ทำไมนอนโรงพยาบาลอยู่ดีๆ แล้วติดเชื้อได้

  Рет қаралды 31,196

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 209
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
ทำไมนอนโรงพยาบาลอยู่ดีๆแล้วติดเชื้อได้ สวัสดีครับ เคยมีคนสงสัยไหมครับว่าทำไมเวลาที่เรานอนโรงพยาบาลตอนแรกเนี่ยไม่ได้มีอะไรอยู่ๆไปอยู่ๆมานะครับเกิดการติดเชื้อในร่างกายไม่ว่าจะเป็นปอดติดเชื้อนะครับ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือดหรือแม้กระทั่งติดเชื้อในลำไส้ ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้นนะครับ รวมทั้งบางกรณีเนี่ยนะคือมันดันเป็นเชื้อดื้อยาซะด้วยนะครับหรือบางคนก็เคยได้ยินมาว่าทำไมหมอถึงรีบให้กลับบ้านเร็วจังเรายังรู้สึกไม่ดีเลยเราขออยู่ต่อได้ไหมนะครับ วันนี้ผมก็จะมาไขความกระจ่างในเรื่องนี้ให้ทุกๆท่านฟังกันเลยนะครับ พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
1️⃣ สาเหตุที่คนเราเนี่ยนะครับอยู่โรงพยาบาลแล้วมันติดเชื้อได้ง่ายนะครับมันมีอยู่ 3-4 ประการด้วยกันนะครับ 🔶ประการแรกนะครับคือในโรงพยาบาลเชื้อโรคมันเยอะอยู่แล้วนะครับต่อให้เราทำความสะอาดดีแค่ไหนก็แล้วแต่นะครับมันก็มีโอกาสที่เชื้อเหล่านั้นเนี่ยจะเข้าไปสู่คนไข้ได้ค่อนข้างที่จะง่ายนะครับ เชื้อมันอยู่ตรงไหนบ้าง? ➡️มีทั้งหลายแหล่เลยครับ เช่น กลอนประตูในโรงพยาบาล ตามพื้นผิว ตามโต๊ะ ผ้าม่าน ห้องน้ำ ซิงค์ล้างหน้า ก๊อกน้ำ ทุกๆที่นะครับมีเชื้อโรคพวกนี้ได้อยู่แล้ว แล้วเชื้อโรคพวกเนี้ยมันก็มาจากคนหลากหลายนะครับ เช่น คนไข้หลายๆคนเวลาป่วยอะไรเข้ามาในโรงพยาบาลเนี่ยเขาก็จะมีเชื้อโรคบางอย่างอยู่แล้วนะครับและเชื้อโรคพวกนั้นเนี่ยนะครับเพียงแค่ตัว 2 ตัวเนี่ยบางทีเรามองไม่เห็นนะหรือบางทีมีเป็นล้านตัวเราก็มองไม่เห็นมันก็มีการกระจายไปได้ เช่น สมมติว่าคนไข้คนนึงไอแล้วมันไปแปะอยู่ตามที่ต่างๆแล้วมีคนไปจับโดยที่ลืมล้างมือแล้วไปจับตรงนั้นตรงนี้มันก็กระจายไปทั่วโรงพยาบาลได้ ที่สำคัญแหล่งน้ำในโรงพยาบาลเนี่ยบางทีเชื้อโรคมันก็อยู่ในนั้นแล้วก็เพาะพันธุ์ได้ง่ายๆเลยนะครับต่อให้ทางโรงพยาบาลระวังดีแค่ไหนมันก็จะมีเชื้อโรคพวกนี้อยู่เป็นที่ๆไปเขาก็พยายามทำความสะอาดทำทุกอย่างแต่เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่ไม่มีทางมองเห็นได้มันก็เลยป้องกันได้ไม่มีทางร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับและทุกๆที่มันก็จะมีปัญหาอย่างนี้เยอะนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
2️⃣ ในโรงพยาบาลบริเวณไหนที่มีเชื้อโรคเยอะที่สุดและน่ากลัวที่สุด? ➡️ICU ครับเพราะว่าคนที่หนักที่สุดเวลามีโรคอะไรมันก็จะอยู่ตรงนั้นน่ะนะครับไปกองอยู่ตรงนั้นที่เดียวนะครับ แล้วนั่นแหละครับคือปัญหานี่คือประกันแรกนะครับ ว่าทำไมเราถึงติดเชื้อได้ง่ายเพราะว่าปริมาณเชื้อในโรงพยาบาลเนี่ยมันเยอะต่อให้ทำดียังไงสะอาดยังไงมันก็เยอะอยู่ดี 🔶ประการที่ 2 คือคนไข้มานอนโรงพยาบาลเขามาทำไมกันนะครับ? ➡️เขามาเพราะว่าร่างกายไม่ปกติ เขามีความเจ็บป่วยต่างๆนะครับไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงที่คุมไม่ได้ เบาหวานที่มันมีภาวะแทรกซ้อนโรค ไตเรื้อรังนะครับแล้วก็มีการกำเริบฉับพลัน โรคติดเชื้อชนิดต่างๆ ของเหล่านี้ทั้งหมดนี้มันทำให้ภูมิต้านทานของคนไข้เนี่ยอ่อนแอลง ทีนี้เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอมาเจอกับเชื้อพวกนี้ก็ติดเข้าไปได้ง่ายๆนะครับติดเข้าร่างกายไปได้ง่ายๆ อย่างคนบางคนที่ไอออกมาไม่เป็นเชื้อโรคมันเข้าไปในปากนิดเดียวถ้าคนธรรมดาไอออกมามันก็หายไปแล้วแต่คนพวกนี้ไอไม่ได้มันก็ลงไปในคอสักพักนึงก็เกิดปอดอักเสบ หรือบางคนอยู่ในปากสำลักคือหมอเขาห้ามกินข้าวแต่คนไข้ก็อยากจะกินให้ได้นะครับกินเข้าไปสำลักเข้าไปไม่รู้ตัวลงไปในปอดเกิดปอดติดเชื้อนะครับ นั่นเป็นประกันที่ 2
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
3️⃣ 🔶ประการที่ 3 คือหัตถการต่างๆที่หมอจำเป็นจะต้องทำมันก็ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ยกตัวอย่างเช่น การใส่สายส่วนปัสสาวะนะครับ ปกติปัสสาวะของเรามันต้องไหลออกทางเดียวแล้วก็ไม่มีอะไรสวนเข้าไปในท่อปัสสาวะใช่ไหมครับทีนี้พอมีอะไรสวนเข้าไปในท่อปัสสาวะเชื้อโรคก็มาตามท่อนั้นได้นะครับมันก็ไต่ๆเข้ามาแล้วก็เข้าไปในทางเดินปัสสาวะของเราก็ได้ ใส่สายสวนเข้าจมูกเพื่อให้อาหารก็เกิดไซนัสอักเสบได้เพราะว่าไซนัสของเราปกติมันควรที่จะมีการระบายเยื่อเมือก ระบายพวกเมือกพวกอะไรพวกนี้ออกมาได้ ถ้ามันระบายไม่ได้เพราะว่ามีสายไปคามันอยู่ก็เกิดการติดเชื้อได้ การเจาะเส้นเลือดต่างๆโดยเฉพาะการเจาะเส้นเลือดใหญ่ที่คอสายตรงนี้มันตรงเข้าเส้นเลือดโดยตรงก็แปลว่าทุกๆอย่างที่ตรงสายนี้ต่อให้สะอาดยังไงมันก็จะมีโอกาสที่จะเข้าไปข้างในได้อยู่ดี เช่น ผิวหนังของคนมันไม่ได้สะอาด 100% นะครับผิวหนังของทุกคนมีแบคทีเรียอยู่บนนั้นแล้วคุณคิดดูแบคทีเรียมันต้องเพิ่มจำนวนถูกไหมครับดังนั้นถ้าเกิดว่าคุณไม่ได้ทำความสะอาด คุณมีเหงื่อออก มีขี้ไคล แบคทีเรียมันก็กินขี้ไคลไปเรื่อยๆแล้วมันก็เพิ่มจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแล้วตอนนี้มันมีสายอันนึงนะครับจิ้มจากผิวหนังเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรงกับจิ้มจากผิวหนังเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรงแล้วคุณคิดหรือครับว่าแบคทีเรียมันจะปนเปื้อนเข้าไปในนั้นเข้าไปในเลือดไม่ได้ มันก็เข้าไปได้อยู่ดีนะครับ หรือใครมีแผลผ่าตัดอันนี้ตรงๆนะครับคือเชื้อโรคมันก็เข้าทางแผลผ่าตัดได้ต่อให้หมอเขาทำความสะอาดดียังไงมันก็มีโอกาสที่เชื้อเหล่านี้จะเข้าไปสู่ร่างกายได้เช่นกัน สายอะไรก็แล้วแต่บางคนใส่เครื่อง ECMO (Extracorporeal Membrane Oxygenation) หรือเครื่องปอดและหัวใจเทียมเชื้อมันก็สามารถเข้าไปทางสายนั้นได้ คนที่ใส่ท่อช่วยหายใจเชื้อก็สามารถเข้าไปทางท่อช่วยหายใจของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำที่ใช้หล่อเครื่องช่วยหายใจหรือแบคทีเรียในช่องปากถ้าดูแลไม่ดีมันก็เข้าไปสู่ทางเดินหายใจเกิดปอดอักเสบติดเชื้อได้นะครับ นี่คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหัตถการทางการแพทย์ที่เราต้องทำ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
4️⃣ แต่ถามว่าไม่ทำได้ไหม? ➡️ไม่ได้ครับ ไม่อย่างนั้นคนไข้ก็อาจจะไม่รอดเพราะว่าถ้าเกิดคุณมาด้วยอาการหายใจไม่ออกหายใจวายแล้วหมอก็ต้องช่วยชีวิตคุณหมอก็อาจจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจนะครับ ถ้าคุณกลัวบอกว่า “ใส่ท่อช่วยใช้แล้วมันจะติดเชื้อ” ไม่ได้ครับ เราต้องทำ แล้วก็บางกรณีที่มีคนมาถามผมบอกว่า “ถ้าเราใส่ท่อช่วยหายใจอยู่แล้วหมอบอกให้เราเจาะคอจะทำดีหรือเปล่า?” ตรงนี้ลองไปฟังคลิปเรื่องเจาะคอควรจะทำหรือไม่ควรนะครับ พิจารณาจากอะไร แต่ส่วนหนึ่งนะครับในคนที่ทำจะทำให้การดูแลทำได้ง่ายขึ้น การดูดเสมหะทำได้ดีขึ้น เพราะว่าการที่คุณมีเสมหะคั่งอยู่นานๆ ปัญหาของคนที่มี่เสมหะคั่งก็คือเสมหะพวกนี้เต็มไปด้วยเชื้อโรคและเราปล่อยไว้นานๆมันคั่งนานๆมันก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกระทั่งเราเกิดปอดติดเชื้อนั่นเองนะครับ และที่สำคัญถ้าคนไข้สามารถไอออกมาได้ก็จะเป็นการกำจัดพวกเมือกเหล่านี้ได้ดี แต่ถ้าเกิดคุณมีท่อที่สอดอยุ่ในปากจะปล่อยให้คนไข้ตื่นไม่ได้ครับเพราะทรมาน คนไข้ก็จะดึงท่อออกก็มีอันตรายต่อชีวิตได้นะครับ ดังนั้นการที่เราจะให้คนไข้มีท่ออยู่ในปากและจะให้เขาไอมันทำไม่ได้เราต้องทำด้วยวิธีเดียวคือท่อที่เจาะตรง คอมีโอกาสทำให้คนไข้ตื่นได้ ไอได้ ดูดเสมหะได้นะครับนี่ก็คือเป็นเหตุผลที่ถ้าหัตถการอะไรจำเป็นต้องทำมันก็ต้องทำนั่นแหละครับตรงนี้สำคัญมากๆ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
5️⃣ 🔶แล้วก็อีกปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้คนในโรงพยาบาลติดเชื้อง่ายนะครับคือคนไข้ที่นอนโรงพยาบาลบางคนไม่ติดเชื้อเลยนะแต่ห้องข้างๆมีหรือคนอื่นมีก็มีคนไปเอาจากตรงนั้นมาตรงนี้ ทั้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเองหรือญาติคนไข้เองนั่นแหละครับ ญาติคนไข้เองนี้ก็มีส่วนเหมือนกันเพราะว่าหลายๆครั้งนะครับหมอพยาบาลจะบอกเลยว่า “ห้องนี้เวลาเราเข้าไปเราจะต้องมีการใส่ถุงมือ ใส่ชุด PPE (Personal Protective Equipment) ออกมาก็ต้องล้างมือ“ เชื้อบางชนิดสามารถล้างได้ด้วยแอลกอฮอล์ได้แต่เชื้อบางชนิดมันล้างแอลกอฮอล์แล้วมันไม่ตายคุณต้องไปล้างสบู่กับน้ำเท่านั้นนะครับ ยกตัวอย่างเช่น Norovirus นี้ไม่ตายนะครับ Clostridioides Difficile ไม่ตายต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่เท่านั้นนะครับไม่เช่นนั้นโอกาสที่ท่านจะเอาเชื้อพวกนี้ไปให้คนอื่นๆมันก็จะสูงมากขึ้น และแน่นอนทุกคนมาเยี่ยมมาเยี่ยมเข้าไปในห้องแล้วเข้าไปยังไงครับเปิดประตูเข้าไปมีใครที่ล้างมือก่อนเข้าแล้วล้างมือตอนออกมาไหม มันก็ต้องมีคนที่ทำแล้วไม่ทำบ้างนั่นแหละครับ ที่อเมริกาเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เวลาหมอกับพยาบาลจะเข้าแล้วจะออกจากห้องคนไข้ต้องล้างมือเสมอนะครับ บางชนิดที่เป็นการติดเชื้อที่จำเป็นจะต้องล้างด้วยน้ำแล้วก็สบู่เราก็จะแปะป้ายไว้หน้าห้องเลยว่า “ต้องล้างด้วยน้ำและสบู่เท่านั้น” แต่ถ้าเกิดเป็นเชื้อชนิดอื่นที่ล้างด้วยแอลกอฮอล์ได้เราก็บอกว่าคุณจะทำยังไงก็ได้แต่ขอให้ล้างมือทั้งก่อนและเข้านะครับ นี่คือปัจจัยที่ 4 ที่ทำให้คนเรานั้นมีโอกาสติดเชื้อดื้อยาเข้าไปในร่างกายตอนที่คุณอยู่โรงพยาบาลได้นะครับ
@thongrattana6140
@thongrattana6140 Жыл бұрын
นี่ไง ตรงกับที่ผมคิดเลย คือไม่จำเป็นจริงๆ อย่าไปโรงพยาบาล และมีชีวิตอยู่โดยไม่ป่วยเลย โดยการออกกำลังกายตลอดเวลา
@DoDeeDee-2567
@DoDeeDee-2567 Жыл бұрын
พยาบาลเป็นส่วนหนึ่งในการแพร่เชื้อค่ะอจ. ในห้องรวมคนไข้ พยาบาลใส่ถุงมือคู่เดียว เดินทำหัตการให้คนไข้เกือบทุกเตียง เห็นแล้วกลัวเลย
@EndlessRain1980th
@EndlessRain1980th Жыл бұрын
ดีใจอาจารย์ลงคลิปแล้ว 😊 จำได้อาจารย์เคยบอกว่า ถ้าหมอบอกให้รีบกลับบ้านให้ทำตามคำแนะนำ เพราะ โรงพยาบาลเต็มไปด้วยเชื้อโรค คลิปนี้ได้ความรู้เจาะลึกลงไปอีก 👍🏼
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน ยอดผู้ติดตาม 5.53 แสนคนค่ะ สถานีต่อไป 5.54 แสนคนค่ะ ช่อง Doctor Tany ช่องคุณภาพ ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ เนื้อหาหลากหลาย ประโยชน์มากมาย ตรงจริง ชัดเจน ครอบคลุม ทุกประเด็น ขอให้ได้ 1 ล้านซับไวๆนะคะ 🏡🌻🌻🌻🧡🌻🌻🌻🏕
@sasikan9388
@sasikan9388 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ การติดเชื้ออันตรายมากจริงๆ มีคนที่รู้จักมีแผลนิดเดียวแต่ติดเชื้ออย่างแรง ต้องนอน รพ.เป็นเดือนอาการเหมือนจะดีขึ้น แต่กลับติดเชื้อจนเสียชีวิต น่ากลัวจริงค่ะ
@13263846
@13263846 Жыл бұрын
สภาพแวดล้อม ชุมชน ความแออัดในรพ สิ่งของไม่มีระเบียบ เกะกะ คราบสิ่งสกปรก รก เลอะเทอะ เปียกชื้น อบอ้าว ในบริเวณ หรือ สัตว์ แมลง อีก มันน่ากลัวอย่างลึกซึ้ง ขึ้นมาเลยครับ ดีที่สุด ก็สำนึก รับผิดชอบของตน ต่อสถานที่ ❤ขอบคุณครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ... หัวข้อวันนี้ เรื่อง... ทำไมนอนโรงพยาบาลอยู่ดีๆ แล้วติดเชื้อได้ ◾ปริมาณเชื้อโรคในโรงพยาบาลมีมากมายจริงๆค่ะ แล้วก็อยู่ไปทั่วตามพื้นผิวต่างๆ และมาจากตัวคนไข้ซึ่งป่วยหลากหลายโรค และบริเวณที่เชื้อโรคมากที่สุด คือ แผนก ICU 🟣สรุปว่า ทำไมไปนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล แล้วติดเชื้อได้ 1. ในโรงพยาบาลมีเชื้อโรคมากมาย แถมเชื้อหลายๆตัวเป็นเชื้อที่รุนแรง หรือเป็นเชื้อดื้อยา 2. ภาวะการเจ็บป่วยของคนไข้ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะคนสูงอายุ 3. การทำหัตถการของแพทย์ อุปกรณ์ที่ต้องใช้กับคนไข้ เครื่องมือต่างๆ ถึงแม้ว่าจะผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างดี แต่ก็ยังสามารถปนเปื้อนได้จากขั้นตอนต่างๆในการรักษา 💥รู้สึกเห็นใจหมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านจริงๆค่ะ เพราะต้องทำงานใกล้ชิดคนป่วย อยู่ใกล้ชิดกับเชื้อโรคมากมายหลายชนิด แต่เนื่องจากหมอพยาบาลไม่ใช่คนป่วย มีร่างกายแข็งแรงดี มีการรักษาความสะอาด และรักษามาตรการในการป้องกันดูแลตัวเองเป็นอย่างดี จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อง่ายเหมือนกับคนไข้ซึ่งอยู่ในสภาพเจ็บป่วย มีความอ่อนแอ มากกว่า
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
กราบขอบพระคุณอาจารย์หมออย่างยิ่ง จากในคลิปนี้ มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก และเราไม่เคยนึกถึง ไม่รู้ด้วยว่ามันเสี่ยง ดีจริงๆที่อาจารย์เตือน พฤติกรรมการไปเยี่ยมไข้ผู้ป่วยที่อาจทำให้เราติดหรือพกพาเชื้อดื้อยาออกมาแพร่ข้างนอกได้ แน่นอนไปเยี่ยมญาติก็ทำเช่นนั้นแหละ นั่งคุย จับมือ กอดด้วยเอ้า นั่งข้างๆ จัดผ้าห่มจัดหมอน ประคองเดิน ครบการสัมผัส แม้เราจะล้างมือแต่ความเผลอไผลเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่ก่อนไม่เคยเข้าใจว่าหมอไล่ให้กลับเร็วๆทำไมนัก ไล่จัง ตอนนี้เราก็เข้าใจแล้ว จะไม่แอบบ่นในใจอีกแล้วค่ะ
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ โรคติดเชื้อในรพ. เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับคนไข้ ที่เข้ารับการรักษาในรพ. สามารถพบได้ในรพ.ทุกระดับ รพ.เป็นแหล่งรวมเชื้อ แบะเชื้อในรพ.จะดุกว่าข้างนอก เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในรพ.มีการพัฒนาการดื้อยามากขึ้น ร่างกายคนไข้มีภูมต้านทานต่ำ ติดเชื้อได้จากการทำหัตถการต่างๆ โดยเฉพาะในห้อง ICU ยิ่งอยู่นานเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสติดเชี้อมากขึ้นเท่านั้น ** จึงควรอยู่รพ.เมื่อจำเป็นเท่านั้น ** *เวลาไปเยี่ยมคนไข้ควรล้างมือก่อนและหลังออกจากห้องทุกครั้ง* คนที่แข็งแรงดีอาจไม่มีปัญหา แต่ก็รับเชื้อได้และจะแสดงอาการเมื่อร่างกายอ่อนแอ ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยและมีความสุขนะคะ 🏡🌻🌻🌻🧡🌻🌻🌻🏕
@AsAs-fl2vn
@AsAs-fl2vn Жыл бұрын
ขอบพระคุณ คุณหมอมากๆค่ะ เป็นหลายโรคต้องไปพบหมอตามนัดแทบทุกเดือนและแต่ละโรค คุณหมอนัดต่อเนื่องทุก3เดือนค่ะ บางครั้งก็ได้นอน รพ.บ้างค่ะ ทำให้เข้าใจแล้วว่าที่คุณหมอให้กลับบ้าน บางครั้งแผลที่ผ่าตัดยังซึม รู้สึกยังไม่หมั่นใจ อยากนอน รพ.ต่อ พอฟังคลิฟนี้ ทำให้มีความเข้าใจและสบายใจค่ะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ
@Maliwan-y5s
@Maliwan-y5s 5 ай бұрын
ตรงกับปัจจุบันเลยค่ะอาจารย์ ตอนนี้คุณแม่อายุ77ปี ผ่าตัดสมองอาการดีขึ้นจะกายภาพแล้วแต่คุณแม่ดันมาติดเขื้อดื้อยา รพ.เห็นอาการแม่ทรมาร บีบหัวใจมากค่ะ ภาวนาขอให้แม่ได้กลับไปอยู่บ้านกับเรา
@taifahtawandiew4811
@taifahtawandiew4811 Жыл бұрын
❤คลิปนี้โดนใจสุดๆๆกราบ ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ เพราะทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดโรงพยาบาลรัฐบาลที่ต่างประเทศ ทุกครั้งที่ให้ไปทำที่แผนก Emergency จะกังวลตลอดเวลาป้องกันตัวเองสุดๆๆ แต่ก็ยังไม่หายกังวล เพราะผ่านการรักษามะเร็งมาได้ 5 ปีแล้วค่ะ และกินยาTamoxifen อยู่ สภาพแวดล้อมใน ICU หรือ Ward อื่นๆ คุณหมอบอกได้ถูกต้องเลยค่ะ🙏
@Kamonpa33
@Kamonpa33 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ เคยเข้าใจว่าโรงพยาบาลคือที่ ๆปลอดภัย สะอาดที่สุดสำหรับคนป่วยค่ะ วันนี้ได้รู้ความจริงว่าการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่ดี ๆ ทำให้ติดเชื้อได้ เนื่องจาก เชื้อในโรงพยาบาลเป็นเชื้อที่ดื้อยา และบริเวณที่มีเชื้อมากที่สุดคือ ICU ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งมีความเสี่ยงติดเชื้อมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญได้เข้าใจคุณหมอในการพิจารณาให้กลับบ้าน โดยดูข้อมูลที่มีในขณะนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อดื้อยานี่เอง ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้จากนี้ไปก็คงต้องระมัดระวังตัวเองให้มากยิ่งขึ้นค่ะโดยเฉพาะคนที่อายุเยอะ วันนี้ได้เข้าใจคุณหมอมากยิ่งขึ้นค่ะ บางทีความคิดของคนไข้ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องกล้บบ้าน ต้องเชื่อและทำตามที่คุณหมอแนะนำดีที่สุดค่ะ ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ ขอให้คุณหมอและน้องโรซี่มีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะคะ
@imgoodfaishaikayaiisamongmung
@imgoodfaishaikayaiisamongmung Жыл бұрын
น่ากลัวที่สุดคือนอนรพ.ห้องเดียวและไม่มีใครเฝ้า ต่อให้มีคนเฝ้าก็นอนไม่ได้นอนไม่หลับ นอนรพ.คืออย่าหวังว่าจะได้พักผ่อน กะลังจะหลับมาอีกล่ะวัดความดันวัดไข้ แทบไม่ได้นอน😂😂😂😂ค่ะ
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
🩵สิ่งที่อยากจะแนะนำสำหรับญาติที่จะไปเยี่ยมคนไข้ หรือนอนเฝ้าค่ะ 1) ให้ใส่หน้ากากตลอดเวลา และเปลี่ยนทุกวัน 2) เปลี่ยนรองเท้าเป็นรองเท้าแตะสำหรับเดินในห้อง( รองเท้าก็พาเชื้อโรคมาได้) 3) เตรียมน้ำยาล้างมือไปวางในห้อง ก่อนหรือหลัง จับคนไข้ให้ล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะญาติที่มาเยี่ยม 4) ถ้าคนไข้ภูมิต้านทานต่ำ ไม่ควรให้ดอกไม้ ผลไม้ เพราะมีเชื้อรา
@niwatabdul7248
@niwatabdul7248 Жыл бұрын
ไปเยี่ยมไข้ที่ รพ ที่ไรกลับมาตัวรุมร้อนทุกทีครับ บางครั้งก็ไอจามปวดหัว ทีนี้เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากครับ
@amornratanawuttivoradit6746
@amornratanawuttivoradit6746 24 күн бұрын
ขอบคุณ คุณหมอมากที่ได้ความรู้มากขึ้น ไม่ไปเยียมคนป่วยก็ใจดำ
@kanoky7076
@kanoky7076 Жыл бұрын
ขอบคุณนะคะ เมื่อก่อนก้คิดและพูดกันในหมู่ญาติพี่น้องแบบนั้นเช่นนั้นค่ะ งง ว่าทำไมหมอถึงให้รีบกลับทั้งๆที่ยังไม่หายดี น่าจะให้นอนพักฟื้นให้ร่างกายแข็งแรงก่อน การได้อยู่ใกล้ๆหมอทำให้อุ่นใจ สบายใจ ปลอดภัยมากกว่าการที่กลับไปนอนที่บ้านค่ะ ฟังคุณหมออธิบายแล้วถึงได้เข้าใจในเหตุผลมากขึ้น🙏
@ptphone2301
@ptphone2301 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอทำไมนอนโรงพยาบาลอยู่ดีๆแล้วติดเชื้อได้ สาเหตุที่คนเราอยู่โรงพยาบาลแล้วติดเชื้อได้ง่ายมีอยู่หลายสาเหตุคือหนึ่งในโรงพยาบาลมีปริมาณเชื้อโรคมากมีอยู่ทุกๆที่เช่นประตู ตามพื้น ตามโต๊ะ ห้องน้ำ อ่างล้างหน้าฯต่อให้เราทำความสะอาดดีมากแค่ไหนมันก็ยังมีโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าไปสู่คนไข้ได้ค่อนข้างง่าย เชื้อโรคก็มาจากคนเช่นคนไข้ที่มาโรงพยาบาลด้วยโรคต่างๆเชื้อโรคเหล่านี้มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เชื้อโรคเหล่านี้กระจายไปได้จากการไอ จาม หรือจากการสัมผัสสิ่งของต่างๆ บริเวณที่มีเชื้อโรคมากที่สุดคือห้อง ICU เพราะเป็นห้องที่มีคนไข้อาการหนัก สองคนไข้มาด้วยโรคต่างๆทำให้คนไข้มีภูมิต้านทานอ่อนแอลงทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย สามหัตถการต่างๆที่คุณหมอจะต้องทำทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่นการใส่สายสวนปัสสาวะ การใส่สายสวนจมูกเพื่อให้อาหารเกิดไซนัสอักเสบได้ การเจาะเส้นเลือดต่างๆโดยเฉพาะการเจาะเส้น เลือดใหญ่ที่คอ สายที่ใส่ถึงแม้จะสะอาดเพียงใดเชื้อโรคก็เข้าไปได้อยู่ดีเพราะผิวหนังของคนเราจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่เชื้อแบคทีเรียก็จะปนเปื้อนเข้าไปได้ ซึ่งไม่ทำก็ไม่ได้ และสี่เหตุที่ทำให้คนในโรงพยาบาลติดเชื้อง่ายคือคนไข้ที่นอนโรงพยาบาลจะได้รับเชื้อจากคนป่วยด้วยกันเองจากเจ้าหน้าที่พยาบาล และจากญาติคนไข้เองก็มีส่วน จะมีใครสักกี่คนที่ปฎิบัติตัวตามระเบียบอย่างเคร่งครัดในการเข้าเยี่ยมคนป่วยเช่นการล้างมือทั้งเข้าและก็ออกจากห้องคนไข้ จากสาเหตุเหล่านี้คุณหมอจึงรีบให้คนไข้กลับบ้านถึงแม้ว่าคนไข้ยังจะรู้สึกว่ามันยังไม่หายดีแต่ในการที่คุณหมอให้กลับบ้านได้นั้นเพราะคุณหมอประเมินแล้วว่าปลอดภัยแล้วจากข้อมูลที่มีในตอนนั้น ดังนั้นถ้าคุณหมอให้กลับบ้านแนะนำว่าควรรีบกลับดีกว่าเพราะหากอยู่ไปอาจติดเชื้อดื้อยาขึ้นมาก็ได้แล้วหากติดการรกษาก็จะลำบาก โรงพยาบาลเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคต่างๆมากมายเป็นเชื้อที่ดื้อยา ต้องรู้ว่าโรงพยาบาลอยู่เมื่อถึงคราวจำเป็นถ้าไม่จำเป็นกลับบ้านดีกว่า ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงค่ะที่ให้ความรู้...ค่ะ
@richycuty2541
@richycuty2541 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอแทน ฟังคลิปจบแล้วเข้าใจเลยค่ะ คุณน้านอนพักฟื้นในรพ.นาน2 เดือน ผลที่ได้รับ ติดเชื้อวัณโรคมาค่ะ
@JG_1977
@JG_1977 Жыл бұрын
เป็น​คน​ที่​ไม่​ค่อย​เป็น​ไข้​ไม่เป็น​เป็น​หวัด, แต่​ไป​เยี่ยม​เพื่อน​ที่​โรงพยาบาล​สอง​ครั้งตัวเอง​ดัน​มา​ป่วย​ใน​รอบ​สิบ​ปี.. 😊
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากคะวันนี้มาให้ความรู้เรื่อง ทำไมนอน รพ.อยู่ดีๆ แล้วติดเชื้้อ ได้ความรู้ดีดีมีประโยชน์มากคะ ตาก็ไม่ค่อยชอบไป รพ.เท่าไรคนเยอะเบื่อนั่งรอ เมื่อประมาณปีที่แล้วครึ่งปีหลังพาน้องไป รพ.ให้คีย์โม 3อาทิตย์ครั้งหนึ่ง ต้นปีเลยป่วยเลย😅 ตาขอให้คุณหมอสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ🙏🌹🌹
@eBeiChannel
@eBeiChannel Жыл бұрын
จากคลิปเชื้อดื้อยาเลยลองเดาใจคุณหมอว่าเดี๋ยวคุณหมอจะต้องทำคลิปเชื้อดื้อยาจากโรงพยาบาลแน่ๆเพราะมันเกี่ยวข้องกัน เดาใจคุณหมอถูกจริงๆด้วย😊😊
@narakkukki6485
@narakkukki6485 4 ай бұрын
ขอบคุณอาจารย์ค่ะ เพราะผู้ป่วยกับญาติชอบไม่เข้าใจว่าทำไมหายแล้ว ต้องรีบกลับบ้าน ฝากไว้นานเลย 🙏🏼
@tassaneechuenprasertsuk1370
@tassaneechuenprasertsuk1370 Жыл бұрын
🙏ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ เข้าใจชัดเจนขึ้นมากๆ เคยมีประสบการณ์อาม่า ผ่าตัดลำไส้อุดตัน หมอให้กลับบ้านได้ แต่เราอยากให้อยู่ต่อด้วยความเชื่อที่คิดว่าใกล้หมอพยาบาลดีปลอดภัยกว่า อยู่บ้าน ฟังคุณหมอแล้วก็น่ากลัวจริงๆค่ะรวมทั้งการที่เราเฝ้าไข้,ไปเยี่ยมไข้ด้วย ต้องปฎิติบัติตัวใหม่แล้วค่ะ ❤🙏😊
@benjawanlikitworanit4661
@benjawanlikitworanit4661 Жыл бұрын
คุณแม่ก็เพิ่งเสีย เริ่มต้นเข้ารพ.จากอาการเกล็ดเลือดต่ำอยู่ที่3,000ค่ะ อยู่ใน icu และหลังจากนั้นก็ติดเชื้อที่ปอดรุนแรง จนกระทั่งเสียชีวิตค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ
@benjawanlikitworanit4661
@benjawanlikitworanit4661 Жыл бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ​@@DrTany
@AL86-y2l
@AL86-y2l Жыл бұрын
ยินดีกับยอดผู้ติดตามFC 5.5.3แสนคนค่ะ ❤️❤️❤️❤️❤️ 💛💛💛💛💛 💖💖💖 👏👏👏👏👏🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀
@Chaweewan8769
@Chaweewan8769 Жыл бұрын
คำอธิบายของอาจารย์ทำให้เข้าใจเพิ่มขึ้นว่าเหตุใดคนไข้ไม่ควรอยู่โรงพยาบาลนาน ก่อนหน้านี้เคยได้ยินมาว่ามีคนไข้หลายรายที่เสียชีวิตเพราะติดเชื้อในกระแสเลือดคงเป็นเพราะเหตุนี้ ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์🙏
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 Жыл бұрын
คนไข้และญาติ 99.99% มีความเชื่อค่ะอาจารย์ว่าอยู่ใกล้คุณหมอแล้วอุ่นใจ ตัวเองก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้เหมือนค่ะ แต่หลังจากที่ได้ฟังอาจารย์หมอก็เข้าใจว่าทำไมคุณหมอจะพยายามให้กลับบ้านเร็ว #แต่ว่าเราจะบอกคุณหมอว่าขออยู่ต่อได้มั้ยคะคุณหมอ😂 ทุกครั้งที่คุณหมอเจอคนไข้หรือญาติขออยู่ต่อคงคิดใจว่าจะเพื่ออะไรนะคะ🤣#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰 ป.ล. ตอนที่คุณแม่ผ่าตัดกระดูก เค้าไม่อยากนอนโรงพยาบาลเลยค่ะ ผ่าตัดเสร็จก็จะกลับบ้านตั้งแต่วันแรก ๆ บ่นอยากกลับบ้านทุกชั่วโมง และก็บอกว่าหายแล้ว ทั้งที่สภาพไม่ใช่เลย😄
@AMMY.SKM1985
@AMMY.SKM1985 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์​🙏🏻🧸​✨​😊​🎈 ตามสายตาคนนอก รพ.อย่างเรา คิดว่าห้องน้ำในรพ.คือจุดที่แพร่เชื้อโรคที่สุด เพราะอาจจะปนเปื้อนสิ่งปฏิกูล สารคัดหลั่งตามแหล่งสุขภัณฑ์ได้ เพราะเรามักจะเข้าห้องน้ำบ่อย และมักจะเจอห้องน้ำไม่ค่อยสะอาดดีนัก ในแต่ละคนที่มาเข้าห้องน้ำก็มีความมักง่ายไม่เท่ากันที่จะรักษาความสะอาดในพื้นที่ส่วนรวม เวลาไปเข้าห้องน้ำเราจะระวังตัวมากโดยเฉพาะฝารองนั่ง ต้องเช็ดน้ำให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนนั่งเสมอค่ะ … แต่ผิดคาดกลับเป็นห้อง icu.ที่เชื้อโรคเยอะกว่าซะได้ 😅 แต่คุณม๊าก็เคยบอกนะคะว่า ไม่เจ็บป่วย ไม่จำเป็นอย่าไปรพ.เพราะเชื้อโรคเยอะค่ะ
@premshanapaa7114
@premshanapaa7114 Жыл бұрын
ติดตามคุณหมอค่ะ ได้ความรู้จากคุณหมอทุกๆคลิป สามีไปเยี่ยมเพื่อนที่โรงพยาบาลไม่นานก็เริ่มป่วยส่วนตัวในตอนนั้นก็คิดว่าเกิดจากไปโรงพยาบาลเยี่ยมเพื่อน😢ยุอังกฤษค่ะ
@ubonwansingpanomchai2864
@ubonwansingpanomchai2864 Жыл бұрын
กราบขอบพระคุณข้อมูลที่เป็นป.ย มากๆเลยค่ะคุณหมอ กระจ่างเลยค่ะ
@Pao56Noob
@Pao56Noob Жыл бұрын
สวัดดีค่ะคุณหมอ ให้ข้อมูลดีมาก จะต้องระวังตัวเอง ขอขอบคุณมากๆค่ะ
@dachokdee8259
@dachokdee8259 Жыл бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ เคยคิดเหมือนกันค่ะเพราะเห็นคนทำความสะอาดที่โรงพยาบาลเค้าทำลวกๆไม่ดูดฝุ่นไม่เช็ดแอลกอฮอล์ประตูหน้าต่างเห็นแล้วอยากต่อว่าแต่ทำไม่ได้ค่ะ อยู่อิตาลีค่ะ😅🙏
@วงศ์ศิลป์มณีบู่-อ4ฤ
@วงศ์ศิลป์มณีบู่-อ4ฤ Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ ได้ความรู้จากคลิปคุณหมอ ทำให้ดูแลตัวเองได้เบื้องต้น
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน สำหรับคำอธิบายเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ข้อสำคัญต่างๆที่ต้องปฏิบัติ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ค่ะ
@sujinsamolta8458
@sujinsamolta8458 Жыл бұрын
เล่า... นี้ มีประโยชน์มาก☘ *มันเป็นเช่นนี้นี่เอง ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ แชร์ไปแล้วค่ะ
@Mr555Tee
@Mr555Tee Жыл бұрын
คลิปนี้ตรงกับเหตุการณ์ปัจจุบันคุณแม่ผมเลย เข้าออกicu 3ครั้ง ติดเชื้อดื้อยา เชื้อมันมาตามสายต่างๆติดเชื้อซ้ำซ้อน สงสารแม่มากๆครับ มันบีบหัวใจที่เห็นแม่ในสภาพนั้น ตอนนี้ได้แต่ภาวนาให้สูตรยาที่หมอให้ได้ผลดีกับเชื้อที่ติดมา เครียดมากครับ ขอบคุณคุณหมอที่ทำคลิปออกมาไขความกระจ่างให้ประชาชนเข้าใจ
@SasivimolLohaphantakit-zu7wq
@SasivimolLohaphantakit-zu7wq Жыл бұрын
ขอให้คุณแม่หายป่วยไวๆนะคะ
@chaloeypornchansin9892
@chaloeypornchansin9892 Жыл бұрын
สวัสดี​ค่ะ​ อาจารย์​หมอ​ ขอบคุณ​สำหรับ​ข้อมูล​ดี​ๆ​มา​พูด​ให้​ฟัง​ค่ะ​ จริงอย่างที่อาจารย์​พูดเลยค่ะ เหตุการณ์​แบบนี้เคยผ่านมาแล้วค่ะ พอฟังคลิปนี้แล้วเข้าใจถึงสาเหตุ​ที่คุณหมอให้กลับบ้านค่ะ ขอบคุณ​มาก​ๆ​ค่ะ​อาจารย์​หมอ​
@Iwatana1
@Iwatana1 Жыл бұрын
พ่อกับแม่ผมนี่ถ้าต้องนอนโรงบาลคืออยากกลับบ้านเร็วๆ(ไม่ได้เดือดร้อนเรื่องค่ารักษา) อ้อนวอนหมอขอกลับบ้านแทบทุกวัน แต่ก็เข้าใจพวกVVIP ชีวิตเขาคงชอบนอนโรงบาล 😁
@amornratrat
@amornratrat Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอค่ะ ทำให้ได้ความรู้ เจอเหตุการณ์จริงจากคนในครอบครัว😢
@juthanants5911
@juthanants5911 Жыл бұрын
ขอบพระคุณในความรู้นี้ค่ะ คุณหมอ 🙏
@suriyawong75
@suriyawong75 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ😊😍😍
@Lovemomdad765
@Lovemomdad765 Жыл бұрын
น่าจะจริงครับ ผมเคยได้ยาฆ่าเชื้อผ่านทางสายยาง ต่อมาได้เชื่อดื้อยาเลย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก แต่ยังดีที่มีลมหายใจทีทำอะไรได้ต่อไปครับ (ใช้ธรรมชาติรักษา)
@sam.sammysam
@sam.sammysam Жыл бұрын
ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ เด๋วแชร์ให้คนที่บ้านดูค่ะ
@ภาวิณีพลายละมูล-ฑ1ภ
@ภาวิณีพลายละมูล-ฑ1ภ Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ขอบพระคุณมาก ๆ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงค่ะ❤
@toyyodkhwan9652
@toyyodkhwan9652 Жыл бұрын
เข้าใจแล้วค่ะ ตอนที่ผ่าสมองจะมียาฆ่าเชื้อพร้อมกับน้ำเกลือ ยาฆ่าเชื้อตอนนอนโรงพยาบาลเป็นเดือนนับขวดกันไม่ถูกทีเดียว😅
@sawanyakosalaphichat8813
@sawanyakosalaphichat8813 Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ เป็นคลิปที่กำลังอยากฟังพอดีเลยค่ะ😊
@phetchkamlangdech673
@phetchkamlangdech673 Жыл бұрын
สวัสดีครับอาจารย์หมอ ที่จริงแล้วอดไม่ได้ที่จะอยากรู้ นึกออกแต่แบคทีเรียอย่างเดียว ลองดูเอง ก็มีเชื้อรา อาจารย์อ่านผ่านๆก็ได้ครับ ขอบคุณครับ
@bemiracle
@bemiracle Жыл бұрын
อ.หมอคะ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะอยู่ไปในร่างกายคนเราตลอดชีวิต เมื่อภูมิฯอ่อนแอ เชื้อแบคทีเรียก็จะแสดงตัว ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ ขอบคุณอ.หมอมากนะคะ สุขภาพแข็งแรงๆค่ะ กราบสวัสดีค่ะ 🙏
@NANA426-wf7lj
@NANA426-wf7lj Жыл бұрын
ขอบคุณ อ.หมอมากๆ ค่ะ เข้าใจแล้วค่ะ
@nantayahusna
@nantayahusna Жыл бұрын
เคยขอหมอนอนบ้านแล้วมาให้ยาฆ่าเชื้อ รพ. ทุกวันได้ไหม(บ้านอยู่ฝั่งตรงข้ามรพ.)หมอไม่ให้ค่ะ ติดเชื้อในกระแสเลือดนอนฉ่ำๆ 4 คืน สงสารพี่พยาบาลมากคอยมาวัดไข้วัดความดันบ่อยๆ
@golffytoffly2315
@golffytoffly2315 Жыл бұрын
หัวข้อวันนี้น่าสนใจมาก น่าสงสัยด้วยคับ ขอบคุณคับ
@yupaseedam8956
@yupaseedam8956 Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
เราเพิ่งไปเฝ้าไข้ค่ะ ห้องคนไข้จะมีถุงมือ และแอลกอฮอล์เจล เวลาพยาบาลเขามาสัมผัสคนไข้จะใส่ถุงมือ หรือล้างมือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งค่ะ แต่ห้องคนไข้ไม่มีน้ำยาล้างมือเลย เราต้องเอาไปเอง ให้คนไข้ล้างมือบ่อยๆด้วยค่ะ ตอนคุณหมอเล่าเรื่องเจาะเข็มค้างไว้ที่คอเข้าเส้นเลือดใหญ่ เราเห็นของจริงด้วยค่ะ เขาต้องทำไว้หลายๆอันเพราะกลัวท่อตันค่ะ แล้วพยาบาลก็มาทำการฉีดน้ำเกลือและลองให้เลือดวิ่งย้อนผ่านสาย เพื่อมั่นใจว่าท่อไม่ตัน เราว่ามันดูไม่สะอาดเลยค่ะ แต่เขาบอกว่าต้องคาไว้เพราะจะดูดเลือดไปตรวจทุกเช้า ตรงแขนเขาไม่เจาะอะไรแล้วค่ะ แต่แขนเป็นม่วงๆหมดหมดเลยค่ะ 😮😮
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
ขอสอบถามคุณหมอว่า 1) ทำไมต้องเจาะเข็มคาไว้เข้าเส้นเลือดดำที่คอ ถ้าขอเปลี่ยนเป็นเจาะที่แขนคาไว้จะปลอดภัยกว่าไหมคะ 2) ทำไมคนไข้แขนเป็นม่วงๆเข้มๆจากการเจาะเลือด เจาะต่างๆ เยอะมากเลยค่ะ ข้างในเกิดอะไรขึ้นหรือคะ คุณหมอ ขอบคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
1) ที่แขนเส้นเล็กครับ ถ้าจะทำก็ต้องใช้สายพิเศษซึ่งที่ไทย ผมไม่เคยเห็นใช้ครับ ความปลอดภัยก็ไม่ต่างจากการเจาะที่คอเท่าไหร่หรอกครับ 2) เส้นเลือดแตกง่ายจากอายุ และโรคที่เป็นครับ
@kanomkitchen3348
@kanomkitchen3348 Ай бұрын
เลิกสงสัยแล้วคะคุณหมอ ป้าอยู่🇸🇪 พ่อปู่ อายุ 96 หกล้มที่บ้าน ไป ร.พ ก็เย็บที่แขน ตรวจเชคระบบหัวใจ และอื่นๆตามระบบของ ร.พ ในขั้นตอนนี้ ใช้เวลา ตั้งแต่ เที่ยง ถึง สองยามกว่า ช่วงที่คอย ก็นอนอยู่ที่เตียง ตรงทางเดิน จนกว่าจะมีห้องว่าง ถึงจะเข็นเข้าไปนอนรอในห้อง พอกลับบ้านมา ได้อาทิตย์กว่า "ล้ม อีกรอบ" เพราะมีอาการ เวียนหัว มีไข้ อยู่ตลอด กลับไป ร.พ อีกรอบ คราวนี้ ตรวจเชค เจอ โควิท โคโลน่า นี่ผ่านมา เกือบสองอาทิตย์ ยังไม่ได้กลับบ้านเลย
@supaveethana4984
@supaveethana4984 Жыл бұрын
ขอบคุณครับคุณหมอฯ ในกรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนในบ้านเรา (สำหรับคนทั่วๆไปไม่ใช่ผู้มีอันจะกิน หรือมีวงเงินประกันสูงๆ) ถ้าออกได้ต้องรีบออกครับ ไม่งั้นอาจจะหัวใจวายตอนเห็นบิลค่ารักษา 🥵
@วาสนาไชพิลา
@วาสนาไชพิลา Жыл бұрын
ขอบคุณมากนะคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
ขออนุญาตเรียนถามคุณหมอบางประเด็นค่ะ 1. ถ้าสถานที่ที่มีโอกาสเป็นแหล่งรวมของเชื้อก่อโรค เชื้อดื้อยาคล้ายเช่น ICU นี้ เราจะเลือกใช้สารทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อพื้นผิว ที่มีความแรงขึ้น หรือใช้ตัวเดิมแต่ความเข้มข้นเพิ่มขึ้น มันจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการสะสมของเชื้อดื้อยา/เชื้อฉวยโอกาส ได้ไหมคะ 2. ในห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาลนี่ เขาให้ความสำคัญแต่เชื้อก่อโรคหรือเปล่าคะ พวกเชื้อฉวยโอกาสต่างๆในห้องแบบนั้นจะยังมีอยู่ไหมคะ
@tanbo6267
@tanbo6267 Жыл бұрын
ขอตอบข้อ1 นะครับ เชื้อดื้อยาในที่นี้คือ เชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ไม่ได้ดื้อต่อพวกสารทำความสะอาดครับ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มความเข้มข้นของสารทำความสะอาดครับ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
@@tanbo6267 อ๋อ พอดีเกิดสงสัยในประเด็นของการสะสม"บนพื้นผิวเครื่องมือ และจุดสัมผัสสาธารณะ"ต่างๆน่ะค่ะ ว่าลด load เชื้อลงไปโดยการเพิ่มความแรงสารฆ่าเชื้อได้บ้างไหม แต่การดื้อยาของเชื้อเหล่านั้น ก็ยังคงเป็นแบบนั้นแหละคะ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
@@tanbo6267 ขอบคุณค่ะปกติเชื้อฉวยโอกาสพวกนี้มักสะสมตัวตามพื้นผิวเครื่องมือ โต๊ะ จุดสัมผัสสาธารณะเหล่านั้น เลยคิดว่าถ้าเราลด Load เชื้อลงไปกว่าเดิม ที่ cleaning program มีอยู่ จะสามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ไหมนะ หรืออาจต้องเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อไปบ้าง
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
2) ทุกเชื้อครับ แต่อย่าลืมนะครับว่าในตัวพวกเรามันก็มีมีเชื้อโรคอยู่แล้วดังนั้นเชื้อฉวยโอกาสพวกนี้บางทีมันก็มาจากตัวคนไข้นั่นเองแหละครับ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
@@DrTany กราบขอบพระคุณค่ะคุณหมอ
@เยาวนาถกัลยามงคล-ผ5ป
@เยาวนาถกัลยามงคล-ผ5ป Жыл бұрын
ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ
@999sathu
@999sathu Жыл бұрын
สงสัยมาตลอดเวลาพาแม่ไปรพ.แล้วติดเชื้อในกระแสเลือดตลอดแล้วหมอชอบไล่กลับบ้านทั้งที่ยังติดเชื้ออยู่
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ❤
@uniqueshane7474
@uniqueshane7474 Жыл бұрын
ลูกผมตอนนี้อยู่ ป4 อีก 2 ปีต้องสอบเข้ามัธยมซึ่งมีแผนการเรียนให้เลือกหลากหลาย ซึ่งไม่รู้ว่าลูกจะชอบอะไร เราควรมีหลักในการเลือกอย่างไร หรือจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราชอบเรียนอะไร ผมชอบวิธีคิดของคุณหมอจึงอยากทราบความเห็นของคุณหมอครับ ว่ามีวิธีการคิดกับเรื่องนี้อย่างไร ขอบคุณครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ควรถามลูกเป็นอันดับแรกครับ ถ้าลูกไม่แน่ใจ ก็ลองให้ไปคุยกับครูแต่ละแผนกดู
@lakkyky5792
@lakkyky5792 Жыл бұрын
สบายดี🙏 Doctor Tany thank you for information and education
@นุจลีวรรณอุตส่าห์
@นุจลีวรรณอุตส่าห์ Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ❤
@Phanita999
@Phanita999 Жыл бұрын
ขอบพระคุณมากค่ะ อาจารย์ เหนื่อยไหมคะ ใกล้กลับบ้านแล้ว ยังมีคลิปให้ความรู้กับเราอีก ห้องวีไอพี รพ.เอกชน เด็ก นอนเฝ้า แม่สบาย เหมือนโรงแรมเลย งง 😂
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
😊🌼🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@ เอื้องมะลิ สุขสันต์วันเสาร์ค่ะ เขัยนงานให้มีความสุขนะคะ ⚘❤⚘ @ Doctor Tany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน รักษาสุขภาพด้วยนะคะ พักผ่อนเยอะๆค่ะ 🌻🧡🌻
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
@@boomsong5729 😊💖 สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากนะคะ พักผ่อนอย่างมีความสุข นะคะ
@wilawankoolpiruck
@wilawankoolpiruck Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ
@johnmadow5331
@johnmadow5331 Жыл бұрын
ผมเข้าผ่าตัดเนื้องอกในลำใส้ปีที่แล้วเป็นเวลา ๑๕ วันหมอบอกว่านอนโรงพยาบาล ๒ วันกลายเป็นติดเชื้ออักเสบต้องนอนดอซียู ๓ วันเพราะเคร่องช่วยหายใจ สวนปัสวะ แถมต้องไปนอนรวมกันคนป่วยที่เป็นโรคโควิตที่เขาเก็บมาจากถนนตืนหนึ่งหลายคน แถมกลับมาบ้านต้องกลับไป อีอาร์อีกสองสามครั้ง กว่าจะหายสนิทใช้เวลานานนับเดือน สาเหตุติดเชื้อนี่แหละแต่ผมนอนอยู่บ้านคนเดียวเป็นปีๆ กลับไม่เป็นอะไรทั้งๆที่คนเขาว่าผมเป็นคนที่ไม่สะอาด
@rattanakornnopawan5265
@rattanakornnopawan5265 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบพระคุณสำหรับความรู้ดีๆที่คุณหมอตั้งใจมอบให้ คุณหมอกรุณาให้ความรู้ เกี่ยวกับ chiropractic การนวดจัดกระดูกที่กำลังเป็นที่นิยมในไทย การรักษาแบบนี้มีข้อดี ข้อเสีย หรือการรักษาแบบนี้เป็นที่นอมรับทางการแพทย์หรือไม่คะ กราบขอบพระคุณคุณหมอล่วงหน้าค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
สนุกดีครับ ถ้าคนทำเป็นก็มีประโยชน์ ถ้าเจอคนทำไม่เป็นก็อันตรายได้ เช่น เส้นเลือดที่คอปริขาด เกิดอัมพฤกษ์ถาวร เป็นต้นครับ
@rattanakornnopawan5265
@rattanakornnopawan5265 Жыл бұрын
@@DrTany ขอบพระคุณคุณหมอค่ะ 🙏🙏🙏
@กนกวรรณลัคนาโฆษิต
@กนกวรรณลัคนาโฆษิต Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอค่ะ
@be-at-ease
@be-at-ease Жыл бұрын
ขอบพระคุณสำหรับความรู้ดีๆด้วยนะคะ ขอแชร์ให้พ่อแม่ได้ฟัง จะได้ระวังการติดเชื้อเวลาไปโรงพยาบาล เพราะต้องไปเป็นประจำด้วยค่ะ
@nung-noppapat
@nung-noppapat Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🥰
@WanpenLeohirun
@WanpenLeohirun Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ🙏
@nueng1med
@nueng1med Жыл бұрын
อาจารย์ครับ ไปต่อเรื่อง Antibiotics แต่ละกลุ่มสำหรับ นสพ / แพทย์ เป็นวิทยาทาน ได้เลยนะครับ ไหนๆมาทางติดเชื้อแล้ว ขอบคุณครับ (เจ้าเก่า)
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
อันนั้นเยอะไปครับ เล่าไปก็ไม่หมด แถมมีคำถามตามมาอีกแหงๆ
@penpugsuwan7447
@penpugsuwan7447 Жыл бұрын
เนื่องจากสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกพื้นที่ทุกส่วนเต็มไปด้วยเชื้อโรค ได้แก่เครื่องมืออุปกรณ์หัตถการ แพทย์พยาบาล ผู้มาเยี่ยม ผู้ป่วยพนง.บริการ จานชามช้อนอาหาร ชุดเปลี่ยน ชุดเตียงนอน...ฯ
@เพชรลดา-ฎ1ถ
@เพชรลดา-ฎ1ถ Жыл бұрын
ขอสอบถามครับ คุณหมอและพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในโรงพยาบาล เอาชีวิตรอดจากเชื้อโรคเหล่านี้ได้ยังไงครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
ช่วยตอบนะคะ 1. ล้างมือให้สะอาด และล้างอย่างถูกต้องทั้งก่อนแและหลังการทำหัตถการต่างๆ 2. สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง สวมใส่อุปกรณ์ เครื่องป้องกันต่างๆเพื่อป้องกันเชื้อ หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย 3. ระมัดระวังไม่ให้ของมีคมบาด หรือ ทิ่มตำ 4. เวลาไอจามจะต้องมีผ้าปิดปากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
@budokanjung
@budokanjung Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอ อยากสอบถามเรื่องการใส่ stent ในหลอดลม เนื่องจากก้อนเนื้อในหลอดอาหารเบียดทำให้ หลอดลมมีรู การใส่แบบนี้ต้องใส่ตลอดไปเลยใช้ไหมคะ แล้วถ้าตัวก้อนเนื้อเล็กลง เราสามารถ กินอาหารปกติได้ไหม ตอนนี้ต้อง feed ทางท้องอยู่ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้า
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ส่วนมากก็ถอดได้ แต่ก็มักต้องใส่กลับไปอีก ขึ้นกับว่าก้อนนั้นหายรึยัง และมีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง ส่วนเรื่องการกินก็เช่นกันครับ ถ้าดีขึ้นก้อนหาย หลอดลมปกติ การกลืนปกติก็อาจจะได้กินทางปากครับ
@nongkook-nj7jh
@nongkook-nj7jh Жыл бұрын
สวัสดียามเย็นค่ะ🙏🙏🙏
@emeraldpang2012
@emeraldpang2012 Жыл бұрын
น่ากลัวมากกก แบบนี้ต้องเอาเครื่องยูวีไปฆ่าเชื้อในห้องพักก่อน😢😢
@natthaphatwiphopphnuwat7119
@natthaphatwiphopphnuwat7119 Жыл бұрын
ขอบคุณคะคุณหมอ🙏👍❤️🙂
@Samllsam1
@Samllsam1 Жыл бұрын
เสื้อน่ารักมาก
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
แบรนด์ Thom Browne รุ่น Birds and Bees ค่ะ
@ปราณีอรุณไพร
@ปราณีอรุณไพร Жыл бұрын
สวัสดีเจ้าคุณหมอ❤❤❤
@ToxicGenZเทอเทอมันเป็นไรอ่ะ
@ToxicGenZเทอเทอมันเป็นไรอ่ะ Жыл бұрын
แล้วโลกนี้ก็ได้มีเชื้ออุบัติใหม่ที่รุนแรงที่สุดตัวนึง นั่นคือ เชื้อโควิด ทำให้บางคนมีภาวะลองโควิด
@thanayulpongpan4962
@thanayulpongpan4962 Жыл бұрын
Great video, Dr. Thaniyawan. Learned a lot about how easy it is to catch infections in hospitals, especially in the ICU. Thanks for breaking it down!
@audaudanut3068
@audaudanut3068 Жыл бұрын
สวัสดืครับติดตามรับชมอยู่ครับ
@khanopphetmanee5628
@khanopphetmanee5628 Жыл бұрын
ผมอายุ 73 ปี ตื่นเช้ามาวิงเวียนเป็นประจำ จะแก้ไขอย่างไรครับ ให้ตื่นมาแล้วไม่วิงเวียนครับ ขอบคุณครับคุณหมอ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ต้องไปตรวจหาสาเหตุก่อนครับ แล้วถ้าไม่เคยตรวจการนอนหลับมาก่อนก็ควรจะไปตรวจด้วยเพราะว่าอายุเยอะขนาดนี้มีหลายคนที่มีการหยุดหายใจในขณะขณะหลับทำให้มีอาการดังกล่าวครับ
@นันทนาประวะภูโต
@นันทนาประวะภูโต Жыл бұрын
เรียน อาจารย์ธานี เป็นหอบหืด นอน รพ 3 วัน กลับบ้าน 1 อาทิตย์ ผ่านไป หอบหืดกำเริบ กลับมานอน รพ อีก ครั้งนี้ว่า เป็นปอดอักเสบ มานอนห้องรวม 1.5 วัน นอนต่อห้องพิเศษ 3.5 วัน หมอให้นอนฉีดยาต่อ ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ 13 สายพันธุ์แล้ว ปัจจุบันอายุ 62 ค่ะ ปรกติปอดอักเสบรักษากี่วันคะ ปัจจุบัน พ่นยา ฉีดยา ให้ยามางสายยางค่ะ กังวล ค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่มีจำนวนวันแน่นอน มันขึ้นกับเป็นเชื้อไหน ผลข้างเคียงที่เจอ และความแข็งแรงของคนไข้ครับ
@นันทนาประวะภูโต
@นันทนาประวะภูโต Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@Bnrlnrace
@Bnrlnrace Жыл бұрын
A.baum กับ P.aeruginosa ตัวร้าย
@boonnumlym6708
@boonnumlym6708 Жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@kanjanaanyrukratchada2719
@kanjanaanyrukratchada2719 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@อิสรภาพคือความสุข
@อิสรภาพคือความสุข Жыл бұрын
ช่วยด้วยครับคุณหมอ ตอนนี้ในติ๊กต็อกข่าว เซซามิน สกัดงาดำ รักษามะเร็งว่อนเลยครับ มันช่วยได้จริงหรอครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
ไม่จริงค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
จะฟังข่าวสารอะไร ให้ฟังจากช่องทางข่าวปกติ ไม่ใช่จาก Tiktok ครับ เหมือนถ้ามีลูกแล้วเราอยากให้ลูกเรียนจาก Tiktok หรืออยากให้ไปเรียนที่โรงเรียนล่ะครับ
@USER-vi4zg
@USER-vi4zg Жыл бұрын
แล้วถ้าเราเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานในรพ.ทุกวันมีวิธีดูแล/ป้องกันตัวเองอย่างไรดีคะ🥹
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
ช่วยตอบนะคะ 1. ล้างมือให้สะอาด และล้างอย่างถูกต้องทั้งก่อนแและหลังการทำหัตถการต่างๆ 2. สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และสวมให้ถูกต้อง สวมใส่อุปกรณ์ เครื่องป้องกันต่างๆเพื่อป้องกันเชื้อ หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย 3. ระมัดระวังไม่ให้ของมีคมบาด หรือ ทิ่มตำ 4. เวลาไอจามจะต้องมีผ้าปิดปากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคค่ะ
@thanakom03
@thanakom03 Жыл бұрын
คุณหมอ ครับ ผมทำงาน วันละ 12 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ร่างกายปวดเมื่อยตามร่างกาย กินอะไร ที่ช่วยให้ฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อหายเร็วๆครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
อาหารและน้ำ ต้องทานให้พอครับ นอกนั้นต้องยืดกล้ามเนื้อเสมอครับ
@Note.S
@Note.S Жыл бұрын
คุณหมอรบกวนสอบถามหน่อยคะ เด็กเลือดกำเดาไหลบ่อย เลยไปหาหมอ คุณหมอให้ตรวจเลือด ผลเลือด CBC เป็นปกติ PT, PTT เป็นปกติ แต่ VWF ต่ำกว่าค่่าปกติ อยากทราบว่าแบบนี้อันตรายมากมั้ยคะ มีทางรักษามั้ยคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
โรคนี้ไม่หายขาดครับ เวลามีอาการจะให้ฉีด DDAVP ครับ แต่จริงๆเวลาเจอแบบนี้หมอที่ตรวจเขาจะอธิบายเองครับ ถ้าเขาไม่อธิบายก็ไปถามได้เลยเพราะปกติเราจะไม่ส่งตรวจ VWF อยู่แล้ว ยกเว้นเราสงสัยมากๆ หรือเป็นหมอเฉพาะทาง ซึ่งถ้าส่งก็แปลว่าต้องแปลผลเป็นแน่ๆครับ
@Note.S
@Note.S Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากคะ
@thanapatboonprakarn3955
@thanapatboonprakarn3955 Жыл бұрын
น่ากลัวค่ะ รพ ไม่ใช่ที่ปลอดภัย😪☹️🙁😫😩
@touchdeep1
@touchdeep1 Жыл бұрын
รบกวนถามอาจารย์ครับ หมอ พยาบาล ติดเชื้อเองกันบ่อยไหมครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่ครับ
@touchdeep1
@touchdeep1 Жыл бұрын
เพราะอะไร หมอ พยาบาล จึงปลอดภัยกว่าคนไข้เหรอครับ เพราะป้องกันดีกว่า(รู้วิธีป้องกัน) ภูมิคุ้มกันขณะนั้นยังแข็งแรง หรือมีการฉีดวัคซีนป้องกันร่วมด้วย หรือทั้งหมดข้างต้นครับ ขอบคุณครับ @@DrTany
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
@@touchdeep1 เพราะเราไม่ได้ป่วยตั้งแต่แรกไงครับ คนที่มา รพ นั้นเพราะเขาป่วย ร่างกายก็ไม่ปกติ ภูมิก็ไม่ปกติ ดังนั้นเลยติดเชื้อได้ ซึ่งอันนี้ผมเล่าไปในคลิปแล้วครับ
@jkon1
@jkon1 Жыл бұрын
อ.ครับ การตรวจหา Multi-Gene Panel Genetic Testing หา DNA มะเร็ง ความแม่นยำ + ความน่าเชื่อถือเยอะไหมครับ อ.มีคลิปพูดเรื่อง Multi-Gene Panel Genetic Testing ให้ฟังบ้างไหมครับ พอดีอ่านบทความเจอแล้วสงสัยครับ ขอบคุณครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่เคยพูดครับ และมันตรวจมะเร็งได้บางอย่าง แต่ให้แนะนำคือ ถ้าหมอระบบพันธุกรรมเป็นคนแนะนำให้ตรวจแปลว่าสมควรตรวจ และมีประโยชน์ แต่ถ้าไปอ่านไปฟังใครมาแล้วจะไปตรวจเอง อันนี้ไม่เห็นด้วยครับ
Мен атып көрмегенмін ! | Qalam | 5 серия
25:41