EV NEWS EP.5 l แบตเตอรี่ที่ปลอดภัย และใช้วัตถุดิบในประเทศไทย

  Рет қаралды 96,777

Captain DIY

Captain DIY

2 жыл бұрын

คุณศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ “กรุงเทพธุรกิจ” โดยเผยว่า ศูนย์ฯ ตระหนักถึงข้อจำกัดดังกล่าวจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน โดยเฉพาะหากเกิดภาวะไม่ปกติ ภาวะฉุกเฉิน หรือเกิดสงคราม ไทยอาจจะประสบปัญหาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
"แร่ลิเทียมที่เป็นวัตถุดิบหลักเป็นแร่หายาก และมีจำกัด หากมีความต้องการใช้ในปริมาณมาก เพื่อสร้างระบบกักเก็บไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน รวมถึงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลน และการแย่งชิงทรัพยากรในอนาคต
นอกจากนี้ เมื่อหมดอายุการใช้งานยังมีประเด็นเรื่องการจัดการขยะแบตเตอรี่ลิเทียมฯ ที่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสารที่เป็นอันตราย เมื่อมีปริมาณขยะแบตเตอรี่ชนิดนี้จำนวนมาก หากใช้วิธีการฝังกลบขยะ ก็อาจจะมีโอกาสเกิดการรั่วไหลของสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมได้" ผอ. ศิวรักษ์ กล่าว
สวทช. จึงสนับสนุนการพัฒนาแบตเตอรี่จากวัสดุทางเลือกที่มีแหล่งทรัพยากรในประเทศและมีความปลอดภัยสูง พร้อมทั้งจัดตั้ง “โรงงานต้นแบบวิจัยแบตเตอรี่วัสดุทางเลือกที่มีความปลอดภัยสูงเพื่อความมั่นคง" หรือ ABATTS ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง
โรงงานต้นแบบฯ บนพื้นที่ 732.4 ตารางเมตร พร้อมบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ขนาดกำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ทางเลือกแบบครบวงจรแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการภายใต้ระบบมาตรฐานการบริหารงานคุณภาพโรงงาน ISO 9001 และการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ มอก.2217-2548
ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารและติดตั้งเครื่องมือการวิจัยและเครื่องจักรสายการผลิต ตามกำหนดจะแล้วเสร็จภายในปี 2565
รูปแบบการให้บริการในเบื้องต้นจะเป็นในลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในการบริการหรือร่วมวิจัยและพัฒนาขยายผลต้นแบบผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานที่ผลิตได้จากวัตถุดิบภายในประเทศ ในระดับ pilot scale
ร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้สนใจรับบริการทั่วไป ให้คำปรึกษา การผลิตสูตรและการพัฒนาแบตเตอรี่และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึง เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor) การฝึกอบรม การทดสอบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนเพื่อไปสร้างอุตสาหกรรมใหม่
ค้นหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนลิเทียม
ศิวรักษ์ เล่าว่า แบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่ศูนย์ NSD กำลังวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน จะอิงบนหลักคิดจากความพร้อมในเรื่องทรัพยากรวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศจำนวนมาก ซึ่งเอื้อต่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ ทั้งยังมีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยที่ดำเนินการในปัจจุบัน ได้แก่ แบตเตอรี่สังกะสีไอออนร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบตเตอรี่โซเดียมไอออนร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออนที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เทคโนโลยีตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor) และระบบกักเก็บพลังงานจากคาร์บอนที่ได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ทั้งนี้ แบตเตอรี่สังกะสีไอออนจะเป็นผลิตภัณฑ์นำร่องที่ผลิตในโรงงานต้นแบบฯ ในปี 2566 โดยเป็นผลงานวิจัยที่นำเทคโนโลยีกราฟีนมาเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บประจุ กระทั่งพัฒนาจนได้เป็นชิ้นงานต้นแบบที่พร้อมสำหรับนำไปขยายขนาดการผลิตในระดับ Pilot Scale ถือเป็นแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่น่าสนใจในด้านความปลอดภัยและความมั่นคง เพราะมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสามารถรีไซเคิลได้เกือบทั้งหมด
อีกทั้ง “สังกะสี” ยังเป็นแร่ธาตุที่มีราคาถูก ไม่ค่อยถูกนำมาใช้งานและในไทยมีปริมาณมากกว่า 4 ล้านตัน ทนทานต่อการกระแทก ไม่ติดไฟและไม่เกิดการระเบิด จึงเหมาะแก่การนำมาประยุกต์ใช้ในระบบกักเก็บพลังงาน แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและน้ำหนักมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ด้วยจุดเด่นของแบตเตอรี่ชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง รวมทั้งอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการเคลื่อนย้าย เช่น ยุทโธปกรณ์ทางทหาร แท่นขุดเจาะน้ำมัน สถานีวิทยุสื่อสารทหาร ทุ่นลอยน้ำ เสาส่งสัญญาณ ระบบไฟฟ้าสำรองแบบอยู่กับที่ ระบบกริดไฟฟ้า รวมทั้งแหล่งพลังงานในอาคารบ้านเรือน เช่น Energy Wall
ในอนาคตหากมีการใช้งานแพร่หลาย อาจจะพบว่าต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่สังกะสีไอออนถูกกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้งานกันในบ้านเราก็เป็นได้
หากเรากำลังมองหาพลังงานแบตเตอรี่ทางเลือกอยู่ แบตเตอรี่ชนิดนี้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีในอนาคต ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทย นับเป็นโอกาสและความท้าทายในการสร้าง “อุตสาหกรรมใหม่” ให้แก่ประเทศ
ขณะที่ แบตเตอรี่โซเดียมไอออนก็นำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยข้อดีคือมีต้นทุนการผลิตโซเดียมไอออนต่ำกว่าการผลิตลิเทียมไอออน มีความหนาแน่นของพลังงานสูง สามารถชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานในสภาวะที่อุณหภูมิต่ำได้ดี
เป็นกำลังใจให้ช่อง Captain DIY / Buy Me a Coffee : ko-fi.com/captaindiy
ฝากกดติดตามด้วยครับ ตอนนี้มี 2 ช่องนะครับ ช่องที่1 จะเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า พลังงานทดแทน และการบิน ช่องที่2 จะเกี่ยวกับ Life Style ครับ
CaptainDIY : / @captaindiy
F.E.T. by CaptainDIY : / @f.e.t.bycaptaindiy5135
สนใจติดตั้งโซล่าร์เซลล์ และระบบ EV Charger หรือต่องาน ติดต่อได้ที่
Line : captaindiy
captain-diy.com/

Пікірлер: 141
@doctorwipas
@doctorwipas 2 жыл бұрын
ดูแล้วชื่นใจว่าไทยเรามีการ ศึกษาวิจัย และพัฒนา สิ่งจำเป็นในอนาคตขึ้นมาได้เองบ้างครับ
@nickynoenurai5882
@nickynoenurai5882 2 жыл бұрын
สุดยอดประเทศไทย หลีกเลี่ยงพึ่งพามหาอำนาจให้ได้มากที่สุดประเทศไทยจะปลอดภัยทั้งเศษรฐกิจ และทุกๆทาง สุดยอด
@ottosornpinya6821
@ottosornpinya6821 2 жыл бұрын
สำคัญตรงที่ต้องมีความปลอดภัยสูงและไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ครับ ถ้าทำได้แบบนี้จะดีมากกกก👍👍👍
@user-jx5oy2gw6n
@user-jx5oy2gw6n Жыл бұрын
สุดยอดครับ …รีบวิจัย พัฒนา รีบผลิตจำหน่ายเลยครับ และรัฐควรให้การสนับสนุน อย่าให้โครงการเีๆที่ทำโดยคนไทยสูญเปล่า
@jetchsadawongrungrojn2486
@jetchsadawongrungrojn2486 2 жыл бұрын
ถ้าผลิตแบตทดความร้อนสูง ปลอดภัยไม่ติดไฟ และอายุการใช้งานได้ยาวนานเกิน10ปี ถึงน้ำหนักจะเยอะ ถ้าทำได้จริงก็เหมาะกับการกักเก็บไฟฟ้าใช้กับบ้านเรือน ช่วยลดการนำเข้าพลังงานได้เยอะแน่ๆ
@yiwnychannel2322
@yiwnychannel2322 2 жыл бұрын
เหมาะงานโซลาร์เซลล์มาก
@mahalaionadoknanlee8916
@mahalaionadoknanlee8916 Жыл бұрын
อยากได้มาใช้กับโซล่าเซลล์จัง
@poppan7408
@poppan7408 2 жыл бұрын
ผลิตสำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไว้ใช้กับเครื่องปรับอากาศในเวลากลางคืน ถ้าราคาไม่แพงก็จะเป็นประโยชน์มาก
@user-hc9gj1kb9e
@user-hc9gj1kb9e 2 жыл бұрын
ใช่ ค่าไฟ แอร 2000-3000 ใช้แบตราคา5000 ยังคุ้มโครต
@s...4020
@s...4020 2 жыл бұрын
👍👍พัฒนาต่อไป ประเทศไทยต้องเปิดโอกาสให้คนไทยเก่งๆคิดค้นเทคโนๆใหม่ๆ เอามาใช้โดยไม่ต้องไปจัดซื้อจากต่างประเทศ
@DDd-pb8dz
@DDd-pb8dz Жыл бұрын
หวังใจว่าพัฒนาเองจะมีราคาไม่แพงเวอร์นะคะ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ เย้
@user-bj5rw7bd6i
@user-bj5rw7bd6i 2 жыл бұрын
ขอให้ทำขายได้จิงนะครับ ผมคนนึ่งจะอุดหนุน
@Happy_Ddd
@Happy_Ddd 2 жыл бұрын
ได้ติดตามมาว่าแบตเตอรี่จะใช้ได้เฉพาะ Powerwall Power bank แต่สำหรับรถยนต์ใช้ได้เฉพาะรุถยนต์ขนาดใหญ่ ส่วนรถยนต์ขนาดเล็กต้องพัฒนาต่อไป แต่ก็ยินดีที่ไทยสามารถหาวัตกรรมด้วยตนเอง น่าจะร่วมมือพัฒนากับเอกชนที่พัฒนาแบตเตอรี่อยู่แล้วเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุนในประเทศไทย
@senamith
@senamith 2 жыл бұрын
ถ้าถูกจริงแต่มีน้ำหนัก โซล่าเซลล์บ้านเรือน ก็ตอบโจทย์นะครับผมว่า
@siemc9990
@siemc9990 Жыл бұрын
ขอให้สำเร็จลุล่วงให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งแบตรถอีวี และแบตเก็บพลังงานโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดครับ
@191225041
@191225041 2 жыл бұрын
ยอดมากทั้งผลิตภัณฑ์/และผู้ทำการบรรยาย น่าติดตาม
@CaptainDIY
@CaptainDIY 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ
@pannatatjuthasmith239
@pannatatjuthasmith239 2 жыл бұрын
1. ปชช.ควรทราบเสียก่อนว่า รถไฟฟ้าที่มีใช้กันอยู่ มันมีอยู่ 5 ชนิด - รถไฮบริด HEV - รถไฮบริดเสียบปลั๊กได้ PHEV - รถเสียบปลั๊ก BEV หรือ ที่ชอบเรียกย่อๆว่า รถ Ev - รถแบบ E POWER หรือ รถ EV +เครื่องยนต์ +เครื่องปั่นไฟ - รถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel cell หรือ FCEV 2. รถไฟฟ้าทั้ง 5 ชนิด 3 ชนิดหลัง จะมีชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อนที่น้อยลง การมีชิ้นส่วนที่น้อยลง เป็นผลดีต่อ บ.แม่เจ้าของแบรนด์ แต่ เป็นผลเสียร้ายแรงต่อ บ.Oem รับจ้างผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 3. รถเสียบปลั๊ก แบบ EV ....จริงแล้ว นวัตรกรรมนี้ เป็นได้แค่ นวัตรกรรมย้ายที่ปล่อยมลพิษ จากรถ ไปเป็น รฟฟ.แทน เป็น รถที่ช่วยรักษาผลประโยชน์ จากภาคขนส่งให้ยังตกแก่กลุ่มทุนผูกขาดเดิมๆ คือ รฟฟ. บ.ถ่านหิน และ บ.ปิโตรเลียม และ นัตรกรรมนี้ ยังช่วยยืดอายุ ระบบเปโตรดอลล่า ของ อเมรืกา ที่เอาเปรียบชาวโลกมานาน ให้ยังสามารถยืดยาวออกไปอีกได้ 4. ในรถไฟฟ้าทั้ง 5 ชนืด ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น.....มีเพียงชนิดเดียว ....ที่สามารถจะตอบโจทย์จริง คือ รถไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง หรือ FCEV เท่านั้น ....เพราะ - FCEV กำเนิดไฟฟ้าในตัวเองได้ จากปฏิกริยาไฟฟ้าเคมี โดยไ ม่มีการสันดาปลุกไหม้เลย - FCEV ใช้เวลาเติมเชื้อเพลิงสั้น และ วิ่งได้ไกลเหมือน รถใช้น้ำมัน รถใข้แกส หรือ เครื่องสันดาปภายใน - FCEV ให้ประสิทธิภาพเชิงพลังงาน สูงกว่ารถรถเครื่องสันดาปภายใน - เชลล์เชื้อเพลิง ณ ปัจจุบัน มีอยู่ 4 ชนิด แยกตามชนืดของเชื้อเพลิง คือ ไฮโดรเจน โปรเพน เมทานอล เอทานอล แต่ ที่นำมาพัฒนาใช้กับ รถยนต์ไฟฟ้า มีอยู่ 2ชนิด คือ ไฮโดรเจน กับ เอทานอล - เซลล์เชื้อเพลิง เกือบทุกชนิด จะปล่อยของเสีย หลังกระบวนการผลิตไฟฟ้า ออกมาเป็นไอน้ำบริสุทธิ์ - และ เชื้อเพลิง..ทั้ง 2 ชนิดนี้ ยังสามารถผลิตขึ้นมาได้ โดยอาศัยกระบวนการสะอาดใหม่ๆ ที่ไม่ต้อง พึงพา ปิโตรเลียม รฟฟ. และ ถ่านหิน 5 ปัญหาของพลังงานทางเลือก ที่ช้าในการพัฒนา และ ผลักดันให้ ปชช.ใช้งานจริง นั่นคือ เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน. - ผลประโยชน์พวกนี้ ภายในประเทศไทย....เกิดจากการ แปรรูป ปตท. และ การเปืดช่องให้มี รฟฟ.เอกชนผลิคไฟ คู่ขนานกับ รฟฟ.รัฐ แล้วส่งมาขาย ปชช.ในสายส่งเดียวกัน - รูปแบบของผลประโยชน์ทับซ้อน คือ การเข้าไปถือหุ้นพลังงาน ของ นายทุน นกม. ต่างชาติ และ การอวยวาระให้ ขรก.ที่มีอำนาจกำกับดูแล เข้าไปนั่วกินเงินเดือนบอร์ด ในธุรกิจพลังงานเอกชน - และ ผลประโยชน์ทับซ้อน ยังเป็นต้นตอสำคัญ ของ ปัญหา แกส ไฟฟ้า น้ำมัน...ของไทยแพงในที่ผ่านมา - จีน สามารถพัฒนา รถ EV และ รถ FCEV.......ได้ไกลกว่า ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศต้นคิด รถยนต์แบบเซลล์เชื้ เพลิงไฮโดรเจน นั่นเพราะ การปกครอง แบบ คอมมิวนิสต์ยุคใหม่ 1 ประเทศ 2 ระบบ ของจีน ไม่มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แบบ ประเทศ ปชต.ทั้งหลาย.......จีนกำลังพยาม พัฒนารถขนส่งมวลชน รถบรรทุกของตน...ไปเป็นระบบ FCEV ไม่ใช่ Ev และ รวมถึงกำลังพัฒนา กระบวการกรีนไฮโดรเจน ให้มีต้นทุนที่ต่ำลง และ แยกห่วยผลิตกระจายออกไป แบบไม่รวมศูนย์
@user-yt8kx2qk8f
@user-yt8kx2qk8f 2 жыл бұрын
ไทยทำไทยเก่งครับ แสดงให้โลกได้ดูว่าพี่ไทยก็ไม่ธรรมดา
@user-ww3ku1jj5d
@user-ww3ku1jj5d 2 жыл бұрын
มีแผนหลายๆโครงการที่จะทำผมยังจำเรื่องวัคซีนโควิด19ของคนไทยไม่จางหายจะตั้งโรงงานต้นแบบ....ทำได้ก่อนเถอะแล้วจึงเป็นข่าวผมเป็นคนไทยหวังได้เห็นฝีมือคนไทยสุดท้ายก็มีแต่ความว่าง
@kaiesmoker7344
@kaiesmoker7344 2 жыл бұрын
ไทยเราเก่งจริงๆ ลงทุนต่อยอดในสิ่งที่ชาวโลกเค้าไม่ทำกัน เนื่องจากไม่คุ้มค่าด้วยประการทั้งปวง
@pingputthiteerachote5858
@pingputthiteerachote5858 2 жыл бұрын
ปัญหาคือความช้า กว่าจะเปลี่ยนจากงานวิจัยมาเป็นผลิตภัณฑ์นานมาก ดูตัวอย่างวัคซีนจุฬา ชาวบ้านฉีดไป5เข็มแล้ว งานวิจัยยังไม่เสร็จ
@sompolhnanjai6462
@sompolhnanjai6462 2 жыл бұрын
ไม่ใช่ครับรัฐไม่สนับสนุนเพราะไม่ได้กินส่วนต่าง คือเก็บภาษีนำเข้าก็ไม่ได้เลยไม่สนับสนุน
@user-ev9qp3yl3s
@user-ev9qp3yl3s Жыл бұрын
ออกข่าวซะใหญ่โต สุดท้ายก็ซื้อวัคซีนชาวบ้านเหมือนเดิม
@cctan9309
@cctan9309 Жыл бұрын
วัคซีนน่าจะยากกว่า มีเฟส1 เฟส2 กว่าจะเสร็จ เลิกฮิตแล้ว
@narongsilpsathiansri1172
@narongsilpsathiansri1172 Жыл бұрын
มันมีแต่ข่าวสร้างภาพเรื่องวัคซินของรัฐบาลแล้ว เป็นไงหลายคนดันวัคซินเข้าไปเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกันแต่ไม่ฟังข่าวที่บริษัทผู้ผลิตถูกศาลสั่งเปิดเผยผลวิจัยก่อนกำหนด80ปีทำให้หมอหลายคนฝ่อไม่กล้าเชียร์ แต่เรื่องแบตเป็นรูปธรรมมีทั้งจากนอกและในไทยสร้างโรงงานต้นแบบผลิตออกมาใช้แล้วเอกชนเขาทำเพราะธุรกิจไม่ใช่เอาสายสะพาย
@fdm7796
@fdm7796 Жыл бұрын
จัดไปจ้าาาา เน้นวัตถุในไทย...เชียร์ๆ
@cscit7799
@cscit7799 2 жыл бұрын
แค่ความฝัน
@chillchill9653
@chillchill9653 Жыл бұрын
ปัญหาคือ น้ำหนักมากกว่าและ ประจุไฟได้น้อยกว่าเล็กน้อย เทียบกับลิเธี่ยมสิ่งต้องแก้ไข คือ หาวัตถุธาตุมาผสมกับโซเดี่ยมไอออนให้มีประจุไฟให้มากๆๆกว่า และต้องไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นในขณะที่เพิ่มธาตุมาผสม หรือทำให้ น้ำหนักลดลง อนุกรมประจุไฟฟ้าที่จุได้มากก็เห็นจะมีแต่กราฟิน เมื่อกราฟินผสมโซเดี่ยมจะได้ผลการประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีใครกล้าทดลอง ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้ไหมที่กราฟินผสมกับแร่โซเดียมไออ่อน ถามผู้รู้ดูครับ
@sunats.6565
@sunats.6565 2 жыл бұрын
ขอให้สำเร็จครับ จะได้เอาไปใช้ทาง โซล่าเซลล์
@user-tt4mb1eg4h
@user-tt4mb1eg4h 3 ай бұрын
เยี่ยมๆ
@user-sm6kt9ew9d
@user-sm6kt9ew9d 2 жыл бұрын
เก่งมากคะ
@tonstangchannel
@tonstangchannel 2 жыл бұрын
ดีงามเลยครัย
@kongt5157
@kongt5157 2 жыл бұрын
ดีครับ
@hot-nk9mt
@hot-nk9mt Жыл бұрын
ชอบครับ 👍🙋💁👷
@phichitprakobdee2681
@phichitprakobdee2681 Жыл бұрын
จัดไปครับ..!! นวัตกรรมใหม่ๆ
@user-jb4tc7wi1q
@user-jb4tc7wi1q 2 жыл бұрын
ชอบมาก👍
@pongsakvittayarumpa9233
@pongsakvittayarumpa9233 2 жыл бұрын
สาธุ
@surachaisrisanpila6610
@surachaisrisanpila6610 2 жыл бұрын
ตามๆๆๆๆเรื่องนี้ครัฟ
@user-kb6gm6wg8e
@user-kb6gm6wg8e Жыл бұрын
ปลอดภัย จุเย่อะ เข้า/ออกเร็ว อายุการใช้งาน ขอ4ข้อนี้พอ ขนาด/น้ำหนักไม่เกี่ยง ใหญ่/หนัก จับไปนอนใต้ดินหมดปัญหา
@อุ่นใจอาละวาด
@อุ่นใจอาละวาด 2 жыл бұрын
รอซื้อ อยากเห็นของจริง เชียร์เหมือนกัน เอาแบบ ไม่ต้องงราคาถูกก็ได้แต่ เปลี่ยนฟรีตลอดชีพ 555 ใช้ภายในประเทศทุกคนซื้อก็อยู้ได้แล้ว
@hellonote1980
@hellonote1980 Жыл бұрын
เป็นเรื่องที่ดีมากเลยที่จะสามารถผลิตแบตเตอรีจากวัตถุดิบในประเทศได้ อยากให้บริษัทในประเทศไทยที่กำลังพัฒนาแบตเตอรีเพื่อใช้ในการพานิชย์นำความรู้เรื่องงานวิจัยนี้มาพัฒนาและต่อยอดจนสามารถผลิตแบตเตอรีราคาถูกให้คนไทยได้ใช้กัน ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ
@user-nf1qe9it7g
@user-nf1qe9it7g 2 жыл бұрын
แร่โปรแตช มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรเสียหาย ปลูกพืชอะไรก็ไม่ได้เลย
@user-tz7fc9jt3s
@user-tz7fc9jt3s 2 жыл бұрын
ทำได้แล้วก้อรีบๆทำมาใช้เลย จะรอไร
@user-ok2nk6jb7q
@user-ok2nk6jb7q Жыл бұрын
ผลิตจากกราไฟต์ ก็มี…ควรหาธาตุการผลิตให้มากที่สุดเพื่อลดการเป็นจุดบอดทางพลังงานและการพึ่งพาต่างประเทศ และจะนำพาการพัฒนารถไฟฟ้าในอนาคตได้อย่างคล่องตัวที่สุด
@rujipastangnawtongtha6152
@rujipastangnawtongtha6152 2 жыл бұрын
จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงประเทศเริ่มแล้ว
@zs7pana
@zs7pana 2 жыл бұрын
ผ่อนรถยนต์ไฟฟ้าเสร็จ5ปี เตรียมผ่อนแบตต่อได้เลย ใกล้หมดอายุพอดี สบายจายกันเลยทีเดียว อย่างรถ goodcat แบตราคาสี่แสนกว่าบาท
@Nobody11977
@Nobody11977 2 жыл бұрын
ขอบคุณที่ คสช สร้าง EEC ขึ้นมาเสียดายที่ นักการเมืองไม่สนใจส่งเสริมเท่าไหร่ ถ้าทำ EEC ตั้งแต่ 20ปีที่แล้ว ตอนนี้เราคงมีแบตเตอรี่ทางเลือกให้ใช้งานแล้ว เทคโนโลยีต่างๆ คงไม่ล้าหลังแบบทุกวันนี้ แต่กว่า EEC จะเติบโตให้เห็นผลคงต้องใช้เวลาอีก 4-5ปี ถึงตอนนั้นคนในประเทศก็คงลืมไปแล้วว่าใครสร้าง EEC ขึ้นมา
@user-wc7fi6gx6r
@user-wc7fi6gx6r 2 жыл бұрын
ในขณะเดียวกัน ถ้า EECไม่ประสบผลสำเร็จ หรือไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็สะท้อน ให้เห็นว่่าเป็นความล้มเหลวของ คสช เหมือนกันนะครับ เหมือนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ก็ล้มเหลวไปแล้ว T_T
@Nobody11977
@Nobody11977 2 жыл бұрын
@@user-wc7fi6gx6r คสช. หมดอำนาจไปแล้ว ถ้ารัฐบาลต่อไปไม่สนับสนุน คอยขัดขวางมันก็ล้มได้ มันก็แสดงถึงคนรุ่นหลังที่ไม่รู้จักทำสิ่งดีๆ ต่อยอดพัฒนาประเทศ งอมืองอท้าวแบมือรอแต่ความช่วยเหลือ ขายสมบัติเก่ากินไปวันๆ
@user-wc7fi6gx6r
@user-wc7fi6gx6r 2 жыл бұрын
@@Nobody11977 พล.อ.เปรม วางรากฐานอีสเทิร์นซีบอร์ด และมันก็อยู่ได้ แต่ EEC ยังไม่เกิดเลย และเปลี่ยนยุทธศาสตร์มาเรื่อยๆ ไม่มีความชัดเจน ตอนแรกอยากได้ อุตสาหกรรมที่เป็น labor intensive แต่ไม่มีนักลุงทุนสนใจ เลยหันมามอง แนวทาง ขออุตสาหกรรมที่ ใช้ทักษะระดับสูงแต่ ปรากฎว่าไม่ได้เตรียมแผนรองรับไว้ทำให้ไม่มี แรงงานทักษะรองรับอุตสหกรรมที่เป็นเทคโนโลยี ทำให้ ไม่เกิดการลงทุนหรือพัฒนา การที่บอกว่า คสช สร้างขึ้น มันคืออะไร มันคือความล้มเหลว ตั้งแต่แรก ตั้งแต่ ไม่สามารถดึงนักลงทุนเข้ามาแต่ เมื่อทำไม่ได้ก็เปลียนยุทธศาตร์แต่ ก็ไม่มีการเตรียมพร้อม ไม่ใช่ไม่มีใครสนับสนุน ครบ แต่ คสช ผิดพลาดมาตั้งแต่แรก อย่างที่บอก อิสเทิร์นซีบอร์ด ถูกวางมาตั้งแต่ เปรม แต่ คสช เองที่ ทำ EEC ต่อยอด ที่วางไว้ไม่สำเร็จและ กระโดดไปทำอุตสาหกรรมที่ ประเทศไม่มี แรงงาน ทักษะหรือเทคโนโลยีรองรับ นะครับ T_T
@samartfc2158
@samartfc2158 2 жыл бұрын
@@Nobody11977 ขายชาติแบบ ปรส ไหมครับ
@user-wc7fi6gx6r
@user-wc7fi6gx6r 2 жыл бұрын
@@samartfc2158 ไม่ต้องถึง ปรส หรอกครับ แต่ EEC ล้มเหลวเพราะยุทธศาสตร์ผิดผลาด นี่ก็ งานงอกแล้ว ตอแรกยุทธศาสตร์เป็น อุตสาหกรรมแรงงานไม่มีสกิล แต่ไม่มใครมาลงทุน เลยเปลี่ยนเป็น อุต ที่ใช้เทคโนโลยีแต่กลายเป็นว่าไม่มี แรงงานทักษะ กลายเป็นว่า ต้องเปิดเสรีแรงงานทักษะมาแย่งงานคนไทย ดูรถไฟความเร็วสูงที่ จีนร้องให้ วิศวะกร ของจีนมาทำ ไม่จ้างคนไทย T_T
@user-zg8bp1wb3q
@user-zg8bp1wb3q Жыл бұрын
ใช้.​ Na​ ดีกว่า​ เพราะ​ มีมากที่สุดหาได้ง่ายและราคาต้องถูกสุดๆๆๆๆๆ​ ส่วน​ Zn.​ มีน้ำหนักมาก​ และหายากราคาแพง
@ms3394
@ms3394 2 жыл бұрын
โซเดียม​จากน้ำทะเล.. เอามาใช้ได้มั้ย.. ?
@meekwamsook
@meekwamsook 2 жыл бұрын
เทียบชั้นลิเทียมไม่ได้เลย แต่ถ้าเอามาทำเป็นตัวเก็บประจุสำหรับบ้านโซล่าเซลล์ก็น่าจะโอเคครับ เกรงแค่ว่าผลิตออกมาแล้ว ราคาและประสิทธิภาพจะสู้สั่งจากจีนไม่ได้เท่านั้นหล่ะครับ ยังงัยก็อยากสนับสนุนคนไทยครับ
@PopularTymn
@PopularTymn 2 жыл бұрын
อย่าพึ่งมองข้ามแบตเตอรี่ Zn-ion ปัจจุบันนักวิจัยกำลังพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดนี้ให้มีน้ำหนักลดลงเกือบเท่า Li-ion ด้วยการไม่นำ Zn มาทำ Anode แต่จะใช้วิธีเติม Zn ในปริมาณที่น้อยลงใน Cathode และ ใน Electrolyte แล้วยังมีราคาที่ถูกและปลอดภัยกว่าแบตเตอรี่ Li-ion อีกด้วย
@meekwamsook
@meekwamsook 2 жыл бұрын
@@PopularTymn ขอบคุณครับ ^_^
@suraponharindech4489
@suraponharindech4489 2 жыл бұрын
ฝีมือคนไทยอีกแล้ว เหมือนเดิม
@pornchaiporn9407
@pornchaiporn9407 2 жыл бұрын
ทำไมสถานที่ตั้งใช้พื้นที่น้อยจัง..ดูไม่เหมาะกับงานผลิตที่ยิ่งใหญ่สักเท่าไร..?
@CaptainDIY
@CaptainDIY 2 жыл бұрын
เป็นงานวิจัยครับ
@bshwhjshsh959
@bshwhjshsh959 2 жыл бұрын
โซเดี่ยม กับ แน่โพแทส น่าสนใจ
@CaptainDIY
@CaptainDIY 2 жыл бұрын
ติดเหมือนกันครับ
@Fight_me
@Fight_me 2 жыл бұрын
พัฒนาต่อไปเรื่อยๆครับ
@user-tx8xu3og7d
@user-tx8xu3og7d 2 жыл бұрын
อายุแบตตารี่​ กี่รอบไม่มีข้อมูล​ กิโวัตต์ต่อกิโลกรัม​ไม่มีข้อมูล​ สรุปโครงการแหกตาเอางบเฉยๆ
@oop2503
@oop2503 2 жыл бұрын
งบประมาณ บริษัทเขาลงทุนเอง ถ้าขาดทุนก็ขาดทุนเอง แล้วเขาจะแหกตาเอางบที่ใคร
@user-tx8xu3og7d
@user-tx8xu3og7d 2 жыл бұрын
@@oop2503 งบวิจัยและพัฒนาจากกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี​
@อุ่นใจอาละวาด
@อุ่นใจอาละวาด 2 жыл бұрын
ต้องมีคนหัวดีๆ มาคิดตอนขาย เอาแบบคนซื้อติดใจ
@somkiatsaeheng9287
@somkiatsaeheng9287 2 жыл бұрын
หมดไป 3 นาทีเพิ่งจะรู้ว่าไทยอาจจะขาดแคลนแบตเตอรี่เมื่อยามสงคราม
@user-pr2bl6ph9w
@user-pr2bl6ph9w 2 жыл бұрын
รอซื้อครับ ต้องการนำมาเปลี่ยนแบตตะกั่วกรด ใช้กับโซล่าเซลล์ครับ เร็วๆเลยรีบๆทำ หรือจะ ฟาวว์ๆๆๆๆๆๆ
@mr.halogogo714
@mr.halogogo714 2 жыл бұрын
สรุปคือวิจัยยังไม่เสร็จ แต่ตั้งโรงงานแล้วหรอครับ ???
@nuttdvm
@nuttdvm 2 жыл бұрын
ได้ยิงเสียงตุ๊กแกเนี่ย หันซ้ายหันขวาหาเลยครับ
@CaptainDIY
@CaptainDIY 2 жыл бұрын
5555
@OppoA-sp7bt
@OppoA-sp7bt 2 жыл бұрын
😁😁😁👍
@knowingcats3385
@knowingcats3385 2 жыл бұрын
เวลา 1:42 มี sound effect เป็นเสียงสัตว์ชนิดหนึ่งด้วย...ชอบจัง...555555
@CaptainDIY
@CaptainDIY 2 жыл бұрын
5555
@user-fs6mo8hu4v
@user-fs6mo8hu4v Жыл бұрын
ต้องโซลิตเสตรทตอบโจทย์​กว่ามีองค์ความรู้มากเพียงพอหรือยังเป็นงานยากแต่ก็ต้องมีเป้าหมายเพราะมันดีแต่เปราะบางแตกหักง่ายถ้าทำสำเร็จคือจุดเปลี่ยนแน่ๆ
@user-vm8ec1qc5c
@user-vm8ec1qc5c Жыл бұрын
ผมไม่รู้ว่า แบตแบบใหม่ๆที่คิดค้นขึ้นมา มันจะถูกกว่าของที่มีอยู่เดิมไหม ? ถ้าผลิตขึ้นมาแล้วยังมีคนใช้น้อยก็แพงอยู่ดี ผลิตแล้วรูปทรงต้องเหมือนแบตแบบเดิมที่สามารถใช้ทดแทนได้เลยโดยไม่ต้องโมดิฟาย แต่ของที่ผลิตรุ่นใหม่ๆออกมาไมเคยเห็นว่ามันจะถูกกว่ารุ่นเก่าเลยจริงไหม ถ้าไทยผลิตแบตได้เอง ผมว่าควรผลิตในรูปแบบใช้ควบคู่กับโซล่าเซลก่อนจะดีกว่า! ใช้เป็นพลังงานสำรองตามบ้าน ตามสำนักงาน ก็จะขายได้ แต่ถ้าเน้นใช้ในรถไฟฟ้า.อีกนานกว่าแบตในรถจะหมดอายุแล้วค่อยขายได้😀
@user-bt9zh2hk2i
@user-bt9zh2hk2i Жыл бұрын
ไม่ทำสักที ทำให้เสร็จก่อนครับค่อยโม้ ลมๆแล้งๆ เมื่อไรจะได้เห็นตัวตนสักที
@user-ev9qp3yl3s
@user-ev9qp3yl3s Жыл бұрын
เกรงว่าจะเหมือนวัคซีน โม้ไว้เยอะ ปัจจุบันยังไม่เห็นซักยี่ห้อ
@chillchill9653
@chillchill9653 2 жыл бұрын
ถ้าเราใช้แร่ โปรแตส แยก โซเดี่ยมออกจากโปรแตส ได้ไหม นำมาทำแบต หรือแยกส่วนผสมอื่นออก ให้อยู่ในรูปเกลือที่อยู่ในรูปแบบแข็งที่เป็นแร่
@OppoOppo-vt5ng
@OppoOppo-vt5ng 2 жыл бұрын
ต้องดูราคาด้วยครับสนใจครับ
@user-bb7pu5cd6f
@user-bb7pu5cd6f Жыл бұрын
ถ้าภาครัฐไม่สนับสนุนก็จบ เหมือนที่ผ่านๆมา
@user-ew2ud9qk1h
@user-ew2ud9qk1h 2 ай бұрын
อยากได้กระบะไฟฟ้าใช้งาน สมบุกทนทาน
@cashbu
@cashbu 2 жыл бұрын
ติชมนะครับ เหมือนอ่านหนังสือให้ฟังครับฟังแล้วห้าวนอนไปหลายรอบเลยครับอยากให้สรุปแล้วย่อยให้ฟังมากกว่าครับเนื่อหาใครผลิตใครวิจัย iso อะไรไม่จำเป็นครับ
@user-re2uu7nd7n
@user-re2uu7nd7n 5 ай бұрын
ต้องสร้างดีมานแบตเตอรีที่ผลิตขึ้นมาครับเพียงสร้างดีมานเครื่องมือไฟฟ้าขึ้นมาหนึ่งถึงสองชนิดแบตก็จะมีคนหาใช้ครับ
@user-vc5jk4yq6t
@user-vc5jk4yq6t 2 жыл бұрын
ไม่น่าจะได้แบตเตอรี่ที่ดีที่สุดน่าจะได้แค่มาตราฐานแบต
@user-ko5yl6xb1q
@user-ko5yl6xb1q 2 жыл бұрын
ดีกว่าแบตตะกั่วและทนกว่าแบตตะกั่วแน่นอน
@user-yw1pp1hv8w
@user-yw1pp1hv8w Жыл бұрын
ผมมีเรื่องสงสัยถามได้มั้ยครับ เกี่ยวกับความจุแบตเตอรี่ สมมุดว่าทำไมแบตเตอรี่ถึงเก็บไฟได้ 3V 1.5A คิดยังไงครับ หรือชาร์จไฟให้เต็มพอถึง 3V ไม่ขึ้น จ่ายกระแสเข้าไปในแบตเตอรี่ 1.5 A รึเปล่าครับ เค้าคำนวลยังไงครับ
@CaptainDIY
@CaptainDIY Жыл бұрын
แรงดัน ขึ้นอยู่กับชนิดของแบตเตอรี่ครับ เช่น LFP ก็จะ 3.2V ต่อ 1 cell แล้วก็ต้องดูว่ามาต่ออนุกรมกันกี่เซลล์ ส่วนความจุ ก็ขึ้นกับ รง. ผู้ผลิตว่ากำหนดว่า แบตชนิดนี้ รูปทรงนี้มีความจุเท่าไร จากนั้นก็ขึ้นกับว่า เอามาต่อขนานกันอย่างไร โดย รง. เค้าจะมีอุปกรณ์ในการทดสอบค่าความจุ ถึงจะระบุลงมาในสินค้าได้ครับ
@phichet7334
@phichet7334 2 жыл бұрын
ผมสนใจแบตรี่แรงดันด่ำ ที่ใช้กักเก็บพลังงานจากแผงโซล่าเซล สำรองไว้ใช้กับระบบแสงสว่างในยามค่ำคืน เพราะอุปกรณ์แบตรี่บัจจุบันมีอายุการใช้งานแค่1-2ปีเอง
@penka6927
@penka6927 Жыл бұрын
ทำแล้ว ให้คนไทยใช่ได้จริง ราคาถูกบ้าง ดูน้ำมันซิ แพงกว่าชาติใดในโลก ในมมคนไทย
@ampipimpa6487
@ampipimpa6487 2 жыл бұрын
ไช้กับรถยนต์มอเตอร์ไชได้ก็สุดยอดแล้วครับถูกด้วย
@user-pk6sl1bm9q
@user-pk6sl1bm9q 2 жыл бұрын
อีกหน่อยต้องแย่งน้ำทะเลมาผลิตแบตเตอรี่
@midhhg
@midhhg 2 жыл бұрын
ถ้าเอกชนเข้าถึง.ก็ขายแพงเหมือนเดิม
@user-jl2dt4lh7k
@user-jl2dt4lh7k 2 жыл бұрын
ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ
@thanatheps8084
@thanatheps8084 2 жыл бұрын
😬👌
@rungmeksutud4497
@rungmeksutud4497 Жыл бұрын
ทีเดียวครับ
@laddakhuankham7700
@laddakhuankham7700 Жыл бұрын
ขอให้รัฐสนับสนุนให้มากๆทุกๆการคิดค้น
@windsvalleyofpeace4730
@windsvalleyofpeace4730 2 жыл бұрын
เกมพลิก!!!ถ้าทำได้ไทยจะเป็นศูนย์กลางผลิตรถอีวีเหมือนที่เป็นดีทรอยต์แห่งเอเซียตอนนี้ได้เลย
@BamesMyZ
@BamesMyZ 2 жыл бұрын
เราต้องช่วยกัน ,
@user-ev9qp3yl3s
@user-ev9qp3yl3s Жыл бұрын
ถ้าทำได้ถึงขนาดนี้ ทำไมไม่สร้างแบรนด์รถยนต์เป็นของตัวเองไปเลยละ คิดจะรับจ้างผลิตให้ชาวบ้านไปตลอดชีวิตรึไง
@MrLemonchang
@MrLemonchang 2 жыл бұрын
สังกะสีนี่มันจะเอามาทำถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่กันแน่ ปกติพวกทำแบตเตอรี่มันต้องเป็นธาตุแถวแรกนิ
@user-tl9en2np7x
@user-tl9en2np7x 2 жыл бұрын
แบตเตอรี่เพชร ของต่างประเทศที่ผลิตที่อังกฤษ จะออกใช้ปีหน้า 2023 เป็นที่ทำจาก กากนิวเคลียร์ ใช้ได้นานถึง 2พันปี แต่จะใช้ได้จริงรึเปล่าผมก็ไม่รู้ ท่าจริง รับรองโรงงานทั่วไปเจ๊งแน่ๆ
@user-fw2tx1ff5r
@user-fw2tx1ff5r 2 жыл бұрын
ทำพอเป็นข่าวก็หายไม่มีอะไร
@user-yw1pp1hv8w
@user-yw1pp1hv8w Жыл бұрын
โพแทชเซียม เหง้ามันสำปะหลังนำมาผลิตแบตเตอรี่ได้มั้ยครับ
@aistelewiz2942
@aistelewiz2942 2 жыл бұрын
ทำขายเลยอย่าช้า เอามาใช้กับโซล่าเซลล์
@bigmchayraksa9192
@bigmchayraksa9192 2 жыл бұрын
อีก20ปีก็จับต้องไม่ได้ ที่เดียวกับตรวจGT200
@supmango1627
@supmango1627 2 жыл бұрын
อันนั้นผลิตที่อังกฤษครับ ไม่ได้ผลิตในไทย
@OppoA-sp7bt
@OppoA-sp7bt 2 жыл бұрын
ถูกอังกฤษต้ม.
@user-yg4tj9js6l
@user-yg4tj9js6l 2 жыл бұрын
สนับสนุนล้าน% เล้ย ?
@kidsadaphengkong9266
@kidsadaphengkong9266 Жыл бұрын
ขายสักที่เถอะเห็นข่าวนานแล้วไม่ขายสักที
@aukritdajsiriwong1649
@aukritdajsiriwong1649 2 жыл бұрын
รีบเร่งแจ้งอีรอนมักมาตั้งเมกกะแฟกตอรีล้านคันต่อปี
@rungmeksutud4497
@rungmeksutud4497 Жыл бұрын
เอาแบตดีดีราคาถูกมาช่วยคนไทยบ้างเนอะ
@eminame
@eminame 2 жыл бұрын
แบตเเบลิเที่ยมเขาเอานำกลับมาใช้ใหม่ได้นิครับ
@CaptainDIY
@CaptainDIY 2 жыл бұрын
10ปี ขั้นต่ำครับ กว่าจะมาถึงกระบวนการรีไซเคิล
@lockon2022
@lockon2022 2 жыл бұрын
น่าจะเน้นการชาร์จไวมากกว่าระยะทางครับ
@nantiphthai6982
@nantiphthai6982 2 жыл бұрын
งบประมาณลงทุนค่อนข้างสูงโดยไม่จำเป็น งานวิจัยควรให่มหาลัยดำเนินการไปก่อน เมิ่อชัดเจนแล้วค่อยทำโรงงานต้นแบบเพื่อผลิต
@1770600194029
@1770600194029 2 жыл бұрын
ถ้าคิดแบบนี้คงไม่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นแน่นอน😔😞🥹
@pannatatjuthasmith239
@pannatatjuthasmith239 2 жыл бұрын
น่าเสียดาย ที่มุ่งเป้าแค่ แบตเตอรี่ ทำไม ไม่มุ่งเป็า เซลล์เชื้อเพลิง ด้วยละ พัฒนาให้มัน ง่าย ถูกลง ประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม และ อายุการใช้งานที่ทนนทาน.....ทำไมไม่ทำล่ะ หรือ ต้องเกรงใจ นกม. ขรก. ต่างชาติ......ที่กินผลประโยชน์อยู่กับ ธุรกิจพลังงานผูกขาดเดิมๆ หรือเปล่า ( รฟฟ. บ.ถ่านหิน บ.ปิโตรเลียม ) ใช่ไหม...?
@jester.j6984
@jester.j6984 Жыл бұрын
ไม่ใช่ว่า fuel cell เราไม่ทำนะ ลองหาข้อมูลดูเถอะ เราทำและทำได้แล้ว อยู่ที่จะพัฒนาให้เป็นไปในรูปแบบใด บริษัทที่ผลิตและเก็บไฮโดรเจนเพื่อจำหน่ายก็มีแล้ว ถือได้ว่าเตรียมพร้อมไว้ในระดับหนึ่ง แต่เวลานี้ต้นทุนยังสูงอยู่ trendมันยังไม่มา. โรงไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิงที่บริษัทไทยร่วมทุนกับต่างชาติก็มีทำกันอยู่ในต่างประเทศ
@pannatatjuthasmith239
@pannatatjuthasmith239 Жыл бұрын
@@jester.j6984 สำหรับการผลักดัน FCEV ที่เหนือกว่า รถเสียบปลั๊ก EV ยังหรอกครับ นั่นเพราะ ( นกม. นานทุน ต่างชาติ ) ทั้งในและนอก ยังมีผลประโยชน์อยู่กับ พลังงานผูกขาดเก่าๆ ( รฟฟ. ถ่นหิน ปิโตรเลียม ) ปชช. จะดูได้จาก - สื่อ ที่อยู่ในการคอนโทรล เวลาพูดถึง รถไฟฟ้า... จะตัดประเด็นตีกรอบให้ ปชช.ไปลงที่ รถเสียบกลั๊ก BEV อย่างเดียว และ ผลักรถ FCEV ออกไป...ให้พ้นจากสายตา ปชช. หรือ ถ้าจะพูด ก็จะพูด แบบให้ข้อมูลไม่ครบ และ มักเรียกว่า รถไฟฟ้าแบบ FCEV ว่า รถไฮโดรเจน แทน แทนที่จะพูดให้ถูกต้องว่า รถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง ##### ตรงจุดนี้แหละ สร้างความสับสน ให้กับ ปชช. ที่ไม่มีข้อมูลความรู้หลายๆคน......พลอยนึกไปว่า FCEV คือ รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน ที่ใช้ไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมัน ซึ่งความจริง FCEV นั้นมันคนละเรื่องกันเลย - ทำนองเดียวกันกับเรื่อง .......NGV ที่กลุ่มทุนผูกขาด ไม่ยอมพูดชื่อมันตรงๆ ว่า แกสมีเทน หรือ CH4 ว่ามีเทนที่ขาย ให้รถแทกซี่อยู่นั้น เป็น มีเทนที่ได้จาก ปิโตรเลียม และ เป็น มีเทน ชนิดเดียวกับ กาซชีวภาพ ที่ได้จากการหมักมูลสัตว์ หมักขยะ และ ซากพืชซากสัตว์ / คงเพราะกลัวว่า.... ปชช.จะเรียกร้อง ให้มีการผลิตไบโอมีเทน แบบนี้ จาก ( ขยะ และ เศษวัสดุการเกษตร ) แทนที่ มีเทน จากการกลั่นแยกปิโตรเลียม ที่นายทุนผูกขาดพวกนี้ได้ผลประโยชน์กันอยู่ - รวมถึงชนิดของรถไฟฟา แบบ FCEV อีกชนิด ที่สื่อพวกนี้แทบจะไม่เคยพูดถึงเลย นั่นคือ [ รถไไฟ้าแบบ เซลล์เชื้อเพลิง เอทานอล ] จริงแล้ว โครงงานวิจัยนี้ มีมานานแล้ว ในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งหนึ่ง แต่กลับพับฐานเงียบหายไป แล้ว ถูกแทนที่ด้วยงบ จากการไฟฟ้า.....ให้สถาบัน ไปทำการวิจัยเรื่อง การแปลงรถยนต์เก่า ให้เป็นรถไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊ก หรือ BEV แทน เพื่อกะจะให้เป็นโครงงานนี้ เป็นต้นแบบ ให้บรรดาอู่รถที่มีศักยภาพทั้งหลาย เอาไปทำธุรกิจ...การดัดแปลงต่อนั่นเอง นั่นเพราะ พวกตน จะได้ประโยชน์จากการขายไฟให้รถพวกนี้ไง ชัดนะ แต่ ผลที่ออกมานั้น จากโครงงานนี้..... ทุเรศมาก ค่าโมดิฟายแพง ชาร์จนาน วิ่งได้ระยะทางสั้น แต่ แบตราคาแพง และ อายุสั้นอีก #### แต่ กรณีเรื่องเซลล์เชื้อเพลิง เอทานอล ที่เงียบหายไปนั้น.........กลับไปโผลในค่ายนิสสันแทน ตลกมากเลย - ส่วนการผลิต กรีนไฮโดรเจน และ กรีนเอทานอล....สำหรับ รถไฟฟ้าแบบ FCEV นั้น นักวิชาการพวกนี้ ก็พูดความจริงไม่ครบอีก // พวกนี้แทบจะไม่เคยพูดถึง รถไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิงเอทานอลเลย และ พวกนี้ จะพูดดแบบตัด ประเด็นให้ ปชช.เห็นแต่ จากผลิตไฮโดรเจน จากการกลั่นแยกปืโตรเลียม เท่านั้น การผลิตกรีนไฮโดรเจน....ที่ได้จากการรีฟอร์ม ไบโอมีเทนที่ได้จาก ขยะ และ เศษวัสดุการเกษตร ด้วยพลังงานสะอาด แบบครบวงจร ถูกตัดออกไป / นั่นเพราะ กระบวนการสะอาดเหล่านี้ สามารถแยกหน่วยผลิตไปตั้งในที่ต่างๆได้ ในที่ๆเหมาะสมได้ ระบบแบบนี้ จำทำให้ กลุ่มทุนผูกขาดพลังงานเดิม ไม่สามารถรวมศูนย์ผูกขาดการผลิตแบบการกลั่นแยก ปิโตรเลียม ได้อีกต่อไปไง ชัดนะ
@atelut
@atelut Жыл бұрын
ภาครัฐคงไม่สนับสนุน เพราะนายทุนจะเสียผล ประโยชน์
@MrKatchaDaetrrom
@MrKatchaDaetrrom 2 жыл бұрын
ใช้แบบระบบ ไฮบริดทั้ง 3 ธาตุเลยไม่ได้เหรอพี่
@user-wc7fi6gx6r
@user-wc7fi6gx6r 2 жыл бұрын
ถ้ามีระบบรองรับแบตทุกชนิด จะทำให้ต้นทุนรถไฟฟ้าแต่ละคันเพิ่มขึ้นนะครับ T_T
@user-hy7qg5hf9z
@user-hy7qg5hf9z 2 жыл бұрын
ไม่เห็นผลิตขายซักที
@user-wc7fi6gx6r
@user-wc7fi6gx6r 2 жыл бұрын
ถ้าจำไม่ผิด ช่วงที่ คสช เข้ามาบริหารประเทศปีแรกๆ กำลังจะปล่อยสัมปทานเหมืองแร่โปรแตสให้กับ บริษัทจีน ถ้าเกิดใช้โปรแตสทำแบตได้จริง มันก็ไม่ควรปล่อย ทรัพยากรสำคัญให้กับต่างประเทศ เหมือนที่จีนจำกัดการส่งออก แร่เอริธ และเก็บไว้ซัพพอต อุตสาหกรรมในประเทศเท่านั้น ดีที่ช่วงนั้นมีการต่อต้าน ไม่ให้เกิดการปล่อยสัมปทานทรัพยากรธรรมชาติจนหมดไม่งั้นก็เหมือนลาว จีนเข้ามาทำเหมืองทอง 3-4ปี ทองก็หมดเหมือง T_T
@pakkangwon4628
@pakkangwon4628 2 жыл бұрын
แบบนี้ก็เผด็จการเทียมซิ ประท้วงหน่อยก็ยอมล่ะ หน้าบางกว่าพวกนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอีก
@user-wc7fi6gx6r
@user-wc7fi6gx6r 2 жыл бұрын
@@pakkangwon4628 ใครบอกยอมครับ เอาทหารไป กันคนประท้วง จับคนประท้วง สุดท้าย เอา 112 ไปจับ คนที่รับรางวัลเยาวชนต้นแบบ ที่ออกมาต่อสู้ เรื่องเหมืองทองที่ เลย เพราะไปขวาง การสัมประทาน สุดท้าย ราคาโปรแตส มันตกต่ำ นะครับ ลงทุนไม่คุ้มเค้าเลยไม่ ทำ นะครับ T_T
@bigchanelth7285
@bigchanelth7285 2 жыл бұрын
ไม่จำเป็นต้องไฟฟ้า100% แค่ใช้ไฟฟ้าร่วมกับน้ำมัน แค่นี้ก็ประหยัดมากแล้ว
@LoveLove-ue8rb
@LoveLove-ue8rb Жыл бұрын
ทำไม่ให้ข้อมูลไม่ตรงกัน ดูบางช่องบอกวัตถุดิบมีเยอะ
@user-qv1he3xy8e
@user-qv1he3xy8e Жыл бұрын
เดี๋ยวก็เอาไปอิงตลาดสิงคโปอีก
@user-gj4zv6vi5m
@user-gj4zv6vi5m Жыл бұрын
อารัมภบทนานไป
@user-ou8xs5ur1z
@user-ou8xs5ur1z 2 жыл бұрын
รีบๆทำครับ ช้าไปเสร็จประเทศจีนหมด มัวแต่โชว์ ไมทำซักที
@passaponarayakosol4772
@passaponarayakosol4772 Жыл бұрын
ถ้ามันราคาถูกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเราก็ใช้ถอดเปลี่ยนเอาไม่ต้องชาร์จให้เสียเวลา
DO YOU HAVE FRIENDS LIKE THIS?
00:17
dednahype
Рет қаралды 88 МЛН
LOVE LETTER - POPPY PLAYTIME CHAPTER 3 | GH'S ANIMATION
00:15
1 or 2?🐄
00:12
Kan Andrey
Рет қаралды 50 МЛН
Какая погода у тебя за окном? У нас вчера был ураган!
0:40
🤣МАЛО КУПИТЬ ЛОШАДЬ
0:18
Бутылочка
Рет қаралды 6 МЛН
Найди Влада на стадионе
0:26
ЛогикЛаб
Рет қаралды 4,2 МЛН
🚓КОПЫ явно такого НЕ ЖДАЛИ🫣#shorts
0:19