ปลูกถ่ายไตจากหมูสู่คน ความหวังอันยิ่งใหญ่ของผู้ป่วยไตวาย

  Рет қаралды 26,293

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

Пікірлер: 192
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
ปลูกถ่ายไตจากหมูสู่คน ความหวังอันยิ่งใหญ่ของผู้ป่วยไตวาย #Xenotransplantation สวัสดีครับ ผมคิดว่าหลายคนนะครับน่าจะได้ข่าวของการปลูกถ่ายไตหมูไปสู่มนุษย์นะครับสำเร็จเมื่อวันที่ 16 มีนาคมปี 2024 ที่ผ่านมานี้เองนะครับเรื่องนี้เนี่ยเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากในวงการการปลูกถ่ายอวัยวะนะครับ วันนี้ผมในฐานะของหมอที่เชี่ยวชาญทางด้านการปลูกถ่ายอวัยวะก็อยากจะมาเล่าทุกคนฟังว่าทำไมมันถึงเป็นเรื่องใหญ่โตนักนะครับแล้วทำไมเราถึงมีความจำเป็นจะต้องเอาอวัยวะของสัตว์ชนิดอื่นเข้ามาสู่มนุษย์แทนที่จะเอาของมนุษย์ให้กับมนุษย์เองนะครับรวมทั้งทำไมจะต้องเป็นอวัยวะของหมูที่สำคัญคือแล้วทำไมมันถึงทำยากนักหนานะครับ ก็วันนี้จะเล่าให้ฟังเลยนะครับ พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
1️⃣ สำหรับกรณีนี้ผู้ป่วยเขาก็ประกาศชื่อนะครับคือคุณ Richard (Rick) Slayman นะครับอายุ 62 ปีเป็นผู้ชายนะครับมีโรคเบาหวาน ความดันสูงแล้วก็นำไปสู่ไตเสื่อมนะครับ โดยครั้งแรกที่เขาไตเสื่อมเขาก็ได้รับการปลูกถ่ายแบบเอาไตมนุษย์สู่มนุษย์นะครับแต่หลังจาก 5 ปีผ่านไปผ่านไปไตมันก็วายนะครับก็เลยต้องกลับไปล้างไตใหม่ ทีนี้พอเขาได้ยินว่าเรามีนวัตกรรมที่น่าจะสามารถปลูกถ่ายไตหมูมาสู่คนได้เขาก็สนใจแล้วก็ได้รับการปลูกถ่ายไตไปนะครับโดยการผ่าตัดทำขึ้นที่ Massachusetts General Hospital นะครับก็อยู่ในบอสตันเมืองที่ผมอยู่เลยนะครับ อันนี้ก็เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ซึ่งจะว่าไปการปลูกถ่ายอวัยวะที่สำเร็จครั้งแรกในมนุษย์ย้อนไปเมื่อปี 1954 ที่โรงพยาบาลที่ผมทำงานในขณะนี้คือ Brigham and Women's Hospital ก็เป็นการปลูกถ่ายไตเหมือนกันนะครับก็วนมาจนถึงตอนนี้ครบรอบ 70 ปีที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะสำเร็จครั้งแรกแล้วตอนนี้จากคนสู่คนก็ไม่แล้วกลายเป็นจากหมูสู่คนนะครับ เหตุผลที่เราจะต้องมีการทำการปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่มนุษย์มันมีหลักๆอยู่ด้วยกัน 2 ข้อนะครับ 🔶ข้อแรกก็คือปัจจุบันผู้บริจาคอวัยวะมีไม่เพียงพอต่อผู้ที่ต้องการรับบริจาคอวัยวะนะครับ ไม่พอจริงๆอันนี้ก็ต้องขอรณรงค์ให้ทุกๆคนคิดว่าตัวเองน่าจะต้องบริจาคอวัยวะนะครับเพราะว่ามันจะเป็นการช่วยเหลือมนุษยชาติได้ค่อนข้างที่จะมากเลยทีเดียวนะครับ 🔶ทีนี้เหตุผลอันที่ 2 นอกเหนือจากอวัยวะที่มันมีไม่เพียงพอแล้วยังมีเรื่องของการที่การถูกถ่ายอวัยวะมันจำเป็นจะต้องใช้ยากดภูมิขนาดสูงซึ่งก็จะนำไปสู่ผลข้างเคียงต่างๆมากมายซึ่งเดี๋ยวผมก็จะเล่าให้ฟังต่อไปอีกว่ามันคืออะไรบ้างนะครับแล้วมันต้องกินไปตลอดชีวิต ทีนี้ถ้าเราเอาอวัยวะจากสัตว์มาใช้เราก็มีโอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมันเพื่อที่จะให้เข้ากับมนุษย์มากที่สุดโดยที่อาจจะนำไปสู่การที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการกดภูมิเลยก็ได้ในอนาคตนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
2️⃣ นี่คือสาเหตุหลักๆ 2 อย่างที่ทำไมเราจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาความรู้เพื่อที่จะเอาอวัยวะของสัตว์มาใช้กับมนุษย์นะครับการเอาอวัยวะปลูกถ่ายจากสัตว์อื่นมาสู่มนุษย์ทีนี้เราจะเรียกภาษาทางการแพทย์ว่า Xenotransplant ซึ่งแปลว่าการปลูกถ่ายนะครับ แล้วทำไมถึงต้องเป็นหมู? ➡️ต้องบอกก่อนนะครับว่าในกรณีของคนนี้ที่ได้รับการปลูกถ่ายคุณ Slayman เขาได้รับการปลูกถ่ายจากหมูชนิดที่เรียกว่า Yucatan Pig นะครับ ที่มีการตัดต่อพันธุกรรมถึง 69 ตำแหน่งด้วยกันเพื่อที่จะให้มันเข้ากับคนคนนี้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นะครับ 🔸เหตุผลแรกหมูเป็นสัตว์ที่มีอวัยวะขนาดใกล้เคียงกับคนมากที่สุดนะครับ 🔸อันที่ 2 เรามีการเลี้ยงหมูอยู่แล้วโดยเป็นปกติเราก็มีการรับประทานอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากในการเพาะพันธุ์หมูแล้วก็เลี้ยงมันนะครับ อวัยวะของหมูมันเติบโตค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่น เช่น ถ้าเราไปเอาจากลิง ลิงมันก็เลี้ยงลำบากหน่อยนะครับแล้วก็เราไม่ได้กินลิงเป็นประจำดังนั้นการที่เราเอาอวัยวะจากลิงจากอะไรพวกนี้มามันอาจจะลำบากมากกว่าปกติเยอะแล้วก็อาจจะต้องมีการควบคุมขนาดของอวัยวะให้มันเหมาะสมด้วยซึ่งก็ยากกว่าเดิมอีกนะครับ 🔸อันต่อมาก็คือว่าถ้าเราเอามาจากสัตว์เราจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมันได้และเวลาเราเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของหมูก็มีบางอย่างที่เราสามารถที่จะทำได้ หมูมันก็เลยเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งเราเอามาใช้ คือมันเลี้ยงง่าย เรามีประสบการณ์การเลี้ยงอยู่แล้ว แล้วอวัยวะขนาดมันก็ใกล้เคียงคนมันก็เลยต้องเอาหมูมาทำการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมบางอย่างเพื่อให้เข้ากับคนนี่คือเหตุผลหลักๆ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
3️⃣ ที่นี้ถ้าพูดถึงวงการนี้ท่านบางท่านอาจจะเคยได้ยินว่าเคยมีคนปลูกถ่ายหัวใจของหมูเข้าสู่มนุษย์แล้วตาย ทำไมตาย? ➡️ผมต้องขอเล่าปูพื้นที่ก่อนแล้วเดี๋ยวผมจะเล่าไปสู่การปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คนว่าทำไมมันยาก ก็เพราะว่าการปลูกถ่ายหัวใจใน 2 เคสนั้นคือทำที่ University of Maryland Medical Center ที่ Baltimore ทั้ง 2 เคสตั้งแต่ปี 22 กับปี 23 นะครับโดยเคสแรกเขาเสียชีวิตเพราะว่ามีการต่อต้านหัวใจนะครับใช้เวลาประมาณสัก 2 เดือนเขาก็เสียชีวิตแล้วปรากฏว่าไปเจอไวรัสชนิดหนึ่งด้วยนะครับชื่อว่า Porcine cytomegalovirus (PCMV) นะครับซึ่งตัวนี้อาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตในคนๆนี้ได้ อีกคนนึงก็เหมือนกันคือปลูกถ่ายไปไม่นานก็เกิดการต่อต้านหัวใจแบบชนิดที่เป็นแอนติบอดี้ทำลายหัวใจทิ้งนะครับ นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมมันถึงยากอยู่ได้แค่ประมาณ 2 เดือนแล้วก็เสียชีวิต แล้วไตอยู่ได้นานกว่านั้นหรือ? ➡️ครับ มันอยู่ได้นานกว่านั้น น่าจะนานกว่านั้น เพราะว่าเราพอจะมีหลักฐานทางการแพทย์ครับเรามีการทดลองในลิงก่อนโดยการปลูกถ่ายไตของหมูเข้าไปสู่ลิงแล้วปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมจนกระทั่งเราสามารถที่จะทำให้ไตมันอยู่ในลิงได้นานเกิน 2 ปีครับ นับเป็นความสำเร็จขั้นยิ่งใหญ่มากๆที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปอีกชนิดหนึ่งนะครับ ดังนั้นจึงจะเป็นสิ่งที่เราเริ่มมีความรู้เพิ่มมากขึ้นแล้วถ้าถามผมว่าการที่เราปลูกถ่ายอวัยวะจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปอีกชนิดหนึ่งเราควรจะเริ่มจากอวัยวะที่มันปลอดภัยและทำได้ง่ายก่อนในที่นี้ก็คือเรื่องของไต เหตุผลเพราะว่าถ้าเกิดสมมุติว่าไตเราเกิดวายขึ้นมาเราตัดทิ้งได้เลยนะครับหรือไตเรามีการติดเชื้อรุนแรงเราตัดทิ้งได้เลยแล้วเราก็ยังสามารถเอาคนไข้ไปอยู่บนเครื่องล้างไตได้อยู่ แต่ถ้ามันเป็นการผิดปกติของหัวใจจากหมูมาสู่คนแล้วคนไข้มีแต่ตายกับตายเท่านั้นนะครับปลูกถ่ายไปปุ๊บถ้ามันมีปัญหาก็ตายเพราะไม่มีเครื่องอะไรที่มันพยุงได้นะครับ ดังนั้นไตจึงเป็นอวัยวะหนึ่งซึ่งเป็นตัวที่ทางการแพทย์เราให้ความสนใจมากนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
4️⃣ ทีนี้คำถามก็คือแล้วมันยากยังไงสำหรับการปลูกถ่ายไตหมูกับไตคนถ้าไม่นับเรื่องขนาด เราก็วัดแล้วสรุปว่าหมู Yucatan ดีสุด และเราก็ไปเลี้ยงในโรงเลี้ยงที่มันมีการปลอดเชื้อสุดๆนะครับ มันมีอย่างนี้ครับ เซลล์ของหมูก็เซลล์ของคนมันไม่เหมือนกันดังนั้นบนผิวของเซลล์ก็จะมีโปรตีนหลายๆอย่างซึ่งคนไม่มี ทีนี้พอมันเป็นเช่นนั้นแล้วการที่ใส่เข้าไปในร่างกายคน คนก็จะทำการต่อต้านอวัยวะของหมูแบบฉับพลันที่เราเรียกว่า Hyperacute rejection ซึ่งเกิดจากการที่คนมีโปรตีน Antibody ต่อต้านหมูอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว ถ้าเรากินหมูเข้าไปไม่เป็นไรแต่ถ้าเราเอาหมูเข้าไปแล้วเจอเลือดเราอันนี้เป็นอะไรแน่นอนนะครับ เพราะว่าโปรตีนจากหมูมันไม่ได้ถูกย่อยเลยนะครับถ้าเราเอาไปทั้งอัน อย่างเช่น ไตทั้งก้อนใส่เข้าไปในมนุษย์ เลือดของมนุษย์ที่มันมีภูมิคุ้มกันอยู่มันมาเจอปุ๊บโปรตีนของหมูยังอยู่ตรงนั้นทำลายทิ้งเลย แต่ถ้าเรากินเข้าไปโปรตีนของหมูพวกนี้มันจะถูกย่อยจนกระทั่งเป็นกรดอะมิโนซึ่งพวกนั้นจะทำให้แพ้ไม่ได้นะครับดังนั้นก็สามารถกินได้ แต่อันนี้ไม่นับถึงในกรณีที่คนบางคนกินอาหารบางอย่างเราแพ้นะวันนี้เราไม่ได้คุยกันเรื่องนั้นเราจะข้ามไปก่อนนะครับว่าทำไมมันถึงเกิดการแพ้ในคนที่กินอาหารทะเล กินอะไรอย่างนั้นอย่างนี้บ้างนะครับเราข้ามไปก่อนนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 9 ай бұрын
5️⃣ 🔷อันแรกเราโปรตีนที่ไม่เหมือนกัน แล้วร่างกายมนุษย์ก็จะสร้าง Antibody ไปจัดการมันทำให้มันเสียเลยนะครับ 🔷อันที่ 2 คือมันมีเชื้อโรคบางอย่าง มีอยู่ 2 ตัวที่สำคัญมากๆนะครับ 🔹ตัวแรกคือ Porcine retrovirus ซึ่งตัวนี้มันจะคล้ายๆกลุ่มไวรัสเอดส์ซึ่งตัวสายพันธุกรรมของมันสามารถที่จะเข้าไปอยู่ในสายพันธุ์ของมนุษย์ได้นะครับ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการตัดต่อยีนเพื่อเอาไวรัสนี้ออกไปจากหมูให้ได้ 🔹ไวรัสอีกชนิดหนึ่งเราจะเรียกว่า Porcine cytomegalovirus (PCMV) 🔹ก็มีอีกตัวนึงคือ Porcine roseolovirus นะครับพวกนี้เป็นตัวที่ทำให้คนปลูกถ่ายหัวใจคนแรกจากหมูสู่คนเสียชีวิตด้วยส่วนหนึ่งนะครับ นี่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งก็เลยมีความยากลำบากตรงนี้ แล้วก็ไม่ใช่แค่เรื่องของการยอมรับของอวัยวะนะครับ มันยังมีเรื่องของโมเลกุลบางอย่างที่อยู่บนเซลล์ของหมูที่ทำให้เวลาเลือดคนผ่านไปตรงนั้นแล้วมันเกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะนั้นทำให้ถ้าเราปลูกถ่ายไตหมูโดยที่เราไม่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมแล้วนั้นเลือดมันก็จะอุดตันในนั้นทำให้อวัยวะนั้นขาดเหลือก็ตายไปเลย ดังนั้นเหตุผลหลักๆที่เขาจะต้องเปลี่ยนแปลงของไตหมูเพื่อที่จะให้เข้าสู่คนได้ก็มีดังนี้นะครับ
@chariterasmussen4715
@chariterasmussen4715 9 ай бұрын
ดิฉันคนหนึ่งที่ บริจาคไต ไปข้างหนึ่งค่ะ เมื่อปีกว่าๆมานี่เอง ขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านค่ะ ทุกท่าน ทำอย่างใจจดใจจ่อ ทำอย่างระมัดระวัง อย่างมาก ขอบพระคุณทุกท่านเลย ค่ะ ❤
@thanawutruksapol4398
@thanawutruksapol4398 9 ай бұрын
อาจารย์หมอสมเป็นปรมาจารย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะอย่างแท้จริง 😊 อธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจได้มากขึ้น ซึ่งแทบไม่มีช่องไหนพูดเรื่องนี้ขนาดนี้เลย ปล พ่อผมเป็นโรคไต ผมเลยสนใจเรื่องการปลูกถ่ายไตมากๆครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
@น่าล่าพวกปัญญาอ่อนและจิตไม่ปก
@น่าล่าพวกปัญญาอ่อนและจิตไม่ปก 9 ай бұрын
ผมรับชมช่องคุณหมอแล้ว ทำให้ผมอยากดูแลสุขภาพมากขึ้นจริงๆ ครับ ตอนนี้ผมอายุ 26 เมื่อก่อนชอบกินของหวาน ปัจจุบันลดน้ำตาลมาได้ 1 ปีแล้วครับ ใช้วิธีกินผลไม้แทนขนม กินข้าว 2 มือ กินผักมากขึ้น ออกกำลังกายนิดหน่อย รู้สึกแค่อยากถนอมร่างกายเฉยๆครับ ไม่ได้เคร่งอะไร ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ คุณหมอ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
ชื่นชมค่ะ ดูแลสุขภาพได้ดีมากค่ะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
เก่งมากเลยครับผม
@boomsong5729
@boomsong5729 9 ай бұрын
ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน ยอดผู้ติดตาม 5.84 แสนคนแล้วค่ะ สถานีต่อไป 5.85 แสนคนค่ะ ช่อง Doctor Tany ช่องคุณภาพ ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ เนื้อหาหลากหลาย ประโยชน์มากมาย ตรงจริง ชัดเจน ครอบคลุม ทุกประเด็น ขอให้ได้ 1ล้านซับไวๆนะคะ 🏡🍎🍇🍈🧡🍍🍊🍏🏕
@snowbellhaha
@snowbellhaha 8 ай бұрын
เป็นผู้รอปลูกถ่ายไตมา7ปีแล้วค่ะ ยินดีในข่าวดีทางการแพทย์ ขอบคุณคุณหมอที่มาส่งต่อความหวังค่ะ
@chariterasmussen4715
@chariterasmussen4715 9 ай бұрын
ว้าว...ขอแสดงความยินดีกับวงการแพทย์ ด้วยค่ะ มนุษย์ เรามีโอกาศได้มีชีวิตรอดมากขึ้น ❤❤ ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ ที่มาแจ้งให้ทราบค่ะ น่าสนใจมากค่ะ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn 9 ай бұрын
กราบขอบพระคุณคุณหมอแทนอย่างยิ่ง ที่กรุณาเล่าเรื่องราวที่ดีมากๆเป็นประโยชน์ต่อโลกใบนี้ ซึ่งคุณหมอถ่ายทอดหลักการออกมาได้เข้าใจง่าย สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานมาทางนี้ วิทยาการทางการแพทย์ของโลกเราก้าวหน้าไปเรื่อยๆไม่หยุดยั้งจริงๆ ผู้ที่ทำงานสายนี้ และผู้เชี่ยวชาญอยู่ในสาขานี้มีเรื่องให้ช่วยกันขบคิด และท้าทายความสามารถอยู่เรื่อยๆ ทั้งยังมีโอกาสที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ทางการรักษาได้อีก เพียงแต่ต้องเป็นคนสนในใฝ่รู้ รักการเรียนรู้ และรักความท้าทายในการพัฒนาต่อยอดทางการรักษา
@daisyradio
@daisyradio 9 ай бұрын
คุณแม่คงไม่มีโอกาสได้เปลี่ยนถ่ายไต ยังคงล้างไตอยู่ทุกวันค่ะ ตื่นเต้นไปกับความรู้ที่คุณหมอนำมาเล่าให้ฟังเช่นกัน มนุษย์เก่งจริงๆ วันนึงเราคงมีอะไหล่อวัยวะ ขอบพระคุณมากค่ะ 🙏
@jakj7273
@jakj7273 9 ай бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ
@trussue4426
@trussue4426 9 ай бұрын
คุณย่า94ผมก็ต้องล้างไตเหมือนกันครับ เพิ่งวางท่อม่5วัน แต่ยังไม่ได้ล้างซักที ตอนนี้มีอาการเวียนหัว อาเจียน เสียดายคงไม่สามารถปลูกถ่ายได้
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
อาจารย์คะ... เพิ่งทราบว่า ศัลยแพทย์ผู้ที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตครั้งนี้ เป็นนายแพทย์ชาวญี่ปุ่น ชื่อว่า ดร.ทัตสึโอะ คาวาอิ (Tatsuo Kawai) เขากล่าวว่า ไตของหมูชิ้นนี้มีขนาดเท่ากับไตของมนุษย์ทุกประการ เมื่อพวกเขาเย็บมันเข้าไปให้เชื่อมต่อกับหลอดเลือดของผู้ป่วย มันก็เปลี่ยน “เป็นสีชมพู” ทันที ทีมงานปลูกถ่ายทั้ง 15 คนต่างปรบมือด้วยความยินดี... “มันเป็นไตที่สวยที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมาจริง ๆ” ดร. คาวาอิ กล่าว พร้อมกับชื่นชมแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องทุกคนที่มีส่วนร่วมในการผ่าตัดครั้งนี้ โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญบางคนที่ทำงานวิจัยด้านนี้มาตลอดช่วงชีวิต... การปลูกถ่ายอวัยวะสัตว์จากมนุษย์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะทั่วโลก...
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ในรพ ที่ Boston มีหมอญี่ปุ่นเยอะมากครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
@@DrTany อ๋อ ค่ะ ขอบคุณมากค่ะอาจารย์...
@kanoky7076
@kanoky7076 9 ай бұрын
กราบขอบพระคุณค่ะ ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในวงการแพทย์ทางด้านการปลูกถ่ายอวัยวะที่คุณหมอเชี่ยวชาญในด้านนี้ด้วยค่ะ เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคตโดยเฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นต้องปลูกถ่ายอวัยวะ โดยเฉพาะไต เพราะคนที่เข้าคิวรอไตที่บริจาคนั้นเยอะกว่าไตที่มีผู้บริจาค ทำให้ต้องรอนานมาก ส่วนตัวก้บริจาคอวัยวะแล้วค่ะ 🙏
@kungnagase3594
@kungnagase3594 9 ай бұрын
ทราบข่าวนี้เมื่อสองวันก่อนค่ะ ยังว้าวเลยค่ะ แต่ระยะยาว ไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างไร ขอบคุณคุณหมอสำหรับความรู้ข่าวสารความก้าวหน้าของวงการแพทย์ค่ะ
@เพ็ญนภาจงสุขสันติกุล
@เพ็ญนภาจงสุขสันติกุล 9 ай бұрын
นับถืออาจารย์​หมอแทน หมอเก่งมากๆค่ะอธิบายด้วยภาษาที่ถูกต้องและชัดเจนสุภาพ ขอบคุณมากๆ
@sompetmalasuriya-fl7se
@sompetmalasuriya-fl7se 9 ай бұрын
คุณ หมอครับ คุณหมอเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทันโลกทันเหตุการณ์. อย่าเหนื่อยน่ะครับ. ให้ทานความรู้เพื่อนมนุษย์ บารมีสูงมากครับ. ผมไม่อยากกินหมูแล้ว ครับ.
@Hoshi1451
@Hoshi1451 9 ай бұрын
😊❤ขอบพระคุณอจ.หมอมากนะคะที่นำข่าวเรื่องการปลูกถ่ายไตของหมูมาสู่คนได้สำเร็จแล้ว เป็นเรื่องน่ายินดีมากๆค่ะ ก็ต้องรอเวลาศึกษาดูกันต่อไปนะคะ เทคโนโลยีการแพทย์ล้ำสมัยก้าวหน้ามากๆเลยค่ะ 🙏 ขอให้อจ.หมอแทนมีแต่ความสุข สดชื่น ทำสิ่งใดราบรื่นๆๆสำเร็จทุกประการนะคะ💕
@ศิริเพ็ญเพ็งเปรม
@ศิริเพ็ญเพ็งเปรม 9 ай бұрын
🌾🌾🌾🤍🤍🤍🤍🤍🌾🌾🌾 สาธุ..บุญค่ะ..พี่หมอแทน.. ขอบพระคุณ..และ..อนุโมทนาสาธุบุญด้วยน่ะค่ะ.ผู้ให้..คือผู้มี..❤..เป็นทองคํา..อย่างแท้จริง. กราบอนุโมทนาสาธุ.ในกุศลจิต.ที่งดงามของพี่หมอแทนด้วยน่ะค่ะ..☘️🙏🙏🙏☘️
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ หัวข้อวันนี้ เรื่อง... ปลูกถ่ายไตจากหมูสู่คน ความหวังอันยิ่งใหญ่ของผู้ป่วยไตวาย #Xenotransplantation ◾สำหรับแฮชแท็ก Xenotransplantation หมายถึง การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะต่างสปีชีส์ที่ใช้อวัยวะจากสัตว์อื่นมาทดแทนอวัยวะที่ทำงานผิดปกติในร่างกายมนุษย์ค่ะ ◾ทำไมต้องเป็น "หมู" เนื่องจาก "ไตหมู" มีขนาดใกล้เคียงกับไตของมนุษย์ และหาได้ง่ายเพราะมีการเลี้ยงหมูและเพาะพันธุ์หมูได้ง่าย ไม่เหมือนกับลิงซึ่งจะเลี้ยงได้ยากกว่า ◾ที่สำคัญ คือ ไตของหมูสามารถนำมาตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ และลดโอกาสที่ร่างกายจะปฏิเสธอวัยวะ ◾โรงพยาบาลที่สามารถปลูกถ่ายไตหมูในคนได้สำเร็จในครั้งนี้ คือ Massachusetts General Hospital ซึ่งอยู่ในเมืองบอสตัน ส่วนคนไข้ ชื่อ ริชาร์ด สเลย์แมน (Richard Slayman) ผู้ป่วยชายวัย 62 ปี ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย
@amamammy8590
@amamammy8590 9 ай бұрын
ขอบคุณความรูดีๆค่ะคุณหมอ
@jinxo.o5659
@jinxo.o5659 9 ай бұрын
👍👍👍
@Sumalee9119
@Sumalee9119 9 ай бұрын
ว้าวๆมากค่ะคุนหมอ แม่จะฟังให้จบค่ะ คนใกล้ตัวเป๋นโรคไตเยอะมากๆสงสารพวกเขาต้องไปฟอกไตอาทิตน์ละสองครั้งเลยค่ะ เป็นเรื่องดีมากๆเลยค่ะ🎉
@CZSoNot
@CZSoNot 9 ай бұрын
ฟังเพลินเลยค่ะ ขอบพระคุณคุณหมอ สำหรับความรู้ และสิ่งที่ดีในวงการแพทย์ ตื่นเต้นมากค่ะ 🙏🙏
@Chaweewan8769
@Chaweewan8769 9 ай бұрын
รู้สึกตื่นเต้นไปกับอาจารย์ด้วย ขอชื่นชม ยินดีในความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งในวงการแพทย์ที่สามารถนำอวัยวะของสัตว์มาปลูกถ่ายให้มนุษย์สุดยอดจริงๆค่ะ
@austin7908
@austin7908 9 ай бұрын
สรุปได้เข้าใจง่ายมากเลยครับ ตอนที่เรียนวิชา Biocompatibility เขาก็สอนเรื่องพวกนี้เบื้องต้นสำหรับ Biomedical Engineeting เหมือนกันครับ ปล.มหาวิทยาลัยที่เรียนก็กำลังวิจัยเรื่องเกี่ยวกับ scaffold อยู่เหมือนกัน
@เมนทอสครับ
@เมนทอสครับ 9 ай бұрын
ขอบคุณในความรู้ที่ให้นะคะ อยากให้รักษาโรคมะเร็งได้ แล้วมียารักษาสะเก็ดเงินให้หายขาดมั้ยค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
ขอเรียนว่า โรคสะเก็ดเงินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมโรคให้สงบได้ค่ะ ต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น ห้ามใช้ยาสมุนไพร ห้ามซื้อยาทานเองนะคะ
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากคะวันนี้มาแชร์เรื่อง ปลูกถ่ายไตจากหมูสู่คน ความหวังอันยิ่งใหญ่ของผู้ป่วยไตวาย ถือเป็นข่าวที่ดีที่สุดถ้าสำเร็จเกิน100% ดีใจแทนผูป่วยโรคไตวาคะ 👍 ขอให้คุณหมอมีความสุขสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ🙏🌹🌹
@rossakorntuk9282
@rossakorntuk9282 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอ ขอบพระคุณ อาจารย์หมอ มากค่ะ❤
@neenee-m9p
@neenee-m9p 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ🙏
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
สงสัยทำไมถึงใช้หมู 🐷 1) หมูมีอวัยวะขนาดใกล้เคียงกับคน 2) หมูเลี้ยงง่าย โตเร็ว 3) เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมหมูได้ แต่เขาก็เลือกพันธุ์หมู เป็นพันธุ์ Yucatan และเลี้ยงในที่ปลอดเชื้อ เวลาคนได้รับอวัยวะแปลกๆเข้าไป ร่ายกายจะต่อต้าน ดังนั้นจึงต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อไม่ให้ไปต่อต้านอวัยวะใหม่ และต้องทำให้อวัยวะหมูเรียนรู้จักภูมิต้านทานของคนด้วย
@RATMANEE-hg8cf
@RATMANEE-hg8cf 9 ай бұрын
ชอบคลิปนี้ค่ะคุณหมอ เพราะสนใจเรื่องนี้อยากรู้ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ หลังมีข่าวที่คุณหมอเล่าไปแล้วว่าปลูกถ่ายหัวใจแล้วเสียชีวิต
@sorosswin
@sorosswin 9 ай бұрын
Like this channel very much. Loads of information and knowledge without any hidden agenda. Thanks Dr. Tany, Ignore the negative noises, Your knowledge, ability and social values is far..........r beyond them. Had been following your channel for more than 3 years, It is very useful especially on hospice care.
@pk23346
@pk23346 9 ай бұрын
เล่าสนุกมากเลยครับ อจ. เอาเรื่องเฉพาะทางแบบนี้มาเล่า ฟังแล้วตื่นเต้นเลย แต่ถ้าลงไปในเนื้อหาคงยากจัดๆ 🤯
@Euang-Mali
@Euang-Mali 9 ай бұрын
😊🌸🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏
@vichacharoensiri8984
@vichacharoensiri8984 9 ай бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอครับ คลิปอาจารย์หมอทุกคลิปทำให้ได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากเลยครับ
@krisanachaipadung2700
@krisanachaipadung2700 9 ай бұрын
ขอบคุณอาจารย์ ฟังแล้ว 2 รอบ รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ความรู้วันนี้ยากค่ะ เป็นสุดยอดนวัตกรรมที่มนุษย์ทำได้ ปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คน อยากทราบอาการของผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไปแล้ว ได้ผลดีไหม ไตหมูสามารถทำงานได้ดีไหมเมื่อเข้าสู่ร่างกายของคน
@supaveethana4984
@supaveethana4984 9 ай бұрын
ขอบคุณครับคุณหมอฯ น่าจะเป็นวิทยาการที่เป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในอนาคต
@Jin_789
@Jin_789 9 ай бұрын
สวัสดี​คุณ​หมอ​ค่ะ​🌸​ว้าว​สุดยอด​เลย​ค่ะ​เป็น​อีก​ทาง​หนึ่ง​ที่​ช่วยเหลือ​มนุษย์​นะคะ​🌤️🌻🌿🌷
@warongratratanawarang3057
@warongratratanawarang3057 9 ай бұрын
ขอบคุณ สำหรับความรู้ดีๆค่ะ❤❤🎉🎉😊😊
@user87890
@user87890 9 ай бұрын
ขอให้สำเร็จด้วยนะครับ
@kodchapun2548
@kodchapun2548 9 ай бұрын
สาธุๆๆๆสงสารผู้ป่วยทุกคน.
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 9 ай бұрын
🐷 🐷 🐖🐖🐽🐽 ขอบคุณ สำหรับ ความรู้ ค่ะ มาทักทายหลัง เลิกงานค่ะ อ. แทน กำลังฟัง รัวๆ ค่ะ Amazing มากๆ ทั้งหมอ ทั้งผู้ป่วย ที่ ทำการปลูกถ่ายอวัยวะจากหมู สู่คน มีคำถาม เกิดขึ้นมากมาย คนละ สปีชี่ส์ ความเข้ากันได้ ของอวัยวะ ผลข้างเคียง ที่เกิดขึ้น ค่ะ Xenotransplant
@chaiyen3751
@chaiyen3751 9 ай бұрын
ขอให้ท่านอาจารย์มีความสุขเยอะๆ ครับ
@ey214
@ey214 9 ай бұрын
บริจากศพไปแล้วค่ะคุณหมอ ที่medical science ( London anatomy)
@sajee_pg
@sajee_pg 9 ай бұрын
เคยได้ยินว่ามีการคิดใช้หัวใจหมูเปลี่ยนถ่ายให้มนุษย์ ไม่รู้ว่าปัจจุบันไปถึงไหนแล้ว คุณหมอเล่าให้ฟังเพิ่มพอดีเลย 😅
@AL86898
@AL86898 9 ай бұрын
ยินดีกับยอดผู้ติดตาม 5.8.4 แสนFc คนค่ะ 💖💖💖💖💖.💚💚💚💚💚💚💚💚.🧡🧡🧡🧡🚀🚀🚀🚀🚀👍👍👍👍👍
@saree-ศ1ฃ
@saree-ศ1ฃ 9 ай бұрын
สุดยอดมากเลยครับ
@piemlabinphirom55
@piemlabinphirom55 9 ай бұрын
สวัสดี​ค่ะ​อาจารย์​หมอ​
@ลูกพ่อธาตุรักอีสาน
@ลูกพ่อธาตุรักอีสาน 9 ай бұрын
สักวันเราเองก็อาจจะรอดตายจากอวัยวะที่หมูเป็นผู้ให้ ขอบคุณความรู้ดีๆครับคุณหมอ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
พี่เห็นเม้นท์น้องแล้วค่ะ😂 เซี่ยงจี๊ใส่ในเกาเหลานี่สุดยอดเลยนะคะ
@ลูกพ่อธาตุรักอีสาน
@ลูกพ่อธาตุรักอีสาน 9 ай бұрын
@@FragranzaTrippa มันกำลังจะมีประโยชน์สุดๆครับพี่ทริป เลยลบเม้นท์ไปดีกว่า เดี๋ยวกินไม่ลง555
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
@@ลูกพ่อธาตุรักอีสาน 😂พี่ขอทานต่อไปดีกว่าค่ะ มันอร่อยมาก ยังไงก็ทานลงค่ะ
@Natty200733
@Natty200733 9 ай бұрын
ขอบคุณความรู้ใหม่ๆค่ะ 😊😊😊สนุกดีค่ะ มาคิดตาม ก็สงสัยว่า การทดลองเขาควบคุมปัจจัยอะไรบ้าง มนุษย์เป็นสัตว์กินทุกอย่างที่ขวางหน้า อาหารของหมูมันถูกควบคุมไม่กี่อย่าง ความเข้มข้นกรดยูริคของหมูของคนมันไม่น่าเท่ากัน แรงดันเลือดเข้าไต ของหมูของคนมันเท่ากันหรือป่าว คนเดินแนวตั้งหมูเดินแนวนอน การสูบฉีดเลือดเข้าหัวใจไปไต ไตหมูมันจนทนแรงดันเลือดคนมั๊ย อันนี้ว่าไปเรื่อย คุณหมออย่าถือสาเลยนะคะ😆😆😆
@นงลักษณ์นิลคต
@นงลักษณ์นิลคต 9 ай бұрын
ระดับหมอคงจะละเอียดเป็นหลายร้อยเท่า
@Natty200733
@Natty200733 9 ай бұрын
@@นงลักษณ์นิลคต อาชีพอื่นเค้าก็ละเอียดนะ
@Phuketcard
@Phuketcard 9 ай бұрын
ขอบคุณมากครับ ขอให้อาเฮียคนนั้นอายุยืนๆนะครับ อันนี้คือพลิกโลกจริงๆคนเป็นโรคไตคงตื่นเต้นทั่วโลก
@nathidadaengpayon860
@nathidadaengpayon860 9 ай бұрын
ชอบสนุกดีค่ะ แต่เสียงค่อนข้างเบาค่ะ
@suriyawong75
@suriyawong75 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ 😊😍😍
@hideyo5514
@hideyo5514 9 ай бұрын
เยี่ยม😊
@AL86898
@AL86898 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอแทน 🙏😍วันนี้ฉากหลัง สวยมากๆ ท้องฟ้าเมฆสีขาว ต้นไม้ไร้ใบ บ้านใหม่หรือคะ คุณหมอมาให้ความรู้ ซึ่งคงไม่มีใครมาบอกเล่า เนื่องจากคุณหมอ มีความเชี่ยวชาญในการปลูกถ่ายอวัยวะ คือปอด วันนี้มาให้ความรู้เรื่องใหม่ การปลูกถ่ายอวัยวะ คือ ไต โดยใช้อวัยวะ ของหมูคือไต หมูมาใส่ในคน ไม่น่าเชื่อ ว่าเป็นไปได้ ฟังที่คุณหมอเล่า คืออย่างไร เราๆคงเข้าใจยากนิดเพราะไม่ได้เรียนทางการแพทย์ มา ฟังไว้ ระดับความรู้ค่ะ มันยาก นะคะและในอนาคตจะพัฒนาไปอย่างไร จากสัตว์ ต้องทานยากดภูมิ ด้วย ขอบคุณที่คุณหมอมาเล่าค่ะ 👍❤️🙏
@CherryChonny
@CherryChonny 8 ай бұрын
คุณหมอคะเราเพิ่งทราบว่าคนที่เปลี่ยนลิ้นหัวใจเค้าเอาลิ้นหมูไปใช้แทนลิ้นหัวใจได้ด้วยค่ะ หมูมีอวัยวะหลายอย่างที่ช่วยคนได้มากเลยนะคะ อวัยวะของหมูที่มาใช้ในทางการแพทย์เค้า ใช้หมูที่มีการเลี้ยงแบบปลอดเชื้อและเป็นพันธุ์ที่สามารถนำมาใช้กับคนได้ใช่ไหมคะ จะมีคนแพ้ไหมคะ จริงๆก็ไม่เคยได้ยินคนบอกว่ากินหมูแล้วแพ้หมูเลยนะคะ ขอบคุณค่ะคุณหมอ ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกเรื่องค่ะ 🙏😊💡
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
ไม่น่าจะมีปัญหาครับ
@zent5653
@zent5653 9 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับข่าวสารความรู้ทางการแพทย์นะครับ ขอคุณหมออยู่ให้ความรู้คนไทยไปตลอดนะครับ ขอบคุณท่านมากครับ 😊
@kiatudom
@kiatudom 9 ай бұрын
ติดตามฟังครับ
@piew.sujitra
@piew.sujitra 9 ай бұрын
วันเกิดที่ผ่านมาได้บริจาคอวัยวะด้วยค่ะ มาช่วยรณรงค์ให้คนเรามาช่วยกันบริจาคอวัยวะกันเยอะๆค่ะ เพื่อต่อชีวิตให้ผู้อื่นได้มีชีวิตต่อไปค่ะ มีข้อสงสัยค่ะ ในเคสนี้ที่ปลูกถ่ายไตจากหมู เขาจะมีการติดตามผลหลังการรักษายังไงบ้างคะ ว่า เคสนี้มีื success rate โดยวัดจากอะไรบ้างคะ แล้วหลังปลูกถ่ายเสร็จ มีข้อควรระวัง หรือปฏิบัติตนอย่างไรบ้างคะ
@yamato00001
@yamato00001 9 ай бұрын
อาจารย์ครับ อยากให้ พูดถึงเชื้อ โรคแอนแทรกซ์ ครับ วัวสู่คน มันอันตราย จริงไหมครับ เห็นภาพที่แชร์กัน น่ากลัวมากครับ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
อันตรายจริงครับ ถึงตายได้แม้จะรักษาครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
วันนี้คลิปออกแล้วนะคะ
@wanpenleohirun8153
@wanpenleohirun8153 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ🙏
@Hoshi1451
@Hoshi1451 9 ай бұрын
อจ.หมอคะนอกจากหมูแล้ว มีสัตว์ชนิดอื่นที่สนใจจะศึกษาต่อไปอีกไหมคะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
หมูนี่เหมาะกับคนมากสุดครับ แต่การทดลองก็มีการทำในหนู หมู แล้วก็ลิงครับ
@NicsNattapol
@NicsNattapol 9 ай бұрын
ขอบคุณครับ อ.
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ❤
@kriengklaijangsawang5653
@kriengklaijangsawang5653 9 ай бұрын
เป็นความหวังสำหรับผมผู้เป็น ADPKD​ 😊😊😊
@charliewongs
@charliewongs 9 ай бұрын
ขอบคุณครับ
@prapatsornradomsukIOK
@prapatsornradomsukIOK 9 ай бұрын
หายสงสัยแล้วว่าทำไมต้องใช้อวัยวะ​ของหมูขอบคุณมากๆสำหรับความรู้เรื่องปลูกถ่ายอวัยวะ​นะคะคุณหมอแทน🙏🥰👍
@phasudakoenig7468
@phasudakoenig7468 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอที่แชร์ความรู้ หวังว่าวงการแพทย์ที่ไทยจะมีหมอที่เก่งๆและสามารถใช้เทคนิคนี้ช่วยคนไทยที่นี่ด้วยค่ะ อาจเป็นได้ในอนาคตที่แสนยาวนานแต่ก็ขอให้มีวันนั้นเถอะค่ะ เพราะแน่ใจว่าคนไทยหลายๆคนไม่สามารถบินไปรับการปลูกถ่ายอวัยวะที่อเมริกาแน่นอน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีจริงๆค่ะ❤❤❤
@Sonh072
@Sonh072 9 ай бұрын
Thank you 🙏🏻 so much ⭐️👨🏼‍⚕️⭐️
@Hoshi1451
@Hoshi1451 9 ай бұрын
🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒 ☺️ ขอบคุณอจ.หมอแทนมากค่ะ ผู้ติดตาม 5.84 แสนคน ขอให้มีผู้ติดตามฟังแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆๆ นะคะ🧑‍🤝‍🧑👫ประชาชนได้รับ ความรู้เป็นประโยชน์มากมายจากอจ.หมอค่ะ🙏ให้100 ล้านวิวไวๆๆนะคะ❤😊🌹🌹🎉🎉🎉🎉🎉
@AL86898
@AL86898 9 ай бұрын
ทำไมต้องใข้อวัย วะหมู เพราะอวัยวะหมู มีขนาดไตคล้ายกับคน เราสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของหมูง่าย มีการเลี้ยงดู และเป็นอาหารอยู่มีการปลูกถ่ายไตสำเร็จ หมูให้กับคน สำเร็จที่ นี่ คุณริชชาร์ด ไตเสื่อม ใช้ไตคนก่อนแล้ว ไตวาย เลยมาใช้ไตหมู มาสำเร็จจากสัตว์สู่มนุษย์ คือของคนไม่พอ ที่ได้รับบริจาด และ ใช้ ยากดภูมืมาก ถ้าใช้อวัยวะคน จึงจำเป็น ต้อง เอาของสัตว์มา คือหมู ที่ตัดเปลี่ยนพันธุกรรมถึง69สายพันธ์ จากสัตว์เาเปลี่ยนแปลง พันธุกรรมของหมูสำเร็จ ที่ บอสตัน รัฐแมสเซทชูเซสนี่เอง สำเร็จเมื่อ16มีนาคม นี้เอง จากหมูสู่คน
@jitpakornboonna9565
@jitpakornboonna9565 9 ай бұрын
แวะมาถามว่า โรซี่หลับเหรอคะ ไม่มาช่วยคูมพ่อหมอทำคลิป เย็นๆ เข้ามาฟังย้อนหลังค่ะ
@Phanita999
@Phanita999 9 ай бұрын
เสื้อน่ารัก ค่ะ ยังไม่ได้ฟังค่ะ แวะมาสวัสดีก่อนค่ะ 🥰
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
🙏ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์นอกประเด็นนิดนึงนะคะ... ทั้ง Mass General Hospital และ Brigham and Women's Hospital ก็เป็นโรงพยาบาลในเครือของ Harvard Medical School ทั้งคู่ โรงพยาบาลไหนใหญ่กว่ากันคะ และโรงพยาบาลไหนเงินเดือนสูงกว่ากันคะอาจารย์...
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
พอๆกันครับ ส่วนรายได้ของ MGH สูงกว่าครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากค่ะอาจารย์...
@monsterfragile1947
@monsterfragile1947 9 ай бұрын
ต่อไปถ้าAiฉลาดขึ้น ต่อไปมันจะมาช่วยคิดมั้ยครับคุณหมอ ต่อไปเราน่าจะสามารถคิดสร้างอวัยวะเทียมได้เร็วขึ้น หรือช่วยแก้ไขอาการป่วยต่างของมนุษย์ได้มากขึ้น มะเร็ง เอดส์ อาจจะพิชิตได้สักที
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
มันทำไม่ได้แบบนั้นครับ
@saranyaobri6206
@saranyaobri6206 9 ай бұрын
ดิฉันกำลังคิดจะเลี้ยงหมูป่าพันธ์ผสมเพื่อเป็นอาหารแล้วมันก็แผ่พันธ์เร็วมากค่ะ ดูจากเพื่อนบ้าน
@ruji.s
@ruji.s 9 ай бұрын
น่าสนใจมากค่ะ 💗💗💗
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn 9 ай бұрын
อย่างไรก็ตาม ด้วยความยินดีตื่นเต้นในพลังความคิดของมนุษย์ และวินาทีประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในวงการแพทย์ แต่เราในฐานะของคนที่สนใจ แต่ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่ายอวัยวะ มีข้อสงสัยบางประการ ใคร่ขอกราบเรียนถามคุณหมอแทนดังนี้: 1. ถ้าการใช้ไตหมูนี้ประสบความสำเร็จสามารถทดแทนไตมนุษย์ได้ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรอไต ระหว่างไตมนุษย์จากผู้บริจาค กับไตหมูแบบ genetic modification นี้ มันจะนานพอๆกันไหมคะ? เพราะเราคิดว่าการ edit ตั้ง 69 genome แล้วเลี้ยงจนหมูอายุเหมาะสม ทวนสอบรหัสพันธุกรรมจนแน่ใจ ก็ยากและน่าจะใช้เวลานานไม่น้อย 2. สามารถเอาเฉพาะไตหมูแบบนี้มาแช่แข็ง แล้วเอามาใช้ปลูกถ่ายภายหลังได้ไหมคะ 3. ไตหมูพิเศษนี้ มีการเจริญเติบโตพร้อมกับร่างกายมนุษย์ได้หรือไม่คะ กรณีที่อาจมีการปลูกถ่ายในเด็ก 4.การ edit genome เขาทำในหมูช่วงการเจริญไหนหรือคะ? เช่น ตอนเป็นตัวอ่อน หรือเริ่มปฏิสนธิ หรือต้องให้หมูปฏิสนธิแบบ in vitro fertilization (IVF) เท่านั้น
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
1) ถ้าสมมติหมูที่เราตัดต่อพันธุกรรมแบบนี้ทำให้การปลูกถ่ายไตสำเร็จจริงๆ มันจะง่ายละครับ เพราะเราแค่เพาะพันธุ์เฉพาะหมูแบบนี้ ไม่ต้องตัดต่อใหม่ซ้ำๆครับ 2) ไม่ได้ครับ เซลล์มันจะเสีย 3) อันที่จริงมันก็ได้ครับ แต่ต้องเป็นหมูที่ยังโตไม่เต็มที่ครับ 4) ตั้งแต่ปฏิสนธิครับ
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn 9 ай бұрын
@@DrTany กราบขอบพระคุณคุณหมอแทนค่ะ คำตอบกระชับเรียบง่ายแต่เข้าใจกระจ่างชัดค่ะ
@soontareesoontaree6725
@soontareesoontaree6725 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอ ใช้โทนเสียง โมโนโทน 🎼🎵🎶😊😊😊
@hungrytime3343
@hungrytime3343 9 ай бұрын
บริจาคอวัยวะไปราว 10 ปีแล้วครับ
@U_domluck
@U_domluck 9 ай бұрын
😊ขอบคุณอาจารย์หมอที่นำความรู้และเทศโนโลยี มาเผยแพร่ให้คนไทยรับรู้ค่ะ
@naswick7600
@naswick7600 9 ай бұрын
ผมตกบันไดมา2ครั้งแล้วครับ ที่แรกตกเจ็บกระดูกหลัง วันกี่วันก็หาย ตกครั้งที่2เจ็บที่ซี่โครงครับ
@CherryChonny
@CherryChonny 9 ай бұрын
ควรหาสาเหตุว่าทำไมถึงตกบันได ค่ะ กี่วันหายก็น่าจะ 1-2 weeks ค่ะ
@neros3728
@neros3728 9 ай бұрын
ลำไส้ใหญ่ได้หรือยังครับ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ยังครับ
@งามพิศฤทธิทิศ
@งามพิศฤทธิทิศ 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ
@teeteeremed4097
@teeteeremed4097 9 ай бұрын
จะใช้ในไทยน่าจะติดกฎหมาย GMO อีกมั้งครับ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ไม่หรอกครับ กฏหมายพวกนี้แก้ไม่ยาก ที่ยากคือต้องให้มันได้ผลซะก่อนต่างหากครับ
@postbom9735
@postbom9735 9 ай бұрын
อายุขัยหมู มีผลกับอวัยะด้วยไหม ครับ อาจทำให้ปลูกถ่ายได้ไม่นาน
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ไม่มีครับ
@than_19-o8d
@than_19-o8d 9 ай бұрын
ถ้าไม่มีคนกล้าคิด กล้าทำ คงไม่มีวิวัฒนาการมาจนถึงทุกวันนี้
@mrnut7593
@mrnut7593 9 ай бұрын
สวัสดีครับอาจารย์หมอ ผมขอสอบถามนอกเรื่องหน่อยครับ เกี่ยวกับคอลลาเจน ทานแล้วทำให้เกิดพังผืด จริงมั้ยครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
เรื่อง คอลลาเจนค่ะ kzbin.info/www/bejne/j4mnlX6MYtKSiaM
@mrnut7593
@mrnut7593 9 ай бұрын
ขอบคุณครับ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ในไลฟ์ผมก็เคยตอบไปแล้วครับ
@mrnut7593
@mrnut7593 9 ай бұрын
ขอบคุณครับหมอ
@areeratasudhasirikul952
@areeratasudhasirikul952 9 ай бұрын
Yes. I donated my organ for long times ago. Also thinking to donate my body and skeleton.
@pookpuir.9653
@pookpuir.9653 9 ай бұрын
ความรู้ใหม่ เปิดโลกมากเลยค่ะขอบคุณมากนะคะ🙏🏻🙏🏻
@manoponpansing9993
@manoponpansing9993 8 ай бұрын
อายุไขของหมูเท่าไหร่
@DrTany
@DrTany 8 ай бұрын
ต้องไปถามสัตวแพทย์ครับ
@อร่อยก็ไม่แปลก
@อร่อยก็ไม่แปลก 9 ай бұрын
🚨🚨✅✅ เป็นความรู้มากครับ อยากตั้งคำถามว่า มันจะเป็นการผิดศีลธรรม และเป็นการทรมานสัตว์มั้ย☺
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
อาจจะครับ แต่ก็น้อยกว่าสัตว์อื่นมาก เพราะหมูเราทำฟาร์มเลี้ยงเพื่อกินอยู่แล้วด้วยครับ
@MaxMax-vz5ow
@MaxMax-vz5ow 9 ай бұрын
ดื่มน้ำ3ลิตรฉี่ออกน้อยไม่ถึง100ccครับ​และไม่ค่อยรู้สึกปวดฉี่ครับแต่มีเหงื่อออกมากแทน เมื่อก่อนฉี่ออกปกติครับ​ เป็นเพราะอะไรครับ​
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
ถ้าไม่มีโรคอะไรอยู่ก่อน แปลว่าร่างกายขาดน้ำมากต้องกินชดเชยอีก แต่ถ้าเป็นโรคไตอยู่ คุณต้องไปตรวจเดี๋ยวนี้เลยครับ
@tippazaza9933
@tippazaza9933 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะ
@nung-noppapat
@nung-noppapat 9 ай бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🥰เดวมาฟังย้อนหลังค่ะ ทำงานค่ะ😅
@naswick7600
@naswick7600 9 ай бұрын
หมอครับ ปรึกษาหน่อยครับผมตกบันได แล้วรู้ซึ่งเจ็บแต่เจ็บไม่มาก เจ็บตอนที่ไอ หัวเราะ จามแล้วก็ลุงขึ้นนอน ที่ซี่โครงด้านขว้า บริเวณด้าน ไม่รู้ว่าซี่โครงชำหรืออักเสบหรือเปล่า ผมรอหายเองหนึ่งสัปดาห์แล้วแต่ยังไม่ควรทำไงดีครับ ยาแก้อักเสบจะหายไม่ครับ (ขอบคุณมากครับหมอ😊😊😊
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
น่าจะไปเอกซเรย์นะครับ อาจจะซี่โครงหัก พวกนั้นต้องกินยาแก้ปวดนานหน่อยครับ
@naswick7600
@naswick7600 9 ай бұрын
ถ้าหักนานไมครับกว่าจะหาย
@ภาวิณีพลายละมูล-ฑ1ภ
@ภาวิณีพลายละมูล-ฑ1ภ 9 ай бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ🙏ขอบพระคุณมากค่ะ🩷
@TaKa-cy1uf
@TaKa-cy1uf 9 ай бұрын
ผมเพิ่งเริ่มติวสอบ มีเทคนิคอะไรให้เข้าใจเร็ว ๆ จำได้นาน ๆ ไหมครับ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
มีครับ ผมเคยทำคลิปไปแล้วต้องลองไปดูครับ
@kanokpornmartinez6155
@kanokpornmartinez6155 9 ай бұрын
❤❤WOW!!!
@watcharaporn2580
@watcharaporn2580 9 ай бұрын
เมืองนอกอยู่ได้แค่แปบเดียวก็ตายนี่เนาะ ที่ดูข่าวมมาค่ะ
@DrTany
@DrTany 9 ай бұрын
อันนั้นคนละข่าวแล้วครับ
@sittichoksangiamsintu3761
@sittichoksangiamsintu3761 9 ай бұрын
ไตคนยังrejectเลย ไตหมูจะเหลือรึ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 9 ай бұрын
ฟังคลิปให้จบก่อนค่ะ เขามีการตัดต่อพันธุกรรมค่ะ
@Safe012
@Safe012 9 ай бұрын
โชคดีที่มีคุณหมอมาเกิดเป็นเพื่อนร่วมชาติครับ ได้มีช่องอัพเดทสาระดีๆเพิ่มขึ้นมา
-5+3은 뭔가요? 📚 #shorts
0:19
5 분 Tricks
Рет қаралды 13 МЛН
She wanted to set me up #shorts by Tsuriki Show
0:56
Tsuriki Show
Рет қаралды 8 МЛН
Caleb Pressley Shows TSA How It’s Done
0:28
Barstool Sports
Рет қаралды 60 МЛН
Beat Cancer with Diet: The FMD Approach
28:27
Doctor Tany
Рет қаралды 595 М.