น้ำตาลสูงแบบวิกฤติ เสียชีวิตได้ DKA, Hyperosmolar coma, Euglycemic DKA

  Рет қаралды 26,853

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

Пікірлер: 180
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
น้ำตาลสูงแบบวิกฤติ เสียชีวิตได้ DKA, Hyperosmolar coma, Euhlycemic DKA ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลัน ทำให้ร่างกายขาดน้ำเพราะเวลาน้ำตาลในเลือดสูงก็จะดึงน้ำเข้ามาในระบบเยอะ แล้วจะทำให้เราปัสสาวะเยอะมาก ถ้าเราดื่มน้ำทดแทนได้ไม่เพียงพอจะทำให้เราเสียน้ำมาก จะอันตรายได้ เนื่องจากปริมาณเลือดจะไม่พอไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ และทำงานไม่ได้ เวลามีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้เลือดหนืด อวัยวะที่มีปัญหาคือสมอง อาจทำให้ซึม หมดสติได้ ถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ หลายกรณีจะทำให้เลือดเป็นกรดมากขึ้น เวลาไม่มีอินซูลิน ขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวานชนิดที่เราเป็น #ตอนที่1
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
เบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetic Ketoacidosis) DKA เกิดจากเซลล์ตับอ่อนที่ชื่อ เบต้าเซลล์ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จากสาเหตุต่างๆ เช่น - ตับอ่อนถูกทำลายไปจากการที่เรามีตับอ่อนอักเสบรุนแรงทำให้เซลล์หายไปหมด - การเกิดภูมิต้านทานต่อตัวตับอ่อนทำให้ตับอ่อนเสียไป ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ อินซูลินมีหน้าที่ - นำน้ำตาลเข้าไปในเซลล์เพื่อให้เซลล์เราได้ใช้ - ป้องกันการสลายของไขมัน ทางการแพทย์เรียกว่า Lipolysis ถ้าไม่มีจะทำให้ไขมันในร่างกายเราสลาย แต่ร่างกายเราก็มีความจำเป็นในการสร้างและสลายไขมันอย่างสมดุล ในช่วงที่ร่างกายเราสลายไขมันออกมาจะเกิดสารคีโตน ถ้ามากๆจะทำให้มีปัญหาได้ #ตอนที่2
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
ถ้าเป็นเบาหวานชนิดที่หนึ่ง น้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้ก็จะสะสมอยู่ในเลือดสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ปัสสาวะบ่อยๆ ร่างกายจะขาดน้ำ ไม่สามารถใช้พลังงานจากตัวน้ำตาลได้เพราะขาดฮอร์โมนไป ร่างกายก็จะไปใช้จากแหล่งอื่น ซึ่งคือไขมันนั่นเอง คีโตนมีฤทธิ์เป็นกรด ร่างกายเราจะมีกรดเยอะขึ้นจะมีอาการ เหนื่อยหอบ หายใจไม่ทัน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เป็นต้น จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หัวใจก็จะวายได้ เวลาอวัยวะเป็นกรดมากๆอวัยวะก็ทำงานไม่ได้ ที่น่ากลัวไปกว่านั้น หลอดเลือดของเราจะตอบสนองฮอร์โมนต่างๆได้ดีเมื่อค่า pH ที่เหมาะสม ถ้าเป็นกรดมากไปจะไม่ตอบสนอง หลอดเลือดจะขยายความดันเราจะตก ทั้งจากเลือดที่เป็นกรด และ การขาดน้ำจากการปัสสาวะออกมาก ความดันตกไม่ดี เพราะเราต้องการเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าความดันตก เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่ได้ ก็จะขาดเลือดและอวัยวะนั้นๆก็จะเสียไปในที่สุด ทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ #ตอนที่3
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
วิธีการรักษา 1. หลักๆ คนไข้ขาดน้ำมาก การให้อินซูลินไม่ได้ช่วยอะไร ถ้าเราให้น้ำเกลือไปเยอะๆ เป็นการเจือจางอาจทำให้น้ำตาลลดลงได้ ดูค่า โปแตสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส มีปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อเราเบื่ออาหารทานอาหารไม่ได้ ค่าเหล่านี้ก็จะต่ำ การให้อินซูลินเข้าไป ค่าเหล่านี้ก็จะต่ำมากขึ้น จะเกิดอันตรายมากขึ้น เพราะ - โปแตสเซียมเป็นสารที่สำคัญต่อหัวใจ ถ้าสูงหรือต่ำไปก็จะทำให้หัวใจทำงานผิดปกติได้ - แมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และกล้ามเนื้อต่างๆ ถ้ามีปัญหาก็จะทำให้เป็นตะคริวรุนแรง มีผลทางด้านโปแตสเซียมต่ำตามไปด้วยเพราะจะทำงานเกี่ยวเนื่องกัน - ฟอสฟอรัสต่ำ เพราะเป็นส่วนประกอบเป็นสารให้พลังงานเรียกว่า ATP (adenosine triphosphate) เวลาสร้างพลังงานในเซลล์จะต้องสร้างผ่าน ATP ถ้าเราไม่มีฟอสฟอรัสในร่างกาย เราจะสร้าง ATP ไม่ได้ เราก็จะไม่มีพลังงาน ทุกๆเซลล์จะต้องใช้พลังงาน ถ้าเราขาดพลังงานเซลล์เราก็จะมีปัญหา #ตอนที่4
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
อินซูลินจะทำให้สารเหล่านี้หายไปจะทำให้มีปัญหาขึ้นมา จึงเป็นเหตุที่เราต้องให้สารน้ำคนไข้ก่อน 2. เราต้องแน่ใจว่าเกลือแร่ปกติแล้วค่อยให้อินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเวลาถัดมา คนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะอายุน้อย ตัวผอม หิวน้ำบ่อย เป็นอาการนำ บางคนไม่มีอาการนำแต่มีอะไรมากระตุ้นแล้วต้องผ่าตัดจากหรืออุบัติเหตุ ร่างกายเกิดความเครียด จากตอนแรกเคยทำได้ จู่ๆก็เกิดทำไม่ได้ เป็นภาวะน้ำตาลสูงฉุกเฉินร่วมกับเลือดเป็นกรดจากคีโตน เบาหวานชนิดที่ 2 จะพบในคนอ้วนมีพุง ถ้าไม่รู้ตัว ไม่ได้รับการตรวจ หรือไปกินยาหม้อที่มีสเตียรอยด์จะทำให้น้ำตาลสูงขึ้น ภาวะนี้เกิดเป็นหลักเพราะร่างกายเราดื้อต่ออินซูลิน หมายถึงร่างกายเราผลิตมาเยอะแยะแต่เอาไปใช้ไม่ได้ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับเบาหวานชนิดที่ 1 #ตอนที่5
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
การรักษาคล้ายๆกับเบาหวานชนิดที่ 1 คือให้น้ำเกลือให้เพียงพอ ดูสารต่างๆ แล้วค่อยให้อินซูลิน ตรวจดูเป็นช่วงๆให้น้ำตาลลงมาได้ดีก่อน ช่วงแรกยังไม่ให้คนไข้ทานอาหาร เพราะ คนไข้ทานไม่ได้ และอาจคลื่นไส้อาเจียน สำลักลงไปในปอด อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม จนกว่าจะมั่นใจว่าน้ำตาลเป็นปกติแล้วและร่างกายอยากอาหารเอง และถ้าคนไข้ไม่มีกรดคีโตนในร่างกายแล้ว จึงจะให้คนไข้รับประทานอาหารได้ และเปลี่ยนอินซูลินทางเส้นเลือด มาฉีดใต้ผิวหนังเมื่อมีกรดคีโตนปกติแล้ว ภาวะ Euglycemic DKA (Eu = ปกติ, glycemic = ระดับน้ำตาล) มีระดับน้ำตาลไม่สูงมาก แต่เกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน กลุ่มนี้จะแตกต่างกับเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่น้ำตาลจะสูง 300-800 แต่ในภาวะนี้น้ำตาลจะสูงไม่เกิน 250 แต่เลือดจะเป็นกรดมาก จะมีอาการขาดน้ำเป็นหลัก และอาจหายใจวาย การรักษาเหมือนกับสองแบบแรก #ตอนที่6
@youtubewatcher2179
@youtubewatcher2179 2 жыл бұрын
คุณหมอค่ะ เรา ฟัง คลิปนี้ แล้ว เรารู้สึกดี กับคลิปนี้ มากเลยนะค่ะ ที่คุณหมอ บอก จะ เป็น โรคเบาหวาน หรือไม่เป็น คุณหมอ ห่วงใย บอกให้ ทุกๆคน ไปตรวจสุขภาพ ไว้ก่อน คุณหมอรู้ไหมค่ะ คุณหมอสร้างบุญเยอะมากเลยค่ะ ขอให้คุณ หมอ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ดูน่ารักอย่างนี้ตลอดไปนะค่ะ😊🙏👍✌
@nuchchi1111
@nuchchi1111 Жыл бұрын
คุณหมอขอบพระคุณคลิปนี้มากๆนะคะ คุณแม่เป็นโรคเบาหวาน ความดันไต ไขมัน เนื้องอกที่ปอดและสมอง แล้วไปฉายแสงมา อาการเป็นแบบนี้เลยแล้วทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นจากสาเหตุน้ำตาลในเลือดสูง เพราะแม่มีอาการ เบื่ออาหาร อ้วก แสบท้อง ต้องไปรพ.ฉายแสงทุกวันเจ้าหน้าที่บอกว่าห้ามหยุดต้องมาทุกวัน พอถามเจ้าหน้าที่เค้าก็บอกปกติของคนฉายแสง เบื่ออาหารทานไม่ได้ก็ยิ่งต้องทาน ไม่ต้องแอดมิด ถ้าต้องแอดมิดคือต้องมีอาการชัก แล้วให้แอดมิดที่รพใกล้บ้าน แล้วแม่ไม่ได้หาหมอ เพราะที่ห้องฉายแสงคิวช่วงบ่ายไม่มีหมอ เจ้าหน้าที่แนะนำอาหารเสริมมาให้ทานเป็นอาหารเสริมให้คนป่วยแบบขวดน้ำ ,อ่านฉลากเราก็มีน้ำตาลเยอะ,ถามว่าแม่ทานได้หรือคะเป็นทั้งเบาหวานและโรคไตเสื่อม เจ้าหน้าที่บอกทานได้เห็นแม่เหนื่อย เราก็ชะล่าใจให้แม่ทานอาหารตามใจเพื่ออยากให้แม่ทานได้ซึ่งมีทั้งหวาน,เค็ม (ปกติควบคุมอาหารดีแต่ครั้งนี้คิดว่าคงไม่เป็นไรดีกว่าแม่ทานอะไรไม่ได้เลย) แม่กลับมาเพลียทุกวันอ้วกเบื่ออาหาร แขนและตาใบหน้าเริ่มกระตุกอ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรงลุกเดินไม่ได้ วันนี้แอดมิดต้องเข้าไอซียู น้ำตาลในเลือดสูง1500 ยังคงรอแม่และหวังว่าแม่จะปลอดภัยค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ
@nuchchi1111
@nuchchi1111 Жыл бұрын
@@DrTany ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ🙏🤍
@นายอดิศรศิริกุลรุ่งโรจน์
@นายอดิศรศิริกุลรุ่งโรจน์ 2 жыл бұрын
ผมเป็นเบาหวานชนิดท่ี 1 เป็นมานานกว่า 37 ปี ฉีดยาวันละ 3 เวลาก่อนอาหารแต่ละมื้อ โดยในการฉีดยาแต่ละครั้งใช้นับจำนวนอาหารแต่ละชนิดเป็นคาร์โบไฮเดรตแล้วคำนวณเป็นยาท่ีฉีด สิ่งท่ีสำคัญสำหรับผู้ท่ีเป็น เบาหววานคือ การตรวจเลือดดูน้ำตาลเป็นประจำแล้วจดบันทึกไปให้คุณหมอดูจะได้สามารถวินิฉัยได้ถูกต้อง เพราะทุกวันนี้ผมเจาะเลือดวันละ 3 - 4 ครั้งทุกวัน
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ขอบคุณที่แชรประสบการและอาการที่คุณเป็นนะคะ ใด้ความรู้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเลยค่ะ แล้วขอเป็นกำลังใจให้นะคะ ดูแล้วมันทรมานมากๆเลยค่ะ
@TM-xm3ux
@TM-xm3ux 2 жыл бұрын
แฟนผมก็เปนครับ ไม่ทราบว่ารักษาที่ไหน ครับ แนะนำหน่อยครับ
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 2 жыл бұрын
เมื่อก่อนรู้แค่ว่าโรคเบาหวาน สืบเนื่องจากคลิปที่อาจารย์หมอพูดถึงโควิดกับโรคเบาหวาน เกิดความสงสัย เลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็ได้รู้ว่าเบาหวานแบ่งเป็นหลายชนิด แต่ละชนิดเกิดสาเหตุแตกต่างกัน การรักษาก็ต่างกัน เบาหวานเป็นโรคใกล้ตัวที่น่ากลัวมากนะคะ ภาวะน้ำตาลสูงเป็นภัยเงียบมากเลยค่ะอาจารย์ ในการใช้ชีวิตประจำเราก็ประมาณ ตอนนี้เอาผลตรวจสุขภาพประจำปี มาเปรียบเทียบค่าแต่ละตัว ก็จะเห็นว่าสุขภาพเรามีการเปลี่ยนทุกปี ค่าบางตัวที่ควรจะสูงก็เริ่มลดลง ตัวที่ควรต่ำก็เริ่มสูงขึ้น🙉 ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการกิน ออกกำลังกาย มากขึ้น ฟังอาจารย์หมอทุกวันก็ช่วยกระตุ้นให้ต้องดูแลสุขภาพตัวเองและคนในครอบครัวมากขึ้น ประวัติคนในเครือญาติก็เป็นโรคเบาหวานด้วยค่ะ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
😊คุณหมอแทนนำโรคยอดนิยมเบาหวาน (โรคที่ไม่มีใครอยากเป็น)มาให้ความรู้ ฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย ชัดเจนดีค่ะ คนรอบตัวเป็นโรคนี้กันเยอะมากๆค่ะ เราหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขปีที่แล้วความว่า "วันเบาหวานโลกตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี และในปีนี้สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้กำหนดประเด็นรณรงค์สำหรับปี 2564-2566 คือ ACCESS TO DIABETES CARE : การเข้าถึงการดูแลโรคเบาหวาน ถ้าไม่ใช่ตอนนี้ แล้วจะต้องเมื่อไร เบาหวานเป็นปัญหาในระดับโลกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกมีผู้ป่วยจำนวน 463 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี " โน้ตบางส่วนจากคลิปไว้อ่านแล้วค่ะ 🔶️เบาหวานชนิดที่ 1 🔸️คือภาวะเซลล์ตับอ่อน ชื่อว่า เบต้า เซลล์ (beta cells) ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ด้วยเหตุผล เช่น มีการโดนทำลายตับอ่อนไป 🔸️จากการที่เรามีตับอ่อนอักเสบรุนแรงและเซลล์หายไปหมด หรือเกิดภูมิต้านทานต่อตัวตับอ่อนเองทำให้เซลล์ตับอ่อนเสียไป มันก็ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ 🔸️อินซูลินมีความสำคัญในการนำน้ำตาลเข้าไปในเซลล์เพื่อที่จะให้เซลล์เราเอาไปใช้ ถ้าไม่มีอินซูลิน ตรงนี้ก็ทำงานไม่ได้ 🔸️อินซูลินมีหน้าที่ป้องกันการสลายของไขมัน ถ้าไม่มีอินซูลินไขมันที่อยู่ตามร่างกายต่างๆก็จะสลาย ร่างกายเรามีความจำเป็นที่จะต้องให้มีไขมัน การสลายไขมันการสร้างไขมันให้สมดุล ถ้าไม่สมดุลก็จะเกิดปัญหาขึ้นมา 🔸️ถ้าไม่มีอินซูลินก็เกิดการสลายไขมันมาก ในช่วงที่เราสลายไขมันมาใช้เป็นพลังงาน มันจะเกิดสารที่เรียกว่าคีโตน (อาหารคีโตคืออาหารที่กินเข้าไปแล้วทำให้ร่างกายเรามีการใช้พลังงานจากไขมันแล้วสร้างตัวคีโตนออกมามากขึ้น ถ้ามากจะมีปัญหาได้ 🔸️ถ้าเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ขาดอินซูลิน น้ำตาลที่อยู่ในเลือดต่างๆไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ได้มันก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆในเลือดและจะทำให้ปัสสาวะบ่อยๆร่างกายก็จะขาดน้ำ 🔸️ร่างกายไม่สามารถใช้พลังงานจากตัวน้ำตาลได้เพราะว่าฮอร์โมนมันขาดไปก็เลยจำเป็นต้องใช้พลังงานจากแหล่งอื่นซึ่งคือไขมันนั่นเอง เวลาใช้ก็จะเกิดการสร้าง คีโตนขึ้นมา คีโตนมีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งจะทำให้ร่างกายมีกรดเยอะขึ้น 🔸️เวลามีกรดเยอะในร่างกายจะมีอาการ เหนื่อยหอบ หายใจไม่ทัน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นต้น 🔸️ถ้าเป็นมากๆการอาจจะหัวใจวายได้ และอวัยวะต่างๆเวลาที่เลือดเป็นกรดเยอะๆมันก็จะทำหน้าที่ไม่ได้ 🔸️ที่น่ากลัวกว่านั้นคือหลอดเลือด หลอดเลือดจะมีการตอบสนองต่ฮอร์โมนต่างๆได้ดีเมื่อค่าความเป็นกรดด่างของเลือดอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ถ้าเป็นกรดมากเกินไปมันไม่ตอบสนอง หลอดเลือดจะขยายตัวและความดันจะตกที่เราเรียกว่า ช็อก 🔸️การเสียน้ำและการที่เลือดเราเป็นกรดพร้อมๆกัน เส้นเลือดทำงานไม่ได้ความดันตกก็จะภาวะช็อก ความดันตกไม่ดีเพราะต้องใช้ความดัน ดันเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ถ้าไม่มีความดันอวัยวะเราก็จะขาดเลือดมันก็จะเสียไปในที่สุด เป็นสิ่งที่ทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ ขอบคุณมากนะคะ 😊 โชคดีที่เราไม่เป็น เบาหวาน (คนในครอบครัวก็ไม่มีใครเป็นค่ะ)เห็นถึงความลำบากในการใช้ชีวิตของคนเป็นโรคนี้ก็เห็นใจค่ะ เพราะมีเพื่อนเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ตั้งแต่เด็กต้องพกอินซูลินตลอดเพื่อฉีดให้ตัวเอง ไปไหนลืมอะไรก็ได้ แต่ถ้าลืมอินซูลินอยู่ไกลแค่ไหนก็ต้องกลับไปเอาเดี๋ยวนั้นเพราะหมายถึง ชีวิตเค้าเลย แต่ละเดือนมีรถพยาบาลวิ่งเข้าออกบ้านหลายครั้งเป็นเรื่องปกติ(เค้าบอกน้ำตาลตก แล้ววูบเราก็ไม่เข้าใจเท่าไหร่ค่ะ)แม้กระทั่งอยากไปเรียนต่ออเมริกาก็หมดโอกาสที่บ้านห้ามเด็ดขาดเพราะเป็นผู้หญิงอยู่คนเดียวและเพราะโรคที่เค้าเป็นทั้งที่ฐานะ การศึกษา ภาษาดีเพราะเรียนอินเตอร์ตั้งแต่เด็กจนโต เค้าเคยไปอเมริกาเพื่อไปเยี่ยมน้องชายแล้ววูบดีที่มีประกันค่ะ เล่าให้ฟังเพราะเคยใกล้ชิดกับคนเป็นโรคนี้ค่ะ น่าเห็นใจมาก Have a nice day และ ราตรีสว้สดิ์ค่ะ😊 🌹❤🌹
@krongkaewarunsiri8866
@krongkaewarunsiri8866 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอให้ความรู้ที่น่าสนใจมากค่ะ อนุโมทนาสาธุค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ❤️
@คุณนงT
@คุณนงT 2 жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอ ทุกๆคลิบได้ความรู้ดีมาก คนไทยโชคดีที่มีโอกาสได้ฟังคุณหมอ เพื่อนำไปปรับตนเองในการดำเนินชีวิต ขอให้คุณหมอ เจริญยิ่งๆขึ้นไป
@KarnTovara
@KarnTovara 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ..สำหรับความรู้โรคเบาหวานค่า 😃 - หากพูดถึงโรคเรื้อรังต่างๆ เบาหวานนี่...ตัวร้ายเลยนะคะ 😈 หากคุมระดับน้ำตาลไม่ได้...โรคร้ายต่างๆ อาจเดินเรียงแถวมาหาเลยค่า 😅 - ปัจจุบัน พบผู้ป่วยเบาหวานในคนอายุต่ำลงเรื่อยๆ พบในวัยรุ่นมากขึ้น คงเนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารนะคะ 🍔🍩🧋🎂 - ❤ ควรทานมื้อเช้า ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย - ❤ เน้นโปรตีน : เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วต่างๆ - ❤ ลดแป้ง น้ำตาล ไขมัน - ❤ ทานผัก ผลไม้สด (งดดอง แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง) - ❤ ลดหวาน ลดเค็ม ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 🍺 - ❤ หากดื่มกาแฟ ก็กาแฟดำ ไม่ใส่ครีมเทียม หวานน้อย...ย - ❤ ออกกำลังกาย โย่ว..โย่ว...ค่าา 😆
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 2 жыл бұрын
สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆคะคุณหมอที่มาให้ความรู้ดีดีมีประโยชน์เสมอคะในทุกวัน ตาชอบกินของหวานขนมเค้กขนมปังตอนเช้าคะเพราะต้องกินยาความดันคะแต่ของทอดของมันไม่เท่าไรคะตอนต้นปีตรวจสุขภาพหมอบอกว่าทุกอย่างปกติแต่อย่าให้ไขมันสูงคะ😅 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ🙏😷🇹🇭🌹
@kanoky7076
@kanoky7076 2 жыл бұрын
ลูกของญาติเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ตายอายุ 30 ต้นๆคะ น้ำตาลที่แสนหวานแต่พิษภัยร้ายกาจมากมาย ฟังแล้วเบาหวานน่ากลัวกว่าที่คิดมากมายคะ ขอบคุณนะคะ 🙏
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ สมัยนี้คนเป็นกันเบาหวาน ชนิด ที่ 1 และ 2 มากขึ้น และพบในคนอายุน้อยๆ แล้ว เนื่องจากวิถีชีวิต ที่เปลี่ยนไปมากจากในอดีต น้ำตาล หาง่ายขึ้น อาหาร นมผง นมกล่อง UHT ทุกอย่าง ส่วนประกอบของน้ำตาล เกือบทุกอย่าง โชคดีที่ยังไม่เป็นค่ะ แต่มีคนในครอบครัวเป็น แม่ก็ไม่ได้บ่นเรื่องน้ำตาลตกเท่ากับช่วงที่เป็นแรกๆ เวลาน้ำตาลตก เพราะแม่ ทำงาน ในไร่ ในสวน ลดน้ำหนัก กินยาสม่ำเสมอ และตรงเวลาค่ะ Have a relaxing Friday with Rosy ค่ะ 🌸🌸🌹🌹🌸🌸💐💐🐶🐶🐩🐩
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
@Doctor Tany ขอบคุณค่ะ ❤️♥️💖💖💚💚🧡🧡 🌸🌸🌹🌹💐💐🌷🌷🪷🪷 Have a happiness time with Rosy ค่ะ 🐶🐶🐩🐩🐶🐶🐩🐩
@Spt_N_25
@Spt_N_25 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมอ ความรู้เรื่องนำ้ตาลสูงแบบ วิกฤติ เบาหวานเมื่อก่อนคิดว่าเรื่องไกลตัวและไม่ค่อยสนใจ พอเจอคนใกล้ตัวเป็น 🥬🥦🥗🍊เห็นพฤติกรรมการกินอาหารของครอบครัว น้าเขยเป็นเบาหวานลูกสาวเค้าก็เป็นด้วยอายุยังไม่เยอะด้วยอาหารมีส่วนสำคัญครอบครัวนี้ชอบกินหมูสามชั้นติดมัน ของทอด ผัด ของหวาน น้ำอัดลม กินแป้งเยอะ ผักไม่ชอบกิน พอเห็นน้องเป็นทั่งที่อายุไม่เยอะ กลัวเลยค่ะ โชคดีครอบครัวตัวเองพ่อแม่กินอาหารเน้นไปทางปลา นึ่ง ต้ม ปิ้งย่าง น้ำพริก ผัก ผลไม้เยอะ กินแบบนี้แต่เด็กเลยชอบติดมาจนเราโต คนในครอบครัวตอนนี้เลยไม่มีใครเป็นเบาหวาน ยิ่งมาติดตามช่องคุณหมอได้ความรู้เยอะ เอาผลตรวจสุขภาพมาดูค่าน้ำตาล ลดลงทุกปี ไม่สูง ก็ไม่ประมาท ก็ไม่อยากเป็น หันมาดูแลเรื่องอาหารมากขึ้นกว่าเดิม และออกกำลังกายทุกวันด้วยค่ะ คุณหมอพักผ่อนด้วยนะค่ะ 💫💫✨🌟⭐️ยินดีด้วยยอดผู้ติดตาม 2️⃣5️⃣5️⃣K ยอดวิว 2️⃣2️⃣ล้านวิวขอให้เพิ่มมากขึ้นทุกวันค่ะ💐💐💐💐💐
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ สามีของป้าตอนยังหนุ่มๆจะเป็นคนชอบกินของอร่อยๆ ของทอดของมันของหวานๆ และเป็นคนกินเยอะมากค่ะ จนเริ่มเป็นความดันสูงและเบาหวาน หมอก็ยังไม่ให้กินยานะคะตอนแรก บอกว่าให้ไปคุมอาหารดูก่อนหนึ่งเดือน ป้าก็เป็นคนคุมอาหารให้เค้าค่ะผ่านไปหนึ่งเดือน ไปหาหมอหมอเห็นสามีของป้าแล้ว บอกว่าแหมภรรยาของคุณคุมเองจัง คือตรวจแล้วกลับมาเป็นปกติผอมลงมากด้วยค่ะ ตอนนั้นเราอยู่ประเทศแคนาดาค่ะ แต่พอย้ายกลับไปญี่ปุ่นก็กลับไปเป็นความดันสูงและเบาหวานอีก ก็คุมเค้าไม่ได้แล้วค่ะเพราะเค้าไม่คุมปากตัวเอง เพราะเป็นความดันสูงและเบาหวานจนมาเป็นโรคไต สุดท้ายทุกวันนี้ต้องฟอกไตวันเว้นวันค่ะ อายุก็จะเจ็ดสิบปีนี้แหละค่ะ นิสัยก็ยังเหมือนเดิมค่ะคือชอบกินอาหารอร่อยๆของทอดของหวาน ป้าบ่นให้ลูกสาวฟัง ลูกบอกว่าพ่อเค้ามีความสุขในการกินปล่อยเค้าเถอะบั้นปลายชีวิตแล้วค่ะ ก็นั่นแหละค่ะทำอะไรไม่ได้แล้วก็ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานแค่ไหนค่ะ
@BlueNoah...
@BlueNoah... 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณที่แชร์ประสบการณ์ครับ 🇹🇭
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
จริงครับ คนไข้ผมที่ไม่คุมอาหาร ผมก็จะบอกไปตรงๆว่าถ้าไม่คุมแล้วเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ถ้าเขายอมรับได้ผมก็จะเขียนไว้ในโน๊ต แล้วก็ปล่อยเขาทำตามที่เขาต้องการ บางคนไม่เป็นไรก็ดีไป ส่วนคนที่เป็นแล้วมาเสียใจขอร้องให้ช่วยทีหลัง ผมก็จะเอาข้อความที่ผมเขียนไว้ให้อ่าน หรือไม่ก็พูดให้ฟัง แต่ก็จะบอกว่าช่วยอะไรไม่ได้แล้วครับ เหมือนที่เราเคยคุยกัน คุณเลือกเส้นทางนี้เองและนี่คือผลของมันก็ต้องยอมรับครับ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะที่แชร์ประสบการณ์🙏🌷
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin 2 жыл бұрын
ใช่ค่ะคุณหมอ ป้าลืมเล่าไปว่าสามีของป้าเป็นคนไม่ออกกำลังกายด้วยค่ะ กลับจากทำงานเจ็ดแปดโมงกลางคืนกินอาหารคํ่าเสร็จ ก็นอนดูทีวีหรืออ่านหนังสือบนโซฟาหลับคาหนังสือเลยค่ะ ป้าคิดว่าตัวเองเป็นหนอนหนังสือแล้วนะคะ แต่ดันมาเจอหนอนตัวพ่อยิ่งกว่า🤣ตอนที่กลับมาเป็นความดันสูงและเบาหวาน ที่แรกหมอก็ให้ยาชนิดอ่อนๆ เม็ดสองเม็ดก็บอกให้คุมอาหารและออกกำลังกายค่ะ หมอบอกเค้าว่าอยากสุขภาพดี “ก็กินอาหารเหมือนภรรยาของคุณกินสิ”🤣 ก็อย่างคุณหมอแทนว่าแหละค่ะ มาเสียใจเมื่อมันสายไปแล้วใครๆก็ช่วยไม่ได้หรอกค่ะ ขนาดมาถึงจุดที่ต้องฟอกไตวันเว้นวันก็ยังชอบกินของหวานๆอยู่ค่ะ มีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะยาคือทุกๆวัน จะกินยามากหลายสิบเม็ดสารพัดชนิดยาเบาหวานก็ยังต้องกินอยู่ค่ะ แต่ยาความดันสูงไม่ได้กินแล้วค่ะตั้งแต่ฟอกไต และไม่เคยมีปัสสาวะอีกเลยค่ะ
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ ถ้ารู้ว่ามีความเสี่ยงเป็นเบาหวานควรตรวจเพื่อป้องกัน แม้ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงก็ควรตรวจสุขภาพประจำปี คุณหมอเคยพูดถึงผู้เป็นเบาหวาน หากติดโควิดจะมีความรุนแรงมากกว่า แม้คนที่ไม่ได้เป็นเบาหวานมาก่อน ติดโควิดเสี่ยงเป็นเบาหวานได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ คลิปวันนี้เป็นประโยชน์กับแพทย์จะได้ทราบชื่อยาในการรักษาค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขนะคะ
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
@ Doctor Tany ขอบคุณนะคะ ค่ำคืนนี้นอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดืนะคะ 🌻🌻🌻
@สวยอําไพแจ่มดี
@สวยอําไพแจ่มดี 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ🙏🏼คุณหมอแทน ขอบคุณจากใจเลยค่ะ🙏🏼❤️คุณหมอได้ความรู้เพิ่มทุกๆๆวันขอให้คุณหมอพร้อมครอบครัวมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงๆๆน่ะค่ะ น้องโรชี่ด้วยค่ะ สาธุๆๆ🙏🏼น่ะค่ะ
@AL86898
@AL86898 2 жыл бұрын
สวัสดีตอนเช้าค่ะอาจารย์หมอแทน คุณหมอมาพูดมาสอนมาบอกถึงภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สิ่งที่เกิดขี้นฉับพลันจะขาดน้ำขาดเลือดอวัยวะต่างๆทำงานไม่ได้ เลือดจะนืด และเป็นกรด มากเกินไปอันตราย ความดันตกคือภาวะเบาหวานชนิดที่1 เชลตับออ่นทำงานไม่ได้ ขาดอินซูลิน การสลายไขมันเกิดขึ้นร่างกายขาดน้ำต้องมาใข้แหล่งพลังงานอื่นๆ ทำให้ร่างกายเป็นอันตรายได้ การเสียน้ำมากๆความดันตก วิธีรักษา ให้น้ำเกลือได้ และดูค่าเกลือแร่ต่างๆ โปรแตสเซี่ยม แมกนีเซี่ยมส่วนประกอบของเอ็นไซ ฟอสฟอรัสต่ำเป็นสารให้พลังงานในเชลสร้างผ่านตัวฟอสฟอรัส เพราะต้องใช้อินซูลินอาจทำให้เกลือแร่ลดลง โปรแตสเซี่ยม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ต้องแก้ให้สารน้ำก่อนให้อินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาล ภาวะเลือดเป็นกรด คือเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งผอมอายุน้อย หิวน้ำบ่อย ภาวะน้ำตาลสูง ที่เกิดภาวะขาดน้ำ ทำให้เลือดนืด ต้องลดน้ำตาลที่สูงในร่างกาย การรักษา เบาหวานชนิดที่1 ด้วยสารต่างๆเช่นโปรแตสเซี่ยม แมกนีเซียม และเกลือแร่ต่างๆนั้นมีความสำคัญ เบาหวานชนิดที่สองคนอ้วนอายุเยอะ อย่าทานยาที่ ยามีสเตย์รอย มากๆอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและดื้อต่ออินซูลินมีอาการเลือดนืดจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจหมดสติ ต้องให้สารน้ำ มากๆ ดูเกลือแร่ ก่อนให้ปกติ แล้วรักษา ด้วยอินซูลิน ให้ทางเส้นเลือดก่อนน้ำตาลสูง การที่หมอต้องให้สารน้ำและดูเกลือแร่ก่อนค่อยให้สารน้ำนั้น ดูเกลือแร่ให้ปกติด้วย คนไข้ต้องไม่มีกรดคีโตน ในเลือดต้องปกติแล้ว ระดับน้ำตาลที่ไม่สูงกลุ่มแค่250แต่มีภาวะเลือดเป็นกรด มากๆเลยขาดน้ำ หายใจไม่ดีต้องให้สารน้ำมาก เค้าขาดสารอาหาร ดื่มเหล้ามากเสี่ยง ขาดพลังงาน และต้องใช้ไขมัน จะเกิดคีโตน หรือคนตั้งครรภ์เสี่ยง ทานอาหารไม่ได้แพ้ท้อง ทำให้มีคีโตน ง่ายหรือเครียดตับอ่อนอักเสบรุนแรง เบาหวานชนิดที่สอง การใช้ยากลุ่มนี้ป้องกันหัวใจวายด้วยคือโซเดียมกูลโค้ต มีหลายชนิดหลายยี่ห้อ หลักการทำงานทำให้ปัสสวะบ่อย ๆลดระดับน้ำตาลในเลือดลดการดูดซึมได้การตรวจคีโตนในเลือดหมอต้องให้สารน้ำด่วน คุณหมอสอนนักเรียนแพทย์ที่ฟังต้องเข้าใจโดยง่ายเราๆก็รู้ไว้บ้างเป็นความรู้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นอันตรายมากต้องลดระดับน้ำตาลด้วยการรักษาของแพทย์เท่านั้น หมอจะตรวจระดับน้ำตาล เมื่อลดคุมน้ำตาลได้แล้วคนไข้จะดีขึ้น อย่าหายาทานเองต้องหาหมอค่ะ คนเป็นเบาหวาน ต้องรับรักษาจากหมอเท่านั้นอย่าหายาทานเอง นะคะขอบคุณความรู้ค่ะคุณหมอ🙏👍❤
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน😊เข้ามาทักทายค่ะ ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูลดีๆมีประโยชน์มากค่ะ กลับถึงบ้านจะฟังต่อนะคะ 🌹❤🌹
@กานดากลิ่นบุบผา
@กานดากลิ่นบุบผา 2 жыл бұрын
กราบขอบพระคุณมากค่ะ คลิปนี้ได้ความรู้ สำหรับคนไข้มากค่ะ
@mountainview9195
@mountainview9195 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🌸 และขอบคุณ FC ทุกท่านที่ช่วยทำสรุปไว้ค่ะ🙏🌷😍
@poohom2010
@poohom2010 2 жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ สำหรับความรู้ สามารถนำมาเป็นข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจในอาการของโรคเบาหวาน ซึ่งมีประโยชน์มากในการใช้สังเกตุอาการของแม่ค่ะ
@笹野研二
@笹野研二 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ😊ขอบคุณคุณหมอมากๆเลยค่ะ น้ำตาลอยู่กับชีวิตประจำวันคลิปวันนี้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ🙏
@suriyawong75
@suriyawong75 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ทุกคลิปมีประโยชน์มากๆค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@kanokpornmartinez9609
@kanokpornmartinez9609 2 жыл бұрын
ขอบคุณ มากๆค่ะ สอน ทุกคน ทางออนไลน์ ได้ความรู้สำคัญมากจ้าา สำหรับสุภาพ การดูแลตนเอง
@บุญศรีจิโนเป็ง
@บุญศรีจิโนเป็ง 2 жыл бұрын
สวัสดีจ๊ะคุณหมอ..ยายขอให้คุณหมอจงเจริญในหน้าที่การงานและในครอบครัวยิ่งไปน่ะจ๊ะเพาะคุณหมอเป็นคนดีให้ความรู้เรืงโรคภัยได้ดีมากอธิบายก็เข้าใจง่ายขอบคุณมากๆจ๊ะ
@ณรมย์เนตรมาตย์สอน
@ณรมย์เนตรมาตย์สอน 2 жыл бұрын
สวัสดี​ค่ะ​คุณหมอ​ได้​ความรู้​ดีมาก​เ​ลยค่ะ​โรคนี้ดูน่ากลัวเราต้องควบคุม​อาหารการกินหรือเปล่าค่ะคุณหมอเกี่ยวกับโรคนี้
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน สำหรับความรู้เรื่องเบาหวานชนิดที่1,2 โดยเฉพาะภาวะ Euglycemic DKA ช่วงนี้ยังต้องอยู่เวรใช่มั๊ยคะ สู้ๆนะค้าา✌✌ค่า
@soontareesoontaree6725
@soontareesoontaree6725 2 жыл бұрын
คุณหมอคะ แม่ก็เสียชีวิตจากเบาหวาน ช่วงหลังๆคุณหมอพูดถึงผู้ป่วยอายุรกรรมทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น แต่ยังมีความสงสัยในเรื่องการฉีดสีเข้าไขสันหลังตอนผู้ป่วยช๊อคเบาหวานเพื่อดูอะไรคะ ขอบคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
อันนั้นไม่น่าเกี่ยวอะไรกับตัวเบาหวานครับ การฉีดสีเข้าไขสันหลังปกติเราไม่ทำกันแล้วครับ สมัยก่อนทำเพื่อตรวจดูลักษณะของไขสันหลังว่ามีก้อนหรืออะไรผิดปกติหรือไม่ ปล บางทีที่เขาทำอาจจะไม่ใช่การฉีดสีเข้าไปก็ได้ครับ
@สมภพไวย
@สมภพไวย 2 жыл бұрын
ผมเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กย.64 HbA1C 7.5 ตค.64 HbA1C 7.1 ธค.64 HbA1C 5.7 กพ.65 HbA1C 5.4 พ.ค.65 HbA1C 5.2
@yaousa5475
@yaousa5475 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอสำหรับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อยากให้คุณหมออธิบายเกี่ยวกับ Cholesterol สูง ดิฉันเพิ่งตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจทุกปีค่ะ ค่าการตรวจ Triglyceride, glucose, sodium, potassium อยู่ในระดับปกติค่ะ แต่ total cholesterol สูง ค่าที่ตรวจ 228 LDL สูงเกินมาตรฐานเช่นกันค่ะ ดิฉันเป็นคนผอม BMI ประมาณ 19-20 ไม่ชอบทานของมัน ไม่ดื่มน้ำอัดลม และทานผักตลอด ถาม Primary Doctor ท่านบอกว่ากับบางคนที่ Cholesterol สูงมาจากกรรมพันธ์ คุณย่าของดิฉันเป็นค่ะ แล้วอย่างนี้จะทำอย่างไรให้ระดับ Cholesterol อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ค่ะ รบกวนคุณหมอให้ความรู้และการควบคุมด้วยค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ถ้าเราคุมอาหารดีแล้วและออกกำลังกายแล้ว LDL ยังสูงเกิน 160 ก็ควรที่จะต้องใช้ยาแล้วครับ
@yaousa5475
@yaousa5475 2 жыл бұрын
@@CherryChonny ขอบคุณค่ะ
@yaousa5475
@yaousa5475 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณค่ะคุณหมอ
@ployyy.2107
@ployyy.2107 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอรีบเข้ามาดูเลยค่ะ ขอบคุณความรู้มากมายที่แบ่งปันให้ค่ะ...🥰🥰🥰
@jptbe17
@jptbe17 2 жыл бұрын
คุณหมอพอจะทำคลิปเรื่องทอนซิลอักเสบได้มั้ยครับ ผมเป็นทุกปีเลยครับ ช่วงเวลาเดิมของปีด้วย ขนาดช่วงโควิดระบาด ใส่หน้ากากตอนออกนอกบ้านตลอด ยังไม่เคยติดโควิดแต่ก็ไม่รอดจากทอนซิลอักเสบครับ ปรึกษาหมอเรื่องจะตัดออก หมอบอกว่าเป็นปีล่ะครั้งไม่ถือว่าบ่อยครับ แต่เป็นทีนึงอาการหนักเลยครับ คุณหมอมีวิธีในการป้องกันไม่ให้เป็นมั้ยครับ ขอบคุณครับ🙏
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ถ้าเป็นช่วงเดิมทุกปี ก็คงไม่พ้นติดเชื้อไวรัสสักตัวครับ การระวังตัวมันต้องระวังทุกอย่างที่จะเข้าไปในปาก หรือจมูกของตัวเองโดยไม่เผลอเลยครับ จะต้องล้างมือทุกครั้งก่อนที่จะจับบริเวณหน้าตัวเองครับ
@bupphalovenature8265
@bupphalovenature8265 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ...🙇‍♀️🙇‍♀️😊😊
@ปราณีอรุณไพร
@ปราณีอรุณไพร 2 жыл бұрын
สวัสดีเจ้าคุณหมอขอบคุณเจ้า💕💕💕💕
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
คำจำกัดความพอสังเขปของหัวข้อในวันนี้ 3 คำ คือ DKA, Hyperosmolar Coma, Euglycemic DKA ✴DKA (Diabetic Ketoacidosis) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน แต่เดิมพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 1) ปัจจุบันพบได้บ่อยขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ของโรคเบาหวาน ✴Hyperosmolar Coma คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงมากและมีความเข้มข้นของเลือดสูง เป็นภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยจะมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ซึมลง หากเป็นมากความดันจะต่ำ และอาจจะหมดสติได้ ✴Euglycemic DKA คือ ภาวะฉุกเฉินของเบาหวาน ที่มีเลือดเป็นกรดจากคีโตนคั่ง หากแต่ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง หรือสูงเพียงเล็กน้อย มักไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/เดลิมิตร ภาวะนี้ พบได้ทั้งในเบาหวานชนิดที่ 1และ 2 โดยมักพบในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่อดอาหาร ผ่าตัด ดื่มเหล้าหนัก ตับอ่อนอักเสบ หรือ ผู้ที่รับประทานยาเม็ดลดน้ำตาลกลุ่ม sodium glucose cotransporter-2 inhibitors
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
@ Fragranza Trippa ขอบคุณมากค่ะ ที่เสียสละเวลาหาข้อมูลให้ทุกวัน ขอให้มีความสุขนะคะ ⚘⚘
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@boomsong5729 💙
@Kooreumi
@Kooreumi 2 жыл бұрын
อยากให้คุณหมอช่วยลงรายละเอียดเรื่องของการปัสสาวะบ่อย เช่นว่าบ่อยในที่นี้คือวันละกี่ครั้ง และปริมาณน้ำที่ควรดื่มในแต่ละวันหน่อยค่ะ (ส่วนตัวรูปร่างผอม ดื่มน้ำค่อนข้างเยอะ และเข้าห้องน้ำบ่อย แอบกลัวๆว่าที่เข้าบ่อยนี่ปกติหรือไม่ปกติค่ะ) ขอบคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ฉี่วันละ 4 ลิตรถือว่าเยอะครับ
@Kooreumi
@Kooreumi 2 жыл бұрын
@@DrTany ต้องกะเอาจากปริมาณไม่ใช่จำนวนครั้งสินะคะ แล้วการดื่มน้ำนี่ควรดื่มวันละ1-2ลิตร ถูกต้องไหมคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ครับ
@ศิริจัน
@ศิริจัน 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ ดีมากๆเลยค่ะ เข้าใจขึ้นเยอะเลย👍👍👍
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh 2 жыл бұрын
ขอบคุณครับพี่หมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️
@เเม่บูชวนชม
@เเม่บูชวนชม 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะมีประโยชน์มากค่ะ
@lakkyky5792
@lakkyky5792 10 ай бұрын
Thank you 🙏 ค่ะ อาจารย์หมอ❤❤❤❤
@luxanawadeeboonyasirinun6378
@luxanawadeeboonyasirinun6378 2 жыл бұрын
ว้าว? อย่างกับคุณหมอมาอยู่ในใจค่ะ พึ่งพาสาวน้อย โสดสนิท ไปรพ.(สาวเหลือน้อย😁 โสดตั้งแต่เริ่มทำงานที่สภากาชาดไทยจนเกษียณ😄) คุณหมอสั่งเจาะเลือด พบ Cholesterol สูงทั้ง 2 ตัว น้ำตาลสูงตามมาติดๆ อย่างอื่นปกติค่ะ สีเลือดเข้มเชียว เจาะเลือดเสร็จ รอผล แป้บนึงอาเจียน 2 รอบ ออกเป็นน้ำลายขู่หมอเลย น่าจะท้องว่าง-เครียดด้วยมั้งคะ? คุณหมอให้ยา SIMVASTATIN ครึ่งเม็ดก่อนนอน แต่เรื่องน้ำตาลสูงไม่มียา แต่ให้ลดคุมอาหารหวาน มัน ด่วน (สงสัยจะดูแลคุณป้าดีเกินไป ที่บ้านติดทานรสหวาน และทานคาวแล้วต้องมีของหวานตาม รึไม่ก็ผลไม้ล้างปาก) ส่วนต้อมน่าจะไม่เป็นเบาหวาน แค่เป็นชีวิตขาดความหวาน 🤣 ไม่ต้องเศร้าใช่ไหมคะ? (หวานเป็นลมขมเป็นยา😅 แล้วทำไมต้องขม เพื่อ?!? ว่าแล้ว ไปหาทานขนม ของหวาน ทาน chocolate ดีกว่า 😇 (ต้อมมีแนวโน้มจะเป็นเบาหวานแบบแรก 555 หากลัวไม่😋) เดี๋ยวทานหวานๆ เผื่อคุณหมอนะคะ! 🍰🍮🍨🍫อุ้ยลืม! ขอบคุณคุณหมอนะคะที่แนะนำเรื่องวันนี้ เราก็คงต้องดูแลสาวเหลือน้อยคนนี้กันต่อไปค่ะ
@winnie6672
@winnie6672 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะคุณหมอ และถ้าหากว่าเราต้องการจะป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ เราสามารททาน hyaluronic acid supplements จะเป็นผลดีต่อร่างกายหรือไม่คะ ?
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ไม่ได้ช่วยอะไรขนาดนั้นครับ แต่ทานได้ครับ
@nongnuchriebroicharoen2180
@nongnuchriebroicharoen2180 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ได้ความรู้มากเลยค่ะ
@nattidbunmanuch6597
@nattidbunmanuch6597 10 ай бұрын
ขอบคุณคลิปคุณหมอมาดูครับ.พ่อผมเข้ารักษาด้วยภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานพ่ออายุ85ปีตอนนี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่.
@pimkhwansapruangthong2690
@pimkhwansapruangthong2690 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ พอดีสามีหนูเป็น euglycimic DKA ค่ะ เกิดหลังผ้าตัดเปลี่ยนวาล์วหัวใจค่ะ เป็นหลังจากออกจากโรงพยาบาล3วัน เพราะตอนพักอยู่ใน รพ หมอให้ฉีดอินซูลิน แต่หลังจากกลับหมอให้กินยาเดิมก่อนผ่าตัด ละมีตัว foxiga อยากปรึกษาคุณหมอว่าเป็นเพราะอะไรคะที่เป็น eDKA คะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เพราะยาตัวนั้นแหละครับ เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะถ้าร่างกายไม่ปกติ กินข้าวไม่ได้
@pimkhwansapruangthong2690
@pimkhwansapruangthong2690 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ แล้วอย่างงี้เราก็กินยาตัวนี้ต่อไม่ได้แล้วใช่มั้ยคะ ตอนนี้แฟนยังอยู่ไอซียู ใช้เวลานานมั้ยคะกว่าจะปกติ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
@@pimkhwansapruangthong2690 ต้องถามหมอที่ดูแลเลยครับ
@AvecBella
@AvecBella 2 жыл бұрын
Good evening ka Doctor Tany ✨. Coming in to finish the clip. I didn’t get to finish it this AM hehehe 🤭. Thank you for today’s talk on Hyperglycemic Crises and Euglycemic DKA ka. Good review plus some new knowledge too. I also looked up some additional info (for myself) just for completion. The use of SGLT-2 inhibitor in active transplant patients is new to me. In these patients with urinary Mg wasting, would you prescribe SGLT-2 inhibitor only after the patients have failed the po/iv Mg supplementation as a step therapy? Just curious… I don’t think any of them comes in generic $$$. Do more topics like these, Doctor Tany. Me like. A LOT. ❤️♥️❤️
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
I use it only when patient’s Mg is not better with po Mg or is limited by diarrhea.
@TaiTai-qw7zx
@TaiTai-qw7zx 2 жыл бұрын
สวัสดีคุณหมอ.ขอบคุณเหลือเกินค่ะที่คุณหมอมาแนะนำข้อมูลดีๆให้ได้รับรู้ ขอให้คุณหมอแบะครอบครัวมีแต่ความสุขความเจริญนะคะ
@MuayChannel6
@MuayChannel6 2 жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากๆ ค่ะ เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งมีข่าวที่ผู้หญิงคนหนึ่งไม่ทานน้ำเปล่าเลย ส่งผลให้เส้นเลือดในสมองตีบ และมีอาการชาตามร่างกาย น่าจะมาจากเลือดที่หนืดใช่ไหมคะ น้ำตาลหวาน อร่อย มากเกินไปก็อันตรายกว่าที่คิด ร้านอาหารที่ไทยบางร้านก็ติดหวานและเค็มค่ะ 🥲
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
กรณีนั้นอาจไม่เกี่ยวกันครับ
@Thiphayathida
@Thiphayathida 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ รอชมเรื่องราวที่น่าสนใจจากคุณหมอค่ะ
@natratrittisang9987
@natratrittisang9987 Жыл бұрын
อ.แทนค่ะ.แม่อายุมากแล้ว.ไตวายระยะสุดท้ายนะค่ะ.แกไม่ฟอก.แกบอกว่า.ปล่อยตามธรรมชาติเลย.จะรู้ได้ยังไงว่า.จะอีกกี่ปีจึงจะถึงระยะชีวิตสุดท้ายค่ะ...แกบอกว่าขอตายที่บ้านไม่ให้พาไปรพ.คะ.
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ตอบไม่ได้หรอกครับ และจริงๆผมไม่อยากให้สนใจเรื่องว่าเมื่อไหร่จะถึงวาระสุดท้าย แต่ควรสนใจว่าตอนนี้เราจะทำให้ท่านมีช่วงเวลาที่เหลืออยู่ให้มีความสุขที่สุดได้อย่างไรมากกว่าครับ
@ริน-ม5ห
@ริน-ม5ห 2 жыл бұрын
คุณหมอครับ เป็นเบาหวาน ติดเชื้อโควิต.ทำไมน้ำตาลพุ่งสูงครับ229ทัังๆปกติไม่เคยเกิน140.มันเกี่ยวกันใหมครับ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เกี่ยวกับโควิดครับ และถ้ามันพุ่งแบบนั้นต้องไปดูด้วยว่ากินอะไรเข้าไปครับ ปกติต่อให้เป็นเบาหวาน ถ้าไม่กินอะไรน้ำตาลก็ไม่มีทางสูงครับ
@นพวรรณโตมะสูงเนิน
@นพวรรณโตมะสูงเนิน 2 жыл бұрын
ขอบคุณ​มาก​นะ​ค่ะ​
@choojitpromjai9383
@choojitpromjai9383 2 жыл бұрын
ป้าเป็นมาตั้งแต่ปี57ค่ะตรวจเจอคั้งแรก288ตรวจที่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ค่ะคุณหมอท่านให้ยามากินหลังอาหารเช้าและเย็นครั้งละ1เม็ดและล่าสุดไปตรวจตามนัดเจาะท้องแขนค่ะน้ำมี96ค่ะน้ำสะสมมี6.2ค่ะถือปกติไหมคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ปกติดีครับ มีรายละเอียดเพิ่มตามนี้ครับ kzbin.info/www/bejne/jaO8nH2rnp2lkJo
@chaowachaharlow1467
@chaowachaharlow1467 Жыл бұрын
ขอเรียนถามคุณหมอ ไปตรวจเลือดมา มีค่า carbon dioxide สูงเกินค่ามาตรฐาน จะเป็นอัตรายไหมค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
มีโอกาสครับ ต้องปรึกษาหมอที่ตรวจถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขครับ
@Hoshi1451
@Hoshi1451 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ เคยได้ยินโรคเบาหวาน ขึ้นตา,โรคเบาหวานลงไต ัแบบนี้คือโรคแทรกซ้อน ของโรคเบาหวานอีกทีใช่ มั๊ยคะอาจารย์หมอ แล้ว จะแทรกซ้อนไปที่ใดมี วิธีทราบก่อนมั๊ยคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ใช่ครับ ต้องไปตรวจประจำครับถึงจะทราบได้ มันไม่มีอาการเตือนครับ
@Hoshi1451
@Hoshi1451 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากค่ะ
@อรพรรณสมวงศ์
@อรพรรณสมวงศ์ 2 жыл бұрын
ซื้อแถบ indicator ตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ เขียนว่าบนกล่อง Glucose Control ขนาด 100ชิ้น มีสองแถบสีคือเขียว 30-60 mg/dL และ 254-344mg/dL ให้คนในครอบครัวตรวจ อันนี้เราดูจากสีใช่ไหมคะ แล้วก็ระวัง
@อรพรรณสมวงศ์
@อรพรรณสมวงศ์ 2 жыл бұрын
อีกสีจะออกสีแดงเลือดหมู
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
คุณหมอคะ คุณหมอมีคำแนะนำให้กับ4คนนี้ไหมคะ เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน 🏵Mickey หลังออกกำลังกาย อยากกินอะไรหวานๆ จึง ดื่มน้ำผลไม้เย็นๆ หลังออกกำลังกาย ทุกครั้ง 🧃1 กล่อง 🏵 Minnie กลัวสารที่ให้ความหวาน แทนน้ำตาล เช่น แอสปาร์แตม ซูคราโลส ยอมกินแบบมีน้ำตาลปกติดีกว่า 🍭 🏵 Pluto ทานก๋วยเตี๋ยว แล้วรู้สึกว่าเค็มมาก จะทิ้งก็เสียดาย จึงปรุงรสโดยใส่น้ำตาล เข้าไปเพิ่มให้รสกลมกล่อม 🍜 🏵 Pooh ชอบทานน้ำผึ้งมาก ทานน้ำผึ้งทุกวันเลยวันละ1-2 ช้อนชา 🍯 🍯 ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ💪🏻💪🏻
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
Mickey เปลี่ยนเป็นน้ำฝรั่งคั้นเองครับ Minnie กินได้แค่จำกัดจำนวนครับ Pluto ทีหลังให้เทน้ำครึ่งนึงใส่ถุงไว้กินครั้งต่อไป ครั้งนี้เอาน้ำผสมลงไปอีกครึ่งมันก็หายเค็มแล้วครับ Pooh เกิดเป็นหมีกินน้ำผึ้งเป็นของไฮโซ แต่ถ้ากินแค่นั้นก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรครับ
@AL86898
@AL86898 2 жыл бұрын
มาฟังคำตอบตรงนี้ของคุณหมอสามารถมาใช้ประโยชน์ได้นะคะ ชอบทานกาแฟใส่น้ำผึ้งแทนน้ำตาล.รู้สึกชอบวันละสองสามหยดเท่านั้น ขอบคุณคำถามและคำตอบค่ะ🙏👍🌹
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
@@DrTany ชอบคำตอบคุณหมอมากๆเลยค่ะ ต่อไปเพื่อนๆพวกนี้สบายใจ ได้คำแนะนำดีๆ ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ Pooh เกิดเป็นหมี 555 Hunny! 😊 🍯 กิน manuka honey ด้วยค่ะ ไฮโซของจริง 🍯
@bigphonshin5728
@bigphonshin5728 Жыл бұрын
น้ำตาลขึ้นหลังจากฉีดอินซูลินประมาณ4ชั่วโมงสามารถฉีดซ้ำได้มั้ยคะ ก่อนอาหารเช้า28ยู ก่อนอาหารเย็น22ยู ค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ได้ครับแต่ต้องเป็นแบบ short acting ถ้าไม่ทราบว่าอะไรคือ short acting ต้องปรึกษาหมอที่รักษาด้วยครับ
@einzelkampf2114
@einzelkampf2114 2 жыл бұрын
เป็นข้อมลที่เป็นประโยชน์มาก ขอบคุณครับ
@kerra3876
@kerra3876 2 жыл бұрын
มีคนถามว่า คนเป็นโรคเบาหวานดื่มเบียร์กับสปายได้ไหมคะ หรือมีข้อควรระวังมั้ย ไม่เห็นคุณหมอตอบหรือไม่เห็น คุณหมอกรุณาตอบเราหน่อยคะขอบคุณคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ถ้าดื่มไม่มากก็ได้อยู่นะครับ
@kerra3876
@kerra3876 2 жыл бұрын
@@DrTany เดินสายกลางใช่มั้ยคะ ถ้าเอียงมากไปก็จะเดินโซเซได้ มองผีเป็นคน 😱มองคนเป็นผี กลัวแทบแย่🤪ขอบคุณคะ
@joomschannel96
@joomschannel96 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ🙏
@wirunyapanpuang4987
@wirunyapanpuang4987 2 жыл бұрын
เป็นเบาหวาน ชนิดที่1 ฉีด อินซูลิน 2 ตัว แล้วมีอาการเหนื่อยๆ ปวดท้อง อาเจียน ควรรีบไปหาหมอเรยไหมค่ะ พึ่งออกจาก รพ ได้ประมาณ 10 วัน เพราะเลือดเป็นกรด ติดเชื้อ ค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ควรครับ
@pitiphunsapworarit8709
@pitiphunsapworarit8709 2 жыл бұрын
อาจารย์สอนขนาดนี้ ถ้าคนไข้มาฟัง ทีหลังผมให้คนไข้ order dka เองแล้วค้าบบบแบบนี้ 😅 ละเอียดมากครับอจ ขอบคุณครับ
@pitiphunsapworarit8709
@pitiphunsapworarit8709 2 жыл бұрын
อีกอย่างเวลาฟังบรรยายเรื่อง sglt2inh ไม่ค่อยมีคนพูดถึงประโยชน์ของ mg เลยครับ ขอบคุณอจมากครับ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เรื่องนี้หมอส่วนมากก็ไม่รู้ครับ บังเอิญผมไปอ่านงานวิจัยของเขา และเจอเรื่องนี้มันมีประโยชน์กับคนไข้ของผมที่มี Mg ต่ำจาก tacrolimus เหมือนกันเลยจำได้ครับ
@WorapatYommana
@WorapatYommana 2 жыл бұрын
น่าสนใจมากครับ
@ย่ายายเฟื่อง
@ย่ายายเฟื่อง 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะ
@แมวน้อย-จ1ฃ
@แมวน้อย-จ1ฃ 2 жыл бұрын
หมอคับฉีดไขว้มา 2 เข็ม เข็มที่ 1 ซีโนแวก เข็มที่ 2 แอกตร้า เข็ม 3 ฉีด ไฟเซอร์ได้ไหมคับ
@AvecBella
@AvecBella 2 жыл бұрын
ได้ค่ะ
@beambeaw4937
@beambeaw4937 2 жыл бұрын
สวัสดีคุณหมอแทน😊
@user-yf2pz1fs1o
@user-yf2pz1fs1o 2 жыл бұрын
มีวิธีการรักษาอย่างไรค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
อินซูลินและให้สารน้ำเข้าร่างกายครับ
@user-yf2pz1fs1o
@user-yf2pz1fs1o 2 жыл бұрын
@@DrTany คือว่าตอนนี้สามีมีปัญหารักษาตัวที่โรงพยาบาลแต่หมอให้ยามาแล้ว 2 ตัวแต่ระดับน้ำตาลยังไม่คงที่เลยค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ก็ต้องค่อยๆปรับครับ นอกจากนั้นก็ต้องดูว่ามีเหตุอื่นๆที่ทำให้น้ำตาลสูงหรือไม่ เช่น ติดเชื้อต่างๆ เป็นต้นครับ
@user-yf2pz1fs1o
@user-yf2pz1fs1o 2 жыл бұрын
คุณหมอพอจะมีตัวยาที่แนะนำหรือเปล่าค่ะ..คือว่าตอนนี้สามีดิฉันท่านก็อายุมากค่ะ...อยุ่ที่ รพ มาได้ 5 อาทิตย์แล้วค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
อินซูลินครับ ไม่มียาอื่นๆที่ดีกว่านี้ มันต้องปรับขนาดยา และถ้าสงสัยเพื่มเติมต้องถามหมอที่รักษาดูครับ ว่ามีเหตุผลอะไรอื่นๆที่น้ำตาลคุมไม่ได้ครับ
@chittipornchuatram5703
@chittipornchuatram5703 2 жыл бұрын
ขอบคุณหมอมากนะค่ะสำหรับข้อมูลดีๆที่เป็นประโยชน์กับทุกคน ทั้งคนที่เป็นและไม่เป็น สำหรับคนยังไม่เป็นก็จะได้ป้องกันไว้ก่อน เพราะมันเกิดจากการใช้ชีวิตของเองด้วย ก็อยากให้ทุกๆป้องกันไว้ก่อนนะค่ะดีที่สุด ไม่ต้องรอป่วยแล้วค่อยไปรักษา เมื่อถึงตอนนั้นก็แก้ไขได้อยากแล้วค่ะ เพราะบางทีต่อให้เรารวยแค่ไหนเราก็ไม่สามารถหาซื้อสุขภาพที่ดีได้ เพราะไม่มีขาย แม้แต่ชีวิตก็ย้งหาซื้อไม่ได้เลยค่ะ เพราะฉะนั้นตัวเราเท่านั้นที่ควบคุ้มมันได้ ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพดีๆนะค่ะ และขอให้ทุกๆคนมีความสุขมากๆน๊าา Take care naa 🤗😘❤
@ภัทราอินทรมหาชัย-ฆ5ษ
@ภัทราอินทรมหาชัย-ฆ5ษ 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์ปีนี้ตรวจโรคประจำปีพบว่าเสี่ยงเบาหวานค่ะหมอนัดตรวจอีก3เดือนค่ะค่าอย่างอื่นปกติค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
งั้นควรคุมอาหารดีๆเลยครับ พวกหวานๆควรงด และออกกำลังกายสม่ำเสมอด้วยครับ
@ภัทราอินทรมหาชัย-ฆ5ษ
@ภัทราอินทรมหาชัย-ฆ5ษ 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์
@kornveeka
@kornveeka 2 жыл бұрын
🙏❤🙋‍♀️ 😮😮น่ากลัว😓😓
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
ดื่มน้ำเยอะๆ 💦 💦 ทำให้เลือดไม่ข้นจริงๆค่ะ 🩸🩸 เคยไปเจาะเลือดแล้วเค้าบอกว่าให้งดน้ำ 8 ชม เราก็ไม่ดื่มน้ำเลย 12 ชั่วโมง พอไปเจาะออกมาเลือดข้นดูดไม่ค่อยขึ้นเลยค่ะ อายพยาบาลจัง ดูดเลือดนานมาก 🌡🌡 ถ้าเจอแดรกคูล่า คงไม่ชอบเลือดเราแน่ๆ 🧛‍♂️ ข้นไม่ลื่นคอ เดี๋ยวนี้ ดื่มน้ำเยอะๆ แล้วดีขึ้นจริงๆค่ะ เวลาไปเจาะเลือดก็ดูดขึ้นง่ายแล้วค่ะ คุณหมอ 💦💦💦 คุณหมออ่านถึง comment นี้ พักดื่มน้ำ แป๊ปนึงนะคะ 🥂🥂 cheers!
@กานดาธาราชีวิน
@กานดาธาราชีวิน 2 жыл бұрын
Nice more ขอบคุณค่ะ
@patcharawadee
@patcharawadee 2 жыл бұрын
รักทุกวันจะเป็นอะไรไหม🤳🗣️🤭
@jellyfishpacific13
@jellyfishpacific13 2 жыл бұрын
🙏🙏🙏🙏
@sammani426
@sammani426 2 жыл бұрын
สุดยอดDr
@machineworkdiy.
@machineworkdiy. Жыл бұрын
คนที่ทำงานน้ำตาลขึ้น1000 เสียชีวิต..ผลมาจากกินเหล้าหนัก
@piyanutsatravaha548
@piyanutsatravaha548 2 жыл бұрын
🙏🙏🙏🙏🙏🙏💯💯
@narlaw1342
@narlaw1342 2 жыл бұрын
@beam9158
@beam9158 2 жыл бұрын
🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰
@sanpdinocat
@sanpdinocat 2 жыл бұрын
🦁
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh 2 жыл бұрын
น้องชายแม่เป็นเบาหวานครับพี่หมอ 😔 ขอบคุณมากครับ🙏
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ควบคุมอาหาร ดุแลสุขภาพคุณแม่ด้วยนะ พี่ขอเป็นกำลังใจให้ลีโอ กับคุรแม่นะคะ
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh 2 жыл бұрын
@@Chefaey ขอบคุณครับพี่🙏
@yingpatcharawadee297
@yingpatcharawadee297 2 жыл бұрын
🌚🌝😴😴😴
@krunok8012
@krunok8012 2 жыл бұрын
ฟังคุณหมอพูดเรื่องเบาหวานทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์มากๆสำหรับคนเป็นเบาหวานนะคะ ถ้าคุณหมอมีเวลาขอพูดเรื่องวิธีรักษาดูแลให้เบาหวานกลับมาเป็นปกติหรือหายจากเบาหวาน ขอบคุณมากนะคะคุณหมอผู้เป็นที่รักของทุกคน
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
วันนี้ผู้ติดตามช่อง KZbin ของ Doctor Tany เพิ่มเป็น ✴2.55 แสนคน✴แล้วค่ะ 💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
ขอบคุณ คุณ FragranzaTrippa ด้วยค่ะ ที่ช่วยคุณหมอตอบคำถามอย่างสม่ำเสมอ และคอยแชร์ข้อมูลดีๆให้กับเพื่อนๆค่ะ 🥳🥳🥳 คราวนี้ หัวข้อ น้ำตาล เราขอมอบ Nefs Nishane 🍯 ให้ทั้งคุณหมอ และ คุณ FragranzaTrippa ค่ะ 🥳🥳🥳
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
@@CherryChonny เช่นกันค่ะ ขอบคุณ คุณ Chon Chon ที่คอยอัพเดท เรื่องสูตรวัคซีน เข็ม 3 เข็ม 4 คอยแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่หลายครั้ง ถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนในประเทศไทยจะแตกต่างจากการฉีดวัคซีนในอเมริกา // ดิฉันขอเป็น Wulong Cha แทนได้ไหมคะ
@CherryChonny
@CherryChonny 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa เราเอาจากที่คุณหมอตอบคอมเม้นท์เพื่อนๆมารวบรวมสรุป ไม่รู้สูตรไทยหรืออเมริกาค่ะ 555 😂// wulong cha น้ำชา 🍊 ส้ม ลิ้นจี่ น่าอร่อยดีค่ะ 🍵😊
@nattynat347
@nattynat347 2 жыл бұрын
พี่ชายเสียชีวิตเพราะน้ำตาลสูง400แล้วหมดสติส่งรพ.อยุ่ได้9วันและติดเชื้อในกระแสเลือดก็เสียค่ะแกอายุ75
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ขอแสดงความเสียใจด้วยนะคะ...
@นิชาภาปรียาพิชญเดช
@นิชาภาปรียาพิชญเดช 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@pancake7781
@pancake7781 2 жыл бұрын
😮ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆค่ะอาจารย์😇🙏
@littledreamchannel626
@littledreamchannel626 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากๆเลยค่ะคุณหมอสำหรับความรู้ที่ึคุณหมออธิบายให้ฟังได้ประโยชน์มากๆเลยค่ะ
@nongpojtanesanurak6322
@nongpojtanesanurak6322 11 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ
@pensirijadjam7331
@pensirijadjam7331 2 жыл бұрын
คนเป็นเบาหวานกินเบียร์กับสปายได้มั้ยคะใจ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ถ้าเป้นไปได้ก็ควรที่จะเลิกดื่มเพราะเพราะจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงทำให้ควบคุมโรคเบาหวานใด้ยากขึ้น
@beambeaw4937
@beambeaw4937 2 жыл бұрын
ไม่ทราบว่าฟังคุณหมอทีไรโทศัพเราจะเงียบมีปัญหาทุกที
@beambeaw4937
@beambeaw4937 2 жыл бұрын
ฟังคุณหมอได้ประโยน่ช์ทุกคนก็ฟังคุณหมอพูด
@nitikedssubpa3535
@nitikedssubpa3535 2 жыл бұрын
ให้คุณหมอบรรยายการทำให้เบาหวานสมดุล
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
อันนี้ผมว่าทุกคนทราบแต่จะทำหรือเปล่ามันขึ้นกับคนครับ เช่น คุมอาหารหวาน อาหารที่ดีๆทุกคนทราบแต่จะทานรึเปล่าก็เท่านั้นเอง การออกกำลังกายสม่ำเสมอก็จำเป็น การพักผ่อนให้เพียงพอ การเลี่ยงสิ่งมึนเมาต่างๆ และรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรทำครับ
@nevadapangel5983
@nevadapangel5983 2 жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอแทนมากค่ะสำหรับเรื่องDKAวันนี้
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
นานๆจะมีคนย้อนกลับมาดูสักทีครับ
@nevadapangel5983
@nevadapangel5983 2 жыл бұрын
@@DrTany กำลังสงสัยเรื่อง Euglycemic DKAอยู่พอดีค่ะ เพราะมีคนไข้เดิมทีเป็นHTไม่ได้เป็นDM มารพช.และได้ส่งต่อรักษารพ.จังหวัด ด้วย Euglycemic DKA
진짜✅ 아님 가짜❌???
0:21
승비니 Seungbini
Рет қаралды 10 МЛН
Какой я клей? | CLEX #shorts
0:59
CLEX
Рет қаралды 1,9 МЛН
DKA: Trick and Pitfall
32:22
ต้องตรวจต่อม
Рет қаралды 28 М.
5 เมนูไทย ๆ ช่วยลดสมองเสื่อมได้ - หมอนัท Live
1:29:15
NosickHandup ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น
Рет қаралды 53 М.