ยากันแดด เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน ซึมเข้ากระแสเลือด กดฮอร์โมน ไตมีปัญหา

  Рет қаралды 158,789

Doctor Tany

Doctor Tany

Ай бұрын

ความรู้เรื่องยาทากันแดดจาก FDA ครับ
www.fda.gov/drugs/understandi...
ความรู้เรื่องยาทากันแดดจาก EWG (Environmental Working Group) ครับ
www.ewg.org/sunscreen/report/...
ยาทากันแดดชนิด chemical-based มีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้
1) www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
2) www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 475
@thisisnathathai
@thisisnathathai 29 күн бұрын
ยากันแดด เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน ซึมเข้ากระแสเลือด กดฮอร์โมน ไตมีปัญหา #sunscreen สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องที่ใกล้ตัวทุกๆคนนะครับนั่นก็คือเรื่องของครีมกันแดดนั่นเองนะครับ หลายคนอาจจะเคยใช้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วมันจะมีหลักการการเลือกอย่างไร แล้วที่สำคัญหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้มีงานทดลองงานวิจัยพบว่าสารบางอย่างที่ใช้ในการกันแดดนั้นมันสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้วอาจจะมีความอันตรายต่อร่างกายก็ได้นะครับ วันนี้ผมจะมาเล่ารายละเอียดเรื่องพวกนี้ให้ฟังแล้วก็แนะนำวิธีในการเลือกครีมกันแดดสำหรับทุกคนด้วยนะครับ พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 29 күн бұрын
1️⃣ ครีมกันแดดของเรานั้นแรกเริ่มเดิมทีนะครับได้ถูกออกแบบมาเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เราเกิดภาวะ Sunburn หรือว่าผิวมันไหม้จากการที่เราโดนแสงแดดมากๆนะครับ แต่ต่อมาเราก็มีความเข้าใจกันมากขึ้นว่ามันไม่ใช่แค่ผิวเราไหม้ผิวเราแสบนะครับแต่ว่ามันสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ทำให้เกิดความแก่หรือ Photoaging ได้นะครับก็เลยมีความอยากจะพัฒนาครีมกันแดดให้มันสามารถป้องกันสิ่งเหล่านั้นได้ด้วยนะครับ สิ่งซึ่งทำให้ร่างกายของเรามีปัญหาก็คือรังสี UV หรือ UltraViolet นั่นเองนะครับ UltraViolet นี้หลายคนคงจะเคยได้ยินแต่ว่าจะมีสักกี่คนที่ลงไปศึกษามันจริงๆว่าตกลงแล้วมันคืออะไรกันแน่นะครับ ต้องขอเริ่มเรื่องอย่างนี้ครับ เด็กๆเราคงเคยท่องสีของรุ้งใช่ไหมครับม่วงคราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ถูกไหมครับ ถ้าเราพูดถึงสีพวกนี้ทุกคนจะรู้จักกันหมดนะครับแล้วทั้งหมดนี้มันคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจอประสาทตาของเราสามารถมองเห็นและรับรู้มันได้ อย่างไรก็ตามคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามันก็ยังมีชนิดที่เราไม่สามารถมองเห็นได้นะครับโดยถ้าสีมันค่อนไปทางม่วงนะครับความยาวคลื่นของมันจะยิ่งสั้นนะครับ ถ้าไปทางสีแดงความยาวคลื่นจะยิ่งยาวขึ้นนะครับ เวลาที่เราเจอความยาวคลื่นที่มันสั้นมากๆตัวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีพลังงานสูงนะครับแต่ว่าจะไม่ค่อยทะลุทะลวงเท่าไหร่นะครับ อย่างไรก็ตามถ้าความยาวคลื่นมันยาวเช่นเป็นสีแดงมันจะสามารถทะลุทะลวงได้ดีแต่ว่าพลังงานคลื่นมันน้อยนะครับ ถ้าเราลองมองกันตามความยาวคลื่นนะครับสีม่วงความยาวคลื่นสั้น แล้วมันมีสั้นกว่ามั่วไหม? ➡️มีครับ นั่นก็คือรังสี UltraViolet หรือ UV ของเรานั่นเองนะครับ ถ้าสั้นไปกว่านั้นคือ X-ray ครับ สั้นกว่า X-ray คือ Gamma ray ที่มันออกมาจากการระเบิดของดวงดาวหรือการสลายของธาตุบางชนิดนะครับ แล้วถ้าเกิดว่ามันยาวมากๆล่ะยาวกว่าสีแดงนั่นก็คือ Infrared นะครับ สั้นกว่านั้นคือ Microwave ที่เราใช้กันนี่แหละครับ สั้นไปกว่านั้นอีกคือ คลื่นวิทยุ ครับ เราจะสังเกตว่าคลื่นทั้งหมดมันมีความเกี่ยวข้องกันมันเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านะครับ แต่วันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ UV นะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 29 күн бұрын
2️⃣ ตัว UV มันไม่ใช่มีแค่ UV เฉยๆนะครับ UV ประกอบไปด้วยทั้งหมด 3 ชนิด A B และ C นะครับโดย UVC จะเป็น UV ที่มีปริมาณน้อยที่สุดนะครับแล้วคลื่นมันสั้นที่สุดคือประมาณสัก 100 ถึง 280 นาโนเมตร ตัวนี้โดยทั่วไปแล้วมันก็มาจากอวกาศจากดวงอาทิตย์ของเรานี่แหละแต่มันไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศของเราออกมาได้นะครับ ดังนั้นเราจึงไม่เจอในชีวิตประจำวัน อาจจะมีกรณียกเว้นก็คือเราอาจจะเจอตามเสาไฟฟ้าแรงสูงได้ หรือหลอด UV ที่เราเอาไว้ฆ่าเชื้อต่างๆนั่นก็คือ UVC นั่นเอง UVC นี้เวลาที่มันเอาไว้ฆ่าเชื้ออย่างเช่นตอนโควิดเราจะมีตู้อบ UV นั่นก็คือ UVC ครับ แล้วเราไม่ควรเข้าไปใกล้มันเพราะว่า UVC นั้นมันสามารถทำให้เกิดก๊าซโอโซนซึ่งถ้าเราสูดดมเข้าไปด้วยมันจะเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจของเรา อย่างไรก็แล้วแต่วันนี้เราจะไม่พูดกันถึง UVC เพราะว่ามันไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับการกันแดดนะครับ มี C แล้วก็มี B
@thisisnathathai
@thisisnathathai 29 күн бұрын
3️⃣ UVB ความยาวคลื่นที่มันยาวขึ้นมาหน่อยนึงก็คือประมาณสัก 280 ถึง 320 นาโนเมตรนะครับ ตัวนี้มันจะทำให้ผิวของเราไหม้ได้นะครับ ทำให้ผิวของเราไหม้ เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ตัวนี้เป็นหลักเลยนะครับ แต่มันมีอยู่แค่เพียงประมาณ 5% ของ UV ทั้งหมด แล้วที่เหลือก็คือ UVA ครับ UVA มีประมาณ 95% ของรังสี UV ซึ่งมาจากแสงอาทิตย์เข้ามาถึงตัวเรานั่นเอง UVA นี้เนื่องจากความยาวคลื่นมันยาวกว่า UVB มันก็เลยสามารถที่จะทะลุทะลวงเข้าไปจนถึงชั้นลึกในใต้ผิวหนังได้ผิวหนังได้ดีแล้วก็สามารถทำให้ผิวของเราดำได้นะครับ เป็นการกระตุ้นเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ให้ผลิตเม็ด Melanin ที่เป็นสีดำๆ ผิวของเราก็จะสีเข้มขึ้นนะครับ แต่ไม่ใช่เพียงแค่นั้นครับ มันยังทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นบริเวณนั้น แล้วก็ทำให้เกิดภาวะการแก่ของผิวหนังหรือที่เราเรียกว่า Photoaging ด้วย ดังนั้นถ้าเราจะป้องกันไม่ให้ผิวของเรามันไหม้นะครับ ไม่ให้ผิวของเรามันแก่ ไม่ให้เกิดมะเร็งผิวหนังเราจะต้องป้องกันทั้งรังสี UVA และ UVB ส่วน UVC ไม่ต้องสนใจอย่างที่บอกนะครับเนื่องจากว่ามันแทบจะไม่เจอในชีวิตประจำวันของเราเลยนะครับ ถ้าเป็นฝรั่ง UVA มันเจอได้อีกทีนึงก็คือที่ที่เขาไว้ทำให้ผิวมันเป็นสีแทนหรือ Tanning Bed นะครับ เวลาที่คนฝรั่งผิวขาวเขาอยากจะได้ผิวสีแทนเขาก็จะไปอยู่ตามสถานที่ต่างๆที่เขามีตู้อบผิวนะครับพวกนั้นจะปล่อย UVA ออกมาสูงกว่าในธรรมชาติเป็น 10 เท่าเลยนะครับ ซึ่งอันตรายมากนะครับ ดังนั้นโดยทั่วไปเราก็จะไม่ค่อยแนะนำให้คนไข้ไปทำแบบนั้นเท่าไหร่นะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 29 күн бұрын
4️⃣ ทีนี้พอเรารู้จักละ UVA UVB ที่มันเป็นสิ่งที่เราต้องป้องกันเพราะว่ามันทำให้เกิดปัญหา แล้วเราจะป้องกันมันได้อย่างไร ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของครีมกันแดด ครีมกันแดดผมจะขอแยกเป็นอย่างนี้ก่อนนะครับ โดยทั่วไปทุกๆคนก็คงจะรู้จักคำว่า SPF นะครับ SPF ก็คือเป็น Sunscreen Protection Factor นะครับ ก็คือว่าเราสามารถป้องกัน UV ได้มากแค่ไหน แต่ SPF นี้มันมีสิ่งที่เราต้องเข้าใจอย่างหนึ่งคือ SPF ถูกทำมาเพื่อดูว่าที่กันแดดของเรามันจะป้องกัน UVB ได้แค่ไหนซึ่ง UVB มีอยู่แค่ประมาณ 5% ของ UV ทั้งหมดถูกไหมครับ ก็คือป้องกันเพียงแค่นิดเดียว และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือว่าหลายคนเวลาเห็น SPF ก็อยากได้สูงๆถูกไหมครับ แต่รู้อะไรไหมครับว่า SPF ที่เขาทำการทดลองมาแล้ว SPF 50 มันสามารถกันรังสี UVB ได้ประมาณสัก 98% แต่ถ้าเกิดคุณเพิ่ม SPF ให้มากกว่านั้นละ เช่น เป็น SPF 100 เต็มมันสามารถกันรังสี UVB ได้อยู่ที่ 99% คือ SPF 50 ไป 100 มันเพิ่มขึ้นเยอะมาก แต่ว่าปริมาณที่มันกันได้จาก 98 เป็น 99% ไม่คุ้มค่ากันเลยนะครับ ดังนั้นนี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าเราไม่จำเป็นจะต้องเลือก SPF ขนาดสูงเกิน 50 ก็ได้นะครับ แล้วยิ่งเกิน 50 ไปยิ่งมีปัญหาใหญ่ รู้ไหมครับปัญหาอะไร? ➡️ปัญหาตรงที่สารที่ใช้ในการกันแดดมันจะต้องมีปริมาณเพิ่มขึ้นนะครับ และเดี๋ยววันนี้จะอธิบายให้ฟังว่ามันเพิ่มขึ้นแล้วสิ่งที่เรากลัวก็คือบางอย่างมันซึมเข้าไปผิวหนังของเราได้ แล้วบางอย่างมันทำให้เกิดแพ้ผิวหนังได้ ดังนั้นเราอาจจะได้ประโยชน์ไม่คุ้มกับโทษที่จะได้มาจากการที่เพิ่ม SPF จากเพียงแค่ 50 ขึ้นไปสูงกว่า 50 นะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 29 күн бұрын
5️⃣ ส่วน SPF ที่เราอยากจะให้ใช้กันโดยทั่วไปที่อเมริกาจะมีตั้งแต่ 15 ขึ้นไปนะครับ อย่างไรก็แล้วแต่นะครับถ้าได้ 30-50 กำลังดีนะครับมันกำลังป้องกันในสิ่งที่เราต้องการจะให้มันป้องกันได้เป็นอย่างดีนะครับ นี่คือกรณีของ UVB นะครับ แล้ว UVA ล่ะ บางคนก็อาจจะเคยได้ยินค่า PA นะครับ เคยได้ยิน PA+++นะครับ PA ตัวนี้ก็คือเป็น Protection Factor ของ UVA นะครับ คือเขาจะเป็นการบอกว่ามันสามารถป้องกัน UVA ได้มากน้อยแค่ไหนนะครับ ถ้ายิ่ง+เยอะก็ยิ่งกันได้เยอะนะครับ +เยอะที่เราว่านี้ก็คือส่วนใหญ่จะเป็น 3+ ถึง 4+ นะครับ จะป้องกันได้อย่างดีมากแล้วก็แนะนำให้เลือกกรณีที่มัน 3+4+ นี่แหละนะครับ คือต้องมีทั้ง SPF แล้วก็มี PA ที่สูงด้วยนะครับมันถึงจะสามารถป้องกันทั้งรังสี UVA และ UVB เพื่อไม่ให้ผิวของเรามันมีสีเข้ม เกิดกระ เกิดฝ้า เกิดมะเร็งผิวหนังหรือแม้กระทั่งมีความแก่จากการโดนแสงแรงๆได้นะครับ ดังนั้นเราต้องมีการเลือกแบบนี้ ถามว่าแค่นั้นจบไหม? ➡️ไม่จบครับ เราต้องมาเข้าใจกันว่าแล้วสารเคมีตัวไหนล่ะที่เขาเอามาใช้ทำกันแดดนะครับ สารเคมีแบ่งได้ทั้งหมด 2 อย่าง 1 เป็น Mineral Based 2 เป็น Chemical Based นะครับ นี่คือกลุ่มนะครับ
@TheShane1989
@TheShane1989 29 күн бұрын
น้ำตาจะไหล เดินไปหยิบฉลากมาอ่าน ภาษาญี่ปุ่นหมดเลย5555555555555
@prapanthebachelorette6803
@prapanthebachelorette6803 29 күн бұрын
That’s my biggest problem 😂
@calathea5142
@calathea5142 29 күн бұрын
มี app Google translate ในมือถืออยู่แล้วก็กดโหมดถ่ายรูป จ่อไปที่หลอดหรือขวดครีมกันแดดเลยจ้า เดี๋ยวเขา detect ภาษาแล้วแปลเป็นไทยให้หมดเลย ไม่ยากค่ะลองดู😁
@pandapa5316
@pandapa5316 29 күн бұрын
ดูส่วนผสมของเครื่องสำอาง ให้เข้าเว็บ cosdna > พิมพ์ชื่อผลิตภัณฑ์ > แล้วดูส่วนผสมแต่ละอย่างได้ค่ะ มันบอกระดับ safety, irritant, acne ค่ะ
@annjahh
@annjahh 28 күн бұрын
ถ่ายรูป แล้วส่งให้เอไอแปลไทยให้เลย
@Baan17271
@Baan17271 24 күн бұрын
@@calathea5142 ใช่เลยค่ะ ตัวช่วยที่ดีสุดอยู่ที่ปลายนิ้วมือเรา 👍
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 29 күн бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ... หัวข้อวันนี้ เรื่อง... ยากันแดด เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน ซึมเข้ากระแสเลือด กดฮอร์โมน ไตมีปัญหา #sunscreen ☀รังสียูวีแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 1. รังสี UVA มีปริมาณมากถึง 95% ของรังสียูวีที่เข้ามาถึงตัวเรา มีความยาวคลื่นมากกว่า UVB สามารถทะลุเข้าไปถึงชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวดำคล้ำ ทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวเสื่อมโทรม หรือ photoaging 2. รังสี UVB มีเพียง 5% ของยูวีทั้งหมด ความยาวคลื่นปานกลาง ทำให้ผิวไหม้ได้ เกิดมะเร็งผิวหนัง 3. รังสี UVC มีปริมาณน้อยที่สุดและมีคลื่นสั้นที่สุด เราจึงไม่ค่อยเจอในชีวิตประจำวัน ☀ครีมกันแดดที่เราใช้จะมีค่า SPF หรือย่อมาจาก Sun Protection Factor ซึ่งค่านี้ทำขึ้นมาเพื่อดูว่าจะป้องกัน "รังสี UVB" ได้มากแค่ไหน มีค่าตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ซึ่งค่า SPF 50 สามารถกันรังสี UVB ได้ 98% แต่ถ้าเพิ่มค่า SPF ไปถึง 100 จะป้องกันรังสี UVB ได้ 99% ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องเลือกค่า SPF สูงมากๆ เพราะจริงๆแล้วการเลือกค่า SPF สูงๆทำให้เกิดปัญหาการแพ้ได้ ☀ส่วนรังสี UVA ป้องกันด้วยค่า PA ในครีมกันแดด ซึ่งย่อมาจาก Protection Grade of UVA ซึ่งจะเห็นว่า ถ้ามีเครื่องหมายบวก + หลังค่า PA เยอะก็ยิ่งป้องกันได้มากขึ้น แนะนำให้อยู่ในระดับ PA+++ หรือ PA++++ ☀สารเคมีที่นำมาผลิตครีมกันแดดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ mineral based ซึ่งมีเพียง 2 ตัวเท่านั้นที่ทาง FDA ของอเมริกายอมรับให้อยู่ในระดับ GRASE คือ Generally Recognized As Safe and Effective คือ Zinc oxide และ Titanium dioxide และที่เหลือถือเป็น chemical based ทั้งหมด ซึ่งสารเคมีมากมายหลายตัวสามารถซึมเข้าสู่ผิวหนัง ในกระแสเลือด ในน้ำนม ในปัสสาวะ ในน้ำคร่ำ ในอสุจิ จึงต้องระมัดระวังหากใช้ครีมกันแดดมีสารประกอบในกลุ่ม chemical based ☀สารเคมีที่ทางอเมริกาห้ามใช้เด็ดขาด คือ PABA (Para-Aminobenzoice Acid) และอีกตัวหนึ่ง คือ Trolamine ส่วนตัวอื่นๆต้องศึกษาข้อมูลว่า มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน... แต่สารเคมีที่อาจารย์หมออยากให้หลีกเลี่ยง คือ Avobenzone และ Oxybenzone ส่วนสารเคมีที่น่าจะปลอดภัยที่สุด คือ Octisalate ☀ข้อควรระวังเรื่องหนึ่ง คือ เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ห้ามใช้ครึมกันแดดเด็ดขาด เพราะผิวเด็กอ่อนแพ้ง่ายมาก และอาจจะเกิดปัญหาในซึมผ่านอวัยวะต่างๆในร่างกาย ส่วนหญิงตั้งครรภ์และให้หญิงที่ให้นมบุตรก็ควรหลีกเลี่ยงครีมกันแดดที่อยู่ในกลุ่ม chemical based และแนะนำให้ใช้เป็น mineral based แทน
@benklopp7727
@benklopp7727 29 күн бұрын
ขอบคุณครับ ที่สรุปให้อีกที
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 29 күн бұрын
@@benklopp7727 ยินดีค่ะ
@alyssaaaaaaaaaaaaaaaaaaaa
@alyssaaaaaaaaaaaaaaaaaaaa 29 күн бұрын
ขอบคุณค่า
@kittirutteerasukyodying1191
@kittirutteerasukyodying1191 29 күн бұрын
ขอบคุณFragranzaมากๆนะคะ ที่ช่วยเสียสละเวลาสรุปให้❤😊😊😊น่ารักที่สุดเลยค่ะ
@v.lildemon9082
@v.lildemon9082 29 күн бұрын
❤❤
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 29 күн бұрын
ครีมกันแดดแบบ mineral based ของแบรนด์ที่หาซื้อได้ในประเทศไทย ได้แก่ 1. Shiseido Perfect UV Protector 2. Anessa Perfect UV Sunscreen Skincare Milk 3. CLINIQUE Broad Spectrum 4. Dr. Jart+ Every Sun Day Mild Sun 5. Cetaphil Sun SPF 30 Light Gel
@thisisnathathai
@thisisnathathai 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะพี่ทริป ไม่ใช่ที่วรรณใช้สักอันค่ะ😂
@Kamonpa33
@Kamonpa33 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะพี่ทริป เป็นประโยชน์มากค่ะพี่
@noonhasu2624
@noonhasu2624 29 күн бұрын
Mizumi ก็ดีมากๆ mineral ล้วนๆ ซื้อตอนโปร 1แถม1 ค่ะ 😊
@kittirutteerasukyodying1191
@kittirutteerasukyodying1191 29 күн бұрын
คุณfragranzaTrippa เจาะลึกข้อมูลให้อีกแล้ว ❤❤😊😊😊ขอบคุณมากๆนะคะ น่ารักจริงๆ
@Phanita999
@Phanita999 29 күн бұрын
ขอบคุณมากค่ะ Dr.Jart ไม่แพง แต่ ไม่ค่อยมีของเข้า เก๋ชอบ แบรนด์ Kose ค่ะ แต่ อ่านไม่ออกเลย ภาษาญี่ปุ่นล้วนๆ 😅
@Kamonpa33
@Kamonpa33 29 күн бұрын
ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ วันนี้เรื่อง ยากันแดด เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน ซึมเข้ากระแสเลือด กดฮอร์โมน ไตมีปัญหา #sunscreen ครีมกันแดดถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันผิวไหม้จากแสงแดด ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ มีงานวิจัยมีสารบางอย่างซึมเข้าสู่กระแสเลือด อาจอันตรายแก่ร่างกายได้ ยูวีประกอบด้วย A B C 1. UVC มีปริมาณน้อยที่สุด คลื่นน้อยที่สุด อาจจะเจอตามเสาไฟฟ้าแรงสูง 2. UVB ทำให้ผิวไหม้ เกิดมะเร็งผิวหนัง แต่มีอยู่ 5% ของยูวีทั้งหมด 3. UVA ความยาวคลื่นยาวกว่า UVB มีปริมาณถึง95% ทะลุเข้าไปถึงชั้นใต้ผิวหนังได้ ทำให้ผิวดำ เกิดการอักเสบ อนุมูลอิสระทำให้เกิดการแก่ ป้องกันได้อย่างไร ครีมกันแดด SPF ถูกทำมาเพื่อดูว่าสามารถป้องกันUVB ได้แค่ไหน SPF 50 สามารถกันรังสี UVB ได้ 98% SPF 100 สามารถกันรังสี UVB ได้ 99% แต่ปริมาณที่กันได้ไม่คุ้มค่า ไม่ควรเลือกเกิน 50 สารกันแดดเพิ่มขึ้น บางอย่างซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ อาจจะได้ประโยชน์ไม่คุ้ม ค่า PA เกลดออฟยูวีเอ ในครีมกันแดด ว่าป้องกัน UVA ถ้า 3+ 4+ ป้องกันได้ดีมาก มีทั้งSPFและ PA ป้องกันการเกิดฝ้า มะเร็งผิวหนัง สารเคมีที่ทำกันแดด 1. mineral based 2. chemical based mineral based ไม่ซึมเข้าสู่ผิวหนัง จึงเป็นสิ่งที่ปลอดภัยที่สุด อเมริกาถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางยา ที่เป็นที่ยอมรับระดับ GRASE คือ 1. ซิลด์ อ็อกไซด์ (Zinc oxide) 2. ไทเทเนียม ไดอ๊อกไซด์ (Titanium dioxide) chemical based สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนัง เข้าสู่กระแสเลือดได้ เจอใน * กระแสเลือด * น้ำนมแม่ * ปัสสาวะ * น้ำคร่ำ * น้ำอสุจิ งานวิจัย มีสารหลาย ๆ ต้วสามารถกดต่อมไทรอยด์ ฮอร์โมนเพศชาย มีปัญหาต่อไต ออกมากับน้ำนมแม่ อยู่ในน้ำคร่ำ มีปัญหาต่อพัฒนาการของเด็กหรือไม่ อเมริกา ห้ามใช้ตัวที่มีสาร PABA และTrolamine คุณหมอแนะนำตัวที่ต้องเลี่ยงมี 2 ตัว คือ 1. Avobenzone 2. Oxybenzone ปลอดภัยที่สุดคือ Octisalate เลือก mineral based ปลอดภัยแน่นอน ข้อควรรู้ในการเลือกใช้ 1. ครีมกันแดดที่มีสาร PABA และ Trolamine ไม่ควรใช้ 2. คนที่แพ้ง่ายระวังของ chemical based ทั้งหมด 3. มีน้ำหอม อย่าใช้ อาจเกิดแพ้คัน ผื่นขึ้นได้ 4. ครีมกันแดดมีอายุ 3 ปี ควรเขียนวันหมดอายุ ถ้าเกิน 3 ปีต้องทิ้ง 5. เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ห้ามใช้ครีมกันแดดเด็ดขาด ผิวเด็กแพ้ง่าย ซึมเข้าสู่ผิวหนังง่ายกว่า 6. กันน้ำได้ อย่างน้อย 40-80 นาที หมดฤทธิ์ ต้องทาซ้ำ หรือควรทาซ้ำทุก ๆ ประมาณ 2 ชั่วโมง 7. แบบพ่น อันตราย * ติดไฟได้ * ชนิดพ่น เวลาพ่น การสูดดมเข้าสู่ร่างกายเป็นอันตราย * เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ แนวปะการัง ครีมกันแดดชนิด cheminal based หลาย ๆ ครั้งลงไปในน้ำทะเลเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การอย่าเจอแดด ใส่เสื้อแขนยาว อยู่ในที่ร่ม แต่มันทำให้เราขาดวิตามิน D ในกรณีที่ต้องทานวิตามิน D เสริม ควรตรวจร่างกายก่อน ถ้าไม่ไปตรวจร่างกาย การกินเสริมอย่ากินเยอะ ไม่ควรเกินวันละ 4000 อินเตอร์เนชั่นเนลยูนิต ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ
@zeyajang
@zeyajang 29 күн бұрын
ขอบคุณมากค่ะ
@Kamonpa33
@Kamonpa33 28 күн бұрын
​@@zeyajangยินดีค่ะ
@busakornwong4570
@busakornwong4570 27 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ
@Kamonpa33
@Kamonpa33 27 күн бұрын
@@busakornwong4570 ยินดีค่ะ
@ThePidasa
@ThePidasa 18 күн бұрын
ขอบคุณมากค่ะ
@Fong14
@Fong14 29 күн бұрын
ครีมกันแดดเราใช้กันทุกวัน.. ทั้งทาหน้า ทาตัว แต่ไม่เคยทราบข้อมูลเหล่านี้เลย .. บางยี่ห้อ ก็โฆษณาเกินจริง การตลาดสุดๆ .. ตรวจสอบ จริงๆ ก็กันแดดไม่ได้ตามที่โฆษณา.. เดี๋ยวนี้ต้องศึกษาข้อมูลเหมือนที่คุณหมอบอกในคลิป.. เพื่อความปลอดภัย.. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ.. 😊😊🙏🙏
@user-ny3iu2iu1k
@user-ny3iu2iu1k 29 күн бұрын
ความรู้ที่อาจารย์หมอให้ในวันนี้คุ้มค่ามากๆโดยเฉพาะคุณผู้หญิงทั้งหลาย ดิฉันเป็นอาจารย์สอนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เรื่องรังสียูวีอยู่ในหน่วยบทเรียนด้วย ดิฉันขออนุญาตนำคลิปนี้เปิดให้ความรู้แก่นักศึกษาหนุ่มสาวทั้งหลายนะคะ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
@DrTany
@DrTany 29 күн бұрын
ยินดีครับผม
@4rchim
@4rchim 28 күн бұрын
mineral base zinc oxide ควรเลือกแบบหยาบ (ที่ไม่ใช่ Zinc Oxide Nanoparticle) จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีกครับ *โดยเฉพาะคนที่ลงทะเลเพราะตัวnano particle ก็ทำให้ปะการังฟอกขาวได้ครับ ประเทศที่มีกิจกรรมดำน้่ำเยอะๆจะแบนครีมกันแดดเยอะมากครับบางทีละเอียดกว่าFDAเลยทีเดียว
@Gkontax
@Gkontax 28 күн бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากๆ ครับ
@sukanyaputhapitak909
@sukanyaputhapitak909 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ
@user-gr6ue7ly4u
@user-gr6ue7ly4u 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ 😊
@nisakornchoosaeng4105
@nisakornchoosaeng4105 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ❤❤
@naraksuphan227
@naraksuphan227 29 күн бұрын
ขอบคุณมากค่ะ
@meowmeowmeowyao8379
@meowmeowmeowyao8379 28 күн бұрын
ดีค่ะคุณหมอ
@doctorden1997
@doctorden1997 28 күн бұрын
ขอบคุณครับอาจารย์
@promsinengineer7947
@promsinengineer7947 29 күн бұрын
ขอบคุณครับ
@Maneepatchaya
@Maneepatchaya 29 күн бұрын
ขอบคุณคะ❤
@jaruchasudsri7820
@jaruchasudsri7820 28 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ🎉
@benjatawat8739
@benjatawat8739 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมอ❤
@lakkyky5792
@lakkyky5792 29 күн бұрын
Thank you ค่ะ อาจารย์หมอ
@warisathanghom-du9gn
@warisathanghom-du9gn 26 күн бұрын
😊🙏🏻🌸🍃ขอบพระคุณมากค่ะ
@nuttawanwilamard2597
@nuttawanwilamard2597 27 күн бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ
@maejaaacer677
@maejaaacer677 28 күн бұрын
กราบขอบพระคุณ คุณหมอมาก ๆ ค่ะ
@user-bn6ud7ft1d
@user-bn6ud7ft1d 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ ❤❤❤
@Tamarind1
@Tamarind1 12 күн бұрын
ขอบพระคุณมากครับ
@Kamonpa33
@Kamonpa33 29 күн бұрын
ขอขอบคุณ
@theempresperor6428
@theempresperor6428 29 күн бұрын
ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้
@oums47
@oums47 29 күн бұрын
ขอบคุณมากๆๆครับผม
@Euang-Mali
@Euang-Mali 29 күн бұрын
😊🌸🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏
@gaewaleegaewalee7941
@gaewaleegaewalee7941 29 күн бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ👍👍👍🙏
@sirikanyatan7232
@sirikanyatan7232 28 күн бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะ ตุณหมอ❤🙏
@user-wu3js3jm7g
@user-wu3js3jm7g 10 күн бұрын
ขอบคุณคะคุณหมอ
@nangthongpinit6579
@nangthongpinit6579 28 күн бұрын
ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ ได้รับประโยชน์มากค่ะ
@PLoyRichwealthy
@PLoyRichwealthy 22 күн бұрын
ขอบคุณความรู้ดีๆนะครับ❤
@Kittiya.B
@Kittiya.B 28 күн бұрын
ขอบพระคุณข้อมูลดีๆ มากค่ะ❤
@prapaipakthankeaw9367
@prapaipakthankeaw9367 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะ กำลังรับชมค่ะ
@gaewaleegaewalee7941
@gaewaleegaewalee7941 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ🙏
@karmosupasiri2787
@karmosupasiri2787 29 күн бұрын
ขอบคุณมากมากครับ เข้าใจทะลุปรุโปรงเลยครับ
@kimberryh.9602
@kimberryh.9602 12 күн бұрын
ขอบคุณ​ค่ะ​คุณ​หมอ❤❤
@tiwatphaisonjumlongsri6638
@tiwatphaisonjumlongsri6638 11 күн бұрын
ขอบคุณครับ คลิปเป็นประโยชน์มาก
@jidapasilpsook7919
@jidapasilpsook7919 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอ
@user-wf3hs1rv9q
@user-wf3hs1rv9q 14 күн бұрын
ชอบแนวนี้คะ 👍
@jaoawanootkennedy188
@jaoawanootkennedy188 29 күн бұрын
I really admire your talent!
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 28 күн бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@somjitlue-aroon7875
@somjitlue-aroon7875 29 күн бұрын
ยายใช้ทุกวันเลยค่ะขอบคุณมากค่ะ
@mrtarn55
@mrtarn55 23 күн бұрын
super informative !!
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอ❤
@user-kq3zh2rb4i
@user-kq3zh2rb4i 24 күн бұрын
คลิปนี้มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ
@inarziakla5654
@inarziakla5654 5 күн бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับผม
@CheetahJaquar
@CheetahJaquar 24 күн бұрын
Thanks!
@Fong14
@Fong14 29 күн бұрын
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ😊
@kungnagase3594
@kungnagase3594 29 күн бұрын
ขอบคุณคุณหมอสำหรับข้อมูลดีๆ ที่อยู่ใกล้ตัวมากๆค่ะ
@vorapunsuchiva3013
@vorapunsuchiva3013 29 күн бұрын
วันนี้คุณหมอแปลงร่างเป็น dermatologist ปังมากค่ะ
@user-zs6ze7tk4i
@user-zs6ze7tk4i 29 күн бұрын
❤❤❤❤❤ขอบคุณค่ะ@ หมออธิบายเก่งเข้าใจง่ายขอบคุณมากนะคะ❤❤❤
@jejie.m
@jejie.m 29 күн бұрын
ทากันแดดทุกวันค่ะ เป็นข้อมูลที่ดีเลยค่ะ
@Chanokchon123
@Chanokchon123 29 күн бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ 🙏 รักษาสุขภาพด้วยครับ อ.
@user-jk8tt6rf7h
@user-jk8tt6rf7h 29 күн бұрын
ขอบคุณ คุณหมอ ที่ไม่ลืมคนไทย ปลื้มที่ท่านได้ให้ความรู้สึขถาพให่้แก่ ปชช.คนไทย
@phorntkn3220
@phorntkn3220 23 күн бұрын
เป็นหัวข้อ ที่มีประโยชน์ ฟังเข้าใจ มาก ๆๆๆๆๆ ขอบคุณคะ
@acharatantaangkura5172
@acharatantaangkura5172 29 күн бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับความรู้ในเรื่องคราวนี้ จะส่งต่อให้เพื่อนๆค่ะ
@suriyawong75
@suriyawong75 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ😊😍😍
@sophis4924
@sophis4924 29 күн бұрын
สวัดดีคะ
@nuchjareelosiri3662
@nuchjareelosiri3662 25 күн бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะคุณหมอ มีแถมท้ายด้วยเรื่อง Vitamin D ขอบคุณมากๆๆค่ะ
@ALL86898
@ALL86898 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะ🙏😍อาจารย์หมอแทน วันนี้ท่านมาเล่าเรื่องใกล้ตัว คือครีมกันแดด น่าสนใจมากหลายคน คงอยากทราบและทราบหลักการการเลือก ใช้ครีมกันแดด และมีงานวิจัย การทดลองว่าสารกันแดดนั้น สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดและอันตรายต่อร่างกายทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ 🇨🇷ประเทศไทย เป็นเมืองร้อน มี แสงแดด ทุกฤดูกาล แสงแดดแรง มาก ด้วยคนที่ทำไร่ทำนา จะเจอบ่อยทุกๆวัน เพราะทำงาน อยู่กลางแดด และงานก่อสร้างก็เช่นกัน และเรามักจะ พูดล้อกันเล่นๆ ว่า แก่แดด แก่ลม นั้น คือแสงแดดทำให้เราแก่ไว วันนี้มาฟังความรู้เพิ่ม เกี่ยวแสงแดด ครีมกันแดด และการเลือกหาใช้ เพื่อปกป้องผิว กายของเรา ไม่ให้ดำไหม้ และก่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง มาฟังคุณหมอเล่าดังนี้ค่ะจึงมีการพัฒนา การเลือกครีมกันแดดอย่างไร ☁️ครีมกันแดดตอนแรกๆออกแบบมาให้ป้องกันผิวไหม้จากโดนแดดมาก และต่อมาก็ในเรื่องมะเร็งผิวหนัง และเกิดความแก่ด้วยจึงอยากพัฒนา ☁️รังสียูวี คือรังสีที่มีปัญหาหรือ รังสี อัลต้าไวโอเลต คืออะไร เราจะรู้จักสี ของรุ้งคือ ม่วง คาม น้ำเงิน เขียวเหลือง แดงแสด ทั้งหมดคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจอประสาทตาของเรารับรู้มองเห็นได้ แต่ก็มีที่เรามองไม่เห็น ความยาวคลื่น ไฟฟ้า สีม่วงความยาวคลื่นจะสั้น ถ้าสีแดงจะยาว สีม่วง สั้นตัวคลื่นมีพลังงานสูงแต่จะไม่ทะลุทะลวง และมีรังสี อัลต้าไวโอเลต สั้นกว่าคือยูวี เอ็กเรย์ รังสีเกมม่าเรย์ ที่ออกมาจากการระเบิดของดวงดาว สีแดงคลื่นยาว อินฟาเลต ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ เราจะมาโฟกัส ในเรื่องรังสียูวี ยูวี ประกอบด้วย 3ชนิด คือA B C คือยูวี C ไม่ค่อยเจอในชีวิตประจำวัน ใช้ฆ่าเชื้อตู้อบ สามารถทำให้เกิดก๊าซโอโซนเป็นอันตรายต่อการหายใจ ยูวีB มีคลื่นยาว ทำให้ผิวไหม้ได้ เกิดมะเร็งผิวหนังได้ แต่มีแค่5%ของยูวี ทั้งหมด ยูวี A ยาวคลื่นยาวมากทะลุทะลวงลงไปใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวไหม้ดำ เกิดการอักเสบ เกิดภาวะการแก่ของผิวหนัง และมีถึง95% ☁️เรา🔶️ต้องป้องกัน รังสี สองตัว คือUVA และUVB 🔶️การป้องโดยครีมกันแดด SPF50สามารถป้องกันUVBแค่ไหน SPF50กันUVB 98%ถ้าSPF มากกว่าเป็น100 จะมีสารก่อ อันตราย ควรใช้ ไม่เกินSPF50 ได้มาหลอดหนึ่งมีSPF30ค่ะ มีPA+++ ค่ะได้ทราบรายละเอียดความรู้จากคุณหมอ ต่อไปเลือกใช้ เลือกได้ถูกต้อง ขอบคุณมากๆค่ะ❤️🙏🌷
@user-wh2sd8do8c
@user-wh2sd8do8c 15 күн бұрын
ต้องขอบคุณ คุณหมอมากๆเลยคะ เพราะทำให้ตาสว่าง ได้ความรู้มากคะ❤❤
@Lawanday_fin
@Lawanday_fin 29 күн бұрын
มีประโยชน์ในการตัดสินใจซื้อกันแดดครั้งต่อไปค่ะ ขอบคุณมากค่ะ❤❤❤
@khunyinge
@khunyinge 28 күн бұрын
ขอบคุณ อาจารย์หมอมากค่ะ ฟังจบต้องรีบไปเช้คของตัวเองด่วนเลย
@user-kz8td5du7h
@user-kz8td5du7h 29 күн бұрын
สวัสดีวันพระค่ะอาจารย์หมอ/FC ทุกท่าน ขอให้บุญรักษาพระคุ้มครอง🙏ขอบพระคุณมากค่ะเรื่องครีมกันแดดค่ะ🪷
@AvecBella
@AvecBella 29 күн бұрын
Cheers to Wednesday ka Doctor Tany. May your day be filled with Joy, Strength, Inspiration 🌤️🌈🍎 … Thank you for the talk on How to Select the Right Sunscreen. Be back to listen. Have a fantastic Wednesday! 🙃 ☘️🍓🍀🍓☘️
@Lily_z90
@Lily_z90 29 күн бұрын
ขอบคุณมากนะค่ะคุณหมอ อยากได้คุณหมอเล่าเรื่องเครื่องสำอางแบบวันนี้ค่ะ
@nung-noppapat
@nung-noppapat 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🥰
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 29 күн бұрын
วันนี้เลิกงานกี่โมงคะน้องหนึ่ง...
@nung-noppapat
@nung-noppapat 29 күн бұрын
@@FragranzaTrippa 2ทุ่มค่ะพี่ทริป🙏💕🥰
@Chaweewan8769
@Chaweewan8769 29 күн бұрын
ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ เป็นเรื่องใกล้ตัวจริงๆเพราะใช้อยู่ทุกวันแต่ไม่เคยทราบว่ามีโทษอย่างไรบ้างและจะต้องเลือกอย่างไร เป็นประโยชน์มากค่ะอาจารย์
@luknamkanjutha
@luknamkanjutha 29 күн бұрын
อยากทราบข้อมูลเรื่องกันแดดแบบกินด้วยค่ะอาจารย์ ขอบคุณค่ะ
@jitanongjitphanit6048
@jitanongjitphanit6048 29 күн бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ ติดตามคลิปคุณหมอตหลอดค่ะได้นำเอาไปปติบัตรดีต่อสุขภาพขอให้คุณหมอทำคลิปต่อไปเลื่อยๆนะคะขอบคุณค่ะ😊😊😊😊ดูที่ออสเตรเลีย Melbourneค่ะ
@Hoshi1451
@Hoshi1451 28 күн бұрын
💓☄️💓☄️💓☄️💓💓☄️💓☄️💓☄️💓 ☺️ ขอบคุณอจ.หมอแทนมากค่ะ ผู้ติดตาม 6.11 แสนคน ขอให้มีผู้ติดตามฟังแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆๆ นะคะ🧑‍🤝‍🧑👫ประชาชนได้รับ ความรู้เป็นประโยชน์มากมายจากอจ.หมอค่ะ🙏ให้100 ล้านวิวไวๆๆนะคะ💕😊💛💜
@ToopM7
@ToopM7 27 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ เกลียดเวลาครีมกันไหลแดดเข้าตาที่สุด!!! ตอนนี้ใช้ครีมกันแดดแบบ protection reefค่ะ
@user-fl1mf2px4l
@user-fl1mf2px4l 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ👏👏👏 อ. หมอ กับเนื้อหาสาระดีๆค่ะ ครีมกันแดด ใช้ผิดชีวิตเปลี่ยนจริงค่ะ หน้าดำปี๋เป็นสิบๆปียังไม่หายเลยค่ะหน้าไหม้ดำ เรื่องจริงค่ะรักษายากมากค่ะหายยากด้วยค่ะ🎉🎉🎉🎉
@usawadeetcp.8298
@usawadeetcp.8298 29 күн бұрын
ขอบคุณ คุณหมอที่ให้ความรู้ดีๆแบบนี้ค่ะ เดียวต้องรีบไปดูที่ตัวเองก่อนล่ะ ถึงแม้จะใช้แบรนด์ ญี่ปุ่น แต่ก็กังวลอยู่ดีค่ะ
@tippazaza9933
@tippazaza9933 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ไม่คิดว่ายากันแดดจะเป็นอันตรายได้เหมือนกันจะแชร์ไปให้เพื่อนฟังขอเป็นคนใช้เพราะต้องออกนอกบ้านขับรถมอเตอร์ไซค์
@user-opera747
@user-opera747 28 күн бұрын
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ปกติเวลาไปซื้อครีมกันแดดมักเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ SPF เยอะๆเอาไว้ก่อน และไม่แพ้แค่นั้นๆจริงๆค่ะ
@boomsong5729
@boomsong5729 28 күн бұрын
ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน ยอดผู้ติดตาม 6.11 แสนคนแล้วค่ะ สถานีต่อไป 6.12 แสนคนค่ะ ช่อง Doctor Tany ช่องคุณภาพ ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ เนื้อหาหลากหลาย ประโยชน์มากมาย ตรงจริง ชัดเจน ครอบคลุม ทุกประเด็น ขอให้ได้ 1 ล้านซับไวๆนะคะ 🏡🍎🍇🍈🧡🍍🍊🍏🏕
@jutharatborn8675
@jutharatborn8675 28 күн бұрын
โอ้โห...คลิปนี้ลงวันเดียวยอดวิวเยอะมาก แสดงว่าทุกคนสนใจฟังคุณหมอให้ความรู้มากขึ้นจริงๆ อย่างหนูนี่ฟังเกือบทุกคลิปเลย โดยเฉพาะอะไรที่ใกล้ตัวมากๆ กันแดดที่หนูใช้ ALLIE CHRONO BEAUTY MILK UV EX SPF50+ PA++++ ค่ะ นี่ถึงกลับส่องส่วนผสมกันเลยทีเดียวเพราะเป็นภาษาญี่ปุ่น 😂😂 คุณหมออธิบายเก่ง เข้าใจง่าย เป็นคลิปที่ให้ความรู้และความสบายใจแก่คนฟังอีกแล้ว ขอบคุณค่ะคุณหมอ 🙏❤️
@USER-vi4zg
@USER-vi4zg 29 күн бұрын
ขอบคุณค่ะ😊
@jeerayui8981
@jeerayui8981 28 күн бұрын
ขอบพระคุณมากค่ะ เป็นประโยชน์มากค่ะคุณหมอ🙏💐🌷 ปกติทาครีมกันแดดทุกวันค่ะ วันละ2-3ครั้ง เพราะทาแล้วมันรู้สึกสบายใจ.. เดี๋ยวต้องกลับไปดูฉลากให้ดีๆ แล้วละค่ะ
@supaveethana4984
@supaveethana4984 29 күн бұрын
ขอบคุณครับคุณหมอฯ สมัยก่อนเล่นกอล์ฟเลยต้องใช้ครีมกันแดด ตอนนี้เลิกเล่นแล้วแทบไม่ได้โดนแดดจริงจัง
@AMMY.SKM1985
@AMMY.SKM1985 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์​🙏🏻​🧸​✨​🫁🥰 จากที่เราเป็นโรคภูมิแพ้ จึงไม่สามารถใช้โลชั่นบำรุงผิว หรือน้ำหอมใดๆได้ การเลือกกันแดดจึงค่อนข้างยากกว่าคนทั่วไป ยังดีที่ สเปรย์​กันแดดบางยี่ห้อเรายังใช้ได้ปกติ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะเกิดอาการแพ้ขึ้นมาอีกเมื่อไหร่… แต่ส่วนใหญ่ที่เลือกใช้คือ กันทั้ง uvA และ uvB และไม่มีสารพาราเบนค่ะ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะป้องกันได้ดีไหมนะคะ แต่เชื่อว่าต้องใช้ซ้ำ ไปทะเลชะอำเมื่อเดือนก่อน ไม่ได้พกสเปรย์​กันแดดไปด้วย ผลคือ แขนไหม้แดด ได้วิตามินD ฉ่ำเลยค่ะวันนั้น 😂
@oonphant3777
@oonphant3777 28 күн бұрын
🙏 สวัสดีค่ะคุณหมอ ชอบคลิปนี้มากๆๆ​ เป็นเรื่องใกล้ตัวสุดๆ ถ้าใส่เสื้อแขนยาว ช่วยป้องกัน UV ได้ไหมคะ แต่เห็น​ ญาติ​ ผู้หญิง 2 คน​ แล้ว​ที่​ ใส่แขนยาว แทบจะ​ ตลอดเวลา​ ผิวขาวขึ้นมากๆ ขาวแบบสวยด้วยค่ะ.. 😊
@user-qr2hr2ml5w
@user-qr2hr2ml5w 29 күн бұрын
พึงจะซื้อมาใช้เลย
@kanoky7076
@kanoky7076 19 күн бұрын
กราบขอบพระคุณค่ะ สำหรับความรุ้ในการเลือกใช้ครีมกันแดดให้ถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายและเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ส่วนตัวใช้ครีมกันแดดของคุณหมอเฉพาะทางทางด้านผิวหนังค่ะเพราะผิวหน้าจะแพ้ง่ายก่อนนั้นใช้ของยูเซรีนค่ะ 🙏
@pooknuannapa4908
@pooknuannapa4908 24 күн бұрын
ขอบคุณสำหรับการแชร์ความรู้ค่ะ ใช้ครีมกันแดดทุกวัน แต่ไม่รู้อันตรายเลย ต่อไปนี้จะเลือกอย่างระมัดระวังขึ้นค่ะ
@fifijoo3070
@fifijoo3070 24 күн бұрын
ดีจัง เวลาเกิดข้อกังขาใดๆที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ เปิดยูทูปเข้ามาก็จะเจออาจารย์มาอธิบายให้ฟังโดยละเอียด ขอบคุณค่ะ
@rossakorntuk9282
@rossakorntuk9282 27 күн бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอ ขอบพระคุณ อาจารย์หมอมากค่ะ❤
@13lacksecret
@13lacksecret 14 күн бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากๆครับ เป็นคลิปที่ได้ความรู้และมีประโยชน์มากครับ ก่อนหน้านี้ใช้กันแดดหลายยี่ห้อสลับกันไป พอได้ดูคลิปนี้ทำให้ตัดสินใจเลือกกันแดดได้อย่างถูกวิธีด้วยครับ
@tanapol3s
@tanapol3s 27 күн бұрын
ดีนะครับผมใช้ครีมกันแดดแบบ reef safe ตลอด เคมีทุกตัวที่คุณหมอบอกมา ผมจำได้ขึ้นใจอยู่แล้วว่ามันทำร้ายทะเล และเลือกใช้ mineral base มาโดยตลอด
@japanlifestyle5579
@japanlifestyle5579 29 күн бұрын
ใช้ ของญี่ปุ่นค่ะเพราะว่าอาศัยอยู่ที่นี่มั่นใจค่ะว่าเครื่องสำอางที่นี่ค่อนข้างจะปลอดภัยเพราะว่าเค้าจะค่อนข้างเข้มงวดมากค่ะ
@CheetahJaquar
@CheetahJaquar 24 күн бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอ🙏สำหรับข้อมูลความรู้อย่างละเอียดที่ใกล้ตัวกับผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดที่คนส่วนใหญ่ต้องใช้กันในทุกวันค่ะ😊 ป.ล.หลังจากฟังคลิปนี้จบแล้ว จะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ค่ะ😊🙏
@Mariya729
@Mariya729 3 күн бұрын
อึ้ง​เลย​คะ​ ขอบัน​ทึกข้อมูล​ไว้ก่อน​คะ​ ว่าง​ต้อง​กลับ​มาฟังอีก​หลาย​รอบเลยคะจะได้เข้าใจ​ถูกต้อง​ ขอบคุณ​คะ​คุณ​หมอ🙏
@piched7849
@piched7849 29 күн бұрын
อย ต้องออกมาควบคุมละครับ
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 28 күн бұрын
ครีมกันแดดเป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตเลยค่ะ😊แปะไว้ก่อนไปตรวจสอบกันแดดที่ใช้ประจำว่าอยู่ในข่ายควรใช้ต่อหรือพอแค่นี้🤩#แต่เบื้องต้นก็เป็นยี่ห้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกรมอุทยานฯ😄#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@pamanasakorn3990
@pamanasakorn3990 29 күн бұрын
สวัสดีวันพุธวันโกนก่อนวันพระพ.ฤ.6/6/67❤❤❤❤ ชอบมากๆๆๆๆค่ะ กำลังจะไปซื้อครีมกันแดดตัวใหม่เลยค่ะ ขอรบกวนถามว่าถ้าอยากให้ผิวกลับมาขาวเหมือนตอนเด็กควรเลือดที่SPFเท่าไรดีถึงจะเหมาะกับเมืองไทย และต้องเลือกค่าป้องกันUV AและUV Bเท่าไรดีค่ะ
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 29 күн бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากค่ะวันนี้มาให้ความรู้เรื่อง ครีมกันแดด เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน ซึมเข้ากระแสเลือด กดฮอร์โมน ไตมีปัญหา ได้ความรู้ดีดีมีประโยชน์มากคะ ตาก็ใช้ครีมกันแดดทุกวันเป็นแบบครีมทาทุกวันชื้อในเซเว่นคะ😊👍 ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ🙏🌹🌹
NERF WAR HEAVY: Drone Battle!
00:30
MacDannyGun
Рет қаралды 40 МЛН
когда повзрослела // EVA mash
00:40
EVA mash
Рет қаралды 3,7 МЛН