No video

Live: Dementia and caring for the elderly

  Рет қаралды 195,032

Doctor Tany

Doctor Tany

10 ай бұрын

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 217
@thisisnathathai
@thisisnathathai 10 ай бұрын
Live เรื่องสมองเสื่อม และการดูแลผู้สูงอายุ ความจำเสื่อมเกิดขึ้นได้ยังไง ทำไมความจำถึงเสื่อม? ➤ความจำเสื่อมมันไม่ได้มีแค่อัลไซเมอร์อย่างเดียว มันมีโรคอีกเยอะแยะไปหมดเลย แต่ถ้าเรามาลองคิดกันดูว่าความจำของเรามันเกิดขึ้นได้ยังไงตรงนี้สำคัญ? ➤ความจำของเราก็คือมันเป็นการที่สมองส่วนต่างๆทำงานร่วมกัน เก็บข้อมูลร่วมกันและมีการคุยกันระหว่างส่วนต่างๆของสมอง ถ้าวงจรนี้มันเสียไปก็จะทำให้เรามีปัญหาทางด้านความจำ แล้วอะไรที่ทำให้มันเสียไป? ➤ เช่นถ้าเรามีสารอะไรเข้าไปทำลายตลอดเวลา คนที่กินเหล้าเยอะๆ สูบบุหรี่เยอะๆหรือเดี๋ยวนี้อาจจะมีเรื่องของ PM 2.5 ที่เราสูดดมเข้าไปก็อาจจะมีผลต่อทางด้านความจำระยะยาวคือเซลล์มันตายนั่นเอง หรือถ้ามันไม่ได้มีสารพิษแต่เซลล์มันได้อาหารไม่เพียงพอ เช่นเส้นเลือดเรามีปัญหา คนที่เป็นเบาหวาน ความดัน ไขมันสูงแล้วไม่รักษาให้ดีเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณต่างๆของสมองมันไม่ดี พอไม่ดีปุ๊บเซลล์มันก็แย่ได้ หรือบางคนความดันสูงมากๆแล้วเส้นเลือดแตกในสมอง หรือแตกบ่อยๆ บางคนมันไม่ได้แตกตู้มเดียวเป็นก้อนใหญ่ๆเลยนะครับไม่เหมือนกับในหนังที่บางคนก็ปวดหัวมากเส้นเลือดแตกไปเลยแล้วก็เสียชีวิตไปเลยแบบนี้คนละอย่างกัน บางคนจะมีการเลือดออกเล็กๆน้อยๆ บางคนไปสแกนสมองแล้วคุณหมอเขาจะบอกว่าเนี่ยมีจุดเลือดออกเล็กๆนะเยอะแยะไปหมดเลยพวกนี้รักษาไม่ได้นะครับมันเป็นเพราะว่าท่านไม่ได้คุมเรื่องของความดัน ไขมัน เบาหวานมาตั้งแต่แรกแล้วมันมาเกิดเอาตอนนั้นนะครับ แต่อีกกรณีที่เกิดขึ้นก็คือมันมีโปรตีนอันนึงในสมองที่มันสะสมอยู่ตรงนั้นเรียกว่าอะไมลอยด์ (Amyloid) พวกนั้นมันทำให้มีเลือดออกในสมองแล้วก็มีปัญหาทางด้านของความจำเสื่อมได้นะครับ เรื่องของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง เรื่องของสิ่งที่มาทำลายเซลล์พวกนี้ อีกอย่างนึงซึ่งมาทำลายได้ก็คือการกระทบกระเทือนทางสมอง เช่นนักกีฬาชกมวยโดนต่อยบ่อยๆ หรือว่าเราเคยมีรถล้มแล้วเลือดออกในสมองต้องผ่าตัดหรืออะไรพวกนี้ก็จะมีการกระทบกระเทือนสมองซึ่งในอนาคตอาจจะมีปัญหาทางด้านของสมองมันเสื่อมไปก็ได้ ความจำก็อาจจะมีปัญหา การเคลื่อนไหวก็อาจจะผิดปกติ พวกนี้ก็คือเป็นสิ่งที่เราเจอได้
@thisisnathathai
@thisisnathathai 10 ай бұрын
1️⃣ นอกเหนือจากนี้ อีกอย่างนึงซึ่งมันเป็นแล้วมันหายได้ก็คือเรื่องของการเกิดโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าหรือว่าโรคไทรอยด์ที่มันมีปัญหาพวกนี้ก็จะมีผลต่อความจำได้เหมือนกัน ยาบางชนิดจะมีผลต่อความจำ หรือบางคนกินยาเยอะๆหลายๆตัวก็จะมีผลต่อความจำเช่นกัน บางคนหยุดยาปุ๊บมันก็ดีขึ้น รักษาซึมเศร้าเสร็จปุ๊บมันก็หาย รักษาเรื่องของไทรอยด์ผิดปกติมันก็หายได้เหมือนกัน ดังนั้นจะมีความจำเสื่อมชนิดที่มันหายได้ แล้วก็ความจำเสื่อมชนิดที่ไม่หาย เรารู้แล้วว่าถ้ามีสารไปทำลายมันมันก็แย่ ถ้าอาหารที่ไปเลี้ยงมันไม่พอมันก็แย่ได้ ถ้ามีการไปกระทบกระแทกก็มีปัญหา ถ้ามียาบางตัวที่ไปเปลี่ยนแปลงความทรงจำพวกนั้นก็ยิ่งแย่ หรือคนที่ไม่ค่อยใช้สมองเลยพวกนี้ก็คือยิ่งนานวันจะยิ่งแย่ พวกที่วันๆอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรเลย ไม่มีอะไรที่คิด ไม่ได้โต้ตอบกับคนพวกนี้ก็จะความจำเสื่อมได้ง่ายขึ้นกว่าๆคนปกติทั่วๆไป นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นความเสื่อมซึ่งเกิดจากตัวพันธุกรรมตัวเซลล์ของเราเอง พวกนี้เนี่ยมันเป็นพันธุกรรมแล้วถ้ามันเป็นพันธุกรรมเนี่ยมันแก้อะไรไม่ได้ แต่ว่ามันก็จะมีวิธีที่ชะลอมันได้เหมือนกัน ดังนั้นพวกนี้คือสาเหตุที่ทำให้เกิดความจำเสื่อมคร่าวๆนะครับ ก็แน่นอนว่ายังมีสาเหตุอื่นๆซึ่งผมอาจจะยังไม่ได้ครอบคลุมเท่าไหร่นะครับแต่เวลาที่เราคิดถึงอวัยวะอะไรสักอย่างเสื่อมเนี่ยเราคิดถึงว่ากระบวนการของเซลล์มันเสียไปนะครับ 1 ด้วยอายุ 2 ด้วยพันธุกรรม 3 ด้วยสิ่งที่ไปทำลายมัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทางกายภาพ เช่นการโดนกระแทกหรือเป็นสิ่งที่มันเป็นเล็กๆนะครับ PM 2.5 หรือพวกเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดพวกนี้ที่มันมีปัญหา สารเคมีในสมองไม่สมดุลโรคซึมเศร้าพวกนี้เป็นต้น หรือฮอร์โมนต่างๆที่มันผิดปกติไป ไทรอยด์มีปัญหา เส้นเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอนะครับพวกนี้คือเหตุผลที่ทำให้สมองของเรามันเสื่อม นอกจากนี้ยังมีการติดเชื้อบางชนิดเช่น HIV หรือเชื้อซิฟิลิส (Syphilis) บางทีมันก็จะมีผลต่อสมอง การขาดสารอาหารบางประเภท เช่นวิตามินบี 12 ถ้าขาดเยอะๆก็จะมีปัญหาได้เหมือนกัน ซีลีเนียม (Selenium) ทองแดง (Copper) ถ้าขาดพวกนี้ก็จะมีปัญหาได้ แต่มันไม่ได้แปลว่าเราไปกินในของพวกนั้นเกินแล้วสมองเรามันจะดีเหมือนเดิมนะครับมันไม่ใช่แบบนั้น
@thisisnathathai
@thisisnathathai 10 ай бұрын
2️⃣ ยาที่มีผลต่อความจำ ยาอะไรบ้างตรงนี้สำคัญเพราะว่ายาเหล่านี้ถ้าหยุดแล้วบางคนความจำดีขึ้นได้ เพราะความจำเสื่อมนั้นมีความจำเสื่อมที่มันไม่หาย กับความจำเสื่อมที่มันหายได้ สำหรับความจำเสื่อมที่มันหายได้นั้นถ้าเราเอาปัจจัยที่ทำให้มันเป็นออกไปมันก็จะหายดี เช่น เรามีโรคซึมเศร้าแล้วเรารักษาบางคนความจำไม่ดีเพราะว่าเป็นโรคซึมเศร้าสมาธิมันเลยไม่มี เราเอาตรงนี้รักษาเสร็จปุ๊บความจำเขาก็กลับมาดีเป็นต้น 💊ยาต่างๆที่ทำให้เราง่วงนอนทุกชนิดเลยมันจะทำให้เรามีปัญหากับความจำได้ หมายความว่ายานอนหลับทุกตัวที่ท่านกำลังทานอยู่ไม่ว่าตัวไหนก็แล้วแต่ไม่มีตัวไหนที่ปลอดภัยไม่มีผลต่อสมอง ไม่มีตัวไหนเลย ตัวที่อาจจะพอปลอดภัยบ้างแต่ว่าผลของมันก็ไม่ค่อยดีก็ยกตัวอย่างเช่น เมลาโทนิน อย่างนี้เป็นต้นกลุ่มเมลาโทนินพวกนี้ก็จะทำให้นอนหลับได้ แต่ว่าบางคนก็จะมีปัญหาเหมือนกันก็คือเมลาโทนินถ้าไม่เคยกินมาก่อนแล้วไปกินโดสขนาดเยอะๆมันจะมีฝันเยอะมากเลย บางคนฝันน่ากลัวก็มีเหมือนกัน ทำให้ยิ่งรู้สึกนอนแล้วมันไม่เต็มอิ่มสักที ยานอนหลับ ยาทุกอย่างที่ทำให้ง่วงทุกชนิดเลยไม่ว่าใครจะพูดชนิดไหนมาพวกนั้นมีผลต่อความจำทั้งหมด 💊ยาแก้แพ้ ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) ตัวที่กินแล้วง่วง ตัวไหนที่ไม่ง่วงไม่ค่อยมีปัญหา ตัวที่ง่วงนี่แหละจะมีปัญหาเช่น CPM อาทาแรกซ์ (Atarax) เซทิริซีน(Cetirizine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ยาไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) หรือ ดรามามีน (Dramamine) ยาพวกนี้กินแล้วก็จะมีผลต่อเรื่องของความจำได้ คือยาพวกนี้ถ้าเราใช้ในคนที่อายุน้อยเนี่ยไม่ค่อยมีปัญหา มันจะมีถ้าไปใช้ในคนอายุเยอะเพราะว่าร่างกายของเขาขับยาออกไปได้ช้ากว่าคนที่อายุน้อย ยามันก็จะมีผลได้นานกว่าแล้วถ้ายิ่งมีปัญหาต่อเรื่องของสมอง เรื่องความจำเสื่อมอยู่แล้ว แล้วเอายาตัวนี้เข้าไปใส่อีกเนี่ยก็จะมีปัญหายาวกว่าคนทั่วไป บางทีหยุดไปวันสองวันแล้วมันยังไม่หายก็มี แล้วพวกยาพวกนี้ทำให้เขามีปัญหาเรื่องของการเพ้อ สับสน Delirium ยิ่งทำให้เป็นเยอะขึ้น ยาต้านฮีสตามีนทุกตัวที่ทำให้ง่วง ยานอนหลับทุกตัวที่ทำให้ง่วง ยาทางด้านจิตเวชทุกตัวที่ทำให้ง่วงจะมีผลต่อความจำหมดเลย 💊อีกอย่างนึงก็คือเป็นยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก (Anticholinergic) คือโคลีนมันเป็นทางระบบประสาทอัตโนมัติอย่างหนึ่งนะครับซึ่งทำให้มีสิ่งคัดหลั่งในร่างกาย เช่นน้ำตาออกมาก มีท้องเสียได้ถ้าสารตัวนี้มันเยอะเกินอาจจะมีท้องเสีย ปัสสาวะบ่อยปัสสาวะเยอะ หรือคลื่นไส้อาเจียนได้ เสมหะเยอะ ยาที่ไปต่อต้านในสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้ท่านมีปัญหาทางด้านความจำได้ ยกตัวอย่างเช่น ย Oxybutynin (ออกซีบิวไทนิน)) ที่ใช้ในคนที่มีปัสสาวะบ่อยแล้วหาสาเหตุไม่ได้เราให้กิน Oxybutynin เพื่อที่จะให้ปัสสาวะไม่บ่อยอันนี้ก็เจอแต่คนแก่เยอะเหมือนกัน คนแก่ปัสสาวะรั่วบ่อยก็กลัวมันเป็นโรคนี้หรือเปล่า หมอบอก “เอายานี่ไปกิน” ก็มีปัญหาต่อความจำได้ ยาแก้ปวดท้อง ไดไซโคลมีน (Dicyclomine) ไฮออสซีน (Hyoscine) พวก บุสโคพาน® (Buscopan®) แก้มวนท้องแก้ปวดท้องกินต่อเนื่องกันยาวๆจะมีปัญหาต่อความจำได้
@thisisnathathai
@thisisnathathai 10 ай бұрын
3️⃣ 💊อีกอย่างนึง Antihistamines ไม่ใช่มีแค่ยาภูมิแพ้นะครับ มันมียาโรคกระเพาะที่เป็น Antihistamines เช่น รานิทิดีน (Ranitidine) ฟาโมทิดีน (Famotidine) ยิ่งให้คนอายุเยอะๆกินยาพวกนี้มีผลต่อสมองได้เช่นกัน เล็กๆน้อยๆแต่ว่าหลายคนไม่ได้คิดถึง นอกเหนือจากนี้อีกประการหนึ่งซึ่งเราเจอกันบ่อยเลยก็คือการที่คนสูงอายุเนี่ยกินยาหลายๆตัว ตรงนี้ต้องแบ่งประเด็นให้ดีนะครับ ไม่ใช่ว่าเรากินยาอยู่แล้วเราอยากจะไปหยุดให้หมดเลยไม่ได้นะครับ การกินยาหลายตัวในผู้สูงอายุ เรียกว่า Polypharmacy ยาแต่ละตัวมันมีผลข้างเคียงของมันเอง การที่เอามารวมกันหลายๆตัวบางผลข้างเคียงของมันเยอะแยะไปหมดรวมกันเยอะๆ หรือว่าบางตัวก็ไปมีผลต่อยาอีกตัวนึงแล้วเอาไปใส่ในคนที่อายุเยอะๆก็จะเกิดปัญหาต่างๆขึ้นมา เช่นมึนงง สับสน หลอน ความจำก็จะผิดปกติไป เวลาที่เราเจอคนไข้สูงอายุพวกนี้สิ่งที่เราดูก็คือยาเหล่านั้นยังมีประโยชน์กับคนไข้อยู่อีกหรือไม่ ตรงนี้สำคัญ “มันมีประโยชน์อีกหรือไม่” เช่น คนไข้อายุ 85 ปี ความจำเริ่มมีปัญหา แล้วก็กินยาเบาหวาน ความดัน ไขมันทุกๆอย่างเยอะแยะไปหมด แต่เราลองมาดูแต่ละตัว เช่น เรากินยาไขมันไปเพื่ออะไรในคนอายุ 85 ปี? ➤ยาไขพวกนี้มันเอาไว้ป้องกันโรคหลอดเลือดต่างๆ ทั้งสมอง หัวใจ หลอดเลือดส่วนปลาย ในระยะเวลา 5 ปี 10 ปีคนไข้คนนี้จะมีอายุยืนยาวอีก 5 ปี 10 ปี หรือเปล่า ถ้าเขาเป็นผู้ป่วยติดเตียงผมหยุดยา Statin หยุดยาไขมันให้หมดเลย มันไม่มีประโยชน์ใดๆกับเขาแล้ว เอาออกไปได้ตัวนึงก็ดี แต่บางตัวมันอาจจะจำเป็นเช่น ยาเบาหวานและคนไข้ก็ยังน้ำตาลปริ่มๆหยุดปุ๊บน้ำตาลขึ้นทันที พวกนี้ก็ต้องกินต่อเพราะแปลว่ามันยังมีความจำเป็นอยู่ เพราะทุกครั้งที่น้ำตาลคุมไม่ได้ก็จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในร่างกาย ความเสี่ยงต่อการสับสนพวกนี้ก็จะมากขึ้น ปัญหาต่างๆก็จะเยอะขึ้น หรือยาลดความดัน เราต้องมาดูว่าความดันของเขาคุมได้ดีหรือเปล่า ถ้าคุมได้ดีเราค่อยๆๆลดยาลงมาให้มันน้อยที่สุดจะดีกว่า ถ้าเกิดความดันยังคุมไม่ได้ก็ต้องกินยาต่อไปเท่านั้นเองนะครับ ดังนั้นยาพวกนี้เวลาที่เรามาเจอในคนอายุเยอะเราต้องมาดูแต่ละตัวว่ามันมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนถ้ามันไม่จำเป็นเราค่อยๆถอยมันออกมานะครับ ถ้ามันยังจำเป็นอยู่กินมันต่อไปนะครับ 💊นอกเหนือจากนี้ยาที่คนอายุเยอะมักจะใช้แล้วมีผลต่อความจำก็คือพวกยาแก้ปวดเมื่อยหลายๆตัว ยาคลายกล้ามเนื้อ บางคนขอกินยาคลายกล้ามเนื้อ โทลเพอริโซน (Tolperisone) บาโคลเฟน (Baclofen) Flexeril พวกนี้มีผลต่อความจำหมดเลย ยากคลายกล้ามเนื้อต่างๆต้องระวังให้ดี
@thisisnathathai
@thisisnathathai 10 ай бұрын
4️⃣ ดังนั้นพวกยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยานอนหลับ ยาที่มีผลต่อจิตประสาท ยาแก้แพ้ที่กินแล้วง่วง พวกนี้มีผลต่อความทรงจำถ้าเราสามารถหยุดมันได้ความจำมันก็มักจะดีขึ้น หรือถ้าเราลองขอหมอเขาเปลี่ยนไปเป็นตัวอื่นก็จะสามารถช่วยได้นะครับ ตรงนี้ต้องคุยกับคุณหมอก่อนนะครับไม่ใช่ว่าอยู่ๆเราหยุดเอง เหตุผลเพราะว่าเราไม่เข้าใจเรื่องพื้นฐานทางด้านการแพทย์ ถ้าเราไปหยุดยาอะไรเองบางทีมันเกิดอันตรายอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาโดยที่เราไม่อยากให้มันเกิดมันก็เกิดนะครับ ยาทุกอย่างที่เราใช้ในโลกนี้ไม่ว่าจะอะไรก็แล้วแต่มันมีข้อดีข้อเสียเสมอนะครับ เราจะใช้ก็ต่อเมื่อข้อดีของมันมากกว่าข้อเสีย มันหมายความว่าเราใช้มันต้องมีข้อเสียแน่ๆ ชัดๆอย่างนี้เลย มันต้องมีข้อเสียแน่ๆ แต่ข้อดีมันเยอะกว่าเราก็ต้องใช้ แต่ถ้ายาที่มันมีข้อเสียมากๆเราก็ไม่ควรจะใช้เราควรจะหยุดมัน เพราะข้อดีมันน้อยกว่าถูกไหมครับแต่ไม่ได้แปลว่ามันไม่มีข้อดีนะครับ โลกนี้มันเทาๆแบบนี้นะครับมันไม่มีแบบดำกับเขาเป๊ะๆนะครับ นี่คือเรื่องของยาที่มันมีปัญหานะครับ สรุป เรื่องสมองเสื่อม เวลาที่เป็นสมองเสื่อมความจำเสื่อม ➤ข้อแรกก็คือเรื่องของความจำระยะสั้นและการเรียนรู้มันจะเสียไปก่อ นความจำระยะยาวเนี่ยจะเสียไปทีหลังเขาจะพูดซ้ำแต่เรื่องเดิมๆ ➤ถ้ามันมีเรื่องอื่นเข้าไปด้วยก็อาจจะมีเรื่องของการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ พฤติกรรมที่ผิดปกติ สิ่งที่เคยทำได้ก็อาจจะทำไม่ได้ ➤เรื่องของการนอนหลับที่มันมีปัญหาไปบ้าง ความจำเสื่อมไม่ได้มีแต่โรคอัลไซเมอร์อย่างเดียวนะครับมันจะมีความจำเสื่อมจากเหตุผลอื่นด้วย เวลาที่เราเป็นความจำเสื่อม เราพยายามจะหาว่ามีเหตุอะไรที่เราแก้ได้บ้าง ยกตัวอย่างเช่น ➤การกินยาบางชนิด ➤ยานอนหลับยาที่มีผลต่อจิตประสาท ➤ยาที่เราทำให้เราง่วง ➤ยา Antihistamines ➤ยาเรื่องของ Anticholinergic ต่างๆ ➤หรือการกินยาหลายตัวที่เรียกว่ Polypharmacy นะครับซึ่งต้องไปให้หมอดูว่ายาตัวไหนที่สามารถหยุดได้บ้าง ➤คนที่มีโรคซึมเศร้า ก็จะเป็นเรื่องของความจำมีปัญหาได้ ➤คนที่มีเรื่องโรคไทรอยด์ พวกนี้ถ้าแก้แล้วมันก็จะหาย
@thisisnathathai
@thisisnathathai 10 ай бұрын
5️⃣ ส่วนคนที่แก้แล้วมันไม่หายแน่ๆก็จะมี ➤เรื่องของอัลไซเมอร์ ➤เรื่องของการที่มีการกระทบกระแทกทางสมอง ➤เรื่องของความจำเสื่อมแบบชนิดอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่นโรค PSP โรค Corticobasal Degeneration (CBD) Multiple System Atrophy (MSA) โรคพวกต่างๆพวกนี้ที่พูดไปมักจะมีเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากความจำ เช่นการเคลื่อนไหวที่มันผิดปกติ แขนข้างนึงเคลื่อนไหวไม่ได้เลยหรือว่าเคลื่อนไหวผิดปกติไป หรือยืนแล้วมันล้มไปได้ง่ายๆ เป็นลมง่าย หรือบางคนมาด้วยหกล้มบ่อยๆเพราะว่ามันมองลงไม่ได้นะครับพวกนี้ก็แปลว่าจะมีปัญหาอย่างอื่น หรือคนที่มีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิมแบบเยอะหน้ามือเป็นหลังมือจากคนที่เคยเรียบร้อยกลายเป็นคนที่บ้าๆบอๆ เพี้ยนๆ อารมณ์ไม่ปกติพวกนี้ก็แปลว่าน่าจะต้องมีเหตุผลอื่นนะครับ ถ้ามีความจำและบวกกับสิ่งต่างๆเมื่อกี้ที่พูดไปควรจะต้องไปรักษานะครับ การปฏิบัติตัวที่ควรจะต้องทำ ➤ข้อแรกก็คือ ถ้าท่านกินเหล้าสูบบุหรี่ ใช้ยาเสพติดอยู่ต้องหลีกเลี่ยงเลยนะครับเพราะว่ามันทำให้สมองเสื่อมถาวรนะครับ ➤นอนพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7 ชั่วโมง 7-9 ชั่วโมงกำลังดี นอนเยอะเกินไปก็มีปัญหา นอนน้อยเกินไปก็มีปัญหา ➤ถ้านอนแล้วรู้สึกว่าตื่นมามันไม่สดชื่นควรที่จะต้องไปตรวจการนอนหลับด้วยนะครับว่ามีการหยุดหายในในขณะหลับไหม ถ้ามีแก้แล้วมันมักจะดีขึ้นนะครับ ➤ถ้าเรามีโรคประจำตัวแก้ไขโรคประจำตัวให้หมดนะครับ เบาหวาน ความดัน ไขมันคุมให้ดีไม่ฉะนั้นเนี่ยความจำมันจะยิ่งเสื่อม ➤ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอนะครับ อย่างน้อยก็ทำทุกวัน ทำ 5 วันต่อสัปดาห์ก็ยังดีนะครับ เป็นคาร์ดิโอนะครับ ➤หยุดการเครียดต่างๆพยายามเอาออกไปให้หมดนะครับ ➤การที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กับมนุษย์ กับสัตว์พวกนี้จะช่วยชะลอความจำเสื่อมของเราได้นะครับ ➤การฝึกสมองด้วยการทำศิลปะนะครับ ใช้มือข้างที่ไม่ค่อยถนัดในการแปรงฟัน ในการเขียน เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เล่นเปียโน เล่นดนตรี พวกนี้จะช่วยชะลอเรื่องของความจำที่มันมีปัญหาต่างๆของเราได้หมดนะครับ ➤อาหารทานให้สมดุลก็เพียงพอนะครับ ➤อาหารเสริมต่างๆมันไม่ได้ช่วยนะครับ แต่ถ้าท่านสบายใจที่อยากจะไปเอามาใช้กินก็ตามสบายนะครับ ส่วนมันจะช่วยได้แค่ไหนส่วนใหญ่บอกเลยครับว่ามันไม่ช่วยอะไร แต่กินก็ได้ไม่ได้มีปัญหาอะไรนะครับ ไม่ว่าจะเป็น ทอรีน (Taurine) เทโรสทิลบีน (Pterostilbene) NMN, NR, NAD Plus, Resveratrol นะครับพวกนี้จะ Taurine จะอะไรก็แล้วแต่ตามสบายนะครับสามารถกินได้แต่ว่ามันมักจะไม่ค่อยได้ช่วยอะไรเท่ากับการที่ท่านไปทำวิธีธรรมชาติที่เมื่อกี้ผมบอกทั้งหมดนะครับ ➤การอ่านหนังสือแบบออกเสียง ช่วยได้ ➤ถ้าเป็นความจำเสื่อมไปแล้วนะครับอย่าไปใช้เหตุผลกับเขานะครับมันจะทำให้ทะเลาะกันเปล่าๆ พยายามเข้าใจเขา ชวนเขาไปทำโน่นทำนี่บ้าง ให้เราเป็นเพื่อนกับเขามันจะทำให้เขาเปิดใจกับเราแล้วเราก็สามารถที่จะช่วยเหลือเขาได้มากกว่านะครับ
@chanakwandulyavit3857
@chanakwandulyavit3857 10 ай бұрын
การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม ที่สำคัญอีกอย่างคือการดูแลสภาพจิตใจและอารมณ์ของคนดูแลค่ะ เคยดูแลอาม่าอายุ 80+ เป็นสมองเสื่อม มันเครียดมากค่ะถ้าคนเดียวดูแลติดต่อกันเป็นวันๆติดต่อกันหลายวัน ถ้าสมาชิกในบ้านมีหลายคนต้องคอยสลับสับเปลี่ยนมาช่วยกันค่ะ…
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 10 ай бұрын
ขอบคุณมากค่ะอาจารย์สำหรับการไลฟ์ให้ความรู้และตอบคำถามมากมายถึง 3 ชั่วโมงกว่าๆ ภาวะสมองเสื่อมมีหลายประเภท ไม่ใช่แค่อัลไซเมอร์อย่างเดียว โรคความจำเสื่อมที่อาจารย์กล่าวถึงในไลฟ์ เช่น 1. โรค Corticobasal degeneration (CBD) คือ โรคฐานของเปลือกสมองเสื่อม อาจมีแขนขาเคลื่อนไหวผิดปกติ ​2. โรค Multi system atrophy (MSA) คือ การฝ่อหลายระบบ เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่หายาก ส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมความดันโลหิต การหายใจ การทำงานของกระเพาะปัสสาวะ และการควบคุมกล้ามเนื้อ 3. Huntington's Disease คือ เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้การรับรู้ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอาการทางการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ ​4. โรค Creutzfeldt-Jakob (CJD):เป็นรูปแบบของโรคสมองเสื่อมที่หายากและก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเกิดจากโปรตีนผิดปกติที่เรียกว่าพรีออน นำไปสู่อาการทางระบบประสาทที่รุนแรงและการทำงานของการรับรู้ลดลงอย่างรวดเร็ว 🔵นอกจากนี้ อาจารย์ยังย้ำว่า ไม่มีอาหารเสริมตัวไหนจะช่วยเรื่องความจำเสื่อมได้ แต่ที่พอจะเสริมได้บ้าง เช่น "ทอรีน" (พอช่วยได้บ้าง) แต่ก็ต้องดูที่ปริมาณที่ทานต้องให้เหมาะสม ◾อาหารเสริม เช่น Resveratrol ก็อาจจะพอช่วยได้บ้าง เรื่องการเสื่อมแต่ก็มีราคาแพงมาก แต่อาหารเสริมที่คล้ายๆ Resveratrol คือ Pterostilbene ค่ะ ราคาถูกกว่า Resveratrol แต่ผลคล้ายๆกัน ◾อาหารเสริมที่คล้ายกับ NMN คือ Nicotinamide Riboside (NR) แต่ราคาถูกกว่าค่ะ 🔵คำแนะนำเพื่อการป้องกันสมองเสื่อม 1. พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ออกกำลังกายให้เหมาะสม 3. ทานอาหารให้สมดุล 4. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 5. ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดหยิบสิ่งของดูบ้าง 6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง 7. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ยานอนหลับ ยาที่ทำให้ง่วง
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn 10 ай бұрын
กราบขอบพระคุณคุณหมออย่างสูงที่สละเวลาพักผ่อนร่วมสามชั่วโมงมาตอบคำถามสุขภาพให้ผู้ฟัง มาอธิบายประเด็นสำคัญและและประเด็นห่วงกังวล นอกจากนี้ขนาดว่าคุณหมอออกตัวว่าเพิ่งลงเวรอาจจะง่วงหน่อย แต่ผู้ชมไม่เห็นร่องรอยความง่วงเพลียอะไรเลย แข็งแรงมากค่ะ
@user-gt6cu4wg9v
@user-gt6cu4wg9v 10 ай бұрын
อันนี้เกิดกับตัวเองเลยค่ะคุณหมอผ่านการนอนเฝ้าคุณพ่อคุณแม่มีทุกเหตุการณ์ที่คุณหมอบอกเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ เคยคุยกับคุณหมอว่าเป็นโรคประจำถิ่นค่ะ อาการเกิดเพราะนอนโรงพยาบาล
@user-lf3ef8ie5z
@user-lf3ef8ie5z 9 ай бұрын
คุณหมอดูแลสุขภาพด้วยนะคะ ปชช คนไทยจะได้ความรู้ที่ต้องดูแลสุขภาพไปนานๆ เคยหลงทิตย์ทาง แบบว่าเหมือนตัวเองขับรถผิดเลน ประวัตมีเรื่องปวดต้นคอบ่าไหล่ร้าวไปที่หัว อายุหกสิบห้าแล้วไปหาหมอ อายุรกรรมประสาทแล้วค่ะ เคยกินยาแก้แพ้ Laratadine 10 mg กินมาหลายปี ตอนนี้หยุดกินแล้วคะ ตัวเองเป็นไขมันในเลือดสูง
@penpugsuwan7447
@penpugsuwan7447 3 күн бұрын
สมองเสื่อมสังเกตได้จากพฤติกรรมทางกายผิดปกติ เช่นด้านระบบการใช้งานการทรงตัว คิดจำฟังพูด การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ประสาทรับสัมผัส ความสัมพันธ์การใช้แขนมือเท้าขาเป็นต้น การรักษาอาจารย์แนะว่าควรใช้ระบบคนไข้เป็นศูนย์กลางผู้ใกล้ชิดเข้าถึงได้ดี แพทย์ผู้รักษาตามลำดับ ภาพรวมเนื้อหาวันนี้คิดว่าครอบคลุมเกือบทุกด้าน เวลามากไป คิดมานานว่าอาจารย์เหนื่อยมาก ขอบคุณค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 10 ай бұрын
ในไลฟ์มีคนถามสอบถามถึงโรคซึมเศร้า ซึ่งปัจจุบันเป็นกันเยอะ อาจารย์หมอแนะนำว่า ใครที่เริ่มไม่แน่ใจว่า ตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า ลองถามคำถามตัวเองง่ายๆ 2 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. รู้สึกว่าตัวเองซึมเศร้า รู้สึกว่าตัวเองไม่มีประโยชน์ ไม่มีความสุขหรือเปล่า 2. รู้สึกว่าตัวเองเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันหรือเปล่า หากตอบว่า ใช่ ทั้ง 2 ข้อก็พอจะมองได้ว่า อาจจะมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า ถึงแม้ว่าคำถาม 2 ข้อนี้จะไม่สามารถระบุชี้ชัดเจนว่า เราจะเป็นโรคซึมเศร้าจริงๆ แต่ก็เปรียบเหมือนคำถามพื้นฐานเพื่อคัดกรองอาการซึมเศร้าเบื้องต้นได้ค่ะ
@penpugsuwan7447
@penpugsuwan7447 3 күн бұрын
สีเหลืองสว่างสดใส ช่วยได้ดีด้านระบบการมองเห็น การจดบันทึกความจำ อารมณ์แจ่มใส ซึ่งเราก็ชอบมากสามารถ ป้องกันสมองความจำเสื่อมได้ค่ะ
@Achawan_edu
@Achawan_edu 10 ай бұрын
🌈สมาชิกบอกว่า "Super Tan" พลังมากมาย ไม่เหนื่อยสักนิด มาแบบสดใส ทั้งที่ออกจากเวร 👍👍 ไลฟ์ตั้งแต่ 19.00-22.16น. พรั่งพรู น้ำไหล ความรู้เปิด ตอบได้เนื้อหาแบบฉับไวให้ความรู้ที่จำเป็นต้องรู้ และยังแถมคำตอบทั่วไปอีกด้วย ขอบคุณมากๆค่ะ วันนี้คำถาม 263 คำตอบ เลือกตอบคำถาม ขยายความรู้ 182 คำตอบ 👍👍 ขอบคุณมากๆค่ะ 🙏🏽🙏🏽 (วันนี้ได้ความรู้ คลายความสงสัย/คลายความลังเล แจ่มขึ้นมาหลายประเด็นค่ะ เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ขอบคุณในความกรุณาสละเวลาค่ะคุณหมอ🙏🏽🙏🏽 )
@boomsong5729
@boomsong5729 10 ай бұрын
ขออนุญาตค่ะอจ.อัช คุณหมอไลฟ์ตั้งแต่ 19.00 - 22.16 ค่ะ ⚘❤⚘
@Achawan_edu
@Achawan_edu 10 ай бұрын
@@boomsong5729 ขอบคุณมากๆค่ะ แก้ไขค่ะ
@yotakayotaka-ip2st
@yotakayotaka-ip2st 8 ай бұрын
กราบขอพระคุณจริงๆค่ะที่สละเวลามาไลฟ์ ดิฉันพยายามติดตามเมื่อมีเวลาว่างจากการดูแลสามีที่ป่วยอัลไซม์เมอร์ มา13ปีแล้ว. ดิฉันอายุ 68 สามีอายุ 72 อยู่กันสองคนดูแลกันไปค่ะ
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
รักษาตัวด้วยนะครับ
@dianethama5313
@dianethama5313 8 ай бұрын
เป็นกำลังใจให้นะคะ
@user-bj2eb7zf7m
@user-bj2eb7zf7m 9 ай бұрын
เพิ่งจะออกเวร คุณหมอยังมีน้ำใจมาถ่ายทอดความรู้เป็นวิทยาทาน นับถือน้ำใจค่ะ
@sakurakissss
@sakurakissss 10 ай бұрын
คุณหมอสุดยอดค่ะ🙏 ขอบคุณค่ะที่สละเวลาอันมีค่ามาไลฟ์
@user-fl1mf2px4l
@user-fl1mf2px4l Ай бұрын
เข้ามาดูคลิปย้อนหลังค่ะ ขอบคุณ👏👏👏อ.หมอ มากๆค่ะ ที่อธิบายคนที่เป็นสมองเสื่อม อ.หมอ ธนีย์ เก่งที่สุดในโลกค่ะ
@varairaksupason1400
@varairaksupason1400 9 ай бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากๆๆๆค่ะ
@user-ez6vl1mn6e
@user-ez6vl1mn6e 10 ай бұрын
ขอบคุณ ที่ให้ความรู้ค่ะ
@rampan-bp7vs
@rampan-bp7vs 9 ай бұрын
ขอบคุณ.คุณหมอ มากๆ นะคะ ❤❤
@katepcn7289
@katepcn7289 13 күн бұрын
ชัดเจน ได้ประโยชน์มาก ขอบคุณค่ะ
@nongnuchchaidej7325
@nongnuchchaidej7325 9 ай бұрын
ขอบคุณคุณหมอค่ะ ฟังแล้วได้ความรู้รอบด้าน
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov 10 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับไลฟ์ตอบคำถามวันนี้ค่ะคุณหมอแทน ได้ความรู้ที่มีประโยชน์มาก คุณหมอ👍ค่ะ ทานมื้อเที่ยงให้อร่อยนะคะ
@user-ez6vl1mn6e
@user-ez6vl1mn6e 10 ай бұрын
ขอบคุณหมอมากๆค่ะ
@snapdragonth2425
@snapdragonth2425 10 ай бұрын
สุดจริงๆ ขอบคุณๆหมอมากๆครับ เดี๋ยวนี้สังคมสูงอายุจริงๆ แก่ๆกันหมดแล้ว
@user-km2xf4gz9o
@user-km2xf4gz9o 8 ай бұрын
ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ ที่ให้ความรู้
@chantanaolsson6833
@chantanaolsson6833 10 ай бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากคะที่ให้ความรู้
@piyanutsatravaha548
@piyanutsatravaha548 10 ай бұрын
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
@Hoshi1451
@Hoshi1451 10 ай бұрын
😊ขอบคุณอจ.หมอแทนมากค่ะ ฟังไลฟ์สนุกสดชื่นมากค่ะ🙏
@Wanida-ni1yz
@Wanida-ni1yz 8 ай бұрын
แม่สามีเลยค่ะ เป็น dementia นอนทั้งวัน ไม่กินอะไร ติดโซฟา ติดเตียง พอล้มสะโพกหัก มีแผลกดทับลึกมาก ไม่ค่อยกิน 1 เดือนเท่านั้น ค่อยๆ จากไปค่ะ
@jintanajongsirinurak6870
@jintanajongsirinurak6870 24 күн бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะ ได้ความรู้มากมายเลยค่ะ
@Hnuhri
@Hnuhri 8 ай бұрын
❤❤❤🙏🙏🙏ขอบคุณมากกค่ะคุณหมอ
@user-nl3do1vr2n
@user-nl3do1vr2n 10 ай бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ขอบพระคุณมาก ๆ🙏 รักษาสุขภาพด้วยค่ะ👍💕
@Euang-Mali
@Euang-Mali 10 ай бұрын
😊🌼🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏
@lakkyky5792
@lakkyky5792 4 ай бұрын
Thank you 🙏 ค่ะ อาจารย์หมอI learn a lot more from you again ❤
@ploymindy7627
@ploymindy7627 6 ай бұрын
ช่องดีที่สุด อาจารย์น่ารักและใจดี ขอบคุณค่ะที่สละเวลามาให้ความรู้❤
@user-pb6hz6cu9c
@user-pb6hz6cu9c 9 ай бұрын
ขอบคุณความรู้ดีๆง่ายๆ ในการใช้ชีวิตค่ะ❤😊
@user-wu5wn9rd2t
@user-wu5wn9rd2t Ай бұрын
ขณะป้าไปออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วสลับวิ่งทุกวัน จะฟังช่องหมอแทน ได้ประโยชน์มาก..กับขณะถอนหญ้า ทำให้อยากเป็นผู้สูงอายุที่เข้มแข็งให้นานที่สุด..ขอบคุณมากนะคะ❤
@ptphone2301
@ptphone2301 10 ай бұрын
ขอบพระคุณอาจารย์หมอ เป็นอย่างสูง มีโรคต่างๆมากมายจริงๆค่ะก็ดูแลตัวเองให้ดีค่ะ
@user-vi3lv5qk9t
@user-vi3lv5qk9t 10 ай бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน ป้ามารับชมต่อตอนเช้าของเมืองไทยอีกรอบนึงค่ะ ขอบคุณในความหวังดีของคุณหมอที่มีต่อประชาชนคนไทยและfcขอบคุณ❤❤❤นะค่ะ🎉🎉🎉สุขภาพดีมีสุขนะค่ะและน้องโรชี่ที่แสนสวยด้วยค่ะ🥰
@TyTy-sq4py
@TyTy-sq4py 10 ай бұрын
สวัสดีคะคุณหมอ. มีอาการวิ้งๆในหัวตลอดเวลาค่ะ
@wannii5476
@wannii5476 8 ай бұрын
กราบขอบพระคุณ คุณหมอมากค่ะ ความรู้ทางด้านสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันมากค่ะ🙏
@iceleo2249
@iceleo2249 9 ай бұрын
คุณหมออธิบายเรื่องผู้สูงอายุหกล้มแล้วเห็นภาพ เข้าใจได้ดีมากๆคะ ชอบฟังคุณหมออธิบายคะ ได้ความรู้ดีมากๆๆคะ ขอบพระคุณมากๆๆนะคะ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻
@user-dq1oh3tf5j
@user-dq1oh3tf5j 9 ай бұрын
ขอบพระคุณค่ะ
@ALL86898
@ALL86898 10 ай бұрын
ขอบคุณค่ะวันนี้สดใส ใส่ความรู้เยอะ เหนื่อยไหม ทานเยอะค่ะ🙏⚘️🌸⚘️🌸⚘️🌸😍
@user-gm7yn6me7f
@user-gm7yn6me7f 6 ай бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ
@Achawan_edu
@Achawan_edu 10 ай бұрын
🌈วันนี้ตอนต้นไลฟ์คุณหมอพูดคุยสบาย เกี่ยวกับกิจวัตรของคุณหมอใน 1 วัน เป็นบรรยากาศกันเอง สดชื่นดีจังค่ะ และเข้าคำถาม 👍👍 🌻🌻 ขอบคุณความรู้ตอนเกริ่นนำชอบเป็นพิเศษ ขออนุญาตบันทึกไว้เป็นความรู้ค่ะ 🚩ความจำเสื่อม หากเรายังรู้ว่า เรารู้ตัวเองว่า “เรารู้สึกลืมอะไรบางอย่าง/ ลืมทำอะไร ในกรณีแบบนี้ไม่ใช่ความจำเสื่อม แต่อยู่ที่สติอาจจะไม่อยู่กับตัวของเรา ไม่ได้เป็นเพราะเราความจำเสื่อม ในขณะที่คนที่ความจำเสื่อมอาจไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นแล้ว แต่คนรอบข้างจะสังเกตเห็นพฤติกรรมของคนนั้นที่มีอาการความจำเสื่อม 🚩ความจำเสื่อม จะมี "ความจำในระยะสั้น จำไม่ได้ แต่ยังจำความจำในระยะยาวที่ผ่านมานานๆ ได้" 🚩อัลไซเมอร์ - ความจำ หรือจำสิ่งใหม่ๆ จะจำไม่ได้ แต่พอให้พูดเรื่องเก่า ๆ จะจำได้ หรืออาจเป็นเหตุการณ์ที่ฝังใจก็จำได้ - อาการที่พบร่วมกับความจำเสื่อม คือ การนอน การเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ในบางคนควบคุมอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด -อาการด้านจิตใจมีมากขึ้น เช่น เป็นโรคซึมเศร้า -มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม เช่น จากเดิมเคยเป็นคนนิ่ง ๆ แต่พอเป็นโรคความจำเสื่อม เกิดเป็นคนดุร้าย ก้าวร้าวขึ้นมาทันที เป็นต้น
@Achawan_edu
@Achawan_edu 10 ай бұрын
🌻การเกิด "ความจำ" - เกิดจากสมองส่วนต่างๆเก็บข้อมูลร่วมกัน และสมองมีการคุยกัน ทำงานร่วมกัน หากวงจรการทำงานนี้เสียไปก็ทำให้เกิดสูญเสียความจำ 🚩เหตุที่ทำให้ระบบการเก็บความจำของสมองเสียไป 1. การได้รับสารทำลายสมองบ่อยๆ ตลอดเวลา เช่น การดื่มเหล้ามากๆ การสูบบุหรี่มากๆ หรือ สูด PM 2.5 ทำให้เซลล์สมองตายได้ 2. เซลล์สมองมีปัญหาเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ คนที่เป็นเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง แล้วไม่รักษา ก็จะทำให้เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ดี ก็ทำให้เซลล์สมองแย่ได้ 3. ในบางคนที่ความดันสูงมากๆ ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ หรือแตกบ่อยๆ ทำให้เกิดมีจุดเลือดเล็กๆ น้อยๆ ในสมอง กรณีแบบนี้รักษาไม่ได้ เนื่องจากคนนั้นไม่ได้คุมความดัน เบาหวาน จึงทำให้เกิด 4. เกิดจากโปรตีนที่สะสมในสมอง เรียกว่า อะไมรอยด์ ( amyloid protein ) ทำให้เลือดออกในสมองได้ 5. เกิดจากการกระทบกระเทือนทางสมอง เช่น เกิดอุบัติเหตุรถล้ม เป็นต้น ส่งผลต่อความจำมีปัญหา และการเคลื่อนไหวผิดปรกติ 6. การเกิดโรคซึมเศร้า หรือไทรอยด์ก็มีปัญหาต่อความจำ เช่นกัน 7. ยาบางชนิดมีผลต่อความจำเสื่อม หรือการกินยาบางตัวมากๆ ก็มีผลต่อความจำเสื่อม 🩸ความจำเสื่อมมีทั้งประเภทรักษาหาย และไม่หาย 8. เกิดจากพันธุกรรมทางเซลล์ 9. การไม่ใช้สมอง (คิด) หรือการไม่มีปฏิสัมพันธ์ุกับคน นานวันสมองก็แย่ได้ นี้คือสาเหตุของความจำเสื่อม (แบบคร่าวๆ ) โดยสรุป กระบวนการเซลล์ (สมอง) ที่เสียไป โดยอายุ โดยพันธุกรรม โดยสิ่งที่ทำลายสมอง ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ การกระแทก สารเคมีไม่สมดุลย์ (ในโรคซึมเศร้า) ฮอร์โมนผิดปรกติ หรือกรณีในไทรอยด์มีปัญหา เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ นอกจากนี้ มีการติดโรค HIV, การขาดสารวิตะมินบางชนิด การขาดสารอาหารบางประเภท เหล่านี้ทำให้เกิดความจำเสื่อมได้
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 10 ай бұрын
สวัสดีคะคุณหมอ
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin 10 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ❤ ป้าเข้ามาต่อค่ะ
@CherryChonny
@CherryChonny 10 ай бұрын
ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ คุณหมอแวะไปกินขนมนะคะ 🍫🍫 ช็อกโกแลตกับนมอร่อยมากค่ะ 🍫🥛🍫🥛
@user-je9hl3ie5r
@user-je9hl3ie5r 9 ай бұрын
ใช่เลยค่ะคุณหมอ แม่อายุ97 พูดแต่เรื่องเก่า เหมือนเดิมทุกคำ ไม่ผิดเพี้ยน
@anunrattana6583
@anunrattana6583 8 ай бұрын
ขอขอบคุณ
@thanutnut8871
@thanutnut8871 4 ай бұрын
ฟังเพลินมากๆ พอมาดูเวลา โอ้โห้ 3 ชัวโมงกว่าฟังเพลินมากๆลืมเวลาไปเลย ขอบคุณมากๆครับ❤❤❤
@gaewaleegaewalee7941
@gaewaleegaewalee7941 10 ай бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอยิ่งฟังยิ่งรู้สึกดีคิดพัฒนาความคิดตัวเอง ตอนนี้ต้องดูแลพ่อแม่อายุเยอะ
@suchitranguyen5042
@suchitranguyen5042 10 ай бұрын
ฟังแล้วใด้ประโยชน์มากค่ะขอบคุณ
@user-xq4ot4er8z
@user-xq4ot4er8z 5 ай бұрын
ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ ได้ความรู้จากการฟังมากเลยค่ะ ขอให้คุณหมอธานี สุขภาพแข็งแรงนะคะ❤
@user-xq4ot4er8z
@user-xq4ot4er8z 5 ай бұрын
ฟังแล้วจดไว้อ่านด้วยค่ะ คลิปนี้มีประโยชน์มากค่ะ❤
@user-uv6dx3ie4z
@user-uv6dx3ie4z 10 ай бұрын
มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูล ดีงามค่ะ😊
@apinyaapinya9755
@apinyaapinya9755 4 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ..🌱..☔
@keetsn6831
@keetsn6831 9 ай бұрын
Thanks!
@paraneewattana9210
@paraneewattana9210 10 ай бұрын
อายุ 65 จะใช้ยาแก้แพ้เวลาที่หลับยากจะมีผลต่อสมองหรือไม่คะ เคยถามหมอว่าบางครั้งหลับยากทำไงดี หมอบอกยาแก้แพ้อะไรที่กินแล้วง่วงก็กินกินไป ไม้รู้ว่าหมอตอบเพราะรำคาญหรือเปล่าแต่ดิฉันทำจริงค่ะ
@somsakchowwuttiprasit5235
@somsakchowwuttiprasit5235 10 ай бұрын
สวัสดีอาจารย์หมอครับการเปิดไพ่นับเลข/การร้องเพลง/การดูภาพยนต์เป็นการช่วยให้สมองดีขึ้นได้ไหมครับสุดท้ายขให้อาจารย์หมอแข็งแรงอยู่ช่วยตอบปัญหาลดความเจ็บป่วยเพิ่มความรู้ให้ทุกท่านมีอายุยืนยาว อยู่คู่คุณหมอตลอดการ
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
ก็ช่วยได้ครับ
@charitamethacharatphon9435
@charitamethacharatphon9435 10 ай бұрын
รบกวนถามคุณหมอเกี่ยวกับอาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องการนอนหลับที่มีโฆษณาอยู่มากมายมีความน่าเชื่อถือได้แค่ไหน และโอกาสที่จะทำให้สมองเสื่อมเหมือนกับกินยามั้ยคะ กราบขอบพระคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
อาจจะช่วยบ้าง แต่ไม่ได้มากครับ
@soontareesoontaree6725
@soontareesoontaree6725 7 ай бұрын
ได้เวลา เต้นแอโรบิคแล้วค่ะ 👯‍♂️👯‍♀️👯 ไว้ฟังต่อนะคะ 👌👌👌
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 10 ай бұрын
คำถาม : แมวของหนู กินแล้ว ขอกินซ้ำ นี่ความจำ เสื่อมหรือเปล่า โปรดเล่าขาน คำตอบ : หมาของผม เท่าที่เห็น เป็นเหมือนกัน ขอขนม ซ้ำหลายอัน ไม่จำเลย...😂
@user-ei3xm2gg2q
@user-ei3xm2gg2q 2 ай бұрын
เคยถามหมอแบบนี้ถูกหมอดุ
@user-saranet
@user-saranet 9 ай бұрын
ฟังคุณหมอตอบ ยิ้มในคำตอบของคุณหมอบ่อยๆค่ะ 😂
@AvecBella
@AvecBella 10 ай бұрын
Have a Fabulous start to a G r e a t new week ka Doctor Tany. Keep up the Awesomeness! 🌤️🌈🍎 Will leisurely listen to this after dinner. Thank you for your time. Happiest Mondayyy! 🙃 🍁🍐🌻🍇🌾
@anknaparkin7510
@anknaparkin7510 10 ай бұрын
Thanks
@PatBremenkamp
@PatBremenkamp 10 ай бұрын
เอาอยู่ค่ะ ค่อนข้างมีประสบการณ์มาบ้างค่ะหมอ
@serinpiyassaphan8940
@serinpiyassaphan8940 10 ай бұрын
ได้ฟังคลิปนี้แล้วรู้สึกได้ว่าคุณหมอ อ่อนโยน อดทนมากๆจริงๆ คุณหมอน่ารักมากๆ โรซี่กินขนมแล้วนังอยากกินอีก 555 น่าจะได้ฟังคุณหมอเมื่อก่อนสิบปีที่แล้วตอนพ่อเป็นโรคไตนอนติดเตียงมีอาการขาดแร่ธาตุ มีอาการหลอน มีโมโหฉุนเฉียว ตอนนั้นที่ดูแลนานๆก้อมีบางครั้งที่ไม่เข้าใจ มีโมโห มีครั้งนึงขาดโปแตสเซียมมัง ทำให้พูดไม่ได้ นึกว่าเค้างอนไม่พูดด้วย สามวันถึงเอ๊ะ .... ผิดปกติพาไปหาหมอเจาะเลือดถึงรู้ สงสารพ่อและโกรธตัวเองที่ปล่อยช้าไป แต่พอได้ยา ก้อกลับมาพูดได้ดัวเดิมค่ะ
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ
@serinpiyassaphan8940
@serinpiyassaphan8940 10 ай бұрын
กราบขอบพระคุณ คุณหมอมากค่ะ อยากเสริมคุณหมอว่าให้ทุกท่านที่ดูแลพ่อแม่ที่หลงลืม งอแงให้อดทนนะคะ เพราะตอนที่ดูแลทั้งพ่อและแม่มาสิบกว่าปีนั้น ช่วงที่เหนื่อยมีคิดว่าเมื่อไรเค้าจะไปสบายในบางเวลา มาวันนี้ที่เค้าไม่อยู่ถึงรู้ว่าวันนั้นที่ว่าเหนื่อย ยังไม่ว้าเหว่วิเหวงโหวงในหัวใจ ชนิดที่ยินดีเหนื่อยกว่าเดิมสิบเท่าขอแค่ได้ย้อนคืนมาอีกสักวันก้อยังดีค่ะ ฟังคุณหมอทุกวันค่ะ อายุ60 หยุดออกกำลังเพราะเจ็บเข่ามาปีกว่า โห คุณหมออดทนพูดวันละหลายชม. รู้สึกละอายจนกลับมาวิ่งอีลิปได้เดือนนึงแล้วค่ะ แต่ได้แค่7 นาที พัก 8 นาทีพัก สามวัน หยุดวัน วันแรกๆนี่ไม่ถึงนาทีหมดแรงแล้วค่ะ ทำให้การนอนหลับได้ยาวขึ้น และหยุดยา Rivotril 0.5 ได้แล้ว หลังจากลดลงเรื่อยๆค่ะ
@user-op7oz4uj9n
@user-op7oz4uj9n 10 ай бұрын
คุณหมอที่จุฬาออกมาบอกว่า กินแคลเซียมวันละ1 เม็ด เป็นเวลานานๆ มีโอกาสสมองเสื่อม จริงเหรอคะ ป้ากินมา10 ปีแล้วค่ะ
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
ไม่เกี่ยวกับแคลเซียมครับ
@user-oo1fb7wk6n
@user-oo1fb7wk6n 6 ай бұрын
แม่ติดเตียงนานหลายเดือน อาหารสายยาง ให้ออกซิเจน ไอบ่อยๆคุณหมอไม่ให้ยาแก้ไอมา เราให้ยาแก้ไอแม่ได้ไหมคะคุณหมอเทวดา สงสารแม่ค่ะ ดูดเสมหะบ่อยๆไม่ได้ หอบเหนื่อยมากๆต้องพ่นยาหลายครั้งต่อวัน แผลกดทับเกือบหายสนิทแล้วแต่ไร้กำลังค่ะ ให้อาหารเสริมตามที่คุณหมอแนะนำแล้วค่ะ
@DrTany
@DrTany 6 ай бұрын
สามารถให้ได้ครับแต่มันไม่ได้ช่วยอะไรครับ
@srun395
@srun395 9 ай бұрын
คุณหมอ พูดดักไว้หมด แบบนี้พวกที่ไม่เชื่อในวัคซีน จะแซะยังไงเนี่ย 😆
@AK-cp3bw
@AK-cp3bw 10 ай бұрын
อิ่มๆไปเลย 3 ชั่วโมง
@mother12381
@mother12381 9 ай бұрын
กินยา lotazepam 0.5 mg.ก่อนนอนทุกวัน จะเป็นโรคสมองเสือมไหมค่ะ
@Freeway-uf9xf
@Freeway-uf9xf 9 ай бұрын
AO machine scan body อยากทราบว่ามีผลน่าเชื่อถือได้ไหมคะ และเราต้องติดตามผลนั้นใช่ไหมคะ ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ชอบการให้คำตอบมากค่ะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ไม่ได้ใช้ทำอะไรได้หรอกครับ
@sindyKorny
@sindyKorny 9 ай бұрын
1:22:37 การเล่น sodoku นี่เห็นผลมาก ลองเล่นประจำทุกวันก่อนนอน อย่างน้อยรอบนึง รู้สึกได้เลยว่ารู้สึกสมองคิดอะไรได้เร็วขึ้นเฉียบขึ้น อันนี้ชัดเจนมาก ดีมากจริง ๆ ส่วนตัวชอบเล่นเกมแบบนี้ด้วย
@jaruneechaichan1614
@jaruneechaichan1614 8 ай бұрын
❤❤❤Thanks.... ❤❤❤
@cbuapetch7322
@cbuapetch7322 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ยา Nexium และ Allegra ทานนานๆจะทำให้เป็นโรคความจำเสื่อมหรือเปล่าคะดิฉันทานมาหลายปีแล้วปีแล้วคะ ขอบคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ไม่เกี่ยวกันครับ
@sawanyakosalaphichat8813
@sawanyakosalaphichat8813 10 ай бұрын
การทานแมกนีเซียมก่อนนอน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้นไหมคะ ทานต่อเนื่องนานๆจะมีผลเสียรึเปล่าคะ
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
บางคนก็หลับดีขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกคนจะได้ผลแบบนั้นครับ และไม่มีผลเสียอะไรครับ
@Hnnn73
@Hnnn73 9 ай бұрын
ยา sobelin 5mg เป็นยาขยายหลอดเลือด กินไปนานๆ อันตรายอย่างไรคะ (เวียนหัว ปวดมึนต้นคอ ถึงศีรษะ เป็นตลอด) หมอให้กินพร้อมยาตัวอื่น อาการดีขึ้น
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ให้จำชื่อสามัญของมันด้วยครับ ตัวนี้คือ flunarizine ส่วนชื่อที่บอกมามันคือยี่ห้อครับ กินตามที่หมอแนะนำก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ
@Mrbigamania
@Mrbigamania 10 ай бұрын
ยา Artrodar (Diacerein) รักษาอาการข้อเสื่อม มีผลต่อตับในระยะยาวไหมครับ
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
มีได้ในบางคนครับ
@Mrbigamania
@Mrbigamania 10 ай бұрын
ขออนุญาตถามคุณหมอต่อครับว่า ถ้าทานไปแล้วค่าเอนไซม์ตับขึ้นสูง ควรหยุดยาไหมครับ ขอบคุณครับ@@DrTany
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
@@Mrbigamania ควรครับ
@user-bz4lh5vc2y
@user-bz4lh5vc2y 9 ай бұрын
อัลไซเมอร์ ทานยาแล้วหายมั้ยคะ หมอ
@amphans1442
@amphans1442 9 ай бұрын
มีปัญหาเรื้องกระดูกคอเสื่อม กินยาคลายกล้ามเนื้อ eperisone hydrochloride มีผลต่อเรื่องสมองเสื่อมไหมคะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ไม่มีครับ
@amphans1442
@amphans1442 9 ай бұрын
ขอบคุณมากค่ะ
@sompronsrisawat2989
@sompronsrisawat2989 9 ай бұрын
แฟนอายุ58 ผ่าตัดหัวใจได้สามเดือน เขาลืมบ่อยเช่นเมื่อวานเขาเป็นคนปรับอุณภูมิแอร์26 แต่พออีกวันเขามาถามเราว่าใครปรับอุณภูมิแอร์ เขาจำไม่ได้เลยว่าเขาเป็นปรับแอร์เอง แบบนี้เกี่ยวกับการผ่าตัดหรือว่าเขาเริ่มมีความตำเสื่อมคะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
อาจจะเริ่มมีความจำเสื่อม แต่ควรพาไปตรวจด้วยครับ
@sompronsrisawat2989
@sompronsrisawat2989 9 ай бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากค่ะ
@user-vi2qs2bj7e
@user-vi2qs2bj7e 10 ай бұрын
เป็นลิ้นหัวใจรั่วผ่าตัดแล้วกินยาหัวใจเม็ดสีขาวตลอดทุกปีที่โรงพยาลเขาจะเปลียนหมอบ่อยมากมีอยู่ครั้งหมอไม่ให้กินยาโรคหัวใจ 2เดือนคิดว่าห้องยาเขาลืมจัดให้ก็ไปถามเขาบอกหมอไม่ได้สั่งให้ป้าอาการหอบหายใจไม่ออกไปนอนโรงพยาบาลพอหมอมาตรวจเลยถามหมอว่ากินยาตัวนี้ได้แล้วเหรอหมอตอบว่าห้ามหยุดยาตัวนี้ต้องกินทุกวันป้างงมากก็เลยถามหมอว่าแล้วหมอทำมั้ยไม่ให้กินหมอตอบว่าเขาไม่เคยบอกว่าไม่เคยบอกให้หยุดพอป้าบอกว่าวันนั้นมาตรวจกับเขาหมอบอกว่าบางครั้งไม่ต้องกินก็ได้หมอจะดูตามอาการงงมากหมอพูดกลับไปกลับมา
@pornsrisuay8458
@pornsrisuay8458 4 ай бұрын
ปวดคอบ่าไหล่ และท้ายทอยมากค่ะ 2อาทิตย์แล้ว ไปกายภาพ 4 ;5 วันแล้ว ไม่หาย ต้องไปหาหมอแผนกไหนคะ คุณหมอคิดว่าเป็นอะไรคะ
@user-jr9nd1pf6e
@user-jr9nd1pf6e 10 ай бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากๆเลยนะคะที่กรุณาเสียสละเวลามาทำคลิปดีๆมีประโยชน์ให้ดูตลอดเลยนะคะ
@Chaweewan8769
@Chaweewan8769 7 ай бұрын
ได้รับความรู้เกี่ยวกับความจำเสื่อม สมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้นขอบพระคุณค่ะอาจารย์
@user-gi7fb6cr9d
@user-gi7fb6cr9d 6 ай бұрын
อยากถามค่ะ ว่า อายุ 80 กว่า ยาวิตามิน บี 1-6-12 หรือ บีคอมเพล็กซ์ทานแก้มือเท้าชาได้ไม้คะถ้าทานไปนานๆ เพราะเป็นปีไม่หาย แต่ยังเดินได้ดี วันละ หมื่นก้าวค่ะ
@DrTany
@DrTany 6 ай бұрын
ทานไปก็ไม่ช่วยหรอกครับถ้าอาการไม่ได้เกิดจากการขาดวิตามิน ส่วนรักษายังไงนั้นต้องไปหาสาเหตุก่อน บางสาเหตุหายได้ และบางสาเหตุไม่หายครับ
@michelinesaysana4121
@michelinesaysana4121 7 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ดิฉัน ทานยาแก้อาการแพนิคน่ะค่ะ ทานมา5ปีแล้ว bromazepam 1/2. เม็ดทุกคืน.เวลากลางวันถ้ามีอาการตื่นเตั้นก็จะทาน1/4ม ยานี้มันจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคความจำเชื่อมได้ไม่ค่ะ?,ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ❤❤❤
@DrTany
@DrTany 7 ай бұрын
มีความเสี่ยงครับ
@michelinesaysana4121
@michelinesaysana4121 7 ай бұрын
@@DrTany ขอบคุณค่ะ คุณหมอ
@akjc7401
@akjc7401 10 ай бұрын
โรค Dementia ถือเป็นโรคความจำเสื่อมไหมคะ แล้วอาการต่างกับ Alzheimer ยังไง
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
Dementia แปลว่าความจำเสื่อม แต่มันไม่ได้บอกว่าสาเหตุเป็นจากอะไร ส่วน Alzheimer เป็นสาเหตุนึงของความจำเสื่อม ผมเคยเล่ารายละเอียดไปในคลิปนี้ครับ kzbin.info/www/bejne/q4iQfnurqMSdsLMsi=8yAGWsT6XMIRr_23
@tassaneesajjawong9524
@tassaneesajjawong9524 10 ай бұрын
หมอ❤❤❤
@nijjareesuwanlers9895
@nijjareesuwanlers9895 9 ай бұрын
อายุ 68 ค่ะ อยู่คนเดียว ถ้าช่วยเรื่องสมอง สวดมนต์ ร้องเพลงได้ไหมคะ😊😊
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ดีเลยครับ
@nijjareesuwanlers9895
@nijjareesuwanlers9895 9 ай бұрын
ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ🙏🏻😇
@thipnapasaelhim5910
@thipnapasaelhim5910 5 ай бұрын
ไม่ค่อยได้โดนแดด อายุ 64 แล้วค่ะ จะกินวิตามินดี ปริมาณเท่าไหร่คะ กรุณาตอบด้วยค่ะ
@DrTany
@DrTany 5 ай бұрын
ควรไปตรวจระดับวิตามินดีก่อนครับ ถ้าไม่ต้องการตรวจก็กิน 2000 IU ต่อวัน (ยี่ห้อต้องไปศึกษาเองครับ) แต่กินแล้วจะดีหรือไม่บอกไม่ได้ เพราะไม่รู้ระดับวิตามินในเลือดครับ
@pechr-qk6go
@pechr-qk6go 8 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ🙏 ดูแลทวดอายุ96ค่ะ แกไม่ยอมนอนเลยคุณหมอ บ่นปวดทั้งคืนเลยร้องหาแต่หมอ จะให้พาไปฉีดยาอน่างเดียวเลยค่ะ แต่เรื่องความจำอ่ะแม่นมาก จำลูกหลานได้ทุกคน ไม่หลงไม่ลืม ยังขอตังอยู่เลย555 แต่ปัญหาคือไม่ยอมนอนเลยค่ะคุณหมอ ให้กินยานอนหลับยังไม่หลับเลยค่ะ คนดูแลคือเหนื่อยมากเรียกตลอดไม่ให้ไปไหนทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ โดนด่าตลอด ต้องคอยนั้งบีบนั้งนวดนั้งคุยทั้งวันทั้งคืน คนดูแลจะตายก่อนมั้ยค่ะแบบนี้😅 อยากให้คุณหมอช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่าจะต้องทำยังไงให้ทวดแกได้หลับได้พักผ่อนบ้างค่ะ คนดูแลจะได้หลับบ้าง😅 อ๋อลืมบอกค่ะว่ามีคนดูแลแค่คนเดียวค่ะไม่มีใครเปลี่ยน(ทวดไม่เอาใคร) #ขอคำแนะนำจากคุณหมอด้วยน๊ะค๊ะอยากให้ทวดได้พักผ่อนบ้าง เพราะตอนนี้คนดูแลขอบตาเป็นหมีแพนด้าแล้วค่ะ กลัวจะไปก่อนทวดอายุ96 ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ🙏
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
ห้ามให้แกนอนกลางวันเด็ดขาดครับ ถ้าแกนอนหรือพักเราต้องก่อกวนตลอด ไม่งั้นกลางคืนจะไม่หลับ เราต้องทำให้เหนื่อยเพลียมากๆในเวลากลางวัน ตอนกลางคืนจะหลับได้ดีขึ้นเองครับ
@pechr-qk6go
@pechr-qk6go 8 ай бұрын
@@DrTany ส่วนเรื่องยานอนหลับ คุณหมอไม่แนะนำเลยใช่มั้ยคะ ลูกหลานจะได้ไม่ต้องหามาให้แกกินอ่ค่ะ
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
@@pechr-qk6go ไม่แนะนำครับ ยิ่งกินยิ่งมีปัญหาครับ
@pechr-qk6go
@pechr-qk6go 8 ай бұрын
@@DrTany ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ..จะเอาคำแนะของคุณหมอไปใช้ค่ะ😊🙏
@tanidaaumsuk5815
@tanidaaumsuk5815 9 ай бұрын
สวัสดีสุดสัปดาห์คะ คุณหมอขอปรึกษาคะ แม่อายุ 67 ปีแล้ว ไปทำแมมโมแกรมสมอง ฉีดสีเข้าเส้นแขนมา เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แพทย์พบ เนื้องอกขึ้นในสมอง มี ขนาด 1,4 มม. ด้านซ้ายใกล้ๆฝั่งท้ายทอยกกหู คำถาม 1.คุณแม่ไม่พร้อมผ่า ถ้าเรารอซัก 3-4 เดือน ไปทำสแกนใหม่ แล้ว ตัดสินใจอีกครั้งได้มั้ยคะ? เพราะ เนื้องอก ยังไม่ทราบเลยว่า เนื้อดี หรือ เนื้อร้าย ? 2. คนแก่ อายุ 67 ปี ผ่าสมอง แล้ว จะกลับมา เหมือนเดิมไหม? เพราะคุณแม่ มีโรคประจำตัวตัว คือโรคภูมิคุ้มกันตัวเองบกพร่อง 3. ทานวิตามินเสริมได้มั้ยคะ ช่วงนี้ เราอยากบินกลับไปไทยก่อน แล้ว ค่อยกลับมาตรวจอีกครั้ง คุณหมอ มีคำแนะนำมั้ย คะ กราบขอบพระคุณล่วงหน้าคะ vielen Dank
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ภูมิคุ้มกันบกพร่องแล้วเจอความผิดปกติที่สมอง มันควรรีบจัดการครับ ถ้าเรารอแล้วกลับมาตรวจซ้ำ มันก็ไม่เล็กลงหรือหายไปไหนได้ครับ การผ่าสมองจะฟื้นตัวได้แค่ไหนขึ้นกับผ่าบริเวณไหน ซึ่งต้องคุยกับหมอที่รักษาดูด้วยครับ ส่วนวิตามินเสริมจะกินก็ได้ แต่มันก็ไม่ได้ช่วยเรื่องนี้ครับ
@tanidaaumsuk5815
@tanidaaumsuk5815 9 ай бұрын
@@DrTany ขอบคุณคะคุณหมอ
@imlarpimlarp
@imlarpimlarp 9 ай бұрын
@namchokenapakkret5091
@namchokenapakkret5091 10 ай бұрын
ทานrivotil วันละเม็ดครึ่ง มีปัญหาในอนาคตได้ไหมคะ ตอนนี้อายุ 71
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
มีครับ
@namchokenapakkret5091
@namchokenapakkret5091 10 ай бұрын
@@DrTany มีปัญหาอะไรคะ ช่วยบอกด้วยค่ะ นอนไม่หลับค่ะ มียาอะไรที่ช่วย ปลอดภัยกว่า rovotil ไหมคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 10 ай бұрын
@@namchokenapakkret5091 ปัญหาจากยาตัวนี้ คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียนศีรษะ สับสน เดินเซ หลงลืม นอนไม่หลับ เกิดภาวะซึมเศร้าค่ะ... เรื่อง นอนไม่หลับต้องทำอย่างไร อาจารย์เคยพูดไว้ค่ะ kzbin.info/www/bejne/jnzVequviLaeqqs
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
@@namchokenapakkret5091 ยานอนหลับไม่มีตัวไหนที่ปลอดภัยครับ อาจจะพอทานเมลาโทนินได้ แต่ผลของมันจะไม่แรงเท่า rivotril ครับลองฟังคลิปเรื่องนอนไม่หลับที่ผมเคยทำไปดูครับ
@Ooy267
@Ooy267 5 ай бұрын
สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้เรื่องการนอนหลับแก่ สว. ดิฉันอายุ68ปี มีปัญหาเรื่องนอนไม่ค่อยหลับบางคืน ดิฉันแก่ปัญหาด้วยการนั่งสมาธิ แต่บางคืนก็ยังนอนไม่หลับอีก กินยานอนหลับ ลอร่าซีแพม 1 mg. ประวัติกินยาลดไขมัน statin 20 mg. ก่อนนอน ไม่เป็นเบาหวาน ความดันค่ะ แต่มีอาการชายิบปลายเท้า(ไม่ได้ชาแบบไม่รู้สึก) กินยา Pregabalin 50 mg. กินแล้วง่วง หลับสบายทั้งคืน เล่ามาเยอะ คำถามคือ ยาแก้อาการชาตัวนี้ ทำให้ความจำเสื่อมไหมค่ะ (ขอบคุณมากค่ะ)
@DrTany
@DrTany 5 ай бұрын
มีผลต่อความจำได้บ้างครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 10 ай бұрын
ฟังมาถึงช่วงท้าย มีคนสอบถามเกี่ยวกับ "การดื้อยา" ไม่ว่าจะเกิดในแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือเซลล์มะเร็ง มีสาเหตุหลายประการ และอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะ อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักประการหนึ่งของการดื้อยาคือ เกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพหรือเคมีบำบัด โดยทั่วไปแล้วการดื้อยาจะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น 🟢การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม... เมื่อใช้ยาเพื่อฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ (เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต) หรือเซลล์มะเร็ง สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีความกดดันแบบเลือกสรร บางส่วนอาจมีการกลายพันธุ์ในสารพันธุกรรม (DNA หรือ RNA) ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อผลกระทบของยาน้อยลง สายพันธุ์ที่ดื้อยาเหล่านี้มีชีวิตรอดและแพร่พันธุ์ โดยถ่ายทอดยีนต้านทานไปยังลูกหลาน 🟢การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม... การใช้ยาต้านจุลชีพในทางที่ผิด หรือ มากเกินไปสามารถเร่งการพัฒนาการดื้อยาได้ ตัวอย่างเช่น การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อไวรัส (ซึ่งยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาได้) หรือไม่รับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบอาจทำให้แบคทีเรียที่ดื้อยาสามารถอยู่รอดและเพิ่มจำนวนได้ 🟢ปริมาณยาที่ไม่เหมาะสม... ปริมาณยาที่ไม่เพียงพออาจไม่สามารถกำจัดสิ่งมีชีวิตที่เป็นเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้เชื้อที่รอดชีวิตเกิดความต้านทานได้ 🟢การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการ... จุลินทรีย์และเซลล์มะเร็งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระบวนการทางธรรมชาตินี้สามารถนำไปสู่การเกิดสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถต้านทานยาได้ 🟢การขาดการพัฒนายาใหม่... ในบางกรณี การดื้อยารุนแรงขึ้นเนื่องจากมีการพัฒนายาใหม่จำนวนจำกัดหรือไม่มีการพัฒนาเพื่อต่อสู้กับสายพันธุ์ดื้อยา สิ่งนี้อาจนำไปสู่สถานการณ์ที่ยาที่มีอยู่มีประสิทธิภาพน้อยลงในการต่อต้านการติดเชื้อ หรือมะเร็งบางชนิด
@user-mw2dx3tt1i
@user-mw2dx3tt1i 10 ай бұрын
ยาลดไขมันมีผลต่อความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ไหมคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 10 ай бұрын
ไม่มีผลค่ะ
@user-ul4vb3xq7z
@user-ul4vb3xq7z 10 ай бұрын
พึ่งเปิดมาเจอค่ะแต่สนใจเรื่องนี้มากๆค่ะ😅
@user-qv1jk1kn2g
@user-qv1jk1kn2g 2 ай бұрын
สนใจในประเด็นที่เกี่ยวกับไทรอยด์ อย่างไร
@DrTany
@DrTany 2 ай бұрын
ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำมีผลต่อสารสื่อประสาทในสมองครับ
@dawankhumamornlert2813
@dawankhumamornlert2813 7 ай бұрын
คุณหมอเล่นไพ่ ช่วยได้ระดับไหนคะ เล่นเกม เมื่อเราเริ่มรู้ตัวว่าสมองเริ่มเสื่อมนี่ ผลต่อไปจะเป็นอย่างรัย คะ คงเดิมหรืออาการเป้นช้าลงมัยอะ
@DrTany
@DrTany 7 ай бұрын
ระดับพอได้ครับ
Эффект Карбонаро и нестандартная коробка
01:00
История одного вокалиста
Рет қаралды 10 МЛН
No empty
00:35
Mamasoboliha
Рет қаралды 8 МЛН
A little girl was shy at her first ballet lesson #shorts
00:35
Fabiosa Animated
Рет қаралды 14 МЛН
Live: Food to eat as you get older
2:40:58
Doctor Tany
Рет қаралды 744 М.
Эффект Карбонаро и нестандартная коробка
01:00
История одного вокалиста
Рет қаралды 10 МЛН