น้ำมันหมู vs น้ำมันพืช ความรู้เดิมถูกอยู่แล้ว

  Рет қаралды 515,156

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

ไขมันอิ่มตัวมีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเพิ่มขึ้น www.bmj.com/co...
ไขมันทรานส์ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ส่วนไขมันอิ่มตัวไม่ได้เปลี่ยนแปลงในสิ่งนี้นัก (นี่คือตัวอย่างข้อมูลที่ขัดแย้งกับงานชิ้นด้านบนครับ) อย่างไรก็ตามพบว่าไขมันไม่อิ่มตัวนั้นสามารถป้องกันโรคในระบบนี้ได้
www.ncbi.nlm.n...
ไขมันอิ่มตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นหลอดเลือดสมอง คาร์โบไฮเดรตสูงๆ เพิ่มอัตราการตาย (แต่การสรุปว่าไม่กินคาร์โบไฮเดรตเลยหรือกินให้น้อยมากๆแล้วชีวิตจะยืนยาว มันไม่ถูกต้องครับ)
pubmed.ncbi.nl...
งานเขียนที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไขมันอิ่มตัวไว้ครับ สรุปคือควรที่จะไม่กินไขมันอิ่มตัวมากจนเกินไป คือกินไม่เกิน 10% ของแคลอรี่ในแต่ละวัน เช่น ถ้าในวันนึงต้องการ 2000 kcal ก็ต้องไม่ควรกินไขมันอิ่มตัวเกิน 200 kcal ซึ่งก็คือประมาณ 200/9 = 22 กรัมต่อวันครับ
pubmed.ncbi.nl...
น้ำมันที่ทาง American Heart Association แนะนำ
www.heart.org/...
จุดก่อควัน Smoking point ของน้ำมันชนิดต่างๆครับ
anovaculinary....
Transfat คืออะไร ไม่ดีอย่างไร
www.ncbi.nlm.n....

Пікірлер: 1 500
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
น้ำมันหมู vs น้ำมันพืช ความรู้เดิมถูกอยู่แล้ว #Saturatedfat #Transfat #Unsaturatedfat สามารถอ่านงานวิจัยได้ในลิงค์ใต้คลิป (ลิงค์บางงานวิจัยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล) Transfat คือ ไขมันทรานส์ ไม่ควรกิน Saturated fat คือ ไขมันอิ่มตัว (ไม่ควรกินเกิน 10% ของแคลอรี่ทั้งหมดที่เรากินไป) Unsaturated fat คือ ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันหรือกรดไขมันเป็นโมเลกุลใหญ่ประกอบไปด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจนเป็นหลัก ตอนที่1
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
คาร์บอน คือ โมเลกุลที่ต่อเป็นเส้นยาวๆ คาร์บอนแต่ละตัวจะมีพันธะต่อกัน คาร์บอนมีทั้งหมด 4 แขน - เมื่อไหร่แขนของคาร์บอน แขนหน้าจับคาร์บอน แขนหลังจับคาร์บอนอีกตัว และสองแขนที่เหลือจับไฮโดรเจน ก็จะไม่เหลือแขนไปจับสิ่งอื่นอีกแล้ว แบบนี้เรียกว่า ไขมันอิ่มตัว หรือ Saturated fat - เมื่อไหร่ที่สองแขนหน้าจับกับคาร์บอน สองแขนหลังอาจจะไปจับไฮโดรเจน หรือ คาร์บอน ทั้งสองแขนเลยก็ได้ แบบนี้เรียกว่า Unsaturated fat หรือ ไขมันไม่อิ่มตัว ที่ไม่อิ่มตัวเพราะ ถ้าเราเอาโมเลกุลใหม่ใส่เข้าไป สองแขนหน้าที่เคยจับคาร์บอน อาจจะปล่อยแขนหนึ่งไปจับโมเลกุลใหม่ได้ ถ้ามีพันธะเดี่ยวเรียกว่า ไขมันอิ่มตัว ถ้ามีพันธะคู่ ถ้ามี 1 พันธะคู่ เรียกว่า Monunsaturated fat แต่ถ้ามีหลายๆพันธะคู่จะเรียกว่า Polyunsaturated fat ซึ่งเป็นตัวที่ดีต่อร่างกาย สิ่งหนึ่งที่เราทราบแน่ๆคือ - ไม่ควรกิน Transfat ไม่มีประโยชน์และมีโทษ ไขมันทรานส์จะเกิดกับเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวเท่านั้น ซึ่งคนที่สนับสนุนให้กินไขมันอิ่มตัวนำมาโจมตีไขมันไม่อิ่มตัว ว่าทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ หรือ ผ่านกระบวนการเยอะๆทำให้เกิดไขมันทรานส์ ตอนที่2
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
ไขมันทรานส์ เป็น Polyunsaturated fat ที่ไม่อิ่มตัวสูง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ถ้าเติมไฮโดรเจนเข้าไป มันจะปล่อยมือข้างหนึ่งไปจับกับไฮโดรเจน ถ้าเติมทุกพันธะจะกลายเป็นไขมันอิ่มตัวทันที แต่ถ้าเติมบางอันแล้วยังเหลือพันธะคู่บางอัน จะเป็นกรดไม่อิ่มตัวอยู่ แต่ถ้าเราเติมไฮโดรเจนเข้าไป โมเลกุล บางอันจะตรงๆอยู่ (เรียกว่า Transfat) บางอัน มีอันหนึ่งงอไปแบบนี้ถือว่าดี เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด ซิส (cis) ซึ่งแบบทรานส์จะมีความคล้ายคลึงกับ Saturated fat จะเป็นเส้นตรง แล้วไขมันอิ่มตัวจะอยู่ทนมากกว่า ไม่เหม็นหืน อุตสาหกรรมจึงพยายามที่จะใส่ไฮโดรเจนเข้าไปเพื่อให้เป็นเส้นตรงๆ จะได้ทนความร้อน อากาศ อยู่ได้นานมากกว่า แต่ก็มีโอกาสจะเป็นไขมันทรานส์ได้ ดังนั้นกระบวนการเติมไฮโดรเจน เขาพยายามจะไม่ทำแล้ว ไขมันทรานส์ยังเกิดได้โดยธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์เนื้อแดง ชีส แต่เกิดในปริมาณน้อยมากจนเราไม่ต้องกังวลว่ากินแล้วจะทำให้เกิดอะไรขึ้นมา ตอนที่3
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
ปัญหาคือ ถ้าท่านจะกินแต่เนื้ออย่างเดียวเพื่อจะลดน้ำหนัก ท่านจะได้ไขมันทรานส์เข้าไปเต็มๆ และ ไขมันทรานส์จะพบในอาหารแปรรูป เช่น อาหารแช่แข็ง พิซซ่าแช่แข็ง หรืออะไรที่เอามาทำเยอะๆ ใส่เนย นม ของหวาน แครกเกอร์ ขนมปัง เบเกอรี่ มีโอกาสจะเกิด ไขมันทรานส์เยอะมาก - รองลงมาคือ ไขมันอิ่มตัว มักจะมาจากสัตว์ เช่น ไขมันสัตว์ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไขมันเหล่านี้จะอยู่ทนไม่เหม็นหืน - และดีที่สุดคือไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่มาจากพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง ตอนที่4
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
ความเชื่อที่ว่าไขมันไม่อิ่มตัวไม่ดีมาจาก 1. ปัญหาของหลอดเลือด ความเข้าใจดั้งเดิมคืออาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตันได้ง่าย ทำให้ LDL สูงขึ้น HDL ต่ำลง ทำให้ ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น ทำให้ Apolipoprotein สูงขึ้น ไขมันเหล่านี้จะทำให้เราเกิดปัญหาด้านหลอดเลือดหัวใจได้ สิ่งที่ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้องมาจากงานวิจัยหลายๆตัว ที่เทียบระหว่างไขมันชนิด อิ่มตัว ไม่อิ่มตัว ไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะเดี่ยว ไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่ แล้วพบว่า กลุ่มคนที่กินไขมันอิ่มตัวเยอะๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเพิ่มขึ้น แต่คนที่กิน คาร์โบไฮเดรตทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจเพิ่มมากขึ้น จากผลของงานวิจัย เราควรเทียบจากไขมันด้วยกัน ไม่ใช่เทียบไขมันกับคาร์โบไฮเดรต (แต่ไม่ควรงดคาร์โบไฮเดรต ทุกอย่างควรพอดี) เมื่อเทียบกับไขมันด้วยกันเอง จะพบว่า ไขมันอิ่มตัวไม่ได้เพิ่มอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจ (แต่ถ้าดูดีๆการกินไขมันอิ่มตัวจะเพิ่มปัญหาเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง) แต่ไขมันไม่อิ่มตัวลดอุบัติการณืของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ตอนที่5
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
สรุปคือ - Unsaturated fat หรือไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันพืชยังดีอยู่ ในแง่การก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย - ไขมันอิ่มตัวก่อให้กิดการอักเสบ ปัจจุบันคิดว่าสาเหตุที่เกิด มีความคล้ายคลึงกับสารตัวหนึ่งที่แบคทีเรียปล่อยออก ชื่อว่ามาจากสารตัวหนึ่ง ชื่อว่า Lipopolysaccharides สารตัวนี้เป็นไขมันบวกน้ำตาลบางตัว ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย 2. ปัญหาการก่อมะเร็ง เวลาเรานำน้ำมันไปประกอบอาหาร แล้วมีควันขึ้นมาเรียกว่า Smoking point การกลายเป็นควันจะแตกต่างตามชนิดของน้ำมัน บางชนิดต้องร้อนมากถึงจะกลายเป็นควัน แต่น้ำมันบางชนิดร้อนไม่มากก็เป็นควันแล้ว ซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็งได้ ดังนั้นถ้าเลือกน้ำมันที่ไม่ค่อยจะเป็นควันมาประกอบอาหารก็น่าจะดี ถ้าไขมันจากสัตว์ หรือ ไขมันอิ่มตัวอื่นๆ มักไม่ค่อยจะกลายเป็นควัน ในขณะที่น้ำมันพืชมักจะกลายเป็นควัน ตอนที่6
@twoasiri7565
@twoasiri7565 Жыл бұрын
คุณพ่อผมตอนนี้อายุ 91ปี และคุณแม่อายุ 85 ปี ท่านทั้ง 2 สุขภาพแจ็งแรงดีมาก ท่านทานข้าวทุกวัน 3 มื้อครับแต่ทานบริมาณไม่เกิน 1 ทัพพีไม่พูนนะครับ ท่านก็มีความสุขดีไม่เคยเป็นโรคหลอดเลือดตีบใดๆ ผมเลยไม่เชื่อพวกที่หักดิบไม่กินข้าวเลยครับ ตามสบายอ้อลืมบอก ที่บ้านกินแต่ข้าวกล้องครับ 100% เลยครับ และน้ำมันผัดอาหารใช้น้ำมันรำข้าวสลับน้ำมันมะกอกครับ อารมณ์ท่านดี ออกกำลังสม่ำเสมอ...
@Thenextwillcome.
@Thenextwillcome. Жыл бұрын
ตอนวัย40-60ก็กินข้าวเต็มจานได้ใช่ไหมครับแล้วค่อยลดตอนสูงอายุใช่ไหม ถ้ามีเมียเด็กสวยๆก็อาจมีส่วนให้อายุยืนนะผมว่า
@salfaria
@salfaria Жыл бұрын
ผมเชื่อลึกๆว่า อายุยืน มักจะเกิดกับคนทานน้อย นอนพักผ่อนเป็นเวลา อารมณ์ดี และมีกรรมพันธุ์ที่ไม่มีโรค บางท่านอาจจะสุขภาพดี อารมณ์ดี แต่ถ้า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นมะเร็ง คำถามคือ เราจะเป็นไหม คำตอบเก็บไว้ในใจก็พอครับ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีนะครับ ร่างกายทุกคนต่างกัน โปรดศึกษาร่างกายของเราให้ดีครับ เราจะพบกับความสุข และความมหัศจรรย์ของชีวิตครับ
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 Жыл бұрын
ออกกำลังคือ key สำคัญ
@คนหลังเขาใครเล่าจะมาสนใจ
@คนหลังเขาใครเล่าจะมาสนใจ Жыл бұрын
มันเปรียบกันไม่ได้หรอกครับ เหมือนผมกับพ่อ ผมเป็นเบาหวานชนิดที่2 ทำงานออฟฟิศ กินแล้วนั่ง พ่อผมอายุ80 ตอนเย็นแกกินข้าวเหนียวกับน้ำตาลเมืองเพชรทุกวัน ชอบกินของหวานๆ แก ทำไร่ทำนา กินแล้วได้ใช้พลังงาน ต่างกัน ไอ้เราจะกินข้าว ยังกลัวเลย เศร้าแปล่บ😩😩😩
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 Жыл бұрын
@@gotzad1 การเอาป้าข้างบ้าน 1 คนมาพูดถึงในเคสนี้ก็ไม่เหมาะสมเช่นกันครับ หมอกฤตไท อายุยังไม่ถึง 30 ที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายก็เป็นตัวอย่างที่น่าจะ ทำตัวดีกว่าป้าคุณแน่ๆ แล้วก็ยังมีนายตำรวจที่ออกกำลังประจำหุ่นยังดีอายุก็ยังน้อยก็ยังเป็นมะเร็งปอด ตัวอย่างพวกนี้สนับสนุนตัวอย่างของป้าคุณหรือไม่? มันก็เป็นแค่ตัวอย่างครับ แต่ไม่มีหลักสถิติอะไรให้เชื่อถือได้เลย คนทำแบบป้าคุณแล้วตายตอนอายุ 55 ก็ต้องดูว่าคนที่ทำแบบนี้มีร้อยละเท่าไหร่ที่ตายตอนอายุเท่านี้ แน่นอนว่ามีเป็นจำนวนน้อยแน่ๆ ข้อมูลมีสถิติมี ไม่ใช่เอาคนไม่กี่คนมาอ้างนะครับ
@samanthac.rangkoon1396
@samanthac.rangkoon1396 Жыл бұрын
ขอเพิ่มเติมในฐานะเป็นFood Technologistค่ะ 1.ไขมันทรานส์ พบมากในมาการีน เนยขาว ขนมพายชั้น(puff pastry) ครัวซอง คุ้กกี้ coffee creamerรวมทั้งกาแฟแบบ3in1 cracker ฯลฯ ซึ่งเป็นอาหารที่นิยมของคนไทยส่วนมาก 2. การใช้น้ำมันทอดซ้ำๆที่หมอแทนบอกทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ปัจจุบันใช้วัดด้วยค่าๆนึงเรียกว่า ค่าโพลาร์ มีเครื่องมือวัดที่พกพาไปได้ง่ายๆ(แต่ราคาแพง) อย.กำหนดให้น้ำมันทอดไม่ควรมีค่าโพลาร์สูงกว่า25 ปัจจุบันอย.ควบคุมค่าโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำได้แต่เฉพาะในร้านอาหารใหญ่ๆหรือพวกchain restaurant แต่พวกร้านอาหารทั่วไปหรือทีทอดขายกันตามตลาด ริมถนน หน้าโรงเรียนเด็กๆไม่มีการควบคุม ซึ่งเป็นคนหมู่มากทาน นี่จึงเป็นสาเหตุส่วนนึงที่ทำให้คนไทยปัจจุบันเป็นมะเร็งกันเยอะค่ะ
@tep222
@tep222 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ อาหารทอดส่วนใหญ่ใสน้ำมันเต็มกระทะ อย่างน้อยที่สุด ก็น่าจะใช้ทอดต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หรือ ที่ทอดขายในวันนั้นก็กระทะเดียวรวดไปเลย น่าจะเกิน 25 ไหมครับแบบนี้
@genichirom.1712
@genichirom.1712 Жыл бұрын
มีประโยชน์มากครับ ดันๆ
@samanthac.rangkoon1396
@samanthac.rangkoon1396 Жыл бұрын
@@tep222 ตอบยากค่ะ มันขึ้นกับคุณภาพน้ำมันตั้งต้น ความร้อนที่ใช้ ปริมาณอาหารที่ทอด กากอาหารที่ตกอยู่ในกะทะที่ถูกความร้อนสูง+เวลานาน ส่วนตัวถ้าซื้อของทอดจะดูที่สีและความใสของน้ำมันบนเตาเป็นหลัก และทานของทอดในร้านฟาสต์ฟู้ดแต่ไม่ทานบ่อย(บางทีก็อยากทานไก่ทอดบ้าง😅)
@FastTer
@FastTer Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่มาแบ่งปันครับ
@มึงต่อยกับเพื่อนกูไหมเอ้า
@มึงต่อยกับเพื่อนกูไหมเอ้า Жыл бұрын
สอบถามครับ ทุกวันนี้ทำอาหารใช้น้ำมันมะกอก ถือว่าดีอยู่ใช่ไหมครับ
@somchaitaweeakarasathaporn5851
@somchaitaweeakarasathaporn5851 Жыл бұрын
อาจารย์นี้ของจริง ไม่ขายยาไม่ขายเสื้อไม่ต้องมีสัญลักษณ์ต่างดาว เอาใจไปเบย
@tanyaa1846
@tanyaa1846 Жыл бұрын
สัญลักษณ์ต่างดาวคืออะไร😅
@วัชรินทร์พัวพันธ์
@วัชรินทร์พัวพันธ์ Жыл бұрын
@@tanyaa1846 มีสัญลักษณ์นี้แล้วจะฉลาด buff INT +20
@aonevo8905
@aonevo8905 Жыл бұрын
ลัทธิที่ไม่จมสินะ 55555
@yeansr5396
@yeansr5396 Жыл бұрын
เปิดคลิปด้วยว่าคนนั้นคนนี้โง่ ต่อด้วยบอกว่าแบบนี้สิถูก ตบท้ายคลิปด้วยขายของที่ตัวเองบอกไว้กลางคลิป 5555555
@TheMusictor
@TheMusictor Жыл бұрын
ไม่ขายเสื้อไม่ขายอาหารเสริม😅
@daraluckyau
@daraluckyau Жыл бұрын
คุณหมอรู้รอบด้านไม่พอ ยังรู้เชิงลึกอีก แล้วเหนือไปอีกคืออธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
@chantippongsanam7600
@chantippongsanam7600 Жыл бұрын
หมอให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่ขายของด้วย ไม่ขายคอร์ส ทั้งที่หากจะทำก้อคงมีรสยได้เยอะมากๆ ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่มอบให้กับคนไทยค่ะ ขอให้คุณหมอมีความสุขมากๆค่ะ
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
ถ้าจบคลิป คุณหมอ บอกว่า ผมมีน้ำมันสูตรวิเศษมาขาย ทานแล้วสุขภาพดี คนคงแห่กันซื้อ นะคะ 😂
@phattayaneekanphai912
@phattayaneekanphai912 4 күн бұрын
คุณหมอให้ความรู้แท้จริง ไม่มีการขายของ ขอบคุณจากใจจริงๆคะ
@demondevil6730
@demondevil6730 Жыл бұрын
ผมเชื่อว่าอาจารย์ ทำ youtube เพื่อให้ความรู้กับบคนไทย จริงๆ ไม่มีเหตุผลทางด้านการเงินมาเกี่ยว ผลพลอยได้คืออาจารย์ได้ชื่อเสียงแค่นั้นแหละครับ FC อ.ธานี ครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ... วันนี้เรื่อง... น้ำมันหมู VS น้ำมันพืช ความรู้เดิมถูกอยู่แล้ว #Saturatedfat #Transfat ◾ก่อนอื่นทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ประเภทของไขมัน ก่อนนะคะ ไขมันแบ่งเป็น 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) มีลักษณะเป็นของแข็งเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส มักพบในแหล่งอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนยนม เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ติดหนัง ไขสัตว์ เนย ชีส น้ำมันพืชบางอย่างก็มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันมะพร้าว เหมาะแก่การทอดด้วยความร้อนสูง 2. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fat) มักพบในน้ำมันพืชอย่างน้ำมันมะกอก น้ำมันงา หรือน้ำมันดอกคำฝอย อะโวคาโด ปลาที่มีกรดไขมันอย่างทูน่า แมคเคอเรล หรือแซลมอน และถั่วหรือเมล็ดธัญพืชต่าง ๆไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง รวมทั้งทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นที่สร้างเองไม่ได้ ทนความร้อนได้น้อยกว่าไขมันอิ่มตัว สามารถนำไปผัด ทอดได้บ้าง 3. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fat) มักพบในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันทานตะวัน ถั่วและเมล็ดพืชต่าง ๆ ไขมันประเภทนี้ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ให้สารอาหารที่เสริมสร้างเซลล์ในร่างกาย และทำให้ได้รับกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกาย ผลิตเองไม่ได้ เช่น โอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 แต่ไขมันที่ทนความร้อนได้น้อยที่สุด การบริโภคกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนจะช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากกว่าบริโภคไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์ 4. ไขมันทรานส์ (Trans fat) เกิดจากการใช้ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมาแปรสภาพโดยการเติมฟองอากาศจากไฮโดรเจนลงไปบางส่วน ในน้ำมันพืชทำให้เปลี่ยนสภาพจากของเหลวให้อยู่ในสภาพของแข็ง หรือกึ่งเหลว กลายเป็นไขมันอิ่มตัว อย่างเช่น เนยเทียม เนยขาว มาร์การีน ครีมเทียม การกืนแบบ carnivore diet หรือ กินเนื้อสัตว์อย่างเดียวจะได้ไขมันทรานส์เต็มๆ การบริโภคไขมันทรานส์จะส่งผลให้ระดับ LDL เพิ่มขึ้น ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองได้สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตับทำงานผิดปกติ ฯลฯ เราจึงควรเลี่ยงอาหารที่มีไขมันประเภทนี้ เพราะแย่ที่สุดในไขมันทั้งหมด 🔵น้ำมันประเภทไหนอันตรายต่อสุขภาพ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการนำไปใช้ในการปรุงอาหารประเภทผัดหรือทอด ที่อุณหภูมิ “จุดเกิดควัน” ต่างกัน ⏹น้ำมันหมู มีข้อดีที่ผลิตได้ง่ายกว่าน้ำมันพืช เพียงนำมันหมูแข็งสีขาวมาเจียวก็ได้น้ำมันไว้ใช้แล้ว ต่างจากน้ำมันพืชที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมหลายขั้นตอน ทำให้หลายคงเชื่อว่า อาจเกิดการปนเปื้อนสารเคมี จึงคิดไปเองว่า น้ำมันหมูมีความปลอดภัยกว่า น้ำมันหมูยังมีจุดเกิดควันสูง (smoking point) เมื่อนำไปปรุงอาหารประเภททอดซึ่งใช้ความร้อนสูงจึงไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำมันหมูนั้นมีไขมันเลว เช่น คอเลสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัวปริมาณสูง หากรับประทานเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด ทั้ง โรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคมะเร็ง ⏹น้ำมันพืช มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ปราศจากไขมันอันตราย แต่บางชนิดมีจุดเกิดควันต่ำมาก หากนำมาทอดอาหารจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งทำลายสุขภาพได้ ◾น้ำมันถั่วเหลือง และ น้ำมันรำข้าว มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งสูง ไขมันอิ่มตัวต่ำ "มีจุดเกิดควันสูง" เหมาะสำหรับผัด และทอด ◾น้ำมันมะกอก มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 1 ตำแหน่งสูง ไขมันอิ่มตัวต่ำ จึงช่วยลดไขมันร้ายโดยไม่ลดไขมันดี ทั้งมีสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า และโอเมก้า 3 ในปริมาณที่เหมาะสมเหนือกว่าน้ำมันชนิดอื่น จึงช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล เหมาะสำหรับปรุงอาหารประเภทผัดไฟอ่อน หรือเป็นส่วนผสมในน้ำสลัด จึงจะให้คุณค่าทางโภชนาการสูง หากใช้ผิดวิธี ผัดไฟแรงหรือทอดอาจทำให้น้ำมันดีกลายเป็นน้ำมันก่อโรคก่อมะเร็งได้ ◾น้ำมันปาล์มมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงคล้ายน้ำมันหมู มีจุดเกิดควันค่อนข้างสูง เหมาะกับการใช้ทอดอาหาร
@kong456
@kong456 Жыл бұрын
ตอนฟังผมนี่หมุนติ้วๆ เลย ขอบคุณที่เขียนสรุปครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@kong456 ยินดีค่ะ...
@myartwillgoon.5027
@myartwillgoon.5027 Жыл бұрын
เข้าใจเรื่องพันธะเคมีขึ้นอีกนิดนึง..อาจารย์ของเราไม่เห็อธิบายเข้าใจง่ายเหมือนคุณหมอเลย
@dawiphada799
@dawiphada799 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะจะได้สบายใจขึ้นเยอะกับการทำอาหารชัดเจนมากค่ะขอบคุณที่ให้ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจนมากค่ะ🙏🏻
@veryrichman
@veryrichman Жыл бұрын
เท่าที่ผมฟัง หมอไม่ได้บอกนะครับว่า กรดไขมันอิ่มตัว เป็นสิ่งที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจ กับโรคมะเร็ง บอกเพียงว่า แต่อาจจะมีภาวะไขมันในเลือดสูง
@kpa89995
@kpa89995 Жыл бұрын
ผมเคยเรียนเชฟมาก่อน สรุปง่าย ๆ สั้น ๆ - น้ำมันปาล์ม ประจุ บวก ลบ มากกว่าน้ำมันชนิดอื่น เหมาะเอาใช้ความร้อนนาน นิยมเอามาทอด มากที่สุด - น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน ประจุ บวก ลบ น้อยกว่าน้ำมันปาล์ม นิยมใช้ ไฟไม่แรงมาก นิยมใช้การผัก ไม่ก็ทำน้ำสลัดมากกว่า - ไขมันจากสัตว์ ส่วนดีมีกลิ่นและรสดีกว่า ในใจน้ำมันกับไขมัน ใช้ ช้ำ ๆ มันก็น่ากลัวทั้งหมดครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ถ้าจะใช้นำ้มันซ้ำก็ควรตรวจ Total polar material ก่อนว่ามันยังต่ำกว่า 25% ถึงจะใช้ได้โดยไม่มีปัญหาครับ
@noppawatpiromwatcharasin5311
@noppawatpiromwatcharasin5311 Жыл бұрын
❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤
@The112310054
@The112310054 Жыл бұрын
คุณหมอเป็นคนที่มีจิตใจเมตตา (ให้ความรู้) ซึ่งใช้ภาษาที่ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจได้ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นแนวทางป้องกันตัวเอง หรือแก้ไขรักษาตัวเองเบื้องต้น จากโรคภัยต่าง ๆ ได้พอสมควร ก็ขอให้คุณหมอพบความสุขกายสบายใจ เทอญ..
@ผอ.พงษ์ศักดิ์ประทุมทอง
@ผอ.พงษ์ศักดิ์ประทุมทอง Жыл бұрын
อ.พูดถูกทุกอย่างครับ แต่ปัญหาที่ไม่ใช้อยู่ที่น้ำมันแต่อยู่ที่กระบวนการผลิตของนำ้มันพืชที่ใช้เคมีในการสกัด และผมเชื่อว่านี้คือตัวปัญหา ระหว่างถ้าเราเจียวน้ำมันหมูใช้เอง กับการใช้น้ำมันพืชแบบใช้เคมีสกัดน้ำมัน ผมเลือกน้ำมันหมูเจียวเองผัดทอดโดยไม่ใช้ความร้อนจัด จะดีกว่าใช้น้ำมันพืชถูกๆใช้เคมีใช่หรือไม่ครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
มันก็สามารถทำเช่นนั้นได้ครับแต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามไม่ควรจะทานบ่อยครับ
@yupinphaovanij5606
@yupinphaovanij5606 Жыл бұрын
ทานนำ้มันหมูไม่ดีค่ะทรมานสัตว์ค่า
@สุนันทาปฤกษากร
@สุนันทาปฤกษากร Жыл бұрын
ขอบพระคุณความรู้ดี ๆ ที่นำมาเผยแพร่ เข้าใจ ปฏิบัติได้ค่ะ
@JutarusRatanasethakul
@JutarusRatanasethakul 8 ай бұрын
นำ้มันดอกคำฝอย/ทานตะวัน/ถั่วเหลืองปกติพืชเหล่านี้ไม่มีนำ้มันนี่ค่ะ แล้วนำ้มันจะมาจากไหน?
@trulysom
@trulysom 15 күн бұрын
​@@JutarusRatanasethakul ปกติในเมล็ดพืชมีน้ำมันค่ะ​ น้ำมันพืชสกัดมาจากเมล็ดพืช
@sptca
@sptca Жыл бұрын
ชื่นชมลักษณะการแย้งข้อมูลของคลิปนี้ค่ะ อธิบายแย้งแบบนี้น่ารักกว่าเยอะะ
@raysupprattra
@raysupprattra Жыл бұрын
ดีใจที่มีคนคิดเหมือนกันนะคะ แต่จากการทดลองกับตัวเอง ลองกินอิ่มตัวแล้ว เหนื่อยง่าย และมีไขมันผิวส้มเกิดขึ้นทั่วตัวภายใน1ปี เดิมั้งแต่เกิดยังไม่เป็นผิวส้มเลย
@พระจันทร์สีเงิน-ป1ฏ
@พระจันทร์สีเงิน-ป1ฏ Жыл бұрын
ขอบพระคุณอาจารย์หมอมากท่ีทำให้ตาสว่างครับ ครอบคลุมมากได้ความรู้สุดๆไปเลย ไม่เน้นขายเน้นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง
@Ningkiko
@Ningkiko Жыл бұрын
เชียร์คุนหมอของจริง ไม่เหมือนอีกช่องที่รุ้ไปหมด รุ้ผิดๆถูกๆ😂
@pichetsaeyang4662
@pichetsaeyang4662 Жыл бұрын
ช่องd ใช่มั้ยคับ
@tortiraz
@tortiraz Жыл бұрын
จมอะเเคเดมี่ ใช่มั้ยครับ
@parittiamsan9030
@parittiamsan9030 Жыл бұрын
อาจารย์จมไม่ถูกใจสิ่งนี้
@warangkana8020
@warangkana8020 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ🙏😍 ดิฉันพยายามไม่ทานน้ำมันหมู แต่เวลาทำก๋วยเตี๋ยวทานเองที่บ้านอดไม่ได้ต้องเจียวน้ำมันหมูแล้วเจียวกระเทียมปนกับกากหมู ลูกเขยฝรั่ง บอกสุดยอด👍ถ้ามีก๋วยเตี๋ยวขอกระเทียมเจียวปนกากหมู😀
@bioninaviva
@bioninaviva Жыл бұрын
หลังๆจะมีพวกไม่ใช่หมอ แต่ทำเป็นผู้รู้ อวดอุตริ มากขึ้นค่ะ มาให้ความรู้ผิดๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนบางอย่าง แล้วคน ก็หลงเชื่อเขาเยอะด้วยนะคะ
@bigsize451
@bigsize451 Жыл бұрын
บางคนพูดเป็นตุเป็นตะยังกะเรียนมา เช่นพวกดารารีวิวต่างๆ
@user-good46
@user-good46 7 ай бұрын
ดูหลักฐานทางวิชาการครับ ก็คืองานวิจัย การทดลองของงานวิจัย ไม่ต้องเป็นหมอก็อ่านงานวิจัยได้ครับ อย่าเชื่อใครง่ายๆโดยไม่มีหลักฐาน เหมือนตำรวจจับโจร ก็ต้องมีหลักฐานการทำผิด
@vijittrajittrarom1393
@vijittrajittrarom1393 Жыл бұрын
ฟังและแชร์แยะมาก ขอคุณหมอเป็นคนอย่างนี้ตลอดไปนะค่ะ ฟังมานานมากตั้งแต่เป็นโควิด ขอบคุณแทนประเทศไทยแทนคนไทยจริงๆ
@tanarat_art
@tanarat_art Жыл бұрын
ผมกดติดตามคุณหมอจนได้ ดูจริงใจ น้ำมันไม่สำคัญเท่าอย่าไปมันส์กับการ"กิน" คนไทยเครียดกิน สังสรรค์กิน ดูหนังตื่นเต้นกิน ถ้ากินเพื่ออยู่ ชีวิตพอเพียงแทบจะไม่มีผล อีกอย่างร้านหมูกระทะราคาถูก กลุ่มชาวบ้านๆ หรืออาหารตระกูลไขมันตามตลาดไม่ได้มาตรฐาน อันตรายครับหมอ ส่วนชนชั้นกลางค่อนข้างระวังตัวเองเขาก็รักหมอ สุขภาพไปได้ครับ
@TCJ798
@TCJ798 Жыл бұрын
มายาคติเวอร์
@diybaked1014
@diybaked1014 Жыл бұрын
ฟังเรื่อยๆครับ แต่ไม่เคยฟันธงว่าวิทยาศาสตร์จะเป็นของตายตลอด งานวิจัยก็เป็นจริงแต่ไม่ทุกอันที่จะจริงตลอด แต่ที่ฟันธงได้ คือ ต้องเปิดใจฟังครับ อย่าหยุดฟัง ดีที่สุด
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 Жыл бұрын
แต่ถ้าอันไหนที่มันขัดกับความรู้เดิมที่มีมานาน แต่ยังไม่มีวิจัยรองรับ ก็ต้องฟังหูไว้หูนะครับ อย่าเชื่อจากรูปถ่ายของคนไม่กี่สิบกี่ร้อยคน😂
@diybaked1014
@diybaked1014 Жыл бұрын
@@armnakornthab6867 จริงครับ ฟังให้มากไม่เสียหาย
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เป็นผมจะฟังขำๆ แต่จะเชื่อในสิ่งที่มีข้อมูลเท่านั้นครับ สิ่งไหนเป็นสิ่งที่ข้อมูลไม่แน่น หรือแค่เล่าต่อกันมาเฉยๆ ผมจะไม่เชื่อครับ
@นายปรีชาสุขขาว
@นายปรีชาสุขขาว 2 ай бұрын
เรียน อาจารย์ที่เคารพ ความรู้จากอาจารย์เข้าใจทันทีเพิ่งจะมาพบครั้งแรก ประทับใจมาก ขอบคุณจากใจจริงครับ
@thanyatornc.4560
@thanyatornc.4560 Жыл бұрын
อาจารย์หมอให้ความรู้เรื่องน้ำมันหมู เหลือเชื่อจริงๆ ท่านรอบรู้รอบด้าน ท่านอยากให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี
@nantawatphetnamthongwattan2167
@nantawatphetnamthongwattan2167 Жыл бұрын
ชัดเจน ลึก ถ้าคุณหมอ พูดไปแล้ว เขียนกระดานไปด้วย จะดีมากๆเลยครับ จะได้เข้าใจง่ายขึ้นครับ
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์แพทย์🙏คุณหมอแทน😍วันนี้คุณหมอมาพูดเรื่องการเลือกน้ำมันมาปรุงอาหาร มีไขมันอยู่3ชนิดคือ1ไขมันทราน2ไขมันอิ่มตัว3ไขมันไม่อิ่มตัว มารู้ว่า🌻น้ำมันพืชกับน้ำมันหมู🐷ว่าควรทานอะไรดีและนำมาปรุงอาหารได้ประโยชน์อย่างไรกับร่างกาย 🌻ไขมันจากพืชคือไขมันไม่อิ่มตัวดีที่สุดเช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย🐷ส่วนไขมันจากสัตว์คือไขมันอิ่มตัวเช่นน้ำมันหมูน้ำมันปาล์มเป็นต้น 💖ไขมันทั้งสองแบบนี้มีผลต่อโรคสองอย่างคือ🍇1โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง2🍑โรคมะเร็ง 🐬ไขมันอิ่มตัวสูงทำให้การอุดตันได้ง่ายในหลอดเลือดหัวใจและสมองเกิดการอักเสบในร่างกาย ในงานวิจัยระหว่างไขมันอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะเค้าเอาไปเทียบกับคาร์โบไฮเดรต ข้าว ก็เลยอ้างว่าการกินข้าวมากไม่ดีไม่ทานเลย ไม่ถูกต้อง ควรสายกลาง การวิจัยพบว่าไขมันไม่อิ่มตัวยังดี อยู่🍊🏵ไขมันทรานคืออะไร คือ มีลักษณะไม่เหมือนกันคือเป็นทราน กับซีสซึ่งมันเป็นไขมันไม่อิ่มตัวสูงความไม่อิ่มตัวของมันนั้นถ้าถูกเติมด้วยไฮโดรเจนเข้าไปแล้วเกิดเป็นเส้นตรงคือไขมันทราน ถ้างอๆเป็นซีสดีกว่า การเป็นทรานนั้นจะมีความ เข้าใกล้ในสิ่งไม่ดีไม่ชอบและ🍀ไขมันทราน เกิดตามธรรมชาติได้เช่นเกิดในพวก นม เนื้อสัตว์พิชซ่า ปัญหาคือถ้าทานเนื้อสัตว์อย่างเดียวก็ได้ไขมันทรานไปเยอะไปไม่ดี ไขมันทราน เจอในขนมที่ใส่นม และที่อาหารแปรรูป ขนม เนย ไขมันทรานไม่ดีและก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจได้⚘️น้ำมันในการปรุงอาหาร ควรเลือกน้ำมันที่มีจุดกำเนิดควัน ด้วยเพราะอาจก่อให้เกิดควันมากน้อย ดูจากกูลเกิ้ลได้ เพราะควันมากที่ทำให้เป็นมะเร็งได้ ดังนั้นน้ำมันพืช ที่ไม่มีควัน จะดีในการปรุงอาหาร ส่วนไขมันสัตว์เนย น้ำหมู น้ำมันมะพร้าว 💞ข้อดีเก็บนานไม่เหม็นหืนส่วน💖ไขมันพืชไขมันไม่อิ่มตัวจะเหม็นหืน แต่ไม่ก่อโรคเรื่องหลอดเลือดสมองหัวใจนั่นคือข้อดี🦋น้ำมันมะกอกไม่เอามาปรุงอาหารแต่มาทำน้ำสลัดดีกว่า 🌹ไขมันทรานแย่สุดไม่ควรทาน ไม่มีประโยชน์อะไรเลยเลือกชื้อ ให้ดูฉลาก อาหารแปรรูปแช่แข็งนมชีส เป็นไขมันทรานFatไม่ควรกิน ขอบคุณค่ะคุณหมอ❤️👍🙏
@เย็บปักถักร้อยตามใจเรา
@เย็บปักถักร้อยตามใจเรา 7 ай бұрын
จริงๆแล้วเราควรกินนำ้มันพืชกรือนำ้มันหมูค่ะ งงไม่เข้าใจค่ะขิบคุณ
@AL86898
@AL86898 7 ай бұрын
@@เย็บปักถักร้อยตามใจเรา น้ำมันพืชค่ะ
@เย็บปักถักร้อยตามใจเรา
@เย็บปักถักร้อยตามใจเรา 7 ай бұрын
@@AL86898 ขอบคุณค่ะ
@sorraponsuntharapot1378
@sorraponsuntharapot1378 6 ай бұрын
ยากจังครับ สรุปกินอะไร
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 Жыл бұрын
น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มเป็นไขมันอิ่มตัว ไม่ควรทาน น้ำมันจากพืช เป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำถั่วเหลือง มีจุดกำเนิดควันสูงกว่าน้ำมันจากสัตว์ ไขมันทรานส์ มีอยู่ในอาหารที่แปรรูป อาหารแช่แข็ง ขนม เนย อาหารพวกนี้ทานได้ แต่ไม่ควรทานเยอะ น้ำมันมะกอกไม่ใช้ในการทำอาหารที่มีความร้อน จะใช้ในสลัด ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@raphatpornpruitthiphuwarat3865
@raphatpornpruitthiphuwarat3865 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ🙏❤ ไ ด้ประโยชน์ ไว้ดูแลเอาใจใส่ตัวเองให้ถูกต้อง ทุกวันนี้ฟังหลายๆคลิปเริ่มสับสน ค่ะ ไม่แน่ใจจะปฎิบัติตามผู้รู้ที่มาให้ข้อมูลไหนดี🙏🙏🙏❤️❤️❤️
@ggsmile1542
@ggsmile1542 Жыл бұрын
ถ้าเป็นช่องของหมอพูด ชอบฟังคุณหมอค่ะ มีเหตุผล อธิบายละเอียดค่ะ และมีอะไรสงสัยคุณหมอแทนตอบให้ประจำทุกครั้งเลย ผิดกับหมออีกช่องที่บอกว่า คุณมีหมอเป็นเพื่อน แต่เหมือนเคยถามอะไรไปในcomment ไม่เห็นจะตอบเลยค่ะ 😅จากที่จะรู้สึกดีจากconceptชื่อ ก็เลยคิดว่า ฟังช่องหมอแทนดีกว่า มีประโยชน์ และรู้สึกดีกว่า 😄เหมือนหมอแทนดูพูดตรงๆ ไม่สร้างภาพดีค่ะ คหสต. นะค่ะ ว่าแต่ ถ้าคนฟังหมอแทนเยอะ ขึ้นๆ เขียนถามหมอเยอะ หมอจะเหนื่อยพิมพ์ตอบไหมน้า😄✌🏻สู้ๆนะค่ะ
@ชมัยกรจันทร์กันสิน-ท9ซ
@ชมัยกรจันทร์กันสิน-ท9ซ Жыл бұрын
จริงค่ะ
@อนัญญาอนัญญา-ง1ฤ
@อนัญญาอนัญญา-ง1ฤ Жыл бұрын
คุณหมอรู้ลึก รู้จริง ติดตามคุณหมอตลอดค่ะ
@Lomrampey234
@Lomrampey234 Жыл бұрын
ผมเป็นชาวบ้านครับ ขอบคจะณทั่งสองท่าน มีประโยชน์มาก แต่... ท่านพูดคนละประเดนกันครับ ลองตั้งใจฟังซิครับ ถูกทั้งคู่ เพราะคนละประเด็น
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ฝ่ายนั้นถูกแค่บางอย่าง แต่ก็ไม่ถูกหลายอย่างครับ เรื่องนี้ถ้าคนไม่มีพื้นฐานมาก่อนฟังก็อาจจะไม่รู้ โดยเฉพาะถ้าไม่ฉุกคิดครับ
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh Жыл бұрын
ขอบคุณครับพี่หมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️ ที่บ้านจะกินอาหารแปรรูป และอาหารแช่แข็งบ่อยมาก วันนี้พี่หมออธิบายได้เข้าใจมากกว่าครูสอนอีก แชร์แล้วนะครับ ทุกครั้งพี่หมอมาแม่จะนั่งฟังด้วย แม่ชอบพี่หมอมากครับ 🥰🥰🥰พูดบ่อยมากครับ ม้าอยากให้น้องเก่งเหมือนพี่หมอ🙂🙂🙂
@ounruenoun-on3053
@ounruenoun-on3053 Жыл бұрын
ขอบพระคุณมากค่ะคุณหมอ ที่บ้านกำลังมีประเด็นเรื่องน้ำมันค่ะ ก่อนนี้เรากินน้ำมันพืชมาตลอด ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันถั่วเหลือง แต่เพิ่งจะมาเปลี่ยนเป็นน้ำมันหมูแพค ซึ่งเขียนว่า ธรรมขาติร้อยเปอร์เซ็น แต่พออ่านดีๆ มีการเติมวิตามินอี ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่ามีผลยังไง แต่พอได้ฟังคุณหมอคลิปนี้ตัดสินใจง่ายเลยค่ะ จะกลับไปทานน้ำมันพืชเหมือนเดิม ขอให้คุณหมอสุขภาพแข็งแรง มีความสุขทุกวันนะคะ😍
@thaizoneart
@thaizoneart Жыл бұрын
สรุป กินให้หลากหลายเน้นอาหารที่มีประโยชน์ลดของทอดที่ผ่านการแปรรูป เน้นต้มนึงดีที่สุด
@akegapotsintapanon7960
@akegapotsintapanon7960 Жыл бұрын
ถ้าคุณหมอมีภาพปลากรอบ จะช่วยให้คนบ้านๆอย่างผมเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ แต่เท่านี้ก็ขอบคุณมากครับ
@pimlanna9849
@pimlanna9849 Жыл бұрын
ชอบอาจารย์ให้ความรู้ค่ะ มีประโยชน์มาก ขอบคุณมากๆค่ะ ขอพรให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงค่ะ
@ต้นจาตุรันดร์
@ต้นจาตุรันดร์ Жыл бұрын
อาจารย์คนนี้เก่งผมดูครั้งสองครั้งผมติดตามเลย ดีกว่าอาจารย์จมบอกข้าวเท่ากับยาพิษผมเข้าไปใส่มาแล้วในช่อง ผมบอกให้ไปดูในข้าวเม็ดนึงมีสารอาหารอะไรบ้าง ใครยังลุ่มหลงในลัทธินั้นออกมาซะ ขอเตือน
@napolitan6517
@napolitan6517 Жыл бұрын
ดีมากที่คุณหมอออกมา debunk pseudo sci influencer อย่างคุณลอย ในเรื่องนี้ถ้าเรามองดูอย่างรอบคอบ เราก็จะทราบได้โดยง่ายเลยว่า agenda ของแต่ละฝั่งแท้จริงเป็นอย่างไร คุณลอยเขาเน้นขายของ เปรียบเทียบบางเคสเหมือนขายตรง คนที่หัวอ่อนย่อมคล้อยตามได้ง่าย สังเกตว่าจะหลีกเลี่ยงอ้างอิงงานวิจัย บางครั้งอาจจะแคปมาให้ดูบ้างแต่ไม่อิงเปเปอร์หลัก จะด้วยความจงใจหรือข้อกำจัดทางสายวิชาชีพในการทำความเข้าใจแบบ full paper ก็แล้วแต่ (สุดท้ายเจตนาก็ชัดเจนว่าทำเพราะอะไร) ส่วนคุณหมอไม่มีส่วนได้เสียในการขายของ ก็เน้นให้ความรู้ไป ง่ายเสียยิ่งกว่าง่ายเมื่อมองจากเหตุปัจจัยประกอบ ใครยังคงเชื่อและไปเผลอทำตาม ก็ถือว่าเป็น natural selection แล้วกัน
@anansathapanapong9932
@anansathapanapong9932 Жыл бұрын
สะดุ้งตรง pseudo sci influencer เลยครับ 😂
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 Жыл бұрын
ใครที่เชื่อว่า กินอาหารเสริมแล้ววิดพื้นได้เพิ่มขึ้น กินอาหารเสริมแล้วผมที่เคยหงอกกลับมาดกดำใหม่ (ไม่ใช่ย้อมนะ 55) ก็คงไปห้ามเค้าไม่ได้อะครับ
@pichethanklar1039
@pichethanklar1039 Жыл бұрын
เคยดู ๆ อยู่พักนึง ดูไปดูมาเริ่มออกกาวนิด ๆ เลยไม่ได้ตามต่อ พอรู้ว่าแกขายอาหารเสริมแล้วนี่ฮาเลย ไปไกลแล้วน่อ
@oakshop9
@oakshop9 Жыл бұрын
รายการ อ.L นี่ฮาร์ดเซลมาก นึกว่าดูไดเรคทีวี หลังๆ ผมลืมไปว่าแกเป็นอาจารย์เลยนะนึกว่าเซลแมน
@Basexer
@Basexer Жыл бұрын
ผมฟังของทั้งสองคนนะครับ เข้าใจทั้งสองฝ่าย เลือกเอาแต่ส่วนดีของอีกฝ่ายดีกว่าครับ อย่าพยายามไปโจมตีฝ่ายใดฝ่ายนึงเลย
@ชลาลัยสายนที
@ชลาลัยสายนที Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ แต่ก่อนดิฉันเกือบจะไปซื้อน้ำมันหมูมากินซะแล้ว ชั่งใจอยู่นานจนกระทั่งได้มาฟังคลิปนี้ ถึงได้กระจ่าง คนเราหนอรู้อะไรแล้วรู้ไม่จริงเอามาพูดจนหลายคนเกิดความเข้าใจผิดกันมากมาย โชคดีที่ได้ฟังผู้รู้ ทำให้ ไหวตัวทันซะก่อน
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
มันก็กินได้ครับ แค่อย่าเยอะพอครับ
@ชลาลัยสายนที
@ชลาลัยสายนที Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากๆค่ะ คือได้ฟังมาจากช่องนั้น บอกว่าน้ำมันพืช อันตรายบริโภคน้ำมันสัตว์ดีกว่า ดิฉันก็เลยคิดว่าจะไปซื้อน้ำมันหมูมากิน แต่น้ำมันหมูมันก็แพงกว่าน้ำมันพืช ใช้ทอดอาหารครั้งเดียวก็ดำแล้ว มีควันด้วยค่ะ
@เพ็ญศรีชัยธนาวิสุทธิ
@เพ็ญศรีชัยธนาวิสุทธิ Жыл бұрын
คุณหมออธิบาย จนเห็นภาพ รายละเอียดมากจนเข้าใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี มีประโยชน์มากๆ ขอบคุณมาก ค่ะ
@wattanak.5042
@wattanak.5042 Жыл бұрын
เป็นช่องที่มีเนื้อหามีคุณภาพมาก ขอบคุณมากครับที่นำความรู้ดีๆมาแชร์
@kaewkarn8057
@kaewkarn8057 Жыл бұрын
ประสบการณ์จากการทำอาหาร ที่ตะแกรงเครื่องดูดควัน ที่ใช้น้ำพืชทั้งหลายแหล่ คราบน้ำมันแห้ง เหนียวติดตะแกรง เอาออกยากมา ออกแรงขัดก็ยังไม่หมด ปัจจุบันใช้น้ำมันมะพร้าว คราบน้ำมันเช็ดออกเบา ๆ ด้วยทิชชู่ ไม่ต้องออกแรงเลย
@เฉลียว-ฤ4ฦ
@เฉลียว-ฤ4ฦ 7 ай бұрын
ใช่ครับเคยทำงานร้านอาหารที่ใช้แต่น้ำมันพืช จะมีคราบน้ำมันเกาะแผ่นสแตนเลสหน้าเตาใช้เกรียงแซะออกเป็นแผ่น ๆ ยิ่งตรงพัดลมดูดควันเหนียวหนืดมาก.
@soontareesoontaree6725
@soontareesoontaree6725 Жыл бұрын
และขอบคุณความรู้ในด้านอาชีพของตัวเอง ที่สามารถ จัดสรร ระเบียบวินัย ในการรับประทานอาหาร ตลอดจนการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ โดยยึดหลัก สายกลาง ตามที่คุณหมอพูดเสมอ เช่น "กินแค่อิ่ม" เอ๊ะ หรือ "กินเพื่อให้อิ่ม" บางครั้งไม่ต้องอร่อยทุกมื้อก็ได้ อะไรแบบนี้ ก็รู้สึกตรงใจ นะคะ ตอนนี้เดินทางบนถนนชีวิตมา ก็เกือบถึงสาย ที่ 90 หรืออาจจะ ถึงสายที่ 100 ก็ได้ ใครจะรู้ ขอเพียงพึ่งพาตัวเองได้ ไม่เป็นภาระ ให้ใครเดือดร้อน คิดว่า ท่านผู้สูงอายุ หลายท่านก็อาจจะคิดเช่นเดียวกัน 🥰🥰🥰ขอไปเต้นแอโรบิค ก่อนนะคะ วันนี้เม้าท์มาเยอะหน่อย เพราะยังมีผู้ติดตามไม่มากนัก คุณหมอคงอ่านทันนะคะ 🥰🥰🥰
@salfaria
@salfaria Жыл бұрын
ผมทานคีโตอยู่นะครับ ขอคอนเฟิร์มที่หมอพูดครับ ผมน้ำหนักเริ่มต้น 118 กก. ได้ทดลองกินคีโตเป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยกินต่อเนื่อง 40 วัน พัก 7 วัน 3 ครั้ง (รวมเป็น 120 วัน) ผมได้ตรวจผลเลือดก่อนการกินคีโตและบันทึกการกินอาหารทุกวัน ทุกมื้อ ตลอด 4 เดือนที่กินคีโตไว้ ในครั้งแรกผมทานไขมันอิ่มตัวเยอะ พวกมันไก่ หนังไก่ทอด น้ำมันจากเนย ชีส น้ำมันมะพร้าว และกะทิ โดยไม่ออกกำลังกายเลยหลังจากการกินคีโตพบว่า น้ำหนักลดลง 22 กิโลกรัม แล้วจึงทำการตรวจเลือดหลังกินคีโต พบว่าไขมันในเลือดลดลงจริง แต่!! การกินของพวกนี้แม้จะลดไขมันลงได้จริง คอเลสเตอรอลลดลงจริง ไตรกลีเซอไรด์ลดลงจริง ระดับ HDL อยู่ในระดับปกติ แต่ระดับ LDL ยังอยู่ในระดับที่สูง ผลการทดลองกับตัวเอง (ย้ำว่ากับตัวเอง ร่างกายผมเอง อ้างอิงกับท่านอื่นไม่ได้) ในครั้งนี้ผมถือว่าไม่เป็นที่น่าพอใจ เทียบกับอีกครั้งหนึ่ง ที่ลองเพิ่มน้ำหนักตัวเองให้ไประดับเกือบเท่าเดิม แล้วลองทานคีโตเป็นระยะเวลา 4 เดือนอีกครั้งหนึ่ง ตรวจเลือดไว้ก่อนแล้ว โดยผลเลือดครั้งนี้ ค่าระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกตินิดหน่อย ไตรกลีเซอไรด์สูง HDL ปกติ และ LDL สูงมาก ในครั้งนี้เลือกกินไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และมีทานไขมันอิ่มตัวบ้าง เช่น น้ำมันมะพร้าวในช่วงแรกๆ แต่ในภายหลังเน้นการออกกำลังกายช้าๆ เช่น เดินทน และปั่นจักรยานนิดหน่อย (อาทิตย์ละประมาณ 5 กม.น้อยมากๆ) เพื่อพยายามเอาไขมันในร่างกายมาใช้ ผลปรากฏว่า เมื่อเวลาผ่านไป 4 เดือน น้ำหนักลดลงประมาณ 16 กิโลกรัม ผลตรวจเลือดหลังจากกินคีโตครั้งนี้คือ โคเลสเตอรอลปกติ ไตรกลีเซอไรด์ปกติ HDL และ LDL อยู่ในระดับปกติ แม้ว่าน้ำหนักจะลดลงน้อยกว่าเดิม แต่ผลเลือดที่ออกมาไม่โกหก สุขภาพผมดีกว่าเดิมชัดเจน ทุกอย่างอยู่ในระดับปกติ ผลการทดลองครั้งนี้พึงพอใจมาก ขอคอนเฟิร์มที่หมอพูด ว่าเป็นเรื่องจริง 1. ไขมันไม่อิ่มตัว บางท่านอาจจะบอกว่ามีผลดีต่อสุขภาพ แต่ระดับ LDL ของท่านจะไม่ลดลง ดังนั้น หากท่านดูจากตัวเลขแล้ว ชัดเจนว่า ไม่ได้เป็นผลดีเท่าไหร่นัก 2. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว คือของดีของสุขภาพร่างกายเราจริงๆ สามารถลดระดับ LDL ได้จริง และชัดเจน ปล.ผมไม่กล้าทานอาหารที่เป็นไขมันเชิงซ้อนในปริมาณมากๆ และไม่ได้แปลว่ามันไม่ดี แต่ในมโนสำนึกของผมเชื่อว่า ไขมันที่ไม่สมบูรณ์พวกนี้ เมื่อแขนคาร์บอนของมันว่าง มันจะสามารถจับกับอะไรได้หลายอย่าง และอาจจะจับกับสิ่งที่ไม่ดีกับร่างกายก็ได้ แตกต่างจากไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีความเสถียรของโมเลกุลสูงกว่า ดูน่าไว้ใจมากกว่า อย่าลืมว่า นี่เป็นการมโนแบบมั่วๆ ไม่มีพื้นฐานความจริงอะไรทั้งนั้น สรุป ที่หมอบอกเรื่องไขมันอิ่มตัวไม่ดี และไขมันไม่อิ่มตัวนั้นดีกว่า ผมคอนเฟิร์มว่าจริง บนพื้นฐานการทดลองบนตัวของผมเอง ร่างกายของผมเอง เพราะผมทดลองมาหลายครั้งแล้ว (ครั้งละ 120 วัน) และพบว่าเป็นตามสมมติฐาน
@leksingsan6769
@leksingsan6769 Жыл бұрын
ค่า LDl ผมก็สูง ทานคล้ายๆกัน
@saaiui7379
@saaiui7379 Жыл бұрын
กินไขมัน กินคีโต ค่อนข้างผิดวิธี และคีโตจริงๆ คุณต้องกินไขมันสาย mono ไม่ใช่ไขมันจากสัตว์อย่างเดียว
@aqz197
@aqz197 Жыл бұрын
ดีกว่านี้คือ ต้องเล่นกีฬาให้มากขึ้น จะได้ทั้งลดไขมัน และเพิ่มกล้ามเนื้อ การที่น้ำหนักลด ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกล้ามเนื้อหายไปด้วย ซึ่งก็ไม่ดี
@saaiui7379
@saaiui7379 Жыл бұрын
@@aqz197 keto การกินไขมันสาย mono ขั้นต่ำต้องพลังงาน 40% ของทั้งหมด พวกไขมันจากสัตว์ แทบไม่ต้องกินก็ได้ และการกินสายนี้ การออกกำลังกาย จำเป็นมากๆ ต้องทำขั้นต่ำๆ 30 นาที หรือออกแบบบ้าคลั่ง
@aroundme2512
@aroundme2512 Жыл бұрын
ผมเน้นออกกำลังกาย เวท+คาร์ดิโอ+กีฬา ไม่ได้คุมอาหาร กินไขมันหมู สามชั้น หมูปิ้งนมสด เวลาทอด/ผัดใช้น้ำมันหมูตลอด เพราะได้รับข้อมูลว่าไขมันหมูติดอันดับ TOP10 ไขมันที่ดีที่สุด.. ไปตรวจเลือดมา LDL 74 HDL 65 ไตรกลีเซอไรด์ 51 หมอบอกคุมได้ดีมากๆ ผมบอกไม่ได้คุมอาหารเลย 555
@a-rock8816
@a-rock8816 Жыл бұрын
วันว่างๆถัาไม่รู้จะฟังอะไร ก็ฟังเรื่องสุขภาพนี้แหละครับ ฟังของหมอก็เพลินดี เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่โดยรวมก็เข้าใจครับ
@choojitpromjai9383
@choojitpromjai9383 Жыл бұрын
อาจารย์หมอเก่งมากให้ความรุ้กับประชาชนให้ได้รับรุ้อยุ่ตลอด..ขอบคุณอาจารย์หมอมากๆค่ะ
@KUNMAN
@KUNMAN Жыл бұрын
สรุปง่ายๆ "อะไรที่มากไปก็ไม่ดี"
@narongthams
@narongthams 10 ай бұрын
วิชาการมากเลยครับ คนธรรมดาอย่างผมต้องฟังหลายรอบกว่าจะเข้าใจ ขอบคุณครับอาจารย์
@overatedgames4233
@overatedgames4233 Жыл бұрын
เมื่อก่อนเราเม้นที่หลัก10 ต้นๆ. ตอนนี้เม้นเราที่หลักเกือบ500..คุณหมอคุณภาพจริงๆ คนเราต้องต้องเดินสายกลาง ทำอะไรแค่พอดีๆ กินนอนให้พอดี ระบบร่างกายก็จะดี . พ่อแม่ญาติๆเราอยู่ทนทานอายุยืนทั่งที่มีชีวิตยากลำบาก ขุดดิน ทำงานตากแดดตากลม เป็นชาวไร่ อายุ80 ,90ปี ยังเดินเหินทำงานในไร่กันอยู่เลย ทางร่างกายดี แต่สมองความจำเสื่อมค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ใช้สมองบ่อยๆช่วยได้ครับ
@Chefaey
@Chefaey Жыл бұрын
ความรู้เรื่องน้ำมันนะค่ะ น้ำมันถั่วเหลือง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง ทำงานกับความร้อนใด้ค่อนข้างดี เหมาะสำหรับผัด หมัก ทำขนม แต่ไม่ควรนำไปทอด หรือผ่านความร้อนจัดเป็นเวลานาน 2น้ำมันปาล์มมีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆผ่านความร้อนได้เป็นเวลานาน เหมาะกับทอด 3น้ำมันมะกอก olive oilจะมี3ประเภท Extra virgin olive oil เหมาะสำหรับการทำสลัด หรืออาหารที่ไม่ผ่านความร้อน pure olive oil นำมาทำสบัดหรือนำไปผัดได้ Light olive oil ใช้ทอดใด้ แต่ไม่ควรรับประทานสด 4น้ำมันรำข้าว นำไปผัดและทอดได้ 5น้ำมันคาโนลาเหมาะสำหรับประเภทผัด และปรุงกับเนื้อสัตว์ 6น้ำมันดอกทานตะวันไม่ทนความร้อนได้นานเหมาะสำหรับนำมาผัด ใช้ตีซอสสลัดทำขนมได้ 7น้ำมันอะโวคาโด นำมาทำสลัดผัดผ่านความร้อนปานกลาง 8น้ำมันงา นำมาทำสลัดใด้หรือหมักหมูเพื่อเพิ่มความหอมใด้ 9น้ำมันหมู เอามาปรุงอาหารใด้อร่อย แต่ใช้อย่างเหมาะสมนะค่ะ เพราะสมัยก่อนเราจะใช้น้ำมันหมูในการประกอบอาหารจะทำให้อาหารเรารสชาดดีขึ้นค่ะ ปล.ขอมาเพิ่มส่วนนี้น่ะค่ะ
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
ขอบคุณน้องเอ้มากๆค่ะข้อมูลละเอียด เรียงลำดับดีพี่จะเก็บข้อมูลนี้ได้อย่างไรเดี๋ยวพี่ถ่ายรูปที่เขียนดีกว่าแล้วมาเก็บในkeepพี่ทางLine👍👍💝🌻🌻🌻
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะน้องเอ้ 💕
@panuwatkool2528
@panuwatkool2528 Жыл бұрын
ขาดน้ำมันมะพร้าวนะครับ เป็นน้ำมันที่ถูก น้ำมันพืชตีตลาดเหมือน น้ำมันหมู แต่มีข้อดีเยอะกว่า
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
@@panuwatkool2528 ขอบคุณค่ะ🙏
@titlehappyMc
@titlehappyMc Жыл бұрын
ปกติไม่เม้น รอบนี้ทนไม่ไหว อาจารย์หมอลุคนี้ หล่อ ปังมากก ไม่ไหว ตอนยกแขนขึ้น มีกล้ามอีก งื้ออออ ❤❤❤
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
ลองไปหาดูคลิปออกกำลังกายดูค่ะ ใน playlist my exercise อาจจะสลบไปเลยค่ะ 😂
@titlehappyMc
@titlehappyMc Жыл бұрын
@@CherryChonny ขอบพระคุณที่ชี้ช่องทางครับ 5555
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
ดิฉันเคยเรียนอาจารย์ไปว่า มีรุ่นน้องคนหนึ่งดูแลสุขภาพดีมาก เรื่องอาหารการกิน ทานแบบแนวสุขภาพ และใช้น้ำมันมะกอกแบบ extra virgin ทำหอยทอดทาน ซึ่งดูแล้วใช้น้ำมันผิดประเภทไปหน่อย แล้วพอมาอ่านคอมเม้นท์มากมายในคลิปก็ทราบว่า ยังมีคนใช้น้ำมันมะกอกแบบ extra virgin ไปทอด ไปผัดอาหารอยู่เยอะเลยนะคะ แต่น้ำมันมะกอกมันจะมีแบบที่ใช้ทอด หรือผัดได้ ต้องเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะกับการทำอาหารโดยพิจารณาที่ "จุดกำเนิดควัน"... ของทอดมีเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้วยทอด มันฝรั่งทอด ไก่ทอด ปีกไก่ทอด ข้อไก่ทอด ปอเปี๊ยะทอด ข้าวโพดทอด ลูกชิ้นทอด ปลาส้มทอด แหนมทอด กากหมู หมูสามชั้นทอด กุ้งชุบแป้งทอด หนังไก่ทอด แคบหมู ดิฉันทานได้หมด แต่! ทานน้อยมากๆค่ะ แต่ทานปลากระพงทอด ปลาจาระเม็ดทอดบ่อยค่ะ
@สุชาดาชอบธรรม
@สุชาดาชอบธรรม 5 ай бұрын
@คุณย่า กายสิทธ์ คุณหมอ พูดได้นาน เป็น ชม. ให้ความรู้ มากมาย เข้าใจง่ายดี แต่ย่า จะหลับสะก่อนจบ..ไม่เหนื่อย รึลูก ขอบคุณจริงๆ
@wiriwiriya-36
@wiriwiriya-36 8 ай бұрын
ขอบคุณนะคะคุณหมอ....ไม่ว่าจะหาข้อมูลเรื่องใดๆ..ก็แวะมาช่องคุณหมอ..จะได้คำตอบที่ชัดเจนตลอด
@KarnTovara
@KarnTovara Жыл бұрын
𖤣𖤥𖠿𖤣𖤥 ขอบคุณค่าคุณหมอ...สำหรับความรู้เรื่อง น้ำมันหมู และ น้ำมันพืช ค่ะ 🙇🏻‍♀️ ꪔ̤̮ เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ คุณหมออธิบายละเอียด คลายข้อสงสัยค่าา ꪔ̤̮ เห็นด้วยกับคุณหมอค่าา "ความรู้เดิมถูกอยู่แล้ว" ค่าา 🐧 ꪔ̤̮ แต่เพื่อป้องกันโรคทางหัวใจและหลอดเลือด และลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง .... ทานน้ำมันแต่น้อย ทานของทอดปิ้งย่างแต่น้อย ...ทานต้ม นึ่ง ต้ม นึ่ง กันค่าา 😃 นึกแล้วก็..อยากทานชาบูเลยค่า 🍲🍚🥗🍈🍵🤭 ปล. คุณหมอให้เอกสารแนบมาเยอะเลยค่า..จะทะยอยอ่านนะค้าา (ขอบคุณค่า) 🙇🏻‍♀️
@toremekplaikhunkhao4114
@toremekplaikhunkhao4114 Жыл бұрын
พ่อแม่ผมก็กินข้าวรวมทั้งลูกๆ พ่อแม่เสียชีวิตตอนอายุ 91 ปีพ่อเสียชีวิตก่อน แม่เสียชีวิตทีหลัง 6 ปี
@supachaiwongnguen9703
@supachaiwongnguen9703 Жыл бұрын
สรุปคือรับประทานได้ทุกอย่างให้ครบ 5 หมู่ แต่อย่ารับประทานมากเกินไป แค่พออิ่มท้องก็พอ
@Phanita999
@Phanita999 7 ай бұрын
คลิปเก่า 1 ปีที่แล้ว มีคนมาดู และก็มีพี่ทริปช่วยตอบ !!! Amazing มาก ทำได้ไง
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
ขอขอบคุณอาจารย์หมอ มากค่ะ ความรู้มีประโยชน์ ทุกวันเลยค่ะ อธิบายชัดเจน เข้าใจง่ายค่ะ ยังจำไม่ได้ ฟังซ้ำๆค่ะ🙏☺️🧡
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
😊❤🎉
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
@@CherryChonny 😄🥝🍄
@Lek44888
@Lek44888 Жыл бұрын
👍👍👏👏👏🎉🎉🎉
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
@@Lek44888 😄🍉🍊
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
👍👍🎉🎉🎉
@javajavac8181
@javajavac8181 Жыл бұрын
น้ำมันพืชตามร้านอาหารต่างๆ ที่เขาผัด น้ำมันพืชที่โดนความร้อนจากกระทะ มันกลายเป็นคราบดำเหนียวติดกระทะ ต้องใช้ฝอยขัดหม้อขัดหลายๆครั้งถึงจะหลุด
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
ครูแทน ติวได้ยันเคมี ฟังครูตีองตื่นตัวตลอดเวลา เพราะครูเรียกถามเป็นระยะ ' โครงสร้างเป็น trans แล้วมันเหมือนอะไร ????!!!' ดีจังมีช่องหมอแทน ใช้ science base อธิบายเรืรองราวมึนๆได้จนเข้าใจ
@tangent6005
@tangent6005 Жыл бұрын
อาจารทำคลิป ลองเทค ไม่มีตัดต่อเลยสุดยอดไปเลยครับ แสดงว่าข้อมูลแน่นมาก
@OoyRua
@OoyRua Жыл бұрын
ฟังแล้วป้างงค่ะ จำไม่ค่อยได้ ขอสรุปง่ายๆ ว่ากินอาหารให้หลากหลาย กินแต่พดควร กินอย่างมีสติ 😮อย่ากินของทอด ขนมพวกเค้กคุ้กกี้บ่อยๆ ซ้ำๆ เพราะมันจะทำให้เกิดโรคต่างๆได้😊
@donaldwu1462
@donaldwu1462 7 ай бұрын
ความรู้จากงานวิจัยจริง ไม่ใช่ จากนิตยาสาร หรือ บทความคอลัมน์ทั่วไปครับ เลยชัดเจน หมอหลายท่านชอบอ่านบทความมายำมั่วกัน แต่หมอท่านนี้ของจริงรู้จริง เพราะเป็นนักวิจัยวิทยาศาสตร์(เพราะขอบอ่านบทวิจัยของจริง)
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 Жыл бұрын
ชื่อคลิปก็มันส์แล้วครับ 555😂😂😂😂 น้ำมันพืช มันโดนความร้อน แรงๆ ไม่ได้ครับ เพราะจุดเดือดมันต่ำ ควันขึ้นเมื่อไรคือมะเร็ง น้ำมันหมู โดนความร้อนแรงๆได้ เวลาจะทอดไข่เจียว ต้องใช้น้ำมันหมูนี่แหละถึงจะอร่อย น้ำมันหมู มีอิ่มตัวเยอะ พืช มีไม่อิ่มตัวเยอะ ไม่อิ่มตัว อิ่มตัวไม่อิ่มตัว ต้องกินทั้งคู่ครับ แต่อิ่มตัวในสัดส่วนที่ต่ำกว่า
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
อิ่มไม่อิ่ม ไม่รู้ รู้แต่ ตอนนี้หิวมากค่ะ
@AaA-te9xu
@AaA-te9xu Жыл бұрын
กินหมดอะครีบ ถ้ากินไม่ถี่เกินไป และร่างกายออกกำลังกายประจำ ร่างกายมันก้จัดการเองอะ กินเข้าไป ต้องหาวิธีเอาที่ไม่ดีออกไปด้วย ร่างกายมันต้องการทั้งคู่นั่นแหละ อะไรก้ตามถ้าเกินพอดี มันไม่ดีทั้งนั้น ยิ่งยุคนี้เลี่ยงการกินยาก
@snapdragonth2425
@snapdragonth2425 Жыл бұрын
ซับแล้ว 1 ประทับใจในความละเอียดมากๆครับ จากเด็กสายศิลป์ ผู้ไม่เคยเรียนเคมี ตอนนี้แจ่มแจ้งในแขนขาเลย
@nordicangel6412
@nordicangel6412 Жыл бұрын
เดินสายกลางดีที่สุดค่ะ ความพอดีไม่มากไม่น้อยทำให้เกิดความเหมาะสมกับทุกอย่างค่ะ กินทุกอย่างที่มีแต่กินให้พอดี กินอาหารให้หลากหลายชนิดวนไปก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงได้เช่นกัน😊
@graceZAlth9168
@graceZAlth9168 Жыл бұрын
ในแง่ของรสชาติอาหาร น้ำมันหมู นำไปใช้ในการผัด เจียวกระเทียม รสชาติจะอร่อยขึ้น น้ำมันพืชจากขั้นตอนอุตสาหกรรม เหมาะกับการทอด เพราะทำให้เหลืองสวยน่ากิน แต่ใดๆ อาหารที่ทอด มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบไม่ควรกินเยอะ ควรกินหมวดต้ม นึ่ง ตุ๋น สด ย่างให้มากกว่าทอด
@แทนใจสุวรรณา
@แทนใจสุวรรณา Жыл бұрын
น้ำมันพีช (แบบธรรมดาๆในบ้านคนทั่วไป จำพวกน้ำมันถั่วเหลืองนั่นละ) ควรใช้ผัดอาหาร ใช้ผัดดี ... แต่ถ้าเอาไปใช้ทอด คือทำให้น้ำมันเกิดความร้อนสูง น้ำมันพืชดีดีก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ กลายเป็นของเลว ได้ไขมันเลว .... ถ้าต้องการน้ำมันสำหรับทอดแล้ว ต้องใช้พวกน้ำมันหมู เพราะแม้โดนความร้อนสูง ก็ไม่เปลี่ยนสภาพเป็นไขมันทรานส์
@Bannawit1989
@Bannawit1989 Жыл бұрын
น้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธี ที่น่ากลัวคือ โอเมก้า 6 ที่มันเยอะเกินไป กินมากๆมันเกิดการอักเสบในร่างกาย แต่ก็เลี่ยงยากถ้าไม่ทำกับข้าวกินเอง
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
อันนั้นก็ไม่แย่ขนาดนั้นหรอกครับ
@Face1Linegoo
@Face1Linegoo 8 ай бұрын
กว้างขวางลึกซึ้งมากครับคุณหมอ ชอบมากที่อุตส่าห์เข้ามาตอบหลายคอมเม้นท์
@fsfa942
@fsfa942 Жыл бұрын
ผมใช้วิธีกินน้อย หลากหลาย ifบ้างทุกสัปดาห์ ไม่สุดโต่งเรื่องการกิน ของทอดเลี่ยงและโขคดีที่ชอบกินผักมาก ความรู้ด้านวิชาการของอาจารน์ทำให้เข้าใจเรื่องที่เราไม่มีองค์ความรู้และใช้เป้นตัวแปรในการใช้ประกอบอาหารได้ดี ส่วนการใช้ชีวิตก็อยู่ที่เราว่าจะดำเนินอย่างไร เอาสายกลางอย่าตึงจนชีวิตขาดรสชาติและความสุข ทั้งนี้ผมมีความเชื่อว่าโรคส่วนใหญ่มาจากการกิน อะไรที่อาจารย์หรือผู้รู้แนะนำว่าควรเลี่ยงผมจะเลี่ยงครับ
@youtubewatcher2179
@youtubewatcher2179 Жыл бұрын
มิ้น ขออธิบาย ให้เพื่อนๆทุกคน ฟังนะคะ ไม่ได้ขายของ แล้วก็ ไม่ได้เปรียบเทียบ ไม่เคยขายของออนไลน์ค่ะ เราพูดถึง ตัวเรา ว่าเราทานน้ำมันพืช คะมิ้นขอชื่นชม คุณหมอ นะคะ ที่คุณหมอ พูด ให้ความรู้ กับเราและทุกๆคน เราได้ ความรู้ เกี่ยวกับน้ำมันมะกอก กับน้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมูและน้ำมันพืช ก่อนหน้านั้นไม่ทราบเรื่องเกี่ยวกับน้ำมันมะกอกน้ำมันมะพร้าวค่ะ คุณหมอ เก่งมากๆคะ ขอบคุณหมอมากๆนะค่ะ😊👍
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
ความรู้เดิมคือ น้ำมันพืชดีกว่าหมู หลังๆได้ยินว่า น้ำมันหมูดี วันนี้มาเรียนกับคุณหมอแทน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
@เกษตรวังกอเพรช
@เกษตรวังกอเพรช Жыл бұрын
ความรู้ของแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ตามสภาวะ คือพบอย่างไร ก็ อธิบายตามนั้น เมื่อเวลาผ่านไป ระยะหนึ่ง ความรู้นั้นเริ่มแปรผัน และต่อไปความรู้นั้นเริ่มเปลึ่ยนไป ใช้เป็นสมุฏฐานไม่ได้ ความรู้นั้นเป็นเพียง " จินตมัยปัญญา" และ " สูตนามัยปัญญา " คือความรู้ ที่เขาบอก เขาว่ามา ไม่ใช่ความรู้ "แท้จริง" ความรู้แท้จริง คือความรู้ จาก " ภาวนามัยปัญญา " เป็นความรู้แท้จริง 100 หรือ 1000 ปี ก็ยังใช้ได้ เป็นจริงตามนั้น เช่น มีเกิด ก็ มีตาย หรือ มีเกิด ก็ มีเจ็บ มีป่วย เป็นต้น......
@suphitlaosomboon
@suphitlaosomboon 4 ай бұрын
ขอบคุณมากนะค้ะได้รับความรู้มากมายในเชิงลึก มีประโยชน์มากค่ะ
@TitanTaPccPl
@TitanTaPccPl Жыл бұрын
ตอนนี้ผมเลิกกินอาหารที่ใช้น้ำมันพืชอยู่ครับ จริงๆก็น้ำมันหมูด้วย - เคยคำนวณอยู่ว่าเราสามารถได้รับไขมันเพียงพอกับที่ WHO แนะนำได้โดยไม่ต้องมีน้ำมันอะไรเลย ไขมันจากสัตว์ผมได้จากนมเป็นหลัก ตามมาด้วยไขมันที่ติดมากับเนื้อ ส่วนไขมันจากพืชผมกินเมล็ดพืชที่ประกอบอาหารแบบไม่ใช้ความร้อน - ส่วนตัวคิดว่าเราไม่ควรสรุปว่าน้ำมันอะไรดีกว่าอะไรตอนนี้ เราอาจจะต้องใช้เวลาวิจัยอีกเป็นชั่วอายุคน ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ นานๆทีผมจะเจอคนให้ข้อมูลว่าน้ำมันพืชดีบ้าง - อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับข้อมูลอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ชอบน้ำมันพืช แล้วจะเหมือนคุยคนละประเด็น - เขาว่าไขมันไม่อิ่มตัวในร่างกายเราทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ง่ายกว่า ทำให้เกิดพิษจำพวกแอลดีไฮด์ ทำให้เกิดหลายโรค เช่น อัลไซเมอร์ แต่เหมือนหมอไม่ได้กล่าวเลย หรือกล่าวแล้วแต่ผมจับประเด็นไม่ได้เองก็ขอโทษด้วยนะครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
ชื่นชมนะคะ น้องเป็นนักศึกษาจาก Vidyasirimedhi (วิทยสิริเมธี) Institute of Science and Technology (VISTEC) เก่งมากค่ะ ยินดีอย่างมากหากน้องจะได้มาแชร์ข้อมูลความรู้ต่างๆด้านวิทยาศาสตร์กับอาจารย์ พี่ขอติดตามอ่านด้วยคนเพื่อความรู้ค่ะ...
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
เพิ่งได้อ่านเรื่องราวมาว่า เมื่อปี 2021 น้องอยู่ในทีมวิจัยจากสถาบันวิทยสิริเมธี (Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology - VISTEC) เสนองานวิจัย NeX ระบบแปลงภาพถ่ายที่มีความลึก (multiplane image - MPI) มาเป็นภาพสามมิติที่สมจริง สามารถเรนเดอร์ภาพออกมาได้เหมือนกำลังมองภาพสามมิติอย่างสมบูรณ์ แม้แต่แสงเงาก็สมจริง ประสิทธิภาพการสร้างภาพก็ดีกว่างานวิจัยที่เคยเสนอมากว่าพันเท่าตัว ทำให้สามารถเรนเดอร์ในอุปกรณ์พลังประมวลผลไม่สูงนัก เช่น โทรศัพท์มือถือได้...
@iceapitsada1137
@iceapitsada1137 Жыл бұрын
อันนี้กดเห็นด้วยรัวๆ ค่ะ คุยคนละประเด็น อยากฟังความรู้ที่ครบถ้วนในทุกประเด็นเหมือนกันค่ะ คลิปนี้เขาก็อธิบายดีนะคะ kzbin.info/www/bejne/pp3NgqWgnql2b7M
@AKN639
@AKN639 Жыл бұрын
@@viratklongprakit1448 เขาห้ามเติมไฮโดรเจนตั้งแต่ปี 62 แล้วครับ อย่าไปเชื่อพวกวิทยาศาสตร์เทียมในไทยมากไปครับ
@mestylebyammie5000
@mestylebyammie5000 Жыл бұрын
ชอบช่องนี้มีความรู้ดี แถมดูแล้วไม่เครียดด้วยค่ะ ดูเพลินเพราะคนพูดน่ารัก😃😃
@SuwanS123
@SuwanS123 Жыл бұрын
polyunsaturated fatty acid เป็น essential ที่จำเป็นต่อร่างกายต้องมี double bond ใน fatty chain ตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป แต่เกิด oxidation ใน polyunsaturated fatty acid เกิดได้เร็วกว่า mono unsaturated มาก oxidation reaction จะทำให้เกิดปฏิกิริยามากมาย เพราะ Oxygen เข้าไปที่ double bond O=O เชื่อมต่อกับ - C=C - เป็น เกิดเป็นโครงสร้าง single bond เป็นรูป สี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุม 90 องศาที่ไม่เสถียร(109.5 ของ tetrahedral ถึงเสถียร) โครงสร้าง มุมฉากนี้มันจะแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มี radical อิเล็คตรอนเดี่ยว ที่สามารถก่อให้เกิดสารอื่นๆอีกมากมาย กลายเป็นสารที่มีขนาดเล็กลงก็ได้ เช่น aldehyde และ ketone และยังสามารถต่อกันเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้นก็ได้ เกิดสารประกอบที่มีลักษณะเป็นวง cyclization หรือเกิดเป็นโพลีเมอร์สายยาวๆเป็น plastic มีลักษณะยางเหนียว ติดตะหลิว ติดกะทะ ลองศึกษาดูว่าสารพวกนี้เป็นสารพิษหรือไม่
@ทิณกรทักษิณ
@ทิณกรทักษิณ 8 ай бұрын
กลับมาดูย้อนหลังอีกครั้ง​ ขอบคุณข้อมูลต่าง​ๆ​ ที่คุณหมอมาอธิบายให้ฟัง​ ขอบคุณมากนะคะ
@FL19352
@FL19352 Жыл бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ กำลังอยากรู้เรื่องไขมันพวกนี้อยู่พอดีเลยค่ะ ว่าควรใช้ไขมันประเภทไหนในการทำอาหาร และประโยชน์ โทษของไขมันต่างๆ 🙏
@สุภาวดีแสนบุราณ
@สุภาวดีแสนบุราณ Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะข้อมูลนี้มีประโยชน์และละเอียดมากค่ะกับการใช้ชีวิตประจำวันและสุขภาพ ที่บ้านใช้น้ำมันรำข้าวและน้ำมันมะกอกค่ะ เรื่องนี้อยากรู้มาตั้งนานแล้ว ขอบคุณมากค่ะ
@kpbluep6679
@kpbluep6679 Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอ ที่ทำคลิป ความรู้ดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพ
@phodarkcoffee1424
@phodarkcoffee1424 Жыл бұрын
ฟังแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นดีมาก ความเห็นแนวทางเดียวกันกับอีกช่องหนึ่ง แต่อธิบายคนละแบบ (กินอาหารที่ใกล้กับธรรมชาติดีที่สุด แต่ปัจจุบันหายาก)
@นิศากรบัวงาม
@นิศากรบัวงาม Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอที่ให้ความรุ่เชิงลึก และสอนให้เราเปนหมอดุแลสุขภาพของตัวเองได้ในเบื้องต้นลดภาระกมอและพยาบาลตัวจริงค่ะ
@natratrittisang9987
@natratrittisang9987 Жыл бұрын
ก็อ.หมอเป็นคน.ที่เหนือคน.มีเมตตาจิตสูงมาก.ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน..เนียริ่งโพธิสัตว์เข้าไปทุกที..ความรู้สึกส่วนตัวค่ะ.
@orimzaa
@orimzaa Жыл бұрын
ต้องบอกคุณหมอนะครับ ผมเป็นแค่ผู้ปฏิบัติตาม ผมปฏิบัติตามความเข้าใจเดิม (แบบที่คุณหมออธิบาย) มาตั้งแต่เกิด จนอายุ 24 ผมน้ำหนัก 76 สุขภาพปกติ ก็ทานแบบเดิม วันละ 3 มื้อ เน้นตามพีระมิด อาหาร 5 หมู่ ของทอดกินแต่น้อย แอลกอฮอล์ สองสามเดือนครั้ง จนผ่านมาอายุ 33 น้ำหนักผมเพิ่มมาเป็น 98 หอบ โคเลสเตอรอลสูง และเป็นเบาหวาน หลังมื้ออาหารบางมื้อ (แค่ข้าวราดกระเพรา) ผมก็ง่วงมากจนทำงานตอนบ่ายไม่ได้ ทำไมผมถึงสุขภาพแย่ลงครับ ทั้ง ๆ ที่หมอพูด ก็ฟังดูน่าจะใช่ทุกอย่าง หรือมันอาจมีอะไรมากกว่านั้นที่หมอเองก็ยังเข้าใจไม่หมด ตอนนี้ผมน้ำหนักลงมาเหลือ 89 สดชื่น น้ำตาลดีขึ้น สุขภาพดีขึ้นมาก ๆ แต่ … ไม่ใช่เพราะปฏิบัติตามที่หมอบอกเลยครับ เพราะ อ. วิศวกร บางท่านที่ผมปฏิบัติตาม ผมกินข้าวแค่วันละ 1.5 ทัพพี เน้นเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ ผักบางชนิด อโวคาโด้ กินวันละ 2 มื้อ ทำต่อเนื่องมา 1 ปีแล้วครับ เป็นไปได้ไหมครับ ที่บางอย่างเราก็ยังเข้าใจร่ายกายมนุษย์เราเองไม่หมด เพราะเห็นคนที่ทำตามที่ อ วิศวกร บางคน เห็นสุขภาพดีขึ้นเป็นเสียงเดียวกัน บางคนทำมาร่วมปีที่ 2 ไปตรวจสุขภาพเป็นปกติ
@สมคิดจิตดี-ฅ7ฃ
@สมคิดจิตดี-ฅ7ฃ Жыл бұрын
ลองฟังทุกท่านที่มาแนะนำ ลองทำดู และตามดูผลที่เกิดครับ ถ้าสิ่งไหนทำแล้ว ดีกับสุขภาพเราเอง ก็ทำไปตามนั้น ดีที่สุดครับ
@aikidoiwamathai3105
@aikidoiwamathai3105 Жыл бұрын
มันแล้วแต่คนค่ะ อย่าเชื่ออะไรให้มันสุดโต่ง น้ำหนักมันลดจริงแต่ระยะยาวสุขภาพเป็นยังไงไม่รู้ และต้องดูชีวิตประจำวันคุณด้วยคุณใช้ชีวิตลักษณะไหน ต้องปรับเอามาให้เข้ากับเรา ดิฉันทำ if 16/8 low carb มาก่อนที่จะมีช่องนั้นซะอีก เกือบตายก็เพราะ low carb นี่ละ ไม่ใช่ของเขาไม่ถูก แต่มันไม่เหมาะกับการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องสอนศิลปะป้องกันตัว เขาทำได้ก็เพราะเขาไม่ได้มีอาชีพเหมือนฉันนี่ค่ะ ที่ต้องเหนื่อยสุดขีด 5 วันต่อสัปดาห์ low carb จนเป็นลมหมดสติหัวใจเกือบจะหยุดเต้น เพราะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทุกวันนี้ดิฉันยังทำ if เหมือนเดิม แต่อาหารสมดุลกันหมด ข้าวฮางงอก เนื้อสัตว์ ธัญพืช ถั่ว ผักผลไม้ตามฤดูกาล นมถั่วเหลือง สุขภาพร่างกายถึงจะแข็งแรง น้ำหนักตัวสมส่วนกับความสูง ไม่ควรสุดโต่งเชื่อทำตามไปหมด เราไม่ใช่เขา เขาไม่ใช่เรา พื้นฐานสภาพร่างกายจะเหมือนกันได้อย่างไร เลียนแบบเอามาทำตามเป๊ะๆ ไม่ปรับให้เข้ากับตัวเอง ระยะยาวต้องมาดูกัน
@pattaweraaoy3331
@pattaweraaoy3331 Жыл бұрын
คุณพูดถูก และคุณข้างล่างที่ชื่ออ่านยากก็ถูกเช่นกัน แต่ละคนจะต้องหาจุดสมดุลของตัวเองให้พบด้วยตัวเอง แล้วไม่ต้องมาทะเลาะกันให้เสียเวลา อย่างไรก็ต้องผสมผสานกันระหว่าง แพทย์ทางเลือกกับแผนตะวันตก ตามธาตุเจ้าเรือนของคุณเอง
@tep222
@tep222 Жыл бұрын
ตามที่ผมเคยดูมา อาจารย์วิศวกรเพิ่งเริ่มทำคลิปด้านโภชนาการมายังไม่ถึงหนึ่งปีนะครับ ผมจำได้ว่าเคยเห็นคลิปแรกๆราวเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าผมจำผิดก็ขออภัย
@oilyaoona9093
@oilyaoona9093 Жыл бұрын
ถ้าฟังหลายๆคลิปจะเข้าใจว่า อ.หมอ เขาเน้นเรื่องกินให้สมดุลครับ
@ปณิชาเอี่ยมสําอางค์-ถ1ธ
@ปณิชาเอี่ยมสําอางค์-ถ1ธ 2 күн бұрын
คุณหมอหล่อมาก.ดูเด็ก หน้าเด็ก.พูดเพราะ
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
😊🌼🍃 สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน Have a nice day ka 🍏🍞🧀☕ 📚 น้ำมันหมู vs น้ำมันพืช ความรู้เดิมถูกอยู่แล้ว #Saturatedfat #Transfat #Unsaturatedfat โน้ตบางส่วนค่ะ 🔺️ ไขมันทรานส์แย่ที่สุดในปัจจุบันนี้ พยายามเอาออกไปจากอาหารให้หมด มันได้มาจาก กรรมวิธีต่างๆ พวกนี้เค้าจะเขียนไขมันทรานส์ตามฉลาก ท่านต้องดูว่ามีไขมันทรานส์เท่าไหร่ ยิ่งมี น้อยเท่าไหร่ยิ่งดี ยิ่งเป็นศูนย์ยิ่งดี แต่ศูนย์มันก็ไม่เป็นศูนย์จริงๆ เมื่อไหร่ที่มันต่ำกว่า 0.5 กรัม เค้าจะถือว่ามันเป็นศูนย์ 🔺️ แล้วไขมันทรานส์มันก็มาจากอื่นๆได้อีกเช่น คนที่กิน Carnivore Diet ล้วนๆ ท่านได้ไขมันทรานส์ไปเต็มๆแน่ๆ ถ้าท่านไม่กินพืช ไม่กินอะไรเลย ต่อมาคืออาหารที่มีการปรุงแปรรูปเยอะๆ อาหารแช่แข็ง ขนมต่างๆ พวกนี้ อาจมีไขมันทรานส์ปนได้ เพราะว่ามันต้องเอา ไขมันมาจากสัตว์ พวกนม ชีส ที่เป็นส่วนประกอบในอาหาร พวกนี้เป็นไขมันทรานส์เอามารวมกันเยอะๆมันก็เป็นอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง ดังนั้นท่านต้องระวังแหล่งที่มาของอาหารที่เป็นทรานส์ 🔺️ แล้วไขมันทรานส์นั้นเป็นกับเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวเท่านั้น แต่มันไม่ใช่ข้ออ้างในการบอกว่า ไขมันไม่อิ่มตัวก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น ไขมันทรานส์กินให้น้อยที่สุด มันมีการ กำหนดมาเลยว่าไขมันทรานส์ควรกินให้น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของแคลอรี่ที่ท่านได้รับในแต่ละวัน สมมุติแคลอรี่ที่ท่านจะได้รับประมาณ 2000 แคลอรี่ที่มาจากไขมันทรานส์ควรน้อยกว่า 20 นั่นแปลว่าไขมันทรานส์ควรจะได้รับวันหนึ่งไม่เกิน 2 กรัม ไขมันพลังงานต่อกรัมก็คือ 9 กิโลแคลอรี่ (2×9=18 ก็ใกล้เคียงกับ 20) 20 ก็คือ 1 เปอร์เซ็นต์ของ 2000 ประมาณนั้น 🚩อ่านเจอข่าวนี้ค่ะ "กระทรวงสาธารณสุขประกาศบังคับใช้กฎหมายห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่าย กรดไขมันทรานส์ หรือที่รู้จักในชื่อ ทรานส์แฟท (Trans Fat) ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.2562 เป็นต้นไป ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ กรดไขมันทรานส์ มักพบได้ในอาหารและขนม เช่น เบเกอรี่ หรือ โดนัท ที่ใช้เนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม หรือมาการีน เป็นส่วนผสม และเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเพิ่มระดับไขมันเลว (LDL) และลดไขมันดี (HDL) ในเส้นเลือด ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวานอีกด้วย" ดีที่มีกฎหมายนี้ ออกมาปกป้องสุขภาพของประชาชนค่ะ เพราะจำได้ว่าตอนเป็นเด็กชอบอ่านซองขนมว่าทำมา จากอะไร จะเห็นคำว่า เนยขาว เนยเทียม มาการีน อยู่เป็นประจำเลยค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹
@beesweet935
@beesweet935 10 ай бұрын
ข้อมูลชัดเจนมากคะ ฟังเข้าใจง่าย วันนี้คุณหมดลุคดูสบายตา ชิวมากคะ
@PJK19
@PJK19 Жыл бұрын
เดี๋ยวนี้มีชุดความรู้มาหลากหลายมากครับ มึนๆ ส่วนตัวผม ทานแต่พอดี ออกกำลังกายให้พอเหมาะ นอนให้เพียงพอ ไม่เครียด ชีวิตมีเป้าหมาย ช่วยเหลือสังคมตามแต่กำลัง อะไรก็ตามที่มากไป สุดโต่งไป ไม่ดีครับผม 😉
@K.WaterworldZ
@K.WaterworldZ Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอที่ให้ความรู้ความกระจ่างในเรื่องการใช้น้ำมันนะคะ เป็นประโยชน์มากๆค่ะ 🙏🏻
@samartlaocharoensombat6927
@samartlaocharoensombat6927 Жыл бұрын
ได้ความรู้ชัดเจน มีที่มาที่ไปและมีเหตุผล ขอบคุณ ครับ
@nophorn
@nophorn Жыл бұрын
ดีมากแต่ยาวไปนิด เพราะท่านพูดไปเรื่อย ควรมี script และสรุปตอนจบ จะมีประโยชน์มากกว่านี่ อย่างไรก็ดี เยี่ยมครีบ ปรับปรุงให้กระชับ สรุปความ จะดีมากกว่านี้ ครีบ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
การที่จะรู้เหตุผลทั้งหมดของสิ่งๆนึงนั้นมันไม่ได้สั้นๆง่ายๆหรอกครับ และถ้าเราจะเอาสั้นๆง่ายๆเหมือนที่หลายๆคนชอบเอามาพูด แบบนั้นเราโดนหลอกได้ง่ายมากๆ ใครพูดจาน่าเชื่อถือก็เชื่อไปหมดแล้ว โดยไม่ได้รู้รายละเอียดอะไรเลย ดังนั้นสิ่งที่ผมพูดทั้งหมด เป้าหมายของผมคือพูดให้ครอบครัวและเพื่อนของผมทราบในสิ่งที่มีความสำคัญ ส่วนคนอื่นๆที่มาฟังก็เป็นผลพลอยได้ และผมจะสอดแทรกความเข้าใจที่ลงลึกไปทุกครั้งครับ จะไม่ได้พูดแค่การแนะนำเฉยๆแบบไม่มีที่มาที่ไปในเชิงลึกครับ
@ชมัยกรจันทร์กันสิน-ท9ซ
@ชมัยกรจันทร์กันสิน-ท9ซ Жыл бұрын
@@DrTany คนไทยอ่านหนังสือน้อยก็เป็นเรื่องจริง ฟังน้อยยิ่งเรื่องวิชาการนี่ก็จริงอีก
@phatnareepungluangchiroj8178
@phatnareepungluangchiroj8178 Жыл бұрын
คุณหมอค่ะ ถ้านึกทำคลิปอะไรไม่ออก อยากให้ทำคลิปปริมาณการทานเนื้อสัตว์ในแต่ล่ะวัย ว่าควรทานปริมาณเท่าไหร่ในแต่ล่ะวัน เพราะลูกชายชอบทานแต่เนื้อไม่ชอบทานผักเลย (ถ้าคุณหมอนึกทำคลิปไม่ออก แนะนำทำคลิปนี้นะคะคุณหมอ❤)
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
ลองดูคลิปเมื่อวานก็ได้ค่ะทานจำนวนกรัม เท่ากับน้ำหนักตัวที่เป็นกิโลกรัม เช่น หนัก 50 กก ทาน โปรตีน 50 กรัม แล้วก็กินอาหารอื่นๆให้ครบห้าหมู่ด้วยค่ะ
@phatnareepungluangchiroj8178
@phatnareepungluangchiroj8178 Жыл бұрын
@@CherryChonny ขอบคุณค่ะ
@bewtanakorn2268
@bewtanakorn2268 Жыл бұрын
EPนี้ รู้สึกเหมือนคุณหมอดูเด็กลง น่าร๊ากกกก
@mosthai9575
@mosthai9575 Жыл бұрын
ชอบความรู้ที่คุนหมอให้ค่ะ
@mosthai9575
@mosthai9575 Жыл бұрын
ชอบฟังคุนหมอได้ประโยชน์มากมายค่ะ
@kanoky7076
@kanoky7076 Жыл бұрын
ขอบคุณนะคะ เคยฟังจากที่อื่นบอกว่าน้ำมันหมู มะพร้าว ดีต่อสุขภาพ ก้ยังข้องใจอยู่ว่าดีต่อสุขภาพจริงหรือแต่ส่วนตัวก้ยังคงเลือกใช้น้ำมันมะกอกแบบ extra virgin olive oil ใส่สลัด / extra light tasting olive oil แบบที่มีheat guideคะใช้ทอด แล้วก้ใช้น้ำมันรำข้าวสำหรับทอดกับผัด แล้วเวลาทอดก้จะใช้ครั้งเดียวจะไม่ใช้ทอดซ้ำๆ เมื่อได้ฟังคุณหมอพูดแล้วก้ทำให้มั่นใจว่ายังงัยการใช้น้ำมันพืชก้ดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันสัตว์แน่นอน และขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ 3.6 แสนแล้ว👍💐🙏
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
น้ำมันมะพร้าวมันจะดีได้ก็ต่อเมื่อมีการแยกส่วนที่เป็น Medium chain triglyceride oil ออกมาครับ ตัวนี้มันจะมีประโยชน์ แต่ถ้าไม่ได้แยกมันออกมาและกินแบบรวมๆไป มันก็ไม่ได้มีประโยชน์ขนาดนั้นครับ อย่างไรก็ตามถ้ากินไม่มากก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรครับ
@kanoky7076
@kanoky7076 Жыл бұрын
@@DrTany รับทราบคะ กราบขอบพระคุณคุณหมอมากๆนะคะที่คุณหมอกรุณาอธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียด ทำให้เข้าใจมากขึ้นเลยคะ 🙏
@teptang8483
@teptang8483 Жыл бұрын
ใช้ในชีวิตประจำวัน​จริงๆเราคงไม่ได้ลงรายละเอียดให้ชีวิตยุ่ง​ยากขนาดนั้นครับ... เห็นหลายรายกินอาหารคลีน... ดันเป็นมะเร็ง​
@kanoky7076
@kanoky7076 Жыл бұрын
@@teptang8483อาหารทอดนอกบ้านส่วนตัวถ้าเลี่ยงได้ก้เลี่ยงคะ เว้นแต่ถ้าอยากทานชนิดนั้นๆจริงๆก้ทานนิดๆหน่อยๆแค่หายอยากคะ แต่ก้ไม่ควรบ่อย ใช้ชีวิตแบบทางสายกลางไม่สุดโต่งเกินไปจะได้ไม่ทุกข์เพราะอยากกินนั่นก้ไม่ได้กินนี่ก้ไม่ได้ หรือถ้าพวกผัดๆก้ให้ใส่น้ำมันน้อยๆรึไม่ก้ผัดกะน้ำแบบคลีนๆนั่นแหละคะ ส่วนเรื่องโรคภัยใดๆก้แล้วแต่บุญแต่กรรมแล้วแต่วาสนาก้แล้วกันคะ เพราะเราถือว่าทำดีที่สุดแล้วคะ อะไรจะเกิดก้เกิดไป คิดแบบนี้ก้จะสบายใจคะ
@skolnsuwannapisith7523
@skolnsuwannapisith7523 Жыл бұрын
ถ้าอาจารย์สะดวกมีภาพหรือเขียนไวท์บอร์ด จะช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นเลยครับ
@rossakorntuk9282
@rossakorntuk9282 Жыл бұрын
ขอขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ ขอให้เจริญรุ่งเรืองมีสุขภาพแข็งแรงด้วยเทอญฯ
@chomjancurtis2712
@chomjancurtis2712 Жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ ได้ความรู้ทุกครั้งที่เข้ามาชมค่ะ.
ДЕНЬ УЧИТЕЛЯ В ШКОЛЕ
01:00
SIDELNIKOVVV
Рет қаралды 3,1 МЛН
哈哈大家为了进去也是想尽办法!#火影忍者 #佐助 #家庭
00:33
Как подписать? 😂 #shorts
00:10
Денис Кукояка
Рет қаралды 8 МЛН
หายใจอย่างไรให้ถูกวิธี
29:17
ДЕНЬ УЧИТЕЛЯ В ШКОЛЕ
01:00
SIDELNIKOVVV
Рет қаралды 3,1 МЛН