สิ่งต่อไปนี้ ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยความจำเสื่อม

  Рет қаралды 45,126

Doctor Tany

Doctor Tany

Күн бұрын

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 269
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
สิ่งต่อไปนี้ ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยความจำเสื่อม สวัสดีครับ สังคมของเราในปัจจุบันนั้นก็มีผู้ป่วยสูงอายุมากพอสมควรเลยนะครับ แล้วปัญหาที่ตามมาก็คือเรื่องของความจำครับ ความจำเสื่อมเป็นปัญหาที่ค่อนข้างที่จะรับมือลำบากเลยทีเดียวนะครับ คนที่ป่วยเองก็มีปัญหาเยอะแยะไปหมดนะครับ เขาอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็แล้วแต่นะครับ แต่ผู้ดูแลก็ประสบปัญหาไม่แพ้กันเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในด้านของความสัมพันธ์การทะเลาะเบาะแว้งนะครับ ความเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความเครียดซึ่งเกิดจากการต้องดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ความเครียดที่เกิดจากการต้องตอบคำถามซ้ำนะครับ หรือต้องคอยดูแลเรื่องของปัญหาต่างนะครับ วันนี้ผมก็เลยอยากจะเอาประสบการณ์ของตัวเองมาเล่าให้ฟังนะครับว่าสิ่งไหนที่ไม่ควรทำบ้าง ในการที่จะรับมือกับผู้ป่วยที่มีความจำเสื่อมนะครับ หรือผู้ป่วยสูงอายุต่างๆที่เรารู้สึกว่าเขาเริ่มมีปัญหาทางด้านความจำนั้น เรามีวิธีในการรับมืออย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้เรามีความเครียดเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
4️⃣ ➡️การที่ท่านไปพยายามแก้ไขทุกๆอย่างของเขาให้ถูกต้องนั้น คือสมองของคนที่เขามีปัญหาทางด้านความจำนั้นเขาจำไม่ได้นะครับ เวลาที่ท่านยิ่งไปพยายามแก้ไขเขาสิ่งที่เขาจะเกิดขึ้นก็คือการปกป้องตัวเองหรือที่ภาษาอังกฤษเราเรียกว่า Defensive นะครับ เพราะว่าในหัวเขาเชื่อแบบนั้นแล้วถ้าท่านไปเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเขามันจะเกิดการทะเลาะกันขึ้นมาเลยนะครับ เขาก็จะบอกว่า “เขายังไม่ได้กิน” ถ้าเขาพูดเรื่องของการกินอาหารอยู่ เขาก็จะเชื่อว่าเขายังไม่ได้กิน แต่ถ้าท่านไปพยายามแก้เขเขายังไงก็ไม่สำเร็จ และสุดท้ายก็ลงเอยด้วยการถกเถียงกัน การเปลืองพลังงานของท่านในการพยายามไปแก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างของเขานะครับ เราเนี่ยไม่จำเป็นจะต้องไปแก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างของเขาให้มันถูกต้องนะครับ ต่อให้เขาเข้าใจผิด พูดผิดอะไรก็แล้วแต่ ปล่อยไปครับ ไม่มีปัญหานะครับ อาจจะมียกเว้นในกรณีที่เป็นความเข้าใจผิดที่มันจะส่งผลเสียเยอะนะครับ พวกนี้ที่เราจำเป็นจะต้องไปแก้ไข แต่โดยทั่วไปเราไม่ต้องแก้ไข แล้วถ้าเป็นไปได้นะครับ เช่นสมมติมีบุคคลทั้งหมด 3 คน คือตัวท่าน ผู้ป่วย และบุคคลที่สามนะครับ สมมติว่าผู้ป่วยไปเจอบุคคลที่สามแล้วก็พูดอะไรที่รู้สึกว่าอาจเจไม่ถูกต้อง เช่นผู้ป่วยบอกว่า “วันก่อนให้เงินเธอไปซื้อรถ ซื้อหรือยัง” ซึ่งจริงๆสมมติว่าเหตุการณ์นั้นมันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนะครับ ผู้ป่วยไม่เคยเอาเงินไปให้บุคคลที่สามเพื่อซื้อรถอะไรอย่างนี้นะครับ ตอนนั้นเราไม่ต้องไปแก้ไขใดๆทั้งสิ้นนะครับ ไม่ต้องไปบอกออกอะไร แต่ว่าวิธีก็คือให้เราดึงบุคคลที่สามออกไปคุยเป็นการส่วนตัวว่า “คนนี้เขาความจำเสื่อมนะ เมื่อกี้จริงๆไม่ได้เกิดขึ้นหรอกนะครับ ไม่ต้องคิดอะไรเยอะนะครับ” สำหรับคนที่ความจำดีเราใช้วิธีพูดแบบมีเหตุผลเขาก็จะเข้าใจ แต่เราจะใช้วิธีพูดแบบมีเหตุผลกับคนที่ความจำเสื่อมมันไม่ได้ครับ ดังนั้นเรื่องพวกนี้ที่เป็นเรื่องใหญ่ๆเราจะต้องมีการชี้แจงให้คนนอกทราบนะครับ แต่ว่าการไปชี้แจงให้คนที่มีความจำเสื่อมทราบ หรือว่าไปพยายามแก้ไขสิ่งที่เขาพูดผิดให้มันถูกไม่ได้หรอกครับ เรื่องนี้จะไม่สำเร็จนะครับ ดังนั้นการแก้ไขอย่าไปทำนะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
5️⃣ 🔷อันที่สอง คือการไปเถียงกับเขานะครับ ไปเถียงกับเขานี่ยังไงก็ไม่จบแน่นอนนะครับ ที่เจอบ่อยๆจริงญาติผมก็เคยเจอแบบนี้เหมือนกันนะครับ ผมคิดว่าท่านอาจจะเคยเจอมาเหมือนกันนะครับ สำหรับท่านที่ต้องดูแลคนที่มีความจำเสื่อม เช่นคนที่มีความจำเสื่อมจะบอกว่า “เธอขโมยตังค์ฉันไป เอาตังค์ฉันไปไหน ขโมยตังค์ไปได้ยังไง” คำถามนี้ผมคิดว่าหลายๆคนคงจะเจอบ่อยเหมือนกันที่บอกว่าลูกหลานขโมยตังค์แล้วกังวลว่าจะขโมยตังค์นะครับ แล้วถ้าท่านเป็นลูกหลานท่านจะทำยังไง ท่านก็จะบอก “ไม่ได้ขโมย ไหนขโมยอะไร มั่วแล้ว” เราก็จะเถียงกันไปเถียงกันมา คือเราไม่ได้เอาตังค์เขาไปเรารู้อยู่แก่ใจว่าเราไม่ได้เอาไป แต่เขามาโบ้ยว่าเราเอาไปได้ยังไงเราก็โกรธ ก็เถียงกันไปเถียงกันมาก็ไม่จบครับ แล้วความสัมพันธ์ก็จะแย่ลง แล้วถามว่ากรณีนี้เรามีวิธีในการรับมือยังไงที่จะทำให้เราไม่เถียงนะครับ?
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
8️⃣ 🔷อันที่สามผมพูดไปคร่าวๆแล้วคือการอย่าไปพยายามสร้างเหตุผลกับเขา พยายามให้เหตุผลกับเขา การหาเหตุผล การคุยด้วยเหตุผล เพราะว่าคนเหล่านี้คือเขามีเหตุผลของเขานะครับ เขาเข้าใจในเหตุผลในมุมมองของเขา แต่เหตุผลที่เขาเข้าใจนั้นมันอาจจะไม่ใช่มุมมองของท่านนะครับ ดังนั้นอย่าไปพยายามคุยกับเขาด้วยเหตุผลนะครับ มันไม่ได้อะไรที่ดีขึ้นมาหรอกครับ ดังนั้นเรื่องของเหตุผลอย่าไปคุยกับเขานะครับ
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
9️⃣ ​🔷สุดท้าย คือเรื่องของการพยายามจะทดสอบเขา เช่นว่า “คนนี้ใครจำได้ไหม หรือว่าวันนี้วันอะไรนะครับ หรืออาจจะบอกว่าเมื่อเช้าเรากินอะไรไปนะครับ กินข้าวอะไรนะครับ” คือมันเหมือนกับการที่เราไปถามคำถามซึ่งเขาไม่รู้นะครับ ไม่รู้แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น? ➡️เหมือนกับถ้าอาจารย์มาถามคำถามอะไรที่คุณไม่รู้น่ะครับ วันดีคืนดีอารย์เดินมาแล้วบอกว่า “คุณ อธิบายเรื่องนี้ซิ” แล้วถ้าเกิดว่าเป็นสิ่งที่ท่านไม่รู้ ท่านจะเกิดอะไรขึ้น? 🔺ข้อแรก ไม่รู้ก็มั่วไปเลยดีกว่า นะครับ มั่วอะไรสักอย่างออกไป พอมั่วออกไปแล้วมันผิดเกิดอะไรขึ้น? ท่านก็จะเข้าวนลูปเหมือนเดิมก็คือ พยายามที่จะแก้ไขเขาไงครับ แก้ไขให้ถูกต้องแล้วเมื่อกี้ผมบอกว่าการแก้ไขมันก็ยิ่งไม่เกิดอะไรขึ้น ยิ่งทำให้ท่านเปลืองพลังงานเข้าไปมากกว่าเดิมอีก ดังนั้นเรื่องนี้อย่างตกหลุม ต้องอย่าไปพยายามทดสอบนะครับ หรือบางครั้งถ้าเราไม่รู้นะครับ เขาก็อาจจะรู้สึกว่าเสียเซลฟ์ เขินอาย ไม่กล้าตอบ พอไม่กล้าตอบมันก็จะเป็นบรรยากาศที่ เงียบระหว่างท่านกับเขา ก็เป็นบรรยากาศที่ไม่ดีนะครับ ดังนั้นแบบนี้ก็ไม่ควร หรือบางอย่างเขาตอบมาแล้วเขามั่นใจว่าเขาถูกนะครับ ซึ่งจริงๆมันอาจจะผิดก็ได้ พอมันผิดแล้วเขาเข้าใจว่าถูก ท่านจะเกิดอะไรขึ้นครับ? ท่านก็จะเถียงกับเขา เถียงในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ดังนั้นสิ่งที่เราพยายามไปทดสอบ ไปถามคำถามเขา อย่าทำนะครับ ถามว่าเราควรจะทำอย่างไรนะครับ ?
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
1️⃣1️⃣ ดังนั้นเรามาเล่ากันใหม่นะครับว่าสี่อย่างที่ผมแนะนำว่าท่านพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเวลาที่ท่านจะต้องเจอกับคนไข้ที่มีความจำเสื่อมคืออะไรบ้าง? ✳️ข้อแรก อย่าไปพยายามแก้ไขทุกๆอย่างของเขานะครับ ถ้าเขาพูดอะไรผิด แล้วมันไม่ได้เป็นอะไรที่เดือดร้อนอะไรมากมาย ไม่ต้องไปแก้ให้เขาครับ มันจะเปลืองพลังงานท่านเปล่าๆ แล้วก็ทำให้ท่านกับเขาเถียงกันด้วยซ้ำไปนะครับ แต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญ ท่านอาจจะไปแก้กับบุคคลที่สาม แต่อย่าพูดต่อหน้าคนไข้เพราะคนไข้อาจจะไม่พอใจได้ ✳️อันที่สอง อย่าเถียง เถียงไปไม่ได้อะไรขึ้นมานะครับ นอกจากเปลืองพลังงานนะครับ แล้วเวลาที่เจออะไรที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ความเป็นจริงที่มันเป็นแล้วท่านควรจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้มีการเถียงเกิดขึ้น?
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
คุณหมอบอก 4 ข้อที่ไม่ควรทำ แต่เราจดได้เพียบเลยค่ะ ✍️😊 🎯ห้ามไปทดสอบ 💭ห้ามไปถามคำถาม ว่าจำได้ไหม 🗣️อย่าไปแก้ไขถ้าเขาพูดผิด 🥁อย่าไปเอาชนะเขา ⚓️อย่าไปพยายามใช้เหตุผลกับเขา 🤚อย่าไปถือสา ✂️ห้ามเถียง 💦เล่นละครไปตามน้ำ 🎢เปลี่ยนเรื่องไปเลย 🥨เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้ค่ะ
@sinewan8144
@sinewan8144 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ฟังที่อาจารย์อธิบายก็เข้าใจได้ ขณะนี้ ดิฉันดูแลแม่ อายุ 86 ปี ท่านความจำเสื่อม ขณะนี้แม่มีการรับรู้ได้ประมาณเด็กอนุบาล 1 เท่านั้น สิ่งที่ดิฉันต้องทำคือ ตั้งสติ ให้มั่นคง ไม่คาดหวัง ไม่กังวล แค่ดูแลท่านให้มีความสุขโดย กำหนดเวลาในการทำภารกิจทุกอย่าง เป็น สเต็ป เริ่มวันใหม่ 1. เวลา ตี 4 เรียกท่านปัสสาวะ เสร็จแล้วให้นอนต่อ 2.เวลา 6 โมงเช้า เรียกท่านตื่นเข้าห้องน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ในทุกขั้นตอน ต้องอธิบายว่าทำยังอย่างไร เช่น นั่งส้วมยังไง แปรงฟันทำอย่างไร ล้างหน้าทำอย่างไร เช็ดหน้าทำอย่างไร (ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง) เสร็จแล้วให้ดื่มน้ำสะอาดครึ่งแก้ว 3.เวลา 6.30 น.พาไปนั่งเล่นรับลม รับแดดอ่อน หน้าบ้าน จากนั้นนวดขา นวดหังเข่าเบาๆ นวดเสร็จให้ดื่มนมถั่วเหลืองสูตรเจ ขณะทำกิจกรรมต่างๆเปิดเพลงที่ท่านชอบเบาๆ ถ้าเป็นวันพระก็เปิดธรรมบรรยาย คิริมานนทสูตร(เสียงบรรยายไพเราะน่าฟัง) ขณะฟังท่านก็จะพนมมือไหว้ จนจบ 4.เวลา 7.30 น.พาไปเดินเล่นหน้าบ้าน ดูนก ดูแมว ดูชาวบ้านเดินผ่านไปมา ทักทายกัน ยิ้มแย้มแจ๋มใส (ที่บ้านปลูกดอกไม้หอมๆไว้เยอะมาก มีแมว 16 ตัว (ให้อยู่นอกบ้าน) บ้านติดถนน 5.เวลา 08.00 น.พาเข้าบ้าน เปิดทีวี ลิเก หมอลำ เพลงมิวสิควิดีโอ ฟ้อนรำสวยๆ เลือกที่ดนตรีไพเราะ ฟังสบายๆให้ดู 6.เวลา 08.30 น.พาไปเข้าห้องน้ำแล้วรับประทานอาหารเช้า ข้าวกล้องครึ่งทัพพี กับข้าวสลับไป เช่น ไก่ ปลา ไข่วันละ 1 ฟอง(แบ่งเวลาละครึ่งฟอง) กินกล้วยน้ำว้าสุก 3 เวลา (วันละ 3 ลูก ) วิตามินรวมอีก 1 เม็ด เวลาเช้า (วิตามินนำเข้าจากออสเตรเลีย) 7.เวลา 09.00 น.เปิดชีรี่ ไทย จีน อินเดีย เลือกเรื่องที่สวยงาม สนุกสนาน เฮฮา ให้ดู 8.เวลา 10.00 น.ไปถามว่าต้อวการเข้าห้องน้ำไหม ถ้าต้องการก็พาไปเสร็จแล้วให้ดื่มน้ำสะอาดครึ่งแก้ว ถ้าตอบว่าไม่ก็ให้ดื่มน้ำเลย จากนั้นให้นอนพักผ่อน 9.เวลา 11.30 น.ปลุกท่าน ไปเข้าห้องน้ำ ล้างหน้า พากลับมานั่งพักสบายๆ ถามว่าอยากดูทีวีไหม ถ้าอยากดูก็เปิดละครตลกๆให้ดู 10.เวลา 12.30 น.รับประทานอาหารเที่ยง ทานเสร็จพาไปเข้าห้องน้ำ จากนั้นพาไปนั่งเล่นพักผ่อน 11.เวลา 13.30 น.ให้นอนพักตอนบ่าย 12.เวลา 15.00 น.ปลุกเข้าห้องน้ำ อาบน้ำให้สบายตัว แล้วนั่งพักผ่อน 13.เวลา 16.00 น.เปิดละคร ทึ่สนุกสนาน ภาพสวยๆ ให้ดู 14.เวลา 17.00 น.พาไปเข้าห้องน้ำ เสร็จแล้วทานอาหารเย็น เสร็จแล้วให้นั่งพักผ่อนตามสบาย ถ้าอยากดูละครก็เปิดให้เหมือนเดิม 15.เวลา 18.30 น.พาเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน 16.เวลา 19.00 น. เข้าห้องนอน 17. เวลา 21.30 น. ปลุกท่านปัสสาวะ (ใช้สวมคนชรา)จากนั้นนอนยาวถึงตี 4 แล้วก็เริ่มวนลูปใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้มาตลอด และในระหว่างวัน ทุกๆ ประมาณ 30 นาที ไม่ว่าทำอะไรอยู่ต้องวางไว้ แล้วเดินไปชวนท่านพูดคุย เน้นสนุกๆ เช่น คุยเรื่องเพลงที่ฟัง บางครั้งถ้าเพลงสนุกเราก็เต้นให้ท่านดูสั้นๆให้ท่านหัวเราะ บางทีก็คุยเรื่องละคร ตัวตลกๆ ให้ท่านหัวเราะ การคุยกับท่านอย่างหวังเอาความจริง ท่านไม่เข้าใจ ท่านจะพูดอะไรก็เออออไป เรียกว่าเอาที่ท่านสบายใจก็พอ ดิฉันก็ดูแลท่านแบบนี้มานานแล้ว ปีนี้ท่านเริ่มมีอาการหลงลืมมากขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งท่านก็ดื้อมาก เราก็ได้แต่เอาใจ พูดจาให้ไพเราะ จ๊ะจ๋า คะขา ตลอดเวลา พูดเสียงแบบดุๆไม่ได้เลยค่ะ เป็นโกรธมาก ถ้าโกรธ ก็ปล่อยไว้แป๊บหนึ่ง สักครู่เราก็ไปง้อ พูดหวาน ๆ อย่างนี้ อย่างนั้น ท่านก็หายโกรธ สำคัญที่สุดคือควบคุมตัวเอง ไอ้เรื่องกินแล้วบอกไม่ได้กินนี่เป็นประจำ ก็ดูแลอยู่แบบนี้ทุกวัน ดูแลคนเดียวไม่มีใครช่วยเลย เวลาเหนื่อยก็ควบคุมจิตตัวเองให้มั่นคง ทำได้เท่านั้นจริงๆ แต่โชคดีที่แม่ค่อนข้างอารมณ์ดีทุกวัน ไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ตามขั้นตอนที่ทำมาก็ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด ทุกๆวันนี้แม่มีความสุขดี ชอบใส่เสื้อผ้าสีสวยๆสดใส มักจะหัวเราะง่าย จากการดูแลที่เล่ามาทั้งหมด ถ้ามีอะไรผิดพลาด อาจารย์หมอช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณบ่วงหน้าค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ดีมากเลยครับที่ทำได้แบบนั้น
@user-hs6yz8hb4o
@user-hs6yz8hb4o 4 ай бұрын
ขอบคุณ​ค่ะ
@Oncelna1ifetime
@Oncelna1ifetime Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับ ผมขอเสริมจากประสบการณ์ คือ เราต้องคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เขานะครับ เช่น - อย่าบังคับในสิ่งที่เขาไม่ต้องการ - อย่าไปดุด่าว่ากล่าว - อย่าไปลงไม้ลงมือ - อย่าไปสั่งการ เจ้ากี้เจ้าการ (ปล่อยให้เขาพยายามทำตามความมั่นใจตัวเอง) - ลูกหลานหลายคนน่าจะเคยมีประสบการณ์ พ่ออย่ากินอย่างนั้น แม่อย่ากินอย่างนี้ ของผมเจอคือบางทีท่านจะไม่หยิบช้อนนะ แต่จะเผลอเอามือหยิบข้าว เราก็ต้องค่อย ๆ จับมือท่านไปจับช้อน แต่อย่าไปขึ้่นเสียงไปดุว่าท่านทำผิดนะ ก็จะสมูธผ่านไปได้
@krittayachia.2454
@krittayachia.2454 Жыл бұрын
❤❤❤❤🙏🙏🙏🙏👍👍👍
@LieluWan
@LieluWan Жыл бұрын
กำลังดูแลคนป่วยที่กำลังย่างเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม เครียดมากเพราะไม่เข้าใจเขา ได้ข้อมูลนี้มา สุดยอดค่ะ ช่วยคลายปมที่ไม่เข้าใจคนป่วย ขอบพระคุณค่ะ🙏🌹🌺
@Spt_N_25
@Spt_N_25 Жыл бұрын
สิ่งต่อไปนี้ ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยความจำเสื่อม📙📗📘📓 📙สรุป : 4 อย่างที่ท่านพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเวลาที่ท่านจะต้องเจอกับคนไข้ที่มีความจำเสื่อมคืออะไรบ้าง 🧊ข้อแรก อย่าไปพยายามแก้ไขทุกอย่างของเขาถ้าเขาพูดอะไรผิดแล้วมันไม่ได้เป็นอะไรที่เดือดร้อนอะไรมากมายไม่ต้องไปแก้เขามันจะเปลืองพลังงานเปล่า แต่ถ้ามันเป็นเรื่องสำคัญท่านอาจจะไปแก้กับบุคคลที่ 3 อาจจะไปบอกหมอบอกอะไรก็ได้เช่นคนไข้ความจำเสื่อมไปบอกหมอคนไข้ อาจจะพูดผิด ไม่ต้องแก้ต่อหน้าหมอคนไข้อาจจะรู้สึกไม่พอใจได้พอออกไปจากห้องท่านค่อยกลับไปแก้ไขได้ตรงนี้ถึงสำคัญ 🧊ข้อสอง อย่าเถียง เถียงไปไม่ได้อะไรขึ้นมานอกจากเปลืองพลังงานแล้วเวลาที่เจออะไรที่มันไม่ตรงกับสิ่งที่ความเป็นจริงที่มันจะเป็นแล้วท่านควรจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการเถียงขึ้น ~ เราต้องยอมรับพยายามเป็นเพื่อนพยายามคิดเหมือนกับเขากับผู้ป่วยก่อนยอมรับในสิ่งที่คนผู้คนป่วยกังวล ~ จากนั้นตอบกลับด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบไม่ใช่ใช้เสียงดังตอบสั้นที่สุดอย่ายาวยิ่งยาวก็ยิ่งไม่ฟัง ~ เปลี่ยนเรื่องอย่าไปชนกับเขาพยายามเปลี่ยนเรื่องไปอย่างอื่นการทำแบบนี้จะเป็นสิ่งที่ดี 🧊ข้อสาม อย่าพยายามใช้เหตุผลกับเขาเพราะมันไม่ได้ผล 🧊ข้อสี่ ก็คืออย่าไปพยายามทดสอบถามเขาในเรื่องต่างๆสี่อย่างเนี้ยเห็นคนทำผิดเป็นประจำรวมทั้งผมเองด้วยนะครับผมก็ยังพลาดบางครั้งทำให้เรื่องนี้ผิดอยู่ดีมันก็จะยิ่งทำให้เรารู้สึกเถียงกับเขา ❄️เราก็ต้องเตือนตัวเองตลอดเวลาถ้าเราต้องดูแลคนไข้ที่มีความจำเสื่อมแล้วเราคุยกับเขาเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าหัวร้อนเรารู้สึกรำคาญเรารู้สึกว่ามันไม่จบสักทีทำไมเราจะต้องมาทำอย่างงั้นอย่างงี้นั่นแหละเวลานั้นท่านกำลังทำพลาด หนึ่ง ใน สี่ ข้อนี้อยู่เป็นแน่แท้ท่านจะต้องเตือนตัวเองว่า ไม่ได้เขามีปัญหาทางด้านสมองสิ่งที่เขาพูดออกมาเนี่ยมันเป็นผลจากสมองเขาเราต้องอยากไปถือสาเขาเราไม่ต้องไปแข่งกับเขาเราไม่ต้องไปให้เหตุผลอะไรเขาเราเข้าใจตรงนี้แล้วเราก็เปลี่ยนเรื่องมันจะรักษาสัมพันธภาพของเรากับเขาให้ดีที่สุดแล้วก็จะอยู่ด้วยกันอย่างไม่เครียด ความเครียดของผู้ดูแลนั้นเป็นสิ่งที่เยอะมากเราจะต้องอย่าให้เกิดความเครียดนั้นโดยการที่เราต้องเลี่ยง 4 ข้อ ☃️ มีประโยชน์มากเลยค่ะ อันนี้เจอเองเลยค่ะ มีรุ่นพี่พ่อป่วยเราไปบ้านเขา พี่เขาถามพ่อเลยว่าจำเราได้ไหมชื่ออะไร เราก็สวัสดี ถามเลยค่ะพ่อกินข้าว ยัง กินอะไร อร่อยไหมค่ะ พ่อตอบยังไม่กิน พี่สวนทันทีกินแล้วเพิ่งกินเอง เป็นชุดเลย รู้สึกผิดเลยค่ะ แชร์ให้พี่แล้วค่ะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ดูแลผู้ป่วยเอาคำแนะนำคุณหมอไปใช้จะได้ช่วยดูแลได้ถูกวิธีค่ะ ขอบคุณมากค่ะ🐰🐰
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะสำหรับการสรุป และยกตัวอย่าง
@Spt_N_25
@Spt_N_25 Жыл бұрын
@@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย ขอบคุณค่ะ 🤗
@chalis2499
@chalis2499 Жыл бұрын
ถอดความมาได้เป๊ะมากค่ะ
@peaceofmine6519
@peaceofmine6519 Жыл бұрын
ที่คุณหมอห้าม ทำทุกข้อเลยค่ะ 😢 ผู้ป่วยความจำเสื่อมมีพฤติกรรมคล้ายๆกันจริงๆนะคะ อย่างเรื่องสงสัยคนดูแลว่าขโมยเงิน แม่เคยบอกว่าน้าที่ดูแลขโมยเงินแกไปซื้อล็อตเตอรี่หลายใบมาไว้ในกระเป๋าตังค์แก 😅 ก็พยายามอธิบายด้วยเหตุด้วยผล แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์จริงๆค่ะ ตอนนี้จะวางใจว่า แม่เราก็ไม่ได้มีพฤติกรรมผิดเพี้ยนจากผู้ป่วยความจำเสื่อมท่านอื่นๆ เป็นกำลังใจให้คนดูแลทุกคนนะคะ ❤
@tanavutveratar857
@tanavutveratar857 Жыл бұрын
คลิปนี้ โคตรมีประโยชน์ครับ จากผม คนที่เคยดูแลคนป่วยอัลไซเมอร์
@timothy-xd8hk
@timothy-xd8hk Жыл бұрын
คนอายุเยอะๆพอหลังเกษียณแล้วใช้เหตุผลน้อยลงมากครับ ต้องไม่ใช้เหตุผล เว้นแต่บางคนเท่านั้น
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากๆคะที่วันนี้มาให้ความรู้เรื่องสิ่งต่อไปนี้ ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยความจำเสื่อม ได้ความรู้ดีดีมีประโยชน์มากคะ ตอนที่พ่อป่วยหนักก็เป็นคะจะพูดว่ายังไม่ได้กินข้าวตลอดคะ.😊 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷❤️🌹
@mynott99
@mynott99 Жыл бұрын
เป็นประโยชน์มากๆครับ ผมจะเอาไปปรับใช้ พร้อมทั้ง​ปรับทัศนคติของตัวเองด้วย ขอบคุณ​ คุณ​หมอสำหรับความรู้ดีๆด้วยครับ
@AL86898
@AL86898 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากค่ะมีประโยชน์กับคนที่ต้องดูแลญาติที่มีความจำเสื่อมและเริ่มจะเสื่อม ต้องเข้าใจยอมรับว่าสมองเค้าไม่ปกติ ไม่เข้าใจเหตุผลเหมือนอย่างเราๆ จึงไม่ต้องอธิบายชี้แจงเหตุผล เค้าพูดผิด ทำผิดไม่ต้องไปแก้ไข ถ้าไม่ใช่เรื่องสำคัญให้ปล่อยไป เพื่อรักษาความสัมพันธ์ความเชื่อใจต่อกัน ต้องรับฟังในสิ่งที่เค้าพูดและคล้อยตามเออออไป แม้จะผิดเพราะถ้าไปเถียงเอาชนะกันทำให้เสียความรู้สึกทั้งสองฝ่าย ให้ใช้วิธียอมรับ พูดตอบสนองสั้นๆสงบ เปลี่ยนเรื่องพูด ไปพูดเรื่องอื่นๆแทน คนที่ดูแลจะไม่เครียด คนป่วยมีความสุขทำตามที่คุณหมอแนะนำและมาแชร์ประสบการณ์ ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ👍❤️⚘️
@Jum.A1
@Jum.A1 Жыл бұрын
เป็นเคสที่เกิดขึ้นกับเพื่อนสนิทเลยค่ะ คุณแม่เพื่อนมีภาวะความจำเสื่อม เวลามีคนมาเยี่ยมหรือแวะมาคุยที่บ้าน คนไทยเชื้อสายจีนรุ่นคุณปู่คุณย่าชอบติดปากเริ่มบทสนทนาด้วยคำว่า “กินข้าวหรือยัง?” ทุกครั้งคุณแม่จะบอกทุกคนว่ายังไม่ได้กินเลย “พวกนี้ (ลูก ๆ) มันไม่ให้กินข้าว” ทั้ง ๆ ที่ความจริงเพิ่งกินข้าวเสร็จไปครึ่งชั่วโมงก่อนนี้เอง เพื่อนโกรธมาก โทรมาระบายบ่นเรื่องนี้ตลอด ๆ ก็เลยสอนเพื่อนไปอย่างที่คุณหมอแนะนำเลยว่าต้องคิดไว้เสมอว่าเค้า “ป่วย” เราแค่ต้องมีสติ บอกญาติ ๆ และทุกคนเรื่องนี้ว่าหากมีบทสนทนานี้ก็รีบให้เบี่ยงเบนไปชวนคุยเรื่องอื่นและอย่าโกรธและเก็บมาเป็นอารมณ์ เพราะคนที่ป่วยคือคนในครอบครัวที่เรารัก อย่าเสียเวลาอันมีค่าที่จะได้สร้างประสบการณ์ดี ๆ ด้วยกันไปกับการโกรธเลยค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
👍👍👍😘😘น้องจุ๋มทำได้ดีมากค่ะ ต้องไม่ลืมว่า เขามีภาวะความจำเสื่อมค่ะ...
@Jum.A1
@Jum.A1 Жыл бұрын
@@FragranzaTrippa และสำคัญที่สุดคือเค้าคือคนสำคัญในครอบครัวที่เรารักค่ะพี่ทริป 😊
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง Жыл бұрын
จุ๋มเก่งจุง
@Jum.A1
@Jum.A1 Жыл бұрын
@@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง พวกเราเป็นลูกศิษย์พระ’จารย์ไงจิม 😉
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง Жыл бұрын
@@Jum.A1 ออยยยยยพระจารย์อีกแระ ไปดีก่าร้อนนนนมาก🥵🥵🥵
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน ยอดผู้ติดตาม 4.19 แล้วค่ะ ยอดวิวรวม 45,840,008 ครั้ง ใกล้ 50 ล้านแล้วค่ะ ดีใจจังค่ะ ขอให้ได้ ล้านซับไวๆนะคะ 🌻🧡🌻
@user-vi3lv5qk9t
@user-vi3lv5qk9t Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน 5เม.ษ2023หัวข้อเรื่อง สิ่งต่อไปนี้ ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยความจำเสื่อม ป้าเคยผ่านช่วงเวลานี้ไปแล้ว ขอเป็นกำลังใจให้ครอบครัวที่กำลังมีปัญหานี้ด่วยนะค่ะ สู้ๆๆค่ะ และขอขอบคุณๆหมอแทนมากเลยนะค่ะกับข้อมูลในเรื่องความจำเสื่อม ✌️✌️✌️นะค่ะคุณหมอ สุขภาพดีมีสุขนะค่ะและน้องโรชี่ด้วยค่ะ🙏🏼❤️❤️❤️🥰ค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ... วันนี้เรื่อง... สิ่งต่อไปนี้ ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยความจำเสื่อม เป็นประสบการณ์ตรงของอาจารย์หมอเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมค่ะ 💥สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ 1. พยายามหลีกเลี่ยงการแก้ไขในสิ่งที่ผู้ป่วยทำ หรือ สิ่งที่ผู้ป่วยพูด พูดผิดปล่อยไป ยกเว้นเรื่องที่อาจจะส่งผลเสียร้ายแรง 2. หลีกเลี่ยงการถกเถียงกับผู้ป่วยความจำเสื่อม ถึงแม้ว่า เขาอาจกล่าวหาอะไรเราก็ตาม ต้องใจเย็น และขอให้แก้ไขสถานการณ์ ดังต่อไปนี้... - ยอมรับ รับรู้ รับทราบในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด - พูดตอบโต้ให้น้อยที่สุด ไม่ขึ้นเสียง - เปลี่ยนเรื่องพูด หันเหเรื่องไปเป็นเรื่องอื่น 3. หลีกเลี่ยงการสื่อสารด้วยเหตุด้วยผล แต่ให้รับฟัง หรือ เออออไปกับเรื่องที่ผู้ป่วยพูด 4. หลีกเลี่ยงการทดสอบ หรือ ถามคำถามกับผู้ป่วย ควรให้คำตอบไปเลย เช่น หากมีคนมาเยี่ยม ให้แนะนำชื่อไปเลยว่าเป็นใคร ไม่ควรถามผู้ป่วยว่า คนที่มาเป็นใคร 💥ผู้ป่วยความจำเสื่อม ย่อมจะไม่ปกติเหมือนคนทั่วไป... ดังนั้น ไม่ควรคาดหวังอะไรมาก แต่เป้าหมายการดูแล และการพูดคุยก็เพื่อความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแลค่ะ
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@ FragranzaTrippa ขอบคุณมากนะคะคุณทริป เป็นสรุปที่อ่านเข้าใจมากๅค่ะ ⚘💙⚘ @ Doctor Tany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน ทำงานหนัก พักผ่อนมากๆนะคะ 🌻🧡🌻
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะน้องทริป สำหรับการสรุป
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@boomsong5729 ยินดีค่ะคุณมนต์... ขอบคุณเช่นกันค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
@@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย...
@user-fs9jf6lg6d
@user-fs9jf6lg6d Жыл бұрын
ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ ข้อมูลของคุณหมอมาในเวลาที่ใช่ทุกครั้งเลยค่ะ..🙇😉
@varataworn9043
@varataworn9043 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ คุณแม่อายุ74 ที่บ้านกำลังเป็นนิดๆแล้วค่ะ
@jeksonps_vi1812
@jeksonps_vi1812 Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากครับ..กำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่เลย ทำหลายอย่างที่ผิดพลาดคล้ายใน 4 ข้อกับคุณแม่ 93ปี ที่เริ่มมีอัลไซเมอร์อย่างคุณหมอว่าเลยครับ บางอย่างที่เคยลองเลี่ยงใน 4 ข้อ ได้ผลครับ จะลองไปใช้ให้ครอบคลุมทั้ง 4 จะได้ไม่เกิดปัญหา
@patkopatko6227
@patkopatko6227 Жыл бұрын
ขอบพระคุณมากค่ะ​ ที่ อ.หมอ​ ให้ความรู้ทั้งสุขภาพ​ &​ ความรู้ทั่วไปเสมอ พัชก็มีคุณยาย​ก็เป็นความจำเสื่อมค่ะ​ แต่ตอนนี้ท่านได้จากพวกเราไปนิพพานแล้วค่ะ (หลังจากท่านจากไปเกือบปี​ ท่านมา​ บอกพัชค่ะว่าไม่ต้องห่วงท่าน​แล้ว​ ท่านเข้านิพพานแล้ว มีความสุขครบถ้วนตลอดกาลแล้ว​ พัชก็หมดห่วงแล้วค่ะ​)​ ตอนสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านมักจะบ่นว่าใครขโมยเงินไป​ เงินหายไปแล้ว​ ประจำค่ะ พัชก็เปิดตู้เซฟของท่านออกมา​กางสมุดบช.ให้ดูว่า​ มีบันทึกไว้เท่าไร​ แล้วนับให้ดูว่าเงินอยู่ครบตามสมุดบช.นะคะ​ พอท่านดูแล้วว่าครบ​ ก็จบค่ะ​ นอนหลับสบาย​ ถ้าไม่นับให้ดูจะบ่นตลอดไม่ยอมนอน​ค่ะ​ คนดูแลก็พลอย​ต้องอดนอนไปด้วย พัชจึงต้องนับพิสูจนฺ์ให้ท่านดูว่่าเงินไม่หาย​ อยู่ครบจริง​ ท่านจึงนอนหลับอย่างสบายใจค่ะ ต้องนับให้ท่านดูประจำ​ จึงจบค่ะ ตอนแรกก็คิดว่า​เป็นแต่คุณยายของพัชเท่านั้นที่บ่นเงินทองหาย​ เรื่อย​ ๆ พอมาฟัง​ อ.หมอ​พูดเรื่องนี้​ &​ อ่านจาก​ comment​s​ ของหลายคนก็เหมือนคุณยายของพัช​ บ่นเงินทองหายเหมือนกัน​ 555 = คุณยายของพัช​ไม่ผิดปกติ​ แต่พัชก็คอยสอนให้ท่านทำสมาธิ​ ตามลมหายใจเข้าออกทุกวัน​ นึกถึงพระพุทธรูปที่พัชอัญเชิญบูชาบนโต็ะข้างเตียงของท่าน เปิดเสียงธรรมให้ท่านฟังทุกวัน แล้วขอเงินคุณยายมาทำบุญตามศรัทธาของท่าน​บ่อย​ ๆ​ ท่านชอบทำบุญค่ะ​ จดบช.​ทุกครั้ง​ นับเงินให้ดูทุกครั้ง​ ท่านก็สบายใจค่ะ บอกว่า​ถ้ายายทำแบบนี้​ ยายจะมีความสุขมาก ทั้งชาตินี้​ &​ ชาติหน้า ท่านก็ทำตาม​ ปรากฎว่า​ ท่านก็สงบลงได้บ้าง​ แต่นึกถึงเงินอีกก็บ่นอีก​ พัชก็ทำแบบเดิม​ท่านก็สบายใจ​ หลับได้ หลายเดือนก่อนท่านจะจากไป ท่านปล่อยวางเรื่องเงินทองของท่านได้มาก​ ไม่บ่นเงินทองหาย แต่บ่นว่าเบื่อร่างกาย​ อยากไปเร็ว​ ๆ​ ท่านชอบมองดวงไฟบนเพดานจนเข้าฌาน​ 4​ ได้​ วันสุดท้ายท่านก็จากไปตอนนอนหลับอย่างสงบ​ ไม่เจ็บป่วยใด​ ๆ​ เลยค่ะ ตอนนี้พัชหมดห่วงคุณยายแล้วค่ะ​ ท่านเข้านิพพานแล้ว​ค่ะ เคยเห็นท่านบ่อย​ ๆ​ ตอนทำ​ กฐ.​ไปเที่ยวนิพพาน Thanks​ so​ much. Take​ good​ care​ of​ yourself. May​ you​ be​ very​ happy​ all​ the​ time. GOOD​ LUCK. 🏡🏖️🏋️‍♂️🎶🎁💎🍎🥪🍇
@dewdropmindfullness6092
@dewdropmindfullness6092 9 күн бұрын
ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ คุณหมอแทน
@vsaran8066
@vsaran8066 Жыл бұрын
สุดยอดเลยครับบ จะได้ไม่ต้องคิดมาก เวลาดูแลคนในครอบครัวครับ
@angelaacharknk3869
@angelaacharknk3869 Жыл бұрын
เป็นวิทยาทานอันสูงส่ง​ แก่ข้าพเจ้าอย่างยิ่งค่ะ🙏🙏🙏กราบขอบพระคุณ​ คุณหมอค่าา
@sonyaselfimprovement
@sonyaselfimprovement Жыл бұрын
ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ คุณหมอ ตอนนี้ก็ดูแลคุณพ่อ 85, คุณแม่ 76 แม่เป็นเส้นเลือดสมองตีบด้วยค่ะ เวลาคุย..จริงๆคือคุยยากนะคะ แต่จะเตือนสติตัวเองตลอดๆว่า เค้าไม่สบายนะ สมองคิดไม่เหมือนเดิมแล้ว และก็ปล่อยวางใจไปด้วยค่ะ ไม่งั้นก็คือเราจะเครียดไปด้วยนะคะ😆😄
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 Жыл бұрын
การดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ใช้หลักในการดูแล คือ อย่าพยายามแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ถูก อย่าเถียงว่าไม่ใช่... เปลี่ยนเรื่องที่คุยไปเลย อย่าใช้เหตุผล อย่าพยายามทดสอบกับผู้ป่วยว่าจำได้มั้ย..#คุณแม่ไม่เป็นความจำเสื่อม แต่บางครั้งเค้าก็จำสิ่งผิด ๆ มาพูด อธิบายยังไงก็ไม่เชื่อไม่ฟัง แต่เราก็พยายามอธิบาย กระทั่งเหนื่อยและเริ่มเครียด ก็จะปล่อยให้เค้าเชื่อแบบนั้น😊 #คำแนะนำของอาจารย์หมอก็สามารถนำไปปรับ ใช้กับผู้ป่วยสูงอายุได้นะคะ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
คลิปวันนี้"คำพูดที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยความจำเสื่อม" วันนี้ที่อจ.หมอมาอธิบายเป็นเหตุการณ์ที่ตรงกับที่บ้านทุกเรื่องเลยค่ะ อาการของผู้สูงอายุเหมือนจะเริ่มๆๆค่ะแต่ช่วงนี้ดีค่ะ ไม่ค่อยหลงค่ะ ขอบคุณอจ.หมอมากนะคะ☺️ ขอแชร์คลิปของอจ. หมอนะคะ เป็นการอธิบาย ให้พี่ๆเข้าใจง่ายค่ะ🙏
@TheSuperkids4
@TheSuperkids4 Жыл бұрын
เจอกับตัวเลยค่ะ พ่อสามีเป็นความจำเสื่อม เห็นเราถืออะไรออกจากบ้านก็ว่าเราขโมย จำคำเรียกสิ่งต่างๆไม่ได้ จำชื่อลูกไม่ได้ คลิปนี้มีประโยชน์สุดๆเลยค่ะ เป็นความรู้ที่คนจำนวนมากต้องได้ใช้แน่นอน
@chaloeypornchansin9892
@chaloeypornchansin9892 Жыл бұрын
สวัสดี​ค่ะ​ อาจารย์​หมอ​ คนข้างๆเริ่มเป็นหน่อยๆแล้วค่ะ​ ขอบคุณ​มาก​ค่ะ​อาจารย์​หมอ​
@shirayukirin4140
@shirayukirin4140 Жыл бұрын
ตรงจุดหลายข้อเลยครับ จากที่เห็นมาจากญาติที่มีภาวะนี้
@suriyawong75
@suriyawong75 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
ถ้ามีคนไข้คุณหมอบอกว่า คุณหมอเป็นลูกเค้า และขอให้กลับบ้านไปด้วยกัน ไม่งั้นไม่ยอม คุณหมอเคยเจอแบบนี้ไหมคะ และถ้าเจอจะทำยังไงดีคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ก็บอกว่าที่บ้านอาหารหมดแล้วเดี๋ยวผมต้องไปซื้ออาหารเข้าบ้าน ให้คนไข้กลับไปก่อนเดี๋ยวรีบตามไปครับ
@wonsilapattawee8134
@wonsilapattawee8134 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ พูดถึงความจำเสื่อม ทำให้นึกถึงยาย กับย่า เป็นความจำเสื่อมทั้งคู่
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับ ความรู้ เรื่อง เทคนิค การดูแล ผู้ป่วย ความจำเสื่อมค่ะ โห ! วันนี้ Topic นี้ น่าจะขึ้น เทรนเหตุการณ์ โลก แน่ๆ เลยค่ะ วันนี้ มีผู้ป่วยถามว่า กระเป๋าเงิน ที่ใส่ ไว้ ใน locker 🗄️ หาย ดี ที่ไม่ได้ตื่นเต้น หรือตกใจ ไปด้วยค่ะ เพราะ จำได้ ว่า กุญแจ 🔑 ที่ลุง ลืมไว้ ที่เตียงรักษา คนละเลข อยู่ ใกล้ๆ นิดนึงค่ะ 😆😁😆😁 ถ้าหายจริง หรือจำผิด แล้ว ตัวเอง ไม่รู้เรื่องด้วยนี่แย่เลยค่ะ แต่ดีว่า มีน้องขึ้นเวรด้วยกัน นั่งคุยกันตลอด ไม่ได้เดิน ไปที่ตู้เก็บของ กับบริเวณ locker มี ผู้ป่วย อีกราย นั่ง รอ เข้าเตียงรักษา บริเวณนั้น คง ต้องยุ่งยาก หาพยาน รัวๆ เลยค่ะ แต่คิดว่า ลุงคงหยอกๆ ค่ะ อารมณ์ ตกใจมาก่อน เห็น locker ที่ลุง คิดว่าใช่ มันเปิดอยู่ วันนี้ ตัวเอง ก็แปลก ด้วยค่ะ ปกติ เวลา ย้ายเตียง ขณะรักษา ด้วยหัตถการ อย่างอื่น จะเก็บเอากุญแจ ตามไปให้ และกำชับว่า นี่นะคะ กุญแจ 🔑 เอาไปไว้ด้วย ค่ะ หายมา หนูไม่รับผิดชอบนะคะ 😆😁 ลุง เลยบอกไว้เลยว่า ถ้า ผู้ป่วย อายุเยอะๆ มา ระวัง เรื่อง ความจำเสื่อมด้วยนะ ส่วนใหญ่ จะให้ญาติ รอ หรือนั่งเฝ้า ใกล้ๆ เลยค่ะ หรือใช้เตียง ทีีเตี้ย ที่สุด ค่ะ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ Tany สำหรับ ❤️❤️❤️❤️♥️♥️💙💙💙💙💚💚💚💚 🌞☀️⛅️⛅️ Have a wonderful & happiness Boston morning time with an adorable Rosy . Delicious breakfast together & Take care of yourselves ค่ะ 🥩🥩🥓🥓🍖🍖🍗🍗
@kalyamelarpudomchai8394
@kalyamelarpudomchai8394 Жыл бұрын
ต้องดูแล2คนในบ้าน เหนื่อยและเครียดมากๆ จนจะไปต่อไม่ไหว ไม่รู้จะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร ...ได้มาฟังคุณหมอ ค่อยรู้สึกคลายอารมณ์อันขุ่นมัวลงได้บ้าง จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ค่ะ...
@Jum.A1
@Jum.A1 Жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้มาก ๆ เลยนะคะ ✌🏻 มันไม่ง่ายเลยแต่ก็ไม่ยากหากใช้ความรักและความเข้าใจเป็นที่ตั้ง อย่าปล่อยให้อารมณ์ขุ่นมัวเศร้าหมองมาพลอยทำให้เราป่วยและเสียเวลาดี ๆ ที่ควรมีร่วมกันนะคะ ถ้าไม่ไหวก็หลบออกมาพักทานของอร่อย ๆหรือทำกิจกรรมที่ชอบค่ะ 😊
@wongjanp1407
@wongjanp1407 Жыл бұрын
สู้ สู้ นะคะ
@thanyawadeekongtimbalogh3122
@thanyawadeekongtimbalogh3122 Жыл бұрын
คนดูแลคนป่วยต้องหาเวลาพักบ้างนะคะ สลับกับญาติพี่น้องหรือจ้างผู้ช่วยพยาบาลมาดูแลบ้าง
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
เป็นกำลังใจให้นะคะ คุณหมอจะเติมพลังบวกให้เสมอๆ ค่ะ
@user-zx6xw5ro9t
@user-zx6xw5ro9t Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คนดูแลต้องมีสติตลอดเวลาจริงๆค่ะ วันๆเจอแต่เหตุการณ์ซ้ำๆ ชวนหงุดหงิดตลอด ขอบคุณสำหรับคำเตือน ข้อชี้แนะค่ะ คุณหมอ อีกอย่างนึงที่เราสังเกตุเห็นคือ ถ้าเราช่วยเรื่องสุขภาพจิตของผู้ป่วยให้ดี มีความสัมพันธ์กับเรื่องความจำด้วยค่ะ เช่น การใช้น้ำเสียงที่ดีๆกับผู้ป่วย. หรือมีเวลานั่งคุยให้ผู้ป่วยได้เล่า ปสก.เก่าๆ การพาผู้ป่วยขับรถไปเที่ยว หรือการปรับ สภาพแวดล้อมให้ร่มรื่น และสะอาด พาเดินออกกำลังกาย เหล่านี้พัฒนาจิตใจผู้ป่วยและอาการโมโห หงุดหงิดได้ค่ะ เราดูแลคุณพ่อแบบใกล้ชิด เกือบ ตลอด. 24 ชม. เห็นคุณพ่อเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ดูแลจิตใจผู้ป่วยควบคู่กับยา หลายๆคน ผู้ป่วยจะมีพัฒนาการด้านโรคความจำเสื่อมเร็วขึ้นอย่างน่าตกใจ อย่างรัยก้อขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ดูแลฯทุกๆคนนะคะ
@patarawantatanandana5199
@patarawantatanandana5199 Жыл бұрын
ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับคลิปนี้ การดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการทางสมองไม่ง่ายเลย คลิปนี้ของคุณหมอมา confirm ในสิ่งที่ดิฉันดูแลคุณพ่อนั้นถูกต้อง ดีใจจริงๆค่ะ
@abcde534
@abcde534 Жыл бұрын
สวัสดีตอนเช้าค่ะ ทิวลิปขอขอบคุณคุณหมอแทนมากๆค่ะ🌷
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Жыл бұрын
กราบขอบพระคุณค่ะคุณหมอ ที่กรุณาแบ่งปันข้อมูล ยกตัวอย่างทั้งผิดและถูกให้เห็นชัดเจน และที่ชัดเจนยิ่งกว่านั้นสิ่งที่หมอแทนเตือนว่ามันไม่ควรทำ ส่วนใหญ่ก็เห็นผู้ดูแลทำหมดเลย คือไม่มีใครพูดสงบพูดสั้นเลย อธิบายรัวยาวสารพัดทฤษฎี พยานบุคคล หลักฐานกล้องวงจร มาหมด เถียงสู้คนป่วยคอเป็นเอ็นเลย เพราะผู้ดูแลน่ะใครเขาก็ไม่อยากถูกมองว่าด่างพล้อย หรือดูแลไม่ดี ก็เลยกลายเป็นพยายามเอาชนะให้คนป่วยยอมเขาให้ได้ บางทีคิดว่าคนป่วยแกล้ง แต่ปฏิเสธไม่ได้ตามที่หมอบอก เขาจำไม่ได้ เขาอยู่กับความย้ำคิดของเขาจริงๆ เราไม่สามารถเอาชนะผู้ป่วยได้หรอก สิ่งที่คุณหมอแนะนำค่อยข้างต้องทำใจหนักแน่น ต้องเตือนตัวเองทุกขณะจิตที่ดูแลเขาอยู่ หลักๆที่เรารวมได้จากหมอแทน คือ *เป็นผู้ฟังที่ดีก่อน-ใส่ใจสิ่งที่เขาพูด-ผู้ป่วยแสดงความคิด ความต้องการ อย่าเพิ่งขัดคอ-หลีกเลี่ยงการวิจารณ์แก้ไข-อย่าเถียงด้วยคำพูดยาวยืดซับซ้อน-คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ป่วยด้วยอย่าให้เขาเสียความมั่นใจเสียใจ-มีอารมณ์ดีอารมณ์ขันบ้างในการเบี่ยงเบนเรื่อง* และสำหรับความคิดเราเองพบว่าบางครั้งที่คนไข้เขาพูด กลับเป็นความจริงและเขาพูดถูก สำหรับแพทย์ทั้งหลายจากประสบการณ์ของเราเอง เรานับถือเลยแพทย์จะมีความไวมากต่อสถานการณ์ตรงหน้า แค่สบตากับญาติท่านก็เข้าใจ คนไข้พูดอะไรแปลกๆหมอก็ฟังยิ้ม เปิดโอกาสให้ระบาย อาจทำเป็นเสริมบ้าง ซึ่งที่พูดเสริมขึ้นมาน่ะทำให้บรรยากาศคลี่คลายในทางดีมากและเบี่ยงเบนเรื่องให้พวกเราได้อย่างแนบเนียนชาญฉลาด คนเป็นแพทย์นี่ล้ำลึกเสมอ
@jishappy6786
@jishappy6786 Жыл бұрын
23 กพ วันเกิดหนูค่ะ คุณหมอยกตัวอย่างบังเอิญจริง😊😊
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@ibethere4U
@ibethere4U Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ ป้าดูแลแม่ที่เป็นเส้นเลือดสมองตีบมา 4 ปีกว่าแล้วค่ะ ตอนนี้ป้าเครียดมาก ได้มาดูคลิปนี้ มันตรงใจป้ามากค่ะ คงต้องปล่อยวางให้ได้ ไม่งั้นป้าคงเป็นคนไข้คนต่อไปแน่เลย 😢
@user-vw2ye3wm4j
@user-vw2ye3wm4j Жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอค่ะ
@warangkana8020
@warangkana8020 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ🙏😍 อยากให้คนที่ดูแลป้ารัตนาเข้ามาฟังคุณหมอพูดบ้างจังเลยค่ะ
@user-op7ni8uc9k
@user-op7ni8uc9k Жыл бұрын
ดีมากเลยค่ะ ดูแลคุณแม่ที่มีความจำเสื่อมระยะต้นค่ะ ตอนนี้ก็พยายามไม่แก้ไขแม่ค่ะ มันไม่สำเร็จเครียดเพิ่มค่ะ
@samoilyeempensuk2385
@samoilyeempensuk2385 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์ขอขอบคุณมากค่ะ 🙏🇮🇹
@daengc9
@daengc9 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ที่คุณหมอพูดมาตรงกับที่ดิฉันเป็นทุกข้อเลย ขอบคุณมากค่ะต่อไปนี้จะได้เปลี่ยนทัศนคติตัวเองใหม่ค่ะ
@pathittanopphadechchokkul1563
@pathittanopphadechchokkul1563 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้คะคุณหมอ ดิฉันทำงานที่บ้านพักคนชราที่ประเทศเนเธอแลนด์ ข้อมูลเป็นประโยชน์สำหรับดิฉันมากเลยคะ
@dewdropmindfullness6092
@dewdropmindfullness6092 Жыл бұрын
ขอบพระคุณ คุณหมอ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ยิ่ง. ค่ะ
@KarnTovara
@KarnTovara Жыл бұрын
ขอบคุณค่าาคุณหมอ 🪴🙇🏻‍♀️
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
🎉🎉👍👍
@KarnTovara
@KarnTovara Жыл бұрын
​@@kanyamuay3748 🙇🏻‍♀️🙇🏻‍♀️
@peaceful855
@peaceful855 Жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ มีเพื่อนสนิทสามีอายุมากกว่า20ปี เป็นโรคความจำเสื่อม เพื่อนชอบโทรศัพท์มาเล่าว่าทะเลาะกันประจำ สามีชอบว่าภรรยาขโมยเงินบ้าง จำไม่ได้บ้าง ภรรยาก็พยายามให้จำให้ได้ ดิฉันเลยส่งคลิปคุณหมอไปให้ เพื่อนก็เข้าใจ ไม่เครียดมาก และช่วยแชร์คลิปคุณหมอต่อไปให้คนอื่นๆ
@user-xz5zg4ju1c
@user-xz5zg4ju1c 5 ай бұрын
ขอบคุนมากๆๆๆๆค่ะหนูดูแลยู่ค่ะ ตรงกับที่คุนหมอพูดมาทุกข้อเยค่ะชอบถามผู้ป่วยค่ะผู้ป่วยตอบไม่ถูกค่ะ ต่อไปนี้จะไม่ทำแล้วค่ะ❤❤
@piyanunkathanyuta1437
@piyanunkathanyuta1437 Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอค่ะ 🙇🏼‍♂️
@porntiplekpittaya2521
@porntiplekpittaya2521 Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ😊
@katijang7783
@katijang7783 21 күн бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ แม่เราปัจจุบัน อายุ 68 ปี กินยา Gabapentin , clonazepam , nortriptyline มาเป็นเวลา 10 ปี แล้ว เพื่อรักษาปลายประสาท ขาที่ถูกตัดเนื่องจากอุบัติเหตุ และปัจจุบัน แม่เริ่มมีอาการ หลง ลืม และ แม่เป็นโรคซึมเศร้าที่เพิ่งกลับเข้าสู่การรักษาอีกครั้ง เมื่อ 3 เดือนก่อน คำถามคือ การดูแลแม่ คือแนวทางเดียวกันกับผู้ป่วยความจำเสื่อมหรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ😊
@DrTany
@DrTany 21 күн бұрын
ใช่ครับ และดูแลพื้นฐานที่ทุกคนต้องทำคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารให้สมดุล นอนพักผ่อนให้พอ ถ้านอนพอแล้วยังไม่สดชื่น ให้ไปตรวจการนอนหลับ ลดความเครียด ไปเจอธรรมชาติ งดสิ่งเสพติด คุยกับคนที่สมควรคุยครับ
@katijang7783
@katijang7783 20 күн бұрын
​@@DrTanyขอบคุณมากๆ ค่ะ ☺☺
@yuphaphakchomchome5312
@yuphaphakchomchome5312 Жыл бұрын
เป็นคลิปที่ดีมากเลยค่ะคุณหมอ จะนำไปใช้กับคุณแม่ และใช้กับคนไข้ที่ดูแลอยู่ในNursing Home ค่ะ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มากในสังคมผู้สูงอายุค่ะ แชร์ให้ในกลุ่มแล้วค่ะคุณหมอ❤
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง Жыл бұрын
มีประสบการณ์ตรงมาเล่าให้คุณหมออ่านบ้างค่ะ..มีโอกาศได้ช่วยป้าอายุ80คนนึง มีลูกตั้ง5คนแต่ดูแลแม่ไม่ได้ ทิ้งไม่ว่าทำร้ายแม่ด้วย ช่วงเวลาที่ต้องประสานงานส่งต่อเขาไปบ้านพักคนชรา แกจะมีวีรกรรมทุกวัน เช่น 👄มีแท๊กซี่ที่รู้จักมาเรียกข้างกำแพงให้ออกไปหาบ้าง 👄ผ้าห่มผืนละ3หมื่นถูกขโมยบ้าง 👄ลูกสาวที่เกาหลีพรุ่งนี้จะมารับ ต้องเตรียมตัวกลับบ้านบ้าง 👄ที่นี้ไม่ให้กินข้าวบ้าง 👄ที่นี่ผีดุ มาด่าแกทุกวันบ้าง อีกเยอะแยะมากมายรายวันเลยคะ แกจะไม่ยอมใครเลยโวยวาย ร้องให้ แต่แปลกตรงเขาจะจำชื่อเราได้คนเดียว(งานจุกๆเลย😂)กลายเป็นพอแกมีอาการทุกคนตามแต่เราคนเดียว😢😢 ใช้วิทยายุทธทุกอย่างทั้งปลอบ ทั้งดุ ทั้งแกล้งไม่สนใจ แกล้งโกรธ อยู่กัน7เดือนเต็มๆถึงสามารถส่งต่อแกไปในที่ที่เหมาะสมได้...❤พืคคคตอนจบคะ วันที่ให้จนท.มารับเขา แต่ตัวเองต้องไปเคสด่วน งานงอกคะป้าไม่ยอมไป เขาบอกกับจนท.ว่ายังไปไม่ได้เดี๋ยวลูกสาวเป็นห่วง😢เราต้องรีบกลับมาด่วนเพื่อมาส่งป้าขึ้นรถ ป้าบอกว่า จะไปแล้วนะไม่มีอะไรให้เลยดูแลตัวเองนะป้าไม่อยู่(คือซึ้ง)เอามือมา แกวางรัยในมือตอนนั้นไม่รู้คะ กำมือไว้ ป้าออกไปแล้วค่อยแบมือนะ(แกร้องให้ด้วย ใจแป้วเลยแต่ต้องฮึบไว้)แกบอกว่าในชีวิตแกเหลือสมบัติแค่ชิ้นเดียว แล้วก็ดีใจที่มีลูกคนที่6ก่อนตาย(ความจำปกติเฉยเลย)..พอรถเคลื่อนออกไป แบมือดูตกใจเลยค่ะ😳😳..เป็นประสบการณ์ดีๆที่ครบรสจริงๆคะ👍🩷
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะจิมมี่ที่พิมพ์ให้อ่าน จิมมี่จิตใจดีมากนะ น่ารักด้วย 🧡☕️
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง Жыл бұрын
@@maneeann เวลาที่ป้าปกติแล้วใครให้ของกิน เขาจะเก็บไว้ให้จิมกินด้วยนะคะ😍 เขาจะบอกกับคนอื่นๆว่าลูกไปทำงานกลับมาจะเหนื่อย หิว ต้องเก็บไว้ห้ามใครมายุ่ง แกจะชอบมานั่งใกล้ประตูเข้า-ออก รู้ได้ไงไม่รู้ว่าจิมออกไปทำงานข้างนอก หรือนั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะ🤔👍..เคยแอบย่องไปดูช่วงเดือนแรกๆแกจะซึมไม่ค่อยกินแต่ไม่โวยวาย กอดหมอนที่จิมซื้อให้ตลอดเลย ตอนนีัแกเสียแล้วคะด้วยโรคชรา😥
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
@@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง คนที่ป้าแกจะคิดถึงได้ในปัจจุบันต้องเป็นคนที่เข้าใจแก และทำอะไรด้วยอยู่เป็นระยะเวลานานพอสมควร ต้องมีความอดทนน่ะ จิมมี่เคยเบื่อบ้างไหม
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง Жыл бұрын
@@maneeann ไม่เคยคิดว่าเบื่อเลยค่ะ คิดว่าเราคงเคยทำบุญทำกรรมร่วมกันมา ชาตินี้ถึงมีวาสนามาเจอกันอีก ในเมื่อข้างบนให้โอกาสเราแก้กรรมเราก็จะทำให้ดีที่สุด ที่คนอย่างเราจะสามารถทำได้ในเวลานั้น😊
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
@@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง วันนี้ให้ใจสีส้มนะ 55 🧡🧡
@sukanyaprommalee2023
@sukanyaprommalee2023 Жыл бұрын
คุณหมอพูดถูกต้องทุกอย่างเลยค่ะ เพราะมีน้าสาวความจำปัจจุบันเสื่อม แต่ อดีตจำได้/ฟังแล้วได้ความรู้ดีมากค่ะ
@user-nl3do1vr2n
@user-nl3do1vr2n Жыл бұрын
ขอบพระคุณอาจารย์หมอ มากค่ะแชร์ให้เพื่อนได้รับรู้ มีประโยชน์มาก ๆ ค่ะ🙏
@Wichuda801
@Wichuda801 Жыл бұрын
มีปัญหาแบบที่คุณหมอบอกทุกข้อเลยค่ะ 555 หงุดหงิดมาก พยายามให้เหตุผลก็ยิ่งเถียงกัน เหนื่อยใจมาก / สิ่งที่เป็นประโยชน์มากคือคุณหมอให้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม (ไม่ใช่มีแต่หัวข้อ) ทำให้รู้ว่าควรพูดอย่างไร จะพยายามเอาไปปรับปรุง ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ ที่ทำclipที่ดีมากแบบนี้ คุณหมอเป็นคนที่ทั้งเก่งและดีมากเลยค่ะ
@sawanyakosalaphichat8813
@sawanyakosalaphichat8813 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับคลิปนี้นะคะ ที่คุณหมออธิบายเกี่ยวกับเรื่องการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม เป็นข้อคิดสำหรับตัวเอง ที่ต้องดูแลแม่ ที่เริ่มมีปัญหาความจำเสื่อมในระยะแรก ที่ต้องปรับตัวกันอย่างมากเลยค่ะ
@amybusakorn2750
@amybusakorn2750 Жыл бұрын
ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ดิฉันเข้าใจแล้วว่าผู้ป่วยมีความคิดเป็นของตัวเอง ดูแลยากมากค่ะ ดิฉันไม่แน่ใจว่าจะรับมือไหวหรือเปล่า ตอนนี้มีเพื่อนอยู่คนหนึ่งเพิ่งเริ่มป่วยได้หนึ่งปี ดิฉันคุยกับเขาในเรื่องเดียวกันคือเรื่องการแปรงฟันแห้ง คุยอยู่สี่ครั้งเค้าจำไม่ได้เลย แต่การตอบโต้เวลาพูดคุยยังปกติ ดิฉันจะดูคลิปอาจารย์เรื่องนี้ให้เข้าใจอย่างท่องแท้เมื่อพร้อมจะรับฟังเรื่องในเชิงวิทยาการ อยากช่วยเพื่อนค่ะ 17:15
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ สิ่งสำคัญคือ ต้องเข้าใจว่าผู้ป่วยเป็นจากโรค ผู้ดูแลต้องทำใจให้ยอมรับ และให้อภัย ยิ่งรู้ยิ่งต้องให้อภัยค่ะ หากมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมากเท่าใด จะทำให้สามารถหาวิธีรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ผู้ดูแลควรพักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมติดต่อกันตลอด อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ความเครียด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดูแลในระยะยาว คุณหมออธิบายจากประสบการณ์ สรุปได้ 4 ข้อค่ะ 1) ไม่จำเป็นต้องแก้ไขทุกอย่าง อย่ายีดติดกับความถูกต้องทั้งหมด 2) อย่าไปเถียง เพราะไม่ก่อประโยชน์ใดๆ จะทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง เถียงไปเปลืองพลังงานเปล่าๆ 3) เปลี่ยนเรื่อง เบี่ยงเบนความสนใจ หลีกเลี่ยงการคุยด้วยเหตุผลที่ยืดยาว บอกสั้นๆ และชัดเจน 4) อย่าพยายามทดสอบ เช่นถามว่าเมื่อเช้ากินอะไร ควรจะเป็นคำพูดที่ให้คำตอบไปเลย ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพดีและมีความสุขนะคะ 🌻🧡🌻
@saifonnamchai8093
@saifonnamchai8093 10 ай бұрын
เรากำลังเจออยู่ตอนนี้กับแม่เราเอง เราควบคุมอารมณ์ไม่ได้เลยเพราะแม่ชอบมาปรักปรำเรา เครียดมาก😢
@minnie007able
@minnie007able Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ มีคนรู้จักเป็นสมองเสื่อม ได้ความรู้มาก
@user-mr8fp6lo6g
@user-mr8fp6lo6g Жыл бұрын
สวัสดีเจ้าคุณหมอขอบคุณเจ้า
@veechat
@veechat Жыл бұрын
ขอบคุณความรู้ดีๆครับ
@orachoo2435
@orachoo2435 Жыл бұрын
ดีใจที่มีคลิปนี้มาในเวลาที่เหมาะสมพอดีเลยค่ะ เพราะที่บ้านเพิ่งไปรับแม่สามีมาอยู่ด้วยชั่วคราว เพื่อที่จะให้น้องสาวสามีได้พักจากการดูแลคุณแม่มาตลอดที่เริ่มมี dementia เพราะคนดูแลจะเครียดมากเลย ขนาดเพิ่งมาอยู่กันได้แค่ 1 อาทิตย์ รู้เลยว่ามันยากมาก เพราะคุณแม่จะถามคำถามซ้ำๆตลอด ถามซ้ำไปซ้ำมา แล้วก็เหมือนเป็น OCD ด้วย บางครั้งเคยกล่าวหาว่าลูกสาวเอากระเป๋าตังไป แล้วก็โกรธ ยิ่งเวลาที่มีอาการ sundown syndrome ท่านจะกระวนกระวาย บางทีก็โมโห เกรี้ยวกราด บุคลิกเปลี่ยนไป ทั้งที่ปกติเป็นคนที่ใจดีมาก พยายามจะเปลี่ยนเรื่อง เบี่ยงเบนประเด็น แต่ในความเป็นจริงมันยากอยู่นะคะ บางทีเราต้องออกไปเดินดูต้นไม้ เล่นกับสุนัข เพื่อผ่อนคลายบ้าง ขอบคุณคลิปนี้ของคุณหมอมากๆค่ะ
@duangkamolsakulkitjaroen4680
@duangkamolsakulkitjaroen4680 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอ เป็นเคสที่ตรงกับงานมากๆค่ะ เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณมากๆ😊❤นะคะ
@TheEngineer2548
@TheEngineer2548 Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้ น้ำตาไหลเลย
@ruenp9096
@ruenp9096 Жыл бұрын
ยายดูแลสามีที่ผ่าตัดสมองเพราะ เล่นกิฬาลล้ม(indoor pickle ball ) ตัองผ่าตัดสมอง 6 ปีแล้วค่ะ ทำผิดแทบทุกข้อที่อ.หมอพูดมา เพราะดิฉันไม่เชื่อไม่ยอมรับว่าเขาจะไม่ฟื้นได้ คิดว่าจะช่วยเขาให้หายนะค่ะ ชีวิตไม่ราบรื่นเช่นเคย จะต้องเปลี่ยนอย่างอ.หมอ แล้วจะรายงานผลอีกที ยายจาก Columbia SC
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
😊🌼🍃 ขอบคุณมากค่ะ 🙏
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@ เอื้องมะลิ เดี๋ยวจะมีคอมเม้นอีกมั้ยคะ ขอบคุณมากนะคะคุณครู ⚘❤⚘ @ Doctor Tany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน อรุณสวัสดิ์ค่ะ 🌻🧡🌻
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
😄🌹🌹🌹🌹
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
@@Hoshi1451 😁💖 หลับฝันดีนะคะ
@Hoshi1451
@Hoshi1451 Жыл бұрын
@@Euang-Mali ฝันดีค่ะ
@user-ct1br3vm7v
@user-ct1br3vm7v Жыл бұрын
สังเกตุเสื้อคุณหมอแทนหนาสหรัฐอากาสเป็นไงคะ.?โคราชร้อนมากคะยิ่งร้อนนิ่งลืมคะ...อย่าไปแก้ไขคะช่วยเหลือ.ยอมรับ..
@pangsims
@pangsims Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมอแทน
@montripongkumpai1930
@montripongkumpai1930 Жыл бұрын
ขอบคถณมากๆครับ
@user-ux5xu9lw8p
@user-ux5xu9lw8p Жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ แล้วถ้าเราจะพูดกับคนเป็นโรคซึมเศร้า ดื้อนิดๆ เขาตกงานด้วย เราควรมีวิธีการพูดกับเขาอย่างไรดีค่ะ เพราะแนะนำอะไรๆ เขาก็ไม่เชื่อ เขาจะจมอยู่กับความคิด เราจะพูดอย่างไรดีค่ะ คุณหมอมีคำแนะนำไหมค่ะ ขอบคุณ คุณหมอมากๆ ค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
โรคซึมเศร้า ถามจิตแพทย์ YT หมอแมวน้ำเล่าเรื่องเลยครับ youtube.com/@mhormaewnam
@teeang3134
@teeang3134 10 ай бұрын
ผมดูแลแม่ที่ความจำเสื่อมตอนนี้เครียสจนใกล้จะเป็นบ้าแล้วครับ โชคดีได้มาดูคลิบคุณหมอคลิบนี้ช่วยผมได้เยอะเลย ขอบคุณมากครับ🙏🙏🙏
@DrTany
@DrTany 10 ай бұрын
เป็นกำลังใจให้นะครับ
@ptphone2301
@ptphone2301 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ สิ่งต่อไปนี้ไม่ควรพูดคุยกับผู้ป่วยความจำเสื่อม คนป่วยความจำเสื่อมเป็นปัญหาที่รับมือยากมีปัญหามากมายผู้ดูแลก็มีปัญหาไม่แพ้กันต้องอดทนอดกลั้นเพื่อไม่ให้มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นเช่นปัญหาด้านความสัมพันธ์ ทะเลาะเบาะแว้ง ความเครียด ความไว้ใจซึ่งกันและกัน ฉะนั้นในการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมนั้นข้อที่1.คืออย่าพยายามไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขถึงแม้เขาจะผิดไม่มีประโยชน์มันจะยิ่งทำให้เราเหนื่อยเครียด ยกเว้นเรื่องที่จะทำให้เกิดผลเสียร้ายแรง 2. อย่าเถียงเพราะพูดเท่าไหร่มันจะไม่มีวันจบให้ยอมรับในสิ่งที่เขาพูดให้สงบ ไม่เสียงดังไม่ขึ้นเสียง พูดให้สั้นอย่าพูดมากไม่โต้เถียงให้เปลี่ยนเรื่องที่พูดแสดงความเป็นห่วงเป็นพวกเดียวกับเขากังวลในเรื่องของเขา3.อย่าพยายามใช้เหตุผลผู้ป่วยความจำเสื่อมในการเข้าใจของเขาจะแตกต่างไปจากคนปกติโดยสิ้นเชิงจะเอาเหตุผลเราไปให้เขาเข้าใจมันเป็นไปไม่ได้และสุดท้ายอย่าทดสอบเขาควรให้คำตอบเพราะหากเขาตอบไม่ได้จะทำให้คนป่วยรู้สึกไม่ดี หากเขาตอบผิดเราก็จะรู้สึกไม่ดีได้เช่นกันปัญหาต่างๆก็จะตามมาอีก ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงที่ให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมค่ะ
@ptphone2301
@ptphone2301 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอ
@user-np3uz2zb6q
@user-np3uz2zb6q Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ🙏
@kanoky7076
@kanoky7076 Жыл бұрын
ขอบคุณนะคะ คุณหมอแนะนำดีมากๆเลยคะ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีทั้ง 4 ข้อเลยคะ 🙏
@sirapaschartviriyaamnuay9197
@sirapaschartviriyaamnuay9197 Жыл бұрын
ขอคุณหมอสำหรับคำแนะนำ ทำให้เข้าใจสภาวะคนความจำเสื่อม และวิธีแก้ไขครับ
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน คำแนะนำ4ข้อสร้างความเข้าใจและเป็นประโยชน์มากต่อคนที่ต้องดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ค่ะ
@kesineesumalee47
@kesineesumalee47 Жыл бұрын
🙏🙏🙏ขอบคุณค่ะ❤❤❤
@aomnaphachsiri4662
@aomnaphachsiri4662 Жыл бұрын
ขอบคุณคุณหมอ Tany มากค่ะ จะนำไปปฏิบัติเลยค่ะ ปล. วันนี้คุณหมอสวมเสื้อสวยมากค่ะ ดู Stlyish
@pradamano2869
@pradamano2869 7 ай бұрын
ขอบคุณ​ค่ะคุณ​หมอสำหรับคำแนะนำ สั้นๆง่ายๆจบเลย😊❤
@user-bz4lh5vc2y
@user-bz4lh5vc2y 10 ай бұрын
ขอบคุณค่ะ หมอ ได้ใช้ประโยชน์มากๆเลย
@KarnTovara
@KarnTovara Жыл бұрын
ขอบคุณค่าาคุณหมอ...สำหรับคำแนะนำในวันนี้ค่ะ 🙇🏻‍♀ • เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ ฟังสบายๆ เช่นเคยค่าา • คุณพ่อคุณแม่อายุเยอะแล้วค่ะ ตอนนี้ลูกๆ ก็ค่อยๆ ทำความเข้าใจและปรับตัวค่ะ • เวลาเจอญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ คนรู้จัก...รู้สึกได้เลยค่ะว่า เวลาผ่านไปเร็วมากจริงๆ ค่ะ แต่ก็เป็นข้อดีข้อหนึ่งที่ช่วยเตือนสติเราว่า อย่าไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่ดีค่ะ และควรใช้เวลาเฉพาะกับเรื่องที่ดีๆ ค่ะ 😄 • คุณหมอพักทานน้ำค่าา 🥝🍵🙇🏻‍♀
@tuinui3962
@tuinui3962 Жыл бұрын
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh Жыл бұрын
ขอบคุณครับพี่หมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️
@ltbsupply
@ltbsupply Жыл бұрын
ขอบคุณมากครับอาจารย์
@narumonliamthong7772
@narumonliamthong7772 8 ай бұрын
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อพวกเรามากๆค่ะการเป็นผู้ช่วยพยาบาลเราต้องเจอกับคนไข้หรือผู้สูงอายุหลายรูปแบบค่ะ..ยิ่งทำงานอยู่ต่างประเทศใช้คนละ(ภาษา)ยิ่งดูแลกันยากค่ะ.👍🙏❤️
@Pm-gy3xk
@Pm-gy3xk Жыл бұрын
ขอบคุณคะคุณหมอ
@Sonh072
@Sonh072 Жыл бұрын
Thank you 🙏🏻 so much ⭐️👨‍💼⭐️
@chaweewanbierly5044
@chaweewanbierly5044 Жыл бұрын
Good morning Ka Doctor
@ployployprapai3809
@ployployprapai3809 Жыл бұрын
❤❤❤🙏
@mayuree.sesatesanont
@mayuree.sesatesanont Жыл бұрын
ขอบพระคุณคุณหมอมากกค่ะ
@tiktakataka7960
@tiktakataka7960 Жыл бұрын
ขอบคุณอาจารย์หมอมากๆเลยค่ะ🙏
@payungsri8249
@payungsri8249 Жыл бұрын
ขอบคุณมากๆ
@natty2760
@natty2760 Жыл бұрын
ขอบคุณครับ
@urapornbantit165
@urapornbantit165 Жыл бұрын
ดิฉันทำงานดูแลผู้ป่วยภาวะความจำเสื่อม วันละ 8 ชั่วโมง 🎉ช่วงคนป่วยติดโควิดนั้นลำบากมากๆ คนไข้จะถามว่าเพราะอะไร หรือทำไมออกมาจากห้องไม่ได้ล่ะ ตอบว่า...ติดโควิดต้องกักตัว .. ติดโควิดกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า
@teewimutti9414
@teewimutti9414 Жыл бұрын
ขอบคุณมากสำหรับความรู้ในคลิปนี้ครับ และอยากขอให้ช่วยแนะนำวิธีรับมือเมื่อผู้ป่วยความจำเสื่อมเกิดอาการวิตกกังวลหวาดระแวง ว่าควรจะพูดและรับมืออย่างไรดี
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ขึ้นกับเรื่องครับ ส่วนมากก็ใช้วิธีสร้างเรื่องสั้นๆมาตอบเขา เช่น เขากลัวคนมาขโมยของ มาทำร้าย เราก็บอกเขาว่าเราไปคุยกับตำรวจเมื่อวันก่อน เขาจับคนร้ายได้แล้ว และตอนนี้เขามาตรวจตราบ้านเราให้ต่อไปไม่มีใครมาขโมยมาทำร้ายอีก แล้วตัดจบเลยประมาณนี้ครับ
@teewimutti9414
@teewimutti9414 Жыл бұрын
@@DrTany ขอบคุณคุณหมอมากครับ
@hataya54
@hataya54 Жыл бұрын
คุณแม่เป็นคนน่ารักนะคะ เวลาแย้งเขาจะหยุด แต่เขาหลงลืม กอดคุณแม่ทุกวันค่ะ มีเรื่องกลุ้มใจอยู่เรื่องหนึ่งคือ เขาชอบซักผ้าแทบทุกวัน มีเสื้อแค่ 4 ชิ้นเขาก็ซัก มันเปลืองมาก จะแก้ไขอย่างไรดีคะ เพราะเราไม่ได้อยู่บ้านต้องไปทำงาน
@hataya54
@hataya54 Жыл бұрын
คุณแม่ยังไม่ถึงขั้นความจำเสื่อมค่ะ แต่หลงลืมและเรียนรู้สิ่งใหม่ไม่ได้แล้ว ขอบคุณมากค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
อันนี้ไม่น่าแก้ไขได้ครับ และอีกอย่าง การซักผ้ามันไม่ได้อันตรายอะไร คิดว่าปล่อยให้ท่านทำเถอะครับ
หายใจอย่างไรให้ถูกวิธี
29:17
WILL IT BURST?
00:31
Natan por Aí
Рет қаралды 42 МЛН
Beat Cancer with Diet: The FMD Approach
28:27
Doctor Tany
Рет қаралды 548 М.
WILL IT BURST?
00:31
Natan por Aí
Рет қаралды 42 МЛН