เชียงคาน ใต้เงาฝรั่งเศส EP. 3/3 I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.231

  Рет қаралды 120,471

ประวัติศาสตร์ นอกตํารา

ประวัติศาสตร์ นอกตํารา

Күн бұрын

จากเหตุการณ์ ร.ศ.112 เมื่อฝรั่งเศสนำเรือรบ 3 ลำ เข้าปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสตาม “หนังสือสัญญากรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส วันที่ 3 ตุลาคม ร.ศ.112”
จากหนังสือสัญญาดังกล่าว ทำให้เมืองเชียงคานที่เคยปกครองชุมชนสองฝั่งโขงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ฟากตะวันออก หรือฝั่งซ้ายขึ้นกับฝรั่งเศส และฝั่งขวาทางฟากตะวันตก ซึ่งเป็นศูนย์กลางเมืองในขณะนั้น ยังคงอยู่ในเขตปกครองของสยาม
หลังเสียพื้นที่เมืองเชียงคานทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสแล้ว ฝรั่งเศสพยายามเกลี้ยกล่อมให้พระศรีอรรคฮาต (ทองดี) เจ้าเมืองเชียงคาน นำราษฎรให้ข้ามโขงมาอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศส แต่กลับได้รับการปฏิเสธ ฝรั่งเศสจึงพยายามหาเรื่องใส่ร้ายพระศรีอรรคฮาต (ทองดี) และขุนนางกรมการเมืองเชียงคาน ด้วยการส่งเอกสารร้องเรียนกล่าวโทษไปยังราชสำนักกรุงเทพ ฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ราชสำนักกรุงเทพ ฯ ยังเชื่อมั่นในความจงรักภักดีของพระศรีอรรคฮาต (ทองดี) และครอบครัว
แม้ฝรั่งเศสจะได้ดินแดนลาวทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงไปแล้ว แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2445 ฝรั่งเศสสืบทราบว่า แท้จริงแล้วอิทธิพลของราชสำนักเมืองหลวงพระบางเดิมนั้นมีอำนาจอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยฝั่งขวากินมาจนถึงเขตเมืองน่าน โดยอ้างว่าพระมหากษัตริย์เมืองหลวงพระบางเคยปกครองบริเวณนั้นมาก่อน จึงต้องการกำหนดเขตแดนเมืองหลวงพระบางเสียใหม่ จนนำมาสู่การทำอนุสัญญาฉบับใหม่ ร.ศ.121 ในปี พ.ศ. 2445 โดยสยามต้องยอมยกพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ระหว่างเขตเมืองหลวงพระบาง กับเมืองพิชัยลงมาจนถึงแม่น้ำเหืองให้อยู่ภายใต้กับปกครองของฝรั่งเศส
ราษฎรเมืองเชียงคานส่วนหนึ่งที่ยังตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณปากน้ำเหืองทางฝั่งขวา ซึ่งไม่ต้องการอยู่ภายใต้บังคับของฝรั่งเศสได้พากันอพยพย้ายครัวเรือนมาที่บ้านท่านาจันทน์ (ที่ตั้งอำเภอเชียงคานปัจจุบัน) ขณะที่มีราษฎรอีกบางส่วนเลือกข้ามมาอาศัยอยู่บริเวณที่ราบตามหุบเขาทางฝั่งขวาของแม่น้ำเหือง จนพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในปัจจุบัน
ภายหลังจากการทำอนุสัญญา ฯ ร.ศ.121 ฝรั่งเศสยังคงพยายามที่จะเข้ามาสร้างอิทธิพลในเขตเมืองเชียงคาน โดยการทำสัญญาขอเช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินเรือช่วงต้นปี พ.ศ.2450 อนุสัญญานี้มีชื่อว่า “อนุสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ว่าด้วยอนุญาตที่ดินริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตามความในสัญญา 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ.122”
จนกระทั่งฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกจากลาวแล้ว และมีการแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ พื้นที่ที่เช่าในเชียงคานก็กลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า รัฐบาลสยามจึงใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ราชการต่อมาจนถึงปัจจุบัน
พระศรีอรรคฮาต (ทองดี) ปกครองเชียงคานเรื่อยมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2442 จึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “พระยาศรีอรรคฮาต” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกรณีพิเศษ เพราะปกติแล้วตำแหน่งเจ้าเมืองบริวารที่ขึ้นกับหัวเมืองใหญ่ เจ้าเมืองมักจะมีบรรดาศักดิ์เป็นเพียง “พระ” ขณะที่เจ้าเมืองหัวเมืองชั้นตรี และหัวเมืองชั้นโทจึงจะมีบรรดาศักดิ์ชั้น“พระยา” การเลื่อนบรรดาศักดิ์คราวนั้นจึงนับเป็นเกียรติคุณอย่างสูงสุดที่พระยาศรีอรรคฮาต (ทองดี) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก ร. 5
ต่อมาในปี พ.ศ.2450 กระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศรวมหัวเมืองในมณฑลอุดรเข้าเป็นเมืองจัตวา เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2450 ดังปรากฏในราชกิจานุเบกษาว่าหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งรวมเรียกแต่เดิมว่าบริเวณน้ำเหืองนั้น ให้เปลี่ยนเรียกว่า “เมืองเลย” มีสถานะเป็นจังหวัดขึ้นกับมณฑลอุดร
เมืองเชียงคานซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองเลยเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กระทรวงมหาดไทยมีความต้องการจะโอนย้ายการปกครองจากมณฑลพิษณุโลกมาขึ้นกับมณฑลอุดร แต่ได้รั้งรอมาโดยตลอด ด้วยความเกรงใจพระยาศรีอรรคฮาต (ทองดี) ผู้ที่มีความซื่อตรงและจงรักภักดี มีความชอบต่อราชสำนักกรุงเทพฯ มาแต่เก่าก่อน อีกทั้งที่ผ่านมา ในการจัดการมณฑลเทศาภิบาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งกำชับเป็นการเฉพาะว่า
“...พระยาศรีอรรคฮาดคนนี้เปนคนซื่อตรง การบ้านเมืองอย่างไรที่จัด ขออย่าให้เปนความเดือดร้อนแก่พระยาศรีอรรคฮาด เปนดังนี้ตลอดมา...”
อย่างไรก็ตาม หลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระยาศรีอรรคฮาต (ทองดี) เองก็ชราภาพลงมาก การปกครองต่าง ๆ จึงตกอยู่ในมือของบุตรหลาน กระทรวงมหาดไทยเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่จะจัดการปกครองเมืองเชียงคานเสียใหม่ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการ
มีการย้ายเมืองเชียงคานมาขึ้นกับจังหวัดเมืองเลยใน พ.ศ.2454 ทำให้เมืองเชียงคานถูกลดฐานะจาก “เมืองเชียงคาน” ลงเป็น “อำเภอเมืองเชียงคาน” ส่วนพระยาศรีอรรคฮาต (ทองดี) ผู้ว่าราชการเมืองเชียงคาน ก็เปลี่ยนตำแหน่งเป็น “ผู้ว่าราชการอำเภอเมืองเชียงคาน” ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับนายอำเภอในปัจจุบัน แม้ก่อนหน้านี้จะได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นเจ้าเมืองมาก่อนก็ตาม
ประวัติศาสตร์อีกหน้าจึงได้บันทึกไว้ว่า พระยาศรีอรรคฮาต (ทองดี) เป็นทั้งผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงคานคนสุดท้าย และเป็นนายอำเภอคนแรกของเชียงคาน
พระยาศรีอรรคฮาต (ทองดี) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการอำเภอเมืองเชียงคานได้ 2 ปีก็ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2456 สิริรวมอายุ 70 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานหีบเพลิงมาพระราชทานเพลิงศพพระยาศรีอรรคฮาต (ทองดี) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2456 ในการนี้ยังได้พระราชทานเงิน 1,000 สตางค์ และผ้าขาว 2 พับ มาพร้อมหีบเพลิงด้วย เป็นการปิดฉากเรื่องราวของเมืองเชียงคานที่ได้ดำเนินมาอย่างยาวนานจากความเป็นเมืองในระบบรัฐจารีต จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รัฐสมัยใหม่ลงอย่างสมบูรณ์

Пікірлер: 221
Touching Act of Kindness Brings Hope to the Homeless #shorts
00:18
Fabiosa Best Lifehacks
Рет қаралды 18 МЛН
МЕБЕЛЬ ВЫДАСТ СОТРУДНИКАМ ПОЛИЦИИ ТАБЕЛЬНУЮ МЕБЕЛЬ
00:20
Фейковый воришка 😂
00:51
КАРЕНА МАКАРЕНА
Рет қаралды 6 МЛН
ต้มยำกุ้ง นามนี้สำคัญไฉน..??  I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.227
23:48
Touching Act of Kindness Brings Hope to the Homeless #shorts
00:18
Fabiosa Best Lifehacks
Рет қаралды 18 МЛН