อ่านหนังสือไม่ทัน อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วไม่ตรงข้อสอบ แก้ได้ไม่ยาก

  Рет қаралды 88,253

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

Пікірлер: 290
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
อ่านหนังสือไม่ทัน อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วไม่ตรงข้อสอบ แก้ได้ไม่ยาก สวัสดีครับ ผมเชื่อว่านักเรียนหลายๆคนนะครับจะมีปัญหาคล้ายๆกันอยู่สอง สามข้อนะครับ ข้อแรกก็คืออ่านหนังสือไม่ทัน ใกล้สอบแล้วเราอ่านไม่ทัน แล้วต่อให้เราอ่านทันเราก็ไม่รู้ว่าเราจะจำได้หรือเปล่านะครับ ข้อที่สองก็คือว่า ทำไมเราอ่านรอบนึงแล้วมันจำไม่ได้สักทีต้องอ่านสอง สามรอบ บางคนก็ต้องมากกว่านั้นถึงจะจำได้ แล้วทำแบบนี้ก็ยิ่งเสียเวลานะครับ ข้อสุดท้ายก็คือว่า โอเคเราอ่านเรามั่นใจว่าเราจำได้ดี และเราเข้าใจเนื้อหาแล้ว ทำไมตอนไปสอบมันถึงไม่ตรงกับที่เราอ่านนะครับ ทำไมข้อสอบออกมาแล้วเราถึงทำไม่ได้นะครับ มันเป็นเพราะอะไรนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
6️⃣ แผนที่ย่อยลงมาก็คือ ในการแต่งหนังสือที่ดีๆ เขาจะมีเขียนตัวหนาไว้บางตัวนะครับ ถ้าเป็นหนังสือเก่าโอเคแน่นอนว่าไม่มีตัวไหนหนาเลย บางทีก็ตัวเท่ากันนะครับ อันนั้นก็ใช้ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นหนังสือรุ่นใหม่ๆจะมีตัวหนาให้เราดูได้นะครับ ตัวหนาๆพวกนี้เขาทำไว้ทำไม? ➡️คนเขียนเขาต้องการเน้นว่าตรงนั้นสำคัญนะครับ บางครั้งเป็นศัพท์แสงที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่ว่าคำศัพท์เหล่านั้นสำคัญ ให้เราอ่านเฉพาะตัวหนาๆอย่างเดียวเลยนะครับ ตัวหนาๆอย่างเดียวไม่ต้องสนใจนะครับ พลิกแล้วดูแต่ตัวหนาๆอย่างเดียวจนครบบทนะครับ พอครบบทเสร็จปุ๊บเราจะพอมีคำศัพท์ที่เป็นตัวหนาๆอยู่ในสมองเราบ้างแล้วว่าพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตัวไหนที่เราจำไม่ได้ไม่เป็นไรนะครับ เราได้แผนที่ประกอบเพิ่มขึ้นมาแล้วนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
7️⃣ 📌หลังจากนั้นข้อที่สี่ ตรงนี้แหละครับทำสำคัญนะครับ ก็คือเวลาที่เราอ่านในหนึ่งย่อหน้า ผมอยากให้เราเริ่มจากการอ่านสองอย่างพอ ✴️ประโยคขึ้นต้น ✴️ประโยคลงท้าย ของย่อหน้านั้นนะครับ ทุกๆ ย่อหน้า (Paragraph) อ่านประโยคขึ้นต้นและอ่านประโยคลงท้าย ถามว่าทำไมต้องอ่านแบบนั้น? ➡️ถ้าสมมติหนังสือเล่มนั้นคนแต่งเขาเก่งจริงๆประโยคเริ่มต้นของแต่และละ Paragraph หรือแต่ละย่อหน้า คือประโยคที่เกริ่นสิ่งที่จะพูดทั้งหมดในย่อหน้านั้นครับ เป็นใจความที่สำคัญในย่อหน้านั้น แล้วประโยคสุดท้ายจะเป็นการสรุปย่อหน้านั้นทั้งหมดนะครับ ให้เราทำแบบนี้นะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
9️⃣ 📌ข้อที่ห้า คือการอ่านจริงๆนะครับ ตอนนี้เราเปิดสวิตซ์สมองเราเรียบร้อยแล้ว เปิดสวิตซ์ว่าเรามีแผนที่เรียบร้อยแล้ว นะครับ แผนที่คร่าวๆเรียบร้อย อันที่สองเราเปิดสวิตซ์ของความสำคัญนะครับ เรารู้แล้วว่าตรงไหนสำคัญ สำคัญเรารู้ได้จากคำถาม เรารู้จากตัวที่มันหนาๆ เรารู้จากการสรุปประโยคแรกกับประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้า ตอนนี้เรามีพร้อมในหัวแล้ว คนเราเมื่อมีแผนที่ทุกอย่างพร้อมในหัว แล้วรู้ว่าตรงไหนสำคัญ เวลาอ่านหนังสือมันจะมีประสิทธิภาพสูงมากแล้วมันแทบจะไม่ลืมเลยด้วยซ้ำไปนะครับ เวลาที่เรามาถึงตรงนี้แล้วการอ่านหนังสือต่อไปหนี้ เราอ่านเรียงตามตัวอักษรไปเลยครับ แล้วตอนนี้ถ้าเรารู้สึกว่าตรงไหนสำคัญ ให้เราจดโน้ตย่อหน้าไว้เลยนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
🔟 เวลาผมจดย่อหน้า จดโน้ตของตัวเองผมจะจดอะไรบ้าง? 💠ผมจะย่อไว้อีกทีว่าสรุปแล้วย่อหน้านี้พูดเกี่ยวข้องกับอะไร สำคัญตรงไหนเขียนไว้เลย 💠และอันที่สอง คำถามที่มีในใจนะครับ คนเราถ้าเราสามารถตั้งคำถามจากการอ่านได้นะครับ นั่นเป็นที่สุดของที่สุดแล้วครับ เวลาที่ผมคิดเวลาที่จะอ่านหนังสือ ผมจะคิดในสมองเสมอเลยนะครับว่า ถ้าเป็นผมออกข้อสอบ ผมจะออกยังไงให้มันยากที่สุดที่นักเรียนไม่สามารถทำได้เลยนะครับ แล้วผมจะทำแบบนี้ประจำ หัดเขียนคำถามแล้วไปดูสิ่งที่อ่านไปว่ามันตอบคำถามของผมได้หรือเปล่านะครับ ทำอย่างนี้อยู่เรื่อยๆมันจะเป็นการบริหารสมองนะครับ แทนที่จะเป็นคนที่จะต้องคอยเจอคำถามในข้อสอบเพื่อจะตอบให้ได้ใช่ไหมครับ เรากลับเป็นคนตั้งคำถาม เรามองย้อนกลับกันนะครับ ถ้าเรามองย้อนกลับกันเป็นคนต้้งคำถามเองเราจะเข้าใจว่าตรงไหนสำคัญ ตรงไหนจะเอามาออกสอบได้นะครับ ทำแบบนี้ซ้ำๆแล้วเนี่ยจะเก่งแล้วจะอ่านได้แบบจำได้แม่นนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
1️⃣1️⃣ แต่บางคนก็อาจจะบอกว่า “ทำอย่างนี้ไม่เสียเวลาเหรอว้าา.. ต้องอ่านทั้งสารบัญ พลิกรอบนึงแล้ว รอบต่อไปก็พลิกอีกรอบนึงแต่มาดูตัวหนา หลังจากเลิกดูตัวหนาเสร็จปุ๊บ มาพลิกอีกรอบนึงดูทุกๆย่อหน้าอ่านประโยคแรกกับประโยคสุดท้ายแล้วหลังจากนั้นก็มีคำถามอีก แล้วสุดท้ายก็ต้องมาเริ่มอ่านตั้งแต่แรกจนจบ?”
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ... วันนี้เรื่อง... อ่านหนังสือไม่ทัน อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วไม่ตรงข้อสอบ แก้ได้ไม่ยาก อาจารย์มาแชร์เทคนิคการอ่านหนังสือมาให้ลองนำไปปฏิบัติดูค่ะ 1. ดูสารบัญใหญ่ก่อน จากนั้นดูสารบัญย่อยๆของแต่ละบท และเปิดหน้ากระดาษจนจบบทนั้นๆเพื่อดูเนื้อหาว่ามากน้อยแค่ไหน 2. เปิดดูหน้าสุดท้าย เพื่อดูคำถามท้ายบท เพื่อหาคำตอบของคำถามต่างๆ 3. สังเกต "ตัวหนา" ของเนื้อหา ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลที่สำคัญ จึงแนะนำให้อ่านตัวหนาก่อน 4. อ่านประโยคขึ้นต้น และประโยคลงท้ายของแต่ละย่อหน้า ถือเป็นใจความสำคัญของย่อหน้านั้น อย่าเพิ่งอ่านรวดเดียวทั้งหมด 5. ลงมืออ่านจริง โดยอ่านไปทีละตัวไปเรื่อยๆ คอยจดโน้ตย่อว่า แต่ละย่อหน้าเกี่ยวกับอะไร หาคำถามที่ควรจะออกในแต่ละย่อหน้า ลองจำลองตัวเองเป็นคนตั้งคำถามว่า ควรจะถามคำถามอย่างไร 💥เทคนิคของอาจารย์หมอใช้ได้กับหลายๆสาขาอาชีพ ไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น แต่ได้ผลกับการอ่านหนังสือแทบทุกอย่างค่ะ...
@sirawitsettasopon1360
@sirawitsettasopon1360 Жыл бұрын
วิธีการอ่านหนังสือ 1. Scan คร่าวๆ ดูสารบัญใหญ่+สารบัญย่อย เพื่อให้รู้ว่าเนื้อหาหลักๆเกี่ยวกับอะไรบ้าง และดูปริมาณเนื้อหาแต่ละบท 2. ดูคำถามท้ายบท อ่านคำถาม พยามหาคำตอบในตอนที่ไปอ่านบทนั้นๆ เพื่อให้รู้ว่าจุดไหนที่"สำคัญ" 3. ดู"ตัวหนา" เพื่อจับ keyword ในแต่ละบท 4. อ่านประโยคขึ้นต้น(เกริ่น) และประโยคสุดท้าย(สรุป) ของย่อยหน้านั้นๆ 5. อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ แล้ว 5.1)สรุปใจคงามของย่อยหน้านั้น 5.2)ตั้งคำถามเกี่ยวกับย่อหน้านั้น เช่น ถ้าเราเป็นคนออกข้อสอบจะตั้งคำถามว่ายังไง **ถ้าผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยนะครับ🙏
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
☺️ขอบคุณมากค่ะอจ.หมอที่จริงอจ.หมอ นั้นเชี่ยวชาญรอบด้านเลยค่ะ..ไม่ใช่แต่เฉพาะด้านโรคปอดค่ะ👍ขอบคุณความรู้ที่อจ.หมอแทนนำมาถ่ายทอดให้ฟังทุกวันนะคะ🌟😍
@suriyasuphamala8089
@suriyasuphamala8089 Жыл бұрын
ทำไมผมไม่รู้เทคนิคนี้ตอนเรียนวิศวะ อ่านอยู่หลายรอบมากกว่าจะจำได้ เดี๋ยวไปสอนลูกสอนหลานต่อครับ ขอบคุณหมอแทนมากๆครับ ฟังแล้วคิดว่าใช้ได้แน่นอนครับ ❤❤❤
@Maneepatchaya
@Maneepatchaya Жыл бұрын
อ่านแล้วจำไม่ได้คะ จะสอบขอสัญชาติฮอลแลนด์ ต้องเรียนเยอะมากคะ ข้อสอบก็เยอะมาก 😅😅 ต้องเรียน ทุกอย่างที่เป็นประเทศนี้ พูด อ่าน เขีนน ฟังวัฒธรรม การเมือง ประวัติศาสตร์ การปกครอง สังคมของที่นี้ ขอบคุณคะความรู้จากคุณหมอ ❤❤
@ptphone2301
@ptphone2301 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ปัญหาในการอ่านหนังสือของใครๆหลายคนคงหนีไม่พ้นคืออ่านไม่ทัน อ่านแล้วไม่จำจำไม่ได้และอ่านไปแล้วไม่มีออกข้อ สอบ สักข้อเหมือนที่อาจารย์หมอให้ไว้ ค่ะ ดังนั้นเพื่อให้การอ่านของเราได้ประ สิทธิภาพสูงสุดคือ1.ต้องเข้าใจโครงสร้างที่อ่าน ดูสารบัญแต่ละบทหัวข้อในแต่ละบท ดูสารบัญย่อยที่สำคัญที่สุดคือถ้าเราจะอ่านบทหนึ่งให้พลิกดูหน้ากระดาษไปเรื่อยๆจนจบเพื่อดูว่าบทนี้มันหนาแค่ไหนมีอะไรสะดุดตาเป็นพิเศษ 2. เปิดหนังสือหน้าสุดท้ายเพื่อดูคำถามท้ายบท ค่ะ 3.สังเกตว่าตรงไหนมีจุดเด่นเช่นตัวหนังสือเป็นตัวหนา ตัวเอียงหรือมีสัญลักษณ์อย่างอื่นแสดงว่าผู้เขียนต้องการบอกว่าตรงนี้สำคัญ 4.อ่านย่อหน้าแรกและลง ท้ายของย่อหน้านั้น 5.อ่าน โน๊ตที่สำคัญ ฝึกตั้งคำถามแล้วตรวจคำตอบ เหล่านี้ เป็นวิธีที่ได้ประโยชน์มากใช้ได้ทุกกรณี ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงค่ะมีประโยชน์มากค่ะ ดิฉันก็อ่านหนังสือมากอยู่ค่ะดิฉันจะใช้ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการอ่านของดิฉันค่ะ
@ptphone2301
@ptphone2301 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หมอ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
🎉 คุณหมอแทนคะ นึกแล้วเชียว *4-2-0K* คาหนังคาเขา (!?) คาตาเลย เลขสวย 420K เรายินดีที่ได้เห็น เพราะนั่นหมายถึง มีคนอีกเป็นพันคน ที่ชื่นชมความสามารถและน้ำใจของคุณหมอ งั้นไปต่อกันเลยครับท่านผู้ชม ♡♡♡♡
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ🙏อาจารย์หมอแทน😍วันนี้คุณหมอมาแชร์เรื่องการอ่านหนังสือว่าทำอย่างไรมีเทคนิคอะไรให้อ่านแล้วจำได้👍 ดีจัง ตัวเองเรียนจบมาได้อย่างไรไม่ทราบ เพราะเกิดมาไม่เคยอ่านหนังสือเล่มไหนจบเลย ถ้าอาจารย์ให้ทำรายงานอ่านหนังสือต่างๆให้เวลา ก็ไม่เคยอ่านเพราะขี้เกียจอ่านมากๆ พอจะส่งงานอ่านก็ใช้วิธีอ่านเล่มสรุป ไม่ดีเลย พอคุณหมอมาสอนวิธีอ่านให้ นึกอยากจะอ่าน แบบคุณหมอสอน น่าสนใจและเป็นตัวอย่างที่ดี คุณหมอเป็นคนขยันอ่าน เก่งมากๆ ก็คือศรัทธา อยากจะหาหนังสือเล่มแรกในชีวิตเลยค่ะที่จะอ่านให้จบ จะได้รู้อะไรในหนังสือมีประโยชน์กับชีวิตบั้นปลาย กับตัวเองบ้าง จะทำตามขั้นตอนที่คุณหมอสอนคือ1 เปิดสารบัญ 2อ่านพลิกดูทุกหน้า ผ่านๆดูความหนา เพื่อจะทราบเวลาที่ต้องใช้ ดูคำถามท้ายเล่ม3 ดูขนาดอักษรหนา คือข้อความสำคัญ ที่คนเขียนต้องการเน้น อาจเป็นคำศัพท์ยากต่างๆ 4และอ่านย่อหน้าแรก และสรุปย่อหน้านั้น ดูความสำคัญของบทนั้นๆ ใจความสำคัญต่างๆจะอยู่ตอนต้น และตอนจบ แล้วค่อย5มาเริ่มอ่านทั้งเล่มตลอดต้นจนจบ อย่างตังใจ เมื่อเราทำครบทุกข้อแล้วเราจะจำได้ดี ขึ้นเมื่ออ่านที่ละหน้า ให้สรุป ขีดข้อความสำคัญไว้และหัด ตั้งคำถามให้ตัวเองลองตั้งดูว่าถ้าเราตั้งคำถามจะให้ยากๆเลย การทำแบบนี้บางคนอาจคิดว่าเสียเวลาจริงๆแล้วเราไม่สามารถจำในครั้งแรกอยู่แล้ว คุณหมอมาบอกต้องอ่านสักเล่มให้จบเป็นประสบการณ์ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ🙏❤️👍
@Thiphayathida
@Thiphayathida Жыл бұрын
วิธีการอ่านหนังสือ ที่จะทำให้ได้รับจุดประสงค์ในรูปแบบที่ตนต้องการนั้น นับป็นวิธีที่วันนี้ อาจารย์ได้มอบเทคนิคเป็นขั้นตอนซึ่งนำไปปฏิบัติให้ได้รับผลสำเร็จตั้งแต่น้องๆระดับมัธยมต้น เรื่อยไปจนเลยวัยเกษียณ หากตราบใดที่ยังคงสนใจการอ่านหนังสือเพื่อรับความรู้ในด้านที่ผู้นั้นต้องการ คุณค่าแห่งการอ่านที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่ใช่ก่ารสอบผ่านที่ได้รับดะแนนดีตามที่ปรารถนาเท่านั้น ความรู้ที่สะสมในสมอง ยังนำไปเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต นำไปปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาตนเองในแนววิชาการตามเรื่องราวแห่งประสบการณ์ของหนังสือหมายรวมกับประสบการณ์การทำงานด้วยเช่นกัน ดังนั้น เทคนิคและวิธีการที่ได้รับคำแนะนำในวันนี้ไม่ใช่มีแค่เพียงแนวทางให้อ่านอบ่างไรให้จำได้ให้สามารถตอบคำถามสำหรับการสอบและผลของคะแนนที่น่าพอใจจะตามมาเพียงแค่นั้น หากแต่เมื่อมีความรู้อย่างเข้าใจลึกซึ้ง ประสิทธิผลในด้านการประกอบอาชีพจะตามมาด้วยความภาคภูมิใจในความสำเร็จเช่นกัน ที่สุดนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ในการแนะนำแนวทางที่เป็นประโยชน์เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมานะคะ
@auntyjoomysimplylifestyle2875
@auntyjoomysimplylifestyle2875 8 ай бұрын
คุณหมอค่ะมารายงานผลทดลองอ่านหนังสือแบบเทคนิคของคุณหมอ วันนี้ทำข้อสอบได้ดีมากพอสมควรเลยค่ะ อ่านกลางคืน ตื่นมาก็ยังจำได้แล้วก็ทบทวบแบบรวดเร็วอีกรอบก่อนไปสอบ มันเวิร์คมากๆ ขอบคุณคุณหมอมากเลยค่ะ
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
เยี่ยมเลยครับ
@weskerumbrella954
@weskerumbrella954 Жыл бұрын
ใช่เลยครับ ตอนสมัยเรียนวิศวะจุฬาผมนิอ่านทุกบรรทัดแต่ได้คะแนนไม่ดีเลย พอจบออกมาต้องมาสอนเด็กเรียนพิเศษดันมาคิดวิธีคล้ายๆหมอแทนออกว่าควรจะต้องอ่านแบบนี้นะ เสียดายตอนเรียนเองคิดแบบนี้ไม่ได้ ไม่งั้นคงได้คะแนนดีไปละผม😢
@rujirangamprukwanit7160
@rujirangamprukwanit7160 9 ай бұрын
อ่านหนังสือไม่ทัน อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วไม่ตรงข้อสอบ แก้ได้ไม่ยาก อ่านหนังสือไม่ทัน อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วไม่ตรงข้อสอบ แก้ได้ไม่ยาก Doctor Tany Link : kzbin.info/www/bejne/bXrLYXqoarZkqpI ก่อนอ่านหนังสือ = ความเข้าใจในโครงสร้างของสิ่งที่จะอ่าน แผนที่ของเมืองนั้น - ต้องหาจุดสำคัญในเมือง - ถนน - ทางลัด - วิวทิวทัศน์ 1 ดูสารบัญใหญ่ในแต่ละบท ( หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับอะไร ) เมื่อเข้าไปอ่านแต่ละบท - ดูสารบัญย่อยของแต่ละบท ( เข้าใจโครงสร้าง ว่าเค้าจะพูดเรื่องอะไร ) พลิกหน้ากระดาษคร่าวๆ ทุกหน้า เพื่อ - บทนี้หนาแค่ไหน - ต้องใช้พลัง +เวลาในการอ่านแค่ไหน - มีอะไรสะดุดตาบ้าง ( กราฟ รูป ) 1 : ได้แผนที่คร่าวๆ 2 ไปดูหน้าสุดท้าย มีคำถามท้ายบท - สิ่งที่เค้าต้องการ คือ เราต้องตอบคำถามท้ายบทได้ - เราต้องพยายามหาคำตอบ - รู้ว่าอะไรสำคัญ 2 : ได้สถานที่สำคัญ 3 เมื่อเริ่มอ่านหนังสือจริงๆ --> ให้หาตัวหนังสือหนาๆ ก่อน ** ตัวหนาๆ ทำไว้เพราะคนเขียนอยากให้รู้ว่าสำคัญ ** มักเป็น ศัพท์แสง ที่ใหม่ๆ สำคัญ ** อ่านเฉพาะตัวหนาๆ --> เอาไว้ในสมอง 4 เวลาอ่านในหนึ่งย่อหน้า ** , ให้เริ่มอ่าน : อ่านประโยคแรก กับ ประโยคสุดท้าย ถ้าคนแต่งหนังสือเล่มนี้เก่งจริงๆ , - ประโยคแรก = ใจความสำคัญ ( พารากราฟนี้จะพูดเรื่องอะไร ) - ประโยคสุดท้าย = สรุป ( เล่ามาทั้งหมด อะไรสำคัญ ) 1-4 : แผนที่ครบแล้ว 5 อ่านหนังสือจริงๆ - ให้อ่านเรียงตามอักษร - อะไรที่รู้สึกว่าสำคัญให้จดโน๊ต ย่อหน้านั้นไว้ - ไม่ใช่จดทุกอย่าง !!! - ให้จด : สรุป ย่อหน้านี้พูดเรื่องอะไร อะไรที่สำคัญ จะจำอะไรจ๊ะ , ตั้งคำถามที่มีในใจ ( ถ้าต้องออกข้อสอบ จะออกข้อสอบอะไร ) เสียเวลาไหม [ พลิกตั้ง 5 รอบ ? ] - อ่านทุกตัวตั้งแต่รอบแรก จำได้หมดไหม - อ่านแล้ว รู้ไหม ว่าอะไรสำคัญ *** ถ้าไม่เหลือเวลาเลย ทำแค่ ข้อ 1-4 ใช้เวลากับ 2 เยอะหน่อย
@Sinee-gz3ym
@Sinee-gz3ym 3 ай бұрын
ขอบคุณมากค่ะ
@นทีธรบุษบงค์
@นทีธรบุษบงค์ Ай бұрын
ขอบคุณมากครับ
@gaewaleegaewalee7941
@gaewaleegaewalee7941 Жыл бұрын
ขออนุญาตแชร์ให้ลูกฟังนะค่ะคุณหมอ🙏
@ammiizzz3584
@ammiizzz3584 Жыл бұрын
เป็นประโยชน์มากค่ะ พอจะได้ไอเดียในการทบทวนหนังสือก่อนสอบ เริ่มจากมองภาพรวมก่อน แล้วจึงให้ความสำคัญกับคีย์เวิร์ดของเรื่องๆนั้นและข้อสอบเก่า ขอบคุณมากนะคะ 🙏🏻❤️
@PTwilight
@PTwilight Жыл бұрын
ขอบคุณอ.หมอแทนมากครับ อีก 3 ปีจะสอบเข้ามหาลัย เลยตั้งใจจะเก็บเนื้อหาม.ปลายไว้ก่อน มาฟังพี่หมอแทนพูดแล้วได้ทริคดีๆมาเยอะเลยครับ Goal : MedCMU ⚕️❤😊
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคะมากๆคะที่วันนี้มาพูดเรื่องอ่านหนังสือไม่ทัน อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วไม่ตรงข้อสอบแก้ได้อย่างไร มีประโยขน์มากคะ👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹❤️
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 Жыл бұрын
ปกติเวลาจะอ่านหนังสือจะพลิกไปดูหน้าสุดท้ายเป็นสิ่งแรกเลยค่ะ เมื่อจะเริ่มอ่านจะนับจำนวนหน้าในบท หรือเรื่องที่จะอ่าน🤩ทำแบบนี้มาตลอดโดยที่ไม่เคยได้ศึกษาวิธีการอ่านหนังสือจากที่ไหนเลยค่ะ ตั้งแต่ดูช่องอาจารย์หมอจะได้เคล็ดลับมากมายเกี่ยวกับอ่านหนังสือค่ะ #อ่านประโยคเริ่มต้นในพารากราฟ และประโยคสุดท้ายของพารากราฟ อ่านแล้วจดบันทึกสิ่งที่สำคัญ และฝึกตั้งคำถาม เยี่ยมเลยค่ะ#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@natashamcadam7335
@natashamcadam7335 Жыл бұрын
ทำแบบนี้จะอ่านได้เร็วมากเลยนะคะ โชคดีจริงๆมาเจอคลิปนี้ก่อนสอบหลายเดือน🎉🎉🎉 ค่อยหายเครียดหน่อย สุดยอดไปเลย❤❤❤
@suriyawong75
@suriyawong75 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@newfish8495
@newfish8495 Жыл бұрын
ชอบพี่หมอ ตรงที่เวลาแนะนำอะไร อธิบายอะไร แววตาเป็นประกาย ยิ้มแบบมีความสุข ❤❤❤❤
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
อาจารย์ยังคอนเฟิร์มว่า ปัจจุบันนี้อาจารย์ก็ยังใช้เทคนิคต่างๆเหล่านี้ในการอ่านหนังสือและตำราต่างๆอยู่ แบบนี้ก็ยิ่งมั่นใจค่ะว่า เทคนิคของอาจารย์เห็นผลจริง นำไปใช้ได้จริง ส่วนตัวดิฉันคิดว่า การอ่านสารบัญก่อนเป็นเรื่องที่ดีค่ะ... ▪เมื่อก่อนเวลาได้หนังสือเรียนมาใหม่ๆ จะตื่นเต้นนิดนึง ประมาณว่าเห่อหนังสือใหม่ จะเปิดดูสารบัญก่อนว่า แต่ละวิชาต้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง จะได้เตรียมตัวไว้ก่อน... ▪ส่วนเรื่องคำถามท้ายบทก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญมากๆในการหาคำตอบจากเนื้อหาในแต่ละบทค่ะ... ทำคะแนนสอบได้ดีจากคำถามท้ายบทค่ะ นอกเหนือจากการโน้ตย่อต่างๆ... ▪แต่ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับการอ่านหนังสือ คือ สมาธิในการอ่าน... ไม่ควรอ่านหนังสือพร้อมๆกับเปิดโซเชียลมีเดียหลายๆรูปแบบไปด้วย... ▪ปัจจุบันนี้ดิฉันก็ยังต้องอ่านหนังสืออยู่พอสมควรค่ะ จะนำเทคนิคของอาจารย์ไปใช้ค่ะ... ส่วนการอ่านคำถามต่างๆที่มีผู้สอบถามเข้ามาทางช่องยูทูป ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ดิฉันต้องศึกษาค่ะ คือ อ่านคำถามให้จบ และจับประเด็นให้ได้ว่า เขาถามว่าอะไร และตอบเฉพาะจุดนั้น เช่น ถามคำถามแบบ ใช่/ไม่ใช่ ว่า ทำได้ไหมคะ คำตอบ คือ ได้ค่ะ/ไม่ได้ค่ะ หรือเขาถามว่า ใช้ได้ไหมครับ ควรตอบแค่ว่า ใช้ได้ค่ะ/ใช้ไม่ได้ค่ะ... ไม่จำเป็นต้องขยายความอะไรเพิ่มเติมอีก ยกเว้นเขาจะถามคำถามแบบ WH ว่า ทำไม เพราะอะไร... เรื่องนี้ดิฉันเรียนรู้มาจากอาจารย์เช่นกัน ว่าทำไมอาจารย์ตอบสั้นๆ ก็คงเป็นเพราะอาจารย์อ่านและจับประเด็นคำถามว่า เขาถามอะไร ต้องการคำตอบอย่างไร...
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@ FragranzaTrippa ขอบคุณมากค่ะคุณทริป พักผ่อนให้มีความสุขนะคะ ⚘💙⚘ @ Doctor Tany ขอบคุณมากนะคะคุณหมอแทน 🌻🧡🌻
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@boomsong5729 ยินดีค่ะ...
@wcfourk8109
@wcfourk8109 Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ ผมเป็นนักเรียนม.6 ทุกครั้งก่อนจะสอบมักจะไม่เข้าใจทั้งหมด ตัองอ่านหลายรอบๆ ผมจะลองนำวิธีการนี้ไปใช้ครับ
@arayahomwan6483
@arayahomwan6483 Жыл бұрын
ขอบคุณที่มาแบ่งปันค่ะคุณหมอ เราเป็นเด็กนิติที่ suffer กับการอ่านหน้าลืมหลังอ่านหลังลืมหน้ามากค่ะ 😂🙏🏻💕
@สวยอําไพแจ่มดี
@สวยอําไพแจ่มดี Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน ป้ามาย้อนหลังขอโทษค่ะ 8เม.ย2023 หัวข้อเรื่อง อ่านหนังสือไม่ทัน อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วไม่ตรงข้อสอบ แก้ไขไม่ยาก ดีใจกับคุณหมอด้วยนะค่ะ4.2แสนคนดูและผู้ติดตาม🎉🎉🎉ขอให้เพิ่มๆๆๆขึ้นทุกๆๆๆวันนะค่ะคุณหมอแทน ป้าฟังคุณหมออธิบายนั่งฟังไปยิ้มไปแม้ภาษาอังกฤษป้าไม่ค่อยเก่งงูๆๆปลาๆๆแต่ก็ยังนั่งยิ้ตามเวลาคุณหมอแทนชี้และแนะนำอยู่เสมอๆๆ นอกเรื่องนิดนึงค่ะ กราบขอบคุณข้อมูลดีๆๆๆนะค่ะ คุณหมอแทนสุขภาพดีมีสุขนะค่ะและน้องโรชี่ด้วยค่ะ❤️❤️❤️🥰
@จันทราประยงค์หอม-ข5จ
@จันทราประยงค์หอม-ข5จ Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอแทน ไดัแนวทางไปสอนลูกขอบคุณมากค่ะ
@treeeeloves
@treeeeloves Жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอที่ถ่ายทอดเทคนิคอันนี้ให้ครับ จะนำไปปฎิบัติครับ
@rubyv.5581
@rubyv.5581 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ สำหรับแนวคิด และวิธีการค่ะ คุณหมอเป็นที่พึ่งพาให้ทุกด้านจริงๆ ค่ะ 😂😂
@ชาญชัยคุ้มไข่มุก
@ชาญชัยคุ้มไข่มุก Жыл бұрын
ดีนะ จะทดลองไปใช้ ง่าย ไม่ซับช้อน จะพยายามทำบ่อยให้เกิดเป็น mindset
@ParipokPhitsuwan-zr3wn
@ParipokPhitsuwan-zr3wn Жыл бұрын
ผมใช้เทคนิคอ่านสารบัญก่อน เหมือนคุณหมอเลยครับ เหมือนเตรียมตัวว่าเรากำลังจะอ่านอะไร
@Spt_N_25
@Spt_N_25 Жыл бұрын
อ่านหนังสือไม่ทัน อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วไม่ตรงข้อสอบ แก้ได้ไม่ยาก📙📗📘📕📓 สิ่งที่เราต้องมีเลยก็คือความเข้าใจในโครงสร้างของสิ่งที่เรากำลังจะอ่านเหมือนกับการที่เรามีแผนที่ของเมืองแต่เรายังไม่รู้ว่าในเมืองมันมีอะไรบ้างเราต้องมีจุดสำคัญๆในเมืองนั้นก่อน 📙ข้อหนึ่ง ก็คือดูที่สารบัญก่อนสารบัญนี้ให้ดูสารบัญแต่ละบทว่าหัวข้อของแต่ละบทมันเขียนว่าอะไรบ้าง ดูสารบัญย่อยของบทนั้นก่อนดูสารบัญย่อยมันจะพอสร้างในหัวเราได้คร่าวๆให้เราพลิกหน้ากระดาษไปเรื่อยเรื่อยจนกระทั่งจบบทนั้นโดยที่ไม่ต้องสนใจไม่ต้องอ่านไม่ต้องอะไรทั้งสิ้นถามว่าทำแบบนี้แล้วได้อะไรขึ้นมาไม่ได้อ่านด้วย ข้อแรก เราจะรู้ว่าบทนั้นหนาแค่ไหนมีเนื้อหามากเเค่ไหนเราต้องทุ่มเทพลังในการอ่านมากแค่ไหนมันจะพอบอกเราคร่าวๆ อันที่สอง ก็คือมันมีอะไรสะดุดตาหรือเปล่า 📗ข้อสอง ให้เปิดไปดูหน้าสุดท้ายดูเลยว่ามันมีคำถามอะไร มักจะมีคำถามท้ายบท 📘ข้อสาม อยากจะให้ดูก็คือว่าตัวไหนที่มันเป็นตัวหนาหนาตรงนี้สำคัญ จะเป็นข้อมูลที่สำคัญที่เน้นไว้ 📕ข้อสี่ อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้านั้นเพราะ ประโยคสุดท้ายจะเป็นการสรุปของย่อหน้านั้นทั้งหมด ไม่ต้องอ่านรวดเดียว 📓ข้อห้า คือการอ่านจริงๆตรงไหนสำคัญให้เราจดโน้ตย่อหน้าไว้เลย คำถามที่มีในใจ สามารถตั้งคำถามและหาคำตอบจากการอ่านได้นั้นจะเป็นที่สุดของที่สุดถ้าเราทำแบบนั้นได้ มีประโยชน์จะนำไปใช้ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ🐰🐰
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
😊🌼🍃 ขอบคุณมากค่ะ 🙏 สำหรับเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทัน อ่านให้จำ ชอบการอ่านคำถามก่อนเหมือนกันค่ะ ทำให้รู้ว่าตรงไหนในหนังสือสำคัญจริงๆค่ะ คลิปนี้คุณหมอแทนอธิบายได้กระชับ เข้าใจได้ง่ายมากเลยค่ะ
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@ เอื้องมะลิ สุขสันต์วันเสาร์ค่ะคุณครู ทานข้าวเย็นให้อร่อยนะคะ ⚘❤⚘ @ Doctor Tany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน ขอให้มีความสุขกับวันหยุดนะคะ 🌻🧡🌻
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
@@boomsong5729 😊💖 สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากนะคะ พักผ่อนอย่างมีความสุข นะคะ
@สมภพไวย
@สมภพไวย Жыл бұрын
หนังสือ ไม่ว่าหนังสืออะไร ผมจะเริ่มจาก ดูปกหน้า-หลัง ดูสันหนังสือ(ดูรูปแบบการเย็บเล่ม) เริ่มอ่านจาก -คำนำ -หนังสืออ้างอิง -สารบัญ -แล้วค่อยอ่าน สมัยเรียนที่มีปัญหา คือ ในระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์สอนเป็นบท แยกบทกันโดยเด็ดขาด ไม่สอนความเชื่อมโยงของแต่ละบท แต่เนื้อหาข้อสอบที่ออก คือ ทุกบทที่เรียนเชื่อมโยงกันหมด ใน ทุกๆข้อ ของข้อสอบ อ้อ มีอีก มีหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดยอาจารย์ในมหาวิทาลัยที่ผมเรียน ผมอ่านไม่รู้เรื่องเลย แต่ไปซื้อหนังสือที่อาจารย์มหาวิทยาลัยอื่นเขียน ผมกลับเข้าใจ😅😅 หรือผมเรียนผิดที่ หว่า
@geegee2465
@geegee2465 Жыл бұрын
🙏ขอบพระคุณค่ะอาจาย์ เป็นเทคนิคการอ่านที่ ไม่เคยทราบมาก่อนเลย เสียดาย เกิดเร็วไป ไม่งั้นคงได้เทคนิคดีๆไปช่วยในการเรียนการสอบ จะได้ไม่เหนื่อยมากเห มือนที่ผ่านมา อาจารย์น่าจะมีกลเม็ดที่แฝงอยู่ ในความเป็นอัจฉริยะ ของอาจารย์อีกมากมาย ที่เราๆยังไม่รู้ 🧏‍♀️วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการอ่านหนังสือ ว่าทำยังไงถึงจะอ่านทัน อ่านแล้วจำได้ ไม่ต้องอ่านซ้ำหลายๆรอบ รู้ว่าตรงไหนสำคัญ มาแบ่งปัน ตามนี้เลยค่ะ 🦸‍♂️ข้อแรกสิ่งที่ต้องมีคือความเข้าใจในโครงสร้างสิ่งที่เรากำลังจะอ่านว่า มีจุดสำคัญอะไรบ้าง พอเข้าใจถึงดูรายละเอียดปลีกย่อย ดังนั้นเวลาอ่านหนังสือครั้งแรกอาจารย์ทำตามนี้เลยค่ะ 🦸‍♂️ดูสารบาญก่อน สารบาญแต่ละบท หัวข้อแต่ละบท เขียนว่าอะไรบ้าง ไม่ต้องดูสารบาญย่อยในแต่ละบท ดูสารบาญใหญ่ๆก่อน จะทำใหเรารู้ว่า หนังสือเล่มนี้ เกี่ยวกับอะไรบ้าง มีข้อมูลไหนสำคัญที่คนเขียนยกมา 🦸‍♂️เวลาเข้าไปอ่านในแต่ละบท ให้ดูสารบาญย่อยของบทนั้นก่อน จะทำให้เรารู้คร่าวๆว่าบทนั้นพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร 🦸‍♂️ถ้าจะอ่านบทนึง ให้พลิกหน้ากระดาษไปเรื่อยๆจนจบบทนั้น โดยไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องอ่านทำให้เรารู้ว่า ❣️บทนั้นหนาแค่ไหน มีเนื้อหามากแค่ไหน ที่เราต้องทุ่มเทพลังไปกับการอ่าน พอบอกคร่าวๆว่าบทนี้มันยาว ต้องใช้เวลากับมันมาก เป็นการเตือนเราก่อน ❣️มีอะไรสะดุดตาเรามั๊ย มีกราฟมีรูปอะไรเตะตาเรา ทำให้เรารู้ว่าบทนี้ พูดเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ จากการอ่านสารบาญย่อย EP1👉EP2
@ปราณีฉายเพิ่ม
@ปราณีฉายเพิ่ม Жыл бұрын
อ่านแล้ว ถามตัวเอง แล้วตอบ หรือ อ่านแล้ว ผลัดกันถาม ตอบ กับเพื่อน อันนี้สนุกมากค่ะ
@KarnTovara
@KarnTovara Жыл бұрын
ขอบคุณค่าาาคุณหมอ...สำหรับ *เทคนิคอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ* ค่าา 🙇🏻‍♀️ • เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ สามารถนำไปใช้ได้ทุกวัยค่ะ 💁🏻‍♀️ • สนุกอ่าน สนุกเขียน สนุกเรียน สนุกคิด ค่าา 🧏🏻‍♀️ • คุณหมอพักทานน้ำค่า 🍫🍒🍵👧🏻
@candlesmenow
@candlesmenow 4 ай бұрын
ขอบคุณนะคะ หนูกำลังเตรียมสอบเข้ามหาลัยอยู่ มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ 🥹🙇‍♂️
@nubnibboy8884
@nubnibboy8884 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ จะลองนำไปใช้ดูนะคะ ทุกวันนี้อ่านเอกสารการทำงานไม่เคยจำได้เลย ทำให้เวลาต้องสรุปหรือเขียนประเด็นต้องเสียเวลามาเปิดใหม่ทีละหัวข้อ
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov Жыл бұрын
เทคนิคการอ่านที่คุณหมอสอนมีทริคที่ดีมากๆ👍เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ แม้จะอ่านลัดก็สามารถเข้าใจได้ ขอบคุณคุณหมอแทนค่ะ
@วัชรา-ย2ถ
@วัชรา-ย2ถ Жыл бұрын
ขอวิธีอ่านเปเป้อด้วยสิค่ะ 🙏🙏🙏
@siriphantantiwatthanachaik4438
@siriphantantiwatthanachaik4438 Жыл бұрын
ว้าว..นู๋ลงเรียน"TV reporter"จะนำไปใช้คะ..ขอบคุณคะ^^
@abcde534
@abcde534 Жыл бұрын
สวัสดีตอนเช้าค่ะคุณหมอแทน ทิวลิปขอขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่มีให้กันทุกวันทิวลิปให้🌷
@aodsy.n2864
@aodsy.n2864 Жыл бұрын
ขอบคุณครับอาจารย์หมอ จะลองนำไปใช้ดูครับ
@songphil1376
@songphil1376 Жыл бұрын
เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากๆ ผมต้องทบทวนด่วน Geometry ทั้งหมด 52 บทของเด็ก ม. ปลายเพื่อติวลูก จะลองเอาไปทดลองใช้ดูครับ ขอบคุณครับ
@jjll9296
@jjll9296 6 ай бұрын
ถ้าทำแบบนี้แล้วจำได้ จะดีกว่ารีบอ่านหมดไปเรื่อยๆ แต่จับประเด็นไม่ได้ ลืมอีก จริงมากค่ะ เพราะมันเหมือนไม่ได้อ่านเลย
@PP-mn5nq
@PP-mn5nq Жыл бұрын
ใกล้จะสอบแล้ว เหลือเนื้อหาที่ต้องอ่านอีกเยอะมากๆ เจอคลิปนี้ได้ตรงจังหวะพอดีเลยค่ะ ช่วยชีวิตได้มากเลย ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ🙏😄
@KunPorKunMea
@KunPorKunMea Жыл бұрын
สรุปคือ "ความอยากเข้าใจ" ถ้าขาดความอยาก อ่านสิบรอบก็ได้แค่จำ ไม่ใช่แค่คำว่าอ่านครับ สำหรับผมคือต้องอยากที่จะเข้าใจ มีคำถามในหัวมาก่อนแล้วให้หนังสือมันตอบ มีเท่านี้เองครับ แต่มันดันติดตรงที่ว่า สิ่งที่เราอยากมันตรงกับที่หนังสือจะมีหรือไม่ อันนี้แหละครับยากที่สุด คือเรากับข้อมูลในหนังสือมันควรจะไปทางเดียวกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวเราเองไม่ได้อยากรู้ไปซักทุกเรื่อง เช่นผมไม่เก่งเรื่องสังคมประวัติศาสตร์ ผมไร้ความอยาก ได้แค่อ่านๆจำๆแล้วไปทำข้อสอบ แน่นอนว่าตก
@kangheroforfam4006
@kangheroforfam4006 Жыл бұрын
น่าจะเจออาจารย์ก่อนสอบบอร์ด ช่วยได้เยอะจริงๆ ครับวิธีการของอาจารย์
@kabe5164
@kabe5164 Жыл бұрын
ทำแบบนี้มาตลอดเลยค่ะตอนอ่านหนังสือเพราะเป็นสายขี้เกียจ เห็นผลจริงๆ ค่ะ อ่านสารบัญทำให้รู้จุดประสงค์ของผู้เขียนชัดมากๆ on point เลยทันที ขอบคุณที่มาแบ่งปันทริคดีๆ นะคะ ถ้าในกรณีเรียนภาษาต่างๆ คุณหมอพอจะแนะนำทริคการเรียนรู้ได้บ้างไหมคะ :)
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
คร่าวๆตามนี้ครับ kzbin.info/www/bejne/roHbZ4KsZrlkadU
@พี่สาวเด็กบ้านๆ
@พี่สาวเด็กบ้านๆ Жыл бұрын
ได้เทคนิคไปสอนลูกแล้ว ขอบคุณค่ะ
@prajongjit9996
@prajongjit9996 Жыл бұрын
คุณหมอบอกคีย์สำคัญของวิชา Note-taking and Summarizationเลยค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ ถ้าทุกคนลองฝึกตามที่คุณหมอแนะนำ รับรองว่าการอ่านหนังสือจะง่ายขึ้นเยอะเลย
@pannko8888
@pannko8888 Жыл бұрын
คุณหมอคะตอนนี้เมืองไทยหาเสียงกันโอ้โหนโยบายสุดยอดว่าแต่เราอยากให้หมอมาเป็นนายกประเทศไทยหน่อยให้ rosieเป็นเลขากุ้งยิงจะเป็นแม่บ้านเก็บอุนจิของ rosie😂😂ขำๆยามอากาศร้อนรักคุณหมอที่สุดนะคะอย่าลืม🧡💏💏🧡
@nothingness1415
@nothingness1415 Жыл бұрын
คือผมเป็นโรคสมาธิสั้น เวลาผมอ่านหนังสือผมก็จะชอบลืมว่าสิ่งที่ผมอ่านไปมันบอกว่าอะไรอะคับ เวลาผมจะอ่านทีไรก็ไม่เข้าใจทุกที
@waynefamily1049
@waynefamily1049 Жыл бұрын
ขอบคุณครับอาจารย์ ผมกำลังฝึกอ่านแกรมม่าอยู่เลย อ่านถึง tense แล้วก็ยังไม่เข้าใจสักที ได้วิธีอาจารย์ไปว่าจะลองเอาไปฝึกใช้ดูครับ 😊
@kanoky7076
@kanoky7076 Жыл бұрын
ขอบคุณนะคะ คำแนะนำของคุณหมอใช้ได้กับหนังสือทุกอย่าง และใช้ได้กับทุกกรณี เห็นด้วยตามนั้นเลยคะ 🙏
@tattooingoverscars3507
@tattooingoverscars3507 Жыл бұрын
เราเป็นคนติดอ่านสารบัญมากค่ะ ข้อดีคือทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่กำลังจะเจอในหนังสือคืออะไร เวลาอ่านจริงจะได้ไม่รู้สึกว่าเป็นเนื้อหาใหม่ทั้งหมด การที่อ่านเจอเรื่องคุ้นเคยอยู่แล้วจะทำให้สมองไม่ล้าเกินไป ขอบคุณอ.ที่แนะนำเทคนิคค่ะ ไม่แน่ใจว่าวิธีอ่านเปเปอร์เร็วๆ ใช้เทคนิคเดียวกันไหมคะ
@jamlovesdog
@jamlovesdog 4 ай бұрын
Thanks! กลับมาฟังหลายรอบมากค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ
@akekaphongkahapanakun924
@akekaphongkahapanakun924 Жыл бұрын
ขออนุญาตเสริมสำหรับ คนที่อ่านเพื่อสอบครับ ผมใช้วิธีการคล้ายกับในคลิปคุณหมอเลย จะเพิ่มตรงที่ผมจะไปอ่าน course syllabus หรือ course outline ในนั้นจะมีบอกอยู่ว่าในวิชานั้น จะสอนอะไรบ้าง เวลาอ่านก็จะพยายามอ่านเพื่อตอบคำถามตาม learning objectives เหล่านั้น รวมกับเทคนิคในคลิปของคุณหมอน่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากแน่นอนครับ
@chutima_altheim
@chutima_altheim Ай бұрын
ขอบคุณมากๆเลยค่ะสำหรับคลิปนี้ ได้แนวทางที่ดีมากๆเลยค่ะ ตอนนี้กำลังเครียดเรื่องสอบเลยค่ะ
@akinnatid5122
@akinnatid5122 Жыл бұрын
เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ ดีมากเลยครับ ผมอ่านไปแล้วหลายรอบจำไม่ได้เลย แต่ไม่มีจุดหมาย อ่านให้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้ ผลออกมาก้ไม่ดีพอ 😢
@ภาวิณีพลายละมูล
@ภาวิณีพลายละมูล Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ขอบพระคุณมากค่ะ🙏
@naiyanavannakoon5290
@naiyanavannakoon5290 Жыл бұрын
ถ้าข้อสอบ แบบตัวเลือก ในสถานะคนออกข้อสอบ เราจะต้องทำให้ ตัวเลือกทุกตัว มีคุณภาพคือ ดูแล้ว น่าจะถูกทุกข้อ ถ้าไม่แม่นจริงถูกลวงแน่ๆ ส่วน ยากที่สุดหรือไม่ อยู่ ที่ เราต้องการ วัดอะไร และบางเนื้อหา อาจดูไม่ยากแต่มันต่อยอด ถึงเรื่องต่อไป เรียกว่า จุดแรกๆ ยังไม่แม่น ซึ่งอาจเป็น error ของจุดต่อไปได้
@การการ-ป7ฮ
@การการ-ป7ฮ Жыл бұрын
กระเพาะอาหารอักเษบสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหมครับอาจารย์หมอ ขอบพระคุณครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
สามารถรักษาให้หายขาดได้ค่ะ (และต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเราเองด้วยนะคะ)
@sittichokechappannarangsri8067
@sittichokechappannarangsri8067 10 ай бұрын
ฟังแล้วนึกถึง วิธีที่ใช้อยู่มาตลอด ถ้าบวก mindmap ด้วยจะทำให้จำได้กว้างขึ้น ขอบคุณครับ
@jupjang1
@jupjang1 Жыл бұрын
ในฐานะที่เป็นหมอที่ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยะวะ..ผมอายุ 50 ปีแล้ว..เป็นโรคไตเรื้อรัง..ระยะที่ 3 อยากสอบถามเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะไต..ครับ ว่ามีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร..มีความปลอดภัยขนาดไหน..และหลังผ่าตัดเปลี่ยนถ่าย..จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? เพราะเห็นพี่ชายเพื่อนเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5แล้ว..รับบริจาคไตจากน้องชายที่เป็นพ่อ-แม่.เดียวกัน..ผ่าตัดเปลี่ยนไตแล้ว..ผู้ปวยยังเสียชีวิต..!! ทุกวันนี้น้องชายที่บริจาคไตให้พี่ชาย..มีไตเหลืออยู่แค่ข้างเดียวเองครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ควรรอให้เป็นระยะท้ายก่อนค่อยปลูกถ่ายครับ ข้อดีคือไม่ต้องล้างไต และส่วนมากไตที่ปลูกจะอยู่ได้เป็นสิบปีถ้าดูแลดี ข้อเสียคือต้องกินยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ซึ่งก็มีผลเสียของมันเอง อื่นๆควรต้องถามจากหมอที่จะปลูกถ่ายครับ ปกติหมอเขาจะแนะนำอยู่แล้วถ้าเขาคิดจะว่าคุณเหมาะสมที่จะได้รับการปลูกถ่ายไตครับ
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ วันนี้คุณหมอมีเคล็ดลับวิธีการอ่านหนังสือให้จำได้แม่น อ่านแล้วไม่ลืม ทำให้การอ่านหนังสือเป็นเรื่องง่ายขึ้น เริ่มจากโครงสร้างของสารบัญหลัก ทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่หนังสือต้องการสื่อ เมื่อจำหัวข้อหลักได้แล้ว หัวข้อย่อยของสารบัญค่อยจำทีหลัง เวลาอ่านหนังสือ ควรตั้งคำถามไปพร้อมกับการอ่าน เหมือนเป็นการเก็งข้อสอบไปในตัว เป็นการเดาใจอาจารย์ผู้สอน ว่าจะออกข้อสอบประมาณไหน และซ้อมตอบคำถามไปในตัว ถ้ามีเวลาลองอ่านหนังสือเล่มอื่นดูบ้าง จำได้ว่าคุณหมออ่านหนังสือ สสวท.เคล็ดลับสุดยอดความเก่งคุณหมอแทนค่ะ ขอบคุณมากนะคะสำหรับเทคนิคขั้นเทพของคุณหมอ 🌻🧡🌻
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
ขอบคุณเช่นกันนะคะคุณมนต์...
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอจ.หมอในช่วงวันหยุดได้ฟังคลิปหัวข้อทั่วๆไปไม่วิชาการฟังเพลินๆได้ความรู้เป็นประโยชน์เสมอเลยค่ะ ในวันหยุดขอให้อจ.หมอทำคลิปพูดเป็นภาษาอังกฤษเพิ่มด้วยได้มั๊ยคะหายากนะคะ ที่จะมีคลิป แบบนี้ให้คนไทยได้ฟัง😅🙏เผื่ออจ.หมอรับไว้พิจารณาขอบคุณมากค่ะ😄☺️
@hanponk
@hanponk Жыл бұрын
Thanks!อยากได้คำแนะนำวิธีเขียนบทความหรือpaperให้ดีครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ต้องเริ่มจากหัดอ่านบ่อยๆและแยกให้ได้ว่า paper ไหนดีไม่ดีก่อนครับ จากนั้นต้องเข้าใจว่าอะไรที่ทำให้ paper นั้นเขียนดี จับตรงนี้มาใช้ในการเขียนของเราครับ
@angelrainbow4786
@angelrainbow4786 Жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ คลิปนี้เป็นประโยชน์กับหลานมากๆค่ะ
@masterGREYwayne
@masterGREYwayne Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ เป็นประโยชน์มากๆเลย
@ployangjoe
@ployangjoe Жыл бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากๆๆๆค่ะ น่าสนใจมากค่ะ เห็นด้วยเลยค่ะ หนูมักจะคิดว่าตัวเองเป็นคนเก็งข้อสอบเก่ง เพราะพออ่านจนถึงจุดนึงจะเริ่มเดาออกว่าอะไรที่น่าออกข้อสอบ แล้วก็เจอจริงๆ ส่วนที่อ่านแล้วคิดว่าไม่สำคัญก็จะไม่อ่านข้ามไปเลยค่ะ ซึ่งบางทีเอาตรงนั้นมาออกข้อสอบ ก็ต้องยอมแพ้ไป 555 วิธีอ.น่าสนใจค่ะ น่าจะย่นเวลาอ่านได้เยอะขึ้น/ มีรุ่นพี่เคยแนะนำว่า ก่อนเข้าห้องสอบให้เปิดสารบัญแล้วลองนึกดูว่าที่อ่านไปได้อะไรจากบทนั้น ทบทวน ไล่ไปทีละบทๆๆ ถ้าเราตอบได้ก็แสดงว่าเราพอจะทำข้อสอบวิชานั้นได้แล้วค่ะ
@apisre9382
@apisre9382 Жыл бұрын
เป็นประโยชน์มากครับคุณหมอ
@sekiharachi4347
@sekiharachi4347 Жыл бұрын
คุณหมอหล่อมาก😭 ตอนหนุ่มต้องหล่อมากแน่เลย
@pp76
@pp76 5 ай бұрын
ขอบพระคุณมากๆคุณหมอ ช่วงนี้อยู่ในฤดูกาลสอบหลายสนามมากค่ะ 🙇🙇🙇🙇🙇
@nung-noppapat
@nung-noppapat Жыл бұрын
ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
1) ตอนคุณหมอเป็นนักเรียนคุณหมอเก็งข้อสอบว่าถ้าผมเป็นอาจารย์จะออกข้อสอบให้ยากที่สุดแบบไหน แล้วตอนคุณหมอเป็นอาจารย์จริงๆคุณหมอออกให้ยากที่สุดแบบนั้นไหมคะ 2) ถ้านักเรียนสอบตกกันหมดเลยคุณหมอรู้สึกยังไงบ้างคะ สมัยโรงเรียนเราเคยสอบตกเลขตอน mid term ค่ะ ตกเกือบทั้งห้องเลยค่ะ 😅 มันยากสุดๆ เลยค่ะ จากนั้นเราก็ให้เพื่อนที่สอบผ่านช่วยติวให้ เพราะต้องไปสอบซ่อมค่ะ พอเริ่มจะเข้าใจแล้วตอนสอบ Final ไม่ตกแล้วค่ะ ตอนนี้ ก็ยังเคยกลับไปฝันถึงสมัยเรียนว่าจะต้องสอบวิชาเลขแล้วในสมองตอนนี้ คือไม่รู้เรื่องอะไรเลยค่ะ 😂😂 ไปแบบโล่งๆ แต่ไม่เป็นฝันร้ายนะคะ เพราะทำใจได้ว่าช่างมัน 555 แล้วก็ตื่นก่อนค่ะ 😂😂 เราว่า วิชาเลขไม่สามารถอ่านได้ค่ะ มันต้องฝึกทำแบบฝึกหัดเยอะๆ เราใช้วิธีอ่านแล้วจำไปสอบ ไม่รอดค่ะ เล่ามาซะยาวเลย เกือบลืมคำถาม ขอบคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
1) ไม่หรอกครับ ระดับยากสุดนี่เอาไว้ถามให้คิดเล่นๆเฉยๆครับ ไม่ได้เอามาออกจริงๆ 2) ถ้าผ่านมือผมแล้วสอบตกหมดนี่ ต้องโทษนักเรียนเลยครับ ผมสอนเน้นในสิ่งที่สำคัญเสมอ ให้นักเรียนทวนและสอนผมกลับ ดูความเข้าใจ ให้หัดวิเคราะห์เคสคนไข้ต่างๆ และหลายครั้งผมสอนนอกสาขาวิชาตัวเองได้ด้วย รวมทั้งเอาคำถามจริงๆในข้อสอบมาให้เรียนรู้ ก่อนเขาเรียนจบจะต้องมีความรู้พวกนี้แน่นพอควรและต้องอธิบายผมได้หมด ดังนั้นถ้าหลังจากนั้นเขาสอบตก อันนี้ปัญหาอยู่ที่เขา อาจจะจู่ๆความจำเสื่อม หรือมีปัญหาทางจิตใจอะไรสักอย่างครับ
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
@@DrTany คุณหมอใจดีมากเลยค่ะ 👍⭐️ เอาข้อสอบมาให้ทวนก่อนด้วย ถ้าสอบตกต้องเป็นปัญหาที่นักเรียนแน่นอนค่ะ 😆📚นักเรียนวันนี้สอบผ่านทั้งห้อง เย้ 🎊
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
@@DrTany ข้อ 2 อาจารย์หมอจะตอบได้น่าฟังมาก กราบอาจารย์ แต่คุณหมอมีมุกขำๆแทรกเสมอ paragraph ข้อ2 ในคลิปวันนี้ครูบอกว่านึกให้ออกว่าต้นparagraph กับท้ายparagraph เขาพูดว่ากระไร แล้วอ่านมาเจอ !!! "..จู่ๆอาจจะความจำเสื่อมชั่วคราว" หลังเรียนกับอาจารย์แล้วสอบตก ... ขออภัย มุกนี้ กลั้นขำไม่อยู่จริงๆ น้ำตาไหล หายใจไม่ทัน เจรจายิ่งกว่ามีดผ่าตัด บาดแล้วเอาเกลือหิมาละยันคลิปที่แล้ว มาทาแผล
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
@@paraneeplanantakuntorn ต้องอย่าลืมว่า นักเรียนคุณหมอไม่ใช่ระดับธรรมดาด้วยค่ะ ได้ครูดี นักเรียนก็เก่งค่ะ ถ้าทำไม่ได้ จนสอบตก ต้องมีเหตุการณ์ประหลาดแน่นอนค่ะ
@kanoky7076
@kanoky7076 Жыл бұрын
ขอบคุณนะคะ สำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์มากๆ🙏
@Nath_p8256yws
@Nath_p8256yws 4 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับเทคนิคครับคุณหมอ ผมจำได้ดีมากๆ ครับ ไม่จำเป็นต้องไปอ่านหบายรอบเหมือนครั้งก่อน อ่านทีไรไม่จำแต่พอได้ใช้เทคนิคของคุณหมอ จำง่ายมากครับ ตื่นเช้ามาก็ยังจำได้ แต่ผมมีบางอย่างที่อยากถามครับ แล้วสิ่งที่เราอ่านจะอยู่ในความทรงจำเราได้นานแค่ไหนครับ ทำยังไงถึงจะจำได้นานให้ถึงวันสอบครับ ของผมสอบอีก7 เดือนข้างหน้าครับ
@DrTany
@DrTany 4 ай бұрын
มันก็แล้วแต่คนครับ ทบทวนบ่อยๆในสมอง มันก็จะอยู่นานครับ
@Nath_p8256yws
@Nath_p8256yws 3 ай бұрын
@@DrTany ขอบคุณครับ
@วันเฉลิมเพ็ญประภา
@วันเฉลิมเพ็ญประภา Жыл бұрын
กำลังมองหาวิธีการแก้ไขอยู่พอดีเลยครับ ขอบคุณมากครับ
@Grace-ke7bi
@Grace-ke7bi Жыл бұрын
ขอบคุณมากเลยนะคะ จะนำไปปัฏิบัติตาม อย่างแน่นอนค่ะ
@achoolb6313
@achoolb6313 11 ай бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ จะนำไปใช้ค่ะ 😊🙏🏽✨
@silverabbiz
@silverabbiz Жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากๆ ค่ะพี่นำสาระประโยชน์ดีๆ มาแบ่งปัน จะลองนำไปปรับใช้นะคะ เพราะงานที่ทำต้องอ่านหนังสือและอ่านเอกสารเพื่อจับใจความสรุปเยอะมากๆ ค่ะ
@NewMeVitality
@NewMeVitality 5 ай бұрын
อ่านแผนที่ภาพรวม (สารบัญ) scanเนื้อหาด่วนๆ scanตัวเน้นตัวหลักตัวหนาประโยคแรกประโยคสุดท้ายในแต่ละย่อหน้า อ่านด้วยเป้าหมาย อ่านคำถามท้ายก่อนด้วย(ถ้ามี) ขอบคุณครับ
@CoffeePrin-ed5sg
@CoffeePrin-ed5sg 11 ай бұрын
ขอบคุณ​ค่ะอาจารย์​หมอ​ ช่วงนี้กำลังเป็นเลยค่ะ
@Chefaey
@Chefaey Жыл бұрын
เนื้อหาคลิปวันนี้ดีมากเลยเพราะกำลังหาวิธีอ่านหนังสืออยู่เลยพอฟังแล้วมันเจ๋งมากๆๆเลยเมื่อวานก็อ่านจนหลับคาหนังสืออีกล่ะแต่คงต้องหาวิธีแก้ไขในเรื่องนี้เลยวันนี้เลยอยากมาแนะนำหนังสือ2เล่มคือความสุขของกะทิ กับ กล้าที่จะถูกเกลียดส่วนตัวคิดว่า2เล่มนี้อ่านสนุกแต่หนังสือเล่มนี้กำลังตามหาแต่หายากคือเล่มนี้ฮาร์วาร์ดสอนวิธีคิดวิชาชีวิตที่ไม่มีในตำราเล่ม1เลยหายากมากๆๆ แต่ถ้าอาหารไทยต้องตำราแม่ครัวหัวป่าก์เลยค่ะ
@nookinwonderland
@nookinwonderland 9 ай бұрын
ขอบคุณมากๆนะคะ กำลังต้องการวิธีแบบนี้เลยค่ะ กำลังนำไปปรับใช้ค่ะ🙇‍♀️🙇‍♀️🙇‍♀️
@bettinabattaglia
@bettinabattaglia 3 ай бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะ กำลังเครียดอ่านหนังสือไม่ทันอยู่พอดีเลย
@myicy48
@myicy48 Жыл бұрын
คุณหมอคะ เรามักจะตีความโจทย์ผิดค่ะ เพราะภาษาไทยมันดิ้นได้ค่ะ มันเหมือนพูดแล้วเข้าใจได้ 2 ความหมาย สมองเราก็ชอบตีความผิดตลอด ในชีวิตจริงเราก็ตีความความหมายของคำพูดคนผิดค่ะ แฟนก็ชอบว่าเราคิดแปลก จุดนี้ไม่รู้จะทำไง จะว่าเราอ่านหนังสือน้อยก็ไม่ใช่นะคะ เราชอบอ่านนิทานตั้งแต่เด็ก โตมาก็อ่านนิยายเยอะมาก (4 ปีหลังอ่านน้อยลงเพราะไปติดเกมค่ะ) ไม่รู้จะแก้ยังไงดี
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
ถ้าตีความผิดในทางที่ดีก็ไม่น่าจะเป็นอะไรค่ะ คิดบวกเข้าไว้ ตัวเองจะได้มีความสุขค่ะ สมมติ เห็นเพื่อนโพสต์แฟนซื้อกระเป๋าใหม่ให้ใบละ 2 แสน คุณคิดยังไง 1) ขี้อวดจริงๆ 2) อิจฉาอยากได้บ้าง ทำไมแฟนเราไม่ซื้อให้บ้าง 3) ดีใจกับเพื่อนด้วย แฟนใจดี ได้กระเป๋าสวยดีจัง คนส่วนมากคงคิดข้อ 1-2 แต่ คิดแบบนั้นแล้วก็ไม่สบายใจเปล่าเปล่า ลองคิดแบบข้อ3 แล้วจะมีความสุขขึ้นค่ะ
@myicy48
@myicy48 Жыл бұрын
@@CherryChonny อันนี้ไม่เกี่ยวคิดบวกลบค่ะ เป็นเรื่องความหมายค่ะ ตีความเรื่องความหมายของคำพูดผิด ไม่มีบวกลบค่ะ ตีความผิดเพราะภาษาไทยมันเข้าใจได้ 2 แง่ 2 ง่าม ประมาณนี้ค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ถ้ารู้ว่าเราตีความหมายผิดบ่อยๆ เวลาคนพูดมาเราลองพูดในสิ่งที่เราเข้าใจออกไปตรงๆแล้วถามเขาว่าเราเข้าใจได้ถูกต้องมั้ย ถ้าผิดเขาจะได้แก้ให้และเราก็ต้องเรียนรู้ด้วย ต่อไปจะได้ตีความได้ถูกครับ
@myicy48
@myicy48 Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณค่ะ ส่วนใหญ่จะได้รับความเข้าใจทันทีถ้าพูดกับคนนะคะ เพราะจะงงกันและจะถามกันทันที แต่ปัญหาเรื่องนี้มีผลต่อการสอบด้วย 555 ยกตัวอย่างเช่น A อยู่กับลูก 2 คน // .... มันอาจจะหมายถึง อยู่กันแค่ 2 คน (Aมีลูกคนเดียว) หรือ A มีลูกสองคน ซึ่งข้อสอบแนววิชาการที่เราทำมันจะไม่ได้บอกเกริ่นอะไรค่ะ จะเป็นโจทย์ตุ๊กตา แล้วเราจะโง่เข้าใจผิดอยู่คนเดียวค่ะ เราคิดว่าสมองเราต้องมีปัญหาอะไรสักอย่าง เพราะถ้าคนอื่นเข้าใจโจทย์ แต่เราเข้าใจผิดแบบนี้ เฮ้อ
@knockout947
@knockout947 5 ай бұрын
ขอยคุณครับ🙏 ลองทำรอบเดียวเข้าใจได้ดีกว่าเดิมเยอะมากครับ
@pilins4793
@pilins4793 8 ай бұрын
คิดว่าการอ่านแบบนี้น่าจะมีประสิทธิภาพ และประหยัดเวลาคะ เพราะทุกทีอ่านไปแล้วมาทำแบบฝึกหัด แล้วต้องกลับไปอ่านเน้นตามคำถามอีกที คืออ่านซ้ำ 2-3 รอบค่ะ ช้ามากคะ
@impulse50k.w.6
@impulse50k.w.6 Жыл бұрын
😮 ขอบคุณมากครับคุณหมอ มีประโยชน์มากเลยครับ สอบถามกรณีถ้าไปเจอข้อสอบ ielts อ่านแบบมีเวลาจำกัด คุณหมอพอมีวิธีแนะนำไหมครับ อย่างตอนนีี้ผมไม่แน่ใจว่าอย่างไรดีกว่า ระหว่างอ่านคำถามแล้วไปอ่าน passage หรือ ควรอ่าน passage แล้วค่อยกลับมาอ่านคำถามครับ ลองทำดูทั้ง 2 แบบแล้วเหมือนผลลัพท์ไม่ค่อยต่างกันเท่าไหร่ เลยไม่แน่ใจว่าวิธีไหนน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าครับ ขอบคุณครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ผมก็ไม่เคยสอบ IELTS ด้วยสิครับ 555 แต่วิธีที่ผมใช้คือ อ่านคำถามก่อน ตามด้วยอ่านประโยคแรกและสุดท้ายของแต่ละย่อหน้า ถ้าเจอคำตอบที่ไหนจะอ่านตรงนั้นแล้วตอบเลยโดยไม่อ่านให้จบทั้งหมด แต่ถ้าไม่เจอค่อยอ่านทั้งหมดครับ
@impulse50k.w.6
@impulse50k.w.6 Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากนะครับ คุณหมอ 😀
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
เราเคยสอบค่ะ 1) อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของทุก paragraph ก่อน ไวๆ ว่ามันเกี่ยวกับอะไร 2) แล้วไปอ่านคำถาม จำว่าถามอะไร 3) แล้วมาอ่านทั้งหมดเพื่อหาคำตอบค่ะ ถ้าเจอเรื่องยากอ่านข้อหนึ่งแล้วไม่รู้เรื่องเลย ก็ข้ามไปทำเรื่องอื่นก่อนค่ะ แล้วค่อยกลับมา เราเคยเจอพวกเรื่องวิทยาศาสตร์ดวงดาว ไม่รู้เรื่องเลยค่ะ😅 แต่เราสอบตั้งแต่สมัยเป็นกระดาษนะคะไม่รู้ว่าตอนนี้มันข้ามได้หรือเปล่าค่ะ
@impulse50k.w.6
@impulse50k.w.6 Жыл бұрын
@@CherryChonny ขอบคุณนะครับ กำลังไปสอบแบบกระดาษเหมือนกันครับ ยังข้ามได้อยู่ครับ 😄
@kanjanaanyrukratchada2719
@kanjanaanyrukratchada2719 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
ขอแชร์เทคนิคของเราบ้างค่ะ คือถ้าเราอ่านแล้วเราได้เล่าให้คนอื่นฟังต่อเราจะจำได้แม่นเลยค่ะ 😃 หมายความว่าเราเข้าใจสิ่งที่อ่านแล้วเราถึงจะสามารถเอามาเล่าให้คนอื่นฟังเข้าใจต่อได้ ตอนเราเรียนหนังสือเราชอบอ่านหนังสือเสร็จแล้วมาทวนกับเพื่อนค่ะ พวกเพื่อนที่อ่านหนังสือไม่ทันเค้าก็แค่มาฟังสรุปแล้วทำความเข้าใจที่เราเล่าก็พอค่ะ ส่วนเราก็ไม่หวงเพราะว่าเป็นการที่เราได้ทวนแล้วก็จะมีเพื่อนคนที่อ่านหนังสือมาแล้วช่วยฟังว่าเราเข้าใจถูกไหมค่ะ เราเคยเข้าใจไม่ถูกด้วย เพื่อนก็ช่วยแก้ให้ค่ะ ถ้าไม่ได้เจอเพื่อนเราก็จะเล่าให้ตัวเองฟังค่ะ 😊 ออกมาคะแนนดีค่ะ 🎉😊 เย้
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะชอบวิธีการค่ะ อยากให้คุณหมอแนะนำหนังสือให้สักหน่อยค่ะไม่เคยชื้อหนังสืออ่านเลย หลังที่เคยเรียนจบ และไม่เคยอ่านหนังสือเล่มไหนจบเลยค่ะ ไม่ว่าหนังสือพระ หนังสือแฟชั่น หนังสือบันเทิงหรือความรู้ต่างๆ เป็นคนที่โง่มากๆค่ะที่ชอบคือการฟังจะฟังได้เป็นวันเป็นชั่วโมง ฟังหลายรอบก็ไม่เบื่อถ้าเป็นเรื่องที่สนใจ คุณหมอมาคุยอยากอ่านบ้างค่ะถ้าอ่านจบเล่มแรกคงมีเล่มต่อไป ตอนนี้มีเวลาแล้ว คุณหมอแนะนำให้อ่านอะไรดีคะ กรุณาแนะนำค่ะ เป็นคนสูงวัยค่ะ ขอบคุณนะคะ🙏
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
พี่แอ๋วลองอ่าน "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ไหม ไม่ใช่โรซี่ ข้างหน้าต่างนะคะ อิ อิ เดี๋ยวรอที่คุณหมอแนะนำด้วยคนค่ะ
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
@@maneeann โต๊ะ โต๊ะจังที่คุณหมอเคยแนะนำ ในคลิป น้องแอนอ่านแล้วหรือคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
อ่านแล้วลองอ่าน นางสาวโต๊ะโตะมั่งครับ
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
@@AL86898 พี่แอ๋ว อจ แนะนำแล้วค่ะ นางสาวโต๊ะโตะ ไปหาอ่านกัน เรื่องนี้คือตอนต่อของ 'โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง' เหตุการณ์ในเรื่องเป็นช่วงเวลาที่เธออพยพลี้ภัยสงครามจากกรุงโตเกียวไปอยู่ในชนบท จนถึงตอนเรียนจบจากวิทยาลัยดนตรี สมัครเข้าฝึกอบรมในสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค. ยุคที่ประเทศญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มมีโทรทัศน์เป็นครั้งแรก นางสาวโต๊ะโตะ ไม่ใช่หนังสือบันเทิงที่อ่านเล่นเพลินๆ และไม่เหมือนหนังสืออัตชีวประวัติที่กล่าวถึงความดีของผู้เขียนเพียงด้านเดียว แต่เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ มากมาย เท่าที่ผู้เขียนได้ประสบตลอดเวลานับแต่เริ่มต้นเข้าสู่วงการวิทยุโทรทัศน์ เข้าสู่สังคมผู้ใหญ่ในขณะที่ความคิดของเธอยังเป็นเด็ก หนังสือเรื่องนี้จึงสามารถชี้แนวทางแห่งการดำเนินชีวิตของฅนรุ่นหนุ่มสาวได้เป็นอย่างดี เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอได้ผจญ ได้ผ่านพ้น ได้ต่อสู้ เอาชนะ และพ่ายแพ้มานั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ได้ประสบด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการทำงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ และที่สำคัญ เป็นหนังสือชี้หนทางการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีความหมาย และมีศักดิ์ศรี ด้วยวิธีง่ายๆ
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณค่ะ อจ เดี๋ยวไปอ่านค่ะ นางสาวโต๊ะโตะ 😁
@thesangiampornfamily9907
@thesangiampornfamily9907 Жыл бұрын
อยากให้คุณหมอช่วยอธิบายเรื่องการกินน้ำแอปเปิ้ลไซเดอรคะและการกินจะทำให้มีผลกับการแน่นท้องหรือปวดท้องไหมคะ ขอบคุณคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
มีได้ครับ
@anunyalakboonmueng7433
@anunyalakboonmueng7433 Жыл бұрын
ขอบคุณคะ😊
@Jilzoz
@Jilzoz Жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากครับ🙏🏻
@618fah
@618fah 24 күн бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากๆๆน่ะค่ะ
@barrier6026
@barrier6026 Жыл бұрын
ผมว่าการรื้อฟื้นเรื่องที่อ่านมันคล้ายกับการฟื้นความจำคนความจำเสื่อมมั้ยครับ แบบ เขาก็จะค่อยๆนึกจากต้นเรื่องหรือเรื่องสำคัญๆก่อน ละมันจะเริ่มปะติดปะต่อเรื่องเล็กย่อยออกทีละนิดๆ จนเป็นเรื่องราวไปเรื่องต่อๆไปจนนึกถึงทั้งหมดได้
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ก็อาจจะในบางมุมครับ
@นานาพิมสาร
@นานาพิมสาร Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ สำหรับวิธีการ
@auntyjoomysimplylifestyle2875
@auntyjoomysimplylifestyle2875 8 ай бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะจะไปลองทำ จะมาupdateนะคะ
Smart Sigma Kid #funny #sigma
00:14
CRAZY GREAPA
Рет қаралды 105 МЛН
The Singing Challenge #joker #Harriet Quinn
00:35
佐助与鸣人
Рет қаралды 25 МЛН
ทำยังไงถึงจะเรียนเก่ง
29:27