสร็จก็เทใส่เฉย คงยากครับจิดสำนึกคนเราที่ห่วงคนอื่น​ อย่างไก่ทอดมาเช่าขายข้างบ้านผมก็ซื้อนะแรกๆหลังๆไม่กล้ากินแล้วเพราะ​ น้ำำมันไม่เคยเปลี่ยนเห็นเติมเข้าไปอย่างเดียวแม้ว่าน้ำมันจะดำปี๋ไม่เห็นทิ้ง​ และภ้ากลับตจวหลายวันกะทะที่ล้างไว้ก็วางบนรถเข็นตากลมฝมและสัตว์เช่นหนู​ เห็นคราบแป้งก็ยังอยู่ดูล้างไม่สะอาดและถ้ากลับตจวไปเป็นอาทิตย์​ กลับมาตั้งร้านกะทะก็ไม่เห็นล้างใหม่ก็ตั้งเตาเทน้ำมันใข้ต่อเลย​ ขายดีมากนะสงสารคนซื้อแต่ผมไม่กล้ากินล่ะ
@StateSpace289
@StateSpace289 2 ай бұрын
@@jumnarumol1309 มีก็คงมีน้อยครับที่คำนึง​ และมีจรรยาบรรณ​
@Reno7220Ja
@Reno7220Ja 9 ай бұрын
คุณหมอคะ หากขวดที่ ปราศจาก Microplastic 1. อายุการใช้งาน อย่างไรคะ ? 2. กี่เดือน กี่ปี แล้วเปลี่ยนคะ 3. อย่างสินค้าของ จีน เราจะเชื่อมั่นได้อย่างไร คะ ว่า ที่เขาเขียน มันปราศจาก จริงๆ ขอบคุณมากค่ะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
มันขึ้นกับว่าทำมาจากอะไรครับ ถ้าทุกอย่างทำมาจาก plastic ยังไงก็จะมีการปนเปื้อนได้ แต่ถ้าทำมาจากแก้ว หรือสิ่งอื่นก็ใช้ไปได้นานจนกว่ามันจะเสียนั่นแหละครับ
@Reno7220Ja
@Reno7220Ja 9 ай бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากๆค่า🙏🏻
@user-hj4co6oz4g
@user-hj4co6oz4g 8 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ มีรายละเอียดดีค่ะ มีประโยนช์มากเลย เข้าไปดูในครัวก่อนค่ะ
@Hoshi1451
@Hoshi1451 9 ай бұрын
😊ขอบคุณอจ.หมอมากค่ะ🙏
@kawinjar
@kawinjar 9 ай бұрын
ขอบคุณมากครับ ความรู้ไกล้ตัวที่ไม่เคยรู้ครับ
@phetchkamlangdech673
@phetchkamlangdech673 9 ай бұрын
สวัสดีครับอาจารย์หมอ ขออนุญาตเพิ่มเรื่องเกลือ เกลือสำเร็จรูปส่วนหนึ่ง น่าจะส่วนใหญ่ในอาหารมาจากเกลือสินเธาว์ ได้จากแร่เกลือใต้ดิน ครับ
@user-ye9lv2zk3n
@user-ye9lv2zk3n 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ ไม่เคยทราบความหมายของตัวเลขในสัญลักษณ์สามเหลี่ยมมาก่อนเลย
@sujinsamolta8458
@sujinsamolta8458 9 ай бұрын
ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ และขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ ป้ามาขอบคุณมากนะคะ แชร์ให้ลูกสาวแล้วค่ะ
@user-ds2eg3lk5z
@user-ds2eg3lk5z 9 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆค่ะ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 9 ай бұрын
ไมโครพลาสติกปะปนกับอากาศ อนุภาคขนาดเล็กแต่มีจำนวนมหาศาล จะเข้าไปในอากาศได้เมื่อวัตถุพลาสติกได้รับความเสียหายจากการ ขูดขีด เสียดสี บางส่วนที่ติดค้างอยู่ในทะเลจะถูกคลื่นทะเลซัดปนกับละอองน้ำ ระเหยลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ไมโครพลาสติกเดินทางข้ามทวีปได้ในรูปแบบลม ตามสภาพอากาศจากแหล่งกำเนิดมลพิษในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ไปไกลถึงมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและแถบอาร์กติก ส่วนบริเวณพื้นที่เมืองใหญ่มีแหล่งกำเนิดจากฝุ่นละอองตามถนนเป็นส่วนมาก ส่วนที่เหลือมากับละอองน้ำทะเลและดินจากการเกษตร ในบรรยากาศมีอนุภาคพลาสติกหลายชนิด แต่ละชนิดมีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกัน ความหนาแน่นของไมโครพลาสติกแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสภาพอากาศ แรงลม โครงสร้างเมือง จำนวนประชากรและยานยนต์
@user-eh2ec3rn6w
@user-eh2ec3rn6w 3 ай бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมาก ครับ
@user-ls7lx2df9l
@user-ls7lx2df9l 8 ай бұрын
ได้ความรู้และข้อคิดที่ดีจากคุณหมอทุกครั้งที่ฟังคลิปเลยครับ
@user-ki6pr1hp9n
@user-ki6pr1hp9n 9 ай бұрын
คุณหมอคะแล้วโลหะหนักที่ปนเปื้อนในสัตว์ทะเล ที่เรากินเข้าไปสามารถขับออกทางเหงื่อเหมือนไมโครพลาสติกได้รึเปล่าค่ะ
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
ได้ค่ะ คุณหมอพูดในคลิปว่าออกกำลังกายจนได้เหงื่อขับโลหะหนักได้ค่ะ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 9 ай бұрын
😊🌼🍃ขอบคุณมากค่ะ🙏
@pt7368
@pt7368 9 ай бұрын
ทุกวันนี้พยายามกำจัดขยะพลาสติกให้ถูกที่ถูกทาง กทม. ส่ง N15 ส่วนขยะอื่นๆ แยกตามประเภท อยากให้ทุกๆคนช่วยกัน ไมโครพลาสติกน่ากลัวมาก
@Chaweewan8769
@Chaweewan8769 9 ай бұрын
ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความรู้เกี่ยวกับไมโครพลาสติกเสมือนเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาของพลาสติกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์น้ำและชีวิตของผู้คนเป็นประโยชน์มากค่ะ
@wonsilapattawee8134
@wonsilapattawee8134 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ตรงใจจังกำลังจะถามอยู่พอดี เพราะเด็กๆชอบเอาของที่เป็นพลาสติกเข้าเวฟ ขอบคุณมากๆค่ะ
@user-si5gr8cp5s
@user-si5gr8cp5s 9 ай бұрын
ขอบพระคุณอาจารย์แทนมากนะคะ ได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นทุกครั้งค่ะ
@panachadaintasunan8582
@panachadaintasunan8582 9 ай бұрын
ขอบคุณคุณหมอค่ะ
@tikmickey
@tikmickey 9 ай бұрын
ปัจจุบันมีวิธีตรวจระดับไมโครพลาสติกที่สะสมในร่างกายไหมคะ และมีในระดับไหนคือปลอดภัยหรืออันตรายค่ะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ไม่มีครับ
@sunsnap1317
@sunsnap1317 9 ай бұрын
ต้นไม้สามารถดูซึมไมโครพลาสติกได้มั้ยครับหมอ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
ได้ค่ะ แต่เป็นต้นไม้บางชนิดนะคะ เช่น ต้นเบิร์ช
@Phanita999
@Phanita999 9 ай бұрын
ที่ทำงาน มีบอร์ดติดเตือนเรื่องนี้ค่ะ ว่า สุดท้ายแล้ว มันก็จะกลับมาหาเราค่ะ เพราะ เราจะต้องกิน ปลา ไร พวกนี้ เป็นหนึ่ง ในห่วงโซ่อาหารค่ะ
@sumleedechma4618
@sumleedechma4618 9 ай бұрын
นาฬิกา หมอ สวย ค่ะ
@suriyawong75
@suriyawong75 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ😊😍😍
@gaewaleegaewalee7941
@gaewaleegaewalee7941 9 ай бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ👍🙏
@princeruamsupnukul4507
@princeruamsupnukul4507 8 ай бұрын
หมายความว่า ขวดน้ำต่างๆเราก็ไม่ควรล้างเอามาใช้ซ้ำ ควรใช้ขวดแก้วหรือพวกที่ไม่ใช่พลาสติกดีกว่าสินะครับ แล้วยังมีพวกจานชามก็เป็นเมลามีนที่ไม่แน่ใจว่าอันตรายไหมครับ
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
อันตรายได้ครับ เคยเป็นข่าวเมื่อสิบปีก่อนนะครับ
@princeruamsupnukul4507
@princeruamsupnukul4507 8 ай бұрын
@@DrTany จำข่าวไม่ได้เลยครับ เดี๋ยวคงต้องไปหาดูครับ
@kirakirahitomi1849
@kirakirahitomi1849 9 ай бұрын
บนภูเขาที่เจอไมโครพลาสติก อาจจะมาจากน้ำฝนด้วยส่วนหนึ่งไหมคะ มีข่าวหลายสำนักแจ้งว่าไมโครพลาสติกอยู่ในน้ำฝนด้วยค่ะ 🤔
@Phanita999
@Phanita999 9 ай бұрын
ขวดน้ำดื่ม เอาไปทิ้งแลก coins ที่โลตัสค่ะ... แต่เครื่องเสียบ่อยๆ ก็ไปทิ้งที่เขาฟรีๆ ...แล้วเขาก็เอามาทำเป็นถุงขยะ มาขายเราอีกที บอกด้วยนะว่าทำจากขวดน้ำที่นำมาทิ้งที่โลตัส 🤣
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov 9 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ในวันนี้ค่ะ คุณหมอแทน
@arunsromsiri5836
@arunsromsiri5836 5 ай бұрын
เราเป็นคนชอบทานข้าวกล่องในร้าน7-11คะเพราะร้านขายอาหารยังไม่เปิดคะเพราะไปแต่มืด,และสะดวกดีแถมอร่อยด้วย,ไม่เคยรู้เลยคะว่าพลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ต้องมีรูปสามเหลี่ยมและมีหมายเลขระบุ,กินไม่รู้จะเท่าไหร่แล้วคะ,รีบเอากล่องใส่อาหารมาดูมีรูปสามเหลี่ยมและเลข5ระบุไว้ด้านหลังรอดแล้ว ,ต่อไปต้องสังเกตซะแล้วขอบคุณหมอTanyและFcที่เอาข้อมูลมาบอกคะ🙏👍😊🍀🍀🍀👍👍👍
@user-rx8ow6pf3f
@user-rx8ow6pf3f 9 ай бұрын
ผมขอให้คุณหมอพูดเรื่องความสูงครับ ผมอยากให้ลูกชายตัวสูงครับ 🙏🏼🙏🏼🙏🏼
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
นอนให้พอ กินให้พอ ออกกำลังกายทุกวัน ไม่เครียด แล้วจะเพิ่มโอกาสสูงครับ
@user-qk3rr2sz1r
@user-qk3rr2sz1r 9 ай бұрын
ขอบคุณ อจ หมอมากค่ะ
@minahmiki
@minahmiki 9 ай бұрын
หมอแทนคะ ล่าสุดคนไทยกินน Colloidal Silver แล้วค่า cds เพิ่งจะจบไปป🫠🫠
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
คงต้องปล่อยให้มีปัญหาแล้วล่ะครับ ใครกินก็รักษากันเอาเอง ไม่ต้องไป รพ ดีกว่าครับ
@wanpenleohirun8153
@wanpenleohirun8153 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ🙏
@pasita8943
@pasita8943 9 ай бұрын
ความรู้แน่นมาก ขอบคุณมากๆ ค่ะ
@rossakorntuk9282
@rossakorntuk9282 9 ай бұрын
ขอบพระคุณ อาจารย์หมอมากค่ะ
@yupinintaya3081
@yupinintaya3081 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอแชร์ต่อแล้วค่ะ
@pechr2249
@pechr2249 9 ай бұрын
เหมือนจะมีอีกตัวรึเปล่าครับที่กินพลาสติกได้ แต่ไม่ชัวร์ว่าเท็จจริงแค่ไหน ชื่อ Superworm แต่ผมสงสัยว่ามันก็ค้นพบทั้งแบคทีเรียกับหนอนตัวนี้มาตั้งหลายปีแล้วแต่ไม่มีเอามาใช้เป็นจริงเป็นจังสักที หรือเพราะมันมีปัญหาบางอย่างอยู่เลยยังไม่กล้าเอามาใช้จริงจัง
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
นั่นก็มีครับ จริงๆมีหลายตัวเลยด้วยครับ
@Sonh072
@Sonh072 9 ай бұрын
Thank you 🙏🏻 so much ⭐️👨🏼‍⚕️⭐️
@nung-noppapat
@nung-noppapat 9 ай бұрын
ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰
@AvecBella
@AvecBella 9 ай бұрын
Morning Smiles for a Thankful Thursday ka Doctor Tany. A spirit of gratitude makes all the difference 🌤️🌻🍎 Thank you for the topic on Microplastics/Phthalate/BPA today. Be back to listen and comment. Happiest Thursdayyy! 🙃 🍂🍐🍁🍇🌾
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ❤
@gigiphong7321
@gigiphong7321 9 ай бұрын
Thanks!
@applemini8464
@applemini8464 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ
@ALL86898
@ALL86898 9 ай бұрын
ยินดีกับตัวเลขFC5.2.3แสนคนค่ะ💙💙💙💙💙.💜💜.❤️❤️❤️ 🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀
@mr.kodokomayomshit6129
@mr.kodokomayomshit6129 9 ай бұрын
ไมโครพลาสติกมันติดไปกับไอน้ำที่ระเหยขึ้นไปบนชั้นเมฆครับ
@kirakirahitomi1849
@kirakirahitomi1849 9 ай бұрын
@@carol2020 เห็นข่าวหลายสำนักออกข่าวนะคะ 🤔
@spk2364
@spk2364 9 ай бұрын
ของไมโครเวฟ 7-11 เช่น อกไก่ ข้าวกล่อง ไก่ห่อสาหร่าย ไข่ตุ๋น พนักงานจะฉีกซอง หรือ เจาะรูพลาสตืกที่หุ่มกล่อง แล้วเอาเข้าไมโครเวฟ เวฟจนร้อน ให้เรากิน แบบนี้อันตรายไหมครับ? ผมกินประจำเลย เฉลี่ย สัปดาห์ละ ~6มื้อ จะเป็นอะไรไหมครับ?
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
ไม่อันตรายค่ะ เพราะทาง CP เขาใช้พลาสติกชนิดที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ค่ะ
@surasakanakekanjanapan
@surasakanakekanjanapan 9 ай бұрын
ความร้อนในการอุ่นต่ำ ไม่มีผลอะไรกับภาชณะที่ใส่หรือห่อหุ้มครับ. ญาติผมกินอาหารแช่เย็นแช่แข็งของ 7-11 คนเดียวไม่ต่ำกว่า 5,000 กล่อง ก็สบายดีครับ.
@audaudanut3068
@audaudanut3068 9 ай бұрын
สวัสดื่ครับติดตามรับชมอยู่ครับ
@tumzthedog9309
@tumzthedog9309 9 ай бұрын
ขอบคุณครับอาจารย์♥
@user-km2xf4gz9o
@user-km2xf4gz9o 9 ай бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ
@user-rx8ow6pf3f
@user-rx8ow6pf3f 9 ай бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากครับ ความรู้แบบนี้ประชาชนทุกๆคนควรรู้
@user-rx8ow6pf3f
@user-rx8ow6pf3f 9 ай бұрын
เลข 2 กับเลข 5 ผมจะจำใว้ครับ 💙
@RukPragasit
@RukPragasit 9 ай бұрын
คุณหมอคะฝากคำถามคะ คือวันนี้กัดปากตัวเองทั่งวันเลยคะ ตอนเช้าทานขนมปังแล้วกัดกลางวันกัดที่เดิมอีก ไม่ได้กัดบ่อยนะคะแต่เคยกัดเลือดออกเลยคะ แต่เข้าใจมาตลอดว่าถ้ากัดปากตัวเองคือช่วงนั้นน่าจะกำลังร้อนใน อยากรู้ว่าทำไมคะ คุณหมอมีเคยพูดเรื่องกัดปากตัวเองร้อนในอะไรแบบนี้มั้ยคะจะตามไปฟังคะ เหมือนเคยได้ยินหมอจากไหนไม่แน่ใจนะคะบอกว่าร้อนในไม่มีอยู่จริง
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
เป็นจากความเคยชินครับ ต้องแก้ที่นิสัยครับ
@RukPragasit
@RukPragasit 9 ай бұрын
ขอบคุณคะคุณหมอ@@DrTany
@wonsilapattawee8134
@wonsilapattawee8134 9 ай бұрын
ฟังๆแล้วมันใกล้ชิดตัวเราตลอดทั้งวันหลีกเลี่ยงยากมาก
@praneewernlim
@praneewernlim 9 ай бұрын
MANY THANKS FOR THIS CLIP BEST WISHES
@praneesealor8005
@praneesealor8005 9 ай бұрын
สวัสดีคะ ขอบคุณสำหรับความรู้ รบกวนสอบถามว่า ถุงชา หรือถุงน้ำขิง ที่ไว้ชงแบบแช่น้ำร้อน เคยได้ฟังว่า มีไมโครพลาสติกอยู่จริงมั้ยคะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
จริงครับ
@praneesealor8005
@praneesealor8005 9 ай бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากคะ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใช้แบบถุงทุกวัน ไม่งั้นคงสะสมกันน่าดูนะคะ เหลือให้อย่างอื่นบ้าง คงมีอีกหลายเมนูคะ
@user-th4xl5dk1j
@user-th4xl5dk1j 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ
@user-dr9mv4dn9t
@user-dr9mv4dn9t 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอ
@johnlo397
@johnlo397 9 ай бұрын
สวัสดีคับหมอ มาฟังเอาความรู้จากหมอทุกวันเลยคับ😊😊
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn 9 ай бұрын
ดีใจกับ 523K อีกครั้งนะคะ ขอบพระคุณที่คุณหมอห่วงใยคนไทยเสมอมาค่ะ
@bemiracle
@bemiracle 9 ай бұрын
อ.หมอ คะ แล้วถุงพลาสติกที่เขาไว้ใส่น้ำก๋วยเตี๋ยวร้อนๆ ไม่มีเบอร์ติดที่ถุงอะค่ะ อันตรายไหมคะ ตั้งแต่มาฟังอ.หมอ ก็ออกกำลังกายทุกวันค่ะ ขอบคุณ อ.หมอ มากกกค่ะ🙏 สวัสดีค่ะ 🙏
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
ที่ตัวถุงพลาสติกไม่มีเบอร์ระบุไว้ค่ะ แต่จะระบุไว้ที่หีบห่อ คือ จะเขียนว่า ถุงร้อนใส PP ซึ่งทำมาจากเม็ดพลาสติกชนิด Polypropylene นิยมมาใส่อาหารร้อนๆ เช่น โจ็ก ก๋วยเตี๋ยว น้ำซุป แกงต่างๆค่ะ
@bemiracle
@bemiracle 9 ай бұрын
@@FragranzaTrippa อ๋อค่าาา ขอบคุณค่ะ 🙏
@louisemarompon4873
@louisemarompon4873 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ อยากให้คุณหมอแนะนำเกี่ยวกับถุงมือที่พ่อค้า แม่ค้าใช้ถุงมือจับอาหารด้วยค่ะ ว่าต้องมีเกรดเฉพาะใช่มั้ยค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
แนะนำเป็นถุงมือยางไนโตรค่ะ ถุงมือสัมผัสอาหารระดับ food grade มีหลายยี่ห้อ เช่น - ศรีตรังโกลฟ์ ถุงมือยางไนไตร - โพลี-ไบรท์ ถุงมือยางไนไตร - Microtex Synthetic Silky Glove. - Master Glove ถุงมือยางไนไตรแท้ 100% - TMG ถุงมือไนไตร - บางกอกโกลฟส์ ถุงมือยางไนไตร - KLEANGLOVE ถุงมือยางไนไตร
@todsponjun906
@todsponjun906 3 ай бұрын
ไมโคพลาสติกเข้าสู่ร่างกายมีผลกระทบต่อร่างกายไหมครับ
@DrTany
@DrTany 3 ай бұрын
มีครับ เล่าในคลิปไปบ้างแล้วครับ
Smart Sigma Kid #funny #sigma #comedy
00:40
CRAZY GREAPA
Рет қаралды 37 МЛН
Sunglasses Didn't Cover For Me! 🫢
00:12
Polar Reacts
Рет қаралды 5 МЛН
ทำไมถึงมึนหัวบ่อย
23:28
Doctor Tany
Рет қаралды 72 М.