แพทย์เน้นย้ำ กลุ่มผู้สูงอายุหรือมีโรคร่วม -เด็ก-สตรีมีครรภ์เสริมภูมิคุ้มกัน

  Рет қаралды 44

Siam108news

Siam108news

Күн бұрын

แพทย์เน้นย้ำ กลุ่มผู้สูงอายุหรือมีโรคร่วม -เด็ก-สตรีมีครรภ์เสริมภูมิคุ้มกัน
ป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ หลังพบสัญญาณปี 68 พุ่งสูง
แพทย์เตือนคนไทยป้องกันตัวจากภัยโรคทางเดินหายใจ ต้นเหตุการป่วยและเสียชีวิตของกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หลังต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจ อาทิ โควิด 19 ปอดอักเสบและ RSV พร้อมเจอปัญหาฝุ่น PM 2.5 รุนแรงซ้ำหนุนกระตุ้นโรคเพิ่มขึ้น ด้านไฟเซอร์เตรียมพร้อมช่วยคนไทยรับมือ กระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ หรือมีโรคร่วม หญิงตั้งครรภ์ และเด็กเล็ก เร่งกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรค และลดการป่วยหนัก
นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมาคนไทยป่วยเป็นโรคโควิด 19 และเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์จะลดความรุนแรงลง แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยสถิติในปี 2567 พบผู้ป่วยสะสม 769,200 คน ซึ่งนับว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ โดยกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดและผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีผู้เสียชีวิตสะสม 222 ราย และสายพันธุ์ที่ตรวจพบเกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ JN.1 ส่วนของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ในปี 2567 มีผู้ป่วย RSV จำนวน 8,218 ราย โดยพบมากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ในขณะที่อุบัติการณ์ลดลงในผู้ใหญ่ และเริ่มพบมากขึ้นในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ เป็นการสุ่มตัวอย่างในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ในโรงพยาบาลเครือข่ายของกรมควบคุมโรค 8 แห่ง ซึ่งในความเป็นจริงอาจมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่านี้ สำหรับสถานการณ์โรคปอดอักเสบ ปี 2567 มีผู้ป่วยสะสมกว่า 4 แสนราย โดยกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี และเด็กเล็ก 0-4 ปี มีผู้เสียชีวิต 865 ราย โดยส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดได้จากทั้งเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย โดยไวรัสเกิดได้จากไข้หวัดใหญ่ RSVและ COVID-19 ในขณะที่แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักได้แก่เชื้อ Streptococcus pneumoniae หรือเชื้อนิวโมคอคคัส1
นพ.วีรวัฒน์ กล่าวว่า สถานการณ์โควิด 19 ในปี 2568 มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังพบผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง ข้อมูลถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ มีผู้ป่วยสะสม 8,434 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดยสายพันธุ์ที่พบส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ JN.1 1,2 ดังนั้นจึงแนะนำให้ประชาชนดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการนำมือมาสัมผัสจมูก ปาก ตา ควรสวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้าน หรือไปในสถานที่ปิด สถานที่แออัด ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น หมั่นเช็ดถูทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ รับประทานอาหารที่ปรุงสุก ร้อน สะอาด หากพบว่าป่วยเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจควรหยุดพักรักษาตัวจนกว่าจะหายเป็นปกติ โดยเฉพาะหลังพบเด็กป่วย และเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ดังนั้น การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นจึงยังมีความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
ด้าน รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า การได้รับวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไทยทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะช่วยลดการติดเชื้อ การเจ็บป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตได้ ซึ่งข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่ากลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก เสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบมากเป็นอันดับต้น ๆ3
สำหรับ โควิด 19 ในเด็กเล็กเมื่อเป็นแล้วมักมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง จนเกิดอาการชักได้ และมีอัตราการนอนรพ.สูงกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ เด็กบางคนเมื่อหายจากโควิด 19 แล้ว อาจมีอาการ “Long COVID” นานเป็นเวลาหลายเดือนได้ ส่วนในเด็กโตอาจมีอาการอักเสบรุนแรงทั่วร่างกายเรียก “MIS-C”
ในส่วนของ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เด็กวัย 0-6 เดือนป่วยได้บ่อย และจัดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ เด็ก ๆ เป็นปอดอักเสบต้องนอนโรงพยาบาล อาจมีอาการรุนแรงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เช่นความเสี่ยงต่อโรคหอบหืดที่เพิ่มขึ้น
ที่น่ากังวล คือการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ ไม่ได้จบแค่ไวรัสเท่านั้น ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวการสำคัญคือเชื้อนิวโมคอคคัสที่มักอาศัยอยู่ในโพรงจมูก และลำคอของเด็ก ๆ อยู่แล้ว เมื่อใดก็ตามที่เด็กร่างกายอ่อนแอหรือมีการติดเชื้อไวรัสมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัดใหญ่ RSV หรือ โควิด 19 ก็ตาม จะทำให้เชื้อนิวโมคอคคัส แพร่กระจายไปอวัยวะทั่วร่างกาย นอกจากจะทำให้เกิดปอดอักเสบแล้ว ยังทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และหูชั้นกลางอักเสบได้ด้วย แต่โชคดีที่ทั้ง 4 โรคนี้มีวัคซีนป้องกัน เราจึงสามารถลดอัตราการป่วย-ตาย การนอน รพ.จากเชื้อดังกล่าวได้เป็นอย่างดีทั่วโลก
อนึ่ง ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเด็กเกิดน้อยลงทุกปี ปีที่ผ่านมาอัตราการเกิดลดลงถึง11%4 เราจึงไม่ควรสูญเสียเด็กๆ อีก โดยเฉพาะจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายให้แข็งแรง นอกจากจะสามารถป้องกันการติดเชื้อจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลซึ่งมีมูลค่าที่สูง แม้จะรักษาในโรงพยาบาลรัฐก็ตาม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพเด็กในระยะยาว และยังช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการที่พ่อแม่ต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลลูกที่ป่วยอีกด้วย ” รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี กล่าว

Пікірлер
Непосредственно Каха - бургер
00:27
К-Media
Рет қаралды 3,2 МЛН
Сигма бой не стал морожкой
00:30
КРУТОЙ ПАПА на
Рет қаралды 10 МЛН
Banana vs Sword on a Conveyor Belt
01:00
Mini Katana
Рет қаралды 77 МЛН
Непосредственно Каха - бургер
00:27
К-Media
Рет қаралды 3,2 МЛН