ล้มสะโพกหัก อันตรายกว่าที่คิด และนำไปสู่การเสียชีวิตได้

  Рет қаралды 21,052

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

Пікірлер: 232
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
ล้มสะโพกหัก อันตรายกว่าที่คิด และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเรื่อง - กล้ามเนื้อขา - การทรงตัว - การทานยาบางตัวที่ทำให้มีปัญหา - การลื่นล้ม - การจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ดี - อาจมีปัญหากระดูกบาง กระดูกพรุนอยู่ก่อน พอล้มแล้วจึงทำให้ข้อสะโพกหัก วิธีการรักษาทางด้านศัลยแพทย์คือการ ผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพก ดามสะโพก ใส่เหล็ก #ตอนที่1
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
วิธีการรักษาทางด้านอายุรแพทย์ ปัญหาที่พบคือ คนไข้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก อาจทำให้เกิดปัญหา - ลิ่มเลือดในร่างกายตรงขาข้างที่หักแล้วลอยไปอุดตันที่ปอด ทำให้การหายใจผิดปกติ หัวใจวายและเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งเกิดได้จาก เลือดหนืดด้วยการอักเสบหรือความผิดปกติของพันธุกรรม, การอักเสบของผนังหลอดเลือด, ไม่มีการเคลื่อนไหวของเลือดบริเวณนั้นนานๆ - การให้ยาแก้ปวดในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการเพ้อ สับสน ไม่รู้ว่าอยู่โรงพยาบาล เห็นผี จำใครไม่ได้ โวยวาย อาละวาด เกิดจากการนอนผิดที่ อาการปวด หรือได้รับยาแก้ปวด เช่น มอร์ฟีน - มีโอกาสการติดเชื้อสูงขึ้น อาจมาจากการสำลัก(อาจรู้ตัวหรือไม่ก็ได้) ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อ, ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ลามขึ้นไตและเข้าในกระแสเลือด, ติดเชื้อจากทางผิวหนัง หรือบริเวณที่มีการบอบช้ำจากบริเวณที่กระดูกหัก ซึ่งวินิจฉัยได้ยาก เพราะบางทีอาการไม่ตรงไปตรงมา เช่น ไม่มีไข้ แต่มีอาการสับสน ผุดลุกผุดนั่ง จะต้องวินิจฉัยโดยใช้การเจาะเลือดนำไปเพาะเชื้อ #ตอนที่2
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
ถ้าเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis หรือ Septicemia) จะมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ถึงแม้จะให้ยาตรงกับเชื้อและได้ให้ยาถูกเวลาแล้วก็ตาม บางครั้งติดเชื้อตอนเช้า ตอนเย็นอาจเสียชีวิตเลย เพราะคนกลุ่มนี้มีภาวะอ่อนแออยู่แล้ว ต่อให้ทำการรักษาเสร็จสิ้น ได้กลับบ้าน แต่พอกลับบ้านแล้วไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว ก็อาจทำให้มีอาการดังที่กล่าวมาได้ คือ อาจเกิดลิ่มเลือด ติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ จากการขับถ่ายแล้วไม่รู้ตัว ทำให้เชื้อย้อนขึ้นไปที่กระเพาะปัสสาวะได้ ติดเชื้อที่ปอด หรือเกิดอาการท้องผูกอาจทำให้เกิดภาวะสับสน เชื้อในอุจจาระซึมผ่านลำไส้เข้าไปในกระแสเลือด อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ หรืออาจจะมีหลายๆภาวะรวมกัน บางคนไขกระดูกบริเวณที่หัก หลุดเข้าไปในกระแสเลือดแล้วไปอุดที่ปอด วิธีรักษาคือต้องผ่าตัดเอาออกให้เร็วที่สุด และอย่าให้มีการรั่วของไขกระดูกมากไปกว่านั้น ซึ่งการวินิจฉัยจะยากมาก ต้องรักษาแบบประคับประคอง และในช่วงเวลานี้โรคที่มีอยู่เดิมของคนไข้มักจะกำเริบขึ้นมาพร้อมๆกัน จึงเป็นเหตุให้คนไข้มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น #ตอนที่3
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 жыл бұрын
สิ่งที่ดีที่สุดคือการป้องกัน โดย 1. ออกกำลังกายขา หลัง (ไม่ใช่การเดินเพียงอย่างเดียว) จึงจะทำให้ท่านป้องกันภาวะนี้ได้ 2. ผู้สูงอายุมักมีปัญหาการควบคุมการทรงตัว ขาไม่สมดุล สายตาไม่ดี มองความแตกต่างของระดับพื้นไม่ได้ วิธีการป้องกันคือ ควรต้องมีคนคอยดูแลใกล้ชิด คอยบอกถึงความต่างระดับของพื้นที่ โดยเฉพาะเมื่อต้องไปในสถานที่ๆไม่คุ้นเคย ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้ดี ไม่ให้วางของเกะกะ อาจทำให้ผู้สูงอายุสะดุดล้มได้ นอกจากนี้ควรมีราวในห้องน้ำ ปูพื้นกันลื่นล้มและควรมีเก้าอี้ที่มั่นคงสำหรับนั่งขณะอาบน้ำในห้องอาบน้ำ 3. การทานยาหลายๆชนิด อาจทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับ มึนงง ความดันตกในบางช่วง ดังนั้น ต้องค่อยๆเปลี่ยนอิริยาบถ ยิ่งพักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำไม่พอ ขาไม่ค่อยแข็งแรง ยิ่งเกิดความดันตกได้ง่าย 4. บางคนมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ หากรีบรักษาก็ลดภาวะดังกล่าวได้ #ตอนที่4
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
@@pattarapornsovarattanaphon8892 ขอบคุณมากมายนะคะ คุณตัอม
@nung-noppapat
@nung-noppapat 2 жыл бұрын
@@pattarapornsovarattanaphon8892 ขอบคุณค่ะ🙏🥰
@nattaphonudom5769
@nattaphonudom5769 2 жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอ ที่มีจิตใจที่งดงาม เป็นผู้ให้ พูดได้น่าฟัง ที่ให้ความรู้ ในทุกเรื่อง ติดตามฟังคุณหมอตลอด บรรยายความรู้ได้ชัดเจนถูกต้อง ฟังแล้วเข้าใจง่าย ฟังได้ทุกชนชั้นและมีเอกสารอ้างอิง อยากให้มีหมอที่มีคุณภาพอย่างนี้ มากๆในสังคม ขอให้คุณหมอ จงโชคดีในทุกๆเรื่อง ปลอดภัยจากอันตราย มีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน และมีความสุขทั้งกายใจ
@ThailandEarth
@ThailandEarth 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ คุณหมอ ที่ผมสงสัยและคาใจในการรักษาของหมอ ในกรณีของแม่ของผมเสียเนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือด ผมทุกข์ใจมาตลอดหลายปี วันนี้เข้าใจแล้วและทำใจได้แล้วว่ามันถึงเวลาของท่านแล้ว มันสุดวิสัยเกินกว่าเยียวยา ขอบคุณอีกครั้งครับ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ
@sasikan9388
@sasikan9388 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ การดูแลผู้สูงอายุเหนื่อยมากค่ะ ต้องระวังทุกอย่าง อาหาร การเดิน การนอน สภาพจิตใจ ตอนนี้ต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรงจะได้เป็นภาระลูกหลานน้อยที่สุดค่ะ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอและกราบขอบคุณสำหรับคลิปในวันนี้ ฟังดูน่ากลัว และเครียด แต่ก็ต้องฟังเพื่อระมัดระวังและหาวิธีป้องกันค่ะ ที่อาจารย์สอนไว้ในเมมเบอร์ก็ยังคงทำอยู่ค่ะ อายุก็มากขึ้น ร่างกายก็ไม่ค่อยสมบูรณ์ เวลาไปทำงานต้องนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างและสองแถวค่ะ มีอยู่วันหนึ่งขณะกำลังนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างจะเข้าบ้าน ข้าวของเต็มไม้เต็มมือ แถมสะพายกระเป๋า คนขับจู่ๆก็จอดรถแล้วลงไปเก็บเหรียญที่ตกอยู่เกลื่อนกลาดไม่ทราบของใครทำหล่นเยอะมาก โดยทิ้งเราไว้อยู่บนรถ เจ้ารถคันนั้นก็โยกไปเยกมา บอกเขาว่ารถจะล้ม ก็ไม่ได้ยิน ในที่สุดก็ล้มโครม แขนมีกระเป๋าสพายรองรับอยู่ แต่สะโพกบาดเจ็บไปอยู่หลายวันค่ะ ยังไงเราก็ต้องออกไปทำมาหาเลี้ยงชีพ สองแถวก็ใช่ย่อย เวลาเจอกันก็ต้องแข่งกัน คนนั่งก็อาจจะต้องนึกถึงพ่อแก้วแม่แก้วหรือสวดมนต์ แล้วแต่จะนึกบทไหนได้555 เล่ามาเสียยาว ขอให้อาจารย์ มีความสุขทุกๆวัน สุขภาพแข็งแรง เป็นที่รักของทุกๆคน🙏🙏💐💐
@KarnTovara
@KarnTovara 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ สำหรับเนื้อหาวันนี้ค่ะ 🙂 ดังที่คุณหมอเล่าค่ะ การดูแลผู้สูงอายุต้องระวังอย่าให้ล้มเลยค่ะ ทั้งปัญหากระดูกหัก และอาจเกิดศีรษะกระแทกด้วยค่ะ - ไม่ชวนคุยขณะรับประทานอาหารด้วยค่ะ อาจเกิดการสำลักได้ค่ะ 😃
@siriratnn1639
@siriratnn1639 11 ай бұрын
ช่องคุณหมอ เปรียบเสมือนคลังความรู้จริงๆค่ะ มีแทบจะครบทุกโรคแล้ว ได้ความรู้จากช่องคุณหมอ พื้นฐานก็โควิด มาริดสีดวง ความดันสูง แฟนเลือดออกในสมอง ล่าสุด อากงสะโพกหัก โอ้ววเลื่อนๆมา คุณหมอทำคลิปไว้นานมากแล้ว กราบขอบพระคุณหมออีกรอบค่ะ จะได้เฝ้าระวังและปฏิบัติตัวถูก
@kanokpornthimano6213
@kanokpornthimano6213 Жыл бұрын
ปีกว่าที่คุณแม่จากไป พึ่งเข้าใจ นึกว่าเราดูแลแม่ไม่ดีพอ ทุกข้อความ ที่พูด ตรง จริง ทุกอย่าง..ขอบคุณมากๆค่ะ
@2001jimjim
@2001jimjim 2 жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ ได้ความรู้และ ความเข้าใจ อาการและภาวะต่างๆ ค่ะ แม่ล้มสะโพกหัก ต้องผ่าตัด และนอน รพ นานๆ จากตอนแรกยังนอนๆนั่งๆชวน พยาบาลและคุณหมอ คุยสนุกสนานการผ่าตัดผ่านไปด้วยดี จนเกือบได้กลับบ้าน แต่สุดท้าย ติดเชื้อ และลงปอดวาย ค่ะ
@จิปาถะ-ต1ษ
@จิปาถะ-ต1ษ 2 жыл бұрын
เกิดจาดอะไรค่ะ ทำไมผ่าตัดแล้วเหมือนจะผ่านไปด้วยดี
@nininana3015
@nininana3015 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอสำหรับคำแนะนำค่ะ มีประโยชน์มาก เพราะ คุณแม่ป่วยเป็น Alzheimer ค่ะ ดูแลยาก แต่เราดูแลด้วยรัก ทำให้หายเหนื่อยได้ค่ะ ;)
@pamsudtida5824
@pamsudtida5824 2 жыл бұрын
ได้รับความรู้เพิ่มค่ะ แค่ล้มมันไม่ได้จบที่ข้อสะโพกหักเท่านั้น ยังมีอะไรหลายๆ อย่างตามมาอีกเยอะเลย
@keeky2394
@keeky2394 2 жыл бұрын
อันตรายมากจริงๆค่ะคุณหมอแทน คุณแม่พี่ก็ล้มต้องผ่าตัดข้อสะโพกมาแล้วค่ะ อายุมากทรงตัวไม่ดีล้มลงไปเอง ช่วงเวลานั้นอันตรายแล้วสงสารเขามาก คุณแม่เคยทำสวนหัวใจกินยาละลายลิ่มเลือด อายุมากแล้วกลัวเจ็บกลัวการผ่าตัด แต่เขาก็ปวดนอนขยับไม่ได้ต้องถ่วงขาเอาไว้ กว่าจะกล่อมให้คุณแม่สู้ยอมผ่า แล้วต้องรอหยุดยาละลายลิ่มเลือดเพื่อเตรียมผ่าตัด ต้องอยู่ รพ.เป็นเดือนค่ะ สำหรับผู้สูงอายุมันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ถึงชีวิตอย่างที่คุณหมอว่าจริงๆค่ะ
@kitipop4107
@kitipop4107 Жыл бұрын
ตอนนี้เป็นยังไงบ้างคะ ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ พ่อก็กินยาละลายลิ่มเลือด และล้มเมื่อวาน วันนี้ไปรพ.จุฬาเพราะปวดหนักมาก หมอบอกสะโพกหักค่ะ 😢
@amarasanpanich5464
@amarasanpanich5464 2 жыл бұрын
ถ้าอายุมากอายุไม่ยืนแน่นอน ค่ะ เคสนี้เกิดกับญาติค่ะคนแก่เสียงทุกอย่าง ไม่อยากแก่จนช่วยตัวเองไม่ได้ ไปหาหมือเองไม่ได้
@doctorluckyhappyobgyn6638
@doctorluckyhappyobgyn6638 2 жыл бұрын
คุณแม่ล้มเมื่อปลายปีที่แล้วก็สะโพกหักค่ะ ดีว่าได้รับการรักษาอย่างดีจากอาจารย์หมอ ตอนนี้ดีขึ้นมากๆแล้วค่ะ ทุกคนก็ช่วยกันเฝ้าระวังมากขึ้นเพื่อไม่ให้ล้มอีกค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับคลิปความรู้ดีๆที่มีมาให้ดูทุกๆวันนะคะ ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง มีกำลังใจที่เข้มแข็งในทุกๆวัน มีความสุขกาย มีความสบายใจ สนุกกับการทำงาน พร้อมลุยในทุกสถานการณ์นะคะ (ขยัน ศรัทธา ร่าเริง)
@TONKLA14y
@TONKLA14y 2 жыл бұрын
ผู้สูงอายุที่บ้านเวลาท่านเดินไปไหน ถ้าเราอยู่ตรงนั้นด้วยจะเดินไปด้วยตลอดค่ะ กลัวล้มค่ะ บางทีท่านก็บ่นว่าบางครั้งสะดุดขาตัวเอง แต่จับของจับกำแพงใกล้ๆ ทัน รวมถึงเวลาทานข้าวหรือน้ำ บางครั้งก็สำลักค่ะ แต่เรื่องเดินไปไหนท่านดื้อชอบเดินไปเอง ไม่ยอมเรียกเราค่ะ
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ ไม่ใช่แค่สะโพกหัก ที่อันตรายคือโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาอีกมากมาย คนที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสสูงที่โรคจะกำเริบหนักขึ้นได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการออกกำลังขา และหล้งให้แข็งแรง การจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ระวังยาที่ทำให้ความดันต่ำ การตรวจการนอนหลับ ตามที่คุณหมอแนะนำค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว ปราศจากโรคภัยใดใด และมีความสุขนะคะ
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
@ Doctor Tany คุณหมอดูเศร้าจัง คงอินกับเรื่องราวที่เล่า ช่วยภาวนาด้วยนะคะ ยิ้ม...ยิ้มหน่อยค่า
@nittayakaewploy8687
@nittayakaewploy8687 2 жыл бұрын
คุณหมอน่ารักอะ,,🥰🥰🥰
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ😊 คุณหมอแทน หัวข้อวันนี้น่าสนใจและข้อมูลในคลิปก็เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ โดยเฉพาะกับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้านด้วย นอกจากการดูแลท่านในด้านต่างๆแล้ว การช่วยระมัดระวังและป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุเช่นการลื่นล้มจนสะโพกหักก็เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะมีปัญหาต่างๆตามมามากมาย ที่ร้ายแรงสุดคือนำไปสู่การเสียชีวิต ที่โน้ตไว้ตามความเข้าใจและนำไปใช้ได้คือ เราสามารถช่วยป้องกัน การเกิดการล้มสะโพกหักในผู้สูงอายุได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัย และให้ออกกำลังกายโดยเน้นส่วนที่สำคัญที่อาจมีผลต่อการทรงตัวซึ่งเป็นเหตุทำให้ล้มได้ง่าย -ผู้สูงอายุควรมีการออกกำลังกาย ขา หลัง ให้แข็งแรงที่สุด ซึ่งไม่ใช่แค่การเดินในชีวิตประจำวัน -ผู้สูงอายุมักมีปัญหาในด้านการควบคุมการทรงตัว สายตาและขาไม่สมดุลกันบางทีมองความแตกต่างของระดับพื้นไม่ได้ จึงควรปรับพื้นที่ในบ้านให้ราบให้มากที่สุดป้องกันการ พลาดล้มและไม่วางของเกะกะไว้ตามพื้น -ในห้องน้ำควรมีราวเหล็กไว้เกาะจับ แผ่นยางรองกันลื่น ที่นั่งอาบน้ำที่ยึดแน่นกับพื้นไม่ไหลลื่นได้จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ -เมื่อผู้สูงอายุไปในสถานที่ใหม่ๆไม่คุ้นเคยควรมีคนคอยช่วยพยุงเดินและบอกความต่างระดับของพื้นด้วย -ผู้สูงอายุที่ต้องทานยาเยอะๆอาจมีผลข้างเคียงเช่น มึนงงศีรษะ การนอนหลับ ความเครียด จิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป ความดันตกเป็นบางช่วง ห้ามลุกยืนเร็วๆอาจเกิดหน้ามืดและทำให้ล้มได้ -ดูแลเรื่องการนอนหลับพักผ่อนเพราะเป็นสิ่งสำคัญ ผู้สูงอายุอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ บางคนนอนกรน บางคนไม่นอนกรน ทำให้ตื่นมาไม่สดชื่นหรือปัสสวะบ่อยในเวลากลางคืน เราเองก็เคยคิดค่ะว่าทำไมบางคนแค่ล้มสะโพกหักถึงเสียชีวิตได้ ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะ คุณหมอแทนบอกว่าการหยุดหายใจในขณะนอนหลับทำให้ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืนและตื่นมาไม่สดชื่น ทำให้นึกถึงป้าที่รู้จักคนนึงเลยค่ะแกเคยบ่นให้ฟังบ่อยๆถึงปัญหานี้ เราได้แต่เก็บความสงสัยไว้และคิดเอาเองว่าคงเป็นภาวะปกติของผู้สูงอายุมั้ง เดี๋ยวจะลองถามอีกครั้งถ้ามันยังเป็นปัญหารบกวนชีวิตของป้าคงแนะนำให้ไปตรวจการนอนหลับค่ะ ขอบคุณมากค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะคุณหมอแทน 🌹❤🌹
@วิยดาคุนินทกุล-ซ3ฌ
@วิยดาคุนินทกุล-ซ3ฌ 5 ай бұрын
คุณหมอค่ะช่วงคุณหมอว่างคุณหมอลงคลิปท่องเที่ยวที่แปลกๆสวยๆที่คุณหมอไปพักอาศัย เป็นแนว health travel and picture ท่องเที่ยวไปมีรูปสวยๆและพูดเรื่องสุขภาพไปด้วย น่าจะสนุกดีนะค่ะ ดีจังชีวิตคุณหมอมีเวลาพักและมีเงินใช้ไม่ต้องกังวล ตอนนี้เศรษฐกิจเมืองไทยแย่มากๆๆขนาดทำงานหาเงินทุกวันยังยากเลยค่ะ คุณหมอเกิดมาถือว่าโชคดีหลายๆอย่างนะค่ะ เดินทางโดยสวัสดิภาพนะค่ะ เป็นกำลังใจให้เจอสิ่งดีๆๆ ที่คู่ควรกับคุณหมอและคุณหมอชื่นชอบรอคุณหมออยู่นะค่ะ😘😘😘
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 2 жыл бұрын
ล้มสะโพกหักอย่างเดียว แต่ทำให้มีผลกับหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย น่ากลัวมากนะคะโดยเฉพาะผู้สูงอายุ #คุณแม่สายตามองเห็นไม่ชัดเจน ประกอบกับเป็นโรคกระดูกพรุน แต่ยังเดินเองได้ ที่บ้านจะทำราวให้จับตั้งแต่ห้องน้ำจนถึงที่นอนเลยค่ะ #เพิ่งรู้ว่าการเกิดลิ่มเลือดอันตรายมากก็ตอนที่คุณหมอผ่าตัดเส้นเลือดขอดที่ขาให้ โดยคุณหมอบอกว่าไม่ใช่ผ่าตัดเพื่อความสวยงามนะ แต่เป็นการป้องเวลาที่ลิ่มเลือดหลุดจะวิ่งไปอุดตัน เช่น สมอง หัวใจ คุณหมอบอกว่าเมื่อก่อนวิวัฒนาการทางการแพทย์อาจจะยังไม่ดีเท่าปัจจุบัน จึงทำให้บางครั้งหาสาเหตุไม่ได้ว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากลิ่มเลือดอุดตันสมอง หัวใจ เกิดจากอะไร ซึ่งคุณหมอก็บอกว่าลิ่มเลือดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ #แต่คุณหมอก็บอกว่าผ่าตัดเส้นเลือดยากมาก ขาอีกข้างลองใช้วิธีออกกำลังกาย และก็ใส่ถุงน่องสุขภาพช่วยดูก่อนนะ🤩 #ทำตามคุณหมอแนะนำได้ผลจริงค่ะ การออกกำลังกายช่วยเยียวยาได้จริง ๆ นะคะ👍#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมอแทน สำหรับ ข้อมูลที่คุณหมออธิบายและคำแนะนำต่างๆ เป็นความรู้และเป็นประโยชน์มากค่ะ
@wk90759
@wk90759 2 жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากๆ ค่ะสำหรับเนื้อหาที่มีประโยชน์ ทุกคนต้องได้เจอความแก่สังขารที่ร่วงโรย สิ่งที่ทำได้คือพยายามเตรียมความพร้อมทำร่างกายให้แข็งแรง สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะเตรียมรับมือให้ดีที่สุดน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ
@icecool8390
@icecool8390 2 жыл бұрын
คุณหมอ แนะนำได้ดีมากเลย บอกถึงปัญหาต่างๆ ได้เข้าใจมากๆ
@Betterworld233
@Betterworld233 2 жыл бұрын
คุณยายเสียต่อเนืองจากโรคนี้มาเป็นseriesเลยค่ะหลังจากหกล้ม ประเด็นนี้สำคัญมากๆ หลังจากอ่านเมนต์เดือดมา2วันติด ตาก้เริ่มแดงระเรื่อ😅 รักษาสุขภาพ(ตา)ด้วยค่ะอาจารย์😇
@maneeann
@maneeann 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ อจ สำหรับหัวข้อในวันนี้ มีประโยชน์มากค่ะ แต่ก่อนอยู่วอร์ด Ortho เจอคนไข้กระดูกสะโพกหักมาเรื่อยๆ เลยค่ะ (เป็น Top 5) ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุหกล้มมา อย่างที่ อจ บอก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมี... 😩 บางคนนอนนิ่งๆ ไม่กล้าขยับตัว กลัวเจ็บ หรือเจ็บมากจนขยับไม่ไหว ก็อาจจะเกิดแผล pressure sore ได้อีก ก็ต้องมีวิธีการพลิกตะแคงตัว เพื่อป้องกันแผลกดทับ ในระหว่างพลิกก็จะมีนวัตกรรมหมอนคั่นระหว่างขา เฝ้าระวังทุกเวร! 😫 อีกข้อที่สำคัญคือ DVT (deep vein thrombosis) การเกิดภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จะให้คนไข้ทำ exercise calf pumping เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดของขา ข้อนี้ก็จะแถมนวัตกรรม Foot sling เข้าไปด้วยเลย ช่วยกระดกข้อเท้า ทุกๆ การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็น Deep breathing exercise, Quadriceps exercise, Calf exercise จะฝึกให้คนไข้ทำตั้งแต่ก่อนผ่าตัด เพราะถ้ามาฝึกหลังผ่าตัดคนไข้จะไม่ค่อยให้ความร่วมมือเนื่องจากเจ็บปวดแผลผ่าตัด อ่อนเพลีย หรืออื่นๆ Ortho สามารถสร้างนวัตกรรมได้หลายอย่าง หวนคิดถึง🦴 เก่งสุดเรื่อง👁 อยู่ ENT
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
แวะมาอ่านของพี่แอนใด้ความรู้ดีๆอีกด้วย
@sathitkraitong4312
@sathitkraitong4312 Жыл бұрын
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ พอดีคุณแม่มีปัญหานี้ กำลังจำทำผ่าตัด อายุ85ปี มีปัญหาAS ระดับรุนแรง มีความเสี่ยงมาก แต่ก็ตัดสินใจทำค่ะ ทีมcardio กับทีม Ortho ระดับมือ1 เลยค่อนข้างมั่นใจค่ะ ขอบคุณในคำแนะนำเรื่อง exerciseก่อนผ่าตัดค่ะ จะได้เครียมคุณแม่ได้ค่ะ/ขอบพระคุณมากค่ะ
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
@@sathitkraitong4312 ยินดีค่ะ ขอให้ผ่านไปได้ด้วยดีนะคะ
@笹野研二
@笹野研二 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ😊คุณยายที่บ้านก็ล้มสะโพกหักแล้วก็เสียชีวิตค่ะ ไม่เคยรู้สาเหตุเลย วันนี้ได้ฟังคลิปคุณหมอแล้วหายสงสัยเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะได้เก็บเกี่ยวความรู้ทุกวัน🙏🏻 ขอให้คุณหมอมีความสุขนะค่ะ💐
@aoiboonma3028
@aoiboonma3028 8 ай бұрын
ขอบพระคุณมากค่ะ คุณหมอที่ให้ความกระจ่างค่ะ
@bupphalovenature8265
@bupphalovenature8265 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากค่ะ ถ้าคุณหมอไม่เอามาบอก ก็คงไม่ทราบ ไม่คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่มากจริงๆ ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ...🙏🙏😊😊
@ptphone8011
@ptphone8011 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอดิฉันคิดไม่ถึงเลยว่าล้มสะโพกหักจะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมายล้วนแต่น่ากลัวถึงขั้นเสียชีวิตแม้แต่คุณหมอก็ช่วยอะไรไม่ได้ดิฉันวันนี้ได้เรียนรู้ว่าการที่จะเป็นคนแก่อย่างมีคุณภาพต้องปฎิบัติตัวอย่างไรไม่ให้เกิดโรคต่างๆตามที่อาจารย์หมอกล่าวมาซึ่งก็มีทั้งการออกกำลังกาย จัดบ้านให้ปลอดภัย มีสติจะเดิน ลุก นั่ง ขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงขอให้ผลบุญความรู้นี้ให้อาจารย์หมอมีแต่ความสุขตลอดไปนะคะ
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 2 жыл бұрын
สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆนะคะคุณหมอ ตาก็มีแม่ที่อายมากแล้วปีนี้75 แม่เป็นเส้นเลือดตีบในสมองแม่เคยล้มแต่ได้ยาสี่ชั่วโมงคะเลยไม่เป็นไรแม่กินยาละลายลิ้มเลือดคะ ตาก็เลยต้องบอกแม่ให้ระวังอย่าล้มแต่แม่ไม่มีอาการปวดเข่าหรือปวดใดๆทั้งสิ้นแม่ขับจักรายานได้ด้วนคะเดินขึ้นลงบันไดได้สบายเลี้ยงหลานเดินไปรับไปส่งหลานที่ รร.ทุกวันคะ ตาก็ดีใจที่สุดคะที่แม่ดูแลตัวเองดีพ่อเสียแล้วแม่ก็อยู่กับหลานคะถ้าหลานมาเรียนที่กรุงเทพฯยายคงเหงาคะชวนแม่มาอยู่ด้วยกันก็ไม่มาคะแม่เขามีความสุขที่ได้อยูบ้านที่ต่างจังหวัดคะ ตาขอให้คุณหมอมีความสุขและปลอดภัยนะคะ.🙏😷🌹
@สวยอําไพแจ่มดี
@สวยอําไพแจ่มดี 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ🙏🏼คุณหมอแทนวันนี้คุณหมอมาในเรื่องผู้สูงอายุุการเดินต้องระวังตัวให้ดีที่สุดคุณหมอมาอธิบายป้าเห็นภาพเลยค่ะขอบคุณข้อมูลที่ดีมีประโยชน์ทุกๆวันทุกๆๆคริปน่ะค่ะ/ขอให้คุณหมอแทนพร้อมครอบครัวเจริญทั้งอายุ วันณะ สุขะ พลังสาธุๆๆ🙏🏼🙏🏼🙏🏼น่ะค่ะ❤️🥰
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 2 жыл бұрын
ทุกวันนี้ ในแต่ละสัปดาห์ต้องออกกำลังขาแบบคุณหมอสอน (เป็นการเสริมสร้างกล้ามขา ไม่ใช่คาร์ดิโอ) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ร่วมกับการออกกำลังอื่นๆในวันอื่นๆ) กับการออกกำลังส่วนบนให้แข็งแรง เผื่อที่ว่า ถ้าสะโพกหักจริงๆ จะได้ใช้ร่างกายส่วนบนออกกำลังแทนได้ ถ้าไม่เคยออกกำลังเลย ไปถึงตอนนั้นก็ไม่มีแรงออกกำลังแล้วครับ
@kanoky7076
@kanoky7076 2 жыл бұрын
ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้🙏
@Lek44888
@Lek44888 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์ เรื่องการล้มในผู้สูงอายุ ไม่เคยคิดมาก่อนเลยค่ะ ว่าจะรุนแรงขนาดนี้ ตามที่อาจารย์เล่า จะมีโรคแทรกซ้อนตามมา ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ อาจารย์มาเปลี่ยนความคิดที่ถูกต้องให้ เพราะคิดมาตลอดว่าล้มก็รักษาให้หายก็จบ คิดผิดมาตลอดเลยค่ะ ขอบคุณอาจารย์ ที่มาเปลี่ยนความคิด ให้ถูกต้องค่ะ อาจารย์พูดถึง ถ้าอยู่นิ่งๆอาจเกิดลิ่มเลือดได้ นึกขึ้นมาได้เรื่องหนึ่ง ขออนุญาตเล่าค่ะ ตอนทำงานใหม่ๆ เคยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีเป็นนิ่วไขมันค่ะ ไม่ใช่หิน ผ่าด้วยวิธีเจาะรูที่หน้าท้อง ผ่าเสร็จมาพักฟื้นในห้อง หลังผ่าตัดวันเดียว คุณหมอ บอกให้เดินออกกำลังกาย ในห้องเบาๆ คุณหมอไม่ได้บอกเหตุผลในการให้ออกกำลังกาย นึกในใจว่า ผ่าตัดวันเดียวทำไมให้ออกกำลังแล้ว แต่ก็เชื่อ คุณหมอปฏิบัติตามค่ะ พออาจารย์มาเล่า ก็คิดว่าคุณหมอที่รักษา คงกลัวเกิดลิ่มเลือด ให้ขยับร่างกายบ้าง ขอบคุณอาจารย์มาก ที่เล่าเรื่องการล้มในผู้สูงอายุ มี ประโยชน์มากๆค่ะ🙏🏻🌹🌹
@pattkittyful
@pattkittyful 2 жыл бұрын
ช่วงนี้เรียนPiano กับร้องเพลงหนัก บ้าไปแล้ว55555 แต่ก็มีความสุขเพื่อนแซวว่าแก ว่างงานหร๋อ แหม คนมันมีแรงบันดาลใจเนอะ ครูยังชมเลยขยันเรียนขยันซ้อมมาก เหมือนเป็นเด็กเรียน5555 เมื่อคืนเรียนร้องเพลงมา ครูเก่งนะ จบ Western Music ร้องเพลงJazz ด้วย สุดยอดมาก เลยต้องค่อยๆไล่ดูคลิปของคุณหมอ ไปเรื่อยๆๆ ขอบคุณ คุณหมอที่เอาเรื่องนี้มาพูดพอดี แม่กระดูกสะโพกหักสองเดือนที่แล้วพอดีเลย แต่หมอไม่ได้ผ่าตัด อายุ86ปี กลัวเสี่ยงตอนผ่าตัด ให้กระดูกติดเองโดยธรรมขาติ ตอนกลับจากโรงพยาบาลมีไข้ประมาณ 37.5 ขึ้นๆลงๆ แต่ตอนนี้ไข้ไม่มีแล้ว ปกติแล้ว จะให้พี่เลี้ยงพยายามให้แกลุกขึ้นนั่งทุกวัน หมอให้แกลุกขึ้นนั่งห้อยขาจากเตียง ทุกวัน แกก็นั่งได้ ที่คุณหมอบอกต้องระวังการติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะใช่เลย ต้องเช็ดทำความสะอาดอย่างดี โชคดีพี่เลี้ยงเค้าใส่ใจดี สะอาด รัยผิดชอบดี ตื่นขึ้นมาเปลี่ยผ้าอ้อมบ่อยๆๆ กรณีนี้ที่แบบให้กระดูกติดเองโดยธรรมชาติ ไม่ผ่าตัด กระดูกมันจะติดเอง หมอบอกว่าอาจจะไม่เหมือนผ่าตัด ผ่าตัดจะดีกว่าแต่เนื่องด้วยอายุเยอะ แบบธรรมชาติดีกว่าในcaseนี้ กระดูกเค้าพรุนด้วย หมอบอกหลังหายคงไม่ได้เค้าเดินให้นั่ง Wheelchair แทน เพราะถ้าเดินเสี่ยงล้มอีก ในคลิปคุณหมอบอกเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ไปที่ปอด ถ้าเราให้เค้ายกขา ทุกวันออกกำลังขาเบาๆ แล้วนั่งห้อยขาจากเตีบง มันน่าจะช่วยป้องกันได้ไหมคะ ????
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
พอช่วยป้องกันได้ครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ
@pattkittyful
@pattkittyful 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณคะ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะ อ. แทน สำหรับ เนื้อหา วันนี้ค่ะ เห็นด้วยค่ะ การพาผู้ป่วยลุกนั่ง บ่อย ๆ ยืน เดิน บ่อยๆ ก็ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ Have a nice time ค่ะ
@sineerukrojkhajornsiri4557
@sineerukrojkhajornsiri4557 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ ให้ความรู้ดี เข้าใจง่ายเป็นเรื่องที่พบได้ในชีวิตประจำวันค่ะ
@FL19352
@FL19352 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการล้มสะโพกหัก ซึ่งเมื่อก่อนตัวเองสงสัยว่าทำไมถึงโยงไปถึงอันตรายอย่างอื่นได้ ตอนนี้เข้าใจมากขึ้นถึงอันตรายที่จะตามมาจากการล้ม 🙏 ขอบคุณคุณหมอมากๆ ที่สละเวลา มาเล่าให้ member ฟัง 🙏 ค่ะ ได้ความรู้มากเลยค่ะ
@wonsilapattawee8134
@wonsilapattawee8134 2 жыл бұрын
โอ้โหฟังๆแล้วมันไม่ธรรมดาเลย ผู้สูงอายุต้องดูแลเป็นพิเศษพอๆกับเด็กเล็กๆเลย ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะได้ความรู้ไว้ดูแลตัวเอง ขอบคุณค่ะ
@ดุษฎีแก้วชนะ-ฟ5ต
@ดุษฎีแก้วชนะ-ฟ5ต 2 жыл бұрын
กราบสวัสดีค่ะคุณหมอ
@ปราณีอรุณไพร
@ปราณีอรุณไพร 2 жыл бұрын
สวัสดีเจ้าคุณหมอขอบคุณจ้าว
@Golf__kai
@Golf__kai Жыл бұрын
แม่มาโรงพยาบาลเชียงราย หมอให้นอนมาสองคืนแล้วยังไม่ได้ผ่าเลย เห้อ สงสารแม่มาก
@Golf__kai
@Golf__kai Жыл бұрын
ตอนนี้แม่ผมเสียชีวิตแล้วเสียวันที่ผมเม้นต์เสียใจสุดไปเคว้งคว้างอ้างว้างมากครับ
@sumitrajaysakul6190
@sumitrajaysakul6190 Жыл бұрын
เสียใจด้วยนะคะ ตอนนี้พ่อพี่ล้มสะโพกหักวันนี้ นอนรอผ่า พี่เครียดมากๆเลยน้ำตาไหลตั้งแต่เย็นจนถึงตอนนี้
@ณรมย์เนตรมาตย์สอน
@ณรมย์เนตรมาตย์สอน 2 жыл бұрын
สวัสดี​ค่ะ​คุณหมอ​ได้​ความรู้​ดีมาก​เ​ลยค่ะ​เนื้อหาสาระสำคัญ​ได้ประโยชน์มากมายเลยค่ะดิฉันติดตามทุกคลิป
@Achawan_edu
@Achawan_edu 2 жыл бұрын
คุณหมอคะ มีประสบการณ์ที่รู้สึกขอบคุณจากใจ ในความรู้ที่ฟังและบันทึกสิ่งที่คุณหมอพูดได้กับตัวเองและครอบครัว ฟังคลิปคุณหมอเมื่อวันที่ 24 กพ. 65 เกี่ยวกับการติดเชื้อในกระแสเลือด มาวันที่ 27 กพ. ประสบพบกับตัวเองเลยค่ะ เมื่อคืนที่ผ่านมา (27กพ.) เนื่องจากคุณแม่ท่านถ่ายเหลวบ่อย และมีไข้ต่ำ ให้ยาตามที่แพทย์สังมา ปรากฏว่า อยู่ๆๆ ท่านมีภาวะสับสน เพ้อ ติดต่อกันหลายชั่วโมง เอ..นี้เป็นภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ คุยปรึกษากับพี่สาวว่าเป็นภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (จากการฟังคุณหมอธนีย์) ภาวะนี้เข้าข่าย จึงรีบนำส่งโรงพยาบาล คุณหมอตรวจพบเชื่อในลำไส้ และบอกว่า หากทิ้งไว้จะช็อค แก้ไขลำบาก พอคุณหมอให้ยา ในครอบครัวก็อยากจะนำคุณแม่กลับบ้าน (คราวนี้คำของคุณหมอธนีย์ก็ก้องขึ้นมาทันที เลยอธิบายให้ญาติๆ ฟังว่า ภาวะการติดเชื้อต้องอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น อยู่ในความดูแล้ของหมอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะต้องอยู่จนกว่าไม่มีเชื้ออยู่ในร่างกายเลย ญาติๆ เลยเข้าใจกันค่ะ ความรู้ที่ถูกต้องทำให้เราเข้าใจและแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ 🌻🌼ขอบพระคุณคุณหมออย่างยิ่งค่ะ 👍👍
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ขอให้หายดีไวๆนะครับ
@Achawan_edu
@Achawan_edu 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณมากๆๆค่ะ🙏🙏
@กานดาธาราชีวิน
@กานดาธาราชีวิน 2 жыл бұрын
Many problems Bed sore ,PE Like to listen u.
@AvecBella
@AvecBella 2 жыл бұрын
Appreciate today’s topic ka Doctor Tany. I literally just had a reminder talk with my mom few days ago regarding Falls. I don’t overwhelm her much with details, but I’ll give her enough information to let her know the importance of Balance (aka Not Falling). This clip is perfect. Short and concise, and it summarizes everything. I’ll ask her to watch. My mom can listen in her own time. And I’ll ask her questions later. Thankful I am, that my mom is generally in good health (knock on wood) and not on any chronic meds. Except taking Lyrica from time to time for knee & hip pains (mild scoliosis). Only thing I wish she’d do more is Balance exercises. When she is back from West Coast, perhaps I’ll get lucky talking her into “me doing it with her” approach… 🥳 Your response to comments today regarding OSA & Nocturia made me revisit my textbook 📘 Lol. Love you Doctor Tany!!! 😁
@sudaluksonsri6366
@sudaluksonsri6366 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ🙏🙏🙏🙏
@AL86-y2l
@AL86-y2l 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทน.ที่เล่ามาเคสแบบนี้น่ากลัวจริงๆ วินิจฉัยได้แต่ทำอะไรไม่ได้คือน่าเศร้าจริงๆ การออกกำลังกายนั้นช่วยได้จริงๆค่ะเคยล้มหลายครั้งพร้อมข้อเท้าพลิก.จากการใส่ส้นสูงแล้วรีบก้าวเดินพอเจอพื้นที่ต่างระดับล้มทันที.การล้มแบบสะดุดเพราะรีบวิ่งขึ้นรถล้มหัวเข่ากระแทกจึงหันมาออกกำลังขามากๆจนน่องโตแล้วค่ะการลุกขึ้นเร็วๆก็พลาด.ล้มระยะหลังๆเลยระวังตัวมีสติทุกอย่างในการทำอะไรๆในชีวิต อย่าให้ล้มดีที่สุด ล้มมาแล้วไม่เป็นไรนับว่าโชคดีกว่าหลายๆคนล้มแล้วลุกไม่ขึ้นเกิดโรคซับซ้อนอันตรายถึงชีวิตอย่างคุณหมอบอก.ขอบคุณค่ะที่เล่ามาทำให้ทุกท่านต้องระวังการใช้ชีวิตมากขึ้นแบบไม่ประมาทค่ะ🙏👍❤
@onlyone-c8x
@onlyone-c8x 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หมอ ที่ให้ความรู้ เป็นวิทยาทาน
@yuppayongpumarin1116
@yuppayongpumarin1116 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอดิฉันไปล้มสะโพกหักที่อเมริกาตอนแรกคิดว่าอาการปวดจะหายสรุปคุณหมอเอ็กเรย์หักค่ะมีการผ่าตัดโดยใส่ titanium ค่าใช้จ่ายออกมาแพงมากค่ะนอน รพ.5 วันก่อนกลับคุณหมอให้ซ้อมเดินค่ะใช้อุปกรณ์ สรุปค่าใช้จ่าย.$110,000 แต่โรงพยาบาล ดูแลดีมากทำประกันจากประเทศไทยไปเที่ยว3ปีผ่านมาตอนนี้ก็ดีค่ะคุณหมอนัด5ปีต้องเข้ามาพบเพื่อดูอีกครั้งค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
รักษาตัวด้วยครับ
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh 2 жыл бұрын
เข้ามาฟังพี่หมอทุกวัน ขอบคุณมากครับ🙏
@luxanawadeeboonyasirinun6378
@luxanawadeeboonyasirinun6378 2 жыл бұрын
Wow!?! ขอบคุณนะคะ คุณหมอเหมือนเข้าไปอยู่ในใจเลย?!? ที่ทำ ‘clip เรื่องนี้ เพราะตอนฟังเรื่อง “ ผู้ใหญ่ดื้อ...” ก็นึกต่อไปอีกขั้นว่า...ถ้า คุณป้าเป็นผู้สูงอายุดื้อแล้ว จะทำยังไงต่อไป (ยังไม่ล้ม) ได้คำตอบและข้อพึงระวังจากคุณหมอเยอะเลยค่ะ (เห็นคุณหมอแอบอมยิ้มเบาๆ เรื่อง...”ตกท่อ”...ด้วยอ่ะ ยิ้มตามเลย ภาพการ์ตูนคุณ...ตกท่อ กะผู้สูงอายุตก...ต้องห้ามยิ้มชัดๆ ใช่ไหมคะ อมยิ้มเบาๆ พอได้ใช่ปะ 555) แต่ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมอีกนิดนะคะว่า... 1. การใช้ walker ในผู้สูงอายุจะช่วยลดความเสี่ยงในการล้มได้ไหมคะ? 2. ทำไมคนเอเชียเป็นภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับมากคะ? 3. ทำไมปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนอาจเกิดจากสาเหตุหยุดหายใจขณะหลับคะ? ตอนแรกคิดว่าเกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ ไม่ใช่ด้วยรึคะ?
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
1) ได้ครับ 2) ที่ไหนก็เป็นกันครับ 3) ในช่วงที่ทางเดินหายใจอุดกั้นร่างกายจะพยายามหายใจเข้าแต่เนื่องจากหายใจเข้าไม่ได้จะทำให้มีภาวะเป็นสุญญากาศอยู่ในช่องอก ดึงเอาน้ำเข้ามาจากเส้นเลือดต่างๆมาไว้ในช่องอกทำให้ประมาณเลือดในช่องอกที่กลับไปสู่หัวใจนั้นเยอะขึ้นและหัวใจจำเป็นจะต้องทำงานหนักขึ้นการที่หัวใจได้รับเลือดมากขึ้นนั้นก็จะมีการทำให้ผนังของหัวใจโดนยืดออกและหัวใจจะตอบสนองด้วยการหลังฮอร์โมนทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นมาครับ
@CountryR
@CountryR 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลในการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน อ่านคอมเมนต์ก็ได้คำตอบสำหรับอีกหลายคำถามที่อยู่ในหัว ขอบคุณทุกคำถามและคำตอบจากอาจารย์และ FC อาจารย์ในนี้ด้วยค่ะ
@AL86-y2l
@AL86-y2l 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทน..คุณหมอคะ.ถ้าจะทานวิตามินดีควรทานยี่ห้ออะไรดีคะ.ขอคำแนะนำวิตามินรวมด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ🙏❤
@OppoOppo-pw8in
@OppoOppo-pw8in 2 жыл бұрын
หมอไม่กลัวโรค ... แต่กลัวคนทึ่เป็นโรคมากกว่าครับ แก่ตัวแล้วก็ย้อนกลับไปเป็นเด็กล่ะครับ
@ศิริวรรณรองสวัสดิ์
@ศิริวรรณรองสวัสดิ์ 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอ🙏🙏🙏🙏🙏
@MuayChannel6
@MuayChannel6 2 жыл бұрын
มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณมากๆ นะคะคุณหมอ 😊💪
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@phanthipmaomongkol987
@phanthipmaomongkol987 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณ คุณหมอสำหรับความรู้ใหม่ๆที่มีประโยชน์มากมาย คุณพ่อที่บ้านมีอาการท้องผูกไม่สามารถขับถ่ายตามธรรมชาติได้ต้องใช้ยาสวนช่วยทุกๆ4-5วัน/ครั้ง ขอคำแนะนำคุณหมอค่ะว่าจะมีวิธีไหนที่พอจะช่วยให้อาการท้องผูกเบาบางลงบ้าง คุณพ่ออายุย่าง 90 ปีค่ะ กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ🙏
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
วิธีปรับเปลี่ยนเพื่อให้ผู้สูงอายุถ่ายคล่องขึ้น 1หากมีปัญหาช่องปากและฟันผู้สูงอายุควรใด้รับการรักษาเพื่อช่วยให้การเคี้ยวอาหารง่ายขึ้นช่วยทำให้การรับประทานอาหารมีรสชาดขึ้น2ดื่มน้ำอย่างน้อย8ถึง10แก้วโดยแบ่งดื่มทั้งวัน3 รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงเพื่อเพิ่มกากใยให้อุจจาระคล่องขึ้น4ออกกำลังกายเบาๆแกว่งแขนยามเช้า เดินเล่นหลังรับประทานอาหารจะช่วยให้ลำใส้มีการเคลื่อนไหวช่วยในเรื่องขับถ่าย5ฝึกให้ผู้สูงอายุขับถ่ายทุกวัน ไม่ควรใช้ยาระบายในผู้สูงอายุนานจนติดเป็นนิสัยทำให้ไม่สามารถขับถ่ายด้วยตัวเองใด้ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นควรพาท่านไปปรึกษาแพทย์ที่รพ นะคะ
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 2 жыл бұрын
ลอง กระเจี๊ยบเขียว นะครับ สำหรับผมหายขาด แต่อายุเยอะแล้วไม่แน่ใจครับ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ดูเรื่องการเคี้ยวให้ละเอียด ทานน้ำมากๆ ตรวจดูว่ามีโรคไทรอยด์ต่ำที่ต้องแก้ไขหรือไม่ ส่วนยาอาจต้องให้ทานยาถ่ายแบบเบาๆ เช่น senakot 2 เม็ดก่อนนอน ถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องค่อยๆเพิ่มครับ
@phanthipmaomongkol987
@phanthipmaomongkol987 2 жыл бұрын
@@DrTany กราบขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ🙏
@phanthipmaomongkol987
@phanthipmaomongkol987 2 жыл бұрын
@@armnakornthab6867 ขอบพระคุณมากนะคะ🙏
@somnatchaninsombun546
@somnatchaninsombun546 2 жыл бұрын
มาฟังแล้วจ้า
@sujinsamolta8458
@sujinsamolta8458 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ ป้าจะได้ระมัดระวังเพิ่มขึ้นค่ะ เพราะ mri มาแล้วกระดูกบาง กระดูกเสื่อมและคด ทั้งหลังและคอค่ะ (อาการหนักเลย) ถ้าล้ม!! ไม่อยากคิดเลยค่ะ😭 แต่เคยก้นกระแทกพื้นสองครั้ง โชคยังดีค่ะ ** แต่อยากฝากบอกคุณลูกๆทั้งหลาย ( fc คุณหมอแทนค่ะ) ที่ดูแลพ่อแม่อยู่ อย่าหาว่าท่านเดินไม่ระมัดระวังนะคะ ท่านระวังเต็มที่แล้ว แต่ความสมดุลมันจะขาดไปค่ะ☺
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ย่าก็เป็นแบบนี้คะคือบางครั้งเดินเซบ้างต้องค่อยๆจับค่อยๆประคองคะ ขอให้คุณป้าสุขภาพแข็งแรงนะคะ
@sujinsamolta8458
@sujinsamolta8458 2 жыл бұрын
@@Chefaey ขอบคุณค่ะ ขอให้คุณย่าของน้องแข็งแรงเช่นกันนะคะ ("ไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" จริงๆค่ะ) ไม่มีใครอยากเป็นหรอกค่ะ แก่ตัวมาวัฎจักรสังขารมันพาไปค่ะ 😭
@usapleanrungsi
@usapleanrungsi 2 жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากเลยค่ะสำหรับความรู้คลิปนี้ ทุกวันนี้เดินเร็ววันละ3-4กม.และพยายามสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี เริ่มทำplank ตอนอายุ66 ครั้งละ1นาที ได้3set ก็เหนื่อยแฮ่กๆละค่ะ
@tippysedg4397
@tippysedg4397 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ
@suriyawong75
@suriyawong75 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@daohealthybody242
@daohealthybody242 2 жыл бұрын
Thanks you
@สุริศักดิ์หุณฑสาร
@สุริศักดิ์หุณฑสาร 2 жыл бұрын
ขอบพระคุณมากครับ.
@ArtTook
@ArtTook 2 жыл бұрын
คุณย่าอายุ83 มีโรคความดันและหลอดเลือดสมอง เพิ่งจะล้มก้นกระแทกแล้วสะโพกหักค่ะ ญาติๆลงความเห็นว่าไม่ผ่าตัด ขอคำแนะนำคุณหมอหน่อยค่ะ ว่าควรผ่าไหมคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ถ้าไม่ผ่าก็เดินไม่ได้แน่ๆ และผลข้างเคียงจะมีแน่ๆครับ แต่ผ่าแล้วก็ไม่การันตีครับ มันขึ้นกับก่อนหน้านั้นเขาเดินเหินได้ดีแค่ไหน ถ้าดีมากๆและกำลังใจดี มีความพยายามจะกายภาพมากๆก็ควรผ่าครับ แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนี้การผ่าก็อาจไม่ได้ช่วยอะไรนักครับ
@ArtTook
@ArtTook 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณค่ะคุณหมอ
@Jum.A1
@Jum.A1 2 жыл бұрын
หัวข้อคลิปวันนี้เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากค่ะคุณหมอ เพิ่งทราบเรื่องนี้ไม่นานมานี้จากเพื่อนที่คุณแม่หกล้มข้อสะโพกหัก คุณหมอบอกว่าต้องรีบผ่าตัด ต้องรีบรักษาเพราะถ้าทิ้งไว้จะมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตจากลิ่มเลือดอุดตันหัวใจ ปอด สมองได้ง่ายมาก ความรู้ใหม่ที่ได้จากคลิปนี้คือการปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืนอาจจะเป็นจากการมีภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ คำถามค่ะ เป็นเพราะการบีบตัวของหัวใจมากผิดปกติจึงทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือเปล่าคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เปล่าครับ หัวใจผนังถูกยืดออกด้วยปริมาณน้ำในเลือด มันเลยปล่อยฮอร์โมนให้ปัสสาวะขับน้ำทิ้งออกมาครับ
@thungthambuacha8503
@thungthambuacha8503 2 жыл бұрын
สัวสดีค่ะคุณหมอขอบคุณคลิปความรู้ ที่คุณหมอนำมาให้ความรู้ค่ะ คุณแม่เป็นโรคกระดูกพุนสงสารแกมาก แกจะมีอาการปวดร้าวทรงสะโพกลงไปที่ปลายเท้าเวลาแกปวดแกจะให้ใช้ยาหม่องนวดบริเวณที่เป็นก็ดีขึ้นสงสารแกมากไม่รู้จะทำอย่างไรพาไปหาหมอก็บอกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หายค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ต้องออกกำลังกายขาเลยครับ แบบเล่นเวท และเดินเร็วๆ ร่วมกับการปั่นจักรยานอยู่กับที่ครับ
@thungthambuacha8503
@thungthambuacha8503 2 жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ😍😍😍😍😍
@วิยดาวงค์จินะ
@วิยดาวงค์จินะ 2 жыл бұрын
สวัสดีคะคุณหมอ
@wanpenleohirun8153
@wanpenleohirun8153 2 жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@Achawan_edu
@Achawan_edu 2 жыл бұрын
🌈เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก ผู้สูงอายุ กระดูกหักได้ทุกที่ นอกจากบอกสาเหตุ, อาการของโรค, การวินิจฉัย, การรักษา, คุณหมอให้ความรู้เพิ่มเติมคือ การออกกำลังกาย และการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับผู้สูงอายุ (คุณหมอลงรายละเอียดดีมากยิ่งท่านใดดูแลผู้สูงอายุด้วยแล้ว ชัดเจนค่ะ) ขออนุญาตนำสรุปขึ้นมาก่อน 🏳‍🌈สรุป >>> จากที่บางคนสงสัยว่า ทำไมสะโพกหัก /ติดเชื้อในกระแสเลือด>>>แล้วเสียชีวิต เกิดลิ่มเลือดดีขึ้นแล้ว >>> กลับบ้านแล้วเสียชีวิต ทำไมเป็นเช่นนั้น มีคำตอบอย่างละเอียดค่ะ คุณหมอ>>> เรื่องของข้อสะโพกหัก ไม่ใช่แค่สะโพกหัก แต่เป็นปัญหาที่มีอะไรมากมายที่มีผลต่อร่างกาย 🌰 สาเหตุ ข้อสะโพกหักพบบ่อยในผู้สูงอายุเนื่องจาก ปัญหากล้ามเนื้อขา การทรงตัวที่ไม่ดี การทานยาบางตัวที่ทำให้มีปัญหา การลื่นล้ม (เนื่องจากสายตาไม่ดี,การจัดบ้านที่รก/ทำให้สะดุด และมีปัญหากระดูกบาง กระดูกพรุนอยู่ก่อน พอล้มแล้วจึงทำให้ข้อสะโพกหัก 🌰วิธีการรักษา ของหมอกระดูกคือการผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพก ดามสะโพก ใส่เหล็ก วิธีการรักษาทางด้านอายุรแพทย์ ปัญหาที่พบคือ เวลาสะโพกหัก คนไข้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก เกิดปัญหาลิ่มเลือดในร่างกายตรงขาข้างที่หักแล้วลอยไปอุดตันที่ปอด ทำให้การหายใจผิดปกติ หัวใจวายและเสียชีวิตได้ ดังนั้นกลุ่มข้อสะโพกหัก จึงต้องให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด 🚩การเกิดลิ่มเลือดจากสาเหตุหลัก 3 ประการคือ 1) เลือดหนืดด้วยการอักเสบ หรือความผิดปกติของพันธุกรรม, 2) การอักเสบของผนังหลอดเลือด และ 3) ไม่มีการเคลื่อนไหวของเลือดบริเวณนั้นนานๆ เป็นที่มาของการเกิดลิ่มเลือดง่ายขึ้น/ลิ่มเลือดพอเกิดขึ้นก็ลอยไปตรงไหนก็ได้ของร่างกาย หากไปที่ปอด ปอดก็อุดตันได้/ปอดเสีย เกิดอันตราย/เสียชีวิตได้ 🚩การให้ยาแก้ปวดในผู้สูงอายุ หรือยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน อาจทำให้เกิดอาการเพ้อ สับสน โวยวาย อาละวาด เพราะเกิดจากการนอนผิดที่ด้วย การให้ยาก็เพียงให้สงบลง แต่ไม่ได้ทำให้ตัวโรคหาย 🚩 มีโอกาสการติดเชื้อสูงมากขึ้น จากปอดอักเสบเนื่องจากการสำลักอาหาร, ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ลามขึ้นไปที่ไต หรือเข้าในกระแสเลือด, ติดเชื้อจากทางผิวหนัง หรือบริเวณที่มีการบอบช้ำจากบริเวณที่กระดูกหัก ซึ่งวินิจฉัยได้ยากมาก คนไข้อาจไม่มีอาการตรงไปตรงมา การติดเชื้อในกระแสเลือดโดยทั่วไป จะมีไข้ เหนื่อยหอบ ไอ หากเข้าทางเดินปัสสาะวะ ก็จะแสบ ขัด ปัสสาวะไม่สุด /มีเลือดปน อากาลักษณะแบบนี้บ่งบอกได้ แต่บางคนไม่มีอาการอะไรเลย อาการสับสน ผุดลุกนั่ง และไม่มีไข้ >>> วินิจฉัยได้วิธีเดียวคือ การเจาะเลือดไปเพาะเชื้อ 🌰 ถ้าเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis หรือ Septicemia) เข้าเลือดไปแล้ว จะมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ต่อให้ยาถูกชนิด ถูกเวลาก็ตาม บางครั้งติดเชื้อตอนเช้า ตอนเย็นอาจเสียชีวิตเลย เพราะคนกลุ่มนี้มีอาการอ่อนแออยู่แล้ว/มักเป็นคนที่อายุมาก (อาจเดินล้มกระดูกหักตามมาด้วยผลข้างเคียง) ต่อให้ผ่าตัดเสร็จสิ้นและได้กลับบ้าน แต่พอกลับบ้านแล้วไม่ยอมเคลื่อนไหว/ไม่ยอมเดิน เช่นเหนื่อย เพลีย นอนพัก /บางคนเพ้อ สับสน ตื่นกลางคืน ก็อาจทำให้มีอาการดังที่กล่าวมาได้ คือ 🌻อาจเกิดลิ่มเลือด ติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ ติดเชื้อในปอด หรือจากการขับถ่ายอุจจาระ แล้วไม่ได้เช็ด/ไม่รู้ตัว ทำให้เชื้อย้อนขึ้นไปที่ทางเดินปัสสาวะได้ 🌼บางคนมีอาการท้องผูกอาจทำให้เกิดภาวะสับสน ถ้ารุนแรงมากกว่านั้น เชื้อในอุจจาระซึมผ่านลำไส้เข้าไปในกระแสเลือด อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ โดยไม่มีอาการทางช่องท้องแต่อย่างใด หรืออาจจะมีหลายๆภาวะรวมกัน >>> ฉะนั้นในผู้สูงอายุ แพทย์จึงต้องวินิจฉัยสาเหตุติดเชื้อทีชัดเจน 🌻-บางคนไขกระดูกบริเวณที่หัก หลุดเข้าไปในกระแสเลือดแล้วไปอุดกั้นที่ปอด (รักษาไม่ได้) ทำได้อย่างดีที่สุด คือต้องผ่าตัดเอาออกให้เร็วที่สุด และอย่าให้มีการรั่วของไขกระดูกมากไปกว่านั้น ซึ่งการวินิจฉัยจะยากมาก ต้องรักษาแบบประคับประคอง (บางคนถึงกับเสียชีวิต) -🌼บางคนมีอาการกำเริบของโรคเก่า ที่เขาเป็นเกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน เช่นโรคหัวใจ โรคหัวใจวาย โรคเบาหวาน (ซึ่งน่ากลัว) จึงเป็นเหตุให้คนไข้มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น
@Achawan_edu
@Achawan_edu 2 жыл бұрын
🚩คุณหมอเน้นย้ำ ดังนั้นแล้วในคนไข้ที่มีอายุเยอะ สิ่งที่ดีที่สุดคือการป้องกัน โดย 1. ออกกำลังกายขาหลังให้แข็งแรงที่สุด (ไม่ใช่การเดินเพียงอย่างเดียว ) ต้องออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงที่สุด (หาดูใน KZbin ได้) จึงจะทำให้ท่านป้องกันภาวะนี้ได้ (สำหรับในช่องสมาชิก คุณหมอสาธิตไว้หลายท่าไม่ยากเกินไป) 2.การปรับบ้าน ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ปรับพื้นที่ให้เป็นพิ้นที่ราบๆ ให้มากที่สุด และอย่าวางของเกะกะในบ้านเนื่องจากผู้สูงอายุมักมีปัญหาการควบคุมการทรงตัว ขาไม่สมดุล สายตาไม่ดี มองความแตกต่างของระดับพื้นไม่ได้ เช่นตรงไหนมีขั้นบันได (ตาเห็นเป็น 2 มิติพลาดล้มได้) 🚩ห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ 1. อาจมีราวเหล็กให้จับไว้สำหรับนั่งส้วม หรือนั่งอาบน้ำ (ป้องกันการล้มพลาด) 2 ควรติดแผ่นยางกันลื่นไว้เลย 3. มีเก้าอี้นั่งอาบน้ำในห้องน้ำที่มั่นคง ไม่เลื่อนได้ คุณหมอ >>>> การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับผู้สูงอายุ จึงไม่ควรมองข้าม ให้สะอาด ให้ปลอดภัย ให้ไม่ะระเกะระกะ, มีคนคอยดูแลใกล้ชิดบอกถึงความต่างระดับของพื้นที่ โดยเฉพาะเมื่อต้องไปในสถานที่ๆไม่คุ้นเคย 4. การลุก ยืน ในผู้สูงอายุต้องทำอย่างช้าๆ อย่ารีบเด็ดขาด โดยเฉพาะเมื่อนั่งนานๆๆ นอนนานๆ จะต้องนั่งขึ้นมาก่อน แล้วค่อยยืน (คนอายุธรรมดายังเป็นได้ ผู้สูงอายุ ยิ่งเป็นมาก) บางครั้งเป็นลมล้มไปเลยก็มี ยิ่งพักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำไม่พอ ขาไม่ค่อยแข็งแรง ยิ่งเกิดความดันตกได้ง่าย 5. การนอนหลับพักผ่อน เป็นสิ่งสำคัญมาก (หลายๆ คน ไม่เคยไปตรวจก่ารนอนหลับ) เราพบว่าคนเอเชียในผู้สูงอายุ จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยทางเดินหายใจส่วนบนมีอุดกั้น โดยไม่รู้ตัว/บางคนมีอาการนอนกรน (นี้รู้ตัวง่ายหน่อยว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ) หลายๆ ท่านไม่มีอาการนอนกรน แต่มีอาการตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น / บางท่านปัสสาวะบ่อยกลางคืน บางคนคิดว่าต่อมลูกหมากโต หรือเป็นโรคไต (ไม่ใช่) หากหยุดหายใจขณะหลับก็จะปัสสาวะบ่อยเช่นกัน ฉะนั้นควรไปตรวจ (ภาวะการนอนหลับ) และรักษา แล้วจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ภาวะดังกล่าวก็จะลดลง คลิปนี้ช่วย "ชีวิต" ได้มากมากมายเลยค่ะ👍👍👍
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
แวะมาอ่านของพี่อัสเสร็จพอดีเลยคะ
@Achawan_edu
@Achawan_edu 2 жыл бұрын
@@Chefaey คืนนี้ดูคุณแม่สลับกับพี่สาวค่ะน้องเอ้ ดูแลใกล้ชิด ระหว่างดูก็เลย บันทึกเก็บไว้ค่ะ (ยังไม่นอนอีก)
@boomsong5729
@boomsong5729 2 жыл бұрын
@@Achawan_edu ขอบคุณมากนะคะคุณอัช ขอให้คุณแม่มีสุขภาพดีขึ้นในทุกๆวัน ขอให้คุณอัชมีพลังกาย พลังใจ เต็มเปี่ยมนะคะ
@Achawan_edu
@Achawan_edu 2 жыл бұрын
@@boomsong5729 ขอบพระคุณคุณมนต์ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ แข็งแรง สดชื่น แจ่มใสยิ่งๆๆขึ้นไปต่ะ😀😀🙏🙏❤
@somchitpinkaeo2841
@somchitpinkaeo2841 2 жыл бұрын
ขอบคุณ​มากนะค่ะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์​ในการดูแลผู้สูงอายุและการเตรียมตัวเองที่จะเป็นผู้สูงอายุ ขอ เรียนถา​มคุณ​หมอเกี่ยวกับการกินยาระบายนานๆจะเป็นอะไรหรือเปล่า​ค่ะ คือจะเป็นลำไส้แปรปรวนเคยปรับเปลี่ยน​พฤติกรรม​กินอาหารที่มีกากใยดื่มน้ำเยอะแล้วหมอให้กินยาระบายsenolax ปรับยาเรื่อยๆปัจจุบัน​กินก่อนนอน2เม็ดค่ะกินมานานแล้ว ขอบคุณ​คุณ​หมอ​มาก​ค่ะ​
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ช่วงรอคุณหมอมาแนะนำเพิ่มเติม ขอตอบให้ก่อนนะคะ ยาระบายเป็นยากลุ่มกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ เมื่อใช้ยาระบายต่อเนื่องไปนานๆ (แค่ใช้เกิน 1 สัปดาห์ก็ถือว่านานนะคะ) จะทำให้เกิดภาวะลำไส้เคยชินต่อยาระบาย ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายได้เอง จนต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆค่ะ
@somchitpinkaeo2841
@somchitpinkaeo2841 2 жыл бұрын
@@FragranzaTrippa ขอบคุณ​มากค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ยาตัวนั้นไม่มีปัญหาอะไรครับ
@somchitpinkaeo2841
@somchitpinkaeo2841 2 жыл бұрын
@@DrTany เป็นพระคุณ​อย่างสูง​ค่ะ
@SurapholKruasuwan
@SurapholKruasuwan 2 жыл бұрын
ขอบคุณพันครั้งครับผม
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 2 жыл бұрын
ขอมาเสริมวิธีป้องกันนะครับ ผิดถูกอย่างไร คุณหมอแก้ไขได้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องนะครับ 1. การเดิน การวิ่ง แม้ไม่ได้เสริมสร้างกล้ามเนื้อขามากนัก แต่เป็นการออกกำลังที่เสริมสร้างกระดูก (ออสทิโอจีนิก) ทำให้เกิดกระบวนการสร้างกระดูก (ออสทิโอบลาสต์) ควรมีการแทรกการเดิน การวิ่งเข้าไปด้วยครับ การเสริมสร้างกระดูก ต้องรีบทำก่อนอายุ 50 ปี หลังจากนั้นจะเป็นแค่การ รักษามวลกระดูกไว้ไม่ให้ลดลงเร็วมากนัก 2. ไขมันดี เป็นสิ่งสำคัญ ช่วงก่อนนี้สัก 10-20 ปี คนไทยจะเข้าใจผิดว่าไขมันคือสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง แต่ลืมที่เรียนใน สปช. ว่า วิตามิน A D E K ไม่ละลายในน้ำ เพราะฉะนั้น ถ้าไขมันในร่างกายไม่พอ จะทำให้ดูดซึมวิตามินดีได้ไม่ดี และวิตามินดี เป็นตัวการในการดูดซึมแคลเซียม หากไม่มีวิตามินดี แคลเซียมจะดูดซึมได้ไม่ดี ร่างกายจะไปดึงแคลเซียมจากในกระดูกมาใช้ ทำให้เกิดภาวะการลดลงของมวลกระดูก 3. หลายคนเข้าใจผิดว่า การรับแดดตอนเช้าตรู่ จะทำให้ได้รับวิตามินดี และกลัวว่าการตากแดดแรง จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง แต่งานวิจัยหลายชิ้นกล่าวว่า วิตามินดี จะถูกสังเคราะห์ด้วยรังสียูวีบี ซึ่งรังสีนี้ มีเฉพาะตอนแดดแรง สมาคมมะเร็งประเทศออสเตรเลีย แนะนำให้ตากแดด ช่วง 10:00-11::00 หรือ 15:00-16:00 ในช่วงฤดูร้อน 11:00-12:00 หรือ 14:00-15:00 ในช่วงฤดูหนาว วันละ 15 นาที ซึ่งระยะเวลาเท่านี้มันไม่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ (เวลาช่วงบ่าย ผมอาจจะจำผิด แต่ช่วงก่อนเที่ยงไม่ผิดแน่) อย่างไรก็ตาม หากวิถีชีวิตไม่เจอแดด ให้ทานวิตามินดีเสริมได้ 4. ในอดีตจนกระทั่งตอนนี้ มีหมอบางท่าน (บางคนมีชื่อเสียง ไม่ขอเอ่ยนาม) สร้างความคิดว่า นมวัว อันตราย กินแล้วเป็นมะเร็งบ้าง นมในประเทศไทยไม่ได้มาตรฐาน มีสารฮอร์โมนเร่งโต อันตราย หรือแม้กระทั่งบอกว่าไม่เหมาะกับคนเอเซีย เพราะดื่มแล้วท้องเสีย (ซึ่งน่าแปลกใจมากๆที่พวกเขาไม่รู้จักน้ำตาลแลคโตสว่าเป็นตัวการทำให้ท้องเสีย) ทำให้คนไม่ดื่มนมกัน ทั้งๆที่เป็นแหล่งแคลเซียมที่หาง่ายที่สุด เริ่องสะโพกหัก ว่ากันว่า หากเป็นแล้ว เตรียมเขียนพินัยกรรม ดังนั้น ป้องกันไว้ก่อนครับ
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 2 жыл бұрын
เสริมต่อ ผมกล้าฟันธงว่า คนไทย ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลัง และเป็นพนักงานบริษัท ไม่ค่อยโดนแดด เกิน 70% มีวิตามินดีต่ำครับ และหากจับคนกลุ่มนี้ไปตรวจเด็กซ์ซ่า หามวลกระดูก หลายคนอาจกำลังมีภาวะ กระดูกบาง ใครที่น้ำหนักลดเมื่ออายุมากขึ้น มาได้จากทั้งกล้ามเนื้อที่ลดลงและมวลกระดูกลดลง แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดคือ ถ้าส่วนสูงลดลง แสดงว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกสันหลัง หลังค่อม แบบคนแก่ที่เราเห็นกันสมัยก่อน อันนี้ รีบไปตรวจกับ หมอกระดูก หรือ หมอต่อมไร้ท่อ ให้ไว ครับ การรักษาภาวะกระดูกบาง มีทั้งยาฉีดยากิน แต่จะมีผลแทรกซ้อนที่น่ากลัวกรณีที่คุณมีสุขภาพฟันไม่ดี หากต้องถอนฟัน หรือรักษารากฟัน ให้ทำให้เรียบร้อยก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อขากรรไกรตาย (จอว์ เนโครสิส) ซึ่งถ้าเกิดขึ้น คุณจะไม่อยากมีชีวิตต่อไปเลย
@Pann96
@Pann96 2 жыл бұрын
ดิฉันกระดูกบางตั้งแต่อายุ 40 กว่า อายุ 48 ก็เข้าสู่ภาวะกระดูกพรุน หมอก็สงสัยว่าทำไมเป็นเร็วมาก ทั้งที่ไม่เคยทานยาเสตียรอยด์
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 2 жыл бұрын
@@Pann96 สาเหตุก็ตามที่กล่าวมาทั้งหมดครับ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เห็นด้วยครับ ตอนนี้ต้องออกกำลังกายแบบเวท คู่ไปกับการวิ่งหรือเดิน จริงๆถ้าออกได้ครบทุกแบบ เช่น มีการยืดกล้ามเนื้อเพื่อความยืดหยุ่น การทรงตัว ความแข็งแรง และการเคลื่อนไหวเร็วๆ จะดีที่สุด ถ้ากลัวดำกลัวแดดก็กินวิตามินดีเสริมครับ
@sujinsamolta8458
@sujinsamolta8458 2 жыл бұрын
@@armnakornthab6867 ขออนุญาตถามนะคะ ป้า 59 ทำ mri มาแล้ว ผลคือกระดูกบาง กระดูดเสื่อม และคด มีวิธีรักษามวลกระดูกอย่างไรค่ะ กินงาดำ กินกระชาย กินขมิ้นชัน พอจะช่วยได้บ้างมั้ยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
@Wichuda801
@Wichuda801 2 жыл бұрын
ขอLinkการออกกำลังกายที่อจ.บอกว่าไม่ใช่การเดินได้ไหมคะ /ตอนนี้เดินวันละ 8000+ก้าวทุกวันค่ะ (กระดูกพรุนมาก วิ่งหรือขี่จักรยานจะเจ็บก้นกบค่ะ)
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
การออกกำลังกายพวกนั้นผมลงไว้ในช่องเมมเบอร์ครับ ส่วนที่ผมออกเองนั้นสามารถหาดูได้ที่นี่ครับ kzbin.info/aero/PLzpAr_YIYMk7jpCV8W9tE3Sy3j-cjiH1m
@sathitkraitong4312
@sathitkraitong4312 Жыл бұрын
อยากขอบพระคุณอาจารย์มากๆเลยค่ะ คุณแม่ประสบปัญหานี้จากอุบัติเหตุจริงๆเลยค่ะ ล้มเพราะคุณแม่รีบก้าวเดิน ล้ม กระดูกหัวสะโพกหัก แต่มีข้อจำกัดผ่าไม่ได้ เสี่ยงมาก เนื่องจากลิ้นหัวใจตีบ เลือดหนืด หมอหัวใจฟันธงว่าเสี่ยงมาก หมอกระดูก ไม่กล้าผ่า อาจารย์มีคำแนะนำบ้างไม๊คะ /กราบขอบพระคุณมากค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
คงทำกายภาพเท่าที่พอทำได้ ให้นอนหัวสูงตลอดเวลาป้องกันการสำลัก ทุกอย่างที่เราทำ คนไข้จะไม่ชอบ เจ็บ และท้อ ครับ และถ้าไม่ยอมทำกรณีนี้มันทำอะไรไม่ได้แล้วครับ ต้องเรียนตรงๆว่าหลังจากนี้จะมีแต่แย่ลงและมีโรคแทรกซ้อนเหมือนที่ผมเล่าในคลิปครับ
@sathitkraitong4312
@sathitkraitong4312 Жыл бұрын
@@DrTany เรียนถามอาจารย์ค่ะ ตอนนี้ญาติจะขอconsult แพทย์ที่รพ.บำรุงราษฎร์เพื่อเป็น secondary opinion ถ้าทีมcadio ลงความเห็นว่า เรื่องหัวใจสามารถcontrol ได้ และแพทย์ ortho ยืนยันว่า น่าจะผ่าได้ ตามความคิดเห็น อาจารย์คิดว่า ควรจะผ่าดี หรือ รักษาแบบ supportive จะดีกว่าคะ ตอนนี้คุณแม่มีภาะปอดเริ่มติดเชื้อเพราะไอ จากรอยโรคเดิมที่มีปอดอักเสบ และพึ่งออกจากรพ.ได้6 เดือน แล้วล้มค่ะ อยากได้คำแนะนำจากอาจารย์มากๆเลยค่ะ/กราบขอบพระคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ถ้าผ่าได้ควรผ่าครับ หลังผ่าควรรีบกายภาพให้เดินให้ได้ อย่าให้ติดเตียง และต้องฝืนหน่อยครับ
@sathitkraitong4312
@sathitkraitong4312 Жыл бұрын
@@DrTany กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงค่ะ ที่ห่วงคือคุณแม่อายุ85ปีแล้ว กลัวจะทนเจ็บไม่ไหวค่ะ จะลองปรึกษาทีมแพทย์อีกทีค่ะ ขอบพระคุณค่ะอาจารย์
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
@@sathitkraitong4312 เรื่องเจ็บนี่ให้ยาได้ครับ แต่ที่น่ากลัวมากกว่าคือผลแทรกซ้อนอื่นๆมากกว่าครับ
@รุจีอุปริมากูร
@รุจีอุปริมากูร Жыл бұрын
หมอคะพึ่งโดนรถชนตรงสะผโพกค่ะเอกชเรย่เชาบอกไมาหักแต่เดินได้แต่ก้าวขาไม่ได้ค่ะพ ไปอีกมันร้าวค่ะหมดกระดุกบอกว่าต้องไช้เวลาเกี่ยวมันจะสมานไปเองเดินแบไสล้ขาไปเข้าห้แงนำ้เเต่ก้าวขาไม่ได้เลยพอจะก้วมันปวดมากเปนข้างช้ายค่ะแต่ก้าวขาขวาไม้ได้เค่ะสรุปหนุต้องทำยังไงคะชนมาจะสองอาทิตย่แล้วบังก้าวขาไม่ได้ค่ะตรงอุ้งเชิฃกรานจะเจบมากเวลาจะก้าวก่เลยไม่ก้าวค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ต้องกลับไปตรวจแล้วถามหมอให้ละเอียด เล่าทุกอย่างที่กังวลให้หมอเขาฟังครับ บางทีกระดูกหักมันมองไม่เห็นตอนแรก แต่เอกซเรย์ซ้ำหรือทำ CT จะเห็นได้ครับ
@รุจีอุปริมากูร
@รุจีอุปริมากูร Жыл бұрын
@@DrTany ข อบคุณมากค่ะที่ตอบกลัลมา
@patcharinagwatpanich7376
@patcharinagwatpanich7376 2 жыл бұрын
เคสของลูกชาย อยู่เมืองไทย ได้แอสต้าไป 2 เข็ม โมเดิร์นน่า 1 เข็ม อย่างนี้ ควรได้รับเข็ม 4 มั้ยคะ และต้องห่างจากเข็ม 3 กี่เดือนคะ🙏
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ควรคะเว้น3เดือนboostmRna1เข็ม เข็ม4ควรจะเป็นmRna เพราะประสิทธิภาพกันโอมิครอนดีกว่านะคะ
@patcharinagwatpanich7376
@patcharinagwatpanich7376 2 жыл бұрын
@@Chefaey 🙏ขอบพระคุณค่ะ
@NNKNNK-n2b
@NNKNNK-n2b Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ มีเรื่องรบกวนสอบถามคุณหมอ คือหกล้มสะโพกหักผ่าตัดใส่แผ่นเหล็กมา15 วันทำกายภาพทุกวันโดยการเดินใช้ walker แต่ อาการยังปวดขาเหนือเข่าไปถึงสะโพกและเท้าบวมทุกวันเกิดจากอะไรคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
การที่เลือดเดินไม่ดี หรือไม่ก็มีลิ่มเลือดอุดตันที่ขา แต่ถ้าได้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ซึ่งปกติก็จะให้อยู่ 5 สัปดาห์ ก็ไม่น่ามีปัญหาครับ รายละเอียดและวิธีแก้ไขต้องถามหมอที่รักษาครับ
@NNKNNK-n2b
@NNKNNK-n2b Жыл бұрын
@@DrTany ตอนนี้ยังทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ค่ะ และคุณหมอที่รักษานัดตรวจวันที่1กันยายนค่ะ ขอขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ
@กานดากลิ่นบุบผา
@กานดากลิ่นบุบผา 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอเคสนี้ น่าสนใจมากค่ะ เลยอยากทราบแพราะมีคนไข้เป็นอยู่ ขอบคุณมากนะคะ
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
ก๊อกๆ มีคำถามมาถาม3ข้อ ตอบใด้ตอบตอบไม่ใด้ข้ามไป 1. ถ้าตื่นมาแล้วใด้รับความสามารถ1อย่างสิ่งนั้นเป็นอะไร 2 เรื่องที่ซีเรียสที่จะเอามาล้อเล่นไม่ใด้เลยคือเรื่องไหน 3 ถ้าให้นิยามความเป็นตัวตนของพี่แทน เหมาะกับเพลงแนวไหน แนวป๊อป แนวร๊อค ปล วันนี้เนื้อหาก็เข้าใจง่ายเหมือนเดิม ตามอ่านเม้นก็เข้าใจแจ่มแจ้งแดงแจ๋ด้วย ถ้าว่างอยากให้ทำคลิปออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุบ้างก็ดีนะเพราะผู้สูงอายุหาท่าทางที่เหมาะก็ยากอยู่ประมาณนั้นเลย วันนี้จิ๋วกุหลาบมีซนๆอ้อนไหม ชอบมองภาพจิ๋วน่ารักดี โดยเฉพาะภาพแลบลิ้น วันนี้แวะมาก๊อกแค่นี้นะจ้ะ ไปละ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
1) เสกเงินงอกมาได้เรื่อยๆ 2) นั่นสิ ไม่แน่ใจแฮะ 3) เมดเล่ย์
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
@@DrTany โห่ๆไม่ธรรมดาจริงๆ เอาใว่รออ่านนะ อื่มนิคงใกล้จะกินข้าวแล้วมั้ง งัยก็กินข้าวอิ่มๆแล่วกันจ้ะ บายจ้ะ อ่านหนังสือยังอีกยาวไกลหนักแล ไปละ
@AL86-y2l
@AL86-y2l 2 жыл бұрын
เมดเล่ย์ดีค่ะหลากหลายอารมณ์ไม่น่าเบื่อค่ะ 👍
@ทิวาวรรณสิทธิโอสถ
@ทิวาวรรณสิทธิโอสถ 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจาย์หมอ ป้ามีญาติเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ รักษาที่ รพ.ศรีธีญญา หมอให้ทานยา Mianserine 10 mg. 1 เม็ดก่อนนอน และ Lorazepam 0.5 mg ก่อนนอน กลางคืนก็หลับดี เวลากลางวันจะมีอาการเหนื่อย ช่วงที่เหนื่อยใจสั่นจะหิวตลอด นอนกลางวันไม่ได้ทั้งๆที่อยากหลับ ไปพบหมอก็ได้ยาเดิมตลอด ยา Mianserine ทานเวลากลางวันที่นอนไม่หลับได้ไหม ถ้าทานได้ควรทานกี่มิลลิกรัม ขอความกรุณาอาจารย์หมอช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
กลางวันไม่ควรหลับเลยครับ เรื่องพวกนี้การสอบถรมที่ดีที่สุดคือต้องถามหมอที่รักษาครับ เพราะมันต้องใช้ข้อมูลเยอะในการตัดสินใจครับ
@ทิวาวรรณสิทธิโอสถ
@ทิวาวรรณสิทธิโอสถ 2 жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากๆค่ะ
@จิปาถะ-ต1ษ
@จิปาถะ-ต1ษ 2 жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอ ขอปรึกษา ตอนนี้ คุณพ่อ สะโพกหัก แล้วหมอบอกแกมีความเสี่ยงสูง 60/40 อกมีพังพืดในปอด หมอให้ตัดสินใจว่าจะรับการผ่าตัดมั้ย ตอนนี้คิดหนักมาก ขอคุณหมอแนะนำหน่อยค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
อันนี้แล้วแต่ครับ ไม่ผ่าเดินไม่ได้มันก็มีผลเสีย ผมแทรกซ้อนต่างๆตามมา ผ่าก็เสี่ยงเหมือนกัน มันต้องเลือกเอาว่าเรายอมรับข้อเสียของทางไหนได้มากกว่ากัน และที่สำคัญต้องให้พ่อเป็นคนตัดสินใจครับ ถ้าแต่เดิมแข็งแรงเดินเหินได้เอง อาจจะผ่าแล้วไปสนใจผลแทรกซ้อนอื่นๆทีหลัง แต่ถ้าปกติไม่ได้เดินอะไรอยู่แล้ว เดินน้อยมากๆแบบนี้ผ่าไปก็ไม่ได้ช่วยครับ เพราะผ่าเสร็จแล้วมันต้องกายภาพด้วยการเดินมากๆก่อนที่จะมีการติดเชื้อหรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆครับ
@จิปาถะ-ต1ษ
@จิปาถะ-ต1ษ 2 жыл бұрын
@@DrTany กังวลเรื่องปอด หมอบอกพ่อมีพังพืดที่ปอดกลัว ถอดเครื่องช่วยหายใจไม่ได้ค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
@@จิปาถะ-ต1ษ งั้นก็ต้องเลือกแล้วครับ ถ้ากังวลเรื่องนี้มากกว่าก็ไม่ควรผ่า แต่ถ้ากังวลเรื่องอื่นมากกว่าก็ควรผ่าครับ ทั้งสองทางมีปัญหาของมันเอง ปล ควรถามพ่อเป็นหลักครับ ไม่ควรให้ความคิดของเราเป็นตัวตัดสินวิธีในการรักษาครับ
@kornveeka
@kornveeka 2 жыл бұрын
อุ้ย อันตรายนะเย อย่างกลัวเลยค่ะ แก่แล้ว..จะต้องระวังอย่างยิ่งเลยค่ะ😓 ถึงบางอ้อเลยค่ะว่า การกรนและหยุดหายใจขณะหลับ เป็นสาเหตุนึงที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย เพราะตัวเองมีอาการเช่นนั้น ทุกวันนี้ใช้เครื่อง CPAP มาเป็นระยะเวลาได้ 8 ปีแล้วค่ะ ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยมากๆค่ะ🙏
@Golf__kai
@Golf__kai Жыл бұрын
แม่ผมเสียชีวิตแล้วเพราะกระดูกสะโพกหัก เสียใจที่สุดๆของชีวิต😭
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ
@Golf__kai
@Golf__kai Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณครับคุณหมอ
@ssdhacho9141
@ssdhacho9141 2 жыл бұрын
ผมอยากรู้มากครับหมอ หมอดูดกัญชามั้ยครับ หรือว่าเคยดูดมั้ยครับ ผมอยากรู้มากๆถ้าใครอยากรู้เหมือนผมช่วยกดไลค์ให้ไปถึงท็อปคอมเมนท์หน่อยครับ
@wiriwiriya-36
@wiriwiriya-36 2 жыл бұрын
ดูดแล้ว..อาการมันเป็นอย่างไรบ้างคะ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
ไม่ดูดครับ มีแต่คนสูบใกล้ๆก็ได้กลิ่นไปด้วย
@wiriwiriya-36
@wiriwiriya-36 2 жыл бұрын
ไม่ทราบว่าคุณ ss ดูดแล้ว ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตดีขึ้นมั้ยคะ
@yingpatcharawadee297
@yingpatcharawadee297 2 жыл бұрын
เขาคงถามคลีนิกกัญชาพิมพ์ผิดหน้าเขาคล้ายฝรั่งแถบยุโรป
@Chefaey
@Chefaey 2 жыл бұрын
@@yingpatcharawadee297 น่าจะเป็นแบบนั้นอย่างที่คุณว่านะคะ
@kanokpornmartinez9609
@kanokpornmartinez9609 2 жыл бұрын
คนแก่ ล้มบ่อย เป็นห่วงแม่ สามีค่ะ
@sanchaijanpitak2498
@sanchaijanpitak2498 2 жыл бұрын
ย่าของผมเองเสียชีวิตด้วยโรคนี้เลยครับ อายุ 81 ปี ล้มทีเดียว ปวดร้าวขา สะโพกไปหมด สักพักแกหมดแรง นอนหลับไปเองครับ ก็สงสัยเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร จนมาถึงวันนี้ ทราบแล้วครับ
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ
@tricool4242
@tricool4242 2 жыл бұрын
ถูก
@pinitpaibun3284
@pinitpaibun3284 2 жыл бұрын
คุณหมอครับ ไม่ทรายว่าผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า จริงๆแล้วอาการเส้นเลือดหัวใจอักเสบมันไม่ค่อยเป็นเรื่องร้ายแรงเท่าไหร่ แต่ที่จะร้่ายแรงคือผลที่ตามมาคือเกิดหลอดเลือดอุดตัน เกิดลิ่มเลือด แล้วนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อย่างนั้นหรือเปล่าครับ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
น่าจะหมายถึง หลอดเลือดหัวใจอักเสบค่ะอาจารย์ (คุณ Pinit รอคุณหมอนิดนึงนะคะ)
@DrTany
@DrTany 2 жыл бұрын
เส้นเลือดหัวใจอักเสบเกิดได้ยากมากๆครับ เช่น เกิดกรณีโรค MISC, Kawasaki อาจทำให้เกิดการโป่งพองของเส้นเลือด และมีการอุดตันได้ครับ จริงๆมันก็เป็นผลต่อเนื่องกัน คืออันตรายตั้งแต่แรกที่อักเสบแหละครับ
@pinitpaibun3284
@pinitpaibun3284 2 жыл бұрын
ขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้
@ホシノチャイダウ
@ホシノチャイダウ 2 жыл бұрын
น่ากลัวจริงๆ
@ThePlewaraporn
@ThePlewaraporn 2 жыл бұрын
ขอรบกวนสอบถามคุณหมอเรื่องวัคซีน covid 19 ค่ะ ไม่ทราบว่าถ้าฉีดเข็มที่ 1และ2 เป็นซิโนฟาร์ม, และเข็มที่ 3 ฉีดไฟเซอร์ เมื่อ 6 ก.ย. 2021 ถ้าต้องการฉีดเข็มที่ 4 เป็น Moderna จะได้ไหมคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
ขออนุญาตตอบนะคะ ได้ค่ะ ดีมากด้วยค่ะ ไปฉีดได้เลยนะคะ ถ้ากังวลเรื่องอาการข้างเคียง เรื่องมีไข้ ปวดเมื่อย สามารถทานยาลดไข้บรรเทาปวดยี่ห้ออะไรก็ได้ก่อนฉีด 30 นาที และกินต่อเนื่องหลังอาหารด้วยค่ะ จะช่วยได้เยอะค่ะ
@fmfm7404
@fmfm7404 11 ай бұрын
ไม่ทราบคุณหมอยังเข้ามาอ่านอยู่ไหม พอดีแม่ 71 เพิ่ง กระดูก สะโพก หัก เจ็บปวดมากถึงกับต้องฉีดมอร์ฟีน กระดูกสะโพกข้างซ้ายหลุดมาพักนึงแล้วแวะข้างขวาเพิ่งพบว่าหักเมื่อ 2-3 วันก่อน และมีภาวะกระดูกพรุน ร่วมด้วย ฟังคลิปคุณหมอแล้วใจไม่ดีเลยคุณหมอคะกรณีนี้ถ้าผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม จะไหวไหมคะ @DrTany
@DrTany
@DrTany 11 ай бұрын
มันน่าห่วงอยู่ตามที่ผมเล่าไปครับ แต่ถ้าไม่ผ่าก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะจะเดินไม่ได้และมีผลแทรกซ้อนตามมา ถ้าผ่าแล้วก็มีปัญหาเหมือนกัน ดังนั้นผ่าแล้วต้องบังคับกายภาพเลย ไม่งั้นถ้ามีเหตุผลให้กายภาพไม่ได้ เช่น หลังผ่ามีอาการหลอน สับสน หรือปวด หรือไม่อยากกายภาพ อันนั้นเราบอกได้เลยว่าจะมีปัญหามากๆและอาจนำไปสู่ผลแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งอาจถึงชีวิตได้ครับ
@fmfm7404
@fmfm7404 11 ай бұрын
@@DrTany ขอบพระคุณมากค่ะ คุณหมอที่ยังมาตอบให้ ตอนนี้ตัดสินไม่ผ่าค่ะ แม่น่าจะเดินลำบากแล้วค่ัะ ผ่าแล้วก็น่าจะเดินไม่ได้เหมือนเดิมค่ะ ตอนนี้ได้แต่ยาแก้ปวดรักษาตามอาการค่ะ
@phraeraweesriord794
@phraeraweesriord794 2 жыл бұрын
มาแล้วค่ะ
@ณฐพลวุฒิไกรวณิชย์-ฌ2ฌ
@ณฐพลวุฒิไกรวณิชย์-ฌ2ฌ 2 жыл бұрын
อกหักนี่ดามได้ไหมคร้าบอาจารย์คุณหมอแทน
@wiriwiriya-36
@wiriwiriya-36 2 жыл бұрын
อาการคล้ายๆเราเลย....ขออนุญาตเข้าคิว.. ขอรับการรักษาด้วยคนนะคร้าา🤭🤭
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 2 жыл бұрын
มันมีโรคนี้จริงๆนะครับ broken heart syndrome
@user-mp2ln2fw5x
@user-mp2ln2fw5x 2 жыл бұрын
@@wiriwiriya-36 บรรเทาด้วยหนังผีเลยจ้ะ ✌😁
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
🤣🤣🤣🤣🤣
@tuliptulipar673
@tuliptulipar673 2 жыл бұрын
@@wiriwiriya-36 😍😍😍
@wararatpongsuthiyakorn4248
@wararatpongsuthiyakorn4248 2 жыл бұрын
อ่อ..
@waritsaratosiri2337
@waritsaratosiri2337 2 жыл бұрын
ทำอย่างไรที่จะเป็นสมาชิกอาจารย์หมอคะ?
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 жыл бұрын
สมัครที่ปุ่ม "สมัคร" ใต้คลิปเลยค่ะ แนะนำทำให้คอมพิวเตอร์นะคะ ทำตามขั้นตอน ค่าสมาชิกเดือนละ 300 บาทค่ะ
@pannko8888
@pannko8888 2 жыл бұрын
🌹🌹🌹
@sanpdinocat
@sanpdinocat 2 жыл бұрын
🦁
Chain Game Strong ⛓️
00:21
Anwar Jibawi
Рет қаралды 41 МЛН
小丑女COCO的审判。#天使 #小丑 #超人不会飞
00:53
超人不会飞
Рет қаралды 16 МЛН
Chain Game Strong ⛓️
00:21
Anwar Jibawi
Рет қаралды 41 МЛН